
เปิดงานประจำปี และงานกาชาด ปี 2568 เที่ยวสนุก สุขทั้งปี ที่สตูล หารายได้ในกิจกรรมสาธารณกุศล และช่วยเหลือประชาชน
เปิดงานประจำปี และงานกาชาด ปี 2568 เที่ยวสนุก
ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้ เรือประมงปลากะตักฯ อ้างไร้รัฐเหลียวแล ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ ขณะที่สำนักงานประมงจังหวัดเตรียมแผนทบทวนกฎกระทรวง 2565
วันที่ 14 มิ.ย.2566 ที่ปากร่องน้ำในคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล กลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ยังคงปักหลักในการชุมนุมประท้วงด้วยการนำเรือขณะนี้ 23 ลำปิดเส้นทางเข้า-ออก (แม้ขณะนี้เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเข้าออกได้) เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความชัดเจนในข้อเสนอ
หลังตลอดของการประท้วงเรียกร้องตลอด 3 วันที่ผ่านมากลับมองว่าไม่ได้รับการพูดคุยเจรจามีเพียงปลัดอาวุโสรักษาการแทนนายอำเภอละงู เข้ามารับหนังสือข้อเรียกร้องเท่านั้น ทำให้ทางกลุ่มประมงผู้ชุมนุมประท้วงมีมติว่าในวันพรุ่งนี้จะยกระดับการชุมนุมด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งฝั่งหลังไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐมาพูดคุยเจรจา
นายวรวิทย์ หมีนหวัง อายุ 38 ปี หนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนในครั้งนี้ของชาวประมง เปิดเผยว่า ตลอดการชุมนุมเรียกร้องไม่ได้รับการเหลียวแล หรือคำชี้แจงมีเพียงการมาเพื่อรับเรื่องร้องเรียกร้องเท่านั้น ข้อเสนอต่างๆก็เงียบหายไป ในเมื่อเป็นแบบนี้ทางผู้ชุมนุมมีมติว่าจำเป็นต้องยกระดับ เพื่อให้รัฐเร่งออกมาพูดคุยหาทางออกให้กับพวกตน ไม่ใช่เงียบแบบนี้ด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งช่องในวันพรุ่งนี้ ซึ่งพวกเราก็ไม่อยากทำแต่เห็นว่าภาครัฐได้บีบบังคับ
สำหรับข้อเรียกร้องยังคงยืนยันในข้อเดิม 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่ และ 2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่
เปิดงานประจำปี และงานกาชาด ปี 2568 เที่ยวสนุก
นายนิพนธ์ เสนอินทร์ ประมงจังหวัดสตูล เปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉย ได้เตรียมแผนเสนอทางจังหวัดด้วยการเปิดเวทีทบทวน 4 อำเภอ ในกฎกระทรวง กำหนดเขตทะเลชายฝั่ง ปี 2565 ที่ออกมาบังคับใช้ว่ามีส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายทั้ง ประมงพื้นบ้าน ประมงพื้นบ้านที่ใช้เครื่องมือพาณิชย์ และประมงพาณิชย์ รวมทั้ง NGO เชื่อว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อพูดคุยร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระยะสั้นต้องขอความร่วมมือผู้ชุมนุมให้เปิดเส้นทางเพราะมีคนอื่นได้รับความเดือดร้อน ส่วน MOU ที่กล่าวอ้างไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากผิดต่อกฎหมายทั้งด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก (วันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข) โดยพบเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์ เรือโชคอามีหรน และเรือโชคสมุทร พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คนซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะนั้น
…………………………………………….