จังหวัดสตูลยอมรับข้อเสนอประมงพื้นบ้านหลังสอนมวย  แก้ปัญหาต้องนำเข้าคณะกรรมการประมงจังหวัดแทนการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น  

         เครือข่ายประมงพื้นบ้าน จ.สตูล  ยอมสลายการชุมนุมประท้วงแล้วเย็นเมื่อวานนี้ (25 ก.ค.2566)   หลังภาครัฐรับข้อเสนอนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประมงจังหวัด  เพื่อหารือแก้ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มประมงต่างๆ เรื่องปัญหาแนวเขตประมงชายฝั่งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

          ที่ศาลกลางจังหวัดสตูล  นายชาตรี  ณ  ถลาง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เชิญเครือข่ายประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล ที่มารวมตัวกันนอนปักหลักคัดค้าน “ขอให้ยกเลิกการทบทวนแนวเขตประมงชายฝั่ง”  เพราะไม่เห็นถึงประโยชน์   และเชื่อว่ากระบวนการที่ได้มามีความเข้มข้นมากพอแล้วนั้น   มาประชุมหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน

          โดยนายสมบูรณ์  คำแหง  และนายวิโชคศักดิ์  รณรงค์ไพรี  นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย   และนายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ได้ขอโอกาสชี้แจงถึงเจตนาที่มาคัดค้านการยกเลิกการทบทวนแนวเขตประมงชายฝั่งในครั้งนี้  โดยเสนอว่าขอให้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าแก้ปัญหาในเวทีของคณะกรรมการประมงจังหวัด  โดยเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถหาทางออกร่วมกันได้ 

          ซึ่งทางด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธาน(รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล)  ยืนยันว่า กับแกนนำชาวประมงพื้นบ้านว่า  คำสั่งจังหวัดไม่มีผบกระทบกับประมงพื้นบ้านเป็นเพียงวิธีการทำงานอย่างหนึ่งของทางจังหวัด  เพื่อแก้ปัญหาหลังมีการประท้วงของทุกฝ่าย  ซึ่งในวันนี้ทำให้จังหวัดได้รู้ความคิดเห็นของชาวประมง  (ทั้งประมงพื้นบ้าน  และชาวประมงพื้นบ้านเครื่องมือพานิชย์) โดยจะนำไปสู่การแก้ปัญหา

           นายสมบูรณ์  คำแหง  อดีตคณะกรรมการประมงจังหวัดสตูล/ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนระดับชาติ (กป.อพช.)  เห็นว่าวันนี้ในตัวเขตชายฝั่งที่มีการประกาศไปแล้วไม่ใช่ประเด็น   ซึ่งวันนี้ทางกระทรวงได้เสนอคณะอนุมัติให้ทางรัฐมนตรีทราบแล้ว   ได้มีการอนุมัติเขตที่คณะกรรมการประมงจังหวัดสตูลได้เสนอไปเมื่อปี 2565  เห็นว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว   กระบวนการรับฟังค่อนข้างชัดเจนมากและมีการรับฟังทุกภาคส่วน

          ในเรื่องนี้เห็นว่าต้องมาคุยกันมาหาข้อตกลงกันว่าอะไรที่จะทำได้  แค่นั้นเอง  ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งรับฟังเพื่อกำหนดเขตกันใหม่   ถึงแม้จะมีการรับฟังใหม่   ถึงแนวเขตทะเลชายฝั่งก็จะไม่น้อยไปกว่าเดิม  หรืออาจจะมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ   หลักๆ ก็จะมีกลุ่มประมงอยู่ 2 กลุ่ม  กลุ่มเรือใหญ่กับกลุ่มเรือพื้นบ้าน  ซึ่งกลุ่มเรือประมงพื้นบ้านก็ย่อมจะมากกว่าเรือประมงพาณิชย์  หากจัดเวทีเสียงก็จะชนะแน่นอน

          ซึ่งสรุปความในการพูดคุยในครั้งนี้ทางจังหวัดสตูล   ยอมนำเรื่องเข้าวาระประชุมหารือชุดคณะกรรมการจังหวัดสตูล  ถึงแนวทางปัญหาที่เกิดขึ้นตามที่เครือข่ายประมงพื้นบ้านเสนอ  ก่อนที่จะให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูล  พุทธศักราช 2565  เบื้องต้นทำให้ผู้ชุมนุมยอมรับในข้อเสนอดังกล่าว  จนยอมสลายการชุมนุมเมื่อเย็นวานพร้อมยอมรื้อที่พักชั่วคราวคืนพื้นที่ด้านหน้าศาลากลางกลับสู่สภาวะปกติ

………………………………

อัพเดทล่าสุด