Categories
เยาวชน-การศึกษา

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

             วันที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ  โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยสตูล พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีสำหรับนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น Thailand-Japan Student ICT Fair 2024 (TJ-SIF 2024) โดยมีนายโอตากะ มาซาโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช และกล่าวต้อนรับโดยนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  

          พร้อมรับชมการนำเสนอผลงาน  การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการแชร์รูปภาพบนโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล  โดยนักศึกษา Hachinohe KOSEN ประเทศญี่ปุ่น  และชมการนำเสนอผลงานมีสิ่งประดิษฐ์ไอซีที หุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับสวนโกโก้ ใช้ GPS ในการอ้างอิงตำแหน่งของตัวเอง ตรวจจับและทำนายโรคของผลโกโก้จากภาพที่ถ่าย การส่งข้อมูลและการควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน  จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราช

         จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะได้ชมบู๊ทผลิตภัณฑ์ชุมชน  จากนั้น ได้เดินเยี่ยมชมการพัฒนาเกมส์ของนักเรียนไทยและญี่ปุ่น , ชมนิทรรศการการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสตูลที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เฉพาะหน้าร้อน มาศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี

        พร้อมพูดคุยกับชุมชนผ่านระบบซูม  และชมผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปเพิ่มมูลค่า อย่าง  น้ำพั้นซ์สาหร่ายขนหางกระรอก  สบู่  “โซป ลาโต๊ด”  เค้กสาหร่าย  กือโป๊ะ  น้ำพริก  และอาหารปลา จากสาหร่ายหางกระรอก

         ทางด้าน นางสาว กนิษฐา สุวรรณโน  นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย  กล่าว่า  จากปกติ สาหร่ายนกนกจะมีแค่ 3 เดือนในหนึ่งปี  ทางเราจึงสืบค้นข้อมูลว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อสาหร่ายขนนก จึงได้ออกมาเป็น “เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ด้วย iot (internet of things)” โดยควบคุม ปริมาณ ไอโอดีน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สาหร่ายหางกระรอกโตได้ดี และมีคุณภาพ โดยปกติหากนำขึ้นจากธรรมชาติ จะขายโลละ 80 บาท แต่สาหร่ายที่เลี้ยงจาก เครื่องเพาะเลี้ยง สามารถขายสาหร่ายได้กิโลกรัมละ 200 บาท

         ด้านนายคุณากร จันทร์เมือง  นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึง “เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ด้วย iot (internet of things)”  ว่า  ได้ออกแบบระบบโดยควบคุม ปริมาณ ไอโอดีน ในชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก  โดยควบคุมผ่านระบบ iot ที่สามารถแจ้งสถานะได้ แบบเรียลไทม์  ซึ่งๆ อาจจะมีการขายในอนาคต โดยอุปกรณ์นี้ ทำเป็นชุดต้นแบบ ราคาประมาณ 2 เซ็ท สำหรับ ใหญ่ ราคา50,000 บาท  เล็ก 10,000  บาท

          สำหรับ  งานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านไอซีทีของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2567 เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กับกลุ่มโรงเรียนในโครงการ Super Science High Schools และสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางด้านไอซีที ของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จัดการเรียนรู้ของครู และการแข่งขัน Game Programming Hackathon ภายใต้การเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมีกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 18 แห่ง สถาบันการศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18 แห่ง กลุ่มโรงเรียนในโครงการ Super Science High Schools ประเทศญี่ปุ่น 14 แห่งและ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น 11 แห่ง จำนวนกว่า 1,000 คน เข้าร่วมงาน

 

          โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย  การนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีจำนวน 137 ผลงานในรูปแบบ Poster Presentation และ Oral Presentation   นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีและหุ่นยนต์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย   การบรรยายด้าน ICT โดยนักวิทยาศาสตร์ไทยและญี่ปุ่น   ICT Workshop สำหรับนักเรียน  การศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้าน ICT ในจังหวัดสตูล  การประชุมวิชาการผู้นำทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น (TJ-ELS 2024) ในหัวข้อ AI for Education

 

          ในการนี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยกับหน่วยงานการศึกษาของญี่ปุ่น  จนสามารถจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมไอซีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ สร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้เยาวชนตระหนักถึงการใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและยั่งยืน

 

         งานนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนทางด้าน STEM สู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

       ………………………………….

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 สตูลเข้ม! จัดอบรมพร้อมสาธิตความปลอดภัยรถทัศนศึกษา หลังเหตุสลดรถบัสไฟไหม้ – เผยมีรถติด NGV เพียง 2 คัน 

สตูลเข้ม! จัดอบรมพร้อมสาธิตความปลอดภัยรถทัศนศึกษา หลังเหตุสลดรถบัสไฟไหม้ – เผยมีรถติด NGV เพียง 2 คัน

          ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยด้านการศึกษา หลังเกิดเหตุสลดรถบัสไฟไหม้เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

         

          วันนี้ที่ 5 พ.ย.2567 ที่อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล วันนี้นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองขุดและคุณครู ได้ทดลองนั่งรถโดยสารไม่ประจำทาง และได้เรียนรู้การปฏิบัติตัวขณะอยู่บนรถ ทั้งการรัดเข็มขัดนิรภัย การเอาตัวรอดขณะเกิดอุบัติเหตุ การใช้ค้อนทุบกระจก การเปิดประตูนิรภัย การใช้เครื่องดับเพลิง

 

         ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารไม่ประจำทางนำนักเรียนทัศนศึกษา” โดยมีนายชัยวุฒิ บัวทอง ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานการอบรม  ที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาที่ปทุมธานี  เมื่อ 1 ตุลาคม 2567 โดยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 211 คน จากสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดสตูล

 

          หลักสูตรการอบรมประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ การเลือกใช้รถเพื่อการทัศนศึกษา และการใช้อุปกรณ์นิรภัยในรถโดยสารมีการสาธิตการช่วยเหลือและแนะนำการใช้อุปกรณ์ป้องกันเหตุฉุกเฉินในรถโดยสารสาธารณะ  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้รถโดยสารเพื่อการทัศนศึกษาอย่างปลอดภัยโดยได้รับการสนับสนุนจากหอการค้า   สถานประกอบการ   และขนส่งจังหวัดสตูล  

 

         ดร.ภิรมย์   จีนธาดา   ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  กล่าวว่า  โครงการอบรมนี้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์รถบัสไฟไหม้ที่ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุ  แม้เป็นเหตุสุดวิสัย แต่สามารถป้องกันได้ โดยการเรียนรู้นอกสถานที่ยังมีความจำเป็น เพราะมีความรู้มากมายนอกห้องเรียน  การให้ความรู้แก่ผู้บริหารและครูในการเลือกใช้ยานพาหนะที่ถูกต้องและการใช้อุปกรณ์นิรภัยเป็นสิ่งสำคัญ  การอบรมเน้นสองเรื่องหลัก คือ การเลือกใช้ยานพาหนะและการใช้อุปกรณ์นิรภัย มีการสาธิตการปฏิบัติบนรถบัสใช้เวลา 3 ชั่วโมง   มีผู้เข้าร่วมจากโรงเรียนทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสตูล โดยได้รับการสนับสนุนจากหอการค้า สถานประกอบการ และขนส่งจังหวัด  การป้องกันก่อนนำนักเรียนไปทัศนศึกษามีความสำคัญมาก แม้อุบัติเหตุจะเกินคาดหมาย แต่การป้องกันที่ดีจะช่วยลดความสูญเสียได้

 

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

            นายสุริยา   ตันติสิทธิกร   นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษสำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล  กล่าวว่า   จังหวัดสตูลมีรถมาตรฐาน 4 ข. 2 ชั้น จำนวน 14-15 คัน  รถพัดลม 40 คัน ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น เข็มขัดนิรภัย ค้อนทุบกระจก ยาง ประตูฉุกเฉิน และระบบ GPS  ซึ่งการจัดอบรมให้ผู้บริหารสถานศึกษากว่า 200 คน ครั้งนี้จะได้ เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ   เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ในจังหวัดสตูลมีรถโดยสารที่ติดตั้งแก๊ส NGV เพียง 2 คัน  ซึ่งถือว่าน้อยกว่าภูมิภาคอื่น  ส่วนรถที่มีการต่อเติมประกอบไม่มีจะต้องผ่านมาตรฐานการประกอบที่เข้มงวดจากกรมการขนส่งทางบก ทั้งเรื่องคัสซี  ตัวถัง  และการทดสอบความเอียงเข้าโค้ง  รถทุกคันต้องผ่านการตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง 

         และสำหรับโรงเรียนใดที่จะจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่จะต้อง นำรถคันที่จะเดินทางมาตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด พร้อมคุณครูจะต้องเดินทางมาร่วมตรวจสอบรถและมารับความรู้ก่อนออกเดินทางรับความรู้ตลอดจนการใช้เครื่องมือเพื่อความปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วยทุกครั้ง

          ส่วนรถรับส่งนักเรียนก็จะเป็นรายต่อไปที่จะต้องตรวจทุกครั้งก่อนใช้งาน  รถตู้รับส่งนักเรียนต้องขออนุญาตและตรวจสภาพทุก 6 เดือน โดยมีมาตรการด้านความปลอดภัยและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

………………………………………..

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 ค่ายมวยต้นกล้า สืบสานมรดกมวยไทย  ปลูกฝังศิลปะการต่อสู้ในดวงใจเยาวชนสตูล 

ค่ายมวยต้นกล้า สืบสานมรดกมวยไทย  ปลูกฝังศิลปะการต่อสู้ในดวงใจเยาวชนสตูล

          ที่บ้านเลขที่ 309/1 หมู่ 4 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล  ได้ถูกเนรมิตใต้ถุนบ้านเป็นค่ายมวยขนาดย่อม ภายใต้ชื่อ “ศิษย์จ่าเทพ” เพื่อให้เด็ก ๆ ในหมู่บ้านกว่า 14 คนมารวมตัวกันเพื่อฝึกซ้อมสมรรถภาพร่างกาย เริ่มตั้งแต่การวอร์มร่างกายด้วยการหัดไว้ครูเพื่อยืดเส้นยืดสาย  โดยมีครูฝึกคอยประกบให้คำชี้แนะ  ผู้ปกครองมาคอยให้กำลังใจ  ในแต่ละวันเด็ก จะต้องกระโดนเชือก , เต้นลูกยาง, ชกลม , เตะกระสอบ ,ล่อเป้า เป็นต้น

 

          โดยน้อง ๆ  ใช้ทั้งหมัด  เท้า  ฝึกซ้อมกันอย่างมุ่งมั่น เห็นถึงเยาวชนรุ่นใหม่ที่หลงใหลในศิลปะมวยไทย

 

         “ค่ายมวยต้นกล้า” นี้อยู่ภายใต้การดูแลของ  “ระฆังทองศิษย์จ่าเทพ”  เปิดประตูต้อนรับเยาวชนตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2567 โดยมี “ลุงเล็ก  พันศักดิ์” อดีตนักมวยเก่าเป็นครูฝึกหลัก   ปัจจุบันมีนักมวยเยาวชนฝึกซ้อมประมาณ 14 คน อายุ  8 -13 ปี  ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

          หนึ่งในนักมวยดาวรุ่งของค่าย คือ ด.ช.ฐิติพงษ์   ง๊ะสมั่น   หรือน้อง   “บินลาเดน  วิมโตโยต้า”   วัย 11 ปี นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนบ้านคลองขุด ที่มีประสบการณ์การชกมาแล้ว 4 ครั้ง ด้วยสถิติชนะ 2 แพ้ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการเริ่มต้นที่แข็งแกร่งของนักมวยรุ่นเยาว์  โดยน้องบอกว่า แม้จะฝึกหนักก็เพื่ออยากชนะเวลาลงแข่งขัน และนักมวยที่ชื่นชอบและอยากเดินรอยตามคือ  “รถถัง จิตเมืองนนท์”  เวลาขึ้นเวทีแข่งได้เงินมาก็จะให้แม่เก็บไว้สร้างความภูมิใจให้กับตนเองมาก อยากได้เงินเยอะดูแลแม่ เคยร้องไห้เวลาต่อยเสร็จ  เพราะแพ้

 

          สำหรับการฝึกซ้อมที่นี่แบ่งเป็นสองช่วง  ช่วงปิดเทอมฝึกตั้งแต่บ่ายสามโมงถึงสองทุ่ม   ส่วนวันธรรมดาเริ่มสี่โมงเย็นถึงสองทุ่ม โปรแกรมการฝึกครอบคลุมทั้งการปล้ำ   เตะกระสอบ   กระโดดเชือก  ชกลม  วอร์มร่างกาย เต้นลูกยางเพื่อฝึกพลังขา และการล่อเป้า ซึ่งเป็นท่าที่เด็กๆ บอกว่าเหนื่อยที่สุดแต่สนุก โทรศัพท์เกือบไม่ได้จับเลย

          “ลุงเล็ก  พันศักดิ์” อดีตนักมวยเก่าเป็นครูฝึกหลัก  บอกว่า    “เราไม่ได้แค่สอนมวย แต่เราสอนวินัยและความอดทน” ลุงเล็กกล่าว ”  ที่สำคัญคือการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด นี่คือเป้าหมายหลักของเรา”

 

           นายชัยณรงค์  ไชยจิตต์  สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสตูล บอกว่า มวยไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่มีการอนุรักษ์ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับเด็กเยาวชนรุ่นหลัง เห็นแล้วว่า เด็ก ๆ มีความตั้งใจ จึงได้ร่วมกัน 3 ตำบล ต.คลองขุด ต.ควนขัน และ ต.เกาะสาหร่าย  โดยกลุ่มนี้หลีกเลี่ยงปัญหายาเสพติดได้ อีกทั้งทางวัฒนธรรมเองต้องการผลักดันให้มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ตนในฐานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง จึงได้ส่งเสริมร่วมกับ จ่าเทพ โดยเข้ามาสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการชกมวย เพราะเด็ก ๆที่เข้ามาฐานะต่างกัน และมาจากกลุ่มเสี่ยงจากยาเสพติดสูง

 

         ปัจจุบัน ค่ายมีนักมวยในสังกัด 6 คน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนจากพื้นที่คลองขุดและควนขัน ที่สมัครใจมาฝึกซ้อมด้วยใจรักในศิลปะมวยไทย สะท้อนให้เห็นว่าแม้ในยุคดิจิทัล   ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยยังคงมีเสน่ห์ดึงดูดคนรุ่นใหม่  และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

 

         วันนี้เด็ก ๆยังคงฝึกซ้อมที่ใต้ถุนบ้าน  โดยทางค่ายมวยศิษย์จ่าเทพเตรียมจัดงบประมาณเพื่อทำเวทีมวย ให้เด็กๆ ได้ฝึกซ้อมเสมือนขึ้นเวลาจริง เพื่อให้คุ้นชินกับเวที เปิดรับสมัครเยาวชนที่สนใจฝึกมวยไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติไทย

………………………………….

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 อบต.บ้านควน จัดโครงการความร่วมมือในการพัฒนาเด็กเครือข่ายนิเวศสามดีเพื่อเด็กและครอบครัวจังหวัดสตูล

อบต.บ้านควน จัดโครงการความร่วมมือในการพัฒนาเด็กเครือข่ายนิเวศสามดีเพื่อเด็กและครอบครัวจังหวัดสตูล

           วันที่  18 ต.ค.67  ที่โรงแรมสินเกียรติบุรี อ.เมือง  จ.สตูล นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการความร่วมมือในการพัฒนาเด็กเครือข่ายนิเวศสามเพื่อเด็กและครอบครัวจังหวัดสตูล โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนได้ร่วมกิจกรรมเครือข่ายนิเวศ 3 ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย กับท้องถิ่นในจังหวัดสตูล ภายใต้การร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ ที่ 11 ภายใต้การดูแลโครงการโดย กลุ่ม We are happy. องค์กรสาธารณประโยชน์ พร้อมด้วยนายกูดานัน หลังจิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบ กล่าวรายงาน ว่าที่ร้อยตรีสมพงศ์ นิติพิทักษ์ชน ท้องถิ่นจังหวัดสตูล ผอ.รพ.สต คุณสายใจ คงทน ประธานโครงการและแขกผู้มีเกียรติ

.

        สำหรับโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชุมแกนนำครู รวมทั้งตัวแทนผู้ปกครองผู้แทนชุมชน เพื่อแต่งตั้ง คณะทำงานและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน มีการประชุมอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี , สำรวจข้อมูลสถานการณ์ ของเด็ก ครอบครัว และชุมชน รวมทั้ง สภาพแวดล้อม ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ออกแบบ และบันทึกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ , เข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อสร้างสรรค์และพื้นที่สร้างสรรค์ , จัดกระบวนการถ่ายทอด ทักษะความรู้ให้กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และผู้ที่สนใจ เพื่อนครูร่วมกันเป็นคณะทำงานร่วมกัน , เกิดการเข้าร่วมครอบครัวสามดี (แกนนำ) ในชุมชนที่เข้าร่วมอย่างน้อย 10 ครอบครัว , ใน 1 ชุมชนต้องมีพื้นที่การเล่นกลางอย่างน้อย 1 พื้นที่และมีท้องถิ่นและหน่วยงานที่เข้าร่วมจัดนิทัศการ และการนำเสนอสื่อในการพัฒนาเด็ก

         นอกจากนี้มีหน่วยงานที่ร่วมทำ MOU จำนวน 13 แห่ง ดังนี้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เครือข่ายนิเวศสามดีเพื่อเด็กและครอบครัวจังหวัดสตูล อบต.บ้านควน ฉลุง อบต.ควนโพธ์ อบต.ต้นหยงโป อบต.เจะบิลัง อบต. ตำมะลัง อบต.เก-ตรี อบต.ย่านชื่อ อบต.แป-ระ อบต.ละงู เทศบาลตำบลคลองขุด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ทั้งนี้หน่วยงานจะประสานความร่วมมือระหว่างกันและจะสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจน ติดตามผลการประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นระยะต่อไป บันทึกข้อตกลงนี้จัดทำขึ้นเป็น 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน และทั้งสองฝ่ายได้อ่านทำความเข้าใจตามข้อตกลงโดยละเอียดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน และต่างฝ่าย ต่างยึดถือไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ ลงนามร่วมกัน ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2567

………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 ศรชล.สตูลจัดกิจกรรมสร้างความรู้ทางทะเล ปลูกฝังเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง 

ศรชล.สตูลจัดกิจกรรมสร้างความรู้ทางทะเล ปลูกฝังเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง

        ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 โดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล จัดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ทางทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในพื้นที่จังหวัดสตูล นายศักระ  กปิลกาญจน์ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล / ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล มอบหมายให้ นาวาเอกรัฐพล  แก้วกระจาย หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ทางทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในพื้นที่จังหวัดสตูล ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ให้กับบุคลากรทางการศึกษา และเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวน 50 คน

         ทั้งนี้กิจกรรม “สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” ศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการในการรักษาระบบนิเวศรวมถึงอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในทะเลจังหวัดสตูลและทะเลอันดามันให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยให้เยาวชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในท้องถิ่นของตนพร้อมที่จะเป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ทางด้านนิเวศวิทยานับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการอนุรักษ์รวมถึงเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนจึงได้จัดกิจกรรม “สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศรวมถึงฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในทะเลอันดามัน

………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 นักเรียนสตูล 350 คน ร่วมงาน คมนาคมปลอดภัย ใต้ร่มพระบารมี “DLT Kids on the road” เรียนรู้ 6 ฐาน ด้านความปลอดภัยทางถนน

นักเรียนสตูล 350 คน ร่วมงาน คมนาคมปลอดภัย ใต้ร่มพระบารมี “DLT Kids on the road” เรียนรู้ 6 ฐาน ด้านความปลอดภัยทางถนน

          วันที่ 9 ก.ย. 67 ที่หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล นายชัยวุฒิ บัวทอง ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดงานคมนาคมปลอดภัย ใต้ร่มพระบารมี “DLT Kids on the road” ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนแก่เด็กและเยาวชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล นายเทพฤทธิ์ แก้วสุวรรณ์ ขนส่งจังหวัดสตูล พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และนักเรียน เข้าร่วมงานจำนวนมาก พร้อมร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลและถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และชมนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพในด้านการคมนาคมขนส่ง

            สำหรับการจัดงานในวันนี้ สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยะภาพด้านคมนาคม และนิทรรศการด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และสำนักงานขนส่งจังหวัด ทั้งยังมีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนน จำนวน 6 ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานการข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย , ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการเอาตัวรอดและช่วยเหลือตนเองในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกนิรภัยและเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสนุกสนานกับกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ ทั้งการระบายสี การแสดงศิลปิน การตอบคำถามชิงรางวัลอีกด้วย

            ทั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนอนุบาลสตูล , โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสตูลสันตยาราม) ,โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหัวทาง) , โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านศาลากันตง) , โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล และโรงเรียนบ้านคลองขุด ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 350 คน กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและมีวินัย นำไปสู่การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
……………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ท้องถิ่น-การเมือง เยาวชน-การศึกษา

 ชาวบ้านเขาขาวนำไก่ตัวโปรดร่วมแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน ในงานยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ สร้างสีสันต์ในชุมชน 

สตูล_ชาวบ้านเขาขาวนำไก่ตัวโปรดร่วมแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน ในงานยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ สร้างสีสันต์ในชุมชน

สิ้นเสียงนกหวีดดัง เจ้าของไก่แจ้พันธุ์พื้นเมืองต่างส่งเสียงและท่าทางสนุกสนาน ส่งสัญญานให้ไก่ตัวโปรดขันร้อง เพื่อเรียกคะแนน ภายในสนามแข่งขันประชันเสียงไก่แจ้ โดยสนามนี้มีผู้ร่วมแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม แข่งขันกัน 4 ยก ยกละ1 นาที ขันให้ได้รวม 8 ดอก หรือ ขัน 8 ครั้ง จะเป็นผู้ชนะ โดยนายเพิ่ม ตรีสุข เจ้าของไก่ชื่อ จะโก้ย หรือ ปาต้องโก๋ ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ รับรางวัลที่เงินสด 500 บาท

ด้านนายอำสัน ตรีสุข อายุ 52 ปี ผู้จัดการแข่งขัน กล่าวว่า การแข่งขันประชันเสียงไก่ขัน มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตำบลเขาขาวแต่ได้หยุดไปช่วงโควิดระยะหนึ่ง ก่อนมาจัดขึ้นอีกครั้งเพื่อความสนุกสนานเป็นการอนุรักษ์ไก่แจ้ไว้ ซึ่งการแข่งขันนี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในพื้นที่เขาขาวมานาน โดยไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมือง ที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์สวยงามอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นเวลานาน บางคนเลี้ยงไว้ดูเล่น

สำหรับการแข่งขันประชันเสียงไก่ขันเป็น 1 ในกิจกรรม ภายในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ (เทศกาลตำข้าวเม่า ปี 2) ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 สิงหาคม 2567 ณ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล โดยนายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นายวรวุฒิ ปาละสัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว นายจักรพรรณ วัลแอ เลขาธิการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ , ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สตูล ส่วนราชการเข้าร่วม พร้อมมอบรางวัลการประชันเสียงไก่ขันในเวทีนี้

    

ผศ.ดร.วัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า ภายในงานเทศกาลต่ำข้าวเม่า ปี 2 “โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนต้นแบบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ประเพณีท้องถิ่นชุมชนเขาขาว และจัดงานเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นและการประกวดธิดาข้าวเม่าชุมชนเขาขาว ปีที่ 2” โดยภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประภาคการศึกษา ที่ได้ผนึกกำลังกันเพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาขาขาวมาจัดแสดงและประชาสัมพันธ์พื้นที่ให้คนภายนอก ได้รับรู้ผ่านการจัดงานเทศาล

การนำเอาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทในเชิงลึก นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของประชาชน เฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการรวมตัวของประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา เป็นพลังสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาศในสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินการของภาครัฐในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับชุมชนท้องถิ่นและเชิงพื้นที่ ถือเป็นการวางแผนที่เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับชุมชนแหล่งท่องเที่ยว การนำทุนทางศิลปวัฒนธรรมมาสร้างให้เกิดมูลค่าและคุณค่าใหม่ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนในทุกระดับเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนา เป็นการสร้างพื้นที่สร้างความเข้าใจและยอมรับถึงคุณค่า และสร้างเป้าหมายหรือร่วมอย่างสร้างสรรค์
………………………

   

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 สตูล-ดึงนักศึกษาชายแดนใต้ มีส่วนร่วม จัดงานกิจกรรมท่องเที่ยว  SKRU Camping สุดชิคใน ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล แคมป์ปิ้ง วัฒนธรรมรำมโนราห์ตัวอ่อน 

สตูล-ดึงนักศึกษาชายแดนใต้ มีส่วนร่วม จัดงานกิจกรรมท่องเที่ยว  SKRU Camping สุดชิคใน ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล แคมป์ปิ้ง วัฒนธรรมรำมโนราห์ตัวอ่อน 

         ผศ.ดร.อนุมัติ  เดชนะ  รองอธิการบดี ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล พร้อมด้วย  อาจารย์ ดร.ทวีสินธุ์  ตั้งเซ่ง  ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตสตูล   เปิดเผยว่า ทางราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล นำร่องกิจกรรมแคมป์ปิ้ง พักเต้น เน้นของชุมชน ชูลานวัฒนธรรมศิลปะภาคใต้ ดันกิจกรรมนักศึกษา ในพื้นที่ชายแดนใต้ ภายใต้งานโครงการ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานการเรียนรู้ โคก หนอง นา  โมเดล เชื่อมรูปแบบแคมปิ้ง  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล  โดยนายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานในพิธีเปิด

 

         บรรยากาศภายในงานมีลานกิจกรรมที่นำการแสดงของเด็กๆนักศึกษาที่เป็นเด็กในพื้นที่ได้มาเรียนกันที่นี่  รวมทั้งจัดเวทีการแสดงออกการร้องเพลง และการร่ายรำศิลปวัฒนธรรม รำมโนราห์ตัวอ่อนเป็นการเปิดพื้นที่ดีๆการกล้าแสดงออก นอกจากนี้มีการขายของจากสินค้า อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในพื้นที่นำมาวางขาย และ มีจุดลานกางเตนท์  แคมป์ปิ้ง และมีคาเฟ่กิจรรมมาจัดโชว์ทั้งรถเก่า  ขี่ม้ารอบมหาวิทยาลัย 

 

         ด้าน ผศ.ดร.อนุมัติ  เดชนะ  รองอธิการบดี ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นการนำร่องจัดงานครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า SKRU Camping สุดชิคใน ม.ราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล บรรยากาศการตั้งแคมป์ปิ้งในมหาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล  ซึ่งเป็น 1 กิจกรรมในโครงการศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมขนอย่างยั่งยืน ที่คณะอาจารย์จัดขึ้น  จัดเพียง 1 วัน การนำร่องปีนี้โดยปีหน้าดึงหลายภาคส่วนมาร่วมจัดงานใหญ่กว่าเดิม

 

          การจัดงานและสัมมนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานการเรียนรู้โคกหนองนาโมเดลเชื่อมโยงรูปแบบแคมป์ปิ้งและลานกิจกรรมวัฒนธรรมของนักศึกษาซึ่งจังหวัดสตูลเองนั้น  ทางจังหวัดก็มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนตลอดมา  ซึ่งกิจกรรมนี้ก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอยู่แล้วนั้น  การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน  พร้อมทั้งเป็นการสื่อให้เห็นถึงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นแคมป์ปิ้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกิจกรรมวัฒนธรรมและการนำเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างดึกสตูลร่วมมีกิจกรรมถือเป็นเรื่องที่ดีและในรูปแบบแคมป์ปิ้งพร้อมกับเป็นการนำอาหารพื้นถิ่นขนมอร่อยของชุมชนมาชูโรงพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนมีรายได้ต่อไป

      ……………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  และวิทยากรอาสาสมัครการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเครือเจริญโภคภัณฑ์ติดความรู้เยาวชน  คืนชีวิตด้วย CPR

สตูล- มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  และวิทยากรอาสาสมัครการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเครือเจริญโภคภัณฑ์ติดความรู้เยาวชน  คืนชีวิตด้วย CPR

        นักเรียน 240 คน จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล  กำลังฝึกการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง หรือ ซีพีอาร์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

 

         โดยกิจกรรมในครั้งนี้มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และวิทยากรอาสาสมัครการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้ามาสนับสนุนต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 14 และในครั้งนี้มีนักเรียนเข้ารับการอบรมจำนวน  240 คน  เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนมีจิตอาสา มีทักษะและความมั่นใจ ในการทำ ซีพีอาร์และการใช้เครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุหมดสติ  ไม่หายใจ และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ให้ทันเวลาภายใน  4 นาที 

 

         ทักษะเบื้องต้นนี้ยังเป็นการคืนชีพกลับมาด้วยสภาวะสมองไม่ได้รับการเสียหายจากการขาดออกซิเจน  สามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ต่อไปได้  และเพื่อสร้างเสริมคุณธรรมและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการดำรงชีวิตของคนไทยอีกด้วย

          นายรัชนนท์  เพ็งแก้ว  อายุ 17 ปี ม.6  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล  บอกว่า  ขั้นตอนการช่วยชีวิต เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่ทราบเวลา หากมีความรู้ติดตัวไว้สามารถช่วยคนในสังคมและคนใกล้ตัวได้ โดยได้มีการสอนเช็คการหายใจอยู่หรือไม่ หากไม่ได้สอนให้มีการปั๊ม CPR

 

            นางปุณฑริกา  ลินฮาท  ผู้ชำนาญการอาวุโสสำนักบริหารโครงการพิเศษเครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า  มุ่งหวังว่าจะเผยแพร่การช่วยชีวิต การใช้เครื่องมือ โดยคำนึงถึงการช่วยเหลือหากเจอคนหัวใจหยุดเต้น ประชาชนคนแรกที่อยู่ใกล้ชิดผู้ประสบเหตุจะเป็นคนแรกที่คืนชีวิตให้กับเขาได้ ฉะนั้นในการ CPR จะต้องมีการเรียน และฝึกปฏิบัติที่ถูกต้องและชำนาญจะได้ช่วยชีวิตพวกเขาได้ เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงทำโครงการนี้มาเพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ และมีทักษะ ปั๊มหัวใจอย่างถูกต้องและรอดปลอดภัย

……………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 สตูลปั้นเชฟตัวน้อย ต่อยอดอาชีพให้โรงเรียนขยายโอกาส

สตูลปั้นเชฟตัวน้อย ต่อยอดอาชีพให้โรงเรียนขยายโอกาส

         ขนมโดนัทหลากหลายสีสันที่ชวนให้รับประทานและขนมไทยเหล่านี้เป็นฝีมือของน้องๆนักเรียนที่โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง หมู่ที่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล  ที่เด็กๆทุกคนเข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพได้ช่วยกันทำออกมา  เพื่อเป็นอาหารว่าง ส่งขายสหกรณ์โรงเรียน  และตามออเดอร์สั่ง  โดยมีคุณครูช่วยเป็นพี่เลี้ยง

          โดยน้องๆบอกว่าโดนัทจิ๋วมีส่วนผสมไม่มาก อาทิ  แป้งเค้ก  ไข่ไก่  น้ำตาลทราย  นมจืด   ผงฟู   เกลือ เป็นต้น   เด็กๆพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าชื่นชอบขนมชนิดนี้เนื่องจากมีสีสันสวยงามชวนรับประทาน  และสนุกกับการได้ตกแต่งหน้าตาของโดนัทจิ๋ว  นอกจากนี้ก็ยังมีการฝึกขนมไทยอย่างขนมลืมกลืน  น้ำเครื่องดื่มที่นิยมรับประทานกัน ทั้งชาเขียวชาเย็นและน้ำเก๊กฮวย   ทำเสริมเป็นชุดเบรคในห้องประชุมต่างๆ

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

         นางสาวสุพัชรี  ขำนุรักษ์  นักเรียน ชั้น ม.3  โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน  บอกว่า ชื่นชอบการทำขนมมาก อยากเปิดร้านคาเฟ่เป็นของตัวเอง อยากแต่งหน้าเค้กและทำเมนูที่มีลาวาไหลออกมาจากขนมโดยส่วนตัวก็ชื่นชอบทานขนมเหล่านี้ด้วย

         โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง  เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก  มีนักเรียนเพียง 140 คน การนำอาชีพมาฝึกสอนให้กับเด็ก ถือเป็นการฝึกทักษะและหาประสบการณ์ ให้กับเด็กที่ชื่นชอบและหลงรักในการทำอาหารและขนม ซึ่งได้มีการทำ MOU ร่วมกันกับวิทยาลัยเทคนิคสตูลในการเข้ามาฝึกสอนเสริมความรู้ให้  เพื่อให้เด็กได้รู้ตัวตนของตัวเองหากชื่นชอบจะได้มีการต่อยอดด้านการเรียนรู้  ในการสร้างงานและรายได้ต่อไป

        นางสาวนาฎนธี  ผิวเหลือง  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง  บอกว่า  เมนูอาหารว่าง  ทุกครั้งที่มีหน่วยงานมาดูงานที่โรงเรียนอยากโชว์ให้หน่วยงานที่สนใจ และหน่วยงานที่สนับสนุนได้เห็นว่ามีการพัฒนาฝีมือและสนับสนุนของน้องๆนักเรียน นอกจากจะเป็นการก่อให้เกิดรายได้ระหว่างเรียนแล้วเด็กสามารถนำไปต่อยอดเรียนต่อในสาขาอาชีพที่เขารักในด้านนี้ได้  เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนเพื่อจะได้ค้นหาตัวเองให้เจอ  และมีวิทยาลัยที่จะแนะนำเพื่อต่อยอดส่งเสริมด้านอาชีพต่อไป

          สำหรับหน่วยงานใดหรือองค์กรใดสนใจจะรับอาหารเบรคอุดหนุนนักเรียน  สามารถติดต่อได้ที่โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังโทร 088-789 4418 

……….