Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

จากป่าสู่ครัว : ชาวมานิรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้ทำโรตี-ปัสมอส วิทยาลัยชุมชนสตูลหนุนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากป่าสู่ครัว : ชาวมานิรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้ทำโรตี-ปัสมอส วิทยาลัยชุมชนสตูลหนุนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

        (19 ธ.ค.2567) ที่หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธ์ชาวมานิ  “ทับแม่ฉิม ห้วยโด”   หมู่ 10 บ้านวังนาใน   ต.น้ำผุด  อ.ละงู จ.สตูล วันนี้เด็ก ๆ และแม่บ้านภายในทับทุกคน  ไม่น้อยกว่า 30 ชีวิต กำลังตั้งใจเรียนรู้การทำเมนูโรตี  อาหารพื้นที่ถิ่นกันตื่นตาตื่นใจ  ทุกคนได้มีโอกาสลงมือทำไม่ว่าจะเป็นการนวดแป้ง การฟัดโรตี การทอด  เรียนรู้และลงมือทำตั้งแต่กระบวนการทำขั้นตอนแรก

 

         นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำ เมนูปัสมอสเพื่อสุขภาพ  หรือที่เรียกกันว่า สลัดแขก เมนูที่ดูเหมือนจะง่ายแต่ก็ไม่มากนัก เพราะเครื่องปรุงค่อนข้างจะเยอะ แต่ทุกคนก็ได้เห็นหน้าตาของเครื่องปรุงและลงมือทำ  การหั่น การทอด การเคี่ยวน้ำปรุงราด ตลอดจนได้ลิ้มลองฝีมือของตัวเองกันอย่างสนุกสนานและอิ่มเอมกับความรู้ที่ได้รับ

 

         ซึ่งการอบรมการทำเมนูอาหารพื้นถิ่นในครั้งนี้  เป็นของโครงการของสถาบันวิทยาลัยชุมชนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ มอบให้แก่ประชาชน โดยวิทยาลัยชุมชนสตูล ภายใต้โครงการบริการวิชาการตามความต้องการของชุมชน  ประจำปีงบประมาณ 2568  บริการวิชาการ ส่งเสริมทักษะอาชีพพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน “ หลักสูตรอาหารพื้นถิ่นสร้างอาชีพ “

 

          นางสาวฉ๊ะ  รักษ์ละงู   ชาวมานิ  บอกว่า  ทำไม่ยาก สำหรับโรตีเพิ่งทำครั้งแรก ชอบตอนฟัดโรตี  อยากทำไว้กินเอง  อร่อยมากกับเมนูที่พวกตนได้ทำและได้กินกัน

         ครูณัฐนันท์   โอมเพียร  (ครูณัฐ)   ผู้ดูแลชาวมานิ  บอกว่า  อยากเห็นเขาสร้างอาชีพ  ทำอาหารแบบง่าย ๆ ได้ทำกินเองและเมนูที่ทำเป็นเมนูที่ชาวมานิชอบมาก  การอบรมในครั้งนี้อยากให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆจากภายนอกเพื่อให้เรียนรู้สังคมเมือง ด้วยการเรียนรู้ปรับตัวเอง เป็นครั้งแรกของพวกเขาที่ได้เรียนรู้การทำอาหาร  วัตถุดิบหาง่าย ลำดับต่อไปอยากให้สอนการทำจักรสาน หลากหลายรูปแบบ ให้สวยและขายได้ เพราะทุกวันนี้เขาทำจักรสานอยู่แต่ไม่สวย

         ดร.วรรณดี สุธาพาณิชย์  (ผอ.วชช.สตูล)  ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสตูล กล่าวว่า  การอบรมในครั้งนี้ได้ดูแลเป็นพิเศษ  ครั้งนี้ส่งเสริมอาหารพื้นถิ่น ปัสมอสและโรตีที่พวกเขาชอบกิน  เขาจะได้ทำไว้กินเอง หรือพัฒนาต่อยอดไปขายได้  และจะพัฒนาต่อเนื่องหากต้องการ เช่นการทำจักสาน ภาชนะ ความละเอียดที่พวกเขามีเป็นพื้นฐาน  เราจะเข้ามาพัฒนาการทำตะกล้าจากใบเตย ทำภาชนะใช้เองเข้าป่า หาอาหาร  การอบรมในครั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของปัจเจกบุคคลและชุมชนในลักษณะของการตอบสนองที่รวดเร็ว และสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล

 

          แนวคิดรัฐบาล ที่มีนโยบายให้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG Model  เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาลัยชุมชนสตูลจึงเห็นความสำคัญของการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมด้านวิชาการ การเผยแพร่ความรู้  เป็นที่ปรึกษา และบริการวิชาการแก่สังคม  โดยบูรณาการความรู้ใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการเชื่อมโยงการให้บริการวิชาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม อันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายชุมชน และสังคมใกล้เคียงได้รับความรู้  เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการ และทำให้วิทยาลัยฯมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย

…………………………..

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

   ทต.คลองขุด จัดโครงการ เยาวชนจิตอาสาปลูกป่าลดโลกร้อน’ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่ง​​​​​​​​​​​​​​​

ทต.คลองขุด จัดโครงการ ‘เยาวชนจิตอาสาปลูกป่าลดโลกร้อน’ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่ง​​​​​​​​​​​​​​​

            13 ธันวาคม 2567 เวลา 08.00 น. ณ หมู่ที่ 3 บ้านคลองน้ำเวียน ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายสุนทร พรหมเมศร์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองขุด พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลฯ ปลัดเทศบาลตำบลคลองขุด รองปลัดเทศบาลฯ หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานฝ่ายที่เกี่ยวข้องของเทศบาลตำบลคลองขุด ร่วมจัด จัดโครงการเยาวชนจิตอาสาปลูกป่าลดโลกร้อน โดยมี นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง เยาวชน นักเรียน นักศึกษา  ภาคประชาชนจิตอาสาและสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม กว่า 300 คน

 

          สำหรับโครงการ เยาวชนจิตอาสาปลูกป่าลดโลกร้อน จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมนชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ  และวันพ่อแห่งชาติประจำปี 2567 ( 5 ธันวาคม 2567)  เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ ในปี 2567

          โครงการเยาวชนจิตอาสาปลูกป่าลดโลกร้อน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ทรัพยากรทางทะเล การฟื้นฟูป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และชายฝั่ง รวมถึงการเพิ่มปริมาณของสัตว์น้ำสู่ท้องทะเล ส่งผลให้ระบบนิเวศทางทะเลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สำหรับการจัดโครงการในครั้งนี้มีกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ซึ่งเป็นต้นโกงกางใบใหญ่ จำนวนกว่า 3,000 ต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 (ตำมะลัง) และต้นจากโดยชุมชนคลองน้ำเวียนพร้อมกิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กุ้งแชบ๊วยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสตูล ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นแกนนำในการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งอาชีพของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่อไป

………………………………….

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

  สตูลปลุกพลังชุมชนสู่อุทยานธรณีโลกยั่งยืน   ปฏิวัติการท่องเที่ยว! จาก เรือหางยาว สู่ เรือไฟฟ้า 

สตูลปลุกพลังชุมชนสู่อุทยานธรณีโลกยั่งยืน   ปฏิวัติการท่องเที่ยว! จาก เรือหางยาว สู่ เรือไฟฟ้า 

          อุทยานธรณีโลกสตูลกำลังก้าวสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ด้วยความร่วมมือระหว่างชุมชน สถาบันการศึกษา และองค์การยูเนสโก ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ

          ปัจจุบัน การท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะการใช้เรือหางยาวแบบดั้งเดิมที่สร้างมลพิษทางเสียง  ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง

          นวัตกรรมเรือไฟฟ้า ทางออกเพื่อการท่องเที่ยวสีเขียว  โดยศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับมูลนิธิสถาบันทรัพยากรชายฝั่งแห่งเอเชีย ได้พัฒนาเรือหางยาวไฟฟ้า ซึ่งมีประสิทธิภาพที่น่าประทับใจ  โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 85%  – ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 25 เท่า – ลดต้นทุนพลังงาน 27 เท่า

          เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง  เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนสตูล ประกอบด้วย 15 กลุ่มชุมชน กำลังมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยเป้าหมายสูงสุด: การท่องเที่ยวคาร์บอนเป็นศูนย์

          นายปิยทัศน  วันเพ็ญ  เลขานุการมูลนิธิสถาบันทรัพยากรชายฝั่งแห่งเอเชีย กล่าวว่า  จากเครืองยนต์สันดาป สู่การใช้เครื่องยนต์อีวี  ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยการให้ท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลสามารถตอบโจทย์การท่องเที่ยวให้อย่างแท้จริงและยั่งยืน 

          นายอาลี  สุขสุวรรณ์  นักวิชาการส่วนสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า  ในเบื้องต้นจะมีการผลักดันให้ใช้เครื่องยนต์อีวี ในพื้นที่เป้าหมายอุทยานธรณีโลกสตูล คือ บ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านปากบารา และบ้านหัวหิน และจะขอให้เพิ่มพื้นที่เป็น 10 จุดจากมูลนิธิสถาบันทรัพยากรชายฝั่งแห่งเอเชีย  ที่บริการท่องเที่ยวในพื้นที่ปราสาทหินพันยอด

         นายจักรกริช ติงหวัง  ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสตูล กล่าวว่า  วงการท่องเที่ยวชุมชนด้วยนวัตกรรมเรือไฟฟ้า จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์การท่องเที่ยว เรือไฟฟ้าลำใหม่นี้มีจุดเด่นที่น่าทึ่ง โดยสามารถลดเสียงลงถึง 3 เท่าจากเรือเครื่องยนต์ทั่วไป พร้อมตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความเงียบสงบที่ลดลง  ระหว่างการล่องเรือ ควบคู่ไปกับการดูแลระบบนิเวศอย่างใกล้ชิด

 

          ความพิเศษอีกประการ คือ เรือสามารถวิ่งได้ต่อเนื่องนานถึง 7 ชั่วโมง โดยประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากเรือเครื่องยนต์ธรรมดา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  โดยจะเริ่มใช้ในต้นปีน่านี้ในชุมชนชายฝั่งทะเลกว่า 10 แห่งในสตูลได้เริ่มนำร่องโครงการนี้   โดยมีเป้าหมายสำคัญคือจะนำเสนอความพร้อมต่อคณะกรรมการ UNESCO เพื่อคงสถานะ “อุทยานธรณีโลก” ไว้อย่างภาคภูมิใจ   การปฏิวัติครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะยกระดับการท่องเที่ยวของสตูล แต่ยังเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ในการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย

 

          โครงการนี้มุ่งสู่การพัฒนา “สตูลจีโอปาร์คซีโร่” (Satun Geopark Zero CBT) เพื่อสร้างแบบอย่างการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง 

 

         นวัตกรรมเรือไฟฟ้าไม่เพียงแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวชุมชนให้ก้าวสู่สากล สะท้อนถึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของชุมชนสตูลในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

……………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

รมว.แรงงาน เปิดงานเมาลิด ที่สตูล เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์และสันติสุขของประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

รมว.แรงงาน เปิดโครงการเทศกาลเมาลิด ที่สตูล เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์และสันติสุขของประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

         ที่ มัสยิดกลางควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล นายพิพัฒน์  รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เป็นประธานเปิดกิจกรรมจังหวัดสตูล โครงการเทศกาลเมาลิด (ฮิจเราะห์ศักราช 1446) ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีนายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นางสาวดุษฎี พฤกษเศรษฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 และเขต 2 สตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำศาสนาและประชาชน ให้การต้อนรับในวันที่ 7 ธ.ค. 67

      

         สำหรับการกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้พี่น้องมุสลิมได้รำลึกถึงและนำจริยวัตรของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) มาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม และเป็นการส่งเสริมความสมานฉันท์และสันติสุขของประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย โดยภายในงานมีกิจกรรมของนักเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดจากศูนย์ตาดีกา อาทิเช่น การอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกรุอ่าน การขับร้องอัลนาเชด  การแสดงทอล์คโชว์ การแสดงลิเกฮูลู การมอบเกียรติบัตรให้แก่นักเรียนและการบรรยายธรรม เป็นต้น

       ทั้งนี้ วันเมาลิดเป็นวันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) เพื่อถวายความรำลึกถึงศาสดา มีการนำประวัติของท่านมากล่าวถึง และสดุดีคุณธรรมอันสูงส่ง นับเป็นการเผยแพร่ประวัติและสร้างความเข้าใจในหลักการศาสนาอิสลาม แก่ศาสนิกชนขึ้นอีกทางหนึ่ง ถือเป็นการรำลึกเกียรติประวัติท่านนบมูฮัมหมัด (ซ.ล.) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ศาสนาและการสร้างสรรค์สังคม พัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองตลอดไป

…………………………

ภาพ/ข่าว : ขนิษฐา เดิมหลิ่ม/ ส.ปชส.สตูล

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

เกษตรสตูล ส่งมอบพันธุ์พืช ให้แก่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการมอบให้แก่เกษตรกรและผู้ประสบภัยพิบัติในจังหวัดสตูล

เกษตรสตูล ส่งมอบพันธุ์พืช ให้แก่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการมอบให้แก่เกษตรกรและผู้ประสบภัยพิบัติในจังหวัดสตูล

          วันที่ 4 ธันวาคม 2567 นางสาวกำไลทิพย์ เศรษฐ์วิชัย เกษตรจังหวัดสตูล  ได้ส่งมอบพันธุ์หน่อกล้วยน้ำว้ากาบขาวให้แก่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการมอบให้แก่เกษตรกรและผู้ประสบภัยพิบัติในจังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

         พันธุ์หน่อกล้วยน้ำว้ากาบขาว ได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ซึ่งการมอบพันธุ์หน่อกล้วยน้ำว้ากาบขาวครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ (อุทกภัย) ซึ่งในช่วงวันที่ 27- 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของจังหวัดสตูล โดยการปลูกกล้วยน้ำว้ากาบขาวเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้และเสริมความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

         ทั้งนี้ สำนักงานเกษตรอำเภอจะนำพันธุ์หน่อกล้วยน้ำว้ากาบขาวไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป เพื่อให้เกษตรกรสามารถปลูกและดูแลรักษาได้ในระยะยาว พร้อมทั้งจะมีการจัดอบรมและส่งเสริมการปลูกกล้วยน้ำว้าให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสตูลให้กลับมามั่นคงอีกครั้ง

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

อบต.ฉลุง ดึงเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในตำบล เรียนรู้การสร้างตัวตน  ฝึกผลิตคลิปสั้น เสริมทักษะด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

อบต.ฉลุง ดึงเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในตำบล เรียนรู้การสร้างตัวตน  ฝึกผลิตคลิปสั้น เสริมทักษะด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

          ที่ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง  อ.เมือง  จ.สตูล  ประชาชนในพื้นที่ตำบลฉลุง  แกนนำหมู่บ้านคณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิก ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มเด็กและ เยาวชนโรงเรียนในเขตพื้นที่ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง จำนวน 50 คน เข้ารับความรู้และร่วมกิจกรรม สัมพันธ์และขับเคลื่อน  โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง  ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 ธ.ค.2567  โดย นายสุจริต ยามาสา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง  มอบหมายให้ นายรัตนชัย  กาหนุง  รองนายก อบต.ฉลุง  เป็นประธานในพิธีเปิด 

 

          นายจรัญ เส็นหล๊ะ   ปลัดอบต.ฉลุง  กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการว่า  เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึก ร่วมกันในการพัฒนาท้องถิ่นระหว่างองค์กรกับประชาชนในพื้นที่  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงได้มาตรฐานสากล และครอบคลุมภารกิจและหน้าที่ ขององค์การ บริหารส่วนตำบล   เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานของ องค์การบริหารส่วนตำบล ฉลุง ผลงานเครือข่ายภาคประชาชน และภาคราชการที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรกับประชาชนในพื้นที่ ร่วมพัฒนา ท้องถิ่น

         โดยบรรยากาศการฝึกอบรมเป็นไปอย่างสนุกสนาน ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การสร้างตันตนในโลกออนไลน์  และการผลิตคลิปวิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์ด้วยมือถือ  ก่อนโชว์ผลงานการผลิตคลิปทำความรู้จัก อบต.ฉลุง  โอกาสนี้ นายสุจริต ยามาสา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  กล่าวหลังร่วมชมผลงานาของผู้เข้าอบรมว่า เราได้จัดตั้ง เครือข่ายประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ขึ้นในปีที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อนงาน ประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง และงานส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่ายจากแขนงต่างๆ เช่น คณะกรรมการ หมู่บ้าน สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อส ม.) กลุ่มเด็กและเยาวชนโรงเรียนในเขตพื้นที่ ประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ ของ อบต.ฉลุง ตามกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการเพิ่มองค์ความรู้สมัยใหม่ ในการพัฒนางานด้านประชาสัมพันธ์ภารกิจต่างๆขององค์การบริหารส่วน ตำบล และหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบล ฉลุง ให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ทันต่อการพัฒนาในอนาคต ในปีนี้การ พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายจึงเป็นการต่อยอดและพัฒนาให้การขับเคลื่อนต่อไป

………………………………..

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

ผนึกกำลังพัฒนา! หน่วยงานรัฐเร่งแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบนเกาะบุโหลนดอน

ผนึกกำลังพัฒนา! หน่วยงานรัฐเร่งแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบนเกาะบุโหลนดอน

         วันที่ 26 พ.ย.67  นายมิตร บุญจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสตูล สำนักงานชลประทานที่ 16 พร้อมด้วยนายธีรศักดิ์ ชุมแคล้ว วิศวกรชลประทานชำนาญการ ร่วมลงพื้นที่โครงการจัดหาน้ำให้เกาะบุโหลนดอน หมู่ที่ 3 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล  โดยมีนายอนุเทพ อัลมาตร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำอำเภอละงู นายไพศาล บุญแก้ว ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอละงู นายสุพล คำเสนาะ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะเภตรา นายโกเมศ  จิตพิทักษ์ สมาชิกสภาจังหวัดสตูล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ณ บริเวณสถานที่เกาะบุโหลนดอน หมู่ที่ 3 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

 

       เพื่อร่วมบูรณาการหาแนวทางแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค ไฟฟ้าส่องสว่าง และระบบสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ใหญ่กว่านี้มีอีกไหม! กล้วยงาช้างสตูล-ลูกใหญ่ เนื้อแน่เยอะ หวานกรอบ จากสวนยางสู่กล้วยกรอบแก้วระดับพรีเมียม

ใหญ่กว่านี้มีอีกไหม! กล้วยงาช้างสตูล-ลูกใหญ่ เนื้อแน่เยอะ หวานกรอบ จากสวนยางสู่กล้วยกรอบแก้วระดับพรีเมียม

          ที่สวนของสมาชิกในกลุ่ม  “วิสาหกิจชุมชนกล้วยสวนกรอบแก้ว”   529/1 หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำผุด  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล ได้มีการปลูกกล้วยเพื่อแซมสวนยางพารา  ร่วมกับต้นกาแฟ ต้นกระท่อม เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม  โดยเฉพาะการปลูกกล้วยงาช้าง ที่เป็นวัตถุดิบชั้นเยี่ยมของทางกลุ่มในการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ  ภายใต้แบรนด์  กล้วยงาช้างกรอบแก้ว “สวนตาอุ้ย” กรอบอร่อย ทุกที่ทุกเวลา  ที่ได้รับเลขทะเบียน อย.การันตีความอร่อยสะอาดถูกหลักอนามัยด้วย

 

          จากการลองผิด ลองถูก เพื่อให้เกิดความแตกต่างมาลงตัวที่  กล้วยงาช้าง  ด้วยคุณสมบัติผลใหญ่ (ใหญ่สุดลูกเดียว 1.8 ขีด)  ปลูกเพียง 8 เดือนก็สามารถให้ผลผลิต  เนื้อเนียน  เนื้อเยอะ  ไม่มีเมล็ด  รสชาติดีทำให้ทางกลุ่มของคุณป้าเย็น และคุณจิต และเพื่อนๆ สมาชิกได้ตกลงใช้กล้วยสายพันธุ์นี้ทำ  กล้วยกรอบแก้ว  ที่มีรสชาติลงตัวที่สุดกับ รสหวาน รสเค็มและรสปาปิกา  จำหน่ายเพียงถุงละ 35 บาท (3 ถุงร้อย) ถุงละ 50 บาทหรือจะซื้อเป็นกิโลกรัมละ 180 บาท (2-3 กิโลกรัมขึ้นไป) 

 

          ขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก  เน้นความสะอาด  กล้วยที่ได้มาเป็นกล้วยแก่ 70 เปอร์เซ็นต์  ล้างน้ำทำความสะอาดจากนั้นแช่ในน้ำเปล่า ตัดหัวตัดท้ายออกปลอกเปลือกและแช่ในน้ำส้มสายชู  เพื่อล้างยางในตัวกล้วย และนำมาสไลด์เป็นแผ่นบาง ๆ  ตั้งไฟใส่น้ำมันร้อนลงไปทอดไม่ทันเหลืองให้ยกขึ้นจากกระทะ  ให้สะเด็ดน้ำมันแล้วนำไปใส่ในหม้อน้ำตาลที่ผ่านการเคี้ยวจนหอมน้ำใบเตย  ไม่ถึงนาทียกขึ้นให้สะเด็ดน้ำตาลจากนั้นนำไปทอดในกระทะอีกครั้ง เพิ่มความเหลืองกรอบในระดับหนึ่งก่อนยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน  วางบนกระดาษซับน้ำมัน เป็นอันเสร็จ ชิมความอร่อยของกล้วยกรอบแก้ว รสหวานได้เลย

          นางเกสร  เตชะศิริประภา (ป้าเย็น) ประธานกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนกล้วยสวนกรอบแก้ว”  นางเขมนิจ   เมืองแก้ว (ป้าจิต) รองประธานฯ พร้อมสมาชิก 20 คน   บอกว่า   ทางกลุ่มผลิตกล้วยกรอบแก้วจาก “กล้วยงาช้าง” ที่มีคุณภาพ  เพราะลูกใหญ่ รสชาติหวาน กรอบ และเก็บได้นาน  ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดตอบรับเป็นอย่างดี 

 

           สำหรับสมาชิกของทางกลุ่มฯ ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ ชาวสวน ที่มารวมกลุ่มกันสร้างรายได้เสริม  ปัจจุบันแม้ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเนื่องจากปีที่ผ่านมาประสบภัยแล้ง   แต่ทุกคนยังคงมุ่งมั่นในการที่จะผลิตสินค้าคุณภาพ เพราะมีใจรักในการทำ และใส่ใจคุณภาพ สมาชิกทุกคน 20 คนได้รับการปันผลรายได้ทันทีตามผลประกอบการแต่ก็ไม่ใช่สาระหลัก  เพราะทุกคนอยากมารวมตัวกันเจอกันรายได้เสริมเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำกลุ่มมากกว่า

 

          นางสาวมนัสนันท์  นุ่นแก้ว เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า  สำหรับพื้นที่อำเภอละงูมีการปลูกกล้วยงาช้าง 40 ไร่ พบว่าผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากมีกระแสตอบรับดีมาก ทำให้ทางสำนักงานมีแนวความคิด ขยายพื้นที่การปลูกกล้วย กล้วยงาช้างให้เพิ่มขึ้น โดยจะส่งเสริมไปในส่วนของสมาชิกกลุ่มก่อน และจะขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นในบริเวณใกล้เคียง   สำหรับ  กล้วยงาช้าง  มีความพิเศษคือมีผลขนาดใหญ่เปลือกบาง เนื้อเนียนแน่นไม่มีเมล็ด ทำให้เหมาะกับการมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ เมื่อแปรรูปเสร็จเนื้อจะกรอบเนียนอร่อย

 

         สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ นี้มาตั้งแต่ปี 2562 ทางเกษตรอำเภอได้เข้ามาช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น นอกจากนี้ก็จะเป็นในส่วนของการตลาดและมาตรฐาน นอกจากนี้ทางกลุ่มก็ได้รับมาตรฐานอย.แล้วด้วย   อยากจะฝากกล้วยกับแก้วของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยสวนกรอบแก้วเพราะมีรสชาติอร่อย

 

        สามารถติดตามได้ทางช่องทาง Facebook ของกลุ่ม หรือของทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงูได้ โทร. 0896571242  , 0918147759

……………………………….

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ถั่วลิสงแซมยาง สร้างเงิน! เกษตรกรสตูลเผยสูตรสำเร็จ ปลูก 2 ไร่ 3 เดือนรายได้งาม

ถั่วลิสงแซมยาง สร้างเงิน! เกษตรกรสตูลเผยสูตรสำเร็จ ปลูก 2 ไร่ 3 เดือนรายได้งาม

         เกษตรกรต้นแบบที่ จ.สตูล สร้างรายได้เสริมด้วยการปลูกถั่วลิสงแซมในสวนยางพารา  ที่บ้านอุใดใต้  หมู่ที่ 5 ตำบลอุใดเจริญ  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล

         

         โดยนางสาวสุภาพ  ศรีทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอควนกาหลง พร้อม น.ส.จุฑามาศ เกียรติอุปถัมภ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ นายธารสวาท พิมเสน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกรและให้คำแนะนำการปลูกและดูแลพืชระยะสั้นที่ให้ผลผลิตเร็ว อย่างการปลูกถั่วลิสง

 

          ซึ่งเกษตรรายนี้คือ  นายนิรันดร  คลิ้งนวล อายุ 63 ปี  คุณลุงพร้อมภรรยา  เกษตรกรชาวบ้านอุใดใต้  ได้ปลูกถั่วลิสงแซมในสวนยางที่ยังไม่เปิดกรีด  เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้เสริม โดยใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ระหว่างรอยางโตบนพื้นที่ปลูก 2 ไร่  โดยใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 15 กิโลกรัมต่อไร่ มีเทคนิคการปลูกที่ไม่ยุ่งยาก เริ่มจากการไถดินและหว่านปูนขาวเพื่อป้องกันหนอน ปลูกโดยเว้นระยะห่าง 1 ไม้บรรทัด ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15 สองครั้งในช่วงอายุ 15 และ 30 วัน

         นางสาวสุภาพ ศรีทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอควนกาหลง กล่าวว่า   ถั่วลิสงเป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้เวลาสั้นเพียง 3 เดือนก็เก็บผลผลิตได้ และยังช่วยบำรุงดินอีกด้วย ที่สำคัญ ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถให้ผลผลิตถึง 300 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัมละ 50 บาท และหากแกะล้างเรียบร้อยราคาจะเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 75 บาท สร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

 

         โดยรายได้จากการขายถั่วลิสงต่อไร่ 15,000 บาท   ในพื้นที่จำนวน 2 ไร่  คุณลุงนิรันดร สามารถสร้างรายได้ภายใน 3 เดือน 30,000 บาท ควบคู่ไปกับพืชชนิดอื่นที่ปลูกแซมไปพร้อมกันด้วย

 

         นอกจากนี้ หลังเก็บเกี่ยวถั่วลิสงแล้ว ยังสามารถปลูกพืชหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น ข้าว ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวโพด ข้าวไร่  ได้อีกด้วย เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณลุงนิรันดร คลิ้งนวล โทร 083-656-1525 หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

……………………………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เยาวชนสตูล ร่วมสืบสานวิถีชาวนาพื้นบ้าน เรียนรู้ตั้งแต่เก็บเกี่ยวถึงการแปรรูป

เยาวชนสตูล ร่วมสืบสานวิถีชาวนาพื้นบ้าน เรียนรู้ตั้งแต่เก็บเกี่ยวถึงการแปรรูป

         บรรยากาศอันสวยงามของทุ่งข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองที่กำลังออกรวงเต็มท้องทุ่ง พร้อมให้เก็บเกี่ยวบนพื้นที่ 30 ไร่ในแปลงยางพาราอายุไม่เกิน 3 ปี ณ บ้านนาโต๊ะขุน ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ได้กลายเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่มีชีวิตสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่

        วันนี้ (20 พ.ย. 67) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์จำนวน 38 คน ได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาผ่านการแข่งขันเก็บเกี่ยวข้าวด้วย “แกะ” เครื่องมือพื้นบ้านที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีนายหร่ออ๊บ มุเส็มสะเดา นายอำเภอท่าแพ นางสาวกำไลทิพย์ เศรษฐ์ วิชัย เกษตรจังหวัดสตูล  นายอารีย์  โส๊ะสันสะ เกษตรอำเภอท่าแพ และชาวบ้านในชุมชนร่วมลงแขกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกัน

         เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการทำข้าวเม่า  หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้กระบวนการทำข้าวเม่าแบบดั้งเดิม เริ่มจากการคั่วข้าวเหนียว ตำในครก และฟัดด้วยกระด้ง ก่อนนำไปแปรรูปเป็นเมนูพื้นบ้าน “ข้าวเม่าคลุกมะพร้าวอ่อน” ที่ใช้ส่วนผสมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น 

         นางสาวชนกสุดา เจริญศิลป์  และนายธนกฤต เพชรสงค์  นักเรียน ชั้น ม.6  โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์     เปิดเผยว่า “แม้จะเป็นคนสตูลแต่ไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสกับการเก็บเกี่ยวข้าวมาก่อน การได้มาเรียนรู้วันนี้ทำให้ภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา และเห็นศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดเป็นวิสาหกิจชุมชน”

 

        ด้าน นางรำไพ สตันน๊อด ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตบ้านนาโต๊ะขุน เล่าถึงที่มาของโครงการว่า เกิดจากแนวคิดในการใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างหลังการโค่นยางพารา โดยหันมาปลูกข้าวเหนียวดำเพื่อสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน

 

        ปัจจุบัน อำเภอท่าแพมีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 3,048 ไร่ จาก 615 ครัวเรือน โดยเฉพาะในตำบลแป-ระมีพื้นที่ปลูกข้าว 1,576 ไร่ แบ่งเป็นนาข้าว 778 ไร่ และข้าวไร่ 798 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกแซมในสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างวิถีเกษตรดั้งเดิมกับการเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว

………………………

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต