รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
ขยะแลกบุญ ลดรายจ่ายปีละ 2 แสนบาท
ชาวบ้านจิตอาสาทั้งชายหญิงในหมู่บ้านที่ 12 บ้านเขาน้อยใต้ ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ต่างพร้อมใจกันมาช่วยคัดแยกขยะ ออกเป็นแต่ละประเภท เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการต่อ ซึ่งขยะทั้งหมดนี้เป็นขยะที่มาจาก จุดรับบริจาคขยะแลกบุญ ทันทีที่จุดรับขยะเต็มจะมีการนำมาคัดแยกในทันที
นายสาและ ตำบัน ประธานกลุ่มขยะแลกบุญ กล่าวว่า แนวคิดของคนในหมู่บ้านที่เห็นตรงกันคือ อยากให้หมู่บ้านสะอาด มีการจัดเก็บขยะเป็นที่เป็นทาง ใช้ประโยชย์จากขยะให้สูงสุด และจัดหารายได้จากขยะเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญ ช่วยเด็กกำพร้าในหมู่บ้าน โดยทำบุญผ่านมัสยิดในหมู่บ้านชุมชนของตนเอง
นายอดุลย์ โย๊ะหมาด คอเต็บมัสยิดดารุสลาม กล่าวว่า โครงการขยะแลกบุญมีการกำหนดไว้ ในการรับบริจาคขยะแลกบุญด้วยกัน 2 จุดคือ ที่มัสยิด และ จุดที่สองที่ บาลาย เงินที่ได้มาจะนำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้และมาทำกิจกรรมด้านศาสนาของมัสยิด ช่วยเหลือเด็กกำพร้า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และยังช่วยแก้ปัญหาขยะได้ด้วย ทางมัสยิดเองก็จะช่วยประชาสัมพันธ์บอกให้กับทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมทางศาสนา ได้รับรู้ข้อดีของโครงการขยะแลกบุญ แทนที่จะนำขยะไปทิ้งหรือเผาทำลาย ก็นำมายังจุดรับบริจาคเพื่อแลกบุญ
นายทรงพล สารบัญ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง กล่าวว่า สถานการณ์ขยะในชุมชนตำบลฉลุงในปี 2566 มีขยะทั้งปี 1410 ตัน เนื่องจากตำบลฉลุงมี 14 หมู่บ้าน 3,300 ครัวเรือน ทำให้ต้องใช้งบประมาณเยอะในการจัดการขยะนำขยะไปทิ้ง จำนวน 770,000 บาทต่อปี หากรวมค่าจ้างบริหารจัดการเกือบ 2 ล้านบาทต่อปี
นายก อบต.ฉลุง จึงเกิดแนวทางการลดปัญหาขยะ เริ่มแรกจากการทำประชาคมเพื่อปลอดถังขยะ จากนั้นก็เริ่มสร้างแกนนำชุมชนประชาชนเข้ามาช่วย โดยใช้ชื่อว่า “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” อถล. ในทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะในครัวเรือน การจัดการขยะเพื่อลดปัญหาขยะในตำบล จากนั้นก็พาไปศึกษาดูงาน เมื่อได้องค์ความรู้แล้ว ได้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างกลุ่ม จึงเป็นที่มาของกลุ่มขยะแลกบุญในปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นจากแกนนำ อถล. 10 คน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำศาสนา หลังจากทำโครงการสามารถคัดแยกได้จำนวน 3 ครั้ง ผ่านโครงการขยะแลกบุญ เน้นในเรื่องของการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก จากครั้งที่ 1 มาสู่ครั้งที่ 2 จะเห็นได้ว่าการรับบริจาคขยะเยอะมากขึ้น ชุมชนชาวบ้านมาร่วมมากขึ้น ครั้งที่ 3 ขยะเยอะขึ้นกว่าเดิมเยอะ ชาวบ้านเยาวชนผู้สูงอายุภาคประชาชน มาร่วมกิจกรรมคัดแยกตั้งแต่เช้า ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ในมิติการประชาสัมพันธ์และการลดขยะ
ที่สำคัญการทำเรื่องขยะมาบวกกับเรื่องบุญ จะยิ่งทำให้ชุมชนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะหวังจะได้บุญไม่ได้มีผลประโยชน์อย่างอื่น ไม่ว่าจะนำเงินรายได้ไปช่วยผู้ยากไร้ แนะนำไปทำนุบำรุงศาสนา ผู้พิการและให้ทุนเด็กต่างๆ ทำให้ปี 2567 พบว่าขยะจาก 1,410 ตัน เหลือ1,369 ตัน ลดไป 312 กิโล หากคิดเป็นเงินงบประมาณเกือบ 2 แสนบาท และเตรียมขยายจากหมู่บ้านนำร่องไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เข้ามาดู และปีจะจัดการขยายไปทีละหมู่บ้านเพื่อให้ครบทุก 14 หมู่บ้านในตำบลฉลุง
……………………………………..
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต