ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ  ขณะที่สำนักงานประมงจังหวัดเตรียมแผนทบทวนกฎกระทรวง 2565 

         วันที่ 14 มิ.ย.2566  ที่ปากร่องน้ำในคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล   กลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ยังคงปักหลักในการชุมนุมประท้วงด้วยการนำเรือขณะนี้ 23 ลำปิดเส้นทางเข้า-ออก (แม้ขณะนี้เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเข้าออกได้)   เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความชัดเจนในข้อเสนอ

           หลังตลอดของการประท้วงเรียกร้องตลอด 3 วันที่ผ่านมากลับมองว่าไม่ได้รับการพูดคุยเจรจามีเพียงปลัดอาวุโสรักษาการแทนนายอำเภอละงู เข้ามารับหนังสือข้อเรียกร้องเท่านั้น  ทำให้ทางกลุ่มประมงผู้ชุมนุมประท้วงมีมติว่าในวันพรุ่งนี้จะยกระดับการชุมนุมด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งฝั่งหลังไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐมาพูดคุยเจรจา

 

          นายวรวิทย์ หมีนหวัง อายุ 38 ปี หนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนในครั้งนี้ของชาวประมง  เปิดเผยว่า  ตลอดการชุมนุมเรียกร้องไม่ได้รับการเหลียวแล หรือคำชี้แจงมีเพียงการมาเพื่อรับเรื่องร้องเรียกร้องเท่านั้น  ข้อเสนอต่างๆก็เงียบหายไป  ในเมื่อเป็นแบบนี้ทางผู้ชุมนุมมีมติว่าจำเป็นต้องยกระดับ  เพื่อให้รัฐเร่งออกมาพูดคุยหาทางออกให้กับพวกตน  ไม่ใช่เงียบแบบนี้ด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งช่องในวันพรุ่งนี้  ซึ่งพวกเราก็ไม่อยากทำแต่เห็นว่าภาครัฐได้บีบบังคับ 

 

         สำหรับข้อเรียกร้องยังคงยืนยันในข้อเดิม  2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่    และ  2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่

 

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด

          นายนิพนธ์    เสนอินทร์ ประมงจังหวัดสตูล   เปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉย  ได้เตรียมแผนเสนอทางจังหวัดด้วยการเปิดเวทีทบทวน 4 อำเภอ ในกฎกระทรวง กำหนดเขตทะเลชายฝั่ง  ปี 2565 ที่ออกมาบังคับใช้ว่ามีส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายทั้ง ประมงพื้นบ้าน  ประมงพื้นบ้านที่ใช้เครื่องมือพาณิชย์ และประมงพาณิชย์ รวมทั้ง NGO เชื่อว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อพูดคุยร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระยะสั้นต้องขอความร่วมมือผู้ชุมนุมให้เปิดเส้นทางเพราะมีคนอื่นได้รับความเดือดร้อน  ส่วน MOU ที่กล่าวอ้างไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากผิดต่อกฎหมายทั้งด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร 

           เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก  (วันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข)  โดยพบเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์     เรือโชคอามีหรน    และเรือโชคสมุทร   พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คนซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะนั้น  

…………………………………………….