รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน ขนเต็นท์หม้อข้าวปักหลักศาลากลางจังหวัด ฟังคำตอบหลังยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่า เรื่องขอให้ยกเลิกการทบทวนเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูล
วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลาประมาณ 11:00 น. ที่ศาลากลางจังหวัดสตูล กลุ่มตัวแทนสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูลและชมรมประมงพื้นบ้าน 4 อำเภอ สมาคมรักษ์ทะเลไทย และหลากหลายภาคีเครือข่ายรวมตัวกันบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัด ด้วยการตั้งเต็นท์และโรงครัวเพื่อเตรียมพร้อมในการปักหลักในการรอฟังคำตอบ
หลังตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านร่วมกันยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเรื่องขอให้ยกเลิกการทบทวนเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูล พร้อมยื่นข้อเสนอ 2 ข้อคือ 1 ขอให้เคารพการทำงานของคณะกรรมการประมงจังหวัดชุดที่แล้ว ที่ได้สร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างเข้มข้นจนทำให้ได้ข้อสรุปนำไปสู่การประกาศกฎกระทรวงเขตทะเลชายฝั่งสตูลเมื่อปลายปีพุทธศักราช 2565
และ 2 ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องยกเลิกคำสั่งและแนวคิดที่จะทบทวนการประกาศกฎกระทรวงเรื่องเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูลในทันที มิฉะนั้นพวกเราจะขอปักหลักรอคำตอบอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
ซึ่งการยื่นหนังสือในครั้งนี้นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ารับหนังสือ โดยกล่าวกับผู้ชุมนุมที่มายื่นหนังสือว่าจะนำเรื่องนี้ไปพูดคุยหารือพร้อมกับประมงจังหวัดอีกครั้ง โดยพยายามชี้แจงถึงกรณี การตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูล พุทธศักราช 2565 ว่า เป็นทางออกของการนำมาซึ่งการแก้ปัญหาในพื้นที่ประมงระหว่าง 2 กลุ่มที่มีความเห็นไม่ตรงกันขณะนี้
ซึ่งในเรื่องนี้ทางด้านนายอับดุลรอสัก เกมหวัง นายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับฟังข้อคิดเห็นใหม่ในครั้งนี้นั้น เป็นผลมากับการปิดอ่าวในครั้งนั้น พบว่ามีเพียงเรือไม่กี่ลำที่มาเป็นเงื่อนไขเพื่อเปิดเวทีรับฟังใหม่และยกเลิกแนวเขต ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า หน่วยงานของรัฐไปรับคำสั่งมาจากใคร ถ้าถามกลับว่าประมงพื้นบ้านเดือดร้อนไหม ยืนยันว่าพวกเราเดือดร้อนมากหากเป็นปัญหาการจัดการทรัพยากรทางทะเล เพราะพื้นที่ที่มีการประกาศคุ้มครองชายฝั่งถือเป็นพื้นที่สำคัญในการฟื้นฟูสัตว์น้ำ เมื่อสัตว์น้ำโตเต็มวัยก็ออกไปฐานทะเลข้างนอก ทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะจับปลาได้ไม่ว่าจะเป็นประมงพื้นบ้านหรือประมงพาณิชย์ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน /การประกาศเขตชายฝั่งถือเป็นการประกาศเขตอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ
ขณะที่ด้าน นายนิพนธ์ เสนอินทร์ ประมงจังหวัดสตูล ยังคงยืนยันว่า อยากจะทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ว่าจะต้องใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน มีใช้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน การแก้ปัญหาทุกฝ่ายต้องมีส่วน เพราะมีการยื่นหนังสือร้องทุกข์เข้ามาของทุกฝ่ายก็ต้องมาพิจารณาด้วยความเป็นธรรม จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูลพุทธประวัติ 2565 นั้น เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง
ที่มาของการแก้ปัญหาประมงในจังหวัดสตูล (ทำให้ประมงพื้นบ้านตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการแก้ปัญหาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคุณนายทุนหรือไม่ ) หลังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูลพุทธศักราช 2565 นั้น สืบเนื่องจาก ประมงปลากะตัก ได้รวมตัวกันเรียกร้องถึงปัญหาของแนวเขตประมงชายฝั่งจนเป็นที่มาของการปิดร่องน้ำปากบารา เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
……………………………
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต