รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
สตูล-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนควนขันบาติก สกัดสีจากเปลือกไม้ ผลไม้ วาดลวยลายอัตลักษณ์บนผืนผ้ายอดสั่งสุดปัง สร้างรายได้อย่างงาม
หลังมีการรณรงค์ ส่งเสริมให้สวมใส่ผ้าไทย ผ้าอัตลักษณ์ ลายผ้าที่ผ่านการตัดเย็บอย่างประณีตจึงถูกหยิบมาสวมใส่ ด้านกลุ่มวิสาหกิจผลิตผ้าหลายๆกลุ่มในจังหวัดสตูล ต่างดึงเสน่ห์ความเป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ออกมาใช้ ออกแบบให้สวยงามควรค่าแก่การสวมใส่
อย่างที่วิสาหกิจชุมชนควนขันบาติกปาเต๊ะ ซึ่งมี นางสาวพรพรรณ รักนิยม เป็นประธานกลุ่ม ก็ดึงเอาอัตลักษณ์ในพื้นที่ ทั้งความเป็นอุทยานธรณีโลกสตูล สีจากเปลือกไม้ ใบไม้ และผลไม้ในพื้นที่ มาต่อยอดสกัดเป็นสีย้อมผ้า และลวดลายบนผืนผ้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและได้รับความนิยมจากผู้สวมใส่
ล่าสุดทางกลุ่ม มีโอกาสนำผ้าเข้าร่วมประกวดผ้าจากสีธรรมชาติ ในกิจกรรมการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดสตูล ประจำปี 2567 ซึ่ง ทางวิสาหกิจชุมชนควนขันบาติกปาเต๊ะ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทสีธรรมชาติ และยังได้ในส่วนของรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภทสีเคมี
สมาชิกกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนควนขันบาติกปาเต๊ะ นำสีจากเปลือกและแกนไม้แสมดำ ขนุน เปลือกมังคุด ที่ถูกสกัดมาเป็นสีทาบนผืนผ้าที่วาดลวดลายแล้วทั้ง 2 ด้าน เพื่อเพิ่มสีสันให้สมบูรณ์ สวยงาม
ส่วนลายผ้านั้น มีทั้งลายดอกกาหลง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล ลายช่องลมของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ คฤหาสน์กูเด็น ลายฟอสซิลชนิดต่างๆที่ถูกค้นพบในจังหวัดสตูล ว่าวควาย รวมถึงลายขอ ซึ่งเป็นลายพระราชทาน ทำให้สีและลายผ้าของกลุ่มฯมีมากมายให้เลือก ทั้งสีจากธรรมชาติ และสีเคมี ซึ่งทำให้ราคาแตกต่างกันมาก
นางสาวพรพรรณ รักนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนควนขันบาติกปาเต๊ะ บอกว่า ผ้าแต่ละลวดลายที่ทำมาจากสีธรรมชาติ ทางกลุ่มจะขายอยู่ที่ผืนละ 2 เมตร ราคา 2,500 บาท ส่วนที่ทำจากสีเคมี เริ่มต้นราคาผืนละ 650 บาท โดยผ้าที่ทำจากสีธรรมชาตินั้น ขายได้ดีกว่า มียอดสั่งซื้อจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะซื้อเพื่อนำไปตัดเป็นเสื้อ และผ้าถุง หรือตัดเป็นชุดสวมใส่ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในจังหวัดสตูล และต่างจังหวัด มียอดสั่งซื้อไกลถึงกรุงเทพฯ เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายผ้าได้ 30 ผืน มีรายได้เดือนละประมาณ 40,000 กว่าบาท นอกจากผ้าชิ้นแล้ว ยังมีชุดเสื้อผ้าบาติก กระเป๋า หมวก และผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติกอื่นๆอีกด้วย
ด้านนายเฉลิมพร ศรีสวัสดิ์ เกษตรอำเภอเมืองสตูล มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล ลงพื้นที่กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนควนขันบาติกปาเต๊ะ เพื่อติดตามการดำเนินงาน และการบริหารจัดการกลุ่ม
โดยนางฮาบีบ๊ะ จารุพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า สำหรับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนควนขันบาติกปาเต๊ะ ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี 2556 มีสมาชิก 16 คน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีทำผ้ามานานกว่า 20 ปีแล้ว ได้เรียนรู้นำเปลือกไม้จากธรรมชาติมาสกัด และทำเป็นสีได้อย่างสวยงาม มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่ม
……………………………………………………………………..
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต