เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน   

          หลังจากตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางพาราเกือบทั้งหมดเพื่อทำสวนผสม  ภายใต้ชื่อ   “สวนผู้ใหญ่เกรียง สวนผสมเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล  โดยแบ่งพื้นที่ปลูกฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ที่เริ่มทยอยให้ผลผลิตออกจำหน่าย  

          นายเกรียงไกร   ศรีสงคราม  ผู้ใหญ่บ้าน  (ยอมรับว่าครอบครัวบาดเจ็บจากการธุรกิจอื่นจนล้มลุกคลุกคลานตั้งแต่โควิดที่ผ่านมา)   จึงคุยกับครอบครัวและบุตรสาว  นางสาวเจียรนัย  ศรีสงคราม  หรือ  น้องโม หลังเรียนจบปริญญาตรี  ตัดสินใจหันมาช่วยเหลือครอบครัวทำเกษตรสวนผสม  เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มตัว  นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านเกษตร    โดยพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 20 ไร่  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา   แล้วแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 3 ส่วน

        โดยในแต่ละส่วนจะมีกิจกรรมด้านการเกษตรทุกพื้นที่  ซึ่งพืชที่มีอยู่ภายในแปลงมีความหลากหลาย แต่ในส่วนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้แก่    ฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ในช่วงแรก   และเพิ่มมาเป็น 500 ต้น จำหน่ายในราคา 60 บาท   ซึ่งในช่วงการห่อผลจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง  ถึงจะเก็บผลผลิตได้    โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ 1-2 เดือน ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ต้น     อีกทั้งยังมีการชำกิ่งพันธุ์ขายด้วยในราคา กิ่งละ 50 บาท  และการผลิตกิ่งพันธุ์โดยส่วนใหญ่จะทำตามออร์เดอร์ลูกค้า จำหน่ายแล้ว 1,000 กิ่ง

         นอกจากนี้ได้ลง   ตะไคร้ (ไคร้หยวก) จำนวน 10,000 กอ และสามารถสร้างรายได้ให้ทุกวันๆละ 2,000 บาท โดยขายกิโลกรัมละ 10 บาท 1 วันจะส่งสินค้าจำนวน 200 กิโลกรัม โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดมาเลเซีย และโรงเครื่อง ที่จังหวัดตรัง ระยะเวลาการเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 เดือน  โดยมีวิธีการดูแลอย่างดี น้ำไม่ขาด และมีวิธีการใส่ปุ๋ย  คือ   ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ อีก 1 เดือนใส่อีก 1 กำมือ บวกกับขี้ค้างคาวอัดเม็ด

        และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตอีกประมาณ 50 ไร่ และจะมีการร่มกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกตะไคร้ประมาณ 6 รายเพิ่มเติม  เพื่อขยายพื้นที่และสินค้า   ส่วน กล้วย สะตอ ข้าวโพด ทุเรียน คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเริ่มให้ผลผลิต   สนใจติดต่อ  เบอร์โทร 083 – 1912198   (FB : Jiaranai Srisongkram) 

        ขณะที่นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู    บอกว่า  ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนผลผลิตด้วยการทำปุ๋ยน้ำหมักแห้ง  ลดการใช้สารเคมี  และการแนะนำให้เกษตรกรไปขอใบรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ผลผลิตออกจากแปลงนี้ปลอดภัยจริง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า อนาคตอาจจะส่งตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกรได้

……………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต