เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล
เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล
สตูล แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้ ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ
ที่สวนโกฮก หมู่ 2 เขตเทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองสตูล ลงพื้นที่เยี่ยมสวนแห่งนี้ ซึ่งมีพื้นที่ 10 ไร่ ได้ปลูกทุเรียน 100 ต้น หลังพบว่า ที่สวนแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากช่อทุเรียนได้แห้งและล่วงหล่นจำนวนมาก แม้สวนแห่งนี้ จะเป็นสวนที่มีระบบน้ำเพียงพอ แต่สภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด เชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะยาวนานไปจนถึงเดือน พ.ค.นี้ ทำให้เกษตรกรแม้จะมีระบบน้ำ ต้องเพิ่มความถี่ในการรดน้ำที่โคนต้น เป็นระยะ ๆ เพื่อหล่อเลี้ยงรักษาระดับความชื้น
นายพิสุทธิ์ กั้วพานิช อายุ 46 ปีเจ้าของสวนทุเรียน กล่าวว่า ปีนี้ต้องดูแลสวนทุเรียนเป็นพิเศษเพราะเป็นพืชหลักที่ทำรายได้ให้กับทางสวน รองลงมาเป็นมังคุด และเงาะ สถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้ทางสวนกลัวมาที่สุดคือ ฝน เพราะหากฝนตกหนักในช่วงนี้อาจจะทำให้ผลที่เริ่มติดดอก ล่วงหล่นเพิ่มได้ แต่ก็ยังมีพืชบางชนิดที่ยังคงต้องการช่วงแล้ง พร้อมเชื่อว่าปีนี้ ผลผลผลิตจะลดน้อยกว่าทุกปีเหลือร้อยละ 60-70
ขณะที่ทางด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล ได้แนะนำให้เกษตรกร รดน้ำพืชผลเป็นช่วงๆ ก่อนออกดอก โดยจะให้น้ำในระยะเวลานึง เมื่อติดดอก…..ผสมเกสร ต้องลดปริมาณน้ำลง เกษตรกรเองก็ต้องประเมินว่าพื้นที่ของตัวเองมีปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่ สำนักข่าวไทยอสมท.รายงานจากจ.สตูล
นางสาวศรัณยา สว่างภพ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า สำหรับพืชที่มีความเสี่ยงจะให้ผลผลิตลดน้อยลง ในช่วงแล้งนี้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ จำปาดะ ลองกอง ซึ่งต้องมีการพยากรณ์อีกครั้ง ในช่วงเมษายนว่า จะมีฝนตกลงมาหรือไม่ สำหรับเกษตรกรรายไหนที่มีระบบน้ำ สำรอง ในช่วงนี้ไม่ต้องการให้ฝนตกเพราะในสวนกำลังออกดอกติดผลผลิต ผิดกับ เกษตรกร ที่ไม่มีระบบน้ำ ในช่วงนี้ต้องการเพียง รักษาต้น ให้รอดตายจากฤดูแล้งนี้
………………………………
เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล