รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยสตูล พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีสำหรับนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น Thailand-Japan Student ICT Fair 2024 (TJ-SIF 2024) โดยมีนายโอตากะ มาซาโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช และกล่าวต้อนรับโดยนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
พร้อมรับชมการนำเสนอผลงาน การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการแชร์รูปภาพบนโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล โดยนักศึกษา Hachinohe KOSEN ประเทศญี่ปุ่น และชมการนำเสนอผลงานมีสิ่งประดิษฐ์ไอซีที หุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับสวนโกโก้ ใช้ GPS ในการอ้างอิงตำแหน่งของตัวเอง ตรวจจับและทำนายโรคของผลโกโก้จากภาพที่ถ่าย การส่งข้อมูลและการควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราช
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะได้ชมบู๊ทผลิตภัณฑ์ชุมชน จากนั้น ได้เดินเยี่ยมชมการพัฒนาเกมส์ของนักเรียนไทยและญี่ปุ่น , ชมนิทรรศการการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสตูลที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เฉพาะหน้าร้อน มาศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี
พร้อมพูดคุยกับชุมชนผ่านระบบซูม และชมผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปเพิ่มมูลค่า อย่าง น้ำพั้นซ์สาหร่ายขนหางกระรอก สบู่ “โซป ลาโต๊ด” เค้กสาหร่าย กือโป๊ะ น้ำพริก และอาหารปลา จากสาหร่ายหางกระรอก
ทางด้าน นางสาว กนิษฐา สุวรรณโน นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กล่าว่า จากปกติ สาหร่ายนกนกจะมีแค่ 3 เดือนในหนึ่งปี ทางเราจึงสืบค้นข้อมูลว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อสาหร่ายขนนก จึงได้ออกมาเป็น “เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ด้วย iot (internet of things)” โดยควบคุม ปริมาณ ไอโอดีน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สาหร่ายหางกระรอกโตได้ดี และมีคุณภาพ โดยปกติหากนำขึ้นจากธรรมชาติ จะขายโลละ 80 บาท แต่สาหร่ายที่เลี้ยงจาก เครื่องเพาะเลี้ยง สามารถขายสาหร่ายได้กิโลกรัมละ 200 บาท
ด้านนายคุณากร จันทร์เมือง นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กล่าวถึง “เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ด้วย iot (internet of things)” ว่า ได้ออกแบบระบบโดยควบคุม ปริมาณ ไอโอดีน ในชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก โดยควบคุมผ่านระบบ iot ที่สามารถแจ้งสถานะได้ แบบเรียลไทม์ ซึ่งๆ อาจจะมีการขายในอนาคต โดยอุปกรณ์นี้ ทำเป็นชุดต้นแบบ ราคาประมาณ 2 เซ็ท สำหรับ ใหญ่ ราคา50,000 บาท เล็ก 10,000 บาท
สำหรับ งานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านไอซีทีของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2567 เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กับกลุ่มโรงเรียนในโครงการ Super Science High Schools และสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางด้านไอซีที ของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จัดการเรียนรู้ของครู และการแข่งขัน Game Programming Hackathon ภายใต้การเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมีกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 18 แห่ง สถาบันการศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18 แห่ง กลุ่มโรงเรียนในโครงการ Super Science High Schools ประเทศญี่ปุ่น 14 แห่งและ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น 11 แห่ง จำนวนกว่า 1,000 คน เข้าร่วมงาน
โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีจำนวน 137 ผลงานในรูปแบบ Poster Presentation และ Oral Presentation นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีและหุ่นยนต์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย การบรรยายด้าน ICT โดยนักวิทยาศาสตร์ไทยและญี่ปุ่น ICT Workshop สำหรับนักเรียน การศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้าน ICT ในจังหวัดสตูล การประชุมวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น (TJ-ELS 2024) ในหัวข้อ AI for Education
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยกับหน่วยงานการศึกษาของญี่ปุ่น จนสามารถจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมไอซีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ สร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้เยาวชนตระหนักถึงการใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและยั่งยืน
งานนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนทางด้าน STEM สู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
………………………………….
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต