รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
เลือก สว. 67 : ทำไม ‘สว.’ หาเสียงไม่ได้เหมือน ‘สส.’
การแนะนำตัวที่ทำได้เฉพาะในขอบเขตของกฎหมายผู้สมัคร สว. ต้องแนะนำตัวแบบใดจึงไม่ผิดเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ศึกษาหลักเกณฑ์-ขอบเขตการแนะนำตัวทั้งในส่วนผู้สมัครรับเลือก ผู้ช่วยเหลือฯ และ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้การเลือก สว. ครั้งนี้ถูกต้อง โปร่งใส และเที่ยงธรรม
เมื่อได้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) แล้ว ผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม อาจแนะนําตัวเพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกรายอื่นและประชาชนทั่วไปได้รู้จักข้อมูลของตนเอง ตามวิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด
เหตุใดกฎหมายกำหนดให้ ‘สว.’ ใช้วิธีการแนะนำตัวไม่ใช่การหาเสียง
ประเด็นดังกล่าว นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้อธิบายไว้ว่า ‘สว.’ ตามรัฐธรรมนูญมีลักษณะต่างจาก ‘สส.’ ที่เป็นสภาของนักการเมือง เป็นสมาชิกพรรคการเมือง โดย สว. เป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นกลางทางการเมือง
กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้สมัคร สว. ทำได้เพียงแนะนำตัว นั้นหมายความว่าห้ามหาเสียงโดยปริยาย เพราะเชื่อว่าผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกันเองที่สมัครทุกคน มีความดี เด่น ดัง ในสาขาอาชีพของตัวเองเป็นที่ประจักษ์และทราบกันดีในวงการนั้นอยู่แล้ว และด้วยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจะมี วิจารณญานในการเลือกที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีการจัดตั้ง ฮั้วกันในการเลือก
“การแนะนำตัว คือ การบอกว่าตัวเองเป็นใคร มีประสบการณ์ในกลุ่มสาขาอาชีพนั้นอย่างไรเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอทั้งการเลือกแบบในกลุ่ม หรือเลือกแบบไขว้” นายแสวงระบุ
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 กำหนดให้ ผู้สมัครอาจแนะนำตัวได้ตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด ทั้งนี้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัครจะช่วยเหลือผู้สมัครในการแนะนำตัวจะต้องตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด ด้วยเช่นกัน
โดยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 กำหนดให้ บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้สมัครรับเลือก สว. หากประสงค์จะช่วยเหลือผู้สมัครในการแนะนําตัวจะต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในฐานะผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร ซึ่งเป็น บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัครที่ผู้สมัครยินยอมให้ช่วยเหลือแนะนำตัว รวมทั้ง สามี ภรรยา และบุตร ของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
หากมีการแจ้งและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ช่วยเหลือฯ ต้องแจ้งต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันดำเนินการ ยกเว้น สามี ภรรยา และบุตร ไม่ต้องแจ้ง
กรณีไม่แจ้งชื่อหรือการเปลี่ยนแปลงชื่อต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันดำเนินการ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอาจให้แก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการอาจนำมาเป็นเหตุสืบสวนหรือไต่สวนได้
ข้อห้ามในการแนะนำตัวการสมัครรับเลือก สว. มีดังนี้
กฎหมายกำหนดบทลงโทษผู้สมัครหรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการแนะนําตัว ‘ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั่นมีกำหนด 5 ปี’
ท้ังนี้หากมีข้อสงสัยในการแนะนำตัวของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 รวมถึงคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 753/2567 หมายเลขแดงที่ 971/2567 และคำพิพากษาศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 771/2567 หมายเลขแดงที่ 972/2567
หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง https://www.ect.go.th/ect_th/th/db_119_ect_th_6/2967 และสอบถามได้ที่สายด่วน 1444
#สว67 #เลือกตัวแทนประชาชน #20กลุ่มอาชีพร่วมใจขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต