Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

นาทีชีวิต..ชาวบ้านริมทะเลช่วยโลมาสีชมพู เกยหาดบูโบยสตูลได้สำเร็จ   หลังพบบาดเจ็บคาดว่าพลัดหลงคลื่นลมแรง

นาทีชีวิต..ชาวบ้านริมทะเลช่วยโลมาสีชมพู เกยหาดบูโบยสตูลได้สำเร็จ   หลังพบบาดเจ็บคาดว่าพลัดหลงคลื่นลมแรง

          นาทีชีวิตน้องโลมาสีชมพู   รอดหวุดหวิด หลังเกยหาดบ้านบูโบย  ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา (30 ก.ย.2567)  หลังมีชาวบ้านออกมาหาหอยริมชายหาดในช่วงเช้ามืดกลับพบเห็นน้องโลมาสีชมพู  มีขนาดตัวใหญ่ไม่น้อยกว่า 150 กิโลกรัม ลำตัวมีสีชมพู  ที่คลีบมีบาดแผลเล็กน้อย นอนเกยหาดดังกล่าว  หลังน้ำทะเลลดลงไปมากด้วยความตกใจจึงรีบวิ่งไปบอกชาวบ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาช่วยกันนำลงน้ำ

 

         ทันใดนั้นนายสมบัตร สันมาแอ  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบูโบย  หมู่ที่ 3 ที่อยู่บริเวณนั้นพอดีจึงรีบเกณฑ์คน 4-5 คนไปช่วยนำน้องโลมาสีชมพูลงน้ำด้วยความที่กลัวมันจะตาย จึงหาเชือกบริเวณใกล้  ๆ ลากน้องโลมารีบลงน้ำทะเล  หลังพบว่าน้ำในบริเวณนั้นลดมานานกว่า 3 ชั่วโมงแล้ว  ด้วยกลัวว่าจะตายจึงรีบช่วยกัน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที  ก็ช่วยลงน้ำทะเลลึกที่พอจะว่ายกลับไปสู่ทะเลกว้างได้สำเร็จ 

 

           ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบูโบย  หมู่ที่ 3 ต.แหลมสน บอกว่า  เมื่อ 40 ปีก่อนเคยเจอวาฬขนาดใหญ่ที่ริมชายหาดแห่งนี้ แต่ตายลอยมาติดหาด  แต่ไม่เคยเจอโลมาสีชมพู คาดว่า อาจจะพลัดหลง หรือบาดเจ็บมาติดหาด  เพราะในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้ชายหาดฝั่งนี้  มีคลื่นลมแรงจัดทำให้พัดพาโลมาสีชมพูนี้  มาได้  โดยเบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะเป็นเพศผู้ 

          ความช่วยเหลือของเพื่อนมนุษย์ในครั้งนี้ได้สำเร็จสร้างความดีใจให้กับ ผู้ที่ช่วยเหลือและผู้ที่ทราบข่าวในการช่วยกันอนุรักษ์โลมาให้รอดชีวิตกลับคืนสู่ท้องทะเลได้ 

……………………………..

ขอบคุณภาพ   ผช.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ต.แหลมสน

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศให้ “กระท้อนนาปริกสตูล”  เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สตูล-กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศให้ “กระท้อนนาปริกสตูล”  เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

             กระท้อนนาปริกสตูล  เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อคุณภาพ เนื้อนุ่มหนา  เปลือกบาง  มีหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกในพื้นที่อำเภอควนโดน  ในแต่ละปีกระท้อนนาปริกสตูลให้ผลผลิตจำนวนมาก  ทางจังหวัดสตูลจึงขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

             ล่าสุด นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทน  อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศ  ณ  วันที่ 26 กันยายน 2567  เรื่อง  การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  “กระท้อนนาปริกสตูล”  ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำขอขึ้นทะเบียน 22 กันยายน 2565

 

            โดยกระท้อนนาปริกสตูล หรือ Na Prik Satun Santol หรือ Kra Ton Na Prik Satun หมายถึง  กระท้อนพันธุ์อีล่า พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์นิ่มนวล พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ทับทิม ลักษณะผลทรงกลม ทรงกลมแป้น  และทรงกลมจุก ผิวเปลือกบาง นิ่ม สีเหลือง สีเหลืองอมน้ำตาล และสีเขียว  มีขนนิ่มเหมือนกำมะหยี่  เนื้อหนานุ่ม ปุยหุ้มเมล็ดสีขาวหนาฟู  ผลสุกจัดจะมีรสชาติหวาน  ปลูกในเขตพื้นที่ 2 อำเภอของจังหวัดสตูล ได้แก่ อำเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง

             สำหรับกระท้อนนาปริกสตูล  นอกจากกินผลสดแล้ว  สามารถปรุงเป็นเมนูกระท้อนทรงเครื่อง  น้ำพริกกระท้อน  น้ำยาขนมจีนกระท้อน  ไอศกรีมกระท้อนได้ด้วย

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

ชาวเกาะแห่ถอนเงินหมื่นกลัวสิทธิ์จะหายไป  ทำให้บรรยากาศแน่น ธ.ออมสิน  กว่า 300 คน  ตั้งใจนำเงินไปช่วยค่าเรียนบุตร  ซื้อข้าวสาร  ซ่อมเครื่องมือประมงและซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าบ้าน

ชาวเกาะแห่ถอนเงินหมื่นกลัวสิทธิ์จะหายไป  ทำให้บรรยากาศแน่น ธ.ออมสิน  กว่า 300 คน  ตั้งใจนำเงินไปช่วยค่าเรียนบุตร  ซื้อข้าวสาร  ซ่อมเครื่องมือประมงและซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าบ้าน

            วันที่ 26 ก.ย.2567  ที่ธนาคารออมสิน สาขาสตูล มีประชาชนกว่า 300 คน มารอรับเงิน 10,000 บาท  ตั้งแต่เช้าตรู่   หลายคนไม่มีบัตร ATM    โทรศัพท์มือถือ จึงต้องมารับเงินที่สาขาโดยตรง   ประชาชนหลายคนกังวลว่า  หากไม่มารับเงินวันนี้อาจจะเสียสิทธิ์ได้

            หลังรับเงิน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  จะนำไปซื้อข้าวสาร   เก็บไว้รักษาโรค    เป็นค่าเล่าเรียนบุตร    ซื้ออุปกรณ์ประมง เช่น อวน   ซ่อมแซมบ้านที่เสียหายจากพายุ  และ ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างเช่น พัดลม   

        นางรัตนา  หลีมุสา  อายุ 54 ปี  ชาวบ้านเกาะปูยู  หมู่ที่ 1  ตำบลปูยู  อำเภอเมืองสตูล บอกว่า ทันทีที่รู้คิวในการรับเงินหมื่น  ได้เดินทางขึ้นจากเกาะ  ตั้งแต่เมื่อวานนี้  แล้วมานอนบนฝั่งเพื่อมารอถอนเงินหมื่น  เพราะเกรงว่าจะมีคลื่นลมแรงทำให้เดินทามาในวันนี้ไม่ได้  อีกทั้งเรือมีเพียงเที่ยวเดียว  หากไม่รีบมาอาจจะต้องเหมาเรือมาเอง หรือรอในวันถัดไป   วันนี้ก็เดินทางมากับชาวบ้านบนเกาะด้วยกัน 10 กว่าคน

  ซึ่งเงินนี้  ตนตั้งใจว่าส่วนหนึ่งจะเอาไว้เป็นค่าเล่าเรียนบุตร และจะไปต่อยอดซื้ออวนทำอาชีพ เพราะถูกลมมรสุมพัดพังเสียหาย และซ่อมบ้านที่ถูกพายุพัดพัง รวมทั้งซื้อพัดลมซักหนึ่งตัวเพราะอยู่กับความร้อนมานาน  พอ ๆ กับรอเม็ดเงินนี้มานานเช่นกัน ชอบคุณรัฐบาลที่จัดสรรเงินให้

ขณะที่ นายอนันต์   มาลัยสนั่น   ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาสตูล  บอกว่า

ในช่วงนี้ลูกค้าจะแน่เกือบทุกวัน และแนวทางการให้บริการ เบิกถอนรับไม่จำกัดจำนวน ส่วนขั้นตอนการเปิดบัญชีที่ค่อนข้างใช้เวลาจะรับจำนวนจำกัด ซึ่งลูกค้าที่มีเงินเข้าแล้วไม่ต้องกังวลว่าเงินจะหายไปไหน ยังคงอยู่ในบัญชี สามารถมาเบิกถอนในวันถัดไปได้ และหากใช้บริการทางแอปในลูกค้าที่มีความสามารถก็จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการถอนได้

………………………………………..

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

ชาวเกาะสตูลยอมรับ เงินดิจิตอลคือความหวัง ต่อชีวิตและอาชีพ หลังมรสุมสร้างความเสียทั้งบ้านและเครื่องมือยังชีพ

ชาวเกาะสตูลยอมรับ เงินดิจิตอลคือความหวัง ต่อชีวิตและอาชีพ หลังมรสุมสร้างความเสียทั้งบ้านและเครื่องมือยังชีพ

          25 ก.ย.2567  เม็ดเงินดิจิตอลเป็นความหวังของชาวบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล ด้วยภัยธรรมชาติทั้งวาตภัยและอุทกภัย  ทำให้ชาวบ้านมีความต้องการที่จะต้องใช้เงินในการจัดหาเครื่องมือประมงใหม่ที่หายไปกับกระแสน้ำ  และซ่อมแซมเรือเพื่อให้กลับมาทำมาหากินได้เหมือนเดิม เช่นเดียวกับบ้านเรือนที่เสียหายหลายหลังในบ้านที่อยู่ติดริมทะเล  ต้องใช้เงินในการซ่อมแซม และซื้อสิ่งของจำเป็นมาใช้ในชีวิตประจำวัน

          ทำให้เงินดิจิตอลที่พวกเขาหวังจะนำไปซื้อสิ่งของเหล่านี้  นอกเหนือจากภาครัฐที่เข้ามาเยียวยาเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ในการต่อชีวิตและลมหายใจในยามที่ประสบภัยได้

 

          นายรอหมาด (บังแมว) ดาเด็น   ชาวบ้านหมู่ที่ 1 บ้านตันหยงอุมา ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง  จ.สตูล  บอกว่า  เงินดิจิตอลจะนำไปซื้ออวนลอยกุ้งปลาใหม่ ที่เสียหายจากคลื่นพายุที่พัดหายไปในช่วงมรสุมเข้าที่ผ่านมา และจะนำไปซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อประทังชีพ  ถือว่าเป็นเงินที่มาช่วยต่อชีวิตได้มากยามที่มีภัยพิบัติเข้ามาพอดี

         ขณะที่นางสาวเรณู   ยะนะ   หมู่ที่ 3 บ้านตันหยงกลิง ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง  จ.สตูล   บอกว่า เงินนี้จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีคนแก่ที่รอความช่วยเหลืออยู่เพราะที่ผ่านมา มรสุมเข้าทำให้ไม่สามารถออกเรือหาปลา ทำมาหากินได้นานร่วม 20 วันเงินนี้จะนำไปซื้อข้าวสารอาหารแห้ง และซ่อมแซมเครื่องมือประมง

………………………………………..

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

“ผู้ว่าฯ สตูล นำทีมขับเคลื่อน ‘สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน’ พร้อมสร้างความเข้าใจนโยบายสำคัญแก่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์” 

“ผู้ว่าฯ สตูล นำทีมขับเคลื่อน ‘สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน’ พร้อมสร้างความเข้าใจนโยบายสำคัญแก่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์” 

          (24 ก.ย.2567) ที่เพอร์เฟครูม รีสอร์ท อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล จัดกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการขับเคลื่อนจังหวัดสตูล สู่เป้าหมาย “สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน” ตามโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายสำคัญและทิศทางการพัฒนาจังหวัดสตูล ประจำปี 2567 โดยมีนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานกล่าวพบปะพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนจังหวัดสตูล พร้อมด้วยนายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชนจังหวัดสตูล ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ ผู้สื่อข่าววิทยุ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลางและท้องถิ่น ผู้ดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง แอดมินเพจ และเครือข่ายประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน

 

         สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล ในฐานะหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่หลักในการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสุข  ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโททัศน์  สื่อโซเชียลและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน  เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล ได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและนโยบายทิศทางการพัฒนาจังหวัดสตูล  ให้กับสื่อมวลชลทุกแขนงและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ได้รับทราบและนำข้อมูลข่าวสารนำเสนอในสื่อที่รับผิดชอบ  เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสตูล ได้รับรู้ เข้าใจ นำใช้ประโยชน์ มีส่วนร่วมการดำเนินงานการพัฒนาจังหวัดสตูล ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา “สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน” และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนนอกพื้นที่ได้รับทราบ อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้จังหวัดสตูล

         ทั้งนี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล จัดกิจกรรมในใครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายภาครัฐ และทิศทางการพัฒนาจังหวัดสตูล และรับทราบผลการดำเนินงานภาครัฐ ผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการของจังหวัดสตูลในรอบปีที่ผ่านมาและเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งภายในกิจกรรมได้รับเกียรติจากวิทยากร ประกอบด้วย นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล นายชวรณ สุธาพานิชย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล นางสาวพัชรี เกิดพรม ประธานเครือข่ายผู้ผลิตข่าวสตูล มาร่วมเสวนาพบปะพูดคุยให้ข้อมูล โดยมีนางสาวอัญชกุล ศรีทัพ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสตูล เป็นผู้ดำเนินการฯ พร้อมกันนี้มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดสตูลมาร่วมพบปะพูดคุยอีกด้วย

…………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

พ่อเมืองสตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ เข้าแถวเคารพธงชาติ เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2567

พ่อเมืองสตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ เข้าแถวเคารพธงชาติ เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2567

          วันนี้ (24 ก.ย. 67) เวลา 08.00 น. นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2567 โดยร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) รวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย เมื่อปี 2460

         สำหรับธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติของประเทศไทย มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่า “ธงไตรรงค์” (ไตร = สาม, รงค์ = สี) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) แทนธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 และใช้เป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน

…………………………

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

            วันที่ (19 ก.ย. 67) ที่สตารินทร์ คาเฟ่ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นางไลลา รอเกตุ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ เป็นประธานการดำเนินโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส. พร้อมด้วยเครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วน และคณะทำงาน พมจ.สต. ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

 

            ด้วยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ได้จัดโครงการเสริมสร้าง เครือข่ายสื่อมวลชนเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ ประสานความร่วมมือกับสื่อมวลชนท้องถิ่นและหน่วยงานด้านการประชาสัมพันธ์ ในการนำเสนอสถานการณ์ ทางสังคม เพื่อให้สังคมได้ตระหนักมีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สื่อมวลชน ได้เผยแพร่เรื่องสิทธิ สวัสดิการที่ประชาชนพึงได้รับ รวมทั้งผลการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายของศูนย์เร่งรัดจัดการ สวัสดิภาพประชาชนจังหวัดสตูล (ศรส.) ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.หนึ่งเดียว) กับสื่อมวลชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย สื่อมวลชนและหน่วยงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ หัวหน้าส่วนราชการสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน

           สำหรับโครงการนี้ได้มีการหารือถึงแนวทางในการนำเสนอ หรือประชาสัมพันธ์ในการประสานความร่วมมือของหน่วยงาน พม.หนึ่งเดียว และ ศรส. ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยง่ายในเรื่องของการติดตามการดำเนินให้ความช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน และการสื่อสารสังคมเชิงรุกในการสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วน เพื่อให้สื่อได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาทางสังคมร่วมกันได้ต่อไป

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ที่จังหวัดสตูลได้ขึ้นชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอีกหนึ่งแห่งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  และที่กำลังสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านอย่างงดงามคือที่นี่เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารซีฟู้ดที่ขึ้นชื่อ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านซีฟู้ด 

 

โดยเฉพาะกั้งทะเล  ที่นี่มีให้ทานเกือบทั้งปี (หากไม่มีคลื่นลมแรง)  และกั้งยังเป็นแลนด์มาร์คของตำบลตันหยงโป  อำเภอเมืองสตูลด้วย  โดยเฉพาะที่ บ้านบากันเคย หมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชาวประมงพื้นบ้านได้ออกหาอาหารทะเลทันที   หลังจากสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ พวกเขาสามารถออกทะเลเพื่อจับกั้งตัวใหญ่ได้อีกครั้ง

 

กั้งที่นี่จะมีสองสายพันธุ์ คือ กั้งขาว และกั้งเขียว     (กั้งขาว หรือกั้งแก้ว แกะต้มแล้ว) มีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 500 – 540  บาท   ส่วนกั้งเขียวเป็นกั้งตัวใหญ่ (หนึ่งตัวเกือบกิโลกรัม)  มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,600 บาท (จะขายกั้งเป็นแต่หากกั้งตายจะไม่มีราคา) สร้างรายได้อย่างงามให้กับชาวประมงพื้นบ้าน

 

           นายราเสบ กาซา เจ้าของแพอายุ 72 ปี  บอกว่า  ตนรับซื้อกั้งสดๆ จากชาวประมงพื้นบ้าน ราคากั้งขาวหรือกั้งแก้ว  อยู่ที่กิโลกรัมละ 200 – 300 บาท  ส่วนกั้งเขียว รับซื้อจากชาวประมงราคาสูงถึง 1,400 บาทต่อกิโลกรัม  ส่งขายในจังหวัดท่องเที่ยว ทั้งภูเก็ต หาดใหญ่ พังงา และกระบี่

 

         นอกจากการขายกั้งสด ทางแพยังแปรรูปโดยการต้มและแกะเนื้อขาย ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 500 ถึง 540 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายกั้งเขียวเป็นๆ  กิจการนี้ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชาวประมง แต่ยังสร้างงานให้กับแม่บ้านในพื้นที่อีกด้วย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ได้ 0915284092  0953696057

 

           นางสาวนูรชีรา  อามาตี   อายุ 24 ปี แรงงานแกะกั้ง  บอกว่า  พวกเรามีงานทำ ไม่ต้องออกไปหางานนอกหมู่บ้าน ได้ค่าแรงวันละ 400 บาท ทำงานตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 วันไหนเรือออกก็จะมีงานทำอาชีพนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีแกะกั้งขาวหรือกั้งแก้ว ใช้กรรไกรตัดหัวก่อนจากนั้นตัดหาง และครีมด้านข้างเพื่อให้แกะกระดองได้ง่าย  ก็จะได้เนื้อกั้งเป็นชิ้นทั้งตัวพร้อมขายและนำไปปรุงได้อย่างสะดวกสบาย  

 

         สำหรับกั้ง สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนูเช่นเดียวกับกุ้ง เช่น กั้งต้มน้ำจิ้มซีฟู้ด , กั้งทอดกระเทียมพริกไท ,ผัดเผ็ดหรือต้มย้ำ นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของดีจากชุมชน  น้ำพริกกั้ง ,มันกั้ง (คล้ายกับมันกุ้ง)

 

           ความสำเร็จของอุตสาหกรรมกั้งในสตูลนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย และโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับชุมชนชายฝั่ง 

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลสร้างอาชีพ ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

สตูลสร้างอาชีพ…ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

         ผู้สูงอายุตำบลควนสตอ จังหวัดสตูล ได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้สด  ด้วยวิธีอีโคปริ๊นท์ ในงาน “ชีวิตสดใส วัยสูงอายุ” ซึ่งจัดขึ้นที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

 

         โดยทางวิทยาลัยเทคนิคสตูล  ได้จัดบูธสาธิต   การทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก วิธีการทำเริ่มจากการนำผ้าที่ชุบน้ำยาแล้ว (ที่มีส่วนผสมของปูนขาว น้ำส้มสายชู ผงสนิม สารส้ม น้ำเปล่า)   วางดอกไม้หรือใบไม้ลงบนผ้า  จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใสคลุมทับ  แล้วใช้ค้อนขนาดเล็กทุบเบาๆ  เพื่อให้สีของดอกไม้ซึมลงบนผ้า  ทำให้เกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชิ้น

 

         ก็จะได้ผ้าเช็ดหน้า  ลายดอกไม้สีส้มสดจากดอกดาวกระจาย  เป็นชิ้นงานจากจินตนาการของผู้สูงอายุ  ที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก  นางฮาหยาด สกุลา ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า “ได้ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้ เพราะวัตถุดิบในชุมชนมีเยอะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะพัฒนาเป็นอาชีพเสริมหรือไม่”

            ด้านนางสาวปัทมา หมัดสาลี ครูประจำศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน วิทยาลัยเทคนิคสตูล อธิบายว่า “เราเลือกวิธีทุบแทนการนึ่ง  เพราะใช้เวลาน้อยกว่า  ทำให้ผู้เรียนได้ชิ้นงานกลับบ้านทันที  ผ้าที่ได้ให้เก็บไว้ 2 วัน ก่อนนำไปรีดและซักด้วยน้ำยาล้างจานหรือสบู่  นำไปผึ่งลม ก็จะได้ผืนผ้าที่คมชัดสีติดทนใช้งานอายุยืนยาว

 

           ทั้งนี้ ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน  มีแผนการสอนไปยังนักเรียนมัธยม และเปิดคอร์สระยะสั้น  สำหรับประชาชนทั่วไปในช่วงปิดเทอม   ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจเฟซบุ๊ก  “ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน สาขาวิทยาลัยเทคนิคสตูล”   หรือโทร.  081-737-0287

 

         ส่วนดอกไม้หรือใบไม้ จะเลือกที่มีเนื้อนิ่ม  ใบดอกไม่หนา  สีสด   สามารถใช้ได้ทั่วไปที่มีในชุมชน หมู่บ้าน 

……………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เริ่มแล้วเทศกาลขนมบุญเดือนสิบ   ขนมพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติดั้งเดิม ตรึงราคาเดิม  เพิ่มเติมคือความอร่อย ที่จังหวัดสตูล

เริ่มแล้วเทศกาลขนมบุญเดือนสิบ   ขนมพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติดั้งเดิม ตรึงราคาเดิม  เพิ่มเติมคือความอร่อย ที่จังหวัดสตูล

            หากคุณกำลังมองหาของฝากหรือขนมอร่อยๆ ในจังหวัดสตูล ต้องไม่พลาดมาแวะชิมขนมพื้นบ้าน  ของคุณป้าวรรณา หนูสุด วัย 63 ปี  ขายที่บ้านคลองขุดเหนือ  ซอย 37 อำเภอเมืองสตูล และที่ตลาดตั้งจิตต์ศิลป์ อำเภอเมืองสตูล  ซึ่งเธอได้นำสูตรขนมโบราณจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่ที่นี่

 

           คุณป้าวรรณาเล่าว่า เธอขายขนมพื้นบ้านมานานกว่า 20 ปีแล้ว  ที่นครศรีธรรมราช ก่อนจะย้ายมาเปิดร้านที่สตูลเมื่อ 2 ปีที่แล้ว   โดยมีขนมหลากหลายชนิดให้เลือกซื้อ   ไม่ว่าจะเป็น ขนมนีซัมหรือขนมเจาะหู   ขนมข้าวพอง   ขนมลา  และขนมบ้า

 

           ไฮไลท์ของร้านคือ   “ขนมเจาะหู” หรือ “ขนมนีซัม” ขนมโบราณที่หาทานได้ยาก ราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทสำหรับ 15 ลูก หรือจะซื้อแบบ 50 ลูก ราคา 60 บาท และ 100 ลูก ราคา 120 บาท นอกจากนี้ยังมี  ขนมลา   ขายเป็นกิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 140 บาท หรือครึ่งกิโลกรัม 70 บาท

 

สำหรับคนที่ชอบขนมกรอบ ต้องลองชิม “ขนมข้าวพอง” ขนมพื้นบ้านที่ทำจากข้าวเหนียว   ขายราคาเพียง 3 ชิ้น 20 บาทเท่านั้น  มีหลากหลายสีสันให้เลือก

 

          คุณป้าวรรณายังเล่าอีกว่า   ขนมเหล่านี้เป็นขนมที่นิยมใช้ในประเพณี   “วันรับตายาย” หรือ “เทศกาลเดือนสิบ” ของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ

 

          หากใครสนใจอยากลิ้มลองรสชาติขนมพื้นบ้านภาคใต้แท้ๆ  สามารถแวะมาอุดหนุนได้ที่ตลาดตั้งจิตศิล  หรือติดต่อสั่งซื้อได้ที่ คุณวรรณา หนูสุด  โทร 087-270 3161 หรือ 094-717-9601

 

           ขนมพื้นบ้านของคุณป้าวรรณาไม่เพียงแต่อร่อย   แต่ยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำขนมโบราณของภาคใต้  ให้คงอยู่สืบไป   เมื่อมาเที่ยวสตูล อย่าลืมแวะมาชิม  และซื้อกลับไปเป็นของฝากกันนะคะ

…………………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต