Categories
เยาวชน-การศึกษา

 ศรชล.สตูลจัดกิจกรรมสร้างความรู้ทางทะเล ปลูกฝังเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง 

ศรชล.สตูลจัดกิจกรรมสร้างความรู้ทางทะเล ปลูกฝังเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง

        ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 โดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล จัดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ทางทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในพื้นที่จังหวัดสตูล นายศักระ  กปิลกาญจน์ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล / ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล มอบหมายให้ นาวาเอกรัฐพล  แก้วกระจาย หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ทางทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในพื้นที่จังหวัดสตูล ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ให้กับบุคลากรทางการศึกษา และเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวน 50 คน

         ทั้งนี้กิจกรรม “สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” ศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการในการรักษาระบบนิเวศรวมถึงอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในทะเลจังหวัดสตูลและทะเลอันดามันให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยให้เยาวชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในท้องถิ่นของตนพร้อมที่จะเป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ทางด้านนิเวศวิทยานับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการอนุรักษ์รวมถึงเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนจึงได้จัดกิจกรรม “สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศรวมถึงฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในทะเลอันดามัน

………………………………

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

ย้อนวันวาน   ในงาน  สตูล chill eat art season 2 ขนร้านอาหารดังทั่วเมือง  นั่งชิลล์ดื่มด่ำงานศิลปะ และภาพยนตร์กลางแปลงให้หายคิดถึง 13-15 ก.ย.67 นี้

ย้อนวันวาน   ในงาน  สตูล chill eat art season 2 ขนร้านอาหารดังทั่วเมือง  นั่งชิลล์ดื่มด่ำงานศิลปะ และภาพยนตร์กลางแปลงให้หายคิดถึง 13-15 ก.ย.67 นี้

          เริ่มแล้ว!! สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ททท.  สำนักงานสตูลร่วมกับจังหวัดสตูลเทศบาลเมืองสตูล   องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล  และ  กรมศิลปากร  ร่วมดำเนินงาน  “สตูล chill eat art season 2”   ระหว่างวันที่ 13 – 15 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 16:00 – 21:00 น. ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติคฤหาสน์กูเด็น  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุน  และ ประชาสัมพันธ์ร้านอาหารในจังหวัดสตูล  ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง  กระจายรายได้สู่ชุมชน  ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล  ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   โดยใช้ความโดดเด่นด้านอาหารและงานศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโดยภายในงานแบ่งโซนกิจกรรมจำนวน 3 รูปแบบดังนี้

          1. eat zone เป็นโซนอาหารจานเด็ดของจังหวัดสตูล ยกขบวนความอร่อยมาให้ทุกท่านได้ลิ้มลองรสชาติอาหารภายในงานครั้งนี้จำนวน 20 ร้าน

         2 . chill zone  พบกับร้านคาเฟ่สุดชิคให้ทุกท่านได้นั่งจิบเมนูเครื่องดื่มหอมๆพูดคุยกันชิลล์ๆ  ท่ามกลางบรรยากาศยามเย็นเพลิดเพลินไปกับหนังกลางแปลง  และดนตรีสดเพราะๆ  ซึ่งมีรายชื่อคาเฟ่ร่วมงานถึง 5 ร้านเด่นในจังหวัดสตูล

         3. art zone โซนนิทรรศการผลงานศิลปะสุดอาร์ต ที่ได้รวบรวมผลงานศิลปะหลากหลายแบบอันวิจิตรตระการตา  ให้ทุกท่านได้รับชม  ซึ่งทางงานได้รับเกียรติจากทีมจิตอาสาศัตรู street art และร้านดาหลาปาเต๊ะ  เป็นผู้รังสรรค์โซนศิลปะไทยในครั้งนี้ขึ้นมา  และยังมีกิจกรรม workshop เพ้นท์กระเป๋าให้ทุกท่านได้ร่วมกิจกรรมกันทุกวัน  นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมสนับสนุนและเสริมสร้างการใช้จินตนาการความสามารถของเยาวชน  ในกิจกรรมวาดภาพศิลปะ  ได้แก่การแข่งขันวาดภาพศิลปะหัวข้อทะเลสตูล ,  การแข่งขันวาดภาพบนเฟรมหัวข้อท่องเที่ยวสตูล

 

         “สตูล chill eat art season 2”   ได้เปิดอย่างเป็นทางการโดยได้รับเกียรติจากนายชาตรี  ณ  ถลาง   รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล   นายสัมฤทธิ์   เลียงประสิทธิ์   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล  นายไพรัช   สุขงาม  ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสตูล   หัวหน้าส่วนและประชาชนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ  เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

……..

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ที่จังหวัดสตูลได้ขึ้นชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอีกหนึ่งแห่งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  และที่กำลังสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านอย่างงดงามคือที่นี่เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารซีฟู้ดที่ขึ้นชื่อ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านซีฟู้ด 

 

โดยเฉพาะกั้งทะเล  ที่นี่มีให้ทานเกือบทั้งปี (หากไม่มีคลื่นลมแรง)  และกั้งยังเป็นแลนด์มาร์คของตำบลตันหยงโป  อำเภอเมืองสตูลด้วย  โดยเฉพาะที่ บ้านบากันเคย หมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชาวประมงพื้นบ้านได้ออกหาอาหารทะเลทันที   หลังจากสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ พวกเขาสามารถออกทะเลเพื่อจับกั้งตัวใหญ่ได้อีกครั้ง

 

กั้งที่นี่จะมีสองสายพันธุ์ คือ กั้งขาว และกั้งเขียว     (กั้งขาว หรือกั้งแก้ว แกะต้มแล้ว) มีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 500 – 540  บาท   ส่วนกั้งเขียวเป็นกั้งตัวใหญ่ (หนึ่งตัวเกือบกิโลกรัม)  มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,600 บาท (จะขายกั้งเป็นแต่หากกั้งตายจะไม่มีราคา) สร้างรายได้อย่างงามให้กับชาวประมงพื้นบ้าน

 

           นายราเสบ กาซา เจ้าของแพอายุ 72 ปี  บอกว่า  ตนรับซื้อกั้งสดๆ จากชาวประมงพื้นบ้าน ราคากั้งขาวหรือกั้งแก้ว  อยู่ที่กิโลกรัมละ 200 – 300 บาท  ส่วนกั้งเขียว รับซื้อจากชาวประมงราคาสูงถึง 1,400 บาทต่อกิโลกรัม  ส่งขายในจังหวัดท่องเที่ยว ทั้งภูเก็ต หาดใหญ่ พังงา และกระบี่

 

         นอกจากการขายกั้งสด ทางแพยังแปรรูปโดยการต้มและแกะเนื้อขาย ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 500 ถึง 540 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายกั้งเขียวเป็นๆ  กิจการนี้ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชาวประมง แต่ยังสร้างงานให้กับแม่บ้านในพื้นที่อีกด้วย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ได้ 0915284092  0953696057

 

           นางสาวนูรชีรา  อามาตี   อายุ 24 ปี แรงงานแกะกั้ง  บอกว่า  พวกเรามีงานทำ ไม่ต้องออกไปหางานนอกหมู่บ้าน ได้ค่าแรงวันละ 400 บาท ทำงานตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 วันไหนเรือออกก็จะมีงานทำอาชีพนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีแกะกั้งขาวหรือกั้งแก้ว ใช้กรรไกรตัดหัวก่อนจากนั้นตัดหาง และครีมด้านข้างเพื่อให้แกะกระดองได้ง่าย  ก็จะได้เนื้อกั้งเป็นชิ้นทั้งตัวพร้อมขายและนำไปปรุงได้อย่างสะดวกสบาย  

 

         สำหรับกั้ง สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนูเช่นเดียวกับกุ้ง เช่น กั้งต้มน้ำจิ้มซีฟู้ด , กั้งทอดกระเทียมพริกไท ,ผัดเผ็ดหรือต้มย้ำ นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของดีจากชุมชน  น้ำพริกกั้ง ,มันกั้ง (คล้ายกับมันกุ้ง)

 

           ความสำเร็จของอุตสาหกรรมกั้งในสตูลนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย และโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับชุมชนชายฝั่ง 

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลสร้างอาชีพ ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

สตูลสร้างอาชีพ…ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

         ผู้สูงอายุตำบลควนสตอ จังหวัดสตูล ได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้สด  ด้วยวิธีอีโคปริ๊นท์ ในงาน “ชีวิตสดใส วัยสูงอายุ” ซึ่งจัดขึ้นที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

 

         โดยทางวิทยาลัยเทคนิคสตูล  ได้จัดบูธสาธิต   การทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก วิธีการทำเริ่มจากการนำผ้าที่ชุบน้ำยาแล้ว (ที่มีส่วนผสมของปูนขาว น้ำส้มสายชู ผงสนิม สารส้ม น้ำเปล่า)   วางดอกไม้หรือใบไม้ลงบนผ้า  จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใสคลุมทับ  แล้วใช้ค้อนขนาดเล็กทุบเบาๆ  เพื่อให้สีของดอกไม้ซึมลงบนผ้า  ทำให้เกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชิ้น

 

         ก็จะได้ผ้าเช็ดหน้า  ลายดอกไม้สีส้มสดจากดอกดาวกระจาย  เป็นชิ้นงานจากจินตนาการของผู้สูงอายุ  ที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก  นางฮาหยาด สกุลา ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า “ได้ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้ เพราะวัตถุดิบในชุมชนมีเยอะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะพัฒนาเป็นอาชีพเสริมหรือไม่”

            ด้านนางสาวปัทมา หมัดสาลี ครูประจำศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน วิทยาลัยเทคนิคสตูล อธิบายว่า “เราเลือกวิธีทุบแทนการนึ่ง  เพราะใช้เวลาน้อยกว่า  ทำให้ผู้เรียนได้ชิ้นงานกลับบ้านทันที  ผ้าที่ได้ให้เก็บไว้ 2 วัน ก่อนนำไปรีดและซักด้วยน้ำยาล้างจานหรือสบู่  นำไปผึ่งลม ก็จะได้ผืนผ้าที่คมชัดสีติดทนใช้งานอายุยืนยาว

 

           ทั้งนี้ ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน  มีแผนการสอนไปยังนักเรียนมัธยม และเปิดคอร์สระยะสั้น  สำหรับประชาชนทั่วไปในช่วงปิดเทอม   ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจเฟซบุ๊ก  “ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน สาขาวิทยาลัยเทคนิคสตูล”   หรือโทร.  081-737-0287

 

         ส่วนดอกไม้หรือใบไม้ จะเลือกที่มีเนื้อนิ่ม  ใบดอกไม่หนา  สีสด   สามารถใช้ได้ทั่วไปที่มีในชุมชน หมู่บ้าน 

……………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เริ่มแล้วเทศกาลขนมบุญเดือนสิบ   ขนมพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติดั้งเดิม ตรึงราคาเดิม  เพิ่มเติมคือความอร่อย ที่จังหวัดสตูล

เริ่มแล้วเทศกาลขนมบุญเดือนสิบ   ขนมพื้นบ้านภาคใต้ รสชาติดั้งเดิม ตรึงราคาเดิม  เพิ่มเติมคือความอร่อย ที่จังหวัดสตูล

            หากคุณกำลังมองหาของฝากหรือขนมอร่อยๆ ในจังหวัดสตูล ต้องไม่พลาดมาแวะชิมขนมพื้นบ้าน  ของคุณป้าวรรณา หนูสุด วัย 63 ปี  ขายที่บ้านคลองขุดเหนือ  ซอย 37 อำเภอเมืองสตูล และที่ตลาดตั้งจิตต์ศิลป์ อำเภอเมืองสตูล  ซึ่งเธอได้นำสูตรขนมโบราณจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่ที่นี่

 

           คุณป้าวรรณาเล่าว่า เธอขายขนมพื้นบ้านมานานกว่า 20 ปีแล้ว  ที่นครศรีธรรมราช ก่อนจะย้ายมาเปิดร้านที่สตูลเมื่อ 2 ปีที่แล้ว   โดยมีขนมหลากหลายชนิดให้เลือกซื้อ   ไม่ว่าจะเป็น ขนมนีซัมหรือขนมเจาะหู   ขนมข้าวพอง   ขนมลา  และขนมบ้า

 

           ไฮไลท์ของร้านคือ   “ขนมเจาะหู” หรือ “ขนมนีซัม” ขนมโบราณที่หาทานได้ยาก ราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทสำหรับ 15 ลูก หรือจะซื้อแบบ 50 ลูก ราคา 60 บาท และ 100 ลูก ราคา 120 บาท นอกจากนี้ยังมี  ขนมลา   ขายเป็นกิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 140 บาท หรือครึ่งกิโลกรัม 70 บาท

 

สำหรับคนที่ชอบขนมกรอบ ต้องลองชิม “ขนมข้าวพอง” ขนมพื้นบ้านที่ทำจากข้าวเหนียว   ขายราคาเพียง 3 ชิ้น 20 บาทเท่านั้น  มีหลากหลายสีสันให้เลือก

 

          คุณป้าวรรณายังเล่าอีกว่า   ขนมเหล่านี้เป็นขนมที่นิยมใช้ในประเพณี   “วันรับตายาย” หรือ “เทศกาลเดือนสิบ” ของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ

 

          หากใครสนใจอยากลิ้มลองรสชาติขนมพื้นบ้านภาคใต้แท้ๆ  สามารถแวะมาอุดหนุนได้ที่ตลาดตั้งจิตศิล  หรือติดต่อสั่งซื้อได้ที่ คุณวรรณา หนูสุด  โทร 087-270 3161 หรือ 094-717-9601

 

           ขนมพื้นบ้านของคุณป้าวรรณาไม่เพียงแต่อร่อย   แต่ยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำขนมโบราณของภาคใต้  ให้คงอยู่สืบไป   เมื่อมาเที่ยวสตูล อย่าลืมแวะมาชิม  และซื้อกลับไปเป็นของฝากกันนะคะ

…………………………………………

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
เยาวชน-การศึกษา

 นักเรียนสตูล 350 คน ร่วมงาน คมนาคมปลอดภัย ใต้ร่มพระบารมี “DLT Kids on the road” เรียนรู้ 6 ฐาน ด้านความปลอดภัยทางถนน

นักเรียนสตูล 350 คน ร่วมงาน คมนาคมปลอดภัย ใต้ร่มพระบารมี “DLT Kids on the road” เรียนรู้ 6 ฐาน ด้านความปลอดภัยทางถนน

          วันที่ 9 ก.ย. 67 ที่หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล นายชัยวุฒิ บัวทอง ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดงานคมนาคมปลอดภัย ใต้ร่มพระบารมี “DLT Kids on the road” ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนแก่เด็กและเยาวชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล นายเทพฤทธิ์ แก้วสุวรรณ์ ขนส่งจังหวัดสตูล พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และนักเรียน เข้าร่วมงานจำนวนมาก พร้อมร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลและถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และชมนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพในด้านการคมนาคมขนส่ง

            สำหรับการจัดงานในวันนี้ สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยะภาพด้านคมนาคม และนิทรรศการด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และสำนักงานขนส่งจังหวัด ทั้งยังมีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนน จำนวน 6 ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานการข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย , ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการเอาตัวรอดและช่วยเหลือตนเองในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกนิรภัยและเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสนุกสนานกับกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ ทั้งการระบายสี การแสดงศิลปิน การตอบคำถามชิงรางวัลอีกด้วย

            ทั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนอนุบาลสตูล , โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสตูลสันตยาราม) ,โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหัวทาง) , โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านศาลากันตง) , โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล และโรงเรียนบ้านคลองขุด ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 350 คน กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและมีวินัย นำไปสู่การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
……………………………

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

คฤหาสน์กูเด็นเปิดประตูต้อนรับ ‘Satun Chill Eat Art 2’ งานฟินของคนรักอาหารและศิลปะ

คฤหาสน์กูเด็นเปิดประตูต้อนรับ ‘Satun Chill Eat Art 2’ งานฟินของคนรักอาหารและศิลปะ

        มีข่าวดีมาฝากสำหรับคนรักการท่องเที่ยว ชอบชิมอาหารอร่อย และหลงใหลในงานศิลปะ กับงาน “Satun Chill Eat Art season 2” ที่จะจัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล คฤหาสน์กูเด็น จังหวัดสตูล ในวันที่ 13-15 กันยายน 2567 นี้

         งานนี้จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตูล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในจังหวัด มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดสตูล

โดยไฮไลท์ของงานแบ่งออกเป็น 3 โซนหลัก ได้แก่:

EAT ZONE: ที่นี่คุณจะได้ลิ้มลองอาหารท้องถิ่นรสเลิศของสตูล อย่างข้าวยำ จำปาดะทอด และเครื่องดื่มแสนอร่อยอย่างน้ำกระท้อน นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการทำอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่นโดยเชฟมืออาชีพอีกด้วย

CHILL ZONE: พื้นที่พักผ่อนสบายๆ ที่คุณจะได้เพลิดเพลินไปกับการชมภาพยนตร์กลางแปลง และชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสตูลแบบใกล้ชิด

ART ZONE: โซนที่จะทำให้คุณหลงใหลไปกับงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งนิทรรศการผลงานศิลปะ การสาธิตเทคนิคการวาดภาพโดยศิลปินท้องถิ่น และกิจกรรม Workshop เพ้นท์กระเป๋าที่คุณสามารถร่วมสนุกได้

พิเศษสุดสำหรับน้องๆ นักเรียน มีการจัดประกวดวาดภาพศิลปะในหัวข้อ “ทะเลสตูล” และ “ท่องเที่ยวสตูล” แบ่งเป็น 4 ระดับชั้น ตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงมัธยมปลาย

งาน “Satun Chill Eat Art season 2” จะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.00 น. ของทุกวัน ณ (พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) คฤหาสน์กูเด็น อำเภอเมืองสตูล ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัด

อย่าพลาดโอกาสดี ๆ ที่จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรม อาหาร และศิลปะของจังหวัดสตูลในบรรยากาศสุดชิลล์ พบกันที่งาน “Satun Chill Eat Art season 2” วันที่ 13-15 กันยายน 2567 นี้นะคะ
………………………………….

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ข่าวเด่น

จังหวัดสตูลช่วยเหลือชายไทยวัย 48 ป่วยติดในมาเลเซีย ส่งกลับถึงบ้านอุดรธานี

จังหวัดสตูลช่วยเหลือชายไทยวัย 48 ป่วยติดในมาเลเซีย ส่งกลับถึงบ้านอุดรธานี

           วันที่ 5 ก.ย. 67) ที่โรงพยาบาลสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล มอบหมายให้นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล เป็นตัวแทนมอบเงินและสิ่งของ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ ชายไทย อายุ 48 ปี ที่ประสบความเดือดร้อนในประเทศมาเลเซีย เป็นผู้ป่วยแขนขาอ่อนแรง ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากจังหวัดสตูล โดยศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสตูล และโรงพยาบาลสตูล ให้การช่วยเหลือดำเนินการรับกลับมาประเทศไทย รักษาตัว และส่งกลับภูมิลำเนา สร้างความซาบซึ้งให้แก่ชายไทย อายุ 48 ปี เป็นอย่างมาก
.
         หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล กล่าวว่า สืบเนื่องจากจังหวัดสตูล ได้รับการประสานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง ว่ามีชายไทย อายุ 48 ปี ประสบปัญหาป่วยแขนขาอ่อนแรง ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล และหนังสือเดินทางใกล้จะหมดอายุ จึงต้องการส่งตัวกลับประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล จึงได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือ โดยให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล ประสานสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และมีหนังสือถึงโรงพยาบาลสุลตานาห์มาลิฮา เมืองลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพื่อขอความอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และประสานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับประเทศไทยให้กับผู้ป่วยชายไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประเทศมาเลเซียเป็นอย่างดี

             และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล รับตัวผู้ป่วยชายไทย กลับจากประเทศมาเลเซีย ณ ท่าเทียบเรือตำมะลัง และส่งต่อเพื่อรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลสตูล พร้อมประสานติดตามญาติของผู้ป่วยชายไทย ทราบว่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งญาติให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยเป็นน้องชาย มีความประสงค์จะรับผู้ป่วยกลับไปดูแล แต่เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน จึงไม่สามารถเดินทางมารับตัวผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง และขอให้หน่วยงานให้ความช่วยเหลือในการนำส่งผู้ป่วยกลับคืนสู่ครอบครัว
.
           นอกจากนี้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสตูล ได้ประสานขอความร่วมมือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดอุดรธานี ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านญาติของผู้ป่วย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับผู้ป่วย เดินทางกลับไปจังหวัดอุดรธานี และนำผู้ป่วยย้ายทะเบียนราษฎร์ออกจากทะเบียนบ้านกลาง เข้าทะเบียนบ้าน ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสตูล เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ สำนักงานอำเภอเมืองสตูล ด้านโรงพยาบาลสตูล ได้ตรวจรักษาผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคฮีทสโตรก มีอาการแขนขาซีกขวายังอ่อนแรง และมีปัญหาด้านการสื่อสารไม่สามารถพูดออกเสียงชัดเจน โต้ตอบได้บางคำ แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยเดินทางกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้ พร้อมทั้งมอบไม้เท้า 4 ขา สำหรับฝึกเดินกายภาพบำบัด

           ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ร่วมกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสตูล ภายใต้ชุดปฏิบัติการด้านคนขอทานและคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) จังหวัดสตูล ให้ความช่วยเหลือนำส่งผู้ป่วยชาวไทยเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมที่จังหวัดอุดรธานี พร้อมทั้งประสานศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดอุดรธานี วางแผนให้การช่วยเหลือต่อไป
……………………………………………………

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

พช.สตูล หนุนโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ จัดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน”

พช.สตูล หนุนโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ จัดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน”

         วันที่  3 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น.  ณ ตลาดแลจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย  สร้างรายได้สู่ชุมชน” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล โดยมีนางสาวรัตนา ไมสัน พัฒนาการจังหวัดสตูล กล่าวรายงานที่มา วัตถุประสงค์และรายละเอียดการจัดงาน

 

           พร้อมด้วยท่านสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล  ท่านธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล คุณประยูร โขขัด กรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สตูล (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และหัวหน้าส่วนราชการ แขกผู้เกียรติและสื่อมวลชนร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานอย่างคับคั่ง

 

           นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า “จังหวัดสตูลได้มีการวางแผนและดำเนินการเพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องต่อแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ด้วยวิสัยทัศน์ “สตูลเมืองแห่งความผาสุกที่ยั่งยืน”

 

          โดยได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในด้านการเกษตรซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้หลักของประชากรในพื้นที่จังหวัดสตูล จังหวัดจึงได้มีนโยบายในการยกระดับมาตรฐานทางด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพ คุณค่า มูลค่าในด้านนวัตกรรมการผลิต การแปรรูปทางการเกษตร การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้มีอำนาจต่อรองและสร้างความเข้มแข็งในด้านการตลาด ส่งเสริมพัฒนาสินค้าอัตลักษณ์ประจำถิ่นบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

 

         เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมไปถึงในด้านเกษตรปลอดภัย เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรทฤษฎีใหม่ การลดต้นทุนการผลิต เกษตรประณีตเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างโอกาสและกระจายรายได้แก่ประชาชากรในพื้นที่ สำหรับการจัดงาน”ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้สู่ชุมชน” ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เกษตรกรรวมถึงผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสตูลจะได้มีช่องทางในการขยายตลาด เผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้ไปที่รู้จักแก่กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเป็นการกระจายรายได้แก่ผู้ผลิตสินค้า และต่อยอดทางการตลาดได้อีกหนึ่งช่องทาง”

 

         นางสาวรัตนา  ไมสัน  พัฒนาการจังหวัดสตูล กล่าวว่า “ด้วยรัฐบาลมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยในปี 2559 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสานพลังประชารัฐขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  ให้เกิดการเติบโตและหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่ ส่งเสริม สนับสนุนและเพิ่มโอกาสเชื่อมโยงเครือข่ายทางการตลาด ลดความเสียเปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยกับธุรกิจขนาดใหญ่

         กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย “สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการผสานพลังของ 5 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ   ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน/ชุมชน มาร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ

         ภายใต้แนวคิด Social Enterprise (SE) เพื่อเป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพตลอดต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ผ่านกระบวนการขับเคลื่อน 5 ฟันเฟือง เริ่มต้นตั้งแต่การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสร้างองค์ความรู้ การตลาด การสื่อสารสร้างการรับรู้ และการบริหารจัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมช่องทางการตลาดเครือข่ายเกษตรปลอดภัย

         เพื่อส่งเสริมเครือข่ายเกษตรปลอดภัยในการขยายช่องทางการตลาด เพิ่มโอกาสทางการตลาด รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรมและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มั่นคง เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน”

          ผู้สนใจสามารถร่วมชมและเลือกซื้อสินค้าภายในงาน“ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย สร้างรายได้แก่ชุมชน” ได้ในระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2567 เวลา 15.30 – 21.00 น. ณ ตลาดแลจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยภายในงานมีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการสินค้าอาหารปลอดภัย สินค้าเกษตรปลอดภัย สินค้าชุมชนของจังหวัดสตูล จำนวน 30 ราย กิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขาย การแสดงดนตรี

…………………………………………

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล

Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ประจำปี 2567  ที่สตูล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ประจำปี 2567  ที่สตูล

            วันที่ (31 ส.ค. 67) ที่บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล นายชาดา ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่จังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ประจำปี 2567 โดยมีนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับจำนวนมาก โดยนางสำลี ลัคนาวงศ์ นายกอบต.กำแพง กล่าวต้อนรับ นายประยูร สงขาว ประธานชมรมอีหม่ามอำเภอละงู ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน

.

           สำหรับงานรำลึกเกียรติประวัติท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) เป็นงานที่ประชาชนทุกคนในตำบลกำแพงร่วมกันจัดขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) โดยกิจกรรมในงานเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้นำแบบอย่างอันดีงามและคำสอนของศาสดามาปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแสดงของนักเรียน กิจกรรมการแข่งขันของนักเรียนตาดีกา การจัดนิทรรศการ การบรรยายธรรม การจำหน่ายสินค้าราคาถูก อีกทั้งยังเป็นงานที่พี่น้องชาวไทยมุสลิมได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี รำลึกถึงเกียรติประวัติท่านศาสดานบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) และสืบสานธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาอิสลามให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเพื่อสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นในชุมชนตำบลกำแพงอีกด้วย

อัพเดทล่าสุด

 สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล สร้างรายได้มั่นคง พร้อมต่อยอดแปรรูปครบวงจร

สตูล  เกษตรกรหัวใจนักสู้! เปลี่ยนทลายปาล์มเหลือใช้ สู่เห็ดฟางคุณภาพ  ส่งขายตลาด-โรงพยาบาล