“มาแต่ตรัง…” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์-เมืองเก่าอันดามัน 22-26 พ.ย.นี้ ย้อนรอย “คลองห้วยยาง” ต้นกำเนิดการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง เปิดพื้นที่ คนรุ่นใหม่ปล่อยของมหกรรม Exhibition & art installation แลหนังที่วิกเพชรรามา ชมงาน Creative spaceที่ รพ.เก่าตรังชาตะเปิดตลาด Creative market นำเที่ยวแบบใหม่ Old town Tour

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง จัดแถลงข่าวงาน “มาแต่ตรัง..” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว   ภายใต้โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) เพื่อสร้างโอกาสและเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นย่านเมืองเก่าตรัง   โดยการนำเสนอสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของดีของจังหวัด ดึงกลุ่มคน ท้องถิ่น ผู้ประกอบการและชุมชน มาร่วมกันสร้างสรรค์ ทำให้เมืองเก่าตรังซึ่งนอกจากเป็นเมืองค้าขายที่ตอบสนองวิถีของคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถรองรับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ให้มาเรียนรู้มิติวัฒนธรรมของเมืองเก่าได้

          โดยภายในงานแถลงข่าวมีการจัดเสวนาหัวข้อ “เมืองเก่าทับเที่ยง ย่านสร้างสรรค์” โดยน.ส.อรัญญา ทองโอตัวแทนกลุ่ม Backyard นายวรพงศ์ เชาว์ชูเวชช ตัวแทนตรังชาตะ นายจิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการ YEC และผศ.ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท ตัวแทนศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความคาดหวังในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีสื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานมากมาย อาทิ นายขจรศักดิ์เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และ นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง เป็นต้น

          กิจกรรมภายในงานมาแต่ตรัง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourismFestival จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00- 21.00 น. ณ คลองห้วยยาง ย่านเมืองเก่าทับเที่ยง  มีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วัน ตัวอย่าง  กิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ การจัดแสดงแสงสีและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่คริสตจักรตรัง  มูลนิธิกุศสถานและริมคลองห้วยยาง   นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนังและศิลปะจัดวาง (Exhibition & art installation) ที่เพชรรามาและคลองห้วยยาง เปิดพื้นที่เรียนรู้ทดลองสร้างสรรค์ (Creative space) ณ ตรังชาตะ เปิดพื้นที่พักผ่อน ณ สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง(Pocket park)ชมตลาดอาหารงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ (Creative market) ณ มูลนิธิกุศลสถานตรัง มีกิจกรรมสาธิตอาหารแนวใหม่ และกิจกรรมพาชมย่านเมืองเก่า (Old town Tour)

           ทั้งนี้เมืองเก่า “ทับเที่ยง”เป็นเมืองค้าขาย ศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง ขยายตัวจากการขนสั่งสินค้าจากท่าเรือกันตังกระจายสู่ภูมิภาค   ซึ่งมีร่องรอยเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมแบบ บ้านร้านค้า (Shophouse) และสถานที่สำคัญทางศาสนาที่สะท้อนความเป็นพหวัฒนธรรมของคนใน พื้นที่ตรังได้ชื่อว่าเป็นเมืองอาหาร 9 มื้อเพราะเมืองตอบสนองต่อวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่หลากหลายผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่   ทั้งพ่อค้า ชาวสวนยางและคนทั่วไป ที่ใช้เวลาในเมืองแตกต่างกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น ดังนั้น เมืองที่พร้อมรับวิถีชีวิตคนที่หลากหลายย่อมมีศักยภาพเป็นพื้นที่รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเล หรือนักท่องเที่ยวเทศกาล ที่เข้ามายังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำหรับงานในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกัน มีแผนที่ท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรัง เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรัง มีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยง ได้บันทึกเรื่องราว รากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรัง ธุรกิจในย่านเมืองเก่ามีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาล เกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้าง ผู้สนใจสามารถมาร่วมงาน”มาแต่ตรัง…” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival

นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง บอกว่า จังหวัดตรังได้แถลงข่าวเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่า ซึ่งมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเรารู้กันว่าเรามีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และจังหวัดตรังเราเองมีเมืองเก่ามีโบราณสถาน มีสถาปัตยกรรมมีวิถีของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี พื้นถิ่นที่มีสตอรี่ที่เป็นของเก่า ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดขายในเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่าได้ แล้วเราได้มีการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่อยู่ในชุมชนเมืองเก่าทับเที่ยงในอำเภอเมืองตรังซึ่งเราได้จับมือกับทางเทศบาลนครตรัง รายการที่พัฒนาคลองห้วยยางและสถานที่รอบข้างๆที่มีสตอรี่ของสถาปัตยกรรมในด้านเมืองเก่าเป็นจุดแรกที่เราจะพัฒนา ที่จะย้อนอดีตเข้าไปซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA มาช่วยเราในการพัฒนา นอกจากในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วนั้นดังกล่าวเราเป็นเทรนด์หนึ่ง ที่เราได้รับการพัฒนาและไปเอาของในเรื่องที่เรามีอยู่แล้ว ขึ้นมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว ก็คิดว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของแรงดึงดูดการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นแล้วจังหวัดตรังเรามีสนามบินและอาหารพื้นถิ่นที่อร่อยอยู่แล้วในสิ่งที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวมีพร้อมอยู่แล้วถ้ามาท่องเที่ยวเมืองเก่าที่ตรังแล้วจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่ตรังทั้งในเรื่องของสุขภาพธรรมชาติสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะมีการบูรณาการในเชิงการท่องเที่ยวของพหุวัฒนธรรม

แล้วเราโชคดีที่ตรังมีสนามบินตรังจะได้รับการพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีรันเวย์มาตรฐาน 2,900 กว่าเมตร จะเสร็จในปี 2568 ซึ่งเราได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งมีการประชุม ในการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชนเตรียมด่านการตรวจคนเข้าเมือง เตรียมเรื่องของปตท.จัดเรื่องในการเติมน้ำมัน การบิน charter Fight ที่เป็นไฟท์ต่างประเทศที่จะบินมาตรงจังหวัดตรังซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับเที่ยวบินชาร์เตอร์ไฟท์ เรื่องของการรับนักท่องเที่ยวเตรียมไว้พร้อมแล้ว

และเทรนด์การท่องเที่ยวที่จัดสรรในเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติเพราะฉะนั้นตนเองคิดว่า ที่เราตั้งโจทย์ไว้ ก็อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือยุโรป ให้เข้ามาเที่ยวทำให้รู้จักจังหวัดตรังมากขึ้นตนเองมั่นใจว่า 22-26 พฤศจิกายน 2566 นี้ จึงอยากจะเชิญชวนทางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้มาสัมผัสเมืองตรังและจะประทับใจแน่นอน ซึ่งจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่หมูย่างแน่นอน

สำหรับในเรื่องของเศรษฐกิจ ที่เรามีสถิติสูงสุดคือปี 2562 นักท่องเที่ยวที่เข้ามาประมาณ 1,500,000 คน เรื่องของรายได้เรามีประมาณ 9,000 กว่าล้านบาทเราคาดหวังว่าขอให้เท่ากับปี 2562 ที่ผ่านมา รายได้ในจังหวัดตรังต้องมากกว่า 9,000 ล้านบาท.เรามีการพูดคุยและสำรวจ ทาง CEA ก็สำรวจ ทางเทศบาลนครตรัง ชุมชนทับเที่ยงโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของอาคารเก่า ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เขาให้ความร่วมมือ ยินดีที่จะให้ใช้อาคาร เพื่อจัดโซนหรือ เป็นย่านเมืองเก่า ถือว่าเป็นเรื่องดี คนตรังรักที่อนุรักษ์ ที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าซึ่งเราได้จัดตั้งงบเป็นสารตั้งต้นงบประมาณ 8 ล้านบาท พัฒนาเรื่องของคลองห้วยยางและจุดที่เป็นแลนด์มาร์ค ตอนนี้การดีไซน์ออกแบบย่านเมืองเก่าทางเทศบาลนครตรังรับช่วงต่อไปและทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองที่เขามีงบประมาณในการสนับสนุนนั้น ก็จะเกิดเหตุผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในความสำเร็จที่เรามีทุกภาคส่วนจะต้องเคลื่อนกันหมด

            น.ส.พันธิตรา สินพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) บอกว่าสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA เรามีภารกิจ ซึ่งเรามีโครงการ เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย   ซึ่งมีเครือข่ายทั้งหมด 33 จังหวัดทั่วประเทศ    และตรังเป็นหนึ่งในจังหวัดนั้น ซึ่งตรังไปเร็วกว่าจังหวัดอื่น   ซึ่งโครงการเราเริ่มเมื่อปี 2563   เนื่องจากว่ามีนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ มีพื้นที่สร้างสรรค์มีสินทรัพย์ มีหน่วยงานภาครัฐซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้เป็นทุกจังหวัด ที่หน่วยงานเห็นความสำคัญของการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ CEA เราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเป็นตัว support เราเอาประสบการณ์ที่เราทำกับกรุงเทพฯย่านเจริญกรุง ตลาดน้อยและเชียงใหม่ สาขาที่ขอนแก่น และสิ่งที่เราได้บทเรียน เป็นการทดสอบของแต่ละพื้นที่ และเราต้องดูว่าศักยภาพของแต่ละพื้นที่มีอะไรโดยจังหวัดตรังเรามี 2 ย่านเป็นย่านต้นแบบ คือ ย่านเมืองเก่าทับเที่ยงและย่านกันตัง    เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการการทำงาน  และดีใจมากที่ตรังลงตัวมาก และตรังชาตะอยากจะทำให้พื้นที่อาคารเก่า เป็นที่คนตรังผูกพัน คนที่อายุ 40 อัพเกิดที่นี่อยากจะทำเป็นมิวเซี่ยมเกิดงาน “เถตรัง” ขึ้นมา เกิดจากคนรุ่นใหม่ร่วมตัวกันขึ้นมา เช่นนำไม้เทพธาโร ผ้านาหมื่นศรี   มาถ่ายทอดผ่านอาคารเก่าให้มีคุณค่าและเรามาเจอกับคลองห้วยยาง และมีแผนพร้อมกัน   มาแต่ตรังกินพื้นที่ ชุมชนเริ่มมา และหน่วยงานเข้ามาซับพอร์ต ก็จะเกิดการลงทุนและการท่องเที่ยวจะเข้ามา ทำเพื่อให้คนมาท่องเที่ยว ถ้าเราทำทุกอย่างให้น่าอยู่ จะทำให้เกิดเงินเข้ามา เพราะมีคนเข้ามาเที่ยว เมื่อคลองห้วยยางต่อไปเดินแล้ว เสร็จอาหารเช้ามากินตรงนี้ มีดนตรีเบาๆ มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์จะไม่รู้จบ

และนี่คือแนวทางของCEA

            ………………………………………………………………………….




อัพเดทล่าสุด