Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ประจำปี 2567  ที่สตูล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ประจำปี 2567  ที่สตูล

            วันที่ (31 ส.ค. 67) ที่บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล นายชาดา ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่จังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ประจำปี 2567 โดยมีนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับจำนวนมาก โดยนางสำลี ลัคนาวงศ์ นายกอบต.กำแพง กล่าวต้อนรับ นายประยูร สงขาว ประธานชมรมอีหม่ามอำเภอละงู ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน

.

           สำหรับงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) เป็นงานที่ประชาชนทุกคนในตำบลกำแพงร่วมกันจัดขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) โดยกิจกรรมในงานเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้นำแบบอย่างอันดีงามและคำสอนของศาสดามาปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแสดงของนักเรียน กิจกรรมการแข่งขันของนักเรียนตาดีกา การจัดนิทรรศการ การบรรยายธรรม การจำหน่ายสินค้าราคาถูก อีกทั้งยังเป็นงานที่พี่น้องชาวไทยมุสลิมได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี รำลึกถึงเกียรติประวัติท่านศาสดานบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) และสืบสานธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาอิสลามให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเพื่อสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นในชุมชนตำบลกำแพงอีกด้วย

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ วอนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ดันประเด็นซอฟเพาเวอร์ต่อ และความชัดเจนเงินดิจิตอลวอลเล็ต

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ วอนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ดันประเด็นซอฟเพาเวอร์ต่อ และความชัดเจนเงินดิจิตอลวอลเล็ต

ได้แล้วสำหรับโฉมหน้านายกรัฐมนตรีคนใหม่แม้จะไม่เหนือความคาดหมายของประชาชน แต่สิ่งที่ประชาชนมุ่งหวังโดยเฉพาะภาคธุรกิจฐานรากอย่าง SME อยากเห็นการขับเคลื่อนที่เชื่อมกันทุกมิติเพื่อความเข็มแข็งในเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน

นายจักรพรรณ วัลแอ เลขาธิการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ , ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สตูล กล่าวว่า อยากจะฝากไปถึงรัฐบาลและนโยบายภาครัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น ทางพวกเราชาว SME เป็นห่วงและห่วงใยในการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่จ.สตูลและใน 14 จังหวัดภาคใต้ที่ตนดูแลอยู่ด้วยว่าประเด็น digital wallet หลังจากนี้จะขับเคลื่อนต่ออย่างไร

และนโยบายที่รัฐบาลก่อนหน้าขับเคลื่อนอยู่คือนโยบาย supplower วันนี้ในพื้นที่อำเภอละงูก็มีการผลักดันกิจกรรม “ตำข้าวเม่า” ซึ่งอยากให้มีการผลักดันให้เป็น soft power ด้วยเช่นกัน ในมิติของอาหาร ในด้านการพัฒนาชุมชนไปสู่การท่องเที่ยว ที่จะให้เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

การขับเคลื่อนทั้งในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชนที่พยายามขับเคลื่อนจับมือกันหลายรายกำลังรอความหวังกับรัฐบาลใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นไป
………………………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง เยาวชน-การศึกษา

 ชาวบ้านเขาขาวนำไก่ตัวโปรดร่วมแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน ในงานยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ สร้างสีสันต์ในชุมชน 

สตูล_ชาวบ้านเขาขาวนำไก่ตัวโปรดร่วมแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน ในงานยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ สร้างสีสันต์ในชุมชน

สิ้นเสียงนกหวีดดัง เจ้าของไก่แจ้พันธุ์พื้นเมืองต่างส่งเสียงและท่าทางสนุกสนาน ส่งสัญญานให้ไก่ตัวโปรดขันร้อง เพื่อเรียกคะแนน ภายในสนามแข่งขันประชันเสียงไก่แจ้ โดยสนามนี้มีผู้ร่วมแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม แข่งขันกัน 4 ยก ยกละ1 นาที ขันให้ได้รวม 8 ดอก หรือ ขัน 8 ครั้ง จะเป็นผู้ชนะ โดยนายเพิ่ม ตรีสุข เจ้าของไก่ชื่อ จะโก้ย หรือ ปาต้องโก๋ ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ รับรางวัลที่เงินสด 500 บาท

ด้านนายอำสัน ตรีสุข อายุ 52 ปี ผู้จัดการแข่งขัน กล่าวว่า การแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตำบลเขาขาวแต่ได้หยุดไปช่วงโควิดระยะหนึ่ง ก่อนมาจัดขึ้นอีกครั้งเพื่อความสนุกสนานเป็นการอนุรักษ์ไก่แจ้ไว้ ซึ่งการแข่งขันนี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในพื้นที่เขาขาวมานาน โดยไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมือง ที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์สวยงามอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นเวลานาน บางคนเลี้ยงไว้ดูเล่น

สำหรับการแข่งขันประชันเสียงไก่ขันเป็น 1 ในกิจกรรม ภายในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ (เทศกาลตำข้าวเม่า ปี 2) ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 สิงหาคม 2567 ณ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล โดยนายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นายวรวุฒิ ปาละสัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว นายจักรพรรณ วัลแอ เลขาธิการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ , ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สตูล ส่วนราชการเข้าร่วม พร้อมมอบรางวัลการประชันเสียงไก่ขันในเวทีนี้

    

ผศ.ดร.วัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า ภายในงานเทศกาลต่ำข้าวเม่า ปี 2 “โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ประเพณีท้องถิ่นชุมชนเขาขาว และจัดงานเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นและการประกวดธิดาข้าวเม่าชุมชนเขาขาว ปีที่ 2” โดยภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประภาคการศึกษา ที่ได้ผนึกกำลังกันเพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาขาขาวมาจัดแสดงและประชาสัมพันธ์พื้นที่ให้คนภายนอก ได้รับรู้ผ่านการจัดงานเทศาล

การนำเอาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทในเชิงลึก นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของประชาชน เฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการรวมตัวของประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา เป็นพลังสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาศในสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินการของภาครัฐในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับชุมชนท้องถิ่นและเชิงพื้นที่ ถือเป็นการวางแผนที่เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับชุมชนแหล่งท่องเที่ยว การนำทุนทางศิลปวัฒนธรรมมาสร้างให้เกิดมูลค่าและคุณค่าใหม่ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนในทุกระดับเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนา เป็นการสร้างพื้นที่สร้างความเข้าใจและยอมรับถึงคุณค่า และสร้างเป้าหมายหรือร่วมอย่างสร้างสรรค์
………………………

   

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา

 จัดหนักจัดเต็ม! กีฬาสูงวัยพาราสโตยเกมส์ ครั้งที่ 3 ทั้งกองเชียร์และนักกีฬาสร้างความสุขสนุกสนาน

จัดหนักจัดเต็ม! กีฬาสูงวัยพาราสโตยเกมส์ ครั้งที่ 3 ทั้งกองเชียร์และนักกีฬาสร้างความสุขสนุกสนาน

        เริ่มแล้ว…การแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุและคนพิการจังหวัดสตูล  “ใส่ใจ สูงวัย พาราสโตยเกมส์”  ครั้งที่ 3 ที่มีการจัดขึ้นที่สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ตำบลคลองขุด  อำเภอเมือง 

          กับเกมกีฬาหลากหลาย   ที่สร้างความสุข  สนุกสนานให้กับผู้สูงวัยและผู้พิการ ที่มาร่วมการแข่งขันและกองเชียร์จากทั่วทุกอำเภอ 880 คน กับเกมกีฬายอดฮิตอย่างปิดตาตีหม้อ  ชนิดที่กองเชียร์ลุ้นกันเกือบลืมหายใจ  สร้างเสียงหัวเราะ  ความสุขสนุกสนานให้ทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้ไม่น้อย  งานนี้ผู้สูงอายุและผู้พิการต่างก็มีความสุข

 

           นอกจากนี้   เกมกีฬา  ดันลูกโป่ง  ที่ผู้สูงอายุแต่ละอำเภอของจังหวัดสตูล  ได้ส่งนักกีฬาตัวท็อปตัวเต็ง  ลงการแข่งขันดันลูกโป่งให้แตกในเวลาเร็วที่สุด นักกีฬาทุกคนก็ฟิตมาเป็นอย่างดี  เพื่อไม่ให้กองเชียร์ผิดหวัง ทั้งนักกีฬาชายหญิง  ผู้สูงวัยต่าง  ตื่นเต้นสนุกสนานไปตามๆกัน

 

          มีนักกีฬาแล้วก็ต้องมีกองเชียร์ ที่แต่งตัวสีสันสวยงามกันตั้งแต่เช้ามืด  เพื่อมาร่วมงานนี้ โดยกองเชียร์แต่ละคนก็จัดหนักจัดเต็ม  ชนิดไม่มีใครยอมใคร  สีสันสวยงามเต็มท้องสนามและอัศจรรย์  งานนี้คณะกรรมการก็มีคะแนนให้กับกองเชียร์แต่ละอำเภอด้วย  โดยจะมีคะแนนความพร้อมเพรียง  ความสามัคคี  การมีส่วนร่วม   ทำให้ทุกคนเต้นส่ายสะโพกโยกย้ายชนิดลืมวัยกันเลยทีเดียว    ซึ่งเจ้าของงาน  ก็เตรียมความพร้อมทั้งรถพยาบาลฉุกเฉิน  ไว้สแตนบาย  หากเกิดเหตุจะได้ช่วยกันทันท่วงที

 

              ด้านนายชาตรี ณ  ถลาง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  ได้มาร่วมเป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้  โดยมีนายสัมฤทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล  กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัด การแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุและคนพิการจังหวัดสตูล  “ใส่ใจ สูงวัย พาราสโตยเกมส์”    ครั้งที่ 3  ซึ่งงานมีขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2567  โดยมีเกมกีฬาสากล  กีฬาพื้นบ้านและกิจกรรมนันทนาการ  ที่เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง  สังคมดีและมีความสุข 

 

           ผู้จัดทุกฝ่าย  เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และคนพิการ จึงจัดกีฬาและนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง  ให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ และคนพิการ  พร้อมเปิดโอกาส ให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

…………………………

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

การแนะนำตัวของผู้สมัครรับเลือกเป็น ‘สว.’

เลือก สว. 67 : ทำไม ‘สว.’ หาเสียงไม่ได้เหมือน ‘สส.’

การแนะนำตัวที่ทำได้เฉพาะในขอบเขตของกฎหมายผู้สมัคร สว. ต้องแนะนำตัวแบบใดจึงไม่ผิดเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ศึกษาหลักเกณฑ์-ขอบเขตการแนะนำตัวทั้งในส่วนผู้สมัครรับเลือก ผู้ช่วยเหลือฯ และ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้การเลือก สว. ครั้งนี้ถูกต้อง โปร่งใส และเที่ยงธรรม

          เมื่อได้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) แล้ว ผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม อาจแนะนําตัวเพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกรายอื่นและประชาชนทั่วไปได้รู้จักข้อมูลของตนเอง ตามวิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด

 

เหตุใดกฎหมายกำหนดให้ ‘สว.’ ใช้วิธีการแนะนำตัวไม่ใช่การหาเสียง

          ประเด็นดังกล่าว นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้อธิบายไว้ว่า ‘สว.’ ตามรัฐธรรมนูญมีลักษณะต่างจาก ‘สส.’ ที่เป็นสภาของนักการเมือง เป็นสมาชิกพรรคการเมือง โดย สว. เป็นสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นกลางทางการเมือง

 

          กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้สมัคร สว. ทำได้เพียงแนะนำตัว นั้นหมายความว่าห้ามหาเสียงโดยปริยาย เพราะเชื่อว่าผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกันเองที่สมัครทุกคน มีความดี เด่น ดัง ในสาขาอาชีพของตัวเองเป็นที่ประจักษ์และทราบกันดีในวงการนั้นอยู่แล้ว และด้วยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจะมี วิจารณญานในการเลือกที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีการจัดตั้ง ฮั้วกันในการเลือก

 

         “การแนะนำตัว คือ การบอกว่าตัวเองเป็นใคร มีประสบการณ์ในกลุ่มสาขาอาชีพนั้นอย่างไรเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอทั้งการเลือกแบบในกลุ่ม หรือเลือกแบบไขว้” นายแสวงระบุ

 

          ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 กำหนดให้ ผู้สมัครอาจแนะนำตัวได้ตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด ทั้งนี้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัครจะช่วยเหลือผู้สมัครในการแนะนำตัวจะต้องตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด ด้วยเช่นกัน

 

           โดยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 กำหนดให้ บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้สมัครรับเลือก สว. หากประสงค์จะช่วยเหลือผู้สมัครในการแนะนําตัวจะต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในฐานะผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร ซึ่งเป็น บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัครที่ผู้สมัครยินยอมให้ช่วยเหลือแนะนำตัว รวมทั้ง สามี ภรรยา และบุตร ของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 


 

         หากมีการแจ้งและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ช่วยเหลือฯ ต้องแจ้งต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันดำเนินการ ยกเว้น สามี ภรรยา และบุตร ไม่ต้องแจ้ง

 

       กรณีไม่แจ้งชื่อหรือการเปลี่ยนแปลงชื่อต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันดำเนินการ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอาจให้แก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการอาจนำมาเป็นเหตุสืบสวนหรือไต่สวนได้

 

ข้อห้ามในการแนะนำตัวการสมัครรับเลือก สว. มีดังนี้

  • ห้ามนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการแนะนำตัว
  • ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
  • ห้ามใช้ถ้อยคำรุนแรง/ปลุกระดมก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในพื้นที่
  • ห้ามแนะนำตัวทางทีวี วิทยุ เคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน นักข่าว หรือสื่อโฆษณาซึ่งเผยแพร่ผ่านบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ

 

      กฎหมายกำหนดบทลงโทษผู้สมัครหรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการแนะนําตัว ‘ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั่นมีกำหนด 5 ปี’

 

ท้ังนี้หากมีข้อสงสัยในการแนะนำตัวของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

         สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 รวมถึงคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 753/2567 หมายเลขแดงที่ 971/2567 และคำพิพากษาศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 771/2567 หมายเลขแดงที่ 972/2567

 

         หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง https://www.ect.go.th/ect_th/th/db_119_ect_th_6/2967 และสอบถามได้ที่สายด่วน 1444

 

#สว67 #เลือกตัวแทนประชาชน #20กลุ่มอาชีพร่วมใจขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

สตูล – ผู้นำท้องถิ่นขับเคลื่อนสร้างสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมสายน้ำ  ลำคลอง   หลังพบคุณภาพน้ำเปลี่ยนไป  ผ่านกิจกรรมคลองสวยน้ำใส 

สตูล-ผู้นำท้องถิ่นขับเคลื่อนสร้างสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมสายน้ำ  ลำคลอง   หลังพบคุณภาพน้ำเปลี่ยนไป  ผ่านกิจกรรมคลองสวยน้ำใส 

            ที่ริมชายฝั่งคลองมำบัง  หมู่ที่ 7 ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล  เทศบาลตำบลคลองขุด ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล  จัดกิจกรรมคลองสวยน้ำใสขึ้น  เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์  โดยมีชาวบ้านในชุมชนริมคลองมำบังเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

 

           พร้อมกันนี้ได้มีการจัดฐานการเรียนรู้ชีวิตสัมพันธ์คนกับน้ำ โดยเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญให้ความรู้การป้องกันตัวเองและบุตรหลานขณะเล่นน้ำ หรือเมื่อเกิดภัยจากน้ำ โดยเฉพาะการใช้ชูชีพที่ถูกต้องและเหมาะสม  เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อทุกคนในครอบครัวและการช่วยเหลือผู้อื่นเบื้องต้นหากพบเห็นว่าเกิดภัยจากการตกน้ำ 

 

          หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ร่วมปล่อยพันธุ์ปลาตะเพียน และปลาบ้า  จำนวน 11,000 ตัว  แล้ว ยังได้ร่วมนั่งเรือคายัค  สัมผัสธรรมชาติสองฝั่งข้างทางตลอดสายน้ำคลองมำบัง   ในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุดที่มีระยะทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตรแล้ว   ยังได้ร่วมกิจกรรมเก็บขยะ และร่วมกิจกรรมฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ที่พร้อมจะให้ความรู้คือ  ฐานการเรียนรู้การตรวจสุขภาพน้ำเบื้องต้น  , ฐานการเรียนรู้ที่ระบบนิเวศของน้ำลำคลองและการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง, ฐานการเรียนรู้ขยะและของเสียจากครัวเรือน 

           นายสุนทร พรหมเมศร์   นายกเทศมนตรีตำบลคลองขุด  กล่าวว่า  เจตนารมณ์ที่จัดโครงการนี้อยากให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของน้ำที่เราใช้อุปโภค บริโภค และแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ เพื่อให้ชาวบ้านได้หาปลาหากุ้งหาหอย ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ ทางเทศบาลคลองขุดได้เข้าร่วมกับอบจ.สตูล และให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักถึงการบำบัดน้ำก่อนที่จะปล่อยลงคลอง 

 

           สำหรับคลองมำบัง   เป็นพื้นที่ไหลผ่านตั้งแต่ ต.ควนโดน อ.ควนโดน  ต.ฉลุง ต.ควนขัน ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล   เป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนมา  ทต.คลองขุด ยังมีแนวคิดที่จะต่อยอดให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่คลองขุดด้วย

 

          นายปรีชา  พูนสวัสดิ์   ประธานชุมชนบ้านเอื้ออาธร    กล่าวว่า   การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ถือว่าเป็นโครงการที่ดีเนื่องจากว่าปัจจุบันแม่น้ำลำคลองขาดการดูแลเอาใจใส่   ธรรมชาติทำให้ตื้นเขิน   พันธุ์ปลาเกือบจะสูญพันธุ์ไปเยอะ  โครงการนี้เทศบาลตำบลคลองขุด  กับอบจ.สตูล   จัดเพื่อปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นในการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง     อนาคตที่อยากได้คือ   น้ำที่ใช้ประโยชน์ได้  เป็นที่อยู่ของพันธุ์ปลาที่เพิ่มขึ้นและหากสิ่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวมาร่วมกันพัฒนาก็จะยิ่งดี

         

          คลองมำบัง   เป็นคลองสำคัญในจังหวัดสตูล ที่เกิดจากลำน้ำสายเล็ก ๆ บริเวณเทือกเขา อำเภอควนกาหลง  เมืองสตูล ไหลผ่านอำเภอควนโดน อำเภอเมืองสตูล  ก่อนไหลออกทะเลนั้นในอดีตเราสามารถนำน้ำจากลำคลองมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง    ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่เกิดปัญหาในด้านของคุณภาพน้ำ  ทำให้ต้องมีการอนุรักษ์ และสร้างความตระหนัก 

………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

สตูล-ขอรับใบสมัครเลือกตั้ง สว. 14 รายใน 7 อำเภอ ขณะที่กกต.เดินหน้าสร้างความเข้าใจ

สตูล ขอรับใบสมัครเลือกตั้ง ส.ว. 14 รายใน 7 อำเภอ ขณะที่กกต.เดินหน้าสร้างความเข้าใจ

         (วันที่ 13 พ.ค.67)  ทันทีที่กกต.เปิดให้ขอรับใบสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง  ล่าสุดที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล หลังเปิดขอรับใบสมัคร ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา  จนถึงขณะนี้พบว่ามีมาขอรับใบสมัครเพียง 7 ราย

 

          ขณะที่ตัวเลขของผู้ขอรับใบสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้งจังหวัด 7 อำเภอมีตัวเลขขณะนี้ 14 รายเท่านั้น

 

          ด้านนายประสิทธิ์  เอียดคง ผอ.กกต.จังหวัดสตูล  ได้เดินหน้าเผยแพร่ความรู้   ผ่านโครงการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน   ผ่านกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การดำเนินการให้ได้มา   ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา   โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสตูลได้จะจัดขึ้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 โดยจะมีการอบรมให้ความรู้ในหัวข้อบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิที่สภา    และหัวข้อ   ผู้สมัครและการสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา   คุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาและวิธีการเลือก   พร้อมทั้งการแนะนำตัวในการเลือกของสมาชิกวุฒิสภา

         ทั้งนี้ ที่ประชุมจะมีการพิจารณาข้อเสนอของทางสำนักงาน กกต.ที่ให้ประกาศกำหนดวันเปิดรับสมัคร ส.ว. ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 และปฏิทินการเลือก สว.ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ   การสมัครรับเลือกเป็น สว.เมื่อ กกต.ประกาศวันรับสมัครแล้ว ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็น สว.ต้องยื่นเอกสารใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเอง ณ สถานที่สมัครที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอที่ประสงค์จะสมัครกำหนดไว้ เมื่อผู้สมัครได้ยื่นสมัครรับเลือกแล้ว ผู้สมัครจะได้รับใบสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.ไว้เป็นหลักฐาน

 

          อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครสามารถสมัครได้เพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียว และจะถอนการสมัครไม่ได้ และเมื่อ กกต.กำหนดวันรับสมัคร ส.ว.เรียบร้อยแล้ว ตามขั้นตอนของกฎหมายจะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร จากนั้นกำหนดให้มีการเลือก ส.ว.ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ตามลำดับ

………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล – จัดเทศกาลงานข้าวโพดหวานและของดีอำเภอท่าแพ  ครั้งที่ 13  ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สตูล – จัดเทศกาลงานข้าวโพดหวานและของดีอำเภอท่าแพ  ครั้งที่ 13  ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

          องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ   พร้อมภาคีเครือข่ายร่วม   จัดเทศกาลงานข้าวโพดหวานและของดีอำเภอท่าแพ  ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567   ขึ้น ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล   ระหว่าง 27 – 28 เมษายน 2567  โดยนายสัมฤทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล   เป็นประธานในพิธีเปิด  นายประดิษฐ์ เปรมใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ  กล่าวรายงานวัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพและจังหวัดสตูลให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  ส่งเสริมและฟื้นฟูเศรษฐกิจของท้องถิ่น สร้างความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับประชาชนเกษตรกรในท้องถิ่น   และพัฒนาองค์ความรู้การประกอบอาชีพเกษตรกรแบบยั่งยืนและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนทั่วไป  

 

           ตลอด 2 วัน มีกิจกรรมมากมายประกอบด้วย  คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ , การจัดนิทรรศการให้ความรู้จากกลุ่มอาชีพ และหน่วยงานต่างๆ , การสาธิตอาหารเมนูข้าวโพดชวนชิมกว่า 10 เมนู , การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน, การประกวดฝักข้าวโพด  ,  การแข่งขันกินข้าวโพด ,  การแข่งขันประกอบอาหารเมนูข้าวโพดและเมนูแพะ  ,  การแข่งขันแทงต้ม, การแข่งขันขูดมะพร้าว, การแสดงของเด็กนักเรียน, การแสดงของสภาเยาวชนตำบลท่าแพ การแสดงดนตรี และการประกวดหนูน้อยข้าวโพดหวาน

        บรรยากาศมีประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่  รวมถึงนักท่องเที่ยว ร่วมงานกันอย่างคึกคัก 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล-เปิดบ้านกำปงบือฮัว  โชว์วัฒนธรรมชายแดน พร้อมประกวดรถสามล้อพ่วงริ้วขบวนที่สื่อวัฒนธรรมพื้นบ้านโบราณโดยดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม

สตูล..เปิดบ้านกำปงบือฮัว  โชว์วัฒนธรรมชายแดน พร้อมประกวดรถสามล้อพ่วงริ้วขบวนที่สื่อวัฒนธรรมพื้นบ้านโบราณโดยดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม

         วันที่ 20 เมษายน 2567   ที่บ้านโคกทราย หมู่ที่ 3  ต.บ้านควน อ.เมือง  จ.สตูล  ชาวบ้านในพื้นที่ทั้งหญิงและชายแต่งกายในชุดมุสลิมพื้นเมืองโบราณ   เข้าร่วมโครงการเปิดบ้านกำปงบือฮัว (Rumah terbuka di kampong Berhur)   กันอย่างคึกคัก  

        โดยเฉพาะกิจกรรมริ้วขบวนสามล้อพ่วงกว่า 30 คัน  ถูกตกแต่งสวยงามแปลกตา ชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมตกแต่งรถสามล้อพ่วงอย่างสวยงามแปลกตา ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนก็จะใส่ชุดพื้นเมืองโบราณเข้าร่วมการแข่งขัน 3 ประเภทคือ ประเภทรถสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์ และประเภทผู้โดยสารใส่ชุดพื้นเมืองสวยงาม

         หนึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มีรถพ่วง  เป็น(รถบ่าวสาว) ที่ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนเป็นคู่รักจริง โดยเจ้าบ่าวอายุ 82 ปี เป็นโต๊ะอีหม่ามบ้านโคกทราย  ส่วนเจ้าสาวอายุ 60 ปี  ทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้น  ยินดี ที่ได้รับเกียรติในกิจกรรมนี้  โดยทั้งคู่ได้สวมชุดบ่าวสาวอีกครั้ง  เจ้าบ่าวบอกว่าแม้จะแต่งมา 3 ครั้งแล้ว  ก็ยังตื่นเต้น   กิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นการสื่อถึงวัฒนธรรมพื้นถิ่นตำบลบ้านควน   ในโครงการเปิดบ้านกำปงบือฮัว ที่ชุมชนบ้านโคกทราย จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีคนในชุมชน   สร้างพื้นที่ให้ทุกกลุ่มในชุมชนได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ  พร้อมอนุรักษ์อัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมที่ดีให้คงอยู่ต่อไป  และประชาสัมพันธ์ชุมชนต่อสังคมภายนอก

          โดยโครงการดังกล่าวนี้  นายจตุพร สมปอง ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองสตูล เป็นประธานในพิธีเปิด  นายกูดานัน  หลังจิ  นายกฯ อบต.บ้านควน  กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมงาน  ก่อนมอบรางวัลผู้ชนะประกวดรถสามล้อพ่วง จาก 3 ประเภท  ทั้งประเภท รถสวยงาม  ผู้โดยสานแต่งกายพื้นเมืองสวยงาม  และประเภทความคิดสร้างสรรค์  โดยทีมสุรี  โต๊ะมอง  ชนะรับรางวัลประเภท รถสวยงาม    ทีมสิริมา  อารีหมาน  ชนะรับรางวัลประเภทความคิดสร้างสรรค์   และ ทีมพัชรพล​ แยกนุ้ย  รับรางวัลผู้โดยสานแต่งกายพื้นเมืองสวยงาม     

       ทั้งนี้ภายในงาน  ทางกลุ่มแม่บ้านได้ทำขนมพื้นถิ่นที่นิยมทำในช่วงเทศกาลสำคัญๆ  อย่างขนมลากรอบ หรือที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกขนมตาระ  และขนมเจาะหู หรือขนม แนหรำ  ให้ได้ชิมกันด้วย  นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันทำขนมต้ม  โดยเริ่มจากขั้นตอนการขูดมะพร้าว  คั้นกะทิ  และการห่อขนมต้ม  ได้รับเสียงเชียร์  ลุ้นกันตัวโก่ง  

        ด้านนายกูดานัน  หลังจิ  นายก อบต.บ้านควน  กล่าวว่า    งานนี้เกิดจากความร่วมมือของชาวตำบลบ้านควน  โดยเฉพาะบ้านโคกทราย  ร่วมกันจัดกิจกรรม ที่เรียกว่าเปิดบ้านโคกทราย  ให้ได้รับรู้ว่าเป็นหมู่บ้านที่มีของดีมากมาย  วันนี้ได้รู้ว่าหมู่บ้านโคกทรายมีอัตลักษณ์หลายๆอย่าง  โดยชาวบ้านโคกทรายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย  มีขนมโบราณ  ขนมจีน  มีของขายหากินได้ 24 ชั่วโมงเหมือนร้านสะดวกซื้อ สำหรับรถซาเล้ง หรือสามล้อพ่วงเพิ่งมีการใช้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าขายแร่  เราก็จะดึงมาใช้ในขบวนแห่เจ้าสาว ขบวนพาเหรดในการจัดกิจกรรมกีฬา  ชาวตำบลบ้านควนก็จะนำมาใช้โดยตกแต่งสวยงามแบบนี้

 

       ด้านนายฮามีดัน ตะวัน  ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวถึง บ้านโคกทรายว่า  เป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน  ต.บ้านควน อ.เมือง  จ.สตูล มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในพื้นที่ มีการสื่อสารภาษามลายูเป็นส่วนใหญ่ พร้อมกับภาษาไทยใต้ถิ่นสตูล อีกทั้งมีร้านค้ามากมายในชุมชนที่คนต่างถิ่นมักจะเข้ามาซื้อกัน ได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน จนได้สมญานามว่า เป็นชุมชนที่มาเมื่อไรอิ่มเมื่อนั้น เมื่อหิว ก็นึกถึงกำปงบือฮัว นอกจากวัฒนธรรมการกินแล้ว บ้านโคกทรายยังมีองค์ความรู้อื่นๆ อีก มากมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน

…………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา

สงกรานต์สตูลโชว์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ปรุงเมนูพื้นถิ่น   ล่องแก่งวังสายทองเล่นน้ำคลายร้อน  โหม๋เรา  หนุกหนาน ที่ลานหน้าถ้ำ

สงกรานต์สตูล  โชว์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ปรุงเมนูพื้นถิ่น   ล่องแก่งวังสายทองเล่นน้ำคลายร้อน  โหม๋เรา  หนุกหนาน ที่ลานหน้าถ้ำ

        เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ไทยในวันหยุดยาว   ที่จ.สตูลปีนี้ไม่แพ้จังหวัดไหนจัดงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามบริบทท้องถิ่นโดยนางปุณณานันท์  ทองหยู   ผอ.การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล ร่วมกับ นายไพรัช  สุขงาม  ผอ. ททท.สำนักงานสตูล ,นายประสิทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายกอบจ.สตูล และเจ้าบ้าน นายสนั่น  ศิริสม นายกอบต.น้ำผุด  ภายใต้สโลแกน   (โหม๋เรา  หนุกหนาน ที่ลานหน้าถ้ำ)  ตั้งแต่วันที่ 13-15 เมษายน 2567  ซอยถ้ำเจ็ดคต หมู่ที่ 10 บ้านวังนาใน ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อรอบรับนักท่องเที่ยวหลังนักท่องเที่ยวเล่นน้ำปะแป้งแล้ว  

          โดยเชิญนายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และนายวรศิษฎ์  เลียงประสิทธิ์  ส.ส.เขต 2 สตูล และนายธีระพงษ์  คุ่มเคี่ยม นายอำเภอละงู  มาเป็นประธานเชิญชวนและโชว์ของดีพื้นถิ่นมาให้นักท่องเที่ยวได้ชมได้ชิมช็อป    อาทิ  การโชว์การทำข้าวหลามจากกระบอกไม้ไผ่จากป่าต้นน้ำ  การทำขนมจากขนมพื้นเมือง  การทำขนมครก  ขนมพิม  และการแข่งขันการทำอาหารพื้นถิ่น  อย่าง  แกงไก่กับหยวก   ยำผักกูด   และเมนูห่อหมกหอยโล่ (หอยที่ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์และรับประทานตามฤดูกาล มีรสชาติกรอบหนึบอร่อยคล้ายหอยขม แต่ไม่มีรสขม)    โชว์ให้นักท่องเที่ยวได้ชิมและได้ชมเมนูที่นำวัตถุดิบมาจากพื้นที่มาปรุงเป็นเมนูอาหารขึ้นชื่อของตำบลน้ำผุดให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนตำบลน้ำผุดได้รับประทาน     และมีการมอบรางวัลเพื่อการันตีว่าที่ตำบลน้ำผุดมีกลุ่มแม่บ้านที่มีฝีมือระดับต้น ๆ  ในการทำเมนูพื้นถิ่นอร่อย   รวมทั้งรางวัลการละเล่นพื้นบ้านให้กับนักท่องเที่ยวและชาวบ้านที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก่อนจะร่วมกันเปิดงานอย่างเป็นทางการ 

 

           อีกทั้งกิจกรรมโหม๋เรา หนุกหนาน  ที่ลานหน้าถ้ำ  ในวันสงกรานต์ยังมีการจัดกิจกรรมใกล้แหล่งน้ำซึ่งเป็นคลองลำโลน  จุดล่องแก่งวังสายทอง แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของตำบลน้ำผุด อำเภอละงู ที่ปีหนึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไม่ขาดสายเพื่อมาล่องแก่ง และพักผ่อนโดยเฉพาะในวันสงกรานต์ และในช่วงสภาพอากาศที่ร้อนแบบนี้แหล่งท่องเที่ยวที่นี่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

…………………………..

อัพเดทล่าสุด