น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง
น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง
มติชาวอาชีวะค้านการหลอมรวม แต่หนุนตั้งมหาวิทยาลัยสตูล
ประเด็นการตั้งมหาวิทยาลัยสตูลได้กลับมาเป็นที่วิพากษ์อีกครั้ง เมื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีแนวคิดที่จะหลอมรวม 3 อาชีวะในจังหวัดสตูล ทั้งวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล มีนักศึกษาประมาณ 600 คน , วิทยาลัยเทคนิคสตูล 2,000 คน, วิทยาลัยการอาชีพละงู 1,000 คน และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ซึ่งนักศึกษา 200 คน มาหลอมรวมกันเพื่อตั้งมหาวิทยาลัยสตูล
ในประเด็นนี้ได้มีกระแสการต่อต้าน ว่าจะดีกว่าไหม หากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล จะผลักดันตัวเองเป็นมหาวิทยาลัย โดยไม่จำเป็นต้องหลอมรวม เพื่อโอกาสทางการศึกษาที่สูงกว่าระดับ ปวช.ปวส. เพื่อความหลากหลายของการศึกษาอย่างแท้จริง ที่ผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกตามความสมัครใจ ตามความต้องการ ตามกำลังทุนทรัพย์ ตามวิชาชีพที่ต้องการ ว่าเรียนที่ไหน เพื่อให้เหมาะกับตัวเอง
และเพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับการจัดการศึกษาที่อาชีวศึกษาในจังหวัดสตูล มีความเห็นด้วยหรือไม่ ในการหลอมรวมวิทยาลัยเทคนิคสตูลในการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยสตูล 3 ส่วน คือ 1 กรรมการบริหารสถานศึกษา (วิทยาลัยเทคนิคสตูล 100 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย) 2 ผู้บริหารครู บุคลากร 97.8 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย) 3.นักเรียน นักศึกษา ศิษย์ปัจจุบัน 95.93 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย) และสัปดาห์ต่อไป จะเป็นการทำประชามติในผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่าและศิษย์เก่า ต่อด้วยผู้ได้รับบริการวิชาชีพ เครือข่ายความร่วมมือ สถานประกอบการ ภาคประชาชน และพี่น้องชาวอาชีวะทั่วประเทศ
คุณครูธิษณา บำรุงเมือง คุณครู ว.เทคนิคสตูล เปิดเผยว่า บริบทของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเทคนิคต่างกันมาก ตนเป็นครูอยู่อาชีวะมา 30 ปี จะเห็นว่าเด็กอาชีวะเป็นอย่างไร 1 มีฐานะยากจน 2 ทักษะการเรียนเข้าระดับมหาลัยไม่ได้ เด็กอาชีวะอาจจะไม่เก่งทางด้านทางวิชาการ แต่สิ่งที่เจอมาตลอดคือซ่อมไปได้เปิดบริษัทเป็นของตัวเองได้ บางครั้งทางวิชาการก็ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิต
คุณครู ว.เทคนิคสตูล เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในความคิดของตนคนเดียวมองว่า ผู้ที่จะจัดตั้งให้มีการหลอมรวมอาชีวะไม่มั่นใจว่ามีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝงอยู่ แต่พวกเราจะยินดีมากๆที่จะมีมหาวิทยาลัยสตูลเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล แต่เราควรจะแยกกันจัดการศึกษากัน แต่มาพูดคุยกันในการเอาหลักสูตรมารวมกัน วิธีการนี้เชื่อว่าเด็กเราไปไกลหากมีการมาเขียนหลักสูตรด้วยกัน แต่หากจะหลอมรวมกันจริงผลกระทบเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ และครอบครัวอย่างแน่นอนเพราะนั่นหมายถึงค่าเทอมที่สูงขึ้น และเด็กไม่มีโอกาสเลือกเรียนในสายอาชีพที่ตนถนัด
นายวิเชียร บุญเตี่ยว ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสตูล กล่าวว่า สถานการณ์การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูลโดยใช้วิธีการหลอมรวม ด้วยความเป็นบริบทการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ อาชีวศึกษาที่ตั้งขึ้นเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ตอบโจทย์ประเทศที่ต้องการแรงงานที่มีฝีมือ คือ ปวช.และปวส. ขณะนี้วิทยาลัยเทคนิคสตูลได้ผลิตเด็กในระบบอยู่ที่ 2,000 คน หากเทียบในประเภทเดียวกันกับอาชีวศึกษาถือว่าเป็นขนาดกลาง
แต่เรายังมีนอกระบบซึ่งเกิดจากความร่วมมือของโรงเรียนและความต้องการของชุมชนเป็นโมเดลเด็กเข้ามาสัมผัสโลกของอาชีพจริงๆ ทุกวันพฤหัสบดีจะมีเด็กเข้ามาเรียนและฝึกอบรมในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ฟรี 100% อยู่ประมาณ 2,100 คนในปีการศึกษาที่ผ่านมา
ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสตูล กล่าวด้วยว่า ขอพูดในฐานะคนสตูลถอดหมวกผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคออกไปวันนี้ ที่ทำประชามติเกิดขึ้นด้วยการจัดตั้งหลอมรวม ทำให้อาชีวะเสียบริบทที่มีวัตถุประสงค์ของสำนักงานกลางอาชีวศึกษาที่ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง เพื่อตอบโจทย์การต้องการแรงงานให้กับประเทศหลังได้หนังสือเมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมา ก็รู้สึกตกใจหลังทางคณะกรรมการที่จะจัดตั้ง ใช้คำว่าหลอมรวมแล้วเอาโมเดลของของมหาวิทยาลัย ซึ่งขออนุญาตเอ่ยถึงคือ มหาลัยนราธิวาส เป็นโมเดลในการขับเคลื่อนและที่มาของการหลอมรวม ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คณะกรรมการที่ส่งต่อให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสำนักงานที่ดูแลในพื้นที่ คือ ศอบต. ทำให้เกิดคำถามเพราะเราไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้และเราก็ไม่ใช่นิติบุคคล
ขั้นตอนแรกของเราทำคือการคุยกับกรรมการสถานศึกษา กรรมการศึกษาไม่เห็นด้วยในการหลอมรวมแต่ เห็นชอบที่จะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดสตูล เราไม่ได้ขัดแย้ง หลังจากนั้นได้ขอมติเพื่อที่จะไปทำกับผู้บริหาร ครู บุคลากร ที่มีผลกระทบเนื่องจาก ม.นรา มีคนที่ไม่ประสงค์อยู่ต่อเกินกว่าร้อยละ 80 ที่จะต้องเดินออกจากบ้านหลังนี้ และหาสถานที่ใหม่ จำเป็นจะต้องให้พวกเขารู้ เมื่อมีมติเห็นชอบ ขอมติของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดที่ไม่เห็นด้วยในการหลอมรวม
ชี้แจงให้พวกเขาได้รับทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเขา และคนรุ่นๆต่อไปว่า ถ้าหลอมรวมแล้วจะไม่มีความเป็นตัวตนของอาชีวะ ตามบริบทของการจัดตั้งอยู่เลย และจะมีผลกระทบหากเปรียบเทียบข้อมูลจาก ม.นราธิวาส ปวช.อาจจะต้องจ่ายเงินจากที่วิทยาลัยเทคนิคเก็บอยู่ไม่เกิน 800 บาท หากเป็นมหาวิทยาลัย 2,000 เปรียบเทียบกับ ม.นราธิวาส ผู้ปกครองเดือดร้อนแน่นอน ส่วน ปวส.วิทยาลัยเทคนิคเก็บ อยู่ที่ประมาณ 2000 ถึง 2040 เทียบเคียงกับ ม.นราธิวาส ขั้นต่ำ 6,000 บาท
หากถามว่า วิทยาลัยเทคนิคมีความพร้อมในการเปิดปริญญาตรีหรือไม่ เรามีความพร้อมอยู่แล้ว 2 สาขา คือ เทคโนโลยียานยนต์ และ ภาควิชาการตลาด มีเด็กเรียนและจบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 รุ่น
ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสตูล กล่าวต่อว่า จากบริบทของอาชีวะเห็นได้จากตัวผม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เมื่อก่อนก็ไม่มีรายได้ ทำงานและก็เรียนไปด้วย โดยตลอดมาตั้งแต่ปวช. ปวส. จนถึงระดับเทียบเท่าปริญญาตรีผมเรียนที่อาชีวะมาตลอด อาชีวะเป็นช่องทางที่ตอบโจทย์ผู้ปกครองในกลุ่มที่มีรายได้น้อย ถึงปานกลาง ที่หาเช้ากินค่ำ ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย
พร้อมจะสอบถามกลับไปว่า หากมองเห็นศักยภาพของสถานศึกษาแห่งนี้ว่ามีคุณภาพ ก็อยากให้เติมงบประมาณมาที่นี่ แล้วเราจะทำให้ดูว่ามันมีคุณภาพอย่างไร เพราะจาก 400 แห่งอาชีวะ วิทยาลัยเทคนิคสตูลสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว แม้เด็กเราไม่มีตัวเลือกมากแต่ก็สามารถคว้าการแข่งขันทักษะชนะเลิศมาแล้วหลายรายการ…ผอ.วิทยาลัยเทคนิค กล่าวทิ้งท้าย
วันนี้เกิดคำถามมากมาย ถึงอาชีวศึกษาทั้ง 3 วิทยาลัยไม่มีศักยภาพพอ ที่จะพัฒนาฝีมือให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพเท่ามหาวิทยาลัยได้ หรือ จังหวัดสตูล พัฒนาได้โดยไม่ต้องสูญเสียความเป็นตัวตนของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาที่จัดให้คนทุกช่วงวัย
……………………………….
น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง