รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
สตูล..เปิดบ้านกำปงบือฮัว โชว์วัฒนธรรมชายแดน พร้อมประกวดรถสามล้อพ่วงริ้วขบวนที่สื่อวัฒนธรรมพื้นบ้านโบราณโดยดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม
วันที่ 20 เมษายน 2567 ที่บ้านโคกทราย หมู่ที่ 3 ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล ชาวบ้านในพื้นที่ทั้งหญิงและชายแต่งกายในชุดมุสลิมพื้นเมืองโบราณ เข้าร่วมโครงการเปิดบ้านกำปงบือฮัว (Rumah terbuka di kampong Berhur) กันอย่างคึกคัก
โดยเฉพาะกิจกรรมริ้วขบวนสามล้อพ่วงกว่า 30 คัน ถูกตกแต่งสวยงามแปลกตา ชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมตกแต่งรถสามล้อพ่วงอย่างสวยงามแปลกตา ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนก็จะใส่ชุดพื้นเมืองโบราณเข้าร่วมการแข่งขัน 3 ประเภทคือ ประเภทรถสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์ และประเภทผู้โดยสารใส่ชุดพื้นเมืองสวยงาม
หนึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มีรถพ่วง เป็น(รถบ่าวสาว) ที่ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนเป็นคู่รักจริง โดยเจ้าบ่าวอายุ 82 ปี เป็นโต๊ะอีหม่ามบ้านโคกทราย ส่วนเจ้าสาวอายุ 60 ปี ทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้น ยินดี ที่ได้รับเกียรติในกิจกรรมนี้ โดยทั้งคู่ได้สวมชุดบ่าวสาวอีกครั้ง เจ้าบ่าวบอกว่าแม้จะแต่งมา 3 ครั้งแล้ว ก็ยังตื่นเต้น กิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นการสื่อถึงวัฒนธรรมพื้นถิ่นตำบลบ้านควน ในโครงการเปิดบ้านกำปงบือฮัว ที่ชุมชนบ้านโคกทราย จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีคนในชุมชน สร้างพื้นที่ให้ทุกกลุ่มในชุมชนได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมอนุรักษ์อัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมที่ดีให้คงอยู่ต่อไป และประชาสัมพันธ์ชุมชนต่อสังคมภายนอก
โดยโครงการดังกล่าวนี้ นายจตุพร สมปอง ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองสตูล เป็นประธานในพิธีเปิด นายกูดานัน หลังจิ นายกฯ อบต.บ้านควน กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมงาน ก่อนมอบรางวัลผู้ชนะประกวดรถสามล้อพ่วง จาก 3 ประเภท ทั้งประเภท รถสวยงาม ผู้โดยสานแต่งกายพื้นเมืองสวยงาม และประเภทความคิดสร้างสรรค์ โดยทีมสุรี โต๊ะมอง ชนะรับรางวัลประเภท รถสวยงาม ทีมสิริมา อารีหมาน ชนะรับรางวัลประเภทความคิดสร้างสรรค์ และ ทีมพัชรพล แยกนุ้ย รับรางวัลผู้โดยสานแต่งกายพื้นเมืองสวยงาม
ทั้งนี้ภายในงาน ทางกลุ่มแม่บ้านได้ทำขนมพื้นถิ่นที่นิยมทำในช่วงเทศกาลสำคัญๆ อย่างขนมลากรอบ หรือที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกขนมตาระ และขนมเจาะหู หรือขนม แนหรำ ให้ได้ชิมกันด้วย นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันทำขนมต้ม โดยเริ่มจากขั้นตอนการขูดมะพร้าว คั้นกะทิ และการห่อขนมต้ม ได้รับเสียงเชียร์ ลุ้นกันตัวโก่ง
ด้านนายกูดานัน หลังจิ นายก อบต.บ้านควน กล่าวว่า งานนี้เกิดจากความร่วมมือของชาวตำบลบ้านควน โดยเฉพาะบ้านโคกทราย ร่วมกันจัดกิจกรรม ที่เรียกว่าเปิดบ้านโคกทราย ให้ได้รับรู้ว่าเป็นหมู่บ้านที่มีของดีมากมาย วันนี้ได้รู้ว่าหมู่บ้านโคกทรายมีอัตลักษณ์หลายๆอย่าง โดยชาวบ้านโคกทรายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย มีขนมโบราณ ขนมจีน มีของขายหากินได้ 24 ชั่วโมงเหมือนร้านสะดวกซื้อ สำหรับรถซาเล้ง หรือสามล้อพ่วงเพิ่งมีการใช้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าขายแร่ เราก็จะดึงมาใช้ในขบวนแห่เจ้าสาว ขบวนพาเหรดในการจัดกิจกรรมกีฬา ชาวตำบลบ้านควนก็จะนำมาใช้โดยตกแต่งสวยงามแบบนี้
ด้านนายฮามีดัน ตะวัน ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวถึง บ้านโคกทรายว่า เป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในพื้นที่ มีการสื่อสารภาษามลายูเป็นส่วนใหญ่ พร้อมกับภาษาไทยใต้ถิ่นสตูล อีกทั้งมีร้านค้ามากมายในชุมชนที่คนต่างถิ่นมักจะเข้ามาซื้อกัน ได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน จนได้สมญานามว่า เป็นชุมชนที่มาเมื่อไรอิ่มเมื่อนั้น เมื่อหิว ก็นึกถึงกำปงบือฮัว นอกจากวัฒนธรรมการกินแล้ว บ้านโคกทรายยังมีองค์ความรู้อื่นๆ อีก มากมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
…………………………..
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต