ทะเลสตูล ปูม้าอุดมสมบูรณ์จากการต่อยอดช่วยกันอนุรักษ์  จนมามีอาชีพที่ยังยืนของคนในชุมชน

     ปูม้า  กลายเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลจังหวัดสตูล  หลังพบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น  โดยจากการร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู จนมาสู่การเพาะเลี้ยงปูไข่ ก่อนนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติ  จากกิจกรรมโครงการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของธนาคารปูม้าจังหวัดสตูล ตามแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG   

 

โดยเป็นการสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มหมู่บ้านชายฝั่งแห่งนี้  ซึ่งโครงการดังกล่าวนำร่องโดย ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ หัวหน้าโครงการ  ผศ.พาสนา เอกอุดมพงษ์ ผศ.สุภาพร เจริญสุข ผู้ร่วมโครงการ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง    โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อหนุนเสริมการทำธนาคารปูม้าชุมชนให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   พัฒนาชุมชนชายฝั่งที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG    เพื่อสร้างการรับรู้และจิตสำนึกของสังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า  และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการธนาคารปูม้าอย่างยั่งยืนให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป  สิ่งที่สำคัญโครงการดีๆนี้ได้สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  

 

ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ หัวหน้าโครงการฯ  กล่าวว่า   การลงมาส่งเสริมในพื้นที่จังหวัดสตูล เรามีแผนการดูแล ทั้งพื้นที่ชายฝั่ง และตามเกาะแก่ง ของธนาคารปูม้านี้ เพื่อต้องการสร้างความเข็มแข็งในกลุ่มสู่ความยั่งยืน  พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างชุมชน สู่อาชีพที่ยั่งยืน รายได้ดี และที่สำคัญการสร้างให้ชาวบ้าน ที่ร่วมทำนี้ มีใจที่อนุรักษ์ปูม้าไปด้วย 

       สำหรับสถานนการณ์ปูม้าในจังหวัดสตูลนี้ พบปูม้ามีเพิ่มมากขึ้น แหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ ดูจากที่ประชาชน ชาวประมงนำมาทำเป็นเมนูอาหารแปลรูปเป็นจำนวนมาก  และสิ่งที่เรานำลูกปูม้าไปปล่อยคืนสู่แหล่งธรรมชาติ จุดตรงไหน ตรงนั้นก็อุดมสมบูรณ์เห็นได้ชัดเจน

ส่วนกิจกรรมที่เกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ก็จะทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงการดูธนาคารปูม้าอีกด้วย ทั้งอนุรักษ์ ทั้งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติในครั้งต่อไป และทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง   พร้อมเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล การสร้างธนาคารปูม้าในจังหวัดสตูล แบบยั่งยืนต่อไป

อัพเดทล่าสุด