Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 จังหวัดสตูลจัดกิจกรรม ‘เอามื้อสามัคคี’ ปลูกสับปะรด 1,000 ต้น เฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10

จังหวัดสตูลจัดกิจกรรม ‘เอามื้อสามัคคี’ ปลูกสับปะรด 1,000 ต้น เฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10

            วันที่ 4 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์สารภีละงู ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล   นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยพระครูโสภณ ปัญญาสาร เจ้าคณะอำเภอมะนัง/เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7 นางสาวรัตนา ไมสัน พัฒนาการจังหวัดสตูล และจ.ส.อ.ณภัทร หงษ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์สารภีละงู จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี (ปลูกสับปะรด) และปรับปรุง พัฒนาพื้นที่ศูนย์สารภีละงู ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอาารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลุเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงมหาดไทย จังหวัดสตูล โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล, พัฒนาการอำเภอ, เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ, เจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด, เครือข่าย โคก หนอง นา อำเภอละงู, คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอละงู, ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอละงู และบัณฑิตอาสาฯ เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

            สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย การปลูกสับปะรด จำนวน 1,000 ต้นการห่มดินด้วยฟางข้าว ใส่ปุ๋ยพืชพันธุ์ และการกำจัดวัชพืช เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขยายผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการบูรณาการการขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติจนเห็นวิถีชีวิต สอคคล้องกับสภาพพื้นที่และภูมิสังคม ต่อยอดพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” สู่การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริฯ

 

          รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ ซึ่งเป็นที่ต่อยอดขยายผลการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง และหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่การปฏิบัติรูปแบบ “โคก หนอง นา”  ที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตภูมิสังคม สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

          พระครูโสภณ ปัญญาสาร เจ้าคณะอำเภอมะนัง กล่าวอนุโมทนา และชื่นชมทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจ ผนึกพลังสามัคคียอดเยี่ยมมาก

……………………………

 

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศให้ “กระท้อนนาปริกสตูล”  เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สตูล-กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศให้ “กระท้อนนาปริกสตูล”  เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

             กระท้อนนาปริกสตูล  เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อคุณภาพ เนื้อนุ่มหนา  เปลือกบาง  มีหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกในพื้นที่อำเภอควนโดน  ในแต่ละปีกระท้อนนาปริกสตูลให้ผลผลิตจำนวนมาก  ทางจังหวัดสตูลจึงขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

             ล่าสุด นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทน  อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา  ประกาศ  ณ  วันที่ 26 กันยายน 2567  เรื่อง  การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  “กระท้อนนาปริกสตูล”  ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำขอขึ้นทะเบียน 22 กันยายน 2565

 

            โดยกระท้อนนาปริกสตูล หรือ Na Prik Satun Santol หรือ Kra Ton Na Prik Satun หมายถึง  กระท้อนพันธุ์อีล่า พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์นิ่มนวล พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ทับทิม ลักษณะผลทรงกลม ทรงกลมแป้น  และทรงกลมจุก ผิวเปลือกบาง นิ่ม สีเหลือง สีเหลืองอมน้ำตาล และสีเขียว  มีขนนิ่มเหมือนกำมะหยี่  เนื้อหนานุ่ม ปุยหุ้มเมล็ดสีขาวหนาฟู  ผลสุกจัดจะมีรสชาติหวาน  ปลูกในเขตพื้นที่ 2 อำเภอของจังหวัดสตูล ได้แก่ อำเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง

             สำหรับกระท้อนนาปริกสตูล  นอกจากกินผลสดแล้ว  สามารถปรุงเป็นเมนูกระท้อนทรงเครื่อง  น้ำพริกกระท้อน  น้ำยาขนมจีนกระท้อน  ไอศกรีมกระท้อนได้ด้วย

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวเด่น เกษตร - อาชีพ

เกษตรจังหวัดสตูลลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายจากน้ำท่วมในอำเภอละงู พบพื้นที่การเกษตรประสบภัยรวม กว่า 498 ไร่

เกษตรจังหวัดสตูลลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายจากน้ำท่วมในอำเภอละงู พบพื้นที่การเกษตรประสบภัยรวม กว่า 498 ไร่

          นางสุดา ยาอีด เกษตรจังหวัดสตูล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงู ได้แก่ หมู่ที่ 11 ตำบลละงู และหมู่ที่ 4 และ 5 ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งประสบภัยน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

          จากการลงพื้นที่ พบว่าในพื้นที่อำเภอละงู มีพื้นการเกษตรที่ประสบอุทกภัย จำนวน 9 หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น นาข้าว และพืชผัก ซึ่งพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยรวม 498 ไร่ และคาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่เสียหาย จำนวน 78 ไร่ โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรอำเภอติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำแนะนำแก่เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลภายหลังน้ำลด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำและใช้เครื่องจักรในพื้นที่ขณะดินเปียก ตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม โดยเอากิ่งแก่ กิ่งที่ฉีกหัก เหี่ยวเฉา แน่นทึบออก ทำการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ผล นอกจากนี้ขอให้ใช้สารเคมีกันเชื้อราราดหรือทาโคนต้นไม้เพื่อป้องกันโรครากเน่า หรือใช้สารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา) เพื่อป้องกันเชื้อราในดิน หรือใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลาง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่าและโคนเน่า

 

       ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหาย และดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และตามเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชต่อไป

………………………………

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

            วันที่ (19 ก.ย. 67) ที่สตารินทร์ คาเฟ่ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นางไลลา รอเกตุ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ เป็นประธานการดำเนินโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส. พร้อมด้วยเครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วน และคณะทำงาน พมจ.สต. ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

 

            ด้วยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ได้จัดโครงการเสริมสร้าง เครือข่ายสื่อมวลชนเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ ประสานความร่วมมือกับสื่อมวลชนท้องถิ่นและหน่วยงานด้านการประชาสัมพันธ์ ในการนำเสนอสถานการณ์ ทางสังคม เพื่อให้สังคมได้ตระหนักมีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สื่อมวลชน ได้เผยแพร่เรื่องสิทธิ สวัสดิการที่ประชาชนพึงได้รับ รวมทั้งผลการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายของศูนย์เร่งรัดจัดการ สวัสดิภาพประชาชนจังหวัดสตูล (ศรส.) ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.หนึ่งเดียว) กับสื่อมวลชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย สื่อมวลชนและหน่วยงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ หัวหน้าส่วนราชการสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน

           สำหรับโครงการนี้ได้มีการหารือถึงแนวทางในการนำเสนอ หรือประชาสัมพันธ์ในการประสานความร่วมมือของหน่วยงาน พม.หนึ่งเดียว และ ศรส. ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยง่ายในเรื่องของการติดตามการดำเนินให้ความช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน และการสื่อสารสังคมเชิงรุกในการสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วน เพื่อให้สื่อได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาทางสังคมร่วมกันได้ต่อไป

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ที่จังหวัดสตูลได้ขึ้นชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอีกหนึ่งแห่งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  และที่กำลังสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านอย่างงดงามคือที่นี่เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารซีฟู้ดที่ขึ้นชื่อ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านซีฟู้ด 

 

โดยเฉพาะกั้งทะเล  ที่นี่มีให้ทานเกือบทั้งปี (หากไม่มีคลื่นลมแรง)  และกั้งยังเป็นแลนด์มาร์คของตำบลตันหยงโป  อำเภอเมืองสตูลด้วย  โดยเฉพาะที่ บ้านบากันเคย หมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชาวประมงพื้นบ้านได้ออกหาอาหารทะเลทันที   หลังจากสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ พวกเขาสามารถออกทะเลเพื่อจับกั้งตัวใหญ่ได้อีกครั้ง

 

กั้งที่นี่จะมีสองสายพันธุ์ คือ กั้งขาว และกั้งเขียว     (กั้งขาว หรือกั้งแก้ว แกะต้มแล้ว) มีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 500 – 540  บาท   ส่วนกั้งเขียวเป็นกั้งตัวใหญ่ (หนึ่งตัวเกือบกิโลกรัม)  มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,600 บาท (จะขายกั้งเป็นแต่หากกั้งตายจะไม่มีราคา) สร้างรายได้อย่างงามให้กับชาวประมงพื้นบ้าน

 

           นายราเสบ กาซา เจ้าของแพอายุ 72 ปี  บอกว่า  ตนรับซื้อกั้งสดๆ จากชาวประมงพื้นบ้าน ราคากั้งขาวหรือกั้งแก้ว  อยู่ที่กิโลกรัมละ 200 – 300 บาท  ส่วนกั้งเขียว รับซื้อจากชาวประมงราคาสูงถึง 1,400 บาทต่อกิโลกรัม  ส่งขายในจังหวัดท่องเที่ยว ทั้งภูเก็ต หาดใหญ่ พังงา และกระบี่

 

         นอกจากการขายกั้งสด ทางแพยังแปรรูปโดยการต้มและแกะเนื้อขาย ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 500 ถึง 540 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายกั้งเขียวเป็นๆ  กิจการนี้ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชาวประมง แต่ยังสร้างงานให้กับแม่บ้านในพื้นที่อีกด้วย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ได้ 0915284092  0953696057

 

           นางสาวนูรชีรา  อามาตี   อายุ 24 ปี แรงงานแกะกั้ง  บอกว่า  พวกเรามีงานทำ ไม่ต้องออกไปหางานนอกหมู่บ้าน ได้ค่าแรงวันละ 400 บาท ทำงานตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 วันไหนเรือออกก็จะมีงานทำอาชีพนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีแกะกั้งขาวหรือกั้งแก้ว ใช้กรรไกรตัดหัวก่อนจากนั้นตัดหาง และครีมด้านข้างเพื่อให้แกะกระดองได้ง่าย  ก็จะได้เนื้อกั้งเป็นชิ้นทั้งตัวพร้อมขายและนำไปปรุงได้อย่างสะดวกสบาย  

 

         สำหรับกั้ง สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนูเช่นเดียวกับกุ้ง เช่น กั้งต้มน้ำจิ้มซีฟู้ด , กั้งทอดกระเทียมพริกไท ,ผัดเผ็ดหรือต้มย้ำ นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของดีจากชุมชน  น้ำพริกกั้ง ,มันกั้ง (คล้ายกับมันกุ้ง)

 

           ความสำเร็จของอุตสาหกรรมกั้งในสตูลนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย และโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับชุมชนชายฝั่ง 

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลสร้างอาชีพ ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

สตูลสร้างอาชีพ…ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

         ผู้สูงอายุตำบลควนสตอ จังหวัดสตูล ได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้สด  ด้วยวิธีอีโคปริ๊นท์ ในงาน “ชีวิตสดใส วัยสูงอายุ” ซึ่งจัดขึ้นที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

 

         โดยทางวิทยาลัยเทคนิคสตูล  ได้จัดบูธสาธิต   การทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก วิธีการทำเริ่มจากการนำผ้าที่ชุบน้ำยาแล้ว (ที่มีส่วนผสมของปูนขาว น้ำส้มสายชู ผงสนิม สารส้ม น้ำเปล่า)   วางดอกไม้หรือใบไม้ลงบนผ้า  จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใสคลุมทับ  แล้วใช้ค้อนขนาดเล็กทุบเบาๆ  เพื่อให้สีของดอกไม้ซึมลงบนผ้า  ทำให้เกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชิ้น

 

         ก็จะได้ผ้าเช็ดหน้า  ลายดอกไม้สีส้มสดจากดอกดาวกระจาย  เป็นชิ้นงานจากจินตนาการของผู้สูงอายุ  ที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก  นางฮาหยาด สกุลา ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า “ได้ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้ เพราะวัตถุดิบในชุมชนมีเยอะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะพัฒนาเป็นอาชีพเสริมหรือไม่”

            ด้านนางสาวปัทมา หมัดสาลี ครูประจำศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน วิทยาลัยเทคนิคสตูล อธิบายว่า “เราเลือกวิธีทุบแทนการนึ่ง  เพราะใช้เวลาน้อยกว่า  ทำให้ผู้เรียนได้ชิ้นงานกลับบ้านทันที  ผ้าที่ได้ให้เก็บไว้ 2 วัน ก่อนนำไปรีดและซักด้วยน้ำยาล้างจานหรือสบู่  นำไปผึ่งลม ก็จะได้ผืนผ้าที่คมชัดสีติดทนใช้งานอายุยืนยาว

 

           ทั้งนี้ ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน  มีแผนการสอนไปยังนักเรียนมัธยม และเปิดคอร์สระยะสั้น  สำหรับประชาชนทั่วไปในช่วงปิดเทอม   ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจเฟซบุ๊ก  “ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน สาขาวิทยาลัยเทคนิคสตูล”   หรือโทร.  081-737-0287

 

         ส่วนดอกไม้หรือใบไม้ จะเลือกที่มีเนื้อนิ่ม  ใบดอกไม่หนา  สีสด   สามารถใช้ได้ทั่วไปที่มีในชุมชน หมู่บ้าน 

……………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เริ่มแล้วเทศกาลขนมบุญเดือนสิบ   ขนมพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติดั้งเดิม ตรึงราคาเดิม  เพิ่มเติมคือความอร่อย ที่จังหวัดสตูล

เริ่มแล้วเทศกาลขนมบุญเดือนสิบ   ขนมพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติดั้งเดิม ตรึงราคาเดิม  เพิ่มเติมคือความอร่อย ที่จังหวัดสตูล

            หากคุณกำลังมองหาของฝากหรือขนมอร่อยๆ ในจังหวัดสตูล ต้องไม่พลาดมาแวะชิมขนมพื้นบ้าน  ของคุณป้าวรรณา หนูสุด วัย 63 ปี  ขายที่บ้านคลองขุดเหนือ  ซอย 37 อำเภอเมืองสตูล และที่ตลาดตั้งจิตต์ศิลป์ อำเภอเมืองสตูล  ซึ่งเธอได้นำสูตรขนมโบราณจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่ที่นี่

 

           คุณป้าวรรณาเล่าว่า เธอขายขนมพื้นบ้านมานานกว่า 20 ปีแล้ว  ที่นครศรีธรรมราช ก่อนจะย้ายมาเปิดร้านที่สตูลเมื่อ 2 ปีที่แล้ว   โดยมีขนมหลากหลายชนิดให้เลือกซื้อ   ไม่ว่าจะเป็น ขนมนีซัมหรือขนมเจาะหู   ขนมข้าวพอง   ขนมลา  และขนมบ้า

 

           ไฮไลท์ของร้านคือ   “ขนมเจาะหู” หรือ “ขนมนีซัม” ขนมโบราณที่หาทานได้ยาก ราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทสำหรับ 15 ลูก หรือจะซื้อแบบ 50 ลูก ราคา 60 บาท และ 100 ลูก ราคา 120 บาท นอกจากนี้ยังมี  ขนมลา   ขายเป็นกิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 140 บาท หรือครึ่งกิโลกรัม 70 บาท

 

สำหรับคนที่ชอบขนมกรอบ ต้องลองชิม “ขนมข้าวพอง” ขนมพื้นบ้านที่ทำจากข้าวเหนียว   ขายราคาเพียง 3 ชิ้น 20 บาทเท่านั้น  มีหลากหลายสีสันให้เลือก

 

          คุณป้าวรรณายังเล่าอีกว่า   ขนมเหล่านี้เป็นขนมที่นิยมใช้ในประเพณี   “วันรับตายาย” หรือ “เทศกาลเดือนสิบ” ของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ

 

          หากใครสนใจอยากลิ้มลองรสชาติขนมพื้นบ้านภาคใต้แท้ๆ  สามารถแวะมาอุดหนุนได้ที่ตลาดตั้งจิตศิล  หรือติดต่อสั่งซื้อได้ที่ คุณวรรณา หนูสุด  โทร 087-270 3161 หรือ 094-717-9601

 

           ขนมพื้นบ้านของคุณป้าวรรณาไม่เพียงแต่อร่อย   แต่ยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำขนมโบราณของภาคใต้  ให้คงอยู่สืบไป   เมื่อมาเที่ยวสตูล อย่าลืมแวะมาชิม  และซื้อกลับไปเป็นของฝากกันนะคะ

…………………………………………

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

พช.สตูล หนุนโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ จัดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน”

พช.สตูล หนุนโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ จัดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน”

         วันที่  3 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น.  ณ ตลาดแลจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย  สร้างรายได้สู่ชุมชน” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล โดยมีนางสาวรัตนา ไมสัน พัฒนาการจังหวัดสตูล กล่าวรายงานที่มา วัตถุประสงค์และรายละเอียดการจัดงาน

 

           พร้อมด้วยท่านสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล  ท่านธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล คุณประยูร โขขัด กรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สตูล (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และหัวหน้าส่วนราชการ แขกผู้เกียรติและสื่อมวลชนร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานอย่างคับคั่ง

 

           นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า “จังหวัดสตูลได้มีการวางแผนและดำเนินการเพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องต่อแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ด้วยวิสัยทัศน์ “สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน”

 

          โดยได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในด้านการเกษตรซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้หลักของประชากรในพื้นที่จังหวัดสตูล จังหวัดจึงได้มีนโยบายในการยกระดับมาตรฐานทางด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพ คุณค่า มูลค่าในด้านนวัตกรรมการผลิต การแปรรูปทางการเกษตร การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้มีอำนาจต่อรองและสร้างความเข้มแข็งในด้านการตลาด ส่งเสริมพัฒนาสินค้าอัตลักษณ์ประจำถิ่นบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

 

         เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมไปถึงในด้านเกษตรปลอดภัย เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรทฤษฎีใหม่ การลดต้นทุนการผลิต เกษตรประณีตเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างโอกาสและกระจายรายได้แก่ประชาชากรในพื้นที่ สำหรับการจัดงาน”ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน” ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เกษตรกรรวมถึงผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสตูลจะได้มีช่องทางในการขยายตลาด เผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้ไปที่รู้จักแก่กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเป็นการกระจายรายได้แก่ผู้ผลิตสินค้า และต่อยอดทางการตลาดได้อีกหนึ่งช่องทาง”

 

         นางสาวรัตนา  ไมสัน  พัฒนาการจังหวัดสตูล กล่าวว่า “ด้วยรัฐบาลมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยในปี 2559 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสานพลังประชารัฐขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  ให้เกิดการเติบโตและหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่ ส่งเสริม สนับสนุนและเพิ่มโอกาสเชื่อมโยงเครือข่ายทางการตลาด ลดความเสียเปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยกับธุรกิจขนาดใหญ่

         กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย “สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการผสานพลังของ 5 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ   ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน/ชุมชน มาร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ

         ภายใต้แนวคิด Social Enterprise (SE) เพื่อเป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพตลอดต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ผ่านกระบวนการขับเคลื่อน 5 ฟันเฟือง เริ่มต้นตั้งแต่การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสร้างองค์ความรู้ การตลาด การสื่อสารสร้างการรับรู้ และการบริหารจัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมช่องทางการตลาดเครือข่ายเกษตรปลอดภัย

         เพื่อส่งเสริมเครือข่ายเกษตรปลอดภัยในการขยายช่องทางการตลาด เพิ่มโอกาสทางการตลาด รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรมและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มั่นคง เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน”

          ผู้สนใจสามารถร่วมชมและเลือกซื้อสินค้าภายในงาน“ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้แก่ชุมชน” ได้ในระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2567 เวลา 15.30 – 21.00 น. ณ ตลาดแลจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยภายในงานมีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการสินค้าอาหารปลอดภัย สินค้าเกษตรปลอดภัย สินค้าชุมชนของจังหวัดสตูล จำนวน 30 ราย กิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขาย การแสดงดนตรี

…………………………………………

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

“หมี่ผัดกะทิปูม้า” อาหารพื้นเมือง เมนูที่คัดสรรวัตถุดิบสดใหม่จนเป็นที่ยอมรับลูกค้าสั่งซื้อต่อเนื่อง

สตูล-“หมี่ผัดกะทิปูม้า” อาหารพื้นเมือง เมนูที่คัดสรรวัตถุดิบสดใหม่จนเป็นที่ยอมรับลูกค้าสั่งซื้อต่อเนื่อง

         ” หมี่ผัดกะทิปูม้า “  เป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมาก  มีลูกค้าสั่งซื้อมากสุดถึง 300 กล่อง  สร้างรายได้ให้ครัวบาซีเราะ  ที่เปิดร้านขายมา 2 ปีแล้ว

 

        นางรุ่งญาดา เจริญทรัพย์ อายุ 52 ปี เจ้าของร้าน “ครัวบาซีเราะ” ซึ่งตั้งอยู่ติดกับ ตม.สตูล ตรงวงเวียนหอนาฬิกา ในตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   พร้อมลูกมือกำลังผัดหมี่กะทิปูม้ากระทะใหญ่ให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อเพื่อใช้ในงานเลี้ยง

 

          โดยส่วนผสมสำคัญของหมี่ผัดกะทิปูม้า ประกอบด้วย เครื่องแกงที่มีพริกแห้งและหอมแดง, น้ำมะขามเปียก, เต้าเจี้ยว, น้ำตาลมะพร้าวและน้ำตาลทราย, ปูม้านึ่ง, และหมี่ขาวหรือหมี่หุ้น นอกจากนี้ยังมีผักเครื่องเคียงอย่างถั่วงอก กุยช่าย มะม่วงสด และพริกสด

 

          วิธีทำเริ่มจากการเคี่ยวกะทิกับเครื่องแกงจนหอม จากนั้นใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำมะขาม เต้าเจี้ยว น้ำตาลทราย และปู เคี่ยวนาน 2 ชั่วโมงจนปูนิ่ม แล้วจึงนำหมี่ลงไปผัด เมื่อเสร็จแล้วปิดฝาอบให้หมี่นุ่ม เป็นอันเสร็จ

          นางรุ่งญาดา  หรือ คุณตุ๊ก  บอกว่า  เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่การใช้ปูหรือกุ้งสด และไม่ใส่เกลือ เพราะได้ความเค็มจากปูและเต้าเจี้ยวแล้ว สูตรนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากหมี่กะทิตรัง แต่เพิ่มเนื้อปูเข้าไปเพื่อเพิ่มความอร่อย

 

         นอกจากหมี่ผัดกะทิปูม้าแล้ว ทางร้านยังมีเมนูอื่นๆ เช่น ขนมจีนแกงปู และข้าวราดแกง โดยหมี่ขายกล่องละ 35 บาท เคยขายมากสุดถึง 300 กล่อง

 

          ร้านครัวบาซีเราะเปิดขายทั้งหน้าร้านและรับออเดอร์ รวมถึงรับจัดงานประชุม งานเลี้ยง และงานนูหรี หากท่านสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 093-0787122 คุณตุ๊ก

 

         นี่เป็นตัวอย่างของอาชีพที่สร้างรายได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ จนกลายเป็นเมนูยอดนิยมในจังหวัดสตูล

…………………………….

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

แม่ค้าดีกรี ป.โท ชวนบอกรัก  วันแม่ และวันพิเศษด้วยวุ้นกะทิแฟนซี งานศิลปะที่กินได้

แม่ค้าดีกรี ป.โท ชวนบอกรัก  วันแม่ และวันพิเศษด้วยวุ้นกะทิแฟนซี งานศิลปะที่กินได้

         วันแม่ปีนี้มีของขวัญพิเศษสำหรับคุณแม่แล้วหรือยัง   ถ้าหากยัง  วันนี้มีเค้กวุ้นกะทิแฟนซี และพวงมาลัยช่องาม  จากงานศิลปะที่กินได้  ฝีมือของคุณขวัญ  หรือ นางสาวขวัญชนก  สุวรรณพงศ์ อายุ 38 ปี เจ้าของร้านขนมวุ้นกะทิแฟนซี ‘ข้าวหวาน’ หมู่ 7 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

       เค้กวุ้นกะทิของที่นี่ตอบโจทย์คนที่แพ้นมสด  แพ้แป้งสาลี   โดยทำด้วยวิธีไดคัท ตัดแปะทีละชิ้น สร้างสรรค์เป็นงานศิลปะที่กินได้ ราคาเพียงปอนด์ละ 300 บาท , พวงมาลัยวันแม่ ราคาชิ้นละ 100 บาท (ขายราคานี้มา 3 ปีแล้ว เมื่อครั้งขายที่ภูเก็ต)  ส่วนวุ้นจิ๋วกะทิ กล่องละ 30 บาท มี 8 ชิ้น  จุดเด่นของที่นี่คือ สามารถออกแบบลวดลายได้ตามต้องการ เช่น ลายดอกมะลิ สัญลักษณ์แห่งความรักของแม่ หรือจะเป็นของขวัญวันเกิดตามอาชีพ หมอ พยาบาล สามารถมาร่วมสร้างสรรค์ออกแบบร่วมกันได้

            เรื่องราวของร้านเริ่มจากการทำวุ้นกะทิให้คุณย่าทานแก้ขมปากจากการกินยา จนกลายเป็นอาชีพที่รัก    ด้วยประสบการณ์กว่า 3 ปีในภูเก็ต และความรู้จากปริญญาโทด้านการจัดการการท่องเที่ยว  พร้อมสร้างสรรค์ขนมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว   นอกจากวุ้นกะทิยังมีลูกชุบและขนมชั้นที่อร่อยไม่แพ้กัน

 

           สำหรับวันแม่ปีนี้ สามารถสั่งล่วงหน้าได้  รับรองว่าจะได้ของขวัญสุดพิเศษสำหรับคุณแม่  ติดต่อสั่งซื้อได้โทร 082-261 8153  /  095-469  5517  , Facebook Page : khaowann

 

         อย่าลืมมอบความรักให้คุณแม่ด้วยขนมแสนอร่อยจากร้าน khaowann  นะคะ

……………………………………….

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน