สตูล-นอภ.เนรมิตที่ว่าการอำเภอมะนังสร้างสุข   มะนังยั่งยืน  เป็นคลังอาหาร  บริการปชช.พร้อมเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ครบวงจร

       

          หลังกระทรวงมหาดไทยให้ทุกอำเภอ   ทำโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุข   โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน   โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่     

 

           ทำให้ที่บริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล  นายเชษฐ บุตรรักษ์    นายอำเภอมะนัง   ได้ใช้พื้นที่ว่างเปล่า 20 ไร่ ของทางอำเภอเป็น บ่อปลาดุก  บ่อปลานิล ขนาดไซส์ต่างๆ ไว้เพื่อเป็นคลังอาหาร   ให้กับข้าราชการ และบุคลากรภายในอำเภอ    อีกทั้งยังสร้างโรงเลี้ยงแพะ   ภายในสวนปาล์มน้ำมันของที่ว่าการทางอำเภอ   โรงเลี้ยงไก่ไข่  ไก่บ้าน  และ เป็ดบ้าน รวมทั้งได้แบ่งพื้นที่  3 ส่วนได้แก่  ด้านประมง  ปศุสัตว์  รวมทั้งด้านการเกษตร  

 

            ซึ่งขณะนี้  สวนกล้วยพันธ์เพชรบุรี  ที่กำลังให้ผลผลิตสามารถเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านที่มาศึกษาดูงาน   ที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้   นำพันธุ์ไปปลูกขยาย ในครัวเรือนได้อีกด้วย  นอกจากพันธุ์พืชแล้ว  ยังมีพันธุ์ปลา  ก็สามารถมาขอแบ่งปัน   จากที่ว่าการอำเภอมะนังได้  

 

พันธุ์สับปะรดในสวนผสม  เลี้ยงผึ้ง  และผักสวนครัวเพื่อเป็นคลังอาหาร โดยผลผลิตทั้งหมดนี้   นอกจากเป็นอาหารให้กับข้าราชการและบุคลากรภายในอำเภอแล้ว   ส่วนหนึ่งที่นำมาจำหน่าย   รายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท  จากผลผลิตปาล์มน้ำมัน   และผลผลิตทางด้านเกษตรและปศุสัตว์  โดยเม็ดเงินทั้งหมดจะนำมาหมุนเวียนจัดซื้ออุปกรณ์อาหารสัตว์ภายในที่ว่าการอำเภอ

            นายเชษฐ บุตรรักษ์   นายอำเภอมะนัง   กล่าวเพิ่มเติมว่า   สำหรับพื้นที่อำเภอมะนัง  มีจุดแข็งคือมีพื้นที่ของทางราชการ มากถึง 20 ไร่จากที่ประชุม 7 ภาคีเครือข่ายมีแนวทางในการพัฒนา บำบัดทุกข์บำรุงสุข  ภายใต้ชื่อมะนังสร้างสุข มะนังยั่งยืน  โดยใช้พื้นที่ที่มีอยู่เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้ข้าราชการบุคลากรของอำเภอ  ไปพร้อมกับเป็นศูนย์กลางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน     

 

          โดยแบ่งพื้นที่ เป็น 3 ส่วนได้แก่ด้านการเกษตรประมงและปศุสัตว์  โดยเฉพาะการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมเพชรบุรี ด้านประมงการเลี้ยงปลาดุก  การเลี้ยงปลานิล  ด้านปศุสัตว์ส่งเสริมการเลี้ยงแพะเลี้ยงเป็ดพื้นบ้านเลี้ยงไก่ไข่และไก่พื้นบ้าน  โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เข้ามาเรียนรู้  เพื่อนำไปปรับใช้ในครัวเรือนของตัวเองเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและลดรายจ่ายในครัวเรือน   ผลผลิตที่ได้จะนำไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอีกส่วนนำไปจำหน่ายเพื่อมาเป็นรายได้หมุนเวียนในการจัดซื้อวัตถุอุปกรณ์อาหารสัตว์  เพื่อบริหารจัดการในพื้นที่

 

อยากให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้เพื่อนำไปฝึกเป็นอาชีพเสริมในการจัดหารายได้ว่าให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ ไปทางอำเภอก็พร้อมจะสนับสนุนในเรื่องของพันกล้าพันธุ์สัตว์ให้กับพี่น้องประชาชนได้

……………………………..

อัพเดทล่าสุด