สตูล-เลี้ยงปลาดุกอุยในสวนยางข้างบ้าน ต่อยอดแปรรูปส่งขาย

        ชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา   อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล ใช้พื้นที่ว่างในสวนยางพารา  และ พื้นที่ข้างบ้าน เป็นกระชังบก ขนาด 3x 6 เมตรเพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน 700 ตัว  ไว้บริโภคอีกทั้งเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน

 

          ซึ่งนายวิชิต  ชูน้อย  อายุ 65 ปี ส.อบต.นิคมพัฒนา  บ้านเลขที่  115  ม.8  นิคมพัฒนา อ.มะนัง บอกว่า ก่อนที่จะลงมือเลี้ยงทางตนได้เข้าอบรมรับความรู้จากประมงจังหวัด เรื่องเทคนิคการเลี้ยง  การดูแลระบบน้ำ  การให้อาหาร  ดูแล้วไม่ยาก  เพราะใช้พื้นที่ข้างบ้านในการเลี้ยงที่ไม่มากนัก  หลือจากรับประทานก็สามารถขายเพื่อนบ้านในราคาถูกกว่าท้องตลาดได้   ขณะนี้ทางชาวบ้านได้มีการตั้งเป็นกลุ่ม ชื่อ  กลุ่มประมงน้ำจืดหมู่ที่ 8  มีสมาชิก 15 คนทุกครัวเรือนมีกระชังบกทุกบ้าน

 

         สำหรับปลาดุกบิ๊กอุย ที่เหลือจากรับประทานภายในครัวเรือนยังสามารถที่จะนำมาแปรรูปส่งขายไปนอกพื้นที่ได้   ซึ่งกลุ่มชาวบ้านภายใต้ชื่อสวนลุงธา  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล  เป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ ในการสอนแปรรูปปลาดุกร้า  (ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในวิธีการถนอมอาหาร) โดยใช้เกลือในสัดส่วน 15 ถุงน้ำตาลทราย 5 กิโลกรัมและปลาดุก 15 กก. คลุกเคล้าและยัดเกลือและน้ำตาลที่ผสมกันแล้วลงไปในท้องปลาดุก  พักไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิดจำนวน 3 วัน จากนั้นนำมาล้างให้สะอาดและนำไปตาก 3 แดด ก็สามารถนำมารับประทานและส่งขายได้ในกิโลกรัมละ 330 บาท

      นายนิพนธ์   เสนอินทร์  ประมงจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  โครงการนี้เป็นงบประมาณเหลือจ่ายประจำปี 2566 เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร  โดยโครงการนี้อุดหนุนในเรื่องของพันธุ์ปลาดุก  อาหารและกระชังปลา  ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอท่าแพ  อำเภอทุ่งหว้า  อำเภอมะนัง  อำเภอควนกาหลง  และอำเภอควนโดน จำนวน 5 รุ่นรุ่นละ 35 รายรวมทั้งสิ้น 175 ราย

 

          โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้  ไม่มีบ่อดินและขาดโอกาส  สามารถใช้พื้นที่เล็กน้อยและไม่มีแหล่งน้ำสามารถเลี้ยงไว้ข้างบ้าน  หลังครบ 40 วัน จากนั้นก็จะมีการติดตามผลโดยมีปราชญ์ทางด้านเกษตร ผู้แทนภาคประชาชน  มาร่วมให้คำแนะนำและวางแผน  จากการติดตามพบว่าอัตราการรอดดีมากรวมทั้งการเติบโตของปลาดี

 

          นอกจากจะมีรับประทานภายในครัวเรือนแล้วสำนักงานประมงจังหวัดสตูลยังคาดหวังว่าจะสามารถแบ่งปันขายในชุมชนรวมทั้งการแปรรูปเป็นสินค้าภายในชุมชนหรือส่งขายไปด้านนอกชุมชนได้  เป็นผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าหรือปลาดุกเค็มต่อไปได้

……………..

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล