เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล
เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล
ลูกหยี ผลไม้ป่าโบราณ ทางวัดทำสวนป่าปลูกอนุรักษ์เป็นศูนย์เรียนรู้
ลูกหยีผลดกดำ อายุกว่า 20 ปี ยืนต้นสูงเด่น 15 เมตร เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้หายาก ขึ้นอยู่ภายในพื้นที่วัดนิคมพัฒนารามผัง 7 ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล พร้อมๆกับ ลูกตะขบ ลูกละไม ลองกอง มังคุด สละอินโด มะม่วง และมะพร้าว
ในฤดูกาลนี้ลูกหยี ให้ผลผลิตจำนวนมาก แต่การเก็บผลลูกหยีที่มีขนาดเล็กบนต้นใหญ่ เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ผู้เก็บเกี่ยวต้องใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว ปีนขึ้นไปตัดกิ่งขนาดใหญ่ ผูกเชือกค่อยๆหย่อนลงมา ทำให้ได้ผลลูกหยีที่มีคุณภาพ ผลไม่หลุดร่วงจากช่อ
พระครูโสภณปัญญาสาร เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนาราม ผัง 7 //เจ้าคณะอำเภอมะนัง นำทีมชาวบ้านในพื้นที่ เก็บลูกหยีในสวนป่าภายในวัดอย่างชำนาญ ได้ผลลูกหยีจำนวนมาก พร้อมขายผลสดเป็นพวงละ 50-100 บาท รายได้ส่วนหนึ่งนำมาเป็นค่าแรง และเป็นปุ๋ยบำรุงต้น
สำหรับ “ลูกหยี “ เป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน เปลือกสีดำ เนื้อในสีแดงส้ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน มีรสเปรี้ยวจัด หากนำเมล็ดออกแล้ว คลุกน้ำตาล รสชาติอร่อย ส่วนผลสด จะมีขายตามตลาดนัด เฉพาะในช่วงฤดูกาลเท่านั้น และจะขายตามตลาดออนไลน์ อยู่ที่กิโลกรัมละ 80 ถึง 165 บาทขึ้นไป
ลูกหยีต้นนี้ เป็นไม้ป่าโบราณผลหาทานยาก ที่ทางเจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนาราม ผัง 7 ตั้งใจปลูกและขยายพันธุ์ไว้ พร้อมต้นไม้หาทานยากอีกกว่า 20 ชนิด บนพื้นที่ 20 ไร่ เพื่ออนุรักษ์และต้องการทำเป็นศูนย์เรียนรู้ส่งต่อไปยังคนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
พระครูโสภณปัญญาสาร เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนาราม ผัง 7 กล่าวว่า เคยมีแนวคิดว่าเราจะหาพันธุ์ไม้ผล ผลไม้พื้นถิ่นใน 14 จังหวัดภาคใต้มาปลูกรวมไว้ที่วัดพัฒนารามผัง 7 เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ อนุรักษ์พันธ์ไม้หายาก ซึ่งปัจจุบันจะมีประเภทไม้ผล 20 กว่าชนิดด้วยกัน ลูกหยีก็เป็นไม้พื้นบ้านที่ปลูกไว้ใช้เวลายาวนาน 20 กว่าปี ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่ให้ผลและดกมาก
ด้าน นางภาสพิชญ์ นาควงค์ อายุ 58 ปี ชาวบ้านที่ชอบทานผลไม้ป่าโบราณ บอกกับทีมข่าวว่า มีโอกาสเห็นต้นลูกหยีที่วัด มันสูงใหญ่ ยิ่งเมื่อเห็นการเก็บเกี่ยวรู้สึกสงสารคนปีนไปเก็บ มันเสี่ยงมาก ซึ่งลูกหยีผลสดจะหาทานยากในยุคสมัยนี้ คนที่ปลูกก็มีน้อย ใช้เวลาหลายปีกว่าจะโตให้ผลที่กินได้
……………………………………………………………………
เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล