Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

ท่าเรือชายแดนไทย – มาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวแรงงานทยอยเดินทางกลับ ตำรวจเข้มจับเป่าแอลกอฮอล์และตรวจยาเสพติด หลังประกาศเป็นท่าเรือสีขาวสร้างความเชื่อมั่นให้ทั่วโลกที่เดินทางเข้ามา

ท่าเรือชายแดนไทย – มาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวแรงงานทยอยเดินทางกลับ ตำรวจเข้มจับเป่าแอลกอฮอล์และตรวจยาเสพติด หลังประกาศเป็นท่าเรือสีขาวสร้างความเชื่อมั่นให้ทั่วโลกที่เดินทางเข้ามา

          วันที่ 11 เมษายน 2567   ที่ด่านชายแดนท่าเทียบเรือตำมะลัง  ตำบลตำมะลัง  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ซึ่งเป็นด่านชายแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย  โดยทันทีที่เรือระหว่างประเทศเข้าเทียบท่าแรงงานและนักท่องเที่ยวจำนวนมากกว่า 100 คน  ทยอยเดินทางขึ้นฝั่งเพื่อเข้ามาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลฮารีรายอในในประเทศ   สร้างบรรยากาศคึกคักให้กับท่าเทียบเรือแห่งนี้โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ,ตรวจคนเข้าเมือง,เจ้าท่าส่วนภูมิภาค,ศุลกากรและหลายหน่วยที่เกี่ยวข้องมาคอยอำนวยความสะดวก

               ขณะที่ทางด้านพันตำรวจเอกเสกสิทธิ์   ปรากฏชื่อ  ผู้กำกับสภ.เมืองสตูล ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมอำนวยความสะดวกในการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ  คนขับเรือและลูกเรือจะต้องปลอดจากแอลกอฮอล์   โดยจัดทีมเข้าสุ่มตรวจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารในท่าเรือระหว่างประเทศ  อีกทั้งได้มีการสุ่มตรวจปัสสาวะผู้ให้บริการเรือโดยสารเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด

 

          และเป็นท่าเรือระหว่างประเทศสีขาวอย่างแท้จริง  พร้อมที่จะให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาท่องเทีายงในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทย

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

  ตม.สตูล นุ่งโจงกระเบน  ห่มสไบ  แจกพวงกุญแจช้างสัญลักษณ์ชาติไทยต้อนรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติแห่เช็คอินชายแดนวังประจัน  เทศกาลสงกรานต์ขึ้นปีใหม่ไทยคึกคัก     

ตม.สตูล นุ่งโจงกระเบน  ห่มสไบ  แจกพวงกุญแจช้างสัญลักษณ์ชาติไทยต้อนรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติแห่เช็คอินชายแดนวังประจัน  เทศกาลสงกรานต์ขึ้นปีใหม่ไทยคึกคัก

         (12 เม.ย.67)  เทศกาลเย็นทั่วล้า มหาสงกรานต์วันปีใหม่ไทย  ที่ชายแดนสตูลผู้บริหารนุ่งโจงกระเบน  ห่มสไบ  แจกช้างต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่สวยงาม  ชาวต่างชาติแห่ขอถ่ายรูปกันคึกคักสร้างสีสันชายแดนสตูลติดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย

 

         โดยที่ด่านพรมแดนวังประจัน  อ.ควนโดน  จ.สตูล  พันตำรวจเอกเจริญพงษ์  ขันติโล  ผกก.ตม.สตูล , พ.ต.ท.ระลึก   อินทรัศมี  รองผกก.ตม.สตูล ,  พ.ต.ท.ฉลอง  บุญร่วม  รองผกก.ตม.สตูล  ร่วมกับ นายบุญชัย   ฤกษ์ตุลา   ผู้อำนวยการส่วนควบคุมด่านศุลกากรวังประจัน   จัดธีมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วยการนุ่งโจงกระเบน และห่มสไบ มารอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทางพรมแดนด่านวังประจัน  อ.ควนโดน จ.สตูล ที่ติดกับรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย สร้างสีสันความสวยงามอย่างไทย   ทำให้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาต่างมาขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และรับรู้ถึงบรรยากาศและประเพณีที่สวยงาม ของเทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย

 

        โดยวันนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะชาวมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในห้วงของการท่องเที่ยวเทศกาลฮารีรายา ซึ่งอยู่ติดพรมแดน จ.สตูล   ต่างทยอยเดินทางเข้ามากันไม่ขาดสาย   เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย  หลายคนรู้สึกตื่นเต้นและประทับใจกับบรรยากาศการต้อนรับที่สวยงามอย่างไทย   โดยครั้งนี้ทางด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูลได้จัดเตรียมเครื่องดื่มและขนม  พร้อมทั้งของที่ระลึกซึ่งเป็นพวงกุญแจช้างไทย  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชองชาติ  พร้อมกับด่านศุลกากรวังประจัน  ที่นำน้ำดื่มมาร่วมให้บริการกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในห้วงเทศกาลสงกรานต์นี้ด้วย 

           พันตำรวจเอกเจริญพงษ์   ขันติโล    ผู้กำกับด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล  บอกว่า  กิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทยที่สวยงาม  ในเทศกาลวันสงกรานต์และวันปีใหม่ไทย  โดยทุกหน่วยงามในจังหวัดสตูลมีความพร้อมแล้วในการให้บริการด้านความปลอดภัย  และต้อนรับนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดสตูล  ที่มีความสวยงามของธรรมชาติ   อาหารการกินที่หลากหลายและการละเล่นของประเพณีไทยในวันสงกรานต์   นอกจากนี้ด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาะหลีเป๊ะ   และ   ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเทียบเรือตำมะลัง   ซึ่งทั้ง 3 ด่านทั้ง  ทางบกและทางทะเล   ก็มีความพร้อมให้บริการเหมือนกัน   ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันหยุดยาว

…………………………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

แปลกแต่จริง! ขนมทอดน้ำมันเย็น  แลมแปง  ขนมหาทานยากที่กำลังจะสูญหายไปจากหมู่บ้าน

แปลกแต่จริง! ขนมทอดน้ำมันเย็น  แลมแปง  ขนมหาทานยากที่กำลังจะสูญหายไปจากหมู่บ้าน

 

           ที่จังหวัดสตูลเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีขนมพื้นเมืองมากมาย   ดินแดนแห่งนี้มีพรหมแดนติดไทยมาเลเซีย  ทำให้วัฒนธรรมการกินมีการสืบทอดไปมา    ที่นี่จึงมีขนมที่มีชื่อแปลก ๆ และกรรมวิธีแปลกๆ แบบโบราณให้เห็นมากมาย 

 

           วันนี้ทีมข่าวไปเสาะหาขนมพื้นเมือง   ที่กำลังจะสูญหายไปจากพื้นที่    เพราะด้วยกรรมวิธีการทำที่พิเศษกว่าขนมทั่วไป  คือ    ต้องทอดในน้ำมันที่เย็นเท่านั้น  ไม่อย่างงั้น   ตัวขนมจะหักง่าย  และ เหี่ยว  หน้าตาไม่น่ารับประทาน    ขนมที่ว่านี่ก็คือ  ขนมแลมแปง  เป็นชื่อภาษามลายูที่มีความหมายเป็นห่วงคู่คล้องใจ  

 

          โดยส่วนผสมของขนมแลมแปง   ประกอบด้วย  แป้งข้าวเหนียว  ไข่ไก่  และเกลือนิดหน่อยผสมให้เข้ากัน  นวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน   ปั้นเป็นห่วงคู่คล้องใจ    แล้วนำไปแช่ในน้ำมันทิ้งไว้   เพื่อไม่ให้ตัวขนมแห้ง   ก่อนที่จะนำมาทอดในน้ำมันที่เย็นในกระทะ  แล้วค่อยๆ เปิดไฟอ่อนๆ ให้ตัวขนมค่อยๆ ฟูตัวขึ้นแบบสม่ำเสมอกัน (ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญชำนาญการพอสมควร)   ไม่อย่างนั้น   จะทำให้ตัวขนมแตกหัก  ไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการได้

 

         นางสภิณา สูสัน อายุ 40 ปี หรือ เป็นที่รู้จักในนามว่าร้านก๊ะหนา เป็นอีกหนึ่งคนที่สืบทอดการทำขนมแลมแปง ไม่น้อยกว่า 5 ปี ยอมรับว่า ขนมชนิดนี้จะต้องใช้ความอดทน ความชำนาญและความวิถีพิถัน ในการทำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะขั้นตอนการขึ้นรูปขนม และการทอดขนม ที่จะต้องให้น้ำมันมีความเย็นก่อนถึงจะใส่ตัวขนมลงไป แล้วค่อยๆเปิดไฟอ่อนๆให้ขนมพองตัวขึ้น โดยได้สืบทอดขนมนี้มาจากบรรพบุรุษ จะทำขายในช่วงเดือนฮารีรายอก่อนออกบวช 13 วันเท่านั้น ตอนนี้ในหมู่บ้านมีคนทำขนมชนิดนี้น้อยมาก ไม่เกิน 5 คนที่ทำขนมนี้เป็น

        โดยทางครอบครัวร้านก๊ะหนา จะทำขนมต้อนรับเดือนฮารีรายอเป็นรายได้เสริม 10 กว่าวันก่อนถึงเทศกาลฮารีรายอ สร้างรายได้เสริมในห้วงนี้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำ และส่งตามร้านค้า สำหรับขนมแลมแปง เป็นขนมที่ได้รับความนิยมรับประทานเพราะมีคนทำน้อย เนื่องจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก

        นางสาวนูรอัยนี มายาสัน อายุ 23 ปี บุตรสาวร้านก๊ะหนา ยอมรับว่าตนไม่ค่อยถนัดในเรื่องของการทำขนมแต่จะมาช่วยคุณแม่โพสต์ขายทางออนไลน์ และ รับออเดอร์ให้ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากโลกโซเชียล และอนาคตหวังว่าจะทำให้ขนมแลมแปง ขนมพื้นถิ่นในจังหวัดสตูลของตำบลควนสตอเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยจะจำหน่ายเป็นถุง 12 ชิ้นราคา 35 บาทหรือ 3 ถุง 100 บาท นอกจากนี้คุณแม่ยังทำขนมโดนัท , ขนมเขี้ยวหมีหรือขนมเขาควาย, และขนมไข่เต่าไส้สับปะรดจำหน่ายด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ 089 975 4537 หรือ 080 029 8913 เฟสบุ๊ค Noorainee Mayasan

          นางสาวบีเซาะห์ เกปัน นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ สังกัดสำนักปลัด อบต.ควนสตอ จังหวัดสตูล บอกว่า ขนมพื้นถิ่นในตำบลควนสตอมีอยู่มากมายหลายชนิด อาทิ ขนมบุหงาบุดะ ขนมไข่กรอบ ขนมลา และที่สำคัญขนมแลมแปง ที่หาทานยากก็สามารถมาหาซื้อได้ที่ตำบลแห่งนี้สามารถติดต่อสอบถามที่ได้ อบต.ควนสตอ หรือ ติดต่อโดยตรงกับทางร้านค้าทำขนมที่ให้เบอร์ไว้ได้เลยค่ะ

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ชวนล่องเรือหา  สาหร่ายสาย  เรียบป่าโกงกางเมนูธรรมชาติพื้นถิ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  มีเยอะฤดูแล้ง เตรียมส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

สตูลชวนล่องเรือหา  สาหร่ายสาย  เรียบป่าโกงกางเมนูธรรมชาติพื้นถิ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  มีเยอะฤดูแล้ง เตรียมส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

            ในช่วงน้ำ 14 ถึง 15 ค่ำ  และ 1 ถึง 2 ค่ำฤดูแล้งชาวบ้านหมู่ที่ 8 บ้านนาพญา  ตำบลละงู อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  จะนำเรือออกล่องไปตามลำคลองเรียบป่าโกงกางเพื่อหา  สาหร่ายสาย (สาหร่ายขนนก)  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหา  ลาโต๊ส  , ลาสาย หรือ สาย

          โดยแหล่งหาสาหร่ายสาย   จะมีด้วยกัน 2 ลำคลองคือ 1 โซนท่านาพญา  และ 2 โซนท่าพะยอม   ทันทีระดับน้ำในลำคลองลดลง   จนเกือบถึงยอดอกชาวบ้านที่ว่างเว้นการออกเรือหาปูดำ  หรือออกเรือหาแมงกะพรุน  ก็จะพากันออกไปหาในช่วงฤดูแล้งเพื่อเป็นรายได้เสริม

         โดยทุกคนที่มาหาจะมีทั้งวัยรุ่นและผู้สูงอายุอย่างคุณลุงปิยะศักดิ์  เภอสม  วัย  68  ปี ที่ยอมรับว่าออกมาหาสาย  ตั้งแต่วัยหนุ่มนานถึง 30 ปีแล้ว   โดยเคยหามากสุดในชีวิตคือ 40 กิโลกรัม เมื่อหลายสิบปีก่อน  แต่ตอนนี้หาได้มากสุด 10 กว่ากิโลกรัม   โดยอุปกรณ์ก็จะมีแว่นตาดำน้ำ   และภาชนะสำหรับใส่   สาหร่ายสาย  โดยการหาในแต่ละครั้งจะต้องดำดิ่งลงไปในน้ำที่มีความลึกประมาณยอดอก  แต่หากลึกกว่านั้น   ก็จะหลีกเลี่ยงไปหาพื้นที่อื่นเพื่อเซฟร่างกายด้วยเช่นกัน   เพราะจะต้องกลั้นหายใจให้นานเพื่อที่จะไปดึง สาหร่ายสาย   ขึ้นมาจากน้ำให้ได้

        น้องวินกับน้องแม๊ค    บอกว่า  หากวันไหนไม่ออกเรือหาปูดำ  หรือหาแมงกะพรุน  พอเข้าสู่ฤดูแล้งก็จะออกมาหา   สาหร่ายสาย  หรือ  สาย  โดยช่วงแรก ๆ ก็จะออกมาหากับคุณพ่อ   พอรู้แหล่งพิกัดก็จะออกมาหาตามลำพัง     โดยพบว่า  สาหร่ายสาย  มักจะอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อนริมป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์   เมื่อกระโดดลงน้ำและเท้าถึงพื้น   สัมผัสว่ามีความนิ่มก็หมายความว่าบริเวณนั้นมี  สาหร่ายสาย  เป็นจำนวนมากนั่นเอง   ใน 1 ปีหาได้เพียงไม่กี่เดือน  โดยจะหาได้มากสุดก็ช่วงที่น้ำลดลงต่ำสุด  เพราะต้องใช้ความชำนาญในการกลั้นลมหายใจในการดำน้ำดึงสาหร่ายขึ้นมา  

          การออกมาหา  สาหร่ายสาย(สาหร่ายขนนก) หรือ  ลาโต๊ส  ในครั้งนี้ทีมเกษตรอำเภอละงูและทีมผู้ใหญ่บ้านรวมทั้งสมาชิกอบต.ละงู  ก็หวังจะผลักดันให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  กับอาหารพื้นถิ่นที่ขึ้นชื่อที่มีลักษณะเฉพาะ  เพราะจะมีทานในช่วงน้ำลงและฤดูแล้งเท่านั้น 

          นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู  บอกว่า  หลังจากลงพื้นที่ในครั้งนี้จะเข้ามาส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกันส่งเสริมอาชีพ  ร่วมกันทำกิจกรรม เช่น  การอนุรักษ์สาหร่ายสายให้อยู่คู่กับลูกหลาน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์   โดยจะทำร่วมกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่นเพื่อต่อยอด   โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงู

 

           นายตารอด   ใบหลำ   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8  บอกว่า   สาหร่ายสาย  นับเป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการเป็นอย่างมากและที่นี่ก็จัดเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่มีสาหร่ายสาย หรือ  ลาโต๊ส  เยอะที่สุดอีกหนึ่งแหล่งในจังหวัดสตูล   โดยอนาคตก็เตรียมผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์   โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาชมป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์มาดูวิถีชีวิตของชาวบ้านในการหาสาหร่าย   ชิมกันสดๆ  ถึงอรรถรสความกรอบ  ใหม่สดของสาหร่ายชนิดนี้  ที่ชาวบ้านนาพญา  ตำบลละงู  อำเภอละงูจังหวัดสตูลพร้อมดูแล  

         

         ด้าน   กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 สตูล  ได้ศึกษาวิจัยการใช้  สาหร่ายสาย  หรือ  สาหร่ายขนนก  พบสรรพคุณที่โดดเด่นคือมีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งมีวิตามินที่ร่างกายต้องการ     สาหร่ายชนิดนี้จะเจริญเติบโตในที่มีคุณภาพน้ำที่สะอาดเท่านั้น   ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รับประทานเป็นผักจิ้ม (โดยการล้างให้สะอาดก่อนนำมากิน เพราะสาหร่ายสายเมื่อถูกน้ำจืดเพียงไม่นานก็จะตายหากไม่รีบทาน )   พบในช่วงฤดูแล้งเดือนมีนาคม – พฤษภาคมและจะเริ่มลดลงเมื่อเข้าหน้าฝนในช่วงมิถุนายนถึงตุลาคม   สำหรับพื้นที่พบสาหร่ายสาย   ตามแนวชายฝั่งอำเภอท่าแพ,ละงู ,ทุ่งหว้า  เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมีลักษณะเป็นหินดินดานเป็นโคลนทราย

 

           พื้นที่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนนั้นพบว่า  มีคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อม   สรรพสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดที่เข้ามาพึ่งพิงจะใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน   ในแง่ของแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยแหล่งหลบภัยเช่นเดียวกับสาหร่ายสาย หรือ สาหร่ายขนนก   ที่ยึดเอาป่าชายเลนเป็นเสมือนบ้านของตนเองยังคุณประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น   ได้เก็บหามาบริโภคในครัวเรือน   และยังสามารถขายเพื่อเป็นรายได้จนเจอครอบครัวอีกด้วย    นับเป็นการเกื้อกูลเอื้อประโยชน์แก่กัน    ทั้งป่าชายเลน  สาหร่าย  และชาวบ้านในบริเวณนั้นประโยชน์จากสาหร่ายสาย   ชาวบ้านมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และนำไปสู่วิถีแห่งภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นได้ต่อไป

         ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 064-0456565

………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ชาวสตูลแห่สั่งแกงไตปลาเพื่อประกาศศักดา   เมนูยอดเยี่ยม  แนะวิธีทานไม่ใช่ซุป แม่ค้าลั่นกระแสตีกลับรับออเดอร์กันรัวๆ

สตูล-ชาวสตูลแห่สั่งแกงไตปลาเพื่อประกาศศักดา   เมนูยอดเยี่ยม  แนะวิธีทานไม่ใช่ซุป แม่ค้าลั่นกระแสตีกลับรับออเดอร์กันรัวๆ

 

        วันที่ 4 เมษายน 67  หลังต่างชาติได้จัดอันดับให้เมนูพื้นถิ่นปักษ์ใต้อย่างแกงไตปลาเป็นเมนูยอดแย่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก   ได้มีกระแสตีกลับส่งผลให้ order  หลายร้านสั่งกันรัวๆ  เพิ่มยอดขายให้กับหลายร้านค้าในพื้นที่จังหวัดสตูล 

        อย่างเช่นที่ร้านอาหารน้องเบียร์  (ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสตูล) ตำบลพิมาน  อำเภอเมืองสตูล  ร้านอาหารเก่าแก่ ที่เปิดมานานกว่า 35 ปี ที่ขึ้นชื่อเกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่นปักษ์ใต้โดยเฉพาะเมนูแกงไตปลา  มียอดสั่งรัวๆ จากลูกค้าเข้าเช้าเดียวถึง  40 ชุด  โดยสั่งเป็นกับข้าว  บ้างสั่งเป็นอาหารชุดทานกับหมูฮ้อง(เมนูพื้นที่)    บ้างก็สั่งทานกับขนมจีน  ทำให้เมนูที่ต่างชาติบอกว่าเป็นเมนูยอดแย่  แต่ในภาคใต้  กับเป็นเมนูยอดเยี่ยม และทำเงินสร้างงานให้กับหลายร้านค้า

 

        นางอุไรวรรณ  ธชพันธ์   แม่ครัวมือหนึ่งของร้านอาหารน้องเบียร์ บอกว่า  สูตรความอร่อยของแกงไตปลา  อยู่ที่เครื่องแกงและไตปลาที่ใช้ของแต่ละครัว  เหมือนอย่างที่ร้านจะใช้ไตปลาจรวด และเครื่องแกงที่ทำเองแบบสดวันต่อวัน  นอกจากนี้ส่วนผสม  เหมือนอย่างที่ร้าน  จะใส่หน่อไม้  มะเขือพวง กุ้งสดสับเพิ่มความเข้มข้นของน้ำแกงไตปลา   เนื้อปลาหางแข็งที่ผ่านการย่างให้แห้งแกะเป็นชิ้นใหญ่ๆ   แล้วนำส่วนผสมทุกอย่าง  ใส่ลงไปทันทีที่เครื่องแกงไตปลาเดือด  โดยไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่มเติม  เพราะแกงไตปลามีความเค็ม  มีความหวานของปลา   กุ้งสับ  และความหวานของผักที่ใส่อยู่ในตัวอยู่แล้ว 

       

        ด้านนางอจรี   ธชพันธ์   เจ้าของร้านบอกว่า   หลังการจัดอันดับให้เมนูแกงไตปลาเป็นเมนูยอดแย่ในเรื่องนี้เห็นว่า   ชาวต่างชาติอาจจะทานแกงไตปลาไม่เป็น   อาจจะทานเหมือนกับทานซุป   ตักซดเพียวๆ   ก็ทำให้รสชาติดูเหมือนแย่ได้   แต่การทานแกงไตปลาของทางภาคใต้จะต้องราดบนข้าวสวยร้อนๆ  หรือทานกับขนมจีน  หรือจะต้องมีเครื่องเคียงอย่างหมูฮ้อง  ก็ใช้ความหวานตัดรสชาติก็จะยิ่งเพิ่มความอร่อย  หรือจะเป็นไข่ต้ม  นับเป็นอาหารที่ยอดเยี่ยมของคนภาคใต้มากกว่าจะให้เป็นอาหารยอดแย่    

       

         และยิ่งมีการจัดอันดับให้เป็นอาหารยอดแย่ของชาวต่างชาตินั้นยิ่งทำให้มีออเดอร์สั่งอาหารเมนูแกงไตปลาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเหมือนอย่างเช่นวันนี้   มีลูกค้าสั่งเข้ามาทันที เพื่อจะยืนยันว่าเมนูแกงไตปลาเป็นอาหารยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง  หากลูกค้าท่านใดสนใจอยากชิมเมนูแกงไตปลาสูตรร้านอาหารน้องเบียร์สามารถต่อได้ที่หมายเลข  074-722-490 

………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ร้อนนี้ปลูกอ้อยขายน้ำ   สร้างเงินเดือนแตะแสนบาท  

สตูล-ร้อนนี้ปลูกอ้อยขายน้ำ   สร้างเงินเดือนแตะแสนบาท  

          ในช่วงสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งในระยะนี้  ได้ส่งผลให้ไร่อ้อยในพื้นที่หมู่ 4 บ้านลาหงา  ตำบลละงู  อำเภอละงู จังหวัดสตูล  มีรสชาติที่หวานหอมและพร้อมจะบริโภค  สู่ตลาดที่มีความต้องการในระยะนี้เพื่อดื่มคลายร้อน

          นายเจ๊ะหยัน   ลัดเลีย  วัย 74 ปี เปิดเผยว่า  ทำมาแล้วหลายอาชีพ  ทั้งประมงและทัวร์นำเที่ยว  แต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต  เมื่อหันมาตั้งหน้าตั้งตาทำไร่อ้อยแม้จะเป็นอาชีพที่ไม่โดดเด่น   แต่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้  โดยตัดสินใจโค่นต้นยางพารา 7 ไร่  เพื่อปลูกอ้อยพันธุ์  สายน้ำผึ้งนานร่วม 12 ปี  ด้วยรสชาติอร่อย  หอม  หวาน  ขายได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน  ยอดสั่งซื้อจะดีมากหลายเท่าตัว  

         การปลูกอ้อยสำหรับคุณลุงเจ๊ะหยัน  จะปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตนานถึง 7 ปี จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับไผ่  เพียงตัดให้เหลือหน่อไว้   การดูแลให้ปุ๋ย  บำรุงดิน  และตกแต่งพันธุ์อ้อยให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์  ตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภคที่นิยมซื้อเป็นลำเพื่อไปขายต่อ  และสั่งเป็นน้ำอ้อยที่คั้นสำเร็จรูปก็สร้างรายได้อย่างงามให้กับครอบครัวของคุณลุงเจ๊ะหยัน

         วิธีการเลือกต้นอ้อยที่สามารถตัดขายได้ต้องอายุ 8 เดือนขึ้นไป เลือกสีลำอ้อยที่น้ำตาลแก่เข้ม ลูกค้าจะจะมาซื้อเป็นลำวันละ 400-600 กิโลกรัม จำหน่ายกิโลกรัมละ 6 บาท หากทำเป็นน้ำอ้อยคั้นขายวันละ 200 ถุงจำหน่ายถุงละ 7 บาทหากเป็นขวดละ 10 บาท    สำหรับพื้นที่หมู่ 4 บ้านลาหงา  จะปลูกต้นอ้อยไม่น้อยกว่า  200 ไร่ เฉลี่ยเจ้าละประมาณ 3 ไร่ โดยอ้อยที่ปลูกพันธุ์สายน้ำผึ้งจะมีเปลือกที่บาง ลูกค้าจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็มาหาซื้ออ้อยจากที่นี่

          นายเจ๊ะหยัน   ลัดเลีย  วัย 74 ปี  บอกด้วยว่า   โดยอ้อยพันธุ์นี้มีรสชาติหวานหอม  ก่อนหน้านี้เคยปลูกพันธุ์สิงคโปร์ช่วงหลังๆไม่ได้รับความนิยม  การปลูกอ้อยอยู่ที่การดูแลบางคนปลูก 1 ปีหรือ 2 ปีก็ผ่านพ้นไม่ได้ตกแต่งดูแล สำหรับของป๊ะดูแลพันธุ์อ้อยเพียงครั้งเดียวสามารถอยู่ได้ 6-7 ปี สร้างรายได้ปีละแสนบาท  อนาคตอยากจะกระตุ้นให้ลูกหลานเดินตามรอยแปรรูปและส่งเสริมการปลูกอ้อยเป็นสินค้า OTOP จากอ้อยให้นักท่องเที่ยวเข้ามาหมู่บ้านเรา  หากสนใจติดต่อมาช่องทางเบอร์โทร 082-4283950

 

         นายวิทวัส เกษา  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านลาหงา  บอกว่า  ก่อนหน้านี้จะมีการปลูกปาล์มน้ำมัน ในช่วงนั้นต้นปาล์มยังเล็กอยู่ก็มีการนำอ้อยมาปลูกเสริม  ในช่วงแรกๆก็จะเป็นการเร่ขายภายในหมู่บ้าน  หลังจากนั้นก็มีเพื่อนบ้านต่างจังหวัดเข้ามาซื้อ  วันละหลายตัน  ในขณะนั้นก็จะมีเพียง 5-6 เจ้าเท่านั้น แล้วปัจจุบันก็มีหลายร้อยไร่  ตอนนี้ 10 กว่าเจ้าภายในหมู่บ้านขายตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำขายน้ำอ้อย 

 

          นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว  เกษตรอำเภอละงู  บอกว่า  จากลงพื้นที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงูจะเข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย  สำหรับพื้นที่ตรงนี้  หมู่ที่ 4 บ้านลาหงา  มีการปลูกอ้อยร้อยกว่าไร่ กับเกษตรกร 20 กว่าราย  จะผลักดันให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อจดวิสาหกิจชุมชนโดยทางเกษตรอำเภอละงู  จะเข้ามาส่งเสริมในเรื่องของการบริหารจัดการกลุ่ม  การแปรรูป  เท่าที่ดูกลุ่มนี้ก็มีการแปรรูปเบื้องต้น ทั้งแปรรูปเป็นน้ำอ้อย และน้ำตาลอ้อย อาจจะมีการต่อยอดให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น

………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล สืบทอดขนมโบราณ “ลอเป๊ะ” จากรุ่นคุณยายขายดีช่วงรอมฎอน เด็กรุ่นใหม่ชื่นชอบ

สตูล สืบทอดขนมโบราณ “ลอเป๊ะ” จากรุ่นคุณยายขายดีช่วงรอมฎอน เด็กรุ่นใหม่ชื่นชอบ

          ขนมโบราณพื้นบ้านอย่าง  ขนมลอเป๊ะ  ขนมตาล และหม้อแกงต่างๆ  ต้องปรับราคาขึ้น  เนื่องจากราคาวัตถุดิบหลักอย่างน้ำตาล ไข่ และข้าวเหนียว พุ่งสูงขึ้น  ทำให้ร้านค้าต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

          แม้วัตถุดิบหลายอย่างปรับราคาขึ้น  แต่ทางร้านในพื้นที่จังหวัดสตูลยังคงทำขนมพื้นบ้าน  ขายในห้วงเดือนรอมฎอน  หรือเดือนถือศีลอดของชาวไทยอิสลาม  อย่างขนมลอเป๊ะ  หรือ ขนมลูเป๊ะ  ที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบหลัก คลุกกับมะพร้าวทึนทึกไปทางอ่อน  ทานกับน้ำตาลอ้อย   รสชาติอร่อย  เป็นหนึ่งเมนูขนมที่ขายดี  และเป็นขนมที่หลายคนคิดถึง   

          นางมาเรีย นาคบรรพต อายุ 30 ปี เจ้าของร้าน “กระจิ๊กandหวาชา” กล่าวว่า  ทำขนมไทยพื้นบ้านมาตั้งแต่รุ่นคุณตาคุณยาย   โดยเฉพาะ “ขนมลอเป๊ะ”  ขนมไทยโบราณที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซีย โดยคนไทยที่ไปทำงานที่อินโดนีเซียนำวัฒนธรรมขนม  เข้ามาประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่จังหวัดสตูล  โดยส่วนผสมมีข้าวเหนียว 100%  กวนกับน้ำปูนหรือน้ำด่าง ก่อนนำมาห่อด้วยใบตอง  นำไปต้มประมาณ 45 นาที เมื่อต้มเสร็จพักให้เย็นนำมาตัดเป็นแว่น คลุกกับมะพร้าว  ตัวข้าวเหนียวจะมีรสชาติจืดๆ  ทานด้วยน้ำตาลอ้อยที่นำมาเคี่ยวราดลงไป  ก็จะหวานลงตัวพอดี  เป็นขนมที่ถือว่าโบราณมากๆ  คุณแม่บอกว่าทำตั้งแต่รุ่นโต๊ะ หรือคุณยาย  เป็นขนมที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้เลย  เมื่อก่อนจะหากินได้เฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น  แต่ตอนนี้ก็มีวางขายตามปกติทั่วไปแล้วในช่วงเช้าของคนจังหวัดสตูลด้วย

            นอกจากขนม ลอเป๊ะ ที่เป็นต้นตำรับแล้วยังมีขนมอื่นๆอีกด้วย  ไม่ว่าจะเป็นหม้อแกงถั่ว  หม้อแกงไข่ และข้าวเหนียวสังขยา  นี่ก็เป็นขนมที่อยู่ในช่วงเทศกาล   ปกติขายกล่องละ 10 บาท  แต่ตอนนี้ต้องปรับขึ้นเป็น 12 บาท   ส่วนราคาส่งจาก 8 บาท  ปรับเป็น 10 บาท   สาเหตุหลักมาจากราคาวัตถุดิบ เช่น น้ำตาลทราย จากเดิมกิโลกรัมละ 21 บาท  ขึ้นเป็น 30 บาท  ไข่ไก่ จากแผงละ 90 กว่าบาท  ขึ้นเป็น 117 บาท  และข้าวเหนียว จากกิโลกรัมละ 25 บาท  ขึ้นเป็น 34-35 บาท  ทำให้รายได้ลดลง จากเดิมขายได้วันละ 4,000 บาท  เหลือเพียง 600-700 บาท 

            ด้านนายอนัญลักษณ์  สุขเสนา  ลูกค้าคนรุ่นใหม่  กล่าวหลังได้ชิมขนมว่า  ขนมลอเป๊ะนี้มีความแน่นของข้าวเหนียว  เมื่อได้กินคู่กับน้ำตาล  และมะพร้าวที่คลุกมากับข้าวเหนียว  จะให้ความรู้สึกว่าเคี่ยวเพลิน  มีความเค็มเล็กๆของมะพร้าว ตัดกับน้ำหวาน  จากใจเด็กรุ่นใหม่ คิดว่าขนมชนิดนี้จะเป็นขนมทานเล่นระหว่างวันได้เลย  และยอมรับว่าเพิ่งเคยทานที่นี่เป็นครั้งแรก  ก็ติดใจ  เคี่ยวเพลิน สามารถทานได้เรื่อยๆ

           ปัจจุบัน  ทางร้านเน้นรับออเดอร์ออนไลน์ และฝากขายที่ร้านลูกชิ้นซอย 17 ต.พิมาน อ.เมือง  จ.สตูล เพียงร้านเดียว   จากเดิมที่เคยฝากขาย 10 ร้าน   เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี   ทำให้บางร้านต้องเลิกขาย    สำหรับลูกค้าที่สนใจ  สามารถติดต่อร้าน “กระจิ๊กandหวาชา”   ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 080-545-5196   Line @0805455196   หรือ Facebook : maria nbpt

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  สตูล-เร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนชิม แตงโมริมทะเลแหลมสน ที่หวานฉ่ำกรอบ หน้าสวนขายเพียงกก.ละ 10-12 บาท หลังแตงโมหลายพื้นที่ออกมาตีตลาด    

สตูลเร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนชิม แตงโมริมทะเลแหลมสน ที่หวานฉ่ำกรอบ หน้าสวนขายเพียงกก.ละ 10-12 บาท หลังแตงโมหลายพื้นที่ออกมาตีตลาด

          หลังว่างเว้นจากการออกเรือประมงและทำนาข้าว  ชาวบ้านริมชายทะเลหมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล  จะลงมือปลูกแตงโมพันธุ์  เมย์ย่า และ โบอิ้ง  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมของตลาด  และเหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่   เนื่องจากที่นี่มีสภาพเป็นดินทรายน้ำไม่ขัง  มีความเป็นกรดและด่าง  มีแคลเซียมจากเปลือกหอย  จึงทำให้แตงโมแหลมสนมีความหวาน  กรอบอร่อย  และขึ้นชื่อมาอย่างยาวนาน

 

         แตงโมแหลมสน  จะปลูกปีละ 2 ครั้ง บนพื้นที่ 200 ไร่  มีเกษตรกรปลูกมากถึง 60 ราย  โดยภายใน 60 วัน  ที่นี่จะเต็มไปด้วยแตงโม เฉลี่ยผลผลิต 2.5 ตัน/ไร่ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร  30,000 บาท/ไร่   จากราคาที่จำหน่ายหน้าสวน 10 – 12 บาท/กิโลกรัม

 

          นายวัชระ  ติ้งโหยบ   อายุ 51 ปี  เกษตรกรหมอดินอาสา  ปลูกแตงโมแหลมสน  บอกว่า  ในช่วงแล้งเกษตรกรจะปลูกในระบบบ่อน้ำตื้น  และระบบน้ำหยดที่ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการปล่อยน้ำ  รดสวนแตงโม  เป็นปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์  ใช้เวลาปลูกเพียง 60 วัน  ก็เก็บผลผลิตได้  ในช่วงแล้งนี้ก็จะประสบปัญหาเรื่องแมลงเพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  ที่เข้ามาดูดน้ำเลี้ยงทำให้ผลไม่โตบ้างเหมือนกัน  อีกทั้งปัญหาแล้งที่ยาวนานไปหน่อย  แต่ก็ยังพอใจ   ราคาพออยู่ได้  แต่ไม่ดีเท่าปีก่อนที่กิโลกรัมละ 15 บาท  แต่ปีนี้เหลือเพียง  10 บาท  อยากให้ภาครัฐช่วยหาแม่ค้ามารับซื้อ  เพราะแตงโมหลายพื้นที่ออกพร้อมกัน  หลายคนหวัง  จะขายในช่วงเดือนถือศีลอด

 

         นางสาวมนัสนันท์ นุ่นแก้ว เกษตรอำเภอละงู พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงู ลงพื้นที่ตรวจสอบ   สวนแตงโมของเกษตรกร   ตลาด  และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก  หลังพบว่าปีนี้เกษตรกรประสบปัญหาทางการตลาด  ที่มีการปลูกแตงโมพร้อม ๆ กันในหลายพื้นที่   ทำให้แม่ค้ามารับซื้อลดลง   ในการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร โดยได้ประสานกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ให้เข้ามารับซื้อผลผลิตเพิ่มขึ้น  หากลูกค้าท่านใดสนใจสามารถกติดต่อสอบถาม  ได้ที่เกษตรอำเภอละงู  หรือติดต่อเกษตรกรโดยตรงที่   สนใจติดต่อ 092-627  3653  พร้อมกันนี้ทางเกษตรอำเภอละงู  จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรได้รับมาตรฐาน GAP ด้วย

          นอกจากนี้  ที่นี่ยังมีการปลูกแตงไท  และพริกสด อีกหนึ่งแหล่งรายใหญ่ของจังหวัดสตูลด้วย

…………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 ไส้ไก่ย่างกอและโบราณ  ขายมานาน 10 ปี  ไม้ละ 10 บาท อาหารละศีลอดขายดี  ยอดปัง  วันละ 200-250 ไม้     

ของถูกที่สตูล..เมนูไส้ไก่ย่างกอและโบราณ  ขายมานาน 10 ปี  ไม้ละ 10 บาท อาหารละศีลอดขายดี  ยอดปัง  วันละ 200-250 ไม้

         ตกเย็นในทุก ๆ วัน  ช่วงเดือนถือละศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิม  ในพื้นที่ตำบลพิมาน   อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล  หนึ่งในเมนูที่หลายคนนึกถึง  ทานง่าย จ่ายคล่อง เมนูประจำถิ่นกำลังฮิตในเวลานี้  คือ เมนูไก่ย่างกอและโบราณ  ที่ขายดี ชนิดแบบย่างแทบไม่ทัน  ไม้ละ 10 บาทเท่านั้น

        โดยร้านนี้เป็นของนางสาวศิริขวัญ    มาสชรัตน์    เจ้าของร้านไก่ย่างกอและสูตรโบราณ    อยู่ในซอยนกบินหลา   ถนนสฤษดิ์ภูมินารถ  ซอย 3    ตำบลพิมาน   อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล  ที่นี่มีไก่ย่าง  6 เมนู  ได้แก่  ไก่ย่างนมสด   ไก่ย่างเทอริยากิ   ไก่ย่างพริกไทยดำ  เนื้อโคขุนย่าง  และกำลังได้รับความชื่นชอบ  คือเมนูไส้ไก่กอและย่าง  เป็นการนำไส้ไก่ที่ทำความสะอาดอย่างดีมาคลุกกับผงขมิ้น  หอมอบอวล  ขายดีทุกเมนู  เพียงไม้ละ 10 บาท  และข้าวเหนียวห่อละ 5 บาท  โดยเฉพาะในเดือนรอมฏอน หรือ เดือนถือศีลอดพี่น้องมุสลิม จะขายดีเป็นเท่าตัวจากวันละ 100 ไม้  เพิ่มเป็น 200 ไม้ถึง 250 ไม้

           ที่นี่เป็นการทำธุรกิจในครอบครัว  คุณพ่อมีหน้าที่ย่าง  คุณแม่มีหน้าที่เสียบไม้ ส่วนคุณลูกมีหน้าที่ขาย และไปส่งตามออเดอร์  ซึ่งรับรองได้ว่าที่นี่สูตรน้ำราดอร่อยเป็นพิเศษ  เผ็ดนำเล็กน้อย เด็ก ๆก็ทานได้ โดยสูตรน้ำราด  ทำมาจากถั่วไม่ได้ใส่กะทิ  และผสมกับเครื่องแกงสูตรปัตตานีทำเอง  นอกจากนี้ทางร้านยังมี  หมี่คลุกโบราณ ผัดหมี่เบตง ในราคาชุดละ 40 บาท    เริ่มขาย ตั้งบ่าย 3 โมงเย็น  มีบริการจัดส่งตามบ้าน  โทรสอบถาม  086-966-9398 และ 088-9190-695   หรือทักเฟสส่วนตัว Sirikwan mascharat   หยุดทุกวันเสาร์และอาทิตย์

……………………………………………………………………………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 ขนมพื้นเมืองเตาฟืน  100 ปี สืบทอดสู่รุ่นที่ 4 ครองใจนักท่องเที่ยวและชาวสตูล แห่อุดหนุนกันคึกคักจนเพิ่มกำลังผลิต     

ขนมพื้นเมืองเตาฟืน  100 ปี สืบทอดสู่รุ่นที่ 4 ครองใจนักท่องเที่ยวและชาวสตูล แห่อุดหนุนกันคึกคักจนเพิ่มกำลังผลิต

         บรรยากาศการจับจ่ายในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้หลายพื้นที่คึกคัก   อย่างเช่นที่ร้านแห่งนี้  ซึ่งตั้งอยู่เส้นทางมุ่งหน้าไปท่าเทียบเรือปากบารา (สู่เกาะตะรุเตาและเกาะหลีเป๊ะ)  ต.ปากน้ำ  อ.ละงู  จ.สตูล   ตั้งแต่ 9 โมงเช้าของทุกวันเป็นต้นไป  จะมีลูกค้ามายืนรอจับจ่ายกันตั้งแต่เช้าเพื่อซื้อขนมคาวหวานไว้ละศีลอดในช่วงเวลาประมาณ  18.30 น. ซึ่งเป็นอยู่อย่างนี้ทุกวัน  

 

         ร้านก๊ะกร หรือร้านของ  นางทิพากร  บิหลาย อายุ  45 ปีเจ้าของร้านซึ่งเป็นทายาทสืบทอดการทำขนมรุ่นที่ 4 แล้ว ยอมรับว่า ลูกค้าที่มาซื้อเป็นลูกค้าประจำตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตายาย ที่ทำขนมขายมานานถึง 100 ปี  โดยทุก ๆ วันจะทำขนมหวานวันละ 15 ชนิด อาทิ ขนมแบงกัง ขนมหม้อแกงไข่  ขนมหม้อแกงถั่ว  ขนมชั้น  ขนมเมล็ดขนุน ขนมทองหยอด และขนมโกยยาโกยที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวน้ำตาลแดงและกะทิ   ขายตั้งแต่ราคา ชิ้นละ 2-3 บาท  ปัจจุบันขายที่ชิ้นละ 5 – 10 บาท (ในเมนูที่ใส่ไข่จะราคาชิ้นละ 10 บาท)

 

         โดยขนมที่ได้รับความนิยมคือ  ขนมแบงกัน  ลักษณะขนมคล้ายขนมหม้อแกง  แต่!ใส่ไข่น้อยกว่า   เพราะมีรสชาติอร่อยถูกปากคนพื้นที่   เพราะมีความมัน และกลมกล่อม เนื่องจากขนมทุกชนิดของที่นี่  ส่วนใหญ่จะใช้เตาไม้ฟืน(ยางพารา)  เพื่อเพิ่มความหอมของขนม  และลดต้นทุนการผลิตทำให้ขายได้ในราคาถูก   ซึ่งปกติทางร้านขาย  ในเวลา 15 นาฬิกาถึง 16 นาฬิกา  ของก็จะหมดเกลี้ยง  แต่ในช่วงนี้ลูกค้าจะมารอซื้อตั้งแต่เช้า  ทำให้ทางร้าน  ต้องทำไป  ขายไปกันแบบสด ๆ 

         นางสาวนาเดีย  ลูกค้า บอกว่า เป็นลูกค้าประจำซื้อมาตั้งแต่เด็ก ๆ ชอบในความสดอร่อย มีขนมหลากหลายให้เลือก รสชาติอร่อยถูกปาก โดยขนมที่ซื้อส่วนใหญ่คือขนมแบงกัง  ขนมลูเป๊ะ

 

          ทายาทรุ่นที่ 4 ขายมานานกว่า 100 ปีตั้งแต่บรรพบุรุษ   บอกว่า  ครอบครัวทำขนมหวานขาย   มายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น  ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านและนักท่องเที่ยว  มาซื้อหาก่อนลงเรือไปเที่ยวชมเกาะแก่งในจ.สตูล 

 

           ในแต่ละวันในช่วงนี้  ทางร้านจะทำขนมวันละ 40 ถาด (ซึ่งขนม 1 ชนิดจะทำอย่างละ 4-6 ถาด)  ภายใน 1 ถาดจะได้ 30 ชิ้น  ขายยกถาดละ 200 บาท ส่วนเมนูไส่ไข่อย่างสังขยา หรือหม้อแกง  ขายยกถาดละ 250 บาท  แรงงานที่มาช่วยกันทำขนม  ก็เป็นคนในครอบครัว ญาติและแรงงานในหมู่บ้าน  ท่านได้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่   062 074 9335

……………………….

อัพเดทล่าสุด