Categories
ข่าวทั่วไป

เตชินท์จักรวาล จัด OPP สัญจร พบเครือข่ายในกิจกรรม เกษตรนวัตกรรมใหม่  ส่งเสริมให้เกษตรกร ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วยสิ่งที่เสริมคุณภาพเพื่อประชาชาชนชาวสวนเกษตร

เตชินท์จักรวาล จัด OPP สัญจร พบเครือข่ายในกิจกรรม เกษตรนวัตกรรมใหม่  ส่งเสริมให้เกษตรกร ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วยสิ่งที่เสริมคุณภาพเพื่อประชาชาชนชาวสวนเกษตร

          วันที่ 21  ตุลาคม  66  ที่สวนอาหารนกน้ำ  ต.ฉลุง  อ.เมือง  จ.สตูล  นายอุทัย  นวนจันทร์  ( บอสเตชินท์  ) พร้อมทีมเครือข่าย ได้พบปะทีมเครือข่ายในจังหวัดสตูล และต่างจังหวัด พร้อมกับยังมีทีมจากเครือข่ายในต่างประเทศกัมพูชา มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งภายในงานมีการจับเลขท้ายรางวัล ลุ้นเงินสด และ ทองคำ อีกมากมาย

        ด้านนายอุทัย  นวนจันทร์  ( บอสเตชินท์  ) ประธานบริษัท เตชินท์จักรวาล จำกัด กล่าวว่า เราเป็นผู้ที่ช่วยสร้างความรู้ให้ชาวเกษตรกร ที่รู้จักการสร้างผลประโยชน์แก่สิ่งดีๆที่พื้นที่ดิน สวนเกษตรที่ต่อยอดสร้างรายได้มากับเรื่องการเกษตรที่ดี  โดยทางบริษัท เตชินท์จักรวาล จำกัด สร้างสารปรับโครงสร้างดิน คือพลังจักรวาล ที่เป็นธาตุบำรุงดิน เร่งการเจริญเติบโต ของพืช แตกราก แตกใบ  แถมประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       นายอุทัย  นวนจันทร์  ( บอสเตชินท์  ) ประธานบริษัท เตชินท์จักรวาล จำกัด กล่าวอีกว่า วันนี้ที่ได้จัดงาน บ่งบอกถึงความสำเร็จที่เราทำงาน สร้างเครือข่าย สร้างชาวสวนชาวเกษตร ที่ได้รับสิ่งดี เรามีขยายพื้นที่ไปยังกัมพูชา ขยายไปอีกทั้งประเทศมาเลเซีย  อินโดนิเซีย  และ พี่น้องชาวเกษตรภาคใต้ ทั้ง 14 จังหวัดเองได้ร่วมเป็นเครือข่ายของเราด้วย และวันนี้เราคืนกำไรให้กับทุกคนที่ร่วมงานกันอย่างมีความสุข

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   กล้วยทอดเตาถ่านสูตรโบราณไม่ใส่น้ำตาล   

กล้วยทอดเตาถ่านสูตรโบราณไม่ใส่น้ำตาล

         ที่หัวสะพานคลองมำบัง   เส้นบายพาสห่างจากโกลบอลเฮ้าส์  ตำบลบ้านควน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  มีเพิงเล็กๆตั้งอยู่กลางทุ่งนาและสวนปาล์มน้ำมัน  หากไม่ตั้งใจสังเกตน้อยคนนักจะรู้ว่าที่นี่ขายกล้วยทอดเตาถ่านสูตรโบราณ  เพราะจะรู้เฉพาะกลุ่มชาวบ้านและเกษตรกรชาวสวนยางพารา  ที่ออกมากรีดยางในช่วงเช้าเท่านั้น

          โดยสองพี่น้องจะช่วยกันขายกล้วยทอด  และ  เมนูข้าวมันปลาเค็มสูตรโบราณที่เน้นการขายแบบไม่ปรุงแต่งมากนัก  อย่างปลาเค็มที่นำมาใช้ก็จะนำไปย่างมากกว่าทอด  เพราะจะได้ความหอมอร่อยอีกหนึ่งรสชาติตามแบบฉบับวิถีชาวบ้าน  ในราคาจานละ 20 บาท  ทานกันแบบจุก ๆ อิ่มไปเลย พิเศษหน่อยก็ราคา 25 บาท นอกจากนี้ทางร้านยังมีส้มตำ และโกปี้  ที่กินกับข้าวมันปลาเค็ม หรือ กล้วยทอดด้วย

          โดยเฉพาะกล้วยทอดที่นี่ ถือว่า  เป็นการใช้วิธีแบบพื้นบ้าน  คือ  ใช้ไม้ฟืนที่หาได้ในพื้นที่ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทอด  นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้มแล้ว    ยังเพิ่มรสชาติความหอมอร่อยให้กับกล้วยที่ทอด  ด้วยสูตรโบราณที่นี่คือ  ไม่ใส่น้ำตาลทรายเพิ่มความหวานให้เสียสุขภาพ  เพราะกล้วยที่นำมาใช้มีความหวานในตัวอยู่แล้ว  และจะใส่เพียงแค่น้ำปูนใสเพิ่มความกรอบ   ไข่ไก่   แป้งข้าวจ้าว  มะพร้าวขูด  น้ำเกลือเล็กน้อย  ใบเตยเพิ่มความหอมเท่านั้น   และน้ำตาลทรายที่ไม่ใส่ยังทำให้กล้วยออกมาสีสวยน่ากินด้วย  สำหรับกล้วยที่ใช้  แล้วแต่ฤดูกาล บ้างก็เป็นกล้วยน้ำหว้า และกล้วยไข่ ขาย 13 ชิ้น 20 บาท

         นางดารารัตน์  ขวัญเมือง  ลูกค้าที่ผ่านไปมาแวะชิมต่างชมเป็นเสียงเดียวกันว่า   มีรสชาติที่อร่อยสำหรับคนที่ชอบกล้วยไม่สุกงอมเกินไป  และข้อดีคือไม่ใส่น้ำตาลเพราะกล้วยมีความหวานอยู่แล้ว  และมีความหอมของเตาฟืนและใบเตย ดื่มกับโกปี้ยิ่งเพิ่มรสชาติให้การกินกลมกล่อมมากขึ้น

         นางรจนา  ศรีสุข อายุ  62 ปี แม่ค้า บอกว่า  ในหนึ่งวันจะขายข้าวมันปลาเค็มวันละ 2 กก.และกล้วยทอดวันละ 5 หวี ให้กับชาวสวนยาง และชาวบ้านที่ผ่านไปมาและคนที่ชอบออกกำลังกาย  แวะมานั่งทาน แบบบ้าน ๆ ในราคาเบา ๆ โดยจะขายตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้าจนของหมด ในหนึ่งเดือนจะหยุด 2 ครั้ง  หากสนใจอยากกินอาหารพื้นบ้าน โทรสอบถามได้ที่   098 724 1697

         นอกจากนี้ทางร้านคุณป้าทั้งสอง  ยังนำหน่อกล้วยมาปลูกไว้ข้างร้าน  รวมทั้งผักสวนครัวเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจแหล่งที่มาของอาหาร  และลดรายจ่ายได้อย่างดีงามน่าเอาเป็นแบบอย่าง

………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   จากธุรกิจเพาะลูกนกกรงหัวจุกขาย สู่ยารักษาหวัดนก และกรงนกใบละหลักแสนบาท   

จากธุรกิจเพาะลูกนกกรงหัวจุกขาย สู่ยารักษาหวัดนก และกรงนกใบละหลักแสนบาท  เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่ชมรมนกกรงหัวจุกสตูลเดินหน้าผลักดัน ปกป้องให้เกมกีฬาพื้นบ้าน  ถูกต้องตามกฎหมาย   อยู่คู่สังคมไทย

          นกกรงหัวจุกจำนวนกว่า 30 ตัวที่นายสักรินทร์   อังวรโชติ  หรือ  “โจ ท่าน้ำ”  อายุ 38 ปีได้เพาะเลี้ยงเพื่อขายให้กับผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก  โดยมีพ่อแม่พันธุ์สีขาวเผือกอมชมพู  ที่รูปทรงสวยงาม  และพ่อแม่พันธุ์ที่มีประสบการณ์  ผ่านสนามชนะหลายเวที    รวมทั้งการทำยาหวัดนกขาย  สร้างรายได้อีก 1 ทางให้กับผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก

          นอกจากตัวนก  อาหารนก  ก็ยังมีสินค้าที่เชื่อมโยงกับนกกรงหัวจุก  โดยเฉพาะกรงนกที่เหล่าบรรดาเซียนนก  ที่มีกำลังทรัพย์มักจะซื้อไว้ประดับบารมี  และให้นกได้อยู่อาศัย  ด้วยผลงานที่มีฝีมือของช่างทำกรงนก  จากหลากหลายพื้นที่  เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์  ในการออกแบบกรงนกให้สวยงามวิจิตรบรรจง  เหมือนอย่างกรงนกใบนี้ที่มีราคาหลักแสนบาท   ด้วยการใช้มุกประดับตกแต่งและการแกะสลักลวดลาย  แม้กระทั่งภาชนะใส่น้ำในกรงนก  มีการใช้ถ้วยเบญจรงค์ บ้างก็ใช้ถ้วยทำจากหินอ่อน หรือถ้วยทำจากหยก  ตกแต่งได้อย่างสวยงามทรงคุณค่า

          นายสักรินทร์    อังวรโชติ  บอกว่า  เสียงที่ไพเราะ รูปทรงที่สวยงามทำให้ตนหลงใหลนกกรงหัวจุกมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จนถึงปัจจุบันยิ่งหลงไหล รัก และชื่นชอบ  การเพาะเลี้ยง การแข่งขัน การทำยารักษา รวมทั้ง การครอบครองกรงนกจากความชื่นชอบ   พร้อมยอมรับว่าเห็นด้วยหากจะมีการเอาจริงเอาจังหรือเอาผิดคนที่จับนกในป่ามาขายหรือแข่งขัน

         แต่ส่วนตัวเห็นว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  นกกรงหัวจุกสามารถเพาะเลี้ยงได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าให้กับหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง  อาทิ  เกษตรกรที่หาผลไม้อย่างกล้วยและมะละกอ  มาขายกลุ่มที่ชอบเลี้ยงนก  , กรงนกที่เห็นถึงความสวยงามด้านงานฝีมืออันทรงคุณค่า  เสมือนการสะสมทองคำ  เพราะราคาและฝีมือของช่างยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับกรงนกอย่างมากมายมหาศาล   นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว  ไม่ต่างกับการแข่งขันกีฬาทั่วไป   ทุกครั้งที่มีการแข่งขันนักกีฬาแข่งนก  ไม่น้อยกว่า 200 คนที่ตระเวนไปตามจังหวัดต่างๆ เกิดการกระจายรายได้  ที่พักโรงแรม  เพราะเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการแก้ไข ปลดล็อคนกกรงหัวจุกออกจากสัตว์ป่าคุ้มครอง

       ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้มีการปลดล็อกจากพ.ร.บ.สัตว์ป่าคุ้มครอง  ล่าสุดชมรมนกกรงหัวจุกจังหวัดสตูลและเครือข่ายทั่วประเทศ ได้ยื่นเรื่องขึ้นสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้ว

……………………..

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ลูกหยี ผลไม้ป่าโบราณ  ทางวัดทำสวนป่าปลูกอนุรักษ์เป็นศูนย์เรียนรู้   

ลูกหยี ผลไม้ป่าโบราณ  ทางวัดทำสวนป่าปลูกอนุรักษ์เป็นศูนย์เรียนรู้

       ลูกหยีผลดกดำ  อายุกว่า 20 ปี  ยืนต้นสูงเด่น 15 เมตร  เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้หายาก  ขึ้นอยู่ภายในพื้นที่วัดนิคมพัฒนารามผัง 7  ต.นิคมพัฒนา  อ.มะนัง  จ.สตูล   พร้อมๆกับ  ลูกตะขบ   ลูกละไม   ลองกอง  มังคุด  สละอินโด  มะม่วง และมะพร้าว

        ในฤดูกาลนี้ลูกหยี ให้ผลผลิตจำนวนมาก   แต่การเก็บผลลูกหยีที่มีขนาดเล็กบนต้นใหญ่  เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก  ผู้เก็บเกี่ยวต้องใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว  ปีนขึ้นไปตัดกิ่งขนาดใหญ่  ผูกเชือกค่อยๆหย่อนลงมา  ทำให้ได้ผลลูกหยีที่มีคุณภาพ  ผลไม่หลุดร่วงจากช่อ    

         พระครูโสภณปัญญาสาร เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนาราม  ผัง 7  //เจ้าคณะอำเภอมะนัง  นำทีมชาวบ้านในพื้นที่  เก็บลูกหยีในสวนป่าภายในวัดอย่างชำนาญ  ได้ผลลูกหยีจำนวนมาก  พร้อมขายผลสดเป็นพวงละ 50-100  บาท  รายได้ส่วนหนึ่งนำมาเป็นค่าแรง และเป็นปุ๋ยบำรุงต้น 

        สำหรับ “ลูกหยี “ เป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน เปลือกสีดำ เนื้อในสีแดงส้ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน มีรสเปรี้ยวจัด หากนำเมล็ดออกแล้ว คลุกน้ำตาล รสชาติอร่อย ส่วนผลสด จะมีขายตามตลาดนัด เฉพาะในช่วงฤดูกาลเท่านั้น และจะขายตามตลาดออนไลน์ อยู่ที่กิโลกรัมละ 80 ถึง 165 บาทขึ้นไป

       ลูกหยีต้นนี้  เป็นไม้ป่าโบราณผลหาทานยาก   ที่ทางเจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนาราม ผัง 7 ตั้งใจปลูกและขยายพันธุ์ไว้ พร้อมต้นไม้หาทานยากอีกกว่า 20 ชนิด บนพื้นที่ 20 ไร่  เพื่ออนุรักษ์และต้องการทำเป็นศูนย์เรียนรู้ส่งต่อไปยังคนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป

          พระครูโสภณปัญญาสาร เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนาราม  ผัง 7  กล่าวว่า  เคยมีแนวคิดว่าเราจะหาพันธุ์ไม้ผล  ผลไม้พื้นถิ่นใน 14 จังหวัดภาคใต้มาปลูกรวมไว้ที่วัดพัฒนารามผัง 7  เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้   อนุรักษ์พันธ์ไม้หายาก   ซึ่งปัจจุบันจะมีประเภทไม้ผล 20 กว่าชนิดด้วยกัน   ลูกหยีก็เป็นไม้พื้นบ้านที่ปลูกไว้ใช้เวลายาวนาน 20 กว่าปี  ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่ให้ผลและดกมาก

        ด้าน นางภาสพิชญ์  นาควงค์   อายุ 58 ปี ชาวบ้านที่ชอบทานผลไม้ป่าโบราณ  บอกกับทีมข่าวว่า  มีโอกาสเห็นต้นลูกหยีที่วัด  มันสูงใหญ่  ยิ่งเมื่อเห็นการเก็บเกี่ยวรู้สึกสงสารคนปีนไปเก็บ  มันเสี่ยงมาก   ซึ่งลูกหยีผลสดจะหาทานยากในยุคสมัยนี้ คนที่ปลูกก็มีน้อย ใช้เวลาหลายปีกว่าจะโตให้ผลที่กินได้   

……………………………………………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สตูลพสกนิกรร่วม 500 คน พร้อมใจสวมเสื้อผ้าสีเหลือง ตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป น้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9

สตูลพสกนิกรร่วม 500 คน พร้อมใจสวมเสื้อผ้าสีเหลือง ตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป น้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9

          วันที่ 13 ต.ค.2566 ที่ลานหน้าเทศบาลเมืองสตูล   ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  นายศักระ (อ่านว่า สัก-กระ)  กปิลกาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  พร้อม นายกเหล่ากาชาด หัวหน้าส่วน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่นและพ่อค้าประชาชนเยาวชน  แต่งเครื่องแบบชุดขาวเต็มยศขณะที่ประชาชนทั่วไปพร้อมใจกันสวมเสื้อผ้าชุดสีเหลือง รวมพิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันนวมินทร์มหาราช

        โดยนิมนต์พระสงฆ์ 89 รูป สวดพระพุทธมนต์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลพร้อมหัวหน้าส่วนถวายเครื่องไทยธรรมและทอดผ้าไตร กรวดน้ำ ก่อนถวายความเคารพหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร  ก่อนร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์พร้อมพสกนิกรชาวจังหวัดสตูลร่วม 500 คนที่พร้อมใจกันมาในครั้งนี้

          เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยหาที่สุดไม่ได้ โดยนำหลักคำสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ช่วยให้คนไทยได้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน

………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สตูลพร้อมรับเทศกาลถือศีลกินเจ   ขณะที่ราคาผัก  เครื่องปรุงและโปรตีนเกษตรทยอยปรับราคาขึ้น

สตูลพร้อมรับเทศกาลถือศีลกินเจ   ขณะที่ราคาผัก  เครื่องปรุงและโปรตีนเกษตรทยอยปรับราคาขึ้น

     

วันที่ 12 ตุลาคม 2566  ที่ตลาดเทศบาลเมืองสตูล  ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  แผงผักหลายร้าน  ยอมรับว่าเทศกาลกินเจที่ใกล้จะถึงในวันที่ 14 – 23 ตุลาคมนี้  ได้ส่งผลให้ราคาผักสด  ที่ใช้ในการปรุงอาหารต่างปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นชนิดละ 10 บาท

 

อาทิ   ผักกวางตุ้งจากราคาเดิม 30 บาทเพิ่มเป็น 40 บาท,  ผักคะน้า 40 บาทเป็น 55 บาท , กะหล่ำปลี 30 บาทเป็น 35 บาท ถั่วฝักยาว 35 บาทเป็น 40 บาท  ราคามะนาวกิโลกรัมละ 80 บาท ลดลงจากเดิม 100 บาท  ในขณะที่พริกสดยังคงราคาเดิมคือกิโลกรัมละ 150 บาท

 

          ด้านนางสายฝน  หมื่นเมือง  เจ้าของแผงผัก บอกว่า  ราคาผักที่แพง  เริ่มขึ้นก่อนถึงเทศกาลถือศีลกินเจ 1 สัปดาห์ เนื่องจากมีความต้องการใช้ผักในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจเป็นจำนวนมาก  ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมทำให้แปลงผักหลายพื้นที่เกิดความเสียหาย

         ส่วนด้านแผง  ขายเครื่องปรุงและโปรตีนเกษตรพบว่า มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย อาทิ เต้าหู้อยู่ที่ก้อนละ 8 บาท  หมี่เหลืองจาก 16 เพิ่มเป็น 18 บาท  หมี่ขาวจาก 18 บาทเพิ่มเป็น 20 บาท  ส่วนเส้นก๋วยเตี๋ยวเพิ่มจาก 28 บาทเป็น 30 บาท

         ขณะที่ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง  มีการทำพิธีล้างควันธูป หรือ พิธีเส่เจ่ง  ซึ่งเป็นการทำความสะอาดบริเวณพิธีกินเจ  ก่อนทำพิธีถือศีลกินเจ  โดยในวันที่ 14 ต.ค. เวลา 17:00 น จะทำพิธีใหญ่คือการยกเสาโกเต๊ง และเวลา 21:30 น.  ตั้งขบวนรับเสด็จองค์พระกิวอ๋อง ที่ท่าเทียบเรือตำมะลังด่านศุลกากรสตูล

……..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   กลุ่มคนเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกในจังหวัดสตูล เดินหน้าต้องการให้ปลดล๊อกจากบัญชีรายชื่อกฎหมายสัตว์ป่าคุ้มครอง   และวันที่ 18 ต.ค. นี้   เตรียมเดินทางขึ้นสมทบร่วมกับจังหวัดอื่นในการยื่นเรื่องขอแก้กฎหมาย   

กลุ่มคนเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกในจังหวัดสตูล เดินหน้าต้องการให้ปลดล๊อกจากบัญชีรายชื่อกฎหมายสัตว์ป่าคุ้มครอง   และวันที่ 18 ต.ค. นี้   เตรียมเดินทางขึ้นสมทบร่วมกับจังหวัดอื่นในการยื่นเรื่องขอแก้กฎหมาย

           กลุ่มเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุก ยังคงยื่นเรื่องเพื่อให้ปลดล็อกนกกรุงหัวจุก  ออกจากสัตว์ป่าคุ้มครอง  และมองว่าขึ้นทะเบียนนกกรุงหัวจุกเพราะเป็นเรื่องยุ่งยาก และกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกจังหวัดสตูล  เตรียมพร้อมขึ้นไปกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนการยื่นเรื่องข้อเสนอในครั้งนี้

           ด้านนายอัสหาด   หลังจิ  อดีต ประธานชมรมนกกรงหัวจุกสตูล  มองว่า  กฎหมายเดิมนั้นไม่ทันสมัย ต้องการให้เปลี่ยนแปลงมากกว่านี้  โดยในวันที่ 18 ตุลาคมนี้ กลุ่มเพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุกในจังหวัดสตูล ทั้ง 7 อำเภอ  นับ 100 คน จะเหมารถตู้เพื่อเดินทางขึ้นไปยังกรุงเทพฯ ร่วมสมทบกับคนเพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุกจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้  และการที่ได้ออกมาเรียกร้องในครั้งนี้เพราะมองว่า การเพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุก เป็นรากฐานเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง และเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ ได้ดีอีกด้วย

 

         ด้านนาย สักรินทร์    อังวรโชติ  อายุ 38 ปี  หนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุก กล่าวเพิ่มเติมว่า นกกรุงหัวจุก เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ดี ที่นิยมเพาะเลี้ยงกัน แต่เมื่อกฎหมายเข้มงวดก็ลำบาก   และมีผลกระทบกับทางกลุ่มเพาะเลี้ยงมาก จึงฝากให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ   ได้ทบทวนข้อเรียกร้องในครั้งนี้  ส่วนกรณีคนไปดักจับนกกรุงหัวจุกในป่า  ก็ควรจับมาลงโทษขั้นเด็ดขาด  แต่ก็ควรมองถึงกลุ่มเพาะเลี้ยง ที่ต้องการทำเรื่องขึ้นทะเบียนนกกรุงหัวจุกให้ง่าย และสะดวกกว่าที่ผ่านมา

        สำหรับในพื้นที่จังหวัดสตูล มีสนามการแข่งขันเสียงนกกรุงหัวจุก  ที่ถูกต้องตามกฎหมายหลายสนาม นกทุกตัวได้ขึ้นทะเบียนตามที่อุทยานฯ กำหนด  ถึงจะยุ่งยากในหลายๆ  ขึ้นตอน  แต่ก็ได้ทำตามข้อกฎหมาย ส่วนการเรียกร้องในครั้งนี้ เรียกร้องเพื่อส่วนรวม   มิใช่เป็นการเห็นแก่ตัวของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงนกกรุงหัวจุกแต่อย่างใด

อัพเดทล่าสุด

           สำหรับหรับนกกรงหัวจุก หรือ นกปรอดหัวโขน เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม มีเสียงอันไพเราะ จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ชอบสัตว์เลี้ยงเพื่อฟังเสียง   และได้มีการประกวดเสียงร้อง  เช่นเดียวกับนกเขาชวา  ในปัจจุบันนกกรงหัวจุก  จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนก  ลำดับที่ 550  ตามกฎกระทรวงกำหนด  ให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ห้ามล่า หรือจับมาจากธรรมชาติ แต่เปิดโอกาสให้เพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้ แต่ยังมีผู้เพาะเลี้ยงที่ไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมาก  เนื่องจากมีขั้นตอนการขออนุญาตหลายขั้นตอน  ต้องใช้หลักฐานหลายอย่าง และต้องลงทุนสูง

……………………………………………………

Categories
ข่าวทั่วไป

ปธพ.10 สำเร็จการศึกษา ชู10 หัวข้อผลงานวิชาการทางการแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวงการแพทย์สาธารณสุขไทย สอดคล้องนโยบายรัฐบาล พร้อมนำไปปฏิบัติจริง

ปธพ.10 สำเร็จการศึกษา ชู10 หัวข้อผลงานวิชาการทางการแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวงการแพทย์สาธารณสุขไทย สอดคล้องนโยบายรัฐบาล พร้อมนำไปปฏิบัติจริง

        เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2566  ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ฯ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีการจัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2566 แพทยสภา – ปธพ.ครั้งที่ 10 โดยแพทยสภาร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าได้จัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) ขึ้น  ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อร่วมพัฒนาวงการแพทย์ และระบบสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์   เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเกียรติคุณ แก่นักศึกษาปธพ.รุ่นที่ 10 ที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 143 คน โดยมีนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ สภานายกพิเศษแพทยสภา นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  อาจารย์วิทวัส ชัยภาคภูมิ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา  พลอากาศโท นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์  และผู้อำนวยการหลักสูตรปธพ.  พร้อมด้วยนักศึกษาปธพ.รุ่น 10 เข้าร่วมพิธีสำเร็จการศึกษา และเยี่ยมชมบอร์ดนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาและมีกิจกรรมการนำเสนองานวิจัยของนักศึกษาปธพ.รุ่นที่ 10 จำนวน 10 หัวข้อวิชาการอีกด้วย

        นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว กล่าวบรรยาพิเศษในหัวข้อ “อนาคตระบบสาธารณสุขไทย” ว่า ผลงานวิชาการของนักศึกษาปธพ.10 นั้นตอบโจทย์วงการสาธารณสุขไทยทั้งหมด สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล พร้อมนำไปปฏิบัติได้จริง    โดยความท้าทายของระบบสาธารณสุขไทย มี 9 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพไทยในอนาคต ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง ประชากร ลักษณะเฉพาะของคนไทย โรคอุบัติใหม่ เทคโนโลยี การขนส่ง อาหารเกษตรกรรม และ สิ่งแวดล้อม  ประเด็นสำคัญของระบบสาธารณสุขไทยที่ต้องรับมือคือ โรควัณโรค และอุบัติเหตุจราจร ที่เป็นเรื่องท้าทาย ส่วนในเชิงสังคมต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในสังคมทุกภาคส่วน  โดยกระทรวงสาธรารณสุขกำหนดให้เขตสุขภาพ ทั้ง 12 เขต พัฒนา “เมืองสุขภาพดี” เขตละ 1 แห่ง  เพื่อประชาชนมีอายุยืน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

         ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ กล่าวถึงผลงานวิจัย ทั้ง 10 เรื่องของนักศึกษาว่า ทำให้เห็นศักยภาพของความร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งร่วมกันพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย  ยกระดับสุขภาวะที่ดีของประชาชน บนพื้นฐานว่าการทำงานใดๆ จะสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาแบบมีธรรมาภิบาล  

         ด้านพลอากาศโท นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ กล่าวว่าหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 10 (ปธพ. 10) เป็นความร่วมมือระหว่างแพทยสภา และสถาบันพระปกเกล้า โดยมีผู้บริหารระดับสูงจาก 6 เสาหลัก มาเรียนร่วมกันคือ แพทย์จากกระทรวงสาธารณสุข  ครูแพทย์จากมหาวิทยาลัย แพทย์ทหาร ตำรวจ และภาครัฐ  แพทย์จากภาคเอกชน ผู้บริหารภาครัฐ และ ผู้บริหารภาคเอกชน เพื่อแก้ปัญหาวงการแพทย์ ตามแนวทางพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ให้แพทย์ไทย “อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร” โดยใช้ “ธรรมาภิบาล”เป็นกลไกหลักในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ 

        ทั้งนี้ผลงานวิจัยของนักศึกษาปธพ.รุ่นที่ 10  ประกอบด้วย หัวข้อที่ 1 ประสิทธิภาพ และผลกระทบของมาตรการสาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จากการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย  หัวข้อที่ 2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสื่อสารเมื่อเกิดภาวะวิกฤตทางการแพทย์ โดยใช้โมเดลการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ศึกษากรณีวัคซีน COVID-19   หัวข้อที่ 3 การศึกษาต้นแบบโมเดลสุขภาพในการบูรณาการการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพของประชาชนไทย: กรณีศึกษาจากโรคมะเร็งปอดชนิดยีนกลายพันธุ์ EGFR หัวข้อที่ 4 ความรุนแรงภายในสถานพยาบาลต่อบุคลากรทางการแพทย์ และข้อเสนอทางมาตรการกฎหมายเพื่อลดความรุนแรง (Violence against medical personal in Thailand: evidence and mitigation strategies) หัวข้อที่ 5  โครงการศึกษาสมรรถนะร่วมเชิงบูรณาการ (Integrative core competencies) ของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อระบบ บริการสุขภาพไทยใน 10 ปีข้างหน้า หัวข้อที่ 6   Dementia Awareness in Thai Population การตระหนักรู้เรื่องภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของประชากรไทย หัวข้อที่ 7 ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการให้บริการโทรเวชในมุมมองของผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาล และถอดบทเรียนของการก้าวข้ามอุปสรรคของโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์การให้บริการโทรเวช หัวข้อที่ 8 บทบาทของโรงพยาบาลเอกชน  ในการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ตามหลักธรรมาภิบาล  หัวข้อที่ 9  การศึกษาวิเคราะห์การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กัญชากัญชงตามหลักธรรมาภิบาล และ หัวข้อที่ 10  ผลกระทบของการโฆษณาโดยแพทย์ในสื่อสังคมออนไลน์ในการดูแลรักษาเรื่องของความงาม โดยผลงานวิจัยทั้งหมดได้ถูกนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และได้มีการมอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขใช้เป็นแนวทางการพัฒนาวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยต่อไป

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

รักของแม่วัยชรา  เลี้ยงบุตรพิการ 2 คนแต่กำเนิด

รักของแม่วัยชรา  เลี้ยงบุตรพิการ 2 คนแต่กำเนิด

        บ้านหลังเล็กในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลกำแพง  อำเภอละงู จังหวัดสตูล  ซึ่งเป็นบ้านของนางนวลใย อายุ 79 ปี ที่อาศัยอยู่บ้าน   พร้อมบุตร ชาย  2 คน  ที่พิการมาตั้งแต่กำเนิด (จากลูกทั้งหมด 7 คน สามีเสียชีวิตนานแล้ว)  โดยบุตรชายทั้งสองมีขาลีบทั้งสองข้าง  ในการเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนจะใช้มือแทนเท้า  ดวงตา  มองเห็นเลือนลาง มีพัฒนาการล่าช้า 

       โดยบุตรทั้งคู่ อายุ 57 ปี และ อายุ 48 ปี  ส่วนบุตรคนอื่น ๆได้แยกย้ายไปมีครอบครัว  มีเพียง บุตร 2 คนนี้   ที่แม่ยังคงดูแลอยู่ไม่ห่าง  แม้ร่างกายของแม่จะแก่ชรามากแล้ว  แต่ด้วยความรักความผูกพัน  และเป็นห่วง   ลูกโตหรืออยู่ในสภาพไหน   ก็ยังรักเป็นห่วงเขาไม่ห่างหาย  ข้าวปลาอาหาร  เสื้อผ้า  ยังคงต้องคอยดูแลเพราะไม่สามารถจะเปลี่ยนเองได้  แม้จะพยายามให้เขาได้เรียนรู้ที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง  แต่ด้วยสภาพร่างกาย  ทำให้เขามีพัฒนาการไม่มากนัก 

         นางนวลใย แม่วัยชรา  เล่าว่า  สามีเสียชีวิตนานแล้ว  แม่มีลูกด้วยกันทั้งหมด 7 คน  เป็นโรคโปลิโอ มาตั้งแต่กำเนิด 3 คน เสียชีวิตไปแล้ว 1 คน ส่วนคนอื่นๆ แยกย้ายไปมีครอบครัวกันหมดแล้ว   รู้สึกเป็นห่วงเขาทั้งสอง  เพราะยังช่วยเหลือตัวเองได้ไม่มากพอ  โดยคนวัย 48 ดวงตาเห็นเลือนลาง  และการสวมใส่  เปลี่ยนเสื้อผ้าเองยังไม่ได้  การกินต้องช่วยดูแล  ส่วนคนพี่   ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง  และบางครั้งแม่ไม่อยู่บ้าน   ต้องเตรียมข้าวปลาไว้ให้เขา   แล้วเขาก็ยังเป็นห่วงแม่ไม่ยอมกิน   โดยบอกว่าจะเก็บไว้ให้แม่กิน  

           ด้านผู้นำท้องที่  ท้องถิ่น  ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยไม่ขาดสาย  ทั้งเยียวยาตามบทบาทและตามหลักมนุษย์ธรรม ให้กำลังใจผู้เป็นแม่และลูก ๆ แม้จะแอบห่วงใยเพราะด้วยแม่ที่แก่ชรา  

         ด้าน  นางสำลี  ลัคนาวงศ์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง  เปิดเผยว่า ได้รับดูแลครอบครัวนี้พร้อมกับนายธีรพงษ์  คุ่มเคี่ยม  นายอำเภอละงู  ที่ห่วงใย ดูแลผ่านความช่วยเหลือตามระเบียบ  ด้านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เข้ามาดูแล  อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทางคุณแม่มีเพียงเงินคนชรา และคนพิการไว้ใช้จ่าย และข้าวของที่ทางผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นเข้าช่วยเหลือบางส่วนเท่านั้น  ซึ่งหากสังคมอยากจะช่วยกันดูแล  สามารถประสานมาที่  อบต.กำแพง หรือ ที่ว่าการอำเภอละงู หรือ ผู้ใหญ่บ้านได้

………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สตูลสืบสานการลงแขก ปลูกข้าวพื้นเมืองอัลฮัมดุลิลละห์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร   

สตูลสืบสานการลงแขก ปลูกข้าวพื้นเมืองอัลฮัมดุลิลละห์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร

        ทันทีที่ฝนทิ้งช่วง  ชาวนาในจังหวัดสตูลต่างพร้อมใจกัน  ลงปักดำพันธุ์กล้าข้าวในท้องนาที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ  เพื่อให้ทันต่อการปลูกข้าวในรอบปีนี้

        ซึ่งชาวบ้านในตำบลควนสตอ  อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล  โดยเฉพาะในแปลงนาข้าวของ  ศูนย์เรียนรู้บ้านสวนปันสุข  ที่ยังคงอนุรักษ์การปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง  อัลฮัมดุลิลละห์  บนพื้นที่นาของบรรพบุรุษ  ที่ส่งต่อกันมา    พร้อมเชิญชวนเพื่อนบ้าน  ผู้นำในหมู่บ้าน  และเด็ก ๆ  มาร่วมกันลงแขกดำนา    เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ หรือการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน   พร้อมทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีกันภายในหมู่บ้าน  อีกทั้งเด็ก ๆ  จะได้ร่วมซึมซับบรรยากาศของการทำนา และการได้มาซึ่งข้าว  อาหารหลักของเราอีกด้วย   โดยทางเจ้าของที่นา  จะจัดเตรียมข้าวปลา-อาหาร  คาวหวาน เอาไว้เลี้ยงเพื่อนบ้าน ที่เข้ามาช่วยลงแขกดำนาในครั้งนี้ด้วย

      นางมารียำ  อุสนุน   เจ้าของศูนย์เรียนรู้บ้านสวนปันสุข  วันนี้เปิดพื้นที่ให้เพื่อนบ้านและเด็ก ๆ ได้มาร่วมกันดำนาปี  ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง  อัลฮัมดุลิลละห์   โดยเริ่มหว่านกล้าในช่วงเดือนสิงหาคม  จะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี  วันนี้ก็เป็นการลงแขกโดยมีชาวบ้านมาช่วยกัน  ทันทีที่ฝนหยุดก็เริ่มลงมือดำนาเลยทันที ที่ไม่ตรงกับการกรีดยางพารา ข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูกจะเอาไว้ทานกันเอง  โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีรสชาติเฉพาะกลมกล่อม   ไม่มีสารเคมีเจือปน  อีกทั้งเป็นการปลูกไว้ทานเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพ

อัพเดทล่าสุด

         นายสอลีหีน   สาเบาะ   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควนสตอ   กล่าวว่า  ชาวบ้านในอำเภอควนโดนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์อัลฮัมดุลิลละ  เป็นหลัก   เนื่องจากมีรสชาติหอมอร่อย  

        และในปัจจุบันยังพบว่าการปลูกข้าวลดน้อยลง   เนื่องจากราคาในท้องตลาดถูก  แต่ชาวบ้านในอำเภอควนโดนของเรา   ยังอนุรักษ์ในเรื่องของการปลูกข้าวไว้อยู่   เพื่อความมั่นคงของอาหาร   ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงที่ผ่านมาในสภาวะโรคระบาดในพื้นที่ตำบลควนสตอ  อำเภอควนโดน  ก็ยังมีข้าวไว้กิน   นาข้าวที่ศูนย์เรียนรู้บ้านสวนปันสุข  ของนางมารียำ  ก็มีการอนุรักษ์การทำนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองให้เห็น  และเป็นแบบอย่าง  ให้รุ่นต่อไปได้ร่วมการสืบสานและเรียนรู้

……………