สตูล-ประมงพื้นบ้านดีเดย์รวมพล  ค้านแก้กฎหมาย  เปิดช่องให้เครื่องมือประมงหนักเปลี่ยนมาเป็นประมงพื้นบ้าน

          วันที่ 13 มีนาคม 2567 ที่ศาลากลางจังหวัดสตูล  นายเหลด   เมงไซ   ตัวแทนจากประมงพื้นบ้านท่าแพ  และตัวแทนในอำเภอต่างๆของจังหวัดสตูลกว่า30 คน  เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายชัยวุฒิ  บัวทอง  ปลัดจังหวัดสตูล  หลังได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด  นายธนภัทร   เด่นบูรณะ  ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล, ผู้แทนประมงจังหวัด  ,เพื่อผ่านไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. ….

 

          ถึงข้อกังวลและข้อเสนอต่อการแก้ไขกฎหมายประมงฯของชาวประมงพื้นบ้าน ถึงสภาผู้แทนราษฎร  โดยสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.๒๕๕๘ พ.ศ. …. ตามที่คณะรัฐมนตรี เสนอ พร้อมกับฉบับของพรรคการเมืองต่างๆ อีก ๗ ฉบับ และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติฯดังกล่าว จำนวน ๓๗ คน ไปพิจารณารายละเอียด โดยใช้ร่างฉบับของคณะรัฐมนตรีเป็นฉบับหลัก ในการพิจารณา และมีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แล้วสองครั้ง

          โดยมีสาระสำคัญ คือ การตัดวัตถุประสงค์การคุ้มครองช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น ออก รวมทั้งกรณี การลดเขตทะเลชายฝั่ง การเปิดช่องให้เครื่องมือประมงหนักเปลี่ยนมาเป็นประมงพื้นบ้าน เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการประมงประจำจังหวัด และการลดโทษลง เป็นต้น

 

          ทั้งนี้ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ในจังหวัดชายทะเล ประกาศไม่เห็นด้วยกับการ ยกเลิกการคุ้มครองประมงพื้นบ้าน โดยมองว่า ชาวประมงพื้นบ้านเป็นประชาชนในท้องถิ่น ที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง การช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ

 

          จึงกำหนดวัน ดีเดย์ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๗ นัดหมายชาวประมงพื้นบ้านทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล เข้ายื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด ถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.๒๕๕๘ พ.ศ. …. พร้อมกัน

 

          นายเหลด   เมงไซ   ตัวแทนจากประมงพื้นบ้านท่าแพ  กล่าวว่า  อยากให้ทุกคนคิดตามว่าเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงหรือชนิดทำลายล้างกลับเข้ามาทำประมงชายฝั่งที่ประมงพื้นบ้านทำมาหากินทำทั้งกอบ้างซั้งเชือกบ้าง พยายามที่จะรักษาห่วงโซ่อาหาร เพื่อให้ปลาได้เติบโต แต่กลับพยายามทำให้เครื่องมือเหล่านี้เข้ามาอยู่ในทะเลชายฝั่ง  และที่น่าอนาถคือ 10 เครื่องมือประมงเหล่านี้ได้กลายมาเป็นประมงพื้นบ้าน  ให้อำนาจประมงจังหวัดซึ่งอำนาจเหล่านั้นก็มาจากประมงพาณิชย์ เอาลงที่กลายพันธ์ก็คือประมงพาณิชย์เดิม  มองว่ามันเป็นการทำเป็นแบบกระบวนการ กระบวนการทำลายล้างทรัพยากร รู้จักแต่กอบโกยไม่รู้จักการรักษา

………………

อัพเดทล่าสุด