กลุ่มคนเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกในจังหวัดสตูล เดินหน้าต้องการให้ปลดล๊อกจากบัญชีรายชื่อกฎหมายสัตว์ป่าคุ้มครอง   และวันที่ 18 ต.ค. นี้   เตรียมเดินทางขึ้นสมทบร่วมกับจังหวัดอื่นในการยื่นเรื่องขอแก้กฎหมาย

           กลุ่มเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุก ยังคงยื่นเรื่องเพื่อให้ปลดล็อกนกกรุงหัวจุก  ออกจากสัตว์ป่าคุ้มครอง  และมองว่าขึ้นทะเบียนนกกรุงหัวจุกเพราะเป็นเรื่องยุ่งยาก และกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกจังหวัดสตูล  เตรียมพร้อมขึ้นไปกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนการยื่นเรื่องข้อเสนอในครั้งนี้

           ด้านนายอัสหาด   หลังจิ  อดีต ประธานชมรมนกกรงหัวจุกสตูล  มองว่า  กฎหมายเดิมนั้นไม่ทันสมัย ต้องการให้เปลี่ยนแปลงมากกว่านี้  โดยในวันที่ 18 ตุลาคมนี้ กลุ่มเพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุกในจังหวัดสตูล ทั้ง 7 อำเภอ  นับ 100 คน จะเหมารถตู้เพื่อเดินทางขึ้นไปยังกรุงเทพฯ ร่วมสมทบกับคนเพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุกจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้  และการที่ได้ออกมาเรียกร้องในครั้งนี้เพราะมองว่า การเพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุก เป็นรากฐานเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง และเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ ได้ดีอีกด้วย

 

         ด้านนาย สักรินทร์    อังวรโชติ  อายุ 38 ปี  หนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุก กล่าวเพิ่มเติมว่า นกกรุงหัวจุก เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ดี ที่นิยมเพาะเลี้ยงกัน แต่เมื่อกฎหมายเข้มงวดก็ลำบาก   และมีผลกระทบกับทางกลุ่มเพาะเลี้ยงมาก จึงฝากให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ   ได้ทบทวนข้อเรียกร้องในครั้งนี้  ส่วนกรณีคนไปดักจับนกกรุงหัวจุกในป่า  ก็ควรจับมาลงโทษขั้นเด็ดขาด  แต่ก็ควรมองถึงกลุ่มเพาะเลี้ยง ที่ต้องการทำเรื่องขึ้นทะเบียนนกกรุงหัวจุกให้ง่าย และสะดวกกว่าที่ผ่านมา

        สำหรับในพื้นที่จังหวัดสตูล มีสนามการแข่งขันเสียงนกกรุงหัวจุก  ที่ถูกต้องตามกฎหมายหลายสนาม นกทุกตัวได้ขึ้นทะเบียนตามที่อุทยานฯ กำหนด  ถึงจะยุ่งยากในหลายๆ  ขึ้นตอน  แต่ก็ได้ทำตามข้อกฎหมาย ส่วนการเรียกร้องในครั้งนี้ เรียกร้องเพื่อส่วนรวม   มิใช่เป็นการเห็นแก่ตัวของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุกแต่อย่างใด

อัพเดทล่าสุด

           สำหรับหรับนกกรงหัวจุก หรือ นกปรอดหัวโขน เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม มีเสียงอันไพเราะ จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ชอบสัตว์เลี้ยงเพื่อฟังเสียง   และได้มีการประกวดเสียงร้อง  เช่นเดียวกับนกเขาชวา  ในปัจจุบันนกกรงหัวจุก  จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนก  ลำดับที่ 550  ตามกฎกระทรวงกำหนด  ให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ห้ามล่า หรือจับมาจากธรรมชาติ แต่เปิดโอกาสให้เพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้ แต่ยังมีผู้เพาะเลี้ยงที่ไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมาก  เนื่องจากมีขั้นตอนการขออนุญาตหลายขั้นตอน  ต้องใช้หลักฐานหลายอย่าง และต้องลงทุนสูง

……………………………………………………