Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 ขนมพื้นเมืองเตาฟืน  100 ปี สืบทอดสู่รุ่นที่ 4 ครองใจนักท่องเที่ยวและชาวสตูล แห่อุดหนุนกันคึกคักจนเพิ่มกำลังผลิต     

ขนมพื้นเมืองเตาฟืน  100 ปี สืบทอดสู่รุ่นที่ 4 ครองใจนักท่องเที่ยวและชาวสตูล แห่อุดหนุนกันคึกคักจนเพิ่มกำลังผลิต

         บรรยากาศการจับจ่ายในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้หลายพื้นที่คึกคัก   อย่างเช่นที่ร้านแห่งนี้  ซึ่งตั้งอยู่เส้นทางมุ่งหน้าไปท่าเทียบเรือปากบารา (สู่เกาะตะรุเตาและเกาะหลีเป๊ะ)  ต.ปากน้ำ  อ.ละงู  จ.สตูล   ตั้งแต่ 9 โมงเช้าของทุกวันเป็นต้นไป  จะมีลูกค้ามายืนรอจับจ่ายกันตั้งแต่เช้าเพื่อซื้อขนมคาวหวานไว้ละศีลอดในช่วงเวลาประมาณ  18.30 น. ซึ่งเป็นอยู่อย่างนี้ทุกวัน  

 

         ร้านก๊ะกร หรือร้านของ  นางทิพากร  บิหลาย อายุ  45 ปีเจ้าของร้านซึ่งเป็นทายาทสืบทอดการทำขนมรุ่นที่ 4 แล้ว ยอมรับว่า ลูกค้าที่มาซื้อเป็นลูกค้าประจำตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตายาย ที่ทำขนมขายมานานถึง 100 ปี  โดยทุก ๆ วันจะทำขนมหวานวันละ 15 ชนิด อาทิ ขนมแบงกัง ขนมหม้อแกงไข่  ขนมหม้อแกงถั่ว  ขนมชั้น  ขนมเมล็ดขนุน ขนมทองหยอด และขนมโกยยาโกยที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวน้ำตาลแดงและกะทิ   ขายตั้งแต่ราคา ชิ้นละ 2-3 บาท  ปัจจุบันขายที่ชิ้นละ 5 – 10 บาท (ในเมนูที่ใส่ไข่จะราคาชิ้นละ 10 บาท)

 

         โดยขนมที่ได้รับความนิยมคือ  ขนมแบงกัน  ลักษณะขนมคล้ายขนมหม้อแกง  แต่!ใส่ไข่น้อยกว่า   เพราะมีรสชาติอร่อยถูกปากคนพื้นที่   เพราะมีความมัน และกลมกล่อม เนื่องจากขนมทุกชนิดของที่นี่  ส่วนใหญ่จะใช้เตาไม้ฟืน(ยางพารา)  เพื่อเพิ่มความหอมของขนม  และลดต้นทุนการผลิตทำให้ขายได้ในราคาถูก   ซึ่งปกติทางร้านขาย  ในเวลา 15 นาฬิกาถึง 16 นาฬิกา  ของก็จะหมดเกลี้ยง  แต่ในช่วงนี้ลูกค้าจะมารอซื้อตั้งแต่เช้า  ทำให้ทางร้าน  ต้องทำไป  ขายไปกันแบบสด ๆ 

         นางสาวนาเดีย  ลูกค้า บอกว่า เป็นลูกค้าประจำซื้อมาตั้งแต่เด็ก ๆ ชอบในความสดอร่อย มีขนมหลากหลายให้เลือก รสชาติอร่อยถูกปาก โดยขนมที่ซื้อส่วนใหญ่คือขนมแบงกัง  ขนมลูเป๊ะ

 

          ทายาทรุ่นที่ 4 ขายมานานกว่า 100 ปีตั้งแต่บรรพบุรุษ   บอกว่า  ครอบครัวทำขนมหวานขาย   มายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น  ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านและนักท่องเที่ยว  มาซื้อหาก่อนลงเรือไปเที่ยวชมเกาะแก่งในจ.สตูล 

 

           ในแต่ละวันในช่วงนี้  ทางร้านจะทำขนมวันละ 40 ถาด (ซึ่งขนม 1 ชนิดจะทำอย่างละ 4-6 ถาด)  ภายใน 1 ถาดจะได้ 30 ชิ้น  ขายยกถาดละ 200 บาท ส่วนเมนูไส่ไข่อย่างสังขยา หรือหม้อแกง  ขายยกถาดละ 250 บาท  แรงงานที่มาช่วยกันทำขนม  ก็เป็นคนในครอบครัว ญาติและแรงงานในหมู่บ้าน  ท่านได้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่   062 074 9335

……………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 “ขนมตาหยาบ” ชายแดนใต้ที่สตูล  ไส้หวานฉ่ำสร้างรายได้งามช่วงรอมฎอน     

“ขนมตาหยาบ” ชายแดนใต้ที่สตูล  ไส้หวานฉ่ำสร้างรายได้งามช่วงรอมฎอน

           ที่บ้านเลขที่  83/1 ม.7 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน  จ.สตูล  นางฮาหยาด  เกปัน  วัย 66 ปี   กำลังกุลีกุจอทำขนมโบราณ  หรือที่ชาวบ้านในพื้นถิ่นแดนใต้สตูลเรียก  “ขนมตาหยาบ”  มีลักษณะคล้ายขนมสายไหม  และ  ขนมโตเกียว  เพราะด้านนอกห่อด้วยแป้งนุ่มๆ  ที่มีการผสมสีเขียวจากใบเตย   หวานฉ่ำด้วยไส้มะพร้าวทึนทึกไปค่อนข้างอ่อน   ซึ่งเป็นการผสมผสานที่เข้ากันได้อย่างดี

 

        โดยสูตรเริ่มจากน้ำมะพร้าวทึนทึกไปผัดกับน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายแดง   บางรายใส่น้ำมันพร้าวอ่อนลงไปด้วย ใส่เกลือนิดหน่อย   จากนั้นเตรียมแป้งสาลีอเนกประสงค์  เกลือ  ไข่ไก่ และน้ำใบเตยลงไป ผสมให้เข้ากัน   เสร็จแล้วก็ไปเตรียมกระทะตั้งไฟอ่อน  โดยเอาผ้าชุบน้ำมันทาบาง ๆ จากนั้นเทแป้งลงไปและทำให้เป็นแผ่นกลมๆ ก่อนจะนำออกมาใส่ไส้มะพร้าวอ่อนพร้อมกับห่อเป็นแท่ง   เท่านี้ก็เสร็จพร้อมทานกับน้ำชาหรือกาแฟได้เลย

 

          นางฮาหยาด  หรือ  ม๊ะฮาหยาด  บอกว่า  เริ่มทำขนมตาหยาบโบราณมาจากพ่อแม่ที่เปิดร้านขายมาก่อนกว่า 30 ปีที่เรียนรู้ทำขนมขนเป็นที่ติดอกติดใจลูกค้าประจำ และลูกค้าคนรุ่นใหม่ท่าชื่นชอบขนมโบราณทานง่าย แป้งนิ่มหนึบไส้หวานฉ่ำเข้ากันได้ดี  ขนมชนิดนี้ทำให้สามารถเลี้ยงลูกรับราชการ และโตมาได้ถึง 4 คน โดยขายตั้งแต่วันละ 200 บาท ปัจจุบันนี้ในช่วงรอมฏอนวันละ 2,000 บาท ลูก ๆ บอกให้หยุดทำได้แล้วแต่ม๊ะยังชื่นชอบและบอกว่าไหว เพราะลูกค้ายังเรียกร้องทำให้ม๊ะฮาหยาดต้องทำขนมต่อ

 

           สำหรับขนมตาหยาบโบราณ  จะทำขายเป็นกล่องละ 10 บาท (ข้างในมีจำนวน 4 ชิ้น) ในช่วงรอมฏอนนี้จะมีออเดอร์สั่งรัว ๆ เพราะใช้ทานแก้บวช จะหวานฉ่ำชุ่มคอ และทานเป็นอาหารเบรกระหว่างวันได้เป็นอย่างดี ส่วนใครจะนำไปประกอบอาชีพทุนไม่มากนักรายได้ดีหากมีฝีมือ  โดยอุปกรณ์ของม๊ะฮาหยาด  บอกว่า ของใหม่นำมาทำขนมแล้วไม่อร่อย ม๊ะ  ใช้กระทะเหล็กใบเก่าอายุ กว่า 30 ปี ตะหลิว และจวัก แม้จะมีบางส่วนชำรุดแต่ก็ยังปรุงเมนู ขนมตาหยาบได้อร่อยเหาะ จนมีออเดอร์ปังวันละ 200 กล่องเพียง 2 – 3 ชั่วโมงก็ทำเสร็จหมดเกลี้ยง โดยพ่อค้าแม่ค้า  10 เจ้า  มารับที่บ้านเพื่อไปจำหน่าย

         สนใจติดต่อสั่งขนมให้ที่โทร 065 610 4484

…………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล -แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด   ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น  และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้  ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี  แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ     

สตูล แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด   ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น  และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้  ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี  แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ

          ที่สวนโกฮก  หมู่ 2 เขตเทศบาลตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองสตูล   ลงพื้นที่เยี่ยมสวนแห่งนี้    ซึ่งมีพื้นที่ 10 ไร่  ได้ปลูกทุเรียน 100 ต้น  หลังพบว่า   ที่สวนแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากช่อทุเรียนได้แห้งและล่วงหล่นจำนวนมาก  แม้สวนแห่งนี้   จะเป็นสวนที่มีระบบน้ำเพียงพอ   แต่สภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด  เชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะยาวนานไปจนถึงเดือน พ.ค.นี้   ทำให้เกษตรกรแม้จะมีระบบน้ำ   ต้องเพิ่มความถี่ในการรดน้ำที่โคนต้น  เป็นระยะ ๆ  เพื่อหล่อเลี้ยงรักษาระดับความชื้น    

 

          นายพิสุทธิ์  กั้วพานิช  อายุ 46 ปีเจ้าของสวนทุเรียน  กล่าวว่า  ปีนี้ต้องดูแลสวนทุเรียนเป็นพิเศษเพราะเป็นพืชหลักที่ทำรายได้ให้กับทางสวน รองลงมาเป็นมังคุด และเงาะ  สถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้ทางสวนกลัวมาที่สุดคือ  ฝน เพราะหากฝนตกหนักในช่วงนี้อาจจะทำให้ผลที่เริ่มติดดอก  ล่วงหล่นเพิ่มได้   แต่ก็ยังมีพืชบางชนิดที่ยังคงต้องการช่วงแล้ง  พร้อมเชื่อว่าปีนี้   ผลผลผลิตจะลดน้อยกว่าทุกปีเหลือร้อยละ   60-70

 

        ขณะที่ทางด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล  ได้แนะนำให้เกษตรกร  รดน้ำพืชผลเป็นช่วงๆ ก่อนออกดอก  โดยจะให้น้ำในระยะเวลานึง   เมื่อติดดอก…..ผสมเกสร ต้องลดปริมาณน้ำลง   เกษตรกรเองก็ต้องประเมินว่าพื้นที่ของตัวเองมีปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่  สำนักข่าวไทยอสมท.รายงานจากจ.สตูล 

 

          นางสาวศรัณยา สว่างภพ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า  สำหรับพืชที่มีความเสี่ยงจะให้ผลผลิตลดน้อยลง   ในช่วงแล้งนี้   ได้แก่   ทุเรียน มังคุด  เงาะ จำปาดะ ลองกอง  ซึ่งต้องมีการพยากรณ์อีกครั้ง   ในช่วงเมษายนว่า   จะมีฝนตกลงมาหรือไม่   สำหรับเกษตรกรรายไหนที่มีระบบน้ำ  สำรอง   ในช่วงนี้ไม่ต้องการให้ฝนตกเพราะในสวนกำลังออกดอกติดผลผลิต    ผิดกับ เกษตรกร   ที่ไม่มีระบบน้ำ   ในช่วงนี้ต้องการเพียง   รักษาต้น   ให้รอดตายจากฤดูแล้งนี้

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก”       

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก” 

        ทุก ๆ เช้าพี่ดำ หรือนายฐานพัฒน์  แสงเพชร  อายุ 46 ปี จะทำหน้าที่ดูแลผักให้เจริญเติบโตงอกงาม  ทั้งการตรวจวัดค่าปุ๋ยน้ำ  สภาพอากาศที่ไม่ร้อนจัดจนผักเฉา  หรือกระทั้งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะใส่ผัก  จากอนุบาล จนโต  ซึ่งงานประเภทแรงงานหนัก ๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของพี่ดำเป็นส่วนใหญ่ 

        ส่วนพี่แตน  หรือคุณณิชากร   แสงเพชร   แฟนพี่ดำ  จุดเริ่มต้นจากทั้งคู่รักสุขภาพ  ทดลองปลูกผักทานเอง  จนมาวันนี้ทำหน้าที่การตลาด บริหารจัดการสวนผัก  พร้อมคิดค้นหาสูตรทางสื่อโซเซียล  เพื่อให้ผักงอกงามและปลอดภัยพร้อมส่งต่อให้กับลูกค้า   ที่ชื่นชอบผักสลัดตามออเดอร์  10 ถุงหรือ 5 กิโลกรัม  วันละ 500 บาท โดยผักที่ส่งลูกค้าจะงดให้ปุ๋ย  โดยจะให้น้ำเปล่าแทน  จำนวน 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผักที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง 

         ซึ่งพี่ทั้งสองบอกกับเราว่า  สวนผักใจรัก  เกิดจากทั้งคู่รักสุขภาพและอยากจะหาอาชีพที่ทำงานอยู่ด้วยกันที่บ้าน  โดยมาลงตัวที่การปลูกผักสลัด   ทุก ๆ เช้าจะใช้เวลาในช่วงเช้าตรู่ไม่เกิน 10 โมงในการดูแลสวนผัก และช่วงค่ำ   เวลาที่เหลือก็ไปออกกำลังกายและทำในสิ่งที่รักและมีความสุข 

         ผักที่ปลูกส่วนใหญ่ตระกูลผักสลัด  เช่น  กรีนโอ๊ค  จะขายดี  ลูกค้าจะนำไปทำสลัดโรล  , มินิคอส ก็จะเหมาะกับสายปิ้งย่าง  ,  ฟิลเล่  จะมีความกรอบใบหยิกไม่มีรสชาติขม ทางสวนผักจะขายเป็นถุงละ 50 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท  โดยมีผักหลายชนิดรวมกัน  เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผักเหล่านี้ได้ง่าย 

          สนใจสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร. 082-308-2141 ,  098-013-1768  หรือเพจสวนผักใจรัก   สำหรับทางสวนผักใจรัก  จะส่งขายตามออเดอร์เท่านั้น 

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน       

  เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน
………………………….
ตั๊กแตน ปา ทัง ก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวนมากนี้ ใช้เวลาเพียงเดือนเศษ ซึ่งเป็นของ นายคุณากร อนุพันธ์ อายุ 43 ปี ชาวศรีสะเกษที่ได้มาตั้งรกราก อยู่ที่บ้านเจาะบากง ม.3 ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส โดยใช้ที่ดิน 5 ไร่ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามบ้านพัก สร้างโรงเรือน มุงไนลอนสีฟ้าและใช้ผ้าพลาสติกสีขาวคลุมด้านบนเป็นหลังคา เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวน 6 หลัง ซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้ว 4 รุ่น แต่ละรุ่นจะใช้ระยะเวลา 30 ถึง 35 วัน สามารถจับจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท

จากความนิยมกินตั๊กแตนในภาคอีสาน มาวันนี้ตลอดทั่วทุกภาคเริ่มยอมรับสัตว์เศรษฐกิจชนิดนี้ สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาเลี้ยงตั๊กแตนเจ้าแรกในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก โดยสั่งซื้อไข่จากภาคอีสานในราคาขีดละ 1,000 บาท หรือ กิโลกรัมละ 10,000 บาท เพื่อเพาะเลี้ยง การเลี้ยงตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงไม่มากนัก ลงทุนครั้งแรกและครั้งเดียวเพียง 2,000 ถึง 25,000 บาท

อาหารที่ใช้เลี้ยงตั๊กแตนก็หาได้ตามธรรมชาติ จำพวกใบหญ้าสด ใบตองสด ใบมะพร้าวสดและใบอ้อยสด เพาะเลี้ยงด้วยใยหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มชื่น โดยใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเห็นไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเล็กๆสีน้ำตาล ให้อาหารวันละ 3 เวลา เพราะตั๊กแตนจะกินอาหารตลอดทั้งวัน

ส่วนพื้นที่ ก็เลี้ยงกับดิน มีกองทรายไว้ให้ตั๊กแตนวางไข่ เมื่อตั๊กแตนมีอายุได้ประมาณ เกือบ 1 เดือน ตั๊กแตนก็จะเริ่มจับคู่ ลักษณะที่เห็นง่ายๆ คือ มันจะขี่หลังกันและตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ ก็จะสามารถจับจำหน่ายได้เลยในช่วงนี้

ปล่อยเสียง คุณากร อนุพันธ์ เกษตกรเลี้ยงตั๊กแตน

สนใจติดต่อสอบถามได้ทางเฟซบุ๊ก คุณากร อนุพันธ์ หรือโทร 084-7658773
…………………………
ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว ส่องใต้นิวส์รายงาน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน     

เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน   

          หลังจากตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางพาราเกือบทั้งหมดเพื่อทำสวนผสม  ภายใต้ชื่อ   “สวนผู้ใหญ่เกรียง สวนผสมเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล  โดยแบ่งพื้นที่ปลูกฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ที่เริ่มทยอยให้ผลผลิตออกจำหน่าย  

          นายเกรียงไกร   ศรีสงคราม  ผู้ใหญ่บ้าน  (ยอมรับว่าครอบครัวบาดเจ็บจากการธุรกิจอื่นจนล้มลุกคลุกคลานตั้งแต่โควิดที่ผ่านมา)   จึงคุยกับครอบครัวและบุตรสาว  นางสาวเจียรนัย  ศรีสงคราม  หรือ  น้องโม หลังเรียนจบปริญญาตรี  ตัดสินใจหันมาช่วยเหลือครอบครัวทำเกษตรสวนผสม  เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มตัว  นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านเกษตร    โดยพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 20 ไร่  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา   แล้วแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 3 ส่วน

        โดยในแต่ละส่วนจะมีกิจกรรมด้านการเกษตรทุกพื้นที่  ซึ่งพืชที่มีอยู่ภายในแปลงมีความหลากหลาย แต่ในส่วนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้แก่    ฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ในช่วงแรก   และเพิ่มมาเป็น 500 ต้น จำหน่ายในราคา 60 บาท   ซึ่งในช่วงการห่อผลจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง  ถึงจะเก็บผลผลิตได้    โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ 1-2 เดือน ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ต้น     อีกทั้งยังมีการชำกิ่งพันธุ์ขายด้วยในราคา กิ่งละ 50 บาท  และการผลิตกิ่งพันธุ์โดยส่วนใหญ่จะทำตามออร์เดอร์ลูกค้า จำหน่ายแล้ว 1,000 กิ่ง

         นอกจากนี้ได้ลง   ตะไคร้ (ไคร้หยวก) จำนวน 10,000 กอ และสามารถสร้างรายได้ให้ทุกวันๆละ 2,000 บาท โดยขายกิโลกรัมละ 10 บาท 1 วันจะส่งสินค้าจำนวน 200 กิโลกรัม โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดมาเลเซีย และโรงเครื่อง ที่จังหวัดตรัง ระยะเวลาการเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 เดือน  โดยมีวิธีการดูแลอย่างดี น้ำไม่ขาด และมีวิธีการใส่ปุ๋ย  คือ   ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ อีก 1 เดือนใส่อีก 1 กำมือ บวกกับขี้ค้างคาวอัดเม็ด

        และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตอีกประมาณ 50 ไร่ และจะมีการร่มกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกตะไคร้ประมาณ 6 รายเพิ่มเติม  เพื่อขยายพื้นที่และสินค้า   ส่วน กล้วย สะตอ ข้าวโพด ทุเรียน คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเริ่มให้ผลผลิต   สนใจติดต่อ  เบอร์โทร 083 – 1912198   (FB : Jiaranai Srisongkram) 

        ขณะที่นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู    บอกว่า  ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนผลผลิตด้วยการทำปุ๋ยน้ำหมักแห้ง  ลดการใช้สารเคมี  และการแนะนำให้เกษตรกรไปขอใบรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ผลผลิตออกจากแปลงนี้ปลอดภัยจริง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า อนาคตอาจจะส่งตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกรได้

……………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สุดปัง!  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณเตาถ่าน  ก่อนฟ้าสว่างขายหมดเกลี้ยงแผง   ขายมายาวนานกว่า 60 ปี  

สุดปัง!!  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณเตาถ่าน  ก่อนฟ้าสว่างขายหมดเกลี้ยงแผง   ขายมายาวนานกว่า 60 ปี

         ความเรียบง่ายตามแบบฉบับวิถีภูธรที่ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล  ทันทีที่ท้องฟ้าจวนสว่าง  ที่ร้านของม๊ะเซาะ  หรือ นางสาวเบญพร   มะแอเคียน   อายุ 66 ปี  กำลังเร่งมือทำข้าวเหนียวปิ้งโบราณ  เพื่อปิ้งเตาถ่านที่ใช้กะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง  โดยนำมาเผาเป็นถ่าน เพื่อใช้ในการปิ้งข้าวเหนียวให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  ที่มารอภายในร้านตั้งแต่เช้ามืด 

          โดยการทำข้าวเหนียวปิ้งสูตรโบราณ  ที่นี่มีความหอมมัน  นิ่มหวาน  อร่อยกำลังดี (โดยสูตรมีข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล  เกลือนิดหน่อยนำมามูล) แล้วห่อด้วยใบตอง ก่อนนำมาปิ้ง    การปิ้งจะใช้เหล็กหนีบครั้งละ 4 ห่อ แล้วปิ้งกลับไปมา (ซึ่งอดีตจะใช้ไม้ไผ่)  วันนึงทำครั้งละ 8-15 กิโลกรัม  ลูกค้าดั้งเดิมที่ชื่นชอบรสชาตินี้  ตั้งแต่รุ่นแม่ของ  ม๊ะเซาะ  และเด็กรุ่นใหม่ก็ยังชื่นชอบ  มารอซื้อกลับไปทานตั้งแต่ใกล้รุ่ง  นับเป็นเจ้าอร่อยเด็ดดัง มากว่า 60 ปี  ที่ชาวบ้านในระแวกนี้รู้จักคุ้นเคยกันดี  ร้านนี้ขายมาเป็นรุ่นที่ 2 ราคาเพียงชิ้นละ 5 บาท 

       ทางร้านยังขายคู่กับน้ำชากาแฟ แก้วละ 10 บาท ลูกค้าที่ตื่นเช้า   หลังเสร็จจากประกอบศาสนกิจทางศาสนา  ก็จะแวะมานั่งทานกันตั้งแต่เช้ามืด  เป็นอย่างนี้อยู่ทุกๆวัน  เพราะหากมาช้าอาจจะไม่ได้ลิ้มรสชาติของข้าวเหนียวปิ้งสูตรโบราณ  ที่ขายถึง 7 โมงเช้าเท่านั้น   ข้าวเหนียวปิ้งก็หมดแล้ว  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับม๊ะเซาะ   วันละ 1,500 ถึง 2,000 บาท  (ซึ่งเป็นรายได้รวมกับขายน้ำชา )

         ม๊ะเซาะ  หรือ นางสาวเบญพร   มะแอเคียน อายุ 66 ปี  แม่ค้าขายข้าวเหนียวปิ้งโบราณ   กล่าวเพิ่มเติมว่า  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณนี้ขายดีมาก   ต้องตื่นมาตั้งแต่ตี 4 หัวรุ่ง  เพื่อมาเตรียมก่อไฟเตาถ่าน และ ช่วงตี 5 เริ่มปิ้งขาย ขายดีทุกวัน เวลาประมาณ 07.00 น . ก็หมดเกลี้ยงทุกวัน  หากในช่วงฤดูผลไม้ ก็จะปรับแนวสอดไส้ ลงไป เช่น ข้าวเหนียวปิ้งโบราณไส้ทุเรียน   หรือจะมีข้าวเหนียวปิ้งไส้เผือก ไส้กุ้ง

           หากลูกค้าสนใจติดต่อสอบถาม   065 037 4358  พิกัดปากทางเข้าตลาดนัดวันพุธ   (ตลาดนัดเทศบาลตำบลควนโดน)  เปิดเวลา   05.00 น – 18.00น ทุกวัน  

……………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล – ชี้เป้าของอร่อย  อิ่มจุก ๆ ก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์ เติมไม่อั้น เพียงหัวละ 59 บาท   

สตูล  ชี้เป้าของอร่อย  อิ่มจุก ๆ ก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์ เติมไม่อั้น เพียงหัวละ 59 บาท 

         ชี้เป้าของอร่อย อิ่มจุก ๆ ที่ร้าน สี่พี่น้องก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์ เติมไม่อั้น เพียงหัวละ 59 บาท  ร้านนี้ตั้งอยู่ตรงข้าม  “ดิยางยนต์”  ตำบลกำแพง  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล แม้จะเปิดได้เพียง 3 เดือนแต่ลูกค้าแวะเวียนมาอุดหนุนกันไม่ขาดสาย  เพราะด้วยส่วนผสมที่ทางร้านเติมกันไม่อั้นให้ได้เลือกสัน  ไม่ว่าจะเป็น  เนื้อไก่  ตีนไก่  ตับไก่ ข้อต่อไก่ ปลายปีกไก่ และมะระต้มสุก 

 

       ลูกค้าร้านก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ  บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า  รสชาติอร่อย  คุ้มเกินราคา  อิ่มจุกๆ    

 

          ด้าน นางสาวนูรอัยนี  ปานนพภา  เจ้าของร้านฯ  บอกว่า  ก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์  เป็นสูตรเดียวกันที่เปิดขายในจังหวัดสมุทรปราการ  อยากให้ลูกค้ากินอิ่ม  ทางร้านเปิดครั้งแรกใช้ไก่วันละ 900 กิโลกรัม  เส้นก๋วยเตี๋ยวใช้หลายร้ายกิโลกรัมเช่นกัน  โดยลูกค้าหลากหลายวัย  เคยมีคนกินและเติมมากสุดถึง 5 ชามก็คิดในราคาเดียวกันคือ 59 บาท   ส่วนเด็ก 3-5 ปีคิดเพียงชามละ 29 บาท เด็ก 6-8 ปี เพียงชามละ 39 บาท ส่วนเด็ก 9-11 ปี เพียง 49 บาท  (ส่วนเด็ก ต่ำกว่า 3 ปีให้ทานกันฟรีไปเลย) แต่!! หากทานไม่หมดปรับเพิ่ม 39 บาท  ร้านเปิดทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง เกษตร - อาชีพ

จัด “เกี่ยวข้าว  เป่าซัง” ปีที่ 2  ยกให้เป็นซอฟเพาเวอร์ชาวควนสตอ  เที่ยววิถีถิ่น  วิถีไทย หลังเริ่มได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ

สตูล-จัด “เกี่ยวข้าว  เป่าซัง” ปีที่ 2  ยกให้เป็นซอฟเพาเวอร์ชาวควนสตอ  เที่ยววิถีถิ่น  วิถีไทย หลังเริ่มได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ

          กระแสการท่องเที่ยววิถีถิ่น  วิถีไทย  ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความตื่นตัวภาคภูมิใจ  ในวัฒนธรรมวิถีชุมชนที่พร้อมจะช่วยกันรักษาให้ดียิ่งขึ้นและมีรายได้จากการท่องเที่ยว

 

          ที่บริเวณทุ่งรวงทองเขาจุมปง   หมู่ที่ 2 ตำบลควนสตอ   อำเภอควนโดน   จังหวัดสตูล  นายซะรี่ย์อะซีร   นุ่งอาหลี   นายก อบต.ควนสตอ   ได้บูรณาการงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดนและสำนักงานเกษตรอำเภอควนโดน   จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลควนสตอ  ประจำปีงบประมาณ 2567   ภายใต้ชื่อ   “เกี่ยวข้าว  เป่าซัง  ย้อนความหลังฟื้นฟูประเพณีวิถีชาวนา  สืบสานภูมิปัญญา และวิถีชีวิต”  ปีที่ 2

 

          โดยเชิญว่าที่พันตรียุทธนา เจ้าดูรี นายอำเภอควนโดน ร่วมเป็นประธาน เปิดงานด้วยการเป่าซังข้าว  ด้วยกันอย่างพร้อมเพียงกัน  เพื่อแสดงสัญญาลักษณ์ของงาน   ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น   วิถีไทย  สร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวตำบลควนสตอ   โดยนำเรื่องราวคุณค่าวัฒนธรรมประเพณี   วิถีชาวนาของตำบลควนสตอในกิจกรรมเกี่ยวข้าว (ด้วยเคียว และแกระ เครื่องมือโบราณ)  ตีข้าว   และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนา   ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและดึงดูดให้ผู้สนใจมาท่องเที่ยววิถีถิ่นตำบลควนสตอ

 

          ด.ญ.รายา  มุหมีน  และ  ด.ญ.ณัสริน   หวังกุหลำ  นักเรียนชั้นป. 5  จากโรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด  ที่มาร่วมกิจกรรมบอกว่า  ตื่นเต้นและสนุกมากที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนาข้าว และได้เป่าปี่ เป่าซังข้าว  ซึ่งมีเสียงแปลกแตกต่างกันไป  ได้ร่วมเก็บข้าว ตีข้าว และทิ่มข้าว

 

          ขณะที่ นายซะรี่ย์อะซีร   นุ่งอาหลี   นายก อบต.ควนสตอ   กล่าวว่า   ปีนี้ได้รับสนใจจากกลุ่มเป้าหมายนักเรียนมาร่วมกิจกรรมเยอะมากกว่า  300 คน ทั้งนักเรียนในพื้นที่และต่างพื้นที่เข้ามาศึกษาดูงาน  วัฒนธรรมเก่าๆประเพณีเก่าๆของบรรพบุรุษของเรา  ทำนาแบบไหนเก็บเกี่ยวแบบไหนเป็นการอนุรักษ์ให้รุ่นหลังได้เรียนรู้  ว่ามีความลำบากมากแค่ไหนกว่าจะมีพวกเราในวันนี้  และให้ได้เรียนรู้ว่าวิถีชีวิตวิถีชุมชนสามารถนำมาพัฒนาให้เป็นงานด้านการท่องเที่ยว  พ่อค้าแม่ค้าก็มาขายของ  สินค้าชุมชนก็ขายให้กับนักท่องเที่ยว เป็น concept ที่เราต้องการพัฒนาวิถีชุมชนท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน

 

          นายก อบต.ควนสตอ    กล่าวเพิ่มเติมว่า  ปีนี้เริ่มเห็นได้ว่ามีหลายประเทศเข้ามาร่วมกิจกรรม  ทั้งอินโดนีเซีย  อียิปต์  ฝรั่ง  และเพื่อเป็นการยกระดับการจัดการแข่งกิจกรรมปีหน้าจะขยายกลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติให้มากขึ้น  เพื่อเผยแพร่ให้เห็นวิถีชีวิตของคนบ้านเรา  เป็นเรื่องที่เราชาวควนสตอควรจะภูมิใจ   ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าอาย  ที่เกิดมาเป็นลูกหลานชาวนา  ถือเป็น soft power ของชาวตำบลควนสตอเพราะทุกคนที่นี่ทำนากันทุกคน

          ……………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ร้านลับๆในสตูล ถูก  อร่อย  นาน 20 ปี  เริ่มที่ 10 บาท หลากเมนูเตี๋ยวและเมนูน้ำ  

ร้านลับลับในสตูล ถูก  อร่อย  นาน 20 ปี  เริ่มที่ 10 บาท หลากเมนูเตี๋ยวและเมนูน้ำ

ร้านลับ ๆ ที่ไม่ลับอีกต่อไป  ในถนนสตูลธานี 9  ซอย ณ  นคร  เขตเทศบาลเมืองสตูล  ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  (หลังศูนย์โอทอป อบจ.สตูล  ติดศาลากลางจังหวัด)   ร้านนี้เปิดมานานกว่า 20 ปีแล้ว  ไม่อร่อยไม่อยู่มานานอย่างแน่นอน   ร้านนี้ไม่มีป้ายชื่อร้าน  ลูกค้าต้องสังเกตเอาเอง   หลายคนเรียกร้านนี้ว่า  ร้านป้ามล 

ขายก๋วยจั๊บน้ำข้น  ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส  ผัดซีอิ้ว  ข้าวแกง  แกงถุง   ราคาเริ่มต้นที่ 10 บาท (ก๋วยเตี๋ยวน้ำใสไซร์เล็ก)  ชุดใหญ่ 40 บาทก๋วยเตี๋ยวพร้อมน้ำกระเจี๊ยบหรือน้ำอัญชัน   1 แก้ว  ผัดซีอิ๋ว 20 บาท แกงถุงละ 30 บาท  โอเลี้ยง  น้ำอัญชัน  กระเจี๊ยบถังละ 10 บาท ชาร้อน กาแฟร้อน 10 บาท แต่ชาเย็น กาแฟเย็น ถังละ 20 บาท   มีขายทั้งขนมพื้นเมืองให้อร่อยครบครัน   โดยร้านป้ามลเปิดขายตั้งแต่ 8 โมง ถึง บ่าย 3 โมงเย็น

ลูกค้าบอกว่า   เป็นลูกค้าประจำมานานกว่า 4 ปีแล้ว  ร้านนี้กินอิ่มจุกใจแม่ค้าใจดีราคาก็ถูกในยุคนี้  มาทานซ้ำได้ตลอดรสชาติก็ดี  มีเมนูก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่งก็มี น้ำก็มีหลากหลายราคาโดนใจในยุคนี้

ลูกค้าอีกราย  บอกว่า  เพิ่งรู้จักร้านนี้ไม่นาน  ไม่มีใครแนะนำแต่มาเจอโดยบังเอิญเลยทดลองมากิน  ชอบเมนูก๋วยจั๋บ เส้นจะม้วน ๆ นี่แหละคือก๋วยจั๊บของแท้  ทานแล้วติดใจมาเป็นลูกค้าประจำ 1 ปีแล้ว โดยเฉพาะราคาถูกเข้าถึงง่าย  อร่อยถูกใจด้วย

(ป้ามล)   นางศายามล  สุนทรนันท์  อายุ 60 ปี  บอกว่า  ร้านตนเปิดมานานกว่า 20 ปีแล้ว ขายตั้งแต่ราคา 10 บาทปัจจุบันก็ยังขาย 10 บาทเริ่มต้น และชุดใหญ่ 40 บาท  พร้อมน้ำอัญชัน น้ำกระเจี๊ยบ  และเมนูมาเสริมอีกมากมายตามคำร้องขอ ลูกค้า  การขายในราคานี้ก็อยู่ได้  เพราะว่า  บ้านเป็นของตัวเองไม่ต้องไปเช่า  เตาถ่านก็ช่วยลดต้นทุน ร้อนได้นานทำขายคนเดียว ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าประจำ  ทานกันมานาน นับปี บอกต่อ ๆกันมา  เลยไม่คิดจะทำป้ายบอกชื่อร้าน  เพราะเชื่อว่าหากอาหารอร่อย รสชาติดี ลูกค้าก็จะมาเอง

………………………………………

อัพเดทล่าสุด