สตูล-โลมาหัวโหนกนับ 20 ตัวว่ายขึ้นอวดโฉมความสมบูรณ์ทะเล อช.ตะรุเตา  

         วันที่ 16 พ.ค.2567  มาชมธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ท้องทะเลอันดามัน  เมื่อนายมงคล  แดงกัน  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา  แจ้งว่า ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา  บริเวณ หน้าอ่าวตะโละวาว  เจ้าหน้าที่ได้พบน้องโลมาหลังโหนก   ว่ายน้ำขึ้นมาอวดโฉมให้เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวน หน่วยพิทักษ์ฯที่ ตต.1 (อ่าวตะโละวาว)  ได้เห็นมากกว่า 20 ตัว  ให้เจ้าหน้าที่ได้บันทึกภาพนำมาฝากไว้ได้ ขณะออกลาดตระเวนในบริเวณดังกล่าวเมื่อ (วันที่ 15 พ.ค.67)   

          สำหรับโลมาหลังโหนก   โลมาสีชมพู   โลมาเผือก  เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535  ขนาดตัวผู้ยาว 2.8 ม. ตัวเมีย 2.6 ม. หนักถึง 280 กก. ลูกแรกเกิดยาว 1 ม.  รูปร่างหัวกลมมน มีปากยาวเรียว ลักษณะเด่นคือส่วนหลังโหนกเป็นแนวยาว 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว

         ลำตัวมีสีต่างกันมากตามอายุ วัยเด็กจะมีสีเทาดำ และจางลงเมื่อโตขึ้น ตัวเต็มวัยบาง ตัวมีสีเทาประขาว เมื่ออายุมากขึ้นจะมีสีออกขาวเผือกหรือชมพู   มีฟันจำนวน 28-38 คู่ บนขากรรไกรบนและล่าง (เฉลี่ย33-35 คู่)

          ครีบหลัง สั้น เล็ก ที่เด่นชัดคือ ส่วนของฐานครีบเป็นสันโหนกรับกับครีบหลัง 

        ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 9-10 ปี และตัวผู้อายุ 11-13 ปี ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ตั้งท้องนาน 10-12 เดือน และหย่านมเมื่ออายุ 2 ปี อายุยืนมากกว่า 40 ปี   พฤติกรรม- ชอบรวมกลุ่มตั้งแต่ 10-40 ตัวและมักว่ายน้ำช้าๆเมื่ออยู่ใกล้ชายฝั่ง   กิน ปลา และปลาหมึกหลายชนิด  ตามชายฝั่งและแนวปะการัง

  

           อาศัยตามชายฝั่งแม่น้ำ ปากแม่น้ำ และป่าชายเลนในเขตร้อน มีการแพร่กระจายตั้งแต่ตอนใต้ของจีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย และตอนใต้ของแอฟริกา ประเทศไทยพบในธรรมชาติ เช่น จ.ตราด ระยอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง

………………………………

ขอบคุณภาพจาก อช.ตะรุเตา

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต