ศรชล.ภาค 3  จัดทริปเอาใจเยาวชนกระตุ้น  รักษ์ทะเลบ้านเรา  เส้นทางจากภูผาสู่ทะเล

        พลเรือโทอาภากร   อยู่คงแก้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 พร้อมภริยาร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3  นาวาเอกแสนย์ไท   บัวเนียม รองผู้อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  นำนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  จำนวน 50 คน  (ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง)  เดินทางศึกษาเส้นทางธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อำเภอควนโดน  จังหวัดสตูล   เพื่อทำกิจกรรมสร้างความรับรู้การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล  และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้รู้จักเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  และช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้ยั่งยืน ภายใต้โครงการ  “รักษ์ทะเลบ้านเรา”   จากภูผาอุทยานแห่งชาติทะเลบัน  สู่ท้องทะเลตำมะลังอำเภอเมืองสตูล  นักเรียนเยาวชน  จากศรชล.ภาค 3 ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้  ยังได้เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการนั่งเรือชมเส้นทางธรรมชาติ  ศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านริมชายฝั่งตำมะลังดินแดนมลายู ไปพร้อมเรียนรู้วิถีชีวิต  และชื่นชมฝูงนกอินทรีย์ที่ออกมาต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน  ผ่านการท่องเที่ยวชุมชนตำมะลัง  เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่เรียนรู้การอยู่ควบคู่กันระหว่างธรรมชาติ ชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

           จากนั้นน้อง ๆ เยาวชน ศรชล.ภาค 3 ยังได้ร่วมกันปล่อยกุ้งกุลาดำ จำนวน 90,000 ตัว และร่วมปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 ตำมะลังจังหวัดสตูล

          นางสาวเกศรา  ขันติวงศ์   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  ประทับใจวิทยากร  อาหาร  การดูแลของพี่ๆทีมผู้จัด การได้มาครั้งนี้ทำได้เจอกับสัตว์หายากอย่าง  เขียดว้าก  หรือ หมาน้ำ  เพราะไม่สามารถเจอสัตว์เหล่านี้ได้ในพื้นที่อื่น  ต้องมาดูที่นี่เท่านั้น  ไปเดินในป่าแล้วเจอพันธุ์ไม้หลายชนิดและไม้ยืนต้นที่มีอายุหลายร้อยปี  และได้มาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆที่นี่ได้ความรู้นำไปพัฒนาในชีวิตประจำวัน เพราะจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่ติดทะเล  เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

         พลเรือโทอาภากร   อยู่คงแก้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3  บอกว่า   ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 และทัพเรือภาคที่ 3 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและมีผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยวิถีชีวิตการประกอบอาชีพของประชากรในท้องถิ่นซึ่งมีผลกระทบเชื่อมโยงไปถึงระดับชาติ   จึงมีความสำคัญจำเป็นต้องสร้างความรับรู้   รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในท้องถิ่นของตนเองให้มีความยั่งยืนตลอดไป  

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด