น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง
น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง
“ขยะปันสุข แก้ปัญหา 2 ต่อ” เทศบาลเมืองสตูล เปิดจุดรับบริจาคขยะรีไซเคิลในครัวเรือน ขายนำรายได้ช่วยผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นถังในพื้นที่ 20 ชุมชน และ เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง เทศบาลเมืองสตูล โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดจุดรับบริจาคขยะขึ้น เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง ในครัวเรือน ภายใต้โครงการ ขยะปันสุข นำร่องจัดขึ้นที่ สนามกีฬารัชกิจประการ ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล วันนี้มีสมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าที่ ตัวแทนชุมชน ร้านค้า มาร่วมบริจาค นำขยะรีไซเคิลในครัวเรือน ซึ่งมีทั้งขวดน้ำ ขวดแก้ว ฝาขวด ฝากระป๋อง กระดาษลัง มาร่วมบริจาคกันเป็นจำนวนมาก
ด้าน น.ส.นิสากร บุญช่วย หน. ฝ่ายบริการสาธารณสุข เป็นอีก 1 คนที่นำขยะรีไซเคิลมาร่วมบริจาค กล่าวว่า ขยะที่นำมาบริจาคส่วนใหญ่เป็นพวกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษลังที่ได้จากการสั่งของออนไลน์ก็มีเยอะ ขวดน้ำเพราะซื้อน้ำทาน แล้วจะเป็นพวกกระป๋องอะลูมิเนียม อย่างกระป๋องน้ำอัดลมก็นำมาช่วยบริจาคในครั้งนี้ สำหรับโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆในการช่วยเอาขยะในชุมชนกลับสู่ระบบการรีไซเคิลและอีกอย่างสามารถเอารายได้ตรงนั้นเล็กๆน้อยๆไปบริจาคให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ รอบนี้ก็จะช่วยในเรื่องของผู้พิการก็ถือเป็นความเป็นโครงการที่ดีมากๆ
สำหรับที่มาของโครงการ ขยะปันสุข นายสมศักดิ์ เหมรา ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทม.สตูล ให้ข้อมูลว่า โครงการ ขยะปันสุข ซึ่งทำร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการกรปกครองท้องถิ่นจังหวัดสตูลเพื่อที่จะนำขยะที่ได้รับบริจาคจากพี่น้องประชาชน นำไปจำหน่ายมาแลกเป็นเงิน และนำไปบริจาคให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆในชุมชน ซึ่งในเบื้องต้นวันนี้เราจะมอบให้กับชมรมคนพิการของเทศบาลเมืองสตูล ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมในวันที่ 30 นี้ และหลังจากนี้เราจะมีการรับบริจาคเดือนละสองครั้งต่อไป โดยจะลงไปในชุมชนทั้ง 20 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองสตูล ซึ่งกำหนดการ กิจกรรมในวันนั้นนอกจากจะเปิดรับบริจาคขยะแล้วเราจะมีกิจกรรมพัฒนาในชุมชนด้วย นอกจากรายได้ส่วนหนึ่งนำไปบริจาคแล้วเรายังได้ลดปริมาณขยะในครัวเรือน ฝึกให้มีการคัดแยกขยะเพราะปัญหาขยะค่อนข้างจะเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ วันนี้ก็เป็นการอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
สำหรับเทศบาลเมืองสตูลนั้น มีทั้งหมด 20 ชุมชน จะมีการเปิดจุดรับบริจาคขยะรีไซเคิลในชุมชน เดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันพฤหัสบดี ของสัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 4 และมีการจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนนั้นๆไปด้วยเพื่อพัฒนาสุขภาวะที่ดี โดยชุมชนแรกจะรับบริจาคที่ชุมชนศาลากันตง เขตเทศบาลเมืองสตูล นอกจากนี้ที่สนามรัชกิจประการ ยังจุดรับบริจาคขยะรีไซเคิลทุกวัน เพื่อให้ประชาชนที่มาออกกำลังกายที่สนามฯสามารถมีส่วนร่วมบริจาคขยะในมือ อย่างขวดน้ำดื่ม ได้ด้วย
……………………….
น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง