Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

          วันที่ 8 ตุลาคม 2567 นางสุดา ยาอีด เกษตรจังหวัดสตูล พร้อมด้วย นางสาวพรรษกร จันทร์แก้ว  หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช และเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อสด) และหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริม และเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา จำนวน 420 กิโลกรัม และหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา จำนวน 240 ขวด เพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่า โคนเน่า หลังน้ำลด อีกทั้งได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก และถั่วฝักยาวไร้ค้าง (พันธุ์สุรนารี 1) จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง

 

        ซึ่งได้ส่งมอบให้แก่สำนักงานเกษตรอำเภอ ทั้ง 7 อำเภอในจังหวัดสตูล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ นำมอบให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ด้านพืช ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา โดยส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และเกิดน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยจังหวัดสตูลมีเกษตรกรผู้ประสบภัย จำนวน 2,281 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 9,422 ไร่ และพื้นที่คาดว่าจะเสียหาย จำนวน 1,664 ไร่

          ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ได้รับผลกระทบ สามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรครากเน่า โคนเน่า และขอรับคำปรึกษาด้านการป้องกันกำจัดโรคพืชได้ ณ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราชสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-อดีตผู้รับเหมาก่อสร้าง  ชีวิตพลิกผัน  ทำไม้กวาดขาย  สู้ชีวิตไม่ย่อท้อ

สตูล-อดีตผู้รับเหมาก่อสร้าง  ชีวิตพลิกผัน  ทำไม้กวาดขาย  สู้ชีวิตไม่ย่อท้อ

         นายไตรรงค์   คงปาน วัย 57 ปี อดีตผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่   ผู้ที่ชีวิตพลิกผันหลังประสบอุบัติเหตุขี่รถตกหลุมจนร่างกายไม่เหมือนเดิม  แต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง เขาเลือกที่จะลุกขึ้นสู้ทันทีที่ร่างกายดีขึ้น  ด้วยการผันตัวมาทำไม้กวาดขาย  โดยจำวิธีการจากคนอื่นแล้วมาทดลองทำเองจนสร้างรายได้

        “ผมไม่อยากเป็นภาระให้ใคร”   นายไตรรงค์กล่าวขณะสาธิตการทำไม้กวาดทางไม้ไผ่จากไม้ไผ่สีสุก   ที่กระท่อมหลังเล็กสร้างขึ้นอย่างง่ายเพื่ออยู่อาศัย   ในที่ดินของน้องสาวย่านซอยคลองขุด 19 ( หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าซอยน้องแป้น)  หมู่ที่ 7 เขตเทศบาลตำบลคลองขุด  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

          ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น  เขาเลือกเชื่อว่าจะช่วยสร้างรายได้แม้ไม่มาก แต่ไม่เป็นภาระน้องสาวหรือภาระใคร  โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกที่มีคุณสมบัติโค้งงอได้ดีมาทำเป็นซี่ไม้กวาด   ส่วนด้ามจะใช้ไม้ไผ่ที่มีเปลือกหนาเพื่อความแข็งแรง เพื่อจำหน่ายในราคาย่อมเยา   โดยไม้กวาดด้ามเล็กราคาขายเพียง  50 บาท ส่วนด้ามใหญ่ตามความสูงของลูกค้าราคาอยู่ที่  80 บาท

         จุดเริ่มต้นของธุรกิจเล็ก ๆ  นี้ เริ่มจากการทำตัวอย่างเพียง 2 อันไปเสนอตามร้านค้า  เมื่อได้รับการตอบรับที่ดี จึงรับออร์เดอร์ครั้งละ 10 อัน  ใช้เวลาประมาณ 10-15 วันในการผลิตและส่งมอบสินค้าแต่ละรอบ

          นอกจากการทำไม้กวาดแล้ว    นายไตรรงค์  เขายังใช้พื้นที่ว่างของน้องสาวเพื่อปลูกผักสวนครัว  โดยตั้งใจแบ่งปันให้น้องสาวและเพื่อนบ้านได้ทานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  สะท้อนให้เห็นถึงน้ำใจที่มีต่อชุมชน แม้สภาพร่างกายยังไม่สมบูรณ์นักจากอุบัติเหตุ

          นายชัยณรงค์  ไชยจิตต์  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสตูลในพื้นที่  เล่าว่า   “ผมติดตามชีวิตของเขามากว่า 2 ปี เห็นถึงความมุ่งมั่นและการเป็นคนที่มีน้ำใจ แม้สภาพร่างกายจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่เคยย่อท้อ” พร้อมเสริมว่าในอนาคตอยากผลักดันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่กำลังท้อแท้ได้เห็นว่า ชีวิตยังมีหนทางให้สู้เสมอ

          การไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาของชีวิตที่พลิกพัน ชั่วข้ามคืนจากที่เคยมีเงิน  มีงาน มีครอบครัว  มีลูกน้องจำนวนมาก  แม้วันนี้จะเหลือเพียงน้องสาวกับแม่บังเกิดเกล้า  แต่เขาก็ไม่คิดจะให้เป็นภาระกับใคร  พอใจกับรายได้ที่ทำด้วยน้ำพักน้ำแรง  มีข้าวกิน  มีเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  และได้แบ่งปันสังคมบ้างตามกำลัง     โดยเฉพาะเงินหมื่นบาทที่ได้รับจากรัฐบาลมาก็ตั้งใจจะเอาไปต่อยอดธุรกิจ ซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อขยายการผลิตไม้กวาดต่อไป

         ผู้สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อไม้กวาดได้ที่ โทร. 093-054-1664

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เทคโนโลยีพร้อมใช้สู่แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เพาะเห็ดจังหวัดสตูล

เทคโนโลยีพร้อมใช้สู่แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เพาะเห็ดจังหวัดสตูล

          ที่ฟาร์มเห็ดบ้านช่าง ตำบลอุไดเจริญ  อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ซึ่งมีนายทวีศักดิ์  เรหนูกลิ่น (เกษตรกร) เป็นหนึ่งในเกษตรกรพื้นที่โมเดลที่มีการส่งเสริมอาชีพด้วยการใช้โรงเรือนแบบอัจฉริยะ  จากทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา  ซึ่งวันนี้ ผศ.ดร.อภิรักษ์  สงรักษ์   รองอธิการบดี  มทร.ศรีวิชัยพร้อมด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ , อ.ดีน อาจารย์มทร.ศรีวิชัย หัวหน้าโครงการวิจัยฯ

 

          ลงพื้นที่ติดตามความก้าวโครงการ พบว่ากระบวนการผลิตก้อนเห็ดยังคงต้องมีการพัฒนา และ นำเทคโนโลยีควบคุมอุณหภูมิการบ่มเพาะก้อนเห็ดรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีราคาย่อมเยาว์มาใช้เพื่อทุ่นแรงกรณีมีความต้องการของที่มากขึ้น  ส่วนการใช้เทคโนโลยีแบบอัจฉริยะมาควบคุมอุณหภูมิโรงเรือนและก้อนเห็ดในสภาพอากาศที่แปรปรวนของพื้นที่ จ.สตูล  สามารถสร้างผลผลิตให้ออกอย่างสม่ำเสมอ และตรงความต้องการของตลาด

 

          ผศ.ดร.อภิรักษ์  สงรักษ์   รองอธิการบดี  มทร.ศรีวิชัย  บอกว่า   ส่งเสริมอาชีพการใช้โรงเรือนแบบอัจฉริยะทางมหาวิทยาลัยได้เข้ามาช่วยดูเรื่องกระบวนการผลิตและพบว่า การพัฒนาก้อนเห็ดของจังหวัดสตูลมีปริมาณเพียงพอที่จะตอบโจทย์โจทย์ก้อนเห็ดและการปลูกเห็ด  ต่อไปคือทำอย่างไรให้ก้อนเห็ดมีคุณภาพก็ให้ลูกค้าได้ก้อนเห็ดมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ พบว่าที่นี่ยังต้องการความรู้การจัดการก้อนเห็ดอย่างมีคุณภาพในช่วงบ่มก้อนเห็ดหลังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป  การใช้เครื่องทุ่นแรงในกรณีมีความต้องการมาก  ที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายไม่ได้แพงเกินไป  มาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่  ปัญหาที่ต้นน้ำเรื่องของ supply คนปลูกและก้อนเห็ดเป็นการเตรียมความพร้อมหากต้องเจอกับตลาดใหญ่  ความต้องการที่มากขึ้นเกษตรกรสามารถตั้งรับได้  แล้วสามารถเชื่อมโยงกับ B2B หรือ b2c ที่เชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องได้  นั่นหมายความว่าความมั่นคงของอาชีพครัวเรือนและรายได้ที่เราคาดหวังมีอย่างต่อเนื่องและมั่นคง  

 

          เกษตรกรเพาะเห็ดสตูลพลิกวิกฤตด้วยเทคโนโลยี หลังขาดทุนกว่า 5 หมื่นจากสภาพอากาศแปรปรวน

เกษตรกรผู้เพาะเห็ดในจังหวัดสตูลเผยความสำเร็จหลังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการผลิต แก้ปัญหาผลผลิตไม่สม่ำเสมอจากสภาพอากาศแปรปรวน พร้อมวางแผนขยายกำลังการผลิตรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น

        นายทวีศักดิ์ เรหนูกลิ่น เกษตรกรผู้เพาะเห็ดในจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ฟาร์มเห็ดของตนประสบปัญหาขาดทุนกว่า 50,000 บาทในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ส่งผลให้การผลิตไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในขั้นตอนการบ่มก้อนเห็ดที่ใช้เวลานานขึ้นจาก 30 วัน เป็น 45 วัน

        “ผมแบ่งการผลิตเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตก้อนเห็ดและการเพาะดอกในโรงเรือน ซึ่งได้นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 30-32 องศา และรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจว่าในปีหน้าจะสามารถรับมือกับสภาพอากาศแปรปรวนได้ดีขึ้น  ปัจจุบัน ฟาร์มมีลูกค้าประจำรับซื้อผลผลิตวันละ 50 กิโลกรัม โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยให้ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ  ไม่ขึ้นลงตามสภาพอากาศเหมือนแต่ก่อน  นอกจากนี้ ยังสร้างความได้เปรียบทางการตลาด เนื่องจากเกษตรกรทั่วไปยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีนี้ ทำให้ได้รับคำสั่งซื้อก้อนเห็ดจำนวนมากในช่วงฤดูเย็นชื้น” นายทวีศักดิ์ กล่าว 

 

มทร.ศรีวิชัย แนะเทคโนโลยีช่วยเกษตรกรเพาะเห็ด พร้อมเป็นพี่เลี้ยงผู้สนใจลงทุนใหม่

          ผศ.พิทักษ์ สถิตวรรธนะ  เจ้าของผลงานวิจัยฯ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปิดเผยถึงความสำเร็จของการนำเทคโนโลยีไปช่วยเกษตรกรผู้เพาะเห็ด โดยเฉพาะกรณีของ “ช่างเดี่ยว” เกษตรกรที่มีพื้นฐานช่างไฟฟ้า  “จากเดิมที่เคยดูแลเพียงโรงเรือนและควบคุมความชื้น นวัตกรรมใหม่นี้สามารถควบคุมอุณหภูมิของก้อนเห็ดโดยตรง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ระบบจะให้ความชื้นอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด ส่งผลให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอ” ผศ.พิทักษ์ กล่าว

 

          เทคโนโลยีดังกล่าวได้พิสูจน์ประสิทธิภาพแล้วกับโรงเรือน 4 หลังของช่างเดี่ยว ทำให้ทางมหาวิทยาลัยต้องการผลักดันให้เป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรรายใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้เกษียณอายุที่สนใจทำธุรกิจเพาะเห็ด เพื่อป้องกันความเสียหายจากการลงทุนที่อาจสูงถึงหลักแสนบาท   สำหรับผู้สนใจเริ่มต้นธุรกิจเพาะเห็ด ผศ.พิทักษ์แนะนำว่า “ควรเริ่มจากตู้เพาะเห็ดก่อน เพื่อเรียนรู้ทักษะการดูแลและการจัดการโรค เมื่อมั่นใจแล้วจึงค่อยลงทุนขยายเป็นโรงเรือน ซึ่งในจังหวัดสตูลมีให้เห็นทั้งสองรูปแบบ”  ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาอุปกรณ์ 2 รูปแบบ:   ตู้เพาะเห็ดพร้อมกล่องควบคุม สำหรับผู้เริ่มต้น กล่องควบคุมอย่างเดียว สำหรับผู้ที่มีโรงเรือนอยู่แล้ว   “ราคาชุดอุปกรณ์อยู่ที่ 5,500 บาท รับประกัน 1 ปี พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการใช้งาน ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่สถาบันดูแลนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยโดยตรง” ผศ.พิทักษ์กล่าวทิ้งท้าย

 

          และในวันเดียวกันได้มีการ “อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักวิจัยและนวัตกรรมชุมชน สรุปผลถอดบทเรียนและวางแผนงานวิจัยเพื่อขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม”  โดยเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วม  ที่ห้องประชุมสมาคม วัฒนพลเมืองอำเภอละงู  จังหวัดสตูล

 

          ด้าน นางสุดา  ยาอีด   เกษตรจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  ในส่วนของการต่อยอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยนี้เราดูแล้วในส่วนของการเพาะเห็ดซึ่งส่วนมากเกษตรกรจะใช้ขั้นตอนวิธีการแบบเดิม ๆ ซึ่งก็เป็นโอกาสดีที่ทางมหาวิทยาลัยฯ นำงานวิจัยตรงนี้มาใช้สำหรับพี่น้องเกษตรกรโดยนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อที่จะให้พี่น้องเกษตรกรมีผลผลิตในเรื่องของเห็ดเพิ่มมากขึ้นต่อยอดในเรื่องของรายได้สร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับพี่น้องเกษตรกร  ในส่วนของการขยายผลคิดว่างานวิจัยตรงนี้น่าจะมีการขยายผลให้กับพี่น้องเกษตรกรที่อยากมีอาชีพเสริมในเรื่องของการเพาะเห็ด  ก็อาจจะมีงบประมาณมาสนับสนุนส่งเสริมให้กับพี่น้องเกษตรกรทำให้พี่น้องเกษตรกรเรามีรายได้เพิ่มขึ้นและมีอาชีพที่มั่นคง

 

          “นอกจากเพราะเห็ดก็สามารถนำไปสู่ผลผลิตชนิดอื่นได้  ผลผลิตจากเห็ดนี้ถ้ามีจำนวนมากเราก็อาจจะสนับสนุนถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการแปรรูปเพื่อที่จะให้มีผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น และมีหลากหลายสินค้าที่ส่งเสริมให้กับพี่น้องเกษตรกรเพราะว่าสตูลของเราเองเป็นเมืองท่องเที่ยว  สามารถนำเป็นของฝากของขวัญให้แก่พี่น้องเกษตรกร และผู้ที่มากท่องเที่ยวจังหวัดสตูล  สุดท้ายก็เป็นนโยบายของทางภาครัฐโดยตลาดนำ   นวัตกรรมเสริม   เพิ่มรายได้  งานวิจัยนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พี่น้องเกษตรกรสามารถที่จะดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐได้” เกษตรจังหวัดสตูลกล่าวในที่สุด

 

           สำหรับเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะเห็ดในจังหวัดสตูล  ทางทีมวิจัยได้พัฒนาโจทย์ ภายใต้โครงการวิจัย “ขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากให้เครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะเห็ดในจังหวัดสตูล โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีกลุ่มเป้าหมาย 10 กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ 9 ตำบล 4 อำเภอของจังหวัดสตูล

 

           ชุดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดอัตโนมัติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ประเภทเทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมเกษตร ลักษณะเด่นและคุณสมบัติการใช้งานเทคโนโลยีโครงตู้สามารถถอดประกอบได้ง่ายมีน้ำหนักเบาภายในตู้บรรจุก้อนเห็ดได้สูงสุด 120 ก้อน  มีระบบการให้ละอองน้ำ. แบบจานหมุนเหวี่ยงความเร็วสูงกล่องควบคุมสั่งงานผ่านระบบไร้สายและมีปุ่มเปิดปิดระบบให้น้ำแบบสัมผัสด้านหน้าระบบใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันไม่เกิน 12 โวลต์ขนาดไม่เกิน 15 วัตต์

 

         การนำไปใช้ประโยชน์ตู้เพาะเห็ดออกแบบให้ผู้ใช้สะดวกในการประกอบขึ้นเป็นโรงเรือนขนาด ขนาดเล็กใช้สำหรับนำก้อนเห็ดจำนวนไม่เกิน 120 ก้อนเข้าไปเพราะดอกเห็ดเพื่อใช้จำหน่ายหรือบริโภคภายในครัวเรือนสามารถควบคุมให้ความชื้นก้อนเห็ดแบบอัตโนมัติ  โดยระบบการให้ละอองน้ำแบบจานหมุนเวียนความเร็วสูงผ่านกล่องควบคุมที่ใช้กำลังไฟฟ้าทั้งระบบไม่เกิน 15 วัตต์  ระบบควบคุมผ่านสัญญาณ WiFi จากกล่องควบคุมแบบออฟไลน์หมดได้

 

         โครงการวิจัยขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากให้เครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะเห็ดในจังหวัดสตูล  ภายใต้กรอบวิจัยการขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและแก้หนี้ครัวเรือนสนับสนุนโดยกองทุนส่งเสริมกอวนและหน่วยบ.พ.ท

………………………………………..

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป

 ไม่ว่าเทศกาลกินเจหรือเทศกาลไหนๆ  “ปอเปี๊ยะเจ้บี” ก็ขายดีทำรายได้งามกับเคล็ดไม่ลับ

สตูล..ไม่ว่าเทศกาลกินเจหรือเทศกาลไหนๆ  “ปอเปี๊ยะเจ้บี” ก็ขายดีทำรายได้งามกับเคล็ดไม่ลับ

         ที่โรงเจศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง  ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  ร้านปอเปี๊ยะเจ๊บี  เจ้าอร่อยในระดับตำนานอีกหนึ่งร้านของชาวสตูล  ที่ขายมานานร่วม 7 ปีแล้ว มาวันนี้ต่างระดมทีมงานไม่น้อยกว่า 10 คนเพื่อผลิตปอเปี๊ยะหลากหลายไส้  อาทิ  ไส้วุ้นเส้น ไส้เห็ดหอม ไส้มันแกว ไส้ข้าวโพด หรือไส้ผักรวม พร้อมเต้าหู้  ขายเพียงชิ้นละ 10 บาทกับน้ำจิ้มรสเด็ด  ที่ลูกค้ารายเก่าและใหม่ไม่พลาดที่จะมาลิ้มลอง  โดยเฉพาะในเทศกาลกินเจปีนี้ และทุกปีที่ผ่านมา 

        ด้วยความพิเศษของแป้งห่อปอเปี๊ยะ และกรรมวิธีการทอดที่ออกมากรอบอร่อย บวกกับไส้ที่อัดแน่น มีหลากหลายให้เลือก โรยด้วยถั่วลิสงบด   แตงกวาซอยฝอย  และน้ำจิ้มรสเด็ดที่ลูกค้าหลายคนติดใจจนต้องมาซื้อทานซ้ำแล้วซ้ำอีก 

 

          นางจันทร์เพ็ญ  สุมังคละ  หรือเจ้บี  เจ้าของร้านบอกว่า  แรกเริ่มตนขายก๋วยเตี๋ยว และเย็นตาโฟเจ  ก่อนจะมาขายปอเปี๊ยะควบคู่ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในเทศกาลกินเจสตูล  ห่อปอเปี๊ยะวันละไม่น้อยกว่า 50 กิโลกรัม(หนึ่งกิโลกรัมได้ประมาณ 45-50 ชิ้น)   ขายเพียง 10 บาท  เชื่อว่าลูกค้าติดใจในน้ำจิ้มรสเด็ด สามารถมาซื้อได้ทุกวันในช่วงเทศกาลกินเจ และหลังออกเจก็สามารถตามไปซื้อต่อได้ที่ ตลาดแลจันทร์ (โต้รุ่งเก่า) ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล 

          ลูกค้าที่ชื่นชอบต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ร้านนี้อร่อย ทำสะอาด  ราคาถูก  ชอบเกือบทุกไส้ของปอเปี๊ยะ นับว่าประสบความสำเร็จในการทำอาชีพที่ทุกคนชื่นชอบทาน กับเมนูทานเล่น ปอเปี๊ยะเจ้บี  สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร 081-608-2001

………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 จังหวัดสตูลจัดกิจกรรม ‘เอามื้อสามัคคี’ ปลูกสับปะรด 1,000 ต้น เฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10

จังหวัดสตูลจัดกิจกรรม ‘เอามื้อสามัคคี’ ปลูกสับปะรด 1,000 ต้น เฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10

            วันที่ 4 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์สารภีละงู ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล   นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยพระครูโสภณ ปัญญาสาร เจ้าคณะอำเภอมะนัง/เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7 นางสาวรัตนา ไมสัน พัฒนาการจังหวัดสตูล และจ.ส.อ.ณภัทร หงษ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์สารภีละงู จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี (ปลูกสับปะรด) และปรับปรุง พัฒนาพื้นที่ศูนย์สารภีละงู ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอาารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลุเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงมหาดไทย จังหวัดสตูล โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล, พัฒนาการอำเภอ, เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ, เจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด, เครือข่าย โคก หนอง นา อำเภอละงู, คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอละงู, ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอละงู และบัณฑิตอาสาฯ เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

            สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย การปลูกสับปะรด จำนวน 1,000 ต้นการห่มดินด้วยฟางข้าว ใส่ปุ๋ยพืชพันธุ์ และการกำจัดวัชพืช เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขยายผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการบูรณาการการขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติจนเห็นวิถีชีวิต สอคคล้องกับสภาพพื้นที่และภูมิสังคม ต่อยอดพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” สู่การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริฯ

 

          รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ ซึ่งเป็นที่ต่อยอดขยายผลการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง และหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่การปฏิบัติรูปแบบ “โคก หนอง นา”  ที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตภูมิสังคม สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

          พระครูโสภณ ปัญญาสาร เจ้าคณะอำเภอมะนัง กล่าวอนุโมทนา และชื่นชมทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจ ผนึกพลังสามัคคียอดเยี่ยมมาก

……………………………

 

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป

 สสจ.-ทม.สตูล ลุยสแกนวัตถุดิบอาหารเจเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัย สร้างความมั่นใจผู้บริโภคที่ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง

สสจ.-ทม.สตูล ลุยสแกนวัตถุดิบอาหารเจเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัย สร้างความมั่นใจผู้บริโภคที่ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง

           แพทย์หญิงอภิญญา  เพ็ชรศรี   นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล  พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มงาน  และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ออกตรวจเยี่ยม และให้คำแนะนำด้านสุขาภิบาลอาหาร  การจัดการสิ่งแวดล้อม การกินเจอย่างปลอดภัย ที่โรงครัวและร้านค้าจำหน่ายอาหารเจ ในเขตเทศบาลเมืองสตูล อาทิ ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง  ตำบลพิมาน  อำเภอเมืองสตูล  จังหวัดสตูล

          โดยการลงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อตรวจสอบความสะอาดทั้งด้านสถานที่ โรงครัว วัตถุดิบในการประกอบอาหาร ชุดผู้ปรุงอาหาร การล้างผักผลไม้ถูกหลักอนามัย ในโรงเจ พร้อมแนะนำการล้างผัก ผลไม้อย่างถูกวิธี ด้วยการล้างด้วยน้ำไหลผ่าน หรือแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ แช่นาน 15 นาที หรือใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือเบคกิ้งโซดา ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้จะช่วยลดสารเคมีตกค้างได้ อีกทั้ง ผู้บริโภคก็ต้องกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อสุขอนามัยที่ดีด้วย

         โดยการลงพื้นที่ตรวจเฝ้าระวังในครั้งนี้  วัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์เรื่องสุขลักษณะการปรุงอาหาร   รณรงค์เรื่องการล้างผักผลไม้  รณรงค์การเลือกซื้ออาหารและการบริโภคอย่างถูกวิธี   ในเทศกาลกินเจตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสารเคมีกำจัดศัตรูพืช   สารบอแรกซ์   สารฟอกขาว   สารฟอร์มาลีนและมีการส่งตัวอย่างตรวจ   กับหน่วยตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารเคลื่อนที่สสจ.สงขลา  จำนวน 40 ตัวอย่าง ซึ่งจะทราบผลในวันพรุ่งนี้

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล..เริ่มแล้วบรรยากาศจับจ่ายขนมไหว้ตายายบุญเดือนสิบ  ร้านค้าเชื่อเงินหมื่นรัฐจับจ่ายคึกคัก 

สตูล..เริ่มแล้วบรรยากาศจับจ่ายขนมไหว้ตายายบุญเดือนสิบ  ร้านค้าเชื่อเงินหมื่นรัฐจับจ่ายคึกคัก หลายครอบครัวอยากทำบุญขอพรให้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจ

           วันที่ 1 ต.ค.2567  เริ่มแล้วสำหรับบรรยากาศการจับจ่ายซื้อของไหว้บุญวันสารทเดือนสิบประเพณีสำคัญของชาวใต้   โดยเฉพาะที่จังหวัดสตูลตลาดตั้งจิตต์ศีล  เทศบาลตำบลคลองขุด  อำเภอเมืองสตูล  พ่อค้าแม่ค้าเริ่มนำของเครื่องไหว้ปู่ย่าตายายวันบุญสิบมาขายล่วงหน้า 1 วัน  เพื่อให้ลูกค้าได้จับจ่าย ซื้อไปทำบุญที่วัดใกล้ไกลในต่างจังหวัดโดยขนมไม่บูดเสีย   

          การจับจ่ายในครั้งนี้  พ่อค้าแม่ค้าก็ยังคงทำขายเป็นชุดให้ลูกค้าได้จับจ่ายซื้อง่าย ขายคล่อง โดยปีนี้หลายร้านค้าเตรียมของไว้จำนวนมากเชื่อว่าจะลูกค้ามีกำลังซื้อเยอะกว่าทุกปี หลังได้รับเงินหมื่นจากรัฐบาล เพราะสิ่งหนึ่งที่พบว่าชาวบ้านจะทำคือการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลต่อตัวเองและครอบครัวให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ไปให้ได้

         โดยปีนี้หลายร้านค้ายังคงราคาเดิมไว้   แม้จะลดปริมาณนิดหน่อย เนื่องจากสินค้าหลายรายการปรับราคาขึ้น   โดยเฉพาะขนมที่ใช้สำหรับการไหว้  ได้ทำเป็นชุดครบครันชุดละ 40 บาท (ที่มีทั้งขนมต้ม ขนมเทียน ขนมบ้า ข้าวพอง ข้าวเกรียบ ขนมเจาะหู) และเตรียมสำหรับลูกค้าที่มีขนมต้ม ขนมเทียนที่บ้านแล้ว  ขายชุดละ 35 บาทหรือ 3 ถุงร้อยบาท  ส่วนบางบ้านต้องการแค่ขนมพองหรือข้าวเกรียบสีสวยดอกไม้ชุดละ 25 บาท และชุดหอมกระเทียนไหว้ตายายครบชุดละ 35 บาท

           นางลัดดาวัน สุขสง  แม่ค้าตลาดตั้งจิตต์ศีล  บอกว่า  ปีนี้ได้ทำขนมและเครื่องไหว้ปู่ย่าตายายจำนวน 1,000 ชุด ไว้รองรับลูกค้า ที่เชื่อว่าจะมีกำลังซื้อมากกว่าทุกปีเนื่องจากหลายคนรับเงินหมื่นบาท  โดยราคาทางร้านก็ทำเป็นชุดให้จับจ่ายซื้อขายคล่องมากขึ้น  ไว้ให้หลายคนได้ทำบุญอย่างที่ตั้งใจ พร้อมยอมรับว่ามีสินค้าบางรายการที่ปรับตัวขึ้น เช่นขนมต้ม ที่กะทิ ได้เพิ่มขึ้น

            การทำบุญปู่ย่าตายาย ในวันสารทเดือนสิบปีนี้ ชาวบ้านหลายคนยอมรับว่า อยากจะขอพรจากบรรพบุรุษให้ครอบครัวมีความสุข กายสบายใจ เงินทองไม่ขาดมือ และผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปให้ได้

………………………………………..

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูลทุกธนาคารรัฐแน่ประชาชนมายืนรอรับเงินหมื่นตั้งแต่ก่อนเปิดทำการ   หลายคนพูดเสียงเดียวกันว่าต้องใช้หนี้ก่อน.  ฝากรัฐให้พักชำระหนี้ช่วยเกษตรยามเศรษฐ์วิกฤติและภัยธรรมชาติรุมเร้า

สตูลทุกธนาคารรัฐแน่ประชาชนมายืนรอรับเงินหมื่นตั้งแต่ก่อนเปิดทำการ   หลายคนพูดเสียงเดียวกันว่าต้องใช้หนี้ก่อน.  ฝากรัฐให้พักชำระหนี้ช่วยเกษตรยามเศรษฐ์วิกฤติและภัยธรรมชาติรุมเร้า

         ที่ธนาคาร ธกส.จ.สตูล ตั้งแต่ตี 4 ของวันนี้  (30 ก.ย.2567) ชาวบ้านพื้นที่ห่างไกลต่างรีบเดินทางมารอรับเงินหมื่นทันที่พบว่าตนมีเงื่อนไขเข้ากับสิทธิ์ในการรับ  บ้างก็ต้องการปรับสมุดเพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินหมื่นเข้าจริง ๆ แต่กลับพบว่าตู้ที่ให้บริการนอกเวลาราชการเสีย ทำให้บรรยากาศชาวบ้านมายืนรอหน้า ธนาคาร ธกส.คราคร่ำไปด้วยผู้คน

         นางยาเลี๊ยะ   กะดะ   อายุ 69 ปี  ชาวบ้านควน  ต.บ้านควน อ.เมืองสตูล ที่มายืนรอรับเงิน บอกว่า  ทันทีที่ได้เงินในวันนี้จะใช้หนี้ ธกส.เลยครึ่งหนึ่งคือ 5000 บาท  เพราะเป็นหนี้ในระบบรัฐบาลอยู่ 500,000 บาท ทุกวันนี้ตนก็ใช้หนี้ทุกเดือน แต่เดือนนี้หนักสุดเพราะที่ผ่านมาได้เกิดน้ำท่วม ฝนตกหนักทำให้ไม่สามารถตัดยางพาราได้  อยากให้รัฐบาลออกนโยบาย พักชำระหนี้เพื่อช่วยชาวบ้านในช่วงเศรษฐ์กิจยังขาลงแบบนี้ 

 

        ขณะที่นายดี กะดะ  อายุ 72 ปีชาวบ้านควนเช่น บอกว่า เงินนี้จะไปซื้อจอบ เสี่ยม ใช้ในสวน น่าจะช่วยต่อชีวิตได้ประมาณ 3 อาทิตย์ ก็อยากให้รัฐบาลหานโยบายที่ยั่งยืนเข้ามาช่วยชาวบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นอะไรนั้นตนก็ไม่ทราบ  แต่ที่แน่ ๆ เงินนี้ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนจน ๆ แบบตน

…………………………………….

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

นาทีชีวิต..ชาวบ้านริมทะเลช่วยโลมาสีชมพู เกยหาดบูโบยสตูลได้สำเร็จ   หลังพบบาดเจ็บคาดว่าพลัดหลงคลื่นลมแรง

นาทีชีวิต..ชาวบ้านริมทะเลช่วยโลมาสีชมพู เกยหาดบูโบยสตูลได้สำเร็จ   หลังพบบาดเจ็บคาดว่าพลัดหลงคลื่นลมแรง

          นาทีชีวิตน้องโลมาสีชมพู   รอดหวุดหวิด หลังเกยหาดบ้านบูโบย  ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา (30 ก.ย.2567)  หลังมีชาวบ้านออกมาหาหอยริมชายหาดในช่วงเช้ามืดกลับพบเห็นน้องโลมาสีชมพู  มีขนาดตัวใหญ่ไม่น้อยกว่า 150 กิโลกรัม ลำตัวมีสีชมพู  ที่คลีบมีบาดแผลเล็กน้อย นอนเกยหาดดังกล่าว  หลังน้ำทะเลลดลงไปมากด้วยความตกใจจึงรีบวิ่งไปบอกชาวบ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาช่วยกันนำลงน้ำ

 

         ทันใดนั้นนายสมบัตร สันมาแอ  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบูโบย  หมู่ที่ 3 ที่อยู่บริเวณนั้นพอดีจึงรีบเกณฑ์คน 4-5 คนไปช่วยนำน้องโลมาสีชมพูลงน้ำด้วยความที่กลัวมันจะตาย จึงหาเชือกบริเวณใกล้  ๆ ลากน้องโลมารีบลงน้ำทะเล  หลังพบว่าน้ำในบริเวณนั้นลดมานานกว่า 3 ชั่วโมงแล้ว  ด้วยกลัวว่าจะตายจึงรีบช่วยกัน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที  ก็ช่วยลงน้ำทะเลลึกที่พอจะว่ายกลับไปสู่ทะเลกว้างได้สำเร็จ 

 

           ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบูโบย  หมู่ที่ 3 ต.แหลมสน บอกว่า  เมื่อ 40 ปีก่อนเคยเจอวาฬขนาดใหญ่ที่ริมชายหาดแห่งนี้ แต่ตายลอยมาติดหาด  แต่ไม่เคยเจอโลมาสีชมพู คาดว่า อาจจะพลัดหลง หรือบาดเจ็บมาติดหาด  เพราะในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้ชายหาดฝั่งนี้  มีคลื่นลมแรงจัดทำให้พัดพาโลมาสีชมพูนี้  มาได้  โดยเบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะเป็นเพศผู้ 

          ความช่วยเหลือของเพื่อนมนุษย์ในครั้งนี้ได้สำเร็จสร้างความดีใจให้กับ ผู้ที่ช่วยเหลือและผู้ที่ทราบข่าวในการช่วยกันอนุรักษ์โลมาให้รอดชีวิตกลับคืนสู่ท้องทะเลได้ 

……………………………..

ขอบคุณภาพ   ผช.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ต.แหลมสน

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล      

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศให้ “กระท้อนนาปริกสตูล”  เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สตูล-กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศให้ “กระท้อนนาปริกสตูล”  เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

             กระท้อนนาปริกสตูล  เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อคุณภาพ เนื้อนุ่มหนา  เปลือกบาง  มีหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกในพื้นที่อำเภอควนโดน  ในแต่ละปีกระท้อนนาปริกสตูลให้ผลผลิตจำนวนมาก  ทางจังหวัดสตูลจึงขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

             ล่าสุด นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทน  อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศ  ณ  วันที่ 26 กันยายน 2567  เรื่อง  การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  “กระท้อนนาปริกสตูล”  ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำขอขึ้นทะเบียน 22 กันยายน 2565

 

            โดยกระท้อนนาปริกสตูล หรือ Na Prik Satun Santol หรือ Kra Ton Na Prik Satun หมายถึง  กระท้อนพันธุ์อีล่า พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์นิ่มนวล พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ทับทิม ลักษณะผลทรงกลม ทรงกลมแป้น  และทรงกลมจุก ผิวเปลือกบาง นิ่ม สีเหลือง สีเหลืองอมน้ำตาล และสีเขียว  มีขนนิ่มเหมือนกำมะหยี่  เนื้อหนานุ่ม ปุยหุ้มเมล็ดสีขาวหนาฟู  ผลสุกจัดจะมีรสชาติหวาน  ปลูกในเขตพื้นที่ 2 อำเภอของจังหวัดสตูล ได้แก่ อำเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง

             สำหรับกระท้อนนาปริกสตูล  นอกจากกินผลสดแล้ว  สามารถปรุงเป็นเมนูกระท้อนทรงเครื่อง  น้ำพริกกระท้อน  น้ำยาขนมจีนกระท้อน  ไอศกรีมกระท้อนได้ด้วย

อัพเดทล่าสุด

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบสารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล