Categories
ข่าวทั่วไป

สตูลปล่อยพันธุ์หอยชักตีนกว่าแสนตัว หลังพบปริมาณลดลง หวังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล

สตูลปล่อยพันธุ์หอยชักตีนกว่าแสนตัว หลังพบปริมาณลดลง หวังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล

           ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสตูล พร้อมชาวบ้านในพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย   ได้ดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ประกอบด้วยพันธุ์หอยชักตีนมากกว่า 100,000 ตัว พร้อมพันธุ์กุ้งแชบ๊วย และแม่พันธุ์หอยชักตีนกว่า 10 กิโลกรัม ภายใต้โครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้าสู่การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล โดยมี ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล  หลังพบว่าพันธุ์หอยชักตีนได้มีปริมาณลดลงจากท้องทะเล  

          สัตว์น้ำทั้งหมดถูกลำเลียงจากท่าเทียบเรือทุ่งริ้น อ.ท่าแพ ไปยังอ่าวบากันใหญ่ เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประมงพื้นบ้าน หมู่ที่ 2 พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ อันเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลหายาก อาทิ พะยูน เต่า และโลมา

         อย่างไรก็ตาม นายดลฮอนี สุวาหลำ กำนันตำบลเกาะสาหร่าย เปิดเผยว่า พื้นที่อนุรักษ์ยังประสบปัญหาสำคัญ เนื่องจากขาดสัญลักษณ์แสดงแนวเขตที่ชัดเจนและคงทน ทำให้มีชาวประมงจากพื้นที่อื่นเข้ามาทำประมงและทำลายแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการคลาดปลิงทะเล

        “เราต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดทำแนวเขตที่คงทนถาวร เพราะที่ผ่านมาทุ่นแสดงแนวเขตมักชำรุดภายใน 2-3 ปี พื้นที่อนุรักษ์นี้เปรียบเสมือนหม้อข้าวของชาวบ้าน เพราะประชากรกว่า 90% ประกอบอาชีพประมง และที่นี่ถือเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดสตูล” นายดลฮอนีกล่าว

……………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

รองผู้ว่าฯ สตูลคนใหม่ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมสิริมงคล

รองผู้ว่าฯ สตูลคนใหม่ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมสิริมงคล

         วันที่ 20 ต.ค. 67  นางสาวดุษฎี พฤกษเศรษฐ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา เดินทางมาเข้ารับตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย และเพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ได้เดินทางเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อแก่ ณ วัดดุลยาราม ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จากนั้นเดินทางไปสักการะอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ ค่ายสมันตรัฐบุรินทร์ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล และเดินทางกราบสักการะศาลเขาโต๊ะหยงกง หรือศาลม้าขาว ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสตูล และจากนั้นเดินทางเข้าบ้านพักรองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล โดยมีหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสตูล นายอำเภอ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก

         โอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การต้อนรับและมาร่วมแสดงความยินดีอย่างอบอุ่น ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งที่จังหวัดสตูล ซึ่งตนตั้งใจมาทำงานให้กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสตูลอย่างเต็มความสามารถต่อไป

……………………………….
ภาพ / ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข / ปาลิน เกื้อมี

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สาวใหญ่สตูล ป่วยด้วยโรคประหลาด ขาบวมทั้งสองข้างต้องแบกติ่งเนื้อหนักกว่า 20 กิโลกรัม วอนช่วยรักษาให้หายขาด

สาวใหญ่สตูล ป่วยด้วยโรคประหลาด ขาบวมทั้งสองข้างต้องแบกติ่งเนื้อหนักกว่า 20 กิโลกรัม วอนช่วยรักษาให้หายขาด

           (21 ต.ค.2567) ที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ทีมข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าได้มีครอบครัวหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคร้ายต้องการความช่วยเหลือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง    จึงเดินทางไปที่บ้านเลขที่  37 หมู่ที่ 1 ตำบลกำแพง   พบนางวราภรณ์   เหล็มหา  อายุ 51 ปี (หากดูผิวเผินแทบไม่รู้ว่ามีอาการผิดปกติของร่างกาย) โดยเจ้าตัวบอกว่าตนเองที่ป่วยเป็นโรคบวมน้ำเหลือง โดยช่วงท่อนร่างของร่างกายตั้งแต่โคนขาอ่อนลงไปถึงหลังเท้าสูงมีอาการบวมน้ำเหลือง ติ่งเนื้อที่บวมออกมาข้างขาอ่อนที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกฟุตบอลทำให้นางวราภรณ์ ไม่สามารถสวมกางเกงชั้นในได้

            ทุกวันนี้ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เดินเหินไม่สะดวก ขาอ่อนที่บวมเป็นติ่งเนื้อใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนแบกก้อนน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ไว้ติดตัวด้วยตลอด  ทุกครั้งที่เดินเหมือนจะยักหลังหากไม่ระวังเพราะก้อนเนื้อที่บวมขนาดใหญ่จะรั้งไปด้านหลัง  ตอนนอนจะลำบาก นั่งก็ไม่เต็มเก้าอี้ อยากหายขาด อยากใช้ชีวิตให้เหมือนคนอื่น  แม้จะไม่หายขาดก็อยากให้มีอาการที่ดีกว่านี้ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยให้ตนได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

           โดยทางนางวราภรณ์  และครอบครัว ยอมรับว่า เคยเป็นคนไข้ของพระบรมฯเมื่อประมาณปี พ.ศ.2540  ได้รับการผ่าตัดแล้ว 4-5 ครั้งในขณะนั้น คิดว่าตัวเองหายแล้ว จึงขาดการติดต่อกลับไป อยากให้คนอื่นที่อาการหนักกว่าได้เข้ารับการรักษาบ้าง ในช่วงนั้นจึงแต่งงานและมีลูก ไม่คิดว่าอาการจะกลับมาเป็นอีก อาการเริ่มเป็นที่หัวเข่าข้างเดียวก่อนลามเป็นอีกข้างตอนนี้เริ่มเป็นแผล ต้องใช้ผ้าก็อตพันไว้  

          และต่อมามีคนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อ 4-5 ปีก่อน (ด้วยเงินบริจาค 300,000 บาทจากบิณบรรลือฤทธิ์) ได้ขึ้นไปกทม.พร้อมครอบครัวขึ้นไปอยู่ที่กทม.เพื่อตั้งใจว่าเงินที่ได้มาจะรักษา แบบขันชานอส รักษา 7 วัน12,000 บาท คือทำให้แผลที่บวมแห้งถึงจะผ่าตัดได้ เหมือนรีดน้ำให้หมดจนแผลเหี่ยวถึงจะผ่าตัดได้   สรุปหมดไปเป็นแสนกับการทำขันชานอส  สุดท้ายเงินหมดก่อน ไม่ได้ผ่าตัด แม้ครอบครัวตน พ่อแม่ลูกจะช่วยกันทำขนมขายตอนอยู่กรุงเทพแต่ก็ไม่พอกิน ลูกก็ย้ายไปเรียนที่นู้น อีกทั้งโควิดระบาดทำให้ต้องกลับมาบ้าน ขาดการรักษาต่อเนื่อง เพราะเงินไม่มี อาการก็กำเริบขึ้นมาอีกครั้ง   ประจวบเหมาะตรงกับโรคโควิคระบาดการรักษาไปได้ไม่   บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ เลยตัดสินใจกลับบ้านที่สตูล

          นายย็ะยาห์  ดือราแม  อายุ 48 ปี  ผู้เป็นสามี  ยอมรับว่า ตนให้กำลังใจภรรยาได้เพียงแค่อยู่ด้วยใกล้ ๆ ให้เขาอุ่นใจ ไม่มีคำหวานปลอบแบบอื่นนอกจากการกระทำ อยากเห็นเขาหายจากโรคร้ายนี้และมีชีวิตกลับมาปกติเหมือนคนทั่วไป ทุกวันนี้ภรรยาและพวกเราในครอบครัวไม่ได้งอมืองอเท้า ช่วยกันทำขนมขาย มีรับจ้างที่ไหนตนก็ไปทันที มีรายได้เข้ามาเลี้ยงครอบครัวบางวัน 300 บาท  แต่ก็ไม่ได้ทุกวัน ลูกก็เรียนมัธยม 1 โชคดีที่ญาติพี่น้องหยิบยื่นให้บ้าง ไม่ทอดทิ้ง

 

          ขณะที่พี่สาวของ (นางวราภรณ์   เหล็มหา) เล่าด้วยทั้งน้ำตาถึงความสงสารน้อง ด้วยตนเป็นพี่คนที่ 4 จากทั้งหมด 8 คนน้องเป็นคนสุดท้อง (เสียไปแล้ว 3 คนเหลือกัน 5 คนพี่น้อง)  เห็นน้องก็เสียใจทุกครั้งแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อยากให้เขาหาย ช่วยเหลือน้องตลอดทุนค้าขาย เท่าที่ช่วยได้ตามกำลัง  มาพูดคุยให้กำลังใจกันตลอด  ที่ไหนบอกมีหมอบ้านดีก็พาไป บางคนบอกถูกจอมปลวกก็บอกว่าไม่มีทางแก้ บ้างว่าโดนของ หลังรักษาหมอในสตูลแล้วไม่หาย เพราะหมอที่กรุงเทพก็ไม่มีกำลังจะพาไปรักษา    

 

         ขณะนี้นางวราภรณ์   เดินเหินไม่เหมือนคนอื่น  เหนื่อยง่าย ต้องเดินลากขายกขาไม่ค่อยขึ้นหากมีสิ่งกีดขวาง เดินได้แค่ระยะสั้น ๆ เท่านั้น อยากให้หน่วยงานเกี่ยวข้องวอนให้ช่วยเหลือ รักษาตนให้หายขาดตนไม่อยากจะป่วยเป็นโรคนี้อีกแล้ว หากไม่หายป่วยก็ขอให้อาการดีกว่านี้ เอาติ่งเนื้อก้อนใหญ่ที่ห้อยนี้ออกให้ตนด้วย

 

          หากท่านใดมีกำลังอยากช่วยเหลือตน สามารถบริจาคได้ที่เลขบัญชี ธนาคาร กสิกรไทย สาขาบิกซี ตรัง 108 8 66362 0 ชื่อบัญชี นางสาววราภรณ์  เหล็มหา

……………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

วิกฤตพะยูนสตูล! พบตายเพิ่มอีกเป็นตัวที่ 2 ในรอบปี

วิกฤตพะยูนสตูล! พบตายเพิ่มอีกเป็นตัวที่ 2 ในรอบปี

            นายดลฮอนี  สุวาหลำ กำนันตำบลเกาะสาหร่าย แจ้งว่า บ่ายสองของวันที่ 19 ที่ผ่านมาขณะทำภารกิจบนแพของรองโสน  ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล ชาวบ้านบนแพและตนได้เห็นร่างของพะยูนขนาดใหญ่ลอยน้ำมาเข้าใกล้แพดังกล่าว  

 

         โดยพะยูนที่ตายมีลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร 20 เซนติเมตร สภาพตายหงายหน้าตามตัวมีร่องรอยถลอกคาดว่าจากแดดที่เผา น้ำหนักประมาณ 50-60 กิโลกรัม (ยกสองคนไม่ขึ้น)  โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นเพศอะไร สภาพเหมือนพะยูนโตเต็มวัยหนุ่มสาว  จึงรีบแจ้งให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง มารับตัว ไปพิสูจน์สาเหตุตายที่แน่ชัดอีกครั้ง

          กำนันตำบลเกาะสาหร่าย บอกด้วยว่า  พะยูนตัวนี้นับเป็นตัวที่ 2 ในรอบปีนี้ที่พบพะยูนตายที่เกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล โดยส่วนใหญ่ที่ตายผ่านมาพบว่าไม่บาดเจ็บ หรือตายจากปัญหาขยะทะเล  โดยที่ผ่านมามีหลายมหาลัยวิทยาลัยมาทำวิจัย  ซึ่งพบว่าใกล้เกาะสาหร่ายเป็นแหล่งอยู่อาศัยของพะยูน และโลมา แต่ทางชาวบ้านไม่ทราบเรื่องประชากรที่แน่ชัด  มีหลายองค์กรเข้ามาจะมาปลูกหญ้าทะเลเพิ่มให้แต่ก็เงียบหายไป  จึงทำให้การดูแลปกป้อง พะยูน โลมา ทำได้ไม่เต็มที่

         ส่วนตนเคยนำเอาแผนเสนอท้องถิ่น ในการกำหนดให้ตำบลเกาะสาหร่ายเป็นจุดชมพะยูน แต่ไม่สำเร็จเพื่อที่จะได้ให้ชาวบ้านและชาวสตูลช่วยกันดูแลพะยูนให้เต็มที่ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชม ความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอันดามันที่เกาะสาหร่าย เหมือนอย่างที่ตรังเขาทำประสบความสำเร็จ  อีกทั้งปัญหาประมงพื้นบ้านของเราก็ยังไม่เข้มแข็ง เป็นการคุยกันเฉพาะกลุ่ม และปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทำให้ชาวประมงหมู่บ้านอื่นเข้ามาทำลายมากกว่าเข้ามาหากินเหมือนประมงพื้นบ้านทั่วไป

……………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล..ททท.ชวนโต้คลื่นปิดฤดูกาลของปีที่ Satun Surf Festival เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเล 18-20 ตุลาคม 67 ที่หาดกาสิงห์ กระตุ้นเศรษฐกิจสามวันเงินสะพัด 10 ล้านบาท

สตูล..ททท.ชวนโต้คลื่นปิดฤดูกาลของปีที่ Satun Surf Festival เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเล 18-20 ตุลาคม 67 ที่หาดกาสิงห์ กระตุ้นเศรษฐกิจสามวันเงินสะพัด 10 ล้านบาท

        ที่หาดกาสิงห์  บ้านบ่อเจ็ดลูก  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  นักกีฬาเซิร์ฟทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพต่างนำกระดานโต้คลื่นออกไปท้าคลื่นลมกันอย่างสนุกสนาน หลังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตูล ได้พยามให้หาดกาสิงห์ ของจังหวัดสตูลเป็นอกหนึ่งแหล่งที่ทำกิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ประเภทกีฬาเชิร์ฟ

          โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสตูล  ได้ร่วมกับจังหวัดสตูล จัดงาน” SATUN SURF FESTIVAL” กิจกรรมส่งท้ายปิดฤดูกาลโต้คลื่นของปี โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม และ กระตุ้นการท่อง เที่ยวนอกฤดูกาล เพื่อตอกย้ำว่าสตูลเป็นจังหวัดที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี พร้อมผลักดันให้จังหวัดสตูลเป็น Sport City เมืองชายแดนใต้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วย สร้างรายได้สู่ชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจากกิจกรรมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวใน พื้นที่ด้วย

          ซึ่งพิธีเปิดในวันนี้ได้เชิญนายสัมฤทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายก อบจ.สตูล (เป็นประธาน) โดยมีนายไพรัช  สุขงาม  ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสตูล (กล่าวรายงาน)  และ  นายบำรุงรัตน์  พลอยดำ  หน.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา แขกผู้มีเกียรติทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น  นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบกีฬาเซิร์ฟบอร์ดเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

           SATUN SURF FESTIVAL เป็นกิจกรรมความสนุกส่งท้ายก่อนปิดฤดูกาลโต้คลื่นประจำปีของ จังหวัดสตูล ภายใต้แนวคิด surf eco craft music โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจได้สัมผัส และเรียนรู้การเล่นเซิร์ฟจากนักเล่นเซิร์ฟระดับแนวหน้าของเมืองไทยทั้ง Surfboard SUPboard และ Skimboard นอกจากนี้ยังมี Workshop งาน craft รักษ์สิ่งแวดล้อม การแสดงดนตรี จากศิลปินต่าง ๆ อาทิ โฟล์คซองจากToompood วง TR1IX และวงแทมมารีน เป็นต้น พร้อมการ จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าชุมชน และแพ็คเกจทัวร์ราคาพิเศษ ซึ่งทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นถูก ขับเคลื่อนตามนโนบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ท่ามกลางบรรยากาศอันสวยงามของ ชายหาดและท้องทะเล อันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของจังหวัดสตูล

        SATUN SURF FESTIVAL เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเลหาดกาสิงห์ สนุกครบจบในงานเดียวทั้งเซิร์ฟ ตนตรี อาหาร เครื่องดื่ม Workshop และ Shopping 18-20 ตุลาคม 67 ณ บริเวณหาดกาสิงห์ บ้าน บ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

         นายไพรัช  สุขงาม  ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสตูล  บอกว่า  กิจกรรม SATUN SURF FESTIVAL เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเลหาดกาสิงห์ในครั้งนี้ตั้งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5,000 คน เนื่องจากเป็นกลุ่มใหม่ที่มีกำลังซื้อจะมีเม็ดเงินสะพัดในจังหวัดสตูลและในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทในตลอด 3 วันของการจัดงาน   และเพื่อตอกย้ำว่าสตูลเป็นจังหวัดที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี พร้อมผลักดันให้จังหวัดสตูลเป็น Sport City เมืองชายแดนใต้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วย สร้างรายได้สู่ชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจากกิจกรรมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวใน พื้นที่ด้วย

……………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

 สตูล-ตักบาตรเทโว ก่อนร่วมชักพระ สืบสาน ประเพณี

สตูล-ตักบาตรเทโว ก่อนร่วมชักพระ สืบสาน ประเพณี

          ที่วัดมงคลมิ่งเมือง เทศบาลตำบลคลองขุด  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชาวพุทธศาสนิกชน ร่วมทำบุญตักบาตรเทโวข้าวสาร อาหารแห้ง แด่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสด็จ หลังจากที่พระองค์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน และกลับจากเทวโลก

 

          จากนั้นทุกคนก็จะไป ร่วมทำบุญ ด้วยการนำ ขนมต้ม ไปแขวนที่เรือพระ  ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง ประเพณีที่เชื่อว่าเรือลากพระจะช่วยให้เกิดอานิสงส์ผลบุญ ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล และการทำบุญจะช่วยส่งผลบุญกุศลให้ประสบความสำเร็จ 

         นอกจากนี้ประเพณีลากพระยังเป็นการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของคน และแสดงถึงความพร้อมใจที่จะทำบุญทำกุศลรวมถึงความสนุกสนานครื้นเครงในกิจกรรม

 

           และในบ่ายวันนี้เทศบาลตำบลคลองขุด  ได้จัดงานลากพระหรือชักพระอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการประกวดเรือลากพระ การประกวดแทงต้มการประกวดทำน้ำยาขนมจีน  การแข่งขันปีนเสาน้ำมันและการละเล่นพื้นบ้านอีกมากมายเพื่อเป็นการสืบสานประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และสืบสาน ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยมีการจัดขึ้นบริเวณหน้าโรงเรียนสตูลวิทยา ตำบลคลองขุด  อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล

……..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

PT สตูล เสมอ ยะลา ในศึกไทยลีก 3 โซนใต้

PT สตูล เสมอ ยะลา ในศึกไทยลีก 3 โซนใต้

          เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สนามสตูลสเตเดียม หรือสนาม อบจ.เดิม ได้มีการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 3 โซนภาคใต้ ระหว่าง PT สตูลเอฟซี เปิดบ้านรับการมาเยือนของทีมยะลาเอฟซี ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักของแฟนบอลที่เข้ามาชมเกมเต็มความจุสนาม

 

         ทีมผู้บริหารสโมสร PT สตูลเอฟซี อย่างนายพงศพัศ  ทิ้งนุ้ย  ประธานสโมสรฯ  นายเฉลิมพล  แท่นประมูล  รองประธานฯ  นายอดิศร  ภัคดี  ผู้อำนวยการสโมสรฯ  นายพีรพัฒน์  รัชกิจประการ  ผู้จัดการทีม  นายพณกฤช  จินดากุลเวศ  ตบเท้าเข้ากำลังใจกันอย่างคับคั่ง

  

         ก่อนเริ่มการแข่งขัน นายพีรพัฒน์ รัชกิจประการ ผู้จัดการทีม PT สตูลเอฟซี ได้อัดฉีดนักเตะเก็บ 3 แต้มเข้าตาราง โดยประกาศให้รางวัลแก่ทีม ที่ทำประตูให้เป็นของขวัญชาวสตูลเป็นเงิน 50,000 บาท

         การแข่งขันครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านมาร่วมชม อาทิ นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล, ท่านอัยการจังหวัด, นางทิพรัตน์ รัชกิจประการ, พันตำรวจเอกเสกสิทธิ์ ปรากฏชื่อ ผู้กำกับ สภ.เมืองสตูล, ประธานสภา SME สตูล, นายก อบต.บ้านควน รวมถึงผู้นำท้องที่และท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนชาวสตูลและยะลาที่มาร่วมเชียร์ทีมรักกันอย่างคับคั่ง

 

         ตลอดการแข่งขัน 90 นาที PT สตูลเอฟซี ต้องเล่นด้วยผู้เล่นเพียง 10 คน แต่ทั้งสองทีมก็ไม่สามารถทำประตูใส่กันได้ จบเกมด้วยผลเสมอ 0-0 ทำให้แต่ละทีมได้ไป 1 คะแนน ส่งผลให้ทั้งสองทีมมีคะแนนรวมเท่ากันที่ 9 คะแนน

 

          อย่างไรก็ตาม ด้วยประตูได้เสียที่ดีกว่า ทำให้ยะลา FC ครองอันดับ 1 ของตาราง ในขณะที่ PT สตูลเอฟซี อยู่ในอันดับ 2

 

         สำหรับการแข่งขันนัดต่อไปของ PT สตูลเอฟซี จะมีขึ้นในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ โดยจะบุกไปเยือน ปัตตานี FC ขอเชิญชวนแฟนบอล “หมอผี” ร่วมเดินทางไปเชียร์และให้กำลังใจทีมรักกันอย่างคับคั่ง

…………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล-แถลงจัดงาน ” Satun Surf Festival ” เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเล หาดกาสิงห์

สตูล-แถลงจัดงาน ” Satun Surf Festival ” เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเล หาดกาสิงห์

           วันที่ 16 ต.ค.2567  ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา  ต.ปากน้ำ  อ.ละงู  จ.สตูล   นายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  พร้อมด้วย  นายไพรัช  สุขงาม  ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสตูล  นายสัมฤทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายก อบจ.สตูล  และ  นายบำรุงรัตน์  พลอยดำ  หน.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา  ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน  “ SATUN SURF FESTIVAL”  เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงาน  ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 18-20 ตุลาคม 67 ณ บริเวณหาดกาสิงห์ บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

 

           ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสตูล ร่วมกับจังหวัดสตูล จัดงาน” SATUN SURF FESTIVAL” กิจกรรมส่งท้ายปิดฤดูกาลโต้คลื่นของปี โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม และ กระตุ้นการท่อง เที่ยวนอกฤดูกาล เพื่อตอกย้ำว่าสตูลเป็นจังหวัดที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี พร้อมผลักดันให้จังหวัดสตูลเป็น Sport City เมืองชายแดนใต้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วย สร้างรายได้สู่ชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจากกิจกรรมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวใน พื้นที่ด้วย

            SATUN SURF FESTIVAL เป็นกิจกรรมความสนุกส่งท้ายก่อนปิดฤดูกาลโต้คลื่นประจำปีของ จังหวัดสตูล ภายใต้แนวคิด surf eco craft music โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจได้สัมผัส และเรียนรู้การเล่นเซิร์ฟจากนักเล่นเซิร์ฟระดับแนวหน้าของเมืองไทยทั้ง Surfboard SUPboard และ Skimboard นอกจากนี้ยังมี Workshop งาน craft รักษ์สิ่งแวดล้อม การแสดงดนตรี จากศิลปินต่าง ๆ อาทิ โฟล์คซองจากToompood วง TR1IX และวงแทมมารีน เป็นต้น พร้อมการ จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าชุมชน และแพ็คเกจทัวร์ราคาพิเศษ ซึ่งทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นถูก ขับเคลื่อนตามนโนบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ท่ามกลางบรรยากาศอันสวยงามของ ชายหาดและท้องทะเล อันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของจังหวัดสตูล

 

          SATUN SURF FESTIVAL เทศกาลฟิลกู๊ดริมทะเลหาดกาสิงห์ สนุกครบจบในงานเดียวทั้งเซิร์ฟ ตนตรี อาหาร เครื่องดื่ม Workshop และ Shopping 18-20 ตุลาคม 67 ณ บริเวณหาดกาสิงห์ บ้าน บ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพิ่มเติมรายละเอียดได้ที่ FB. Satun Surf Festival

…………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

“ตาแปแยะ”  ขนมรับแขกบ้านแขกเมือง สูตรเข้มข้นฝีมือแม่บ้านชายแดนไทยมาเลเซีย

สตูล – “ตาแปแยะ”  ขนมรับแขกบ้านแขกเมือง สูตรเข้มข้นฝีมือแม่บ้านชายแดนไทยมาเลเซีย ขนาดประเทศต้นตำรับยังแห่ซื้อเป็นของฝาก หาทานยากมีที่ชุมชนรักษ์ท่องเที่ยวตำมะลัง จ.สตูล

           ที่จังหวัดสตูล  จะพาไปรู้จักขนมพื้นถิ่นที่หาทานยาก  ขนมที่มีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบทอด แต่มีถั่วลิสงตกแต่งบนหน้าและมีปลาจิ้งจั้ง  ชาวบ้านเรียกขนมนี้ว่า  “ตาแปแยะ” เป็นชื่อเรียกภาษามลายูแปลว่าเครื่องเทศเยอะ

 

          ที่หมู่บ้านริมชายฝั่งตำบลตำมะลัง หมู่ที่ 3 อำเภอเมืองสตูล (ชายแดนไทยมาเลเซีย)  ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านนางยาตี  นาวา อายุ 46 ปี  สมาชิกวิสาหกิจชุมชนรักษ์ท่องเที่ยวตำมะลัง  พร้อมด้วยทุกคนในครอบครัวกำลังเร่งมือทำขนมพื้นเมือง  ตาแปแยะ  เพื่อให้ทันตามออเดอร์ของลูกค้า 

 

         โดยส่วนผสมของขนมชนิดนี้ประกอบไปด้วย  แป้งข้าวเจ้าผสมกับไข่ไก่  น้ำปูนใสสะอาด  พริกแห้งบดละเอียด  เครื่องเทศ พริกไทย ข้าวเล็กๆ ข้าวใหญ่นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้ากันแล้วตักใส่พิมพ์แต่งหน้าด้วยถั่วลิสง และปลาจิ้งจั้ง นำมาทอดในน้ำมันที่ร้อนกำลังดี  โดยการทำขนมในแต่ละครั้งจะใช้ส่วนผสมครั้งละ  7 กรัมเมื่อหมดก็จะปรุงขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้ขนมที่มีคุณภาพดี

 

        การทำขนมครั้งละ 7 กรัมจะได้ขนมประมาณ 5-6 ถุง (ถุงละ 35 ชิ้น) ขายราคาถุงละ 50 บาท โดยวันนึงจะทำ 2 รอบเป็นธุรกิจในครัวเรือน  มีลูกสาวและสามีของนางยาตี มาช่วยทอดและสามารถทำงานแทน  ฝีมือไม่แพ้คุณแม่เลย

            นางยาตี  นาวา เจ้าของสูตรขนมตาแปแยะ  บอกว่า  ขนมนี้ทำขายเป็นอาชีพที่สองของครอบครัว รองจากขายโรตีอาหารเช้าและอาหารเย็น   ซึ่งจริงแล้วสูตรขนมได้มาจากเพื่อนอีกทอดหนึ่ง  ที่ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียเมื่อ 8 ปีที่แล้วมาปรับสูตรให้เข้มข้นทำขายตามออเดอร์   เป็นขนมพื้นเมืองที่ทำขายทานเจ้าของในตำมะลัง  ส่งขายให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวไทยมาเลเซีย

 

            และนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ต่างชาติที่มาเที่ยวชุมชนตำมะลังได้ชิมลิ้มรสชาติที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศได้รสชาติเฉพาะตัว ของถั่วลิสงและปลาจิ้งจั้งที่อร่อยกรอบ เป็นของฝากและของทานเล่น   จะขายดีในช่วงเดือนฮารีรายอ  มีออเดอร์เข้า 200 ถึง 400 ถุง  สนใจโทร.0949615776 ,0950251108

 

          นางสาวรุ่งญาดา  เจริญทรัพย์  เลขาวิสาหกิจชุมชนรักษ์ท่องเที่ยวตำมะลัง บอกว่า  ทุกครั้งที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวชุมชนจะนำกลุ่มแม่บ้านไปทำโชว์และชิมกันเลย ได้รับความสนใจกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก หลายคนติดใจซื้อเป็นของฝากกับไปจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นกำเนิดของขนมที่มาจากมาเลเซีย เมื่อมาชิมสูตรใหม่ของไทยหลายคนติดใจกันเป็นแถว 

………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

สตูลกลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  ต่อยอดสินค้าชุมชนสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกอาหารท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่ม หลังพบปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง

สตูล-กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  ต่อยอดสินค้าชุมชนสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกอาหารท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่ม หลังพบปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง

          ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  หมู่ที่ 1 ตำบลสาคร  อำเภอท่าแพ  จังหวัดสตูล  โดยชาวบ้านได้เข้าร่วมโครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้าสู่การจัดการทรัพยากรชายฝั่งตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ในการส่งเสริมอาชีพและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งที่ยังยืน

 

         นายดาด  ขุนรายา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 (ปธ.ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น)  บอกว่า  จุดเริ่มต้นมาจากชุมชนได้ทำธนาคารปูม้า  ที่มีชาวประมงพื้นบ้าน 20 คน  มาร่วมกันเป็นสมาชิก โดยทุกคนได้เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากร ของการ ดำเนินการโครงการฯ  และได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้า สู่การพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล   โดยมี ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์  เป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

         ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 (ปธ.ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น)  บอกด้วยว่า จากนั้นได้ทำต่อมาเรื่อย ๆ  และมีการต่อยอดให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มจนเป็นที่มาของโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก    โดยได้เล็งเห็นว่าตลาดน่าจะไปได้เพราะขายในพื้นที่ก็ไม่เพียงพอ  อีกทั้งในธรรมชาติเริ่มหาน้อยเต็มที  และยังหาทานยาก    โดยข้อดีของการเพาะเลี้ยงพบว่าสาหร่ายไม่มีทราย  หรือเศษดินปะปน  เพียงแค่นำมาล้างและรับประทานได้เลย  ถ้าเป็นสาหร่ายที่ขึ้นตามธรรมชาติจะมีเม็ดทรายปะปนและมีกลิ่นคาวของน้ำ   แต่การเพาะเลี้ยงลักษณะนี้รับประทานได้อย่างอร่อย  สามารถมีทานได้ตลอดทั้งปี อนาคตจะต่อยอดขยายให้กับสมาชิกเพิ่มอีก  ดูแล้วทิศทางเป็นไปได้ โดยวันนี้เป็นเพียงตัวอย่างก็ได้รับการตอบรับอย่างดี เชื่อว่าจะเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี 

 

         นอกจากที่นี่จะศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  และเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกแล้ว ทางกลุ่มฯยังเป็นแหล่งท่องบเที่ยวชุมชนมีแพกลางน้ำของชุมชนบริหาร นักท่องเที่ยวสายแคมปิ้งในคลองทุ่งริ้น ได้ดื่มด่ำธรรมชาติ และทานอาหารทะเลสด ๆตามฤดูกาลด้วย   หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที  โทร 063-7302873

 

         การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  หมู่ที่ 1 ตำบลสาคร  อำเภอท่าแพ  ได้เพาะเลี้ยงจำนวน 10 ตะกร้า โดยใช้ออกซิเจนในการดูแลสาหร่ายอยู่ภายใต้โรงเรือน  สมาชิกได้กลุ่มจะได้รับการสร้างองค์ความรู้ก่อนเลี้ยง โดยการให้ปุ๋ย  วัดค่าน้ำเพียง  2 อาทิตย์ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว 

 

         ทางกลุ่มจะหมุนเวียนโดยเก็บขาย  อาทิตย์ละครั้ง /เก็บครั้งละ 2 ตะกร้าได้ 1 กิโลกรัม  ขายกิโลกรัมละ 200 บาท สาหร่ายขนนกนอกจากจะทานสดกับน้ำจิ้มซีฟู้ดแล้ว  ยังสามารถไปปรุงเมนูยำสาหร่ายขนนก   สลัดสาหร่ายขนนก   ข้าวเกรียบสาหร่ายขนนกได้อีกด้วย 

 

        ลักษณะเฉพาะของสาหร่ายขนนกคือ จะตายง่ายเมื่อถูกน้ำจืด จึงควรรับประทานสด ๆ ทันทีที่ขึ้นจากน้ำไม่นานเพราะจะเสียรสชาติความอร่อย

…………………………………

อัพเดทล่าสุด