ธรรมชาติส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์แปลกตา! คลื่นซัดหอยกะพงนับล้านเกยหาดสตูล ชาวบ้านแห่เก็บสร้างรายได้
วันที่ 19 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติครั้งแรกที่จังหวัดสตูล หลังคลื่นแรงสูง 2-4 เมตรเมื่อวานที่ผ่านมา ปรากฏว่าพบมีการซัดหอยกะพงนับล้านตัวเกยตื้นที่ชายหาดปากบารา อำเภอละงู ยาวกว่า 1 กิโลเมตร
นางสาวอุไรวรรณ อินทองมาก ชาวบ้านในพื้นที่ เผยว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลังจากคลื่นสงบลง ชาวบ้านและชาวประมงต่างพากันมาเก็บหอยกะพงเพื่อสร้างรายได้
ด้านนางสาวฮาหวา วะฮะ ครูโรงเรียนละงูพิทยาคม แนะนำว่าสามารถนำหอยกะพงไปทำอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มลวกจิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือผัดกระเพรา โดยสามารถขายได้ในราคาถุงละ 30 บาท หรือกิโลกรัมละ 30-50 บาท
สำหรับหอยกะพงเป็นหอยสองฝาที่อาศัยในพื้นท้องทะเลโคลน มีเปลือกเปราะบาง สีเขียวอมม่วงหรือดำ ปรากฏการณ์ครั้งนี้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดสตูลยังคงขยายวงกว้างไปในหลายตำบล โดยพื้นที่ที่ประสบภัยหนักขณะนี้เป็นพื้นที่อยู่ติดริมคลองสายสำคัญ อย่างคลองละงู คลองฉลุง และคลองมำบัง โดยศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสตูล รายงานสถานการณ์อุทกภัยและวาตภัยในพื้นที่ครบทั้ง 7 อำเภอ ได้แก่ 1) อำเภอควนโดน 2) อำเภอเมืองสตูล 3) อำเภอท่าแพ 4) อำเภอมะนัง 5) อำเภอละงู 6) อำเภอควนกาหลง 7) อำเภอทุ่งหว้า 20 ตำบล 125 หมู่บ้าน 5,605 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
………………………………………………………………………………………
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
-
รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
-
จากป่าสู่ครัว : ชาวมานิรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้ทำโรตี-ปัสมอส วิทยาลัยชุมชนสตูลหนุนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
-
หยุดยาวปีใหม่ ชวนใส่ชุดเคบาย่า ย้อนวันวาน เมืองเก่าสตูลสัมผัสเสน่ห์แห่งวัฒนธรรม. ลิ้มรสวิถี อาหารในตำนานให้คิดถึง 27-31 ธ.ค.67
-
สตูล เปิดปฏิบัติการกวาดล้างแหล่งมั่วสุมยาเสพติด - จับกุมวัยรุ่นนักเสพ พร้อมเผาทำลายแหล่งมั่วสุม ใช้เสพยาให้สิ้นซาก
-
ทต.คลองขุด จัดโครงการ เยาวชนจิตอาสาปลูกป่าลดโลกร้อน' เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่ง