น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง
น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง
สตูล – เกษตรกรเมืองสตูลหันมาปลูกสับปะรดแซมยางพารา ก้าวผ่านปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รับรายได้ 4 แสนบาทต่อปี
จากสภาพปัญหาราคาผลผลิตยางพาราในปัจจุบันที่ตกต่ำผนวกกับปัจจัยการผลิตมีราคาสูง จึงได้ปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกยางพาราเดิมเป็นแปลงสับปะรด โดยเริ่มจากการปลูกแซมภายในแปลงยางพาราที่อายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งการปลูกแซมในแปลงยางพารานั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพาราแต่ตรงกันข้ามการปลูกสับปะรดในแปลงทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางพาราดีขึ้น เนื่องจากยางพาราได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ให้กับสับปะรด เมื่อไหร่ที่ต้องปลูกยางพาราใหม่ก็จะใช้สับปะรดเป็นพืชแซมในสวนยาง เสริมด้วยไม้ผลบริเวณรอบแปลง และแบ่งพื้นที่ไว้บางส่วนในการขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกในฤดูแล้ง และใช้วิธีการทางธรรมชาติโดยการเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อช่วยในการผสมเกสรเพิ่มโอกาสในการติดผล
โดยนายอิสมาแอน ไชยมล บ้านเลขที่ 161 หมู่ที่ 6 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลเป็นเกษตรกรที่ปลูกสับปะรดปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP) สับปะรดในแปลงได้รับมาตรฐานการรับรองสินค้า Q ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นสับปะรดที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 15-20 บาทรายได้จากการจำหน่ายสับปะรด 400,000 บาท/ปี ส่วนใหญ่จะมีแม่ค้ามารับเองที่สวนและจำหน่ายในพื้นที่ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องของตลาด
สำหรับเทคนิคการปลูกสับปะรดของนายอิสมาแอน ไชยมล คือ วางแผนบังคับให้ผลผลิตออกไม่พร้อมกันทีเดียวทั้งแปลง เพื่อป้องกันผลิตออกมามากจนเกินไปจนส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิต มีการจดบันทึกทำปฏิทินการผลิต อีกทั้งยังมีการเปิดหน้าร้านเพื่อจำหน่ายผลผลิตเองที่หน้าสวนให้ผู้บริโภคโดยตรง สามารถกำหนดราคาสับปะรดเองได้ หลีกเลี่ยงการถูกกดราคารับซื้อผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง
ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนการผลิตพืชเดิมจากยางพารามาเป็นสับปะรดด้วยสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เป็นพืชทนแล้งและผลผลิตมีราคาดี สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวให้มีวิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างและแนวทางให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจจะปรับเปลี่ยนชนิดพืชในพื้นที่ได้นำไปปรับใช้ในแปลงของตนเองได้ สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนและเกษตรกรผู้ที่สนใจต่อไป
………………………………
น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง