Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

 “รองประธานกมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ วิจารณ์แจกเงิน 1 หมื่น ไม่ยั่งยืน ชี้เหมือนให้ยาพาราคนเป็นมะเร็ง”

สตูล “รองประธานกมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ  วิจารณ์แจกเงิน 1 หมื่น ไม่ยั่งยืน ชี้เหมือนให้ยาพาราคนเป็นมะเร็ง”

         วันที่ 28 ก.ย.2567   ที่ร้านเดอบัวคาเฟ่ ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล  คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนางสาวชุติมา  คชพันธ์  รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ,นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ โฆษกคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ, นายพริษฐ์  วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน , นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน,นายสมชาติ เตชถาวรเจริญ ส.ส.เขต 1 ภูเก็ต และนางสาวศนิวาร บัวบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน

 

        ร่วมสัมมนาในหัวข้อ “โอกาส ศักยภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจ  เมืองชายแดนจังหวัดสตูล” พร้อมเชิญภาคเอกชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 14 หน่วยงานร่วมพูดคุย

 

          นางสาวชุติมา  คชพันธ์  รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ  กล่าวว่า  จังหวัดสตูลนับว่ามีศักยภาพมาก หลังจากได้เจอกับพี่น้องประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ  พบว่ายังสามารถที่ขยายเศรษฐกิจท้องถิ่นได้มากกว่านี้   พบว่านักท่องเที่ยวมาเลเซียสามารถที่จะเดินทางตรงมาถึงจังหวัดสตูลได้เลย  แทนที่จะรอนักท่องเที่ยวจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถเดินทางตรงเข้ามาที่เกาะแล้วก็ตรงมาที่จังหวัดสตูลได้เลย  นี่คือความโดดเด่นและความได้เปรียบ

 

         และยังพบว่าท้องถิ่นเองมีวิสาหกิจชุมชนมีผลิตภัณฑ์ชุมชนมากมาย ที่มีศักยภาพ ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะถูกกดทับเอาไว้  ไม่ได้แสดงศักยภาพให้เฉิดฉายมากเต็มที่  ฉะนั้นวันนี้ได้นำหน่วยงาน 14 หน่วยงาน มาพูดคุยกัน  รวมถึงพวกเราเองในฐานะ นักการเมือง จะนำเรื่องเหล่านี้ไปผลักดันต่อในสภาให้   และสิ่งที่ได้วันนี้เชื่อว่าภาคประชาชนจะเติบโตขึ้น ที่แน่ ๆ เลยก็คือประชาชนจะเห็นภาพมากขึ้น จะพบว่าจริง ๆ แล้วเขาสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ ถ้าประชาชนสามารถเข้มแข็งกว่านี้ได้  ที่อยากช่วยให้สตูลเติบโตกว่านี้ได้ ในหน่วยงานราชการเอง

 

        รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ  กล่าวว่า  วันนี้พบว่าเราเป็นคนกลาง ให้เกิดความใกล้ชิดกันมากขึ้น ภาคราชการและภาคประชาชน แล้วจากนี้การทำงานก็จะได้ใกล้ชิดกันมากกว่าเดิม และที่แน่ ๆ หลังจากที่ได้ข้อมูลไปในวันนี้ เรามองว่าเวลาเปิดปิดด่านชายแดน  ที่จะต้องไปหารือกันต่อพบว่ามีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเข้ามาเยอะขึ้น แต่พบว่าเวลาปิดการแค่ 6 โมงเย็น อันนี้คือปัญหา ทำให้เกิดข้อจำกัดนักท่องเที่ยวจะคิดว่าจะทันไหมในการเดินทางไปกลับ ในขณะที่ฝั่งมาเลเซียปิด 20:00 น

 

        จะเห็นว่านี่คืออุปสรรคอันนึง ที่จะจูงใจนักท่องเที่ยวคงจะต้องไปคุยกันในประเด็นนี้ อีกเรื่องนึง นอกจากเรื่องด่านก็คือเรื่องของสถานที่  พบว่าด่านที่เคยมีอยู่ในตัวเมืองสตูล ไปตั้งอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ กลายเป็นว่านักท่องเที่ยวมาเลเซียตรงไปที่เกาะ ไม่ได้เข้ามาในตัวเมืองสตูล เลยทำให้ตัวเมืองสตูลเงียบเหงา เมื่อเงียบแบบนี้ผู้ประกอบการในตัวเมืองก็จะเดือดร้อน เรื่องนี้คงต้องมานั่งทบทวนกัน ในประเด็นของสถานที่และเวลา เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในตัวเมืองมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะไปปฏิบัติต่อในสภา

 

         นางสาวชุติมา  คชพันธ์  รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ  กล่าวถึงประเด็นการแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล  พบว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงชั่วคราว มันเหมือนคนป่วยเป็นมะเร็งแต่ให้กินยาพารา  ยาพาราไม่ได้รักษาโรคร้ายได้อยู่แล้ว ก็จะได้ในช่วงนี้  ส่วนตัวคิดว่า เดือน 2 เดือนนี้หรืออาจจะไม่ถึงด้วยซ้ำ  จะเห็นได้ว่าช่วงนี้ทุกคนจับจ่ายกันมากขึ้น  ไม่กี่วันก็จะหมดไป  ถ้าเป็นกราฟก็จะขึ้นดิ่งแล้วก็ลงทันที  สิ่งที่เราต้องการจะเห็นก็คือความยั่งยืน  ระยะยาว  สิ่งที่พรรคประชาชนคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจ จะทำและมองว่า อยากจะเป็นเครื่องมือให้ประชาชนทำมาหากินได้ รู้วิธีจับปลาไม่ใช่เอาปลาไปเป็นตัวๆ ทำแกงส้มมื้อหนึ่งก็หมดแล้ว สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือเอาปลาเป็นตัวๆไปให้กิน กินหมดก็จบ หลังจากนี้ล่ะก็จะอดกันต่อเหรอ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นแบบนี้ อยากให้มองระยะยาวมากกว่า

 

         สุดท้ายอยากจะบอกประชาชนว่าไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจท้องถิ่น หรือเศรษฐกิจมหภาคก็ตาม อยากให้ทุกคนเชื่อมั่นในอำนาจของประชาชน ประชาชนสามารถทำอะไรก็ได้ที่อยากจะทำ ประชาชนมีศักยภาพ จังหวัดสตูลไปจังหวัดเล็กๆที่ทุกคนได้ลืมมาอย่างยาวนานมาก เราเองให้ความสำคัญกับจังหวัดสตูล เชื่อว่าเศรษฐกิจท้องถิ่นดีได้หากทุกคนเชื่อมั่น ภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง ถ้าอุตสาหกรรมต้องเข้มแข็ง ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นดีชุมชนดีเศรษฐกิจภาพใหญ่มหัพภาค ก็จะดีตาม จะช่วยให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศดีได้

…………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

ชาวเกาะแห่ถอนเงินหมื่นกลัวสิทธิ์จะหายไป  ทำให้บรรยากาศแน่น ธ.ออมสิน  กว่า 300 คน  ตั้งใจนำเงินไปช่วยค่าเรียนบุตร  ซื้อข้าวสาร  ซ่อมเครื่องมือประมงและซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าบ้าน

ชาวเกาะแห่ถอนเงินหมื่นกลัวสิทธิ์จะหายไป  ทำให้บรรยากาศแน่น ธ.ออมสิน  กว่า 300 คน  ตั้งใจนำเงินไปช่วยค่าเรียนบุตร  ซื้อข้าวสาร  ซ่อมเครื่องมือประมงและซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าบ้าน

            วันที่ 26 ก.ย.2567  ที่ธนาคารออมสิน สาขาสตูล มีประชาชนกว่า 300 คน มารอรับเงิน 10,000 บาท  ตั้งแต่เช้าตรู่   หลายคนไม่มีบัตร ATM    โทรศัพท์มือถือ จึงต้องมารับเงินที่สาขาโดยตรง   ประชาชนหลายคนกังวลว่า  หากไม่มารับเงินวันนี้อาจจะเสียสิทธิ์ได้

            หลังรับเงิน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  จะนำไปซื้อข้าวสาร   เก็บไว้รักษาโรค    เป็นค่าเล่าเรียนบุตร    ซื้ออุปกรณ์ประมง เช่น อวน   ซ่อมแซมบ้านที่เสียหายจากพายุ  และ ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างเช่น พัดลม   

        นางรัตนา  หลีมุสา  อายุ 54 ปี  ชาวบ้านเกาะปูยู  หมู่ที่ 1  ตำบลปูยู  อำเภอเมืองสตูล บอกว่า ทันทีที่รู้คิวในการรับเงินหมื่น  ได้เดินทางขึ้นจากเกาะ  ตั้งแต่เมื่อวานนี้  แล้วมานอนบนฝั่งเพื่อมารอถอนเงินหมื่น  เพราะเกรงว่าจะมีคลื่นลมแรงทำให้เดินทามาในวันนี้ไม่ได้  อีกทั้งเรือมีเพียงเที่ยวเดียว  หากไม่รีบมาอาจจะต้องเหมาเรือมาเอง หรือรอในวันถัดไป   วันนี้ก็เดินทางมากับชาวบ้านบนเกาะด้วยกัน 10 กว่าคน

  ซึ่งเงินนี้  ตนตั้งใจว่าส่วนหนึ่งจะเอาไว้เป็นค่าเล่าเรียนบุตร และจะไปต่อยอดซื้ออวนทำอาชีพ เพราะถูกลมมรสุมพัดพังเสียหาย และซ่อมบ้านที่ถูกพายุพัดพัง รวมทั้งซื้อพัดลมซักหนึ่งตัวเพราะอยู่กับความร้อนมานาน  พอ ๆ กับรอเม็ดเงินนี้มานานเช่นกัน ชอบคุณรัฐบาลที่จัดสรรเงินให้

ขณะที่ นายอนันต์   มาลัยสนั่น   ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาสตูล  บอกว่า

ในช่วงนี้ลูกค้าจะแน่เกือบทุกวัน และแนวทางการให้บริการ เบิกถอนรับไม่จำกัดจำนวน ส่วนขั้นตอนการเปิดบัญชีที่ค่อนข้างใช้เวลาจะรับจำนวนจำกัด ซึ่งลูกค้าที่มีเงินเข้าแล้วไม่ต้องกังวลว่าเงินจะหายไปไหน ยังคงอยู่ในบัญชี สามารถมาเบิกถอนในวันถัดไปได้ และหากใช้บริการทางแอปในลูกค้าที่มีความสามารถก็จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการถอนได้

………………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

ชาวเกาะสตูลยอมรับ เงินดิจิตอลคือความหวัง ต่อชีวิตและอาชีพ หลังมรสุมสร้างความเสียทั้งบ้านและเครื่องมือยังชีพ

ชาวเกาะสตูลยอมรับ เงินดิจิตอลคือความหวัง ต่อชีวิตและอาชีพ หลังมรสุมสร้างความเสียทั้งบ้านและเครื่องมือยังชีพ

          25 ก.ย.2567  เม็ดเงินดิจิตอลเป็นความหวังของชาวบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล ด้วยภัยธรรมชาติทั้งวาตภัยและอุทกภัย  ทำให้ชาวบ้านมีความต้องการที่จะต้องใช้เงินในการจัดหาเครื่องมือประมงใหม่ที่หายไปกับกระแสน้ำ  และซ่อมแซมเรือเพื่อให้กลับมาทำมาหากินได้เหมือนเดิม เช่นเดียวกับบ้านเรือนที่เสียหายหลายหลังในบ้านที่อยู่ติดริมทะเล  ต้องใช้เงินในการซ่อมแซม และซื้อสิ่งของจำเป็นมาใช้ในชีวิตประจำวัน

          ทำให้เงินดิจิตอลที่พวกเขาหวังจะนำไปซื้อสิ่งของเหล่านี้  นอกเหนือจากภาครัฐที่เข้ามาเยียวยาเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ในการต่อชีวิตและลมหายใจในยามที่ประสบภัยได้

 

          นายรอหมาด (บังแมว) ดาเด็น   ชาวบ้านหมู่ที่ 1 บ้านตันหยงอุมา ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง  จ.สตูล  บอกว่า  เงินดิจิตอลจะนำไปซื้ออวนลอยกุ้งปลาใหม่ ที่เสียหายจากคลื่นพายุที่พัดหายไปในช่วงมรสุมเข้าที่ผ่านมา และจะนำไปซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อประทังชีพ  ถือว่าเป็นเงินที่มาช่วยต่อชีวิตได้มากยามที่มีภัยพิบัติเข้ามาพอดี

         ขณะที่นางสาวเรณู   ยะนะ   หมู่ที่ 3 บ้านตันหยงกลิง ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง  จ.สตูล   บอกว่า เงินนี้จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีคนแก่ที่รอความช่วยเหลืออยู่เพราะที่ผ่านมา มรสุมเข้าทำให้ไม่สามารถออกเรือหาปลา ทำมาหากินได้นานร่วม 20 วันเงินนี้จะนำไปซื้อข้าวสารอาหารแห้ง และซ่อมแซมเครื่องมือประมง

………………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ตำรวจน้ำสตูล ปล่อยแถว เปิดยุทธการฝั่งอันดามัน  มุ่งเน้นปราบปรามสิ่งผิดกฎหมายทางน้ำ

ตำรวจน้ำสตูล ปล่อยแถว เปิดยุทธการฝั่งอันดามัน  มุ่งเน้นปราบปรามสิ่งผิดกฎหมายทางน้ำ

        ตามที่ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้กำหนดให้หน่วยต่างๆในปกครองดำเนินการตาม Action Plan ของแต่ละหน่วยนั้น กองบังคับการตำรวจน้ำ ได้กำหนดมาตรการ “ยุทธการฝั่งอันดามัน” โดยปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกๆเดือน สำหรับเดือน กันยายน 2567 มอบหมายให้ปล่อยแถว  ระดมกวาดล้างอาชญากรรม โดยให้สอดคล้อง กับภารกิจระดมกวาดล้างอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ กองบัญชาการตำรวจสอบสวน กลาง ซึ่งได้กำหนดให้ปฏิบัติในห้วงวันที่ 20 ถึงวันที่ 30 หรือวันที่ 31 ของทุกเดือน

            ว่าที่ พันตำรวจเอก กมลศักดิ์ วันผดุง ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจน้ำ ได้สั่งการให้หน่วยในสังกัดทั้ง 3 สถานี จัดพิธีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน โดย มอบหมายให้ พันตำรวจโท บรรเจิด มานะเวช รอง ผกก.9 บก.รน. เป็นประธานปล่อยแถวหน่วยตำรวจน้ำสตูล  พร้อมชี้แจงการกิจข้อราชการต่างๆพร้อมทั้งแนะนำ กำชับรายละเอียดต่างๆในการปฏิบัติทั้งใน ส่วนฝ่ายอำนวยการ และในส่วนฝ่ายปฏิบัติการ สำหรับการระดมกวาดล้างอาชญากรรมตาม “ยุทธการ ฝั่งอันดามัน” ในครั้งนี้ มุ่งเน้นปราบปรามกลุ่มเป้าหมายทางน้ำ และเป้าหมายเฉพาะทางของหน่วย เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การค้ามนุษย์ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ การลักลอบขนส่ง สินค้าหนีภาษี ความผิดด้านการทำประมง เป็นต้น โดยกำหนดให้ดำเนินการอย่างน้อย 7 วัน

……………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

“ผู้ว่าฯ สตูล นำทีมขับเคลื่อน ‘สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน’ พร้อมสร้างความเข้าใจนโยบายสำคัญแก่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์” 

“ผู้ว่าฯ สตูล นำทีมขับเคลื่อน ‘สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน’ พร้อมสร้างความเข้าใจนโยบายสำคัญแก่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์” 

          (24 ก.ย.2567) ที่เพอร์เฟครูม รีสอร์ท อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล จัดกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการขับเคลื่อนจังหวัดสตูล สู่เป้าหมาย “สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน” ตามโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายสำคัญและทิศทางการพัฒนาจังหวัดสตูล ประจำปี 2567 โดยมีนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานกล่าวพบปะพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนจังหวัดสตูล พร้อมด้วยนายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชนจังหวัดสตูล ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ ผู้สื่อข่าววิทยุ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลางและท้องถิ่น ผู้ดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง แอดมินเพจ และเครือข่ายประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน

 

         สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล ในฐานะหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่หลักในการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสุข  ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยสื่อวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโททัศน์  สื่อโซเชียลและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน  เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล ได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและนโยบายทิศทางการพัฒนาจังหวัดสตูล  ให้กับสื่อมวลชลทุกแขนงและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ได้รับทราบและนำข้อมูลข่าวสารนำเสนอในสื่อที่รับผิดชอบ  เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสตูล ได้รับรู้ เข้าใจ นำใช้ประโยชน์ มีส่วนร่วมการดำเนินงานการพัฒนาจังหวัดสตูล ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา “สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน” และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนนอกพื้นที่ได้รับทราบ อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้จังหวัดสตูล

         ทั้งนี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล จัดกิจกรรมในใครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายภาครัฐ และทิศทางการพัฒนาจังหวัดสตูล และรับทราบผลการดำเนินงานภาครัฐ ผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการของจังหวัดสตูลในรอบปีที่ผ่านมาและเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งภายในกิจกรรมได้รับเกียรติจากวิทยากร ประกอบด้วย นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล นายชวรณ สุธาพานิชย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล นางสาวพัชรี เกิดพรม ประธานเครือข่ายผู้ผลิตข่าวสตูล มาร่วมเสวนาพบปะพูดคุยให้ข้อมูล โดยมีนางสาวอัญชกุล ศรีทัพ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสตูล เป็นผู้ดำเนินการฯ พร้อมกันนี้มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดสตูลมาร่วมพบปะพูดคุยอีกด้วย

…………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ร่องรอยความเสียหายหลังคลื่นลมสงบ  ชาวบ้าน ต.เกาะสาหร่าย ยังคงเสียขวัญ กับเหตุการณ์ วาตภัยและน้ำท่วม หลังคลื่นลมถล่มพังบ้านเรือนยกหลัง  และเรือได้รับความเสียหาย

ร่องรอยความเสียหายหลังคลื่นลมสงบ  ชาวบ้าน ต.เกาะสาหร่าย ยังคงเสียขวัญ กับเหตุการณ์ วาตภัยและน้ำท่วม หลังคลื่นลมถล่มพังบ้านเรือนยกหลัง  และเรือได้รับความเสียหาย

          ทันทีที่ฟ้าในทะเลเปิด  นายมานิตย์  บริพันธ์   นายอำเภอเมืองสตูล  ลงตรวจเยี่ยมให้ขวัญและกำลังใจชาวบ้าน หมู่ที่ 1 บ้านตันหยงอุมา ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล  ที่ได้รับอุทกภัยและวาตภัย จากคลื่นพายุฝน  ลมแรง  จนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย  บ้างก็ทั้งหลัง  โดยคลื่นลมได้ซัดพังจนไม่เหลือสภาพบ้าน สร้างความตกใจและเสียขวัญ  สำหรับชาวบ้านในครั้งนี้เป็นอย่างมาก  เพราะไม่เคยเกิดคลื่นหนักลักษณะนี้มาก่อน   บางคนแอบคิดว่า  นี่อาจจะเป็นน้องๆ ของสึนามิหรือไม่ 

 

           นายมีน  หลงสะหลำ  โต๊ะอิหม่ามตำบลเกาะสาหร่าย  ซึ่งบ้านถูกคลื่นลมซัดจนพัง  บอกว่า  บ้านของตนวันเกิดเหตุต้องหนีไปนอนที่มัสยิด เพราะสภาพบ้านไม่สามารถอยู่อาศัยต่อไปได้  สิ่งของเครื่องใช้หม้อหุงข้าว พัดลม เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายไปกับน้ำ  คลื่นมาแรงมากหนักนานอยู่ 2-3 วัน

 

          ส่วนเครื่องมือหากินของชาวบ้าน  อย่างเรือประมง  ทันทีที่คลื่นลมสงบต่างเร่งรีบซ่อมแซม  เพื่อให้ทันออกเรือไปหากิน  หลังไม่สามารถออกทำกินได้นานร่วม 2 สัปดาห์แล้ว  จากปัญหาคลื่นลมแรง  

         และเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาปากท้อง  นายศักระ  กปิลกาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้มอบหมายให้นายอำเภอเมืองสตูล  นำถุงยังชีพจากสภากาชาดไทย  เข้าช่วยเหลือเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน  และให้  อบต.เกาะสาหร่าย  เร่งสำรวจซ่อมแซมบ้านเรือน  ให้ชาวบ้านได้กลับมาอาศัยได้เช่นเดิม พร้อมเปิดโรงครัวปรุงอาหารสด ๆ ให้ชาวบ้านที่ประสบภัยได้ทานกัน  โดยเมนูครั้งนี้คือ แกงไก่ไข่ดาว

 

          สำหรับตำบลเกาะสาหร่าย  อำเภอเมืองสตูล   มีผู้เดือดร้อนรับผลกระทบจากวาตภัย 8 หมู่บ้าน จำนวน 219 ครัวเรือน   และ  อุทกภัย 2 หมู่บ้าน 270 ครัวเรือน 

 

          ภาพรวมของเขตอำเภอเมืองสตูล อุทกภัย  จำนวน 10 ตำบล 54 หมู่บ้าน 8 ชุมชน จำนวนประชากร 8,475 ครัววเรือน   และวาตภัย  ( หมายเหตุ บนเกาะ และบนฝั่ง ) จำนวน 11 ตำบล  57 หมู่บ้าน  5 ชุมชน  จำนวน 497 ครัวเรือน รวมประชากรที่ประสบภัยพิบัติ (อุกภัย -วาตภัย)  จำนวน 8,973 ครัวเรือน

…………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

พ่อเมืองสตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ เข้าแถวเคารพธงชาติ เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2567

พ่อเมืองสตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ เข้าแถวเคารพธงชาติ เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2567

          วันนี้ (24 ก.ย. 67) เวลา 08.00 น. นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2567 โดยร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) รวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย เมื่อปี 2460

         สำหรับธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติของประเทศไทย มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่า “ธงไตรรงค์” (ไตร = สาม, รงค์ = สี) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) แทนธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 และใช้เป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน

…………………………

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลคลื่นลมทะเลยังมีกำลังแรง  ความช่วยเหลือยังคงหลั่งไหลเข้าช่วยเหลือชาวเกาะ  สถานการณ์น้ำท่วมทันที่ลดทหารช่วยขนของลงจากที่สูงทำความสะอาดบ้านเรือนแล้ว

สตูลคลื่นลมทะเลยังมีกำลังแรง  ความช่วยเหลือยังคงหลั่งไหลเข้าช่วยเหลือชาวเกาะ  สถานการณ์น้ำท่วมทันที่ลดทหารช่วยขนของลงจากที่สูงทำความสะอาดบ้านเรือนแล้ว

         สถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว  สิ่งของที่อยู่บนที่สูงทาง ทหารเรือหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะหลีเป๊ะ หรือ   นรภ.ทร.เกาะหลีเป๊ะ และ สน.เรือละงู จัดกำลังพลเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูทำความสะอาดคราบโคลนสกปรก และยกสิ่งของกลับที่เดิม ภายหลังระดับน้ำลดลงกลับสู่ภาวะปกติ  ให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลตำบลกำแพง อ.ละงู จ.สตูล

 

          ขณะที่นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และ ทพญ.สุกีรติ กปิลกาญจน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ยังคงทยอยส่งความช่วยเหลือให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามเกาะแก่ง  ด้วยการส่งมอบถุงยังชีพของสภากาชาดไทย และของ อปท. ส่งมอบให้กองทัพเรือ โดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.สตูล) ที่สนับสนุนเรือพร้อมกำลังพลทหาร และเรือขนส่งสินค้า (คาร์โก้) ในการขนส่งถุงยังชีพ น้ำดื่ม

 

          ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยซึ่งอาศัยตามเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะสาหร่าย เกาะปูยู และเกาะบุโหลน ซึ่งประสบภัย วาตภัย คลื่นลมแรง ได้รับความเดือดร้อน บ้านเรือนเสียหาย และไม่สามารถออกเรือได้

          โดยจังหวัดสตูลได้รับการสนับสนุนถุงยังชีพจากสภากาชาดไทย ผ่านแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” และถุงยังชีพของ อปท. ส่วนบ้านเรือนที่เสียหายจากวาตภัย อปท.ได้สำรวจความเสียหาย และจะได้ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ต่อไป ในการนี้ นางสาววาสิฏฐี สาระพงศ์ รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ได้สนับสนุนรถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยพร้อมเจ้าหน้าที่ บรรทุกถุงยังชีพ และน้ำดื่ม จำนวน 4,000 ขวด ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวด้วย

 

          สำหรับสถานการณ์คลื่นลมในวันนี้ที่ทะเลอันดามัน จ.สตูล เริ่มเบาบางลงแล้วแต่ชาวประมงเรือเล็กยังคงงดเดินเรือ เพราะห่างฝั่งยังมีคลื่นลมแรง  ควรติดตามการรายงานสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด

……………………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูล..ชาวเลเกาะบุโหลนขนเด็ก ผู้หญิง  ทั้งหมู่บ้านช่วยกันขนเสบียงยังชีพทันทีที่  ศรชล.นำเรือรบหลวง ต.114 กองทัพเรือภาค 3  เทียบท่าฝ่าคลื่นยักษ์ช่วยชาวเกาะได้ 

สตูล..ชาวเลเกาะบุโหลนขนเด็ก ผู้หญิง  ทั้งหมู่บ้านช่วยกันขนเสบียงยังชีพทันทีที่  ศรชล.นำเรือรบหลวง ต.114 กองทัพเรือภาค 3  เทียบท่าฝ่าคลื่นยักษ์ช่วยชาวเกาะได้

          วันที่ 21 กันยายน 2567  คลื่นลูกใหญ่กลางทะเลสูงกว่า 3 เมตรทำให้ทีมช่วยเหลือชาวบ้านในการขนเสบียงยังชีพจาก ศรชล.จังหวัด และเรือรบหลวงต.114 กองทัพเรือภาคที่ 3 ต้องรอดูจังหวะสภาพอากาศเมื่อเว้นช่องว่างนำเรือขนถุงยังชีพ1,000 ชุด ออกทันทีมุ่งหน้าไปยังเกาะบุโหลนดอน และเกาะบุโหลนเล ที่มีชาวบ้านรอรับความช่วยเหลืออยู่ เนื่องจากคลื่นลมใหญ่ทำให้พวกเขาไม่สามารถออกเดินเรือไปหากินได้นาน 3-4 วันแล้วนั้น

           นาวาเอกแสนย์ไท  บัวเนียม  รองผอ.ศรชล.จ.สตูล ,นำทีมในการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้พร้อมนางสุภาพรรณ สุนทราชุน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล นายวรศิษฎ เลียงประสิทธิ์  สส.เขต  2  พร้อมด้วย นายโกเมศ จิตพิทักษ์  ส.อบจ.เขต4 จังหวัดสตูล ( สจ.หรั่ง ) ผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ 3 ตำบล  และตามเกาะแก่งในพื้นที่ อบต.ปากน้ำ   นายอนุเทพ อัลมาตร์ รอง นายอบต.ปากน้ำ  นายพรชัย อุสนี ส.อบต.ตำบลปากน้ำ

            ด้าน ร.อ.ทศพล พงศ์ไพศาลศรี  ผู้บังคับการเรือ ต 114  กล่าวว่า คลื่นสูงมาก หากนำเรือขนาดเล็กออกมา ก็จะยากลำบากเสี่ยงมาก  เรือ ต 114  มีลำขนาดใหญ่ ที่สามารถฝ่าคลื่นไปได้  จึงต้องรีบลำเลียงสิ่งของไปช่วยชาวเกาะที่รอความหวัง รออาหาร รอน้ำดื่มให้ทันเวลา   สำหรับการขนเสบียงลงไปช่วยเหลือในครั้งนี้ ได้นำทีมแพทย์ทหารลงมาด้วยหากชาวเกาะมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา  

 

           เรือรบหลวงต.114 ใช้เวลาวิ่งประเกือบ 1 ชั่วโมง ในระยะทาง 9 ไมล์ทะเล (ประมาณ 16 กิโลเมตร ) ในที่สุดต้องจอดลอยลำใกล้เกาะ และผู้นำชุมชนในพื้นที่บนเกาะนำเรือหัวโทง ( เรือหางยาว 2 ลำ ) วิ่งมาถ่ายถุงยังชีพเสบียงอาหารลงเรือเล็ก ท่ามกลางการรอคอยของชาวบ้านที่ขอเด็ก ผู้ใหญ่ และชายหญิงในหมู่บ้านมาตั้งแถวช่วยกันอย่างสามัคคีเพื่อให้เสบียงขึ้นฝั่งให้เร็วที่สุดก่อนที่คลื่นลูกใหญ่จะกลับมาอีกครั้ง

 

          ชาวเกาะบุโหลนดอน และเกาะบุโหลนเล อยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอลละงู จังหวัดสตูล ที่มีประชากรบนเกาะรอความช่วยเหลือถึงกว่า 500 ชีวิต

 ………………………………………………………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ชาวเกาะยังคงรอความช่วยเหลือ หลังคลื่นลมแรงเรือรบหลวงขนเสบียงยังไม่สามารถออกจากฝั่งได้   ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในอำเภอเมืองสตูลยังทรงตัว   ด้านพื้นที่ต้นน้ำอย่าง อ.ควนโดน ระดับหลายตำบลเริ่มแห้งแล้ว 

ชาวเกาะยังคงรอความช่วยเหลือ หลังคลื่นลมแรงเรือรบหลวงขนเสบียงยังไม่สามารถออกจากฝั่งได้   ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในอำเภอเมืองสตูลยังทรงตัว   ด้านพื้นที่ต้นน้ำอย่าง อ.ควนโดน ระดับหลายตำบลเริ่มแห้งแล้ว 

          วันที่ 21 ก.ย.2567  เรือรบหลวง ต. 114 กองทัพเรือภาคที่ 3  หลังทางจังหวัดสตูลได้ขนถุงยังชีพและยารักษาโรคจากกาชาดจังหวัดและอบต.ปากน้ำ  เพื่อไปช่วยเหลือชาวเลเมื่อวานนี้  ขณะนี้ทราบว่ายังไม่สามารถออกจากท่าเรือสถานีละงูได้  เนื่องจากสภาพอากาศและคลื่นลมที่แรงสูงกว่า 3 เมตร ทำให้ชะลอการเดินทางเข้าช่วยเหลือ เกาะบุโหลนดอนและบุโหลนเล   โดยทางนายศักระ  กปิลกาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  บอกว่าทันทีที่คลื่นลมเบาบางพร้อมออกเรือในทันทีโดยตอนนี้ถุงยังชีพทั้งหมดพร้อมบนเรือหมดแล้ว 

 

         ส่วนเกาะอื่น ๆ อย่างเกาะสาหร่าย เกาะยาว และเกาะหลีเป๊ะ  ถุงยังชีพบางส่วนถึงเกาะแล้วเนื่องจากเรือที่ไปส่งเสบียงยังไม่สามารถเดินทางกลับมารับเสบียงเพิ่มได้  โดยวันนี้พบว่าทันทีที่คลื่นลมเบาบางก็จะนำเรือออกส่งช่วยเหลือชาวบ้านเกาะในทันทีด้วยเช่นกัน 

 

          ด้าน พ.ต.ท.คำนึง อุ่นปลอด ผบ.ร้อย ตชด.436 มอบหมายให้ ร.ต.อ.อดิเทพ พัดลม หน.ชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมกำลังพล ร้อย ตชด.436    ออกสำรวจระดับน้ำหน้าฝายคลองชลประทานดุสน – มำบัง  พบว่ามีระดับน้ำลดลงอยู่ในระดับปกติ  นอกจากนี้ได้ออกสำรวจร่องความเสียหายพื้นที่ตำบลควนโดนพบว่าน้ำได้แล้งทั้งหมดแล้ว  นอกจากนี้กำลังเจ้าหน้าที่ได้เข้าช่วยชาวบ้าน  หมู่ที่ 1 ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล  ทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนประชาชนพื้นที่ต้นน้ำ  ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนน้ำท่วม

 

          ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ปลายน้ำอย่างตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล ชาวบ้านยังคงได้รับผลกระทบน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องระดับน้ำลดลงเพียงเล็กน้อย  ทางด้านนายสุนทร พรหมเมศร์   นายกเทศมนตรีตำบลคลองขุดพร้อมเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ฝ่ายปกครอง อำเภอเมืองสตูล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนำยารักษาโรค ถุงยังชีพเข้าช่วยเหลือบรรเทาทุกในซอยวาริน หมู่ที่ 7 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

 

          วันนี้ที่หอประชุมอำเภอละงู  นาวาโท ธนภูมิ ประทีป ผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ 452,เรือโท สุโภชน์ ทองย้อย รองผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ 452 ,  เรือหลวงมันนอก  เรือปฏิบัติติการทัพเรือภาคที่3  และกำลังพลชุดจิตอาสา  ช่วยกันแพคถุงยังชีพจาก  กาชาดภูมิภาค นำข้าวสารอาหารแห้งมาช่วยกันแพคจำนวน 800 ชุด  เพื่อแจกจ่ายช่วยชาวบ้านในอำเภอละงู  ที่ประสบภัยพิบัติทั้งพื้นที่เกาะและพื้นที่น้ำท่วม 

…………………………………

อัพเดทล่าสุด