Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ร้อนนี้ปลูกอ้อยขายน้ำ   สร้างเงินเดือนแตะแสนบาท  

สตูล-ร้อนนี้ปลูกอ้อยขายน้ำ   สร้างเงินเดือนแตะแสนบาท  

          ในช่วงสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งในระยะนี้  ได้ส่งผลให้ไร่อ้อยในพื้นที่หมู่ 4 บ้านลาหงา  ตำบลละงู  อำเภอละงู จังหวัดสตูล  มีรสชาติที่หวานหอมและพร้อมจะบริโภค  สู่ตลาดที่มีความต้องการในระยะนี้เพื่อดื่มคลายร้อน

          นายเจ๊ะหยัน   ลัดเลีย  วัย 74 ปี เปิดเผยว่า  ทำมาแล้วหลายอาชีพ  ทั้งประมงและทัวร์นำเที่ยว  แต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต  เมื่อหันมาตั้งหน้าตั้งตาทำไร่อ้อยแม้จะเป็นอาชีพที่ไม่โดดเด่น   แต่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้  โดยตัดสินใจโค่นต้นยางพารา 7 ไร่  เพื่อปลูกอ้อยพันธุ์  สายน้ำผึ้งนานร่วม 12 ปี  ด้วยรสชาติอร่อย  หอม  หวาน  ขายได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน  ยอดสั่งซื้อจะดีมากหลายเท่าตัว  

         การปลูกอ้อยสำหรับคุณลุงเจ๊ะหยัน  จะปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตนานถึง 7 ปี จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับไผ่  เพียงตัดให้เหลือหน่อไว้   การดูแลให้ปุ๋ย  บำรุงดิน  และตกแต่งพันธุ์อ้อยให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์  ตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภคที่นิยมซื้อเป็นลำเพื่อไปขายต่อ  และสั่งเป็นน้ำอ้อยที่คั้นสำเร็จรูปก็สร้างรายได้อย่างงามให้กับครอบครัวของคุณลุงเจ๊ะหยัน

         วิธีการเลือกต้นอ้อยที่สามารถตัดขายได้ต้องอายุ 8 เดือนขึ้นไป เลือกสีลำอ้อยที่น้ำตาลแก่เข้ม ลูกค้าจะจะมาซื้อเป็นลำวันละ 400-600 กิโลกรัม จำหน่ายกิโลกรัมละ 6 บาท หากทำเป็นน้ำอ้อยคั้นขายวันละ 200 ถุงจำหน่ายถุงละ 7 บาทหากเป็นขวดละ 10 บาท    สำหรับพื้นที่หมู่ 4 บ้านลาหงา  จะปลูกต้นอ้อยไม่น้อยกว่า  200 ไร่ เฉลี่ยเจ้าละประมาณ 3 ไร่ โดยอ้อยที่ปลูกพันธุ์สายน้ำผึ้งจะมีเปลือกที่บาง ลูกค้าจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็มาหาซื้ออ้อยจากที่นี่

          นายเจ๊ะหยัน   ลัดเลีย  วัย 74 ปี  บอกด้วยว่า   โดยอ้อยพันธุ์นี้มีรสชาติหวานหอม  ก่อนหน้านี้เคยปลูกพันธุ์สิงคโปร์ช่วงหลังๆไม่ได้รับความนิยม  การปลูกอ้อยอยู่ที่การดูแลบางคนปลูก 1 ปีหรือ 2 ปีก็ผ่านพ้นไม่ได้ตกแต่งดูแล สำหรับของป๊ะดูแลพันธุ์อ้อยเพียงครั้งเดียวสามารถอยู่ได้ 6-7 ปี สร้างรายได้ปีละแสนบาท  อนาคตอยากจะกระตุ้นให้ลูกหลานเดินตามรอยแปรรูปและส่งเสริมการปลูกอ้อยเป็นสินค้า OTOP จากอ้อยให้นักท่องเที่ยวเข้ามาหมู่บ้านเรา  หากสนใจติดต่อมาช่องทางเบอร์โทร 082-4283950

 

         นายวิทวัส เกษา  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านลาหงา  บอกว่า  ก่อนหน้านี้จะมีการปลูกปาล์มน้ำมัน ในช่วงนั้นต้นปาล์มยังเล็กอยู่ก็มีการนำอ้อยมาปลูกเสริม  ในช่วงแรกๆก็จะเป็นการเร่ขายภายในหมู่บ้าน  หลังจากนั้นก็มีเพื่อนบ้านต่างจังหวัดเข้ามาซื้อ  วันละหลายตัน  ในขณะนั้นก็จะมีเพียง 5-6 เจ้าเท่านั้น แล้วปัจจุบันก็มีหลายร้อยไร่  ตอนนี้ 10 กว่าเจ้าภายในหมู่บ้านขายตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำขายน้ำอ้อย 

 

          นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว  เกษตรอำเภอละงู  บอกว่า  จากลงพื้นที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงูจะเข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย  สำหรับพื้นที่ตรงนี้  หมู่ที่ 4 บ้านลาหงา  มีการปลูกอ้อยร้อยกว่าไร่ กับเกษตรกร 20 กว่าราย  จะผลักดันให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อจดวิสาหกิจชุมชนโดยทางเกษตรอำเภอละงู  จะเข้ามาส่งเสริมในเรื่องของการบริหารจัดการกลุ่ม  การแปรรูป  เท่าที่ดูกลุ่มนี้ก็มีการแปรรูปเบื้องต้น ทั้งแปรรูปเป็นน้ำอ้อย และน้ำตาลอ้อย อาจจะมีการต่อยอดให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น

………………………………..

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล สืบทอดขนมโบราณ “ลอเป๊ะ” จากรุ่นคุณยายขายดีช่วงรอมฎอน เด็กรุ่นใหม่ชื่นชอบ

สตูล สืบทอดขนมโบราณ “ลอเป๊ะ” จากรุ่นคุณยายขายดีช่วงรอมฎอน เด็กรุ่นใหม่ชื่นชอบ

          ขนมโบราณพื้นบ้านอย่าง  ขนมลอเป๊ะ  ขนมตาล และหม้อแกงต่างๆ  ต้องปรับราคาขึ้น  เนื่องจากราคาวัตถุดิบหลักอย่างน้ำตาล ไข่ และข้าวเหนียว พุ่งสูงขึ้น  ทำให้ร้านค้าต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

          แม้วัตถุดิบหลายอย่างปรับราคาขึ้น  แต่ทางร้านในพื้นที่จังหวัดสตูลยังคงทำขนมพื้นบ้าน  ขายในห้วงเดือนรอมฎอน  หรือเดือนถือศีลอดของชาวไทยอิสลาม  อย่างขนมลอเป๊ะ  หรือ ขนมลูเป๊ะ  ที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบหลัก คลุกกับมะพร้าวทึนทึกไปทางอ่อน  ทานกับน้ำตาลอ้อย   รสชาติอร่อย  เป็นหนึ่งเมนูขนมที่ขายดี  และเป็นขนมที่หลายคนคิดถึง   

          นางมาเรีย นาคบรรพต อายุ 30 ปี เจ้าของร้าน “กระจิ๊กandหวาชา” กล่าวว่า  ทำขนมไทยพื้นบ้านมาตั้งแต่รุ่นคุณตาคุณยาย   โดยเฉพาะ “ขนมลอเป๊ะ”  ขนมไทยโบราณที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซีย โดยคนไทยที่ไปทำงานที่อินโดนีเซียนำวัฒนธรรมขนม  เข้ามาประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่จังหวัดสตูล  โดยส่วนผสมมีข้าวเหนียว 100%  กวนกับน้ำปูนหรือน้ำด่าง ก่อนนำมาห่อด้วยใบตอง  นำไปต้มประมาณ 45 นาที เมื่อต้มเสร็จพักให้เย็นนำมาตัดเป็นแว่น คลุกกับมะพร้าว  ตัวข้าวเหนียวจะมีรสชาติจืดๆ  ทานด้วยน้ำตาลอ้อยที่นำมาเคี่ยวราดลงไป  ก็จะหวานลงตัวพอดี  เป็นขนมที่ถือว่าโบราณมากๆ  คุณแม่บอกว่าทำตั้งแต่รุ่นโต๊ะ หรือคุณยาย  เป็นขนมที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้เลย  เมื่อก่อนจะหากินได้เฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น  แต่ตอนนี้ก็มีวางขายตามปกติทั่วไปแล้วในช่วงเช้าของคนจังหวัดสตูลด้วย

            นอกจากขนม ลอเป๊ะ ที่เป็นต้นตำรับแล้วยังมีขนมอื่นๆอีกด้วย  ไม่ว่าจะเป็นหม้อแกงถั่ว  หม้อแกงไข่ และข้าวเหนียวสังขยา  นี่ก็เป็นขนมที่อยู่ในช่วงเทศกาล   ปกติขายกล่องละ 10 บาท  แต่ตอนนี้ต้องปรับขึ้นเป็น 12 บาท   ส่วนราคาส่งจาก 8 บาท  ปรับเป็น 10 บาท   สาเหตุหลักมาจากราคาวัตถุดิบ เช่น น้ำตาลทราย จากเดิมกิโลกรัมละ 21 บาท  ขึ้นเป็น 30 บาท  ไข่ไก่ จากแผงละ 90 กว่าบาท  ขึ้นเป็น 117 บาท  และข้าวเหนียว จากกิโลกรัมละ 25 บาท  ขึ้นเป็น 34-35 บาท  ทำให้รายได้ลดลง จากเดิมขายได้วันละ 4,000 บาท  เหลือเพียง 600-700 บาท 

            ด้านนายอนัญลักษณ์  สุขเสนา  ลูกค้าคนรุ่นใหม่  กล่าวหลังได้ชิมขนมว่า  ขนมลอเป๊ะนี้มีความแน่นของข้าวเหนียว  เมื่อได้กินคู่กับน้ำตาล  และมะพร้าวที่คลุกมากับข้าวเหนียว  จะให้ความรู้สึกว่าเคี่ยวเพลิน  มีความเค็มเล็กๆของมะพร้าว ตัดกับน้ำหวาน  จากใจเด็กรุ่นใหม่ คิดว่าขนมชนิดนี้จะเป็นขนมทานเล่นระหว่างวันได้เลย  และยอมรับว่าเพิ่งเคยทานที่นี่เป็นครั้งแรก  ก็ติดใจ  เคี่ยวเพลิน สามารถทานได้เรื่อยๆ

           ปัจจุบัน  ทางร้านเน้นรับออเดอร์ออนไลน์ และฝากขายที่ร้านลูกชิ้นซอย 17 ต.พิมาน อ.เมือง  จ.สตูล เพียงร้านเดียว   จากเดิมที่เคยฝากขาย 10 ร้าน   เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี   ทำให้บางร้านต้องเลิกขาย    สำหรับลูกค้าที่สนใจ  สามารถติดต่อร้าน “กระจิ๊กandหวาชา”   ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 080-545-5196   Line @0805455196   หรือ Facebook : maria nbpt

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  สตูล-เร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนชิม แตงโมริมทะเลแหลมสน ที่หวานฉ่ำกรอบ หน้าสวนขายเพียงกก.ละ 10-12 บาท หลังแตงโมหลายพื้นที่ออกมาตีตลาด    

สตูลเร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนชิม แตงโมริมทะเลแหลมสน ที่หวานฉ่ำกรอบ หน้าสวนขายเพียงกก.ละ 10-12 บาท หลังแตงโมหลายพื้นที่ออกมาตีตลาด

          หลังว่างเว้นจากการออกเรือประมงและทำนาข้าว  ชาวบ้านริมชายทะเลหมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล  จะลงมือปลูกแตงโมพันธุ์  เมย์ย่า และ โบอิ้ง  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมของตลาด  และเหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่   เนื่องจากที่นี่มีสภาพเป็นดินทรายน้ำไม่ขัง  มีความเป็นกรดและด่าง  มีแคลเซียมจากเปลือกหอย  จึงทำให้แตงโมแหลมสนมีความหวาน  กรอบอร่อย  และขึ้นชื่อมาอย่างยาวนาน

 

         แตงโมแหลมสน  จะปลูกปีละ 2 ครั้ง บนพื้นที่ 200 ไร่  มีเกษตรกรปลูกมากถึง 60 ราย  โดยภายใน 60 วัน  ที่นี่จะเต็มไปด้วยแตงโม เฉลี่ยผลผลิต 2.5 ตัน/ไร่ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร  30,000 บาท/ไร่   จากราคาที่จำหน่ายหน้าสวน 10 – 12 บาท/กิโลกรัม

 

          นายวัชระ  ติ้งโหยบ   อายุ 51 ปี  เกษตรกรหมอดินอาสา  ปลูกแตงโมแหลมสน  บอกว่า  ในช่วงแล้งเกษตรกรจะปลูกในระบบบ่อน้ำตื้น  และระบบน้ำหยดที่ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการปล่อยน้ำ  รดสวนแตงโม  เป็นปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์  ใช้เวลาปลูกเพียง 60 วัน  ก็เก็บผลผลิตได้  ในช่วงแล้งนี้ก็จะประสบปัญหาเรื่องแมลงเพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  ที่เข้ามาดูดน้ำเลี้ยงทำให้ผลไม่โตบ้างเหมือนกัน  อีกทั้งปัญหาแล้งที่ยาวนานไปหน่อย  แต่ก็ยังพอใจ   ราคาพออยู่ได้  แต่ไม่ดีเท่าปีก่อนที่กิโลกรัมละ 15 บาท  แต่ปีนี้เหลือเพียง  10 บาท  อยากให้ภาครัฐช่วยหาแม่ค้ามารับซื้อ  เพราะแตงโมหลายพื้นที่ออกพร้อมกัน  หลายคนหวัง  จะขายในช่วงเดือนถือศีลอด

 

         นางสาวมนัสนันท์ นุ่นแก้ว เกษตรอำเภอละงู พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงู ลงพื้นที่ตรวจสอบ   สวนแตงโมของเกษตรกร   ตลาด  และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก  หลังพบว่าปีนี้เกษตรกรประสบปัญหาทางการตลาด  ที่มีการปลูกแตงโมพร้อม ๆ กันในหลายพื้นที่   ทำให้แม่ค้ามารับซื้อลดลง   ในการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร โดยได้ประสานกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ให้เข้ามารับซื้อผลผลิตเพิ่มขึ้น  หากลูกค้าท่านใดสนใจสามารถกติดต่อสอบถาม  ได้ที่เกษตรอำเภอละงู  หรือติดต่อเกษตรกรโดยตรงที่   สนใจติดต่อ 092-627  3653  พร้อมกันนี้ทางเกษตรอำเภอละงู  จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรได้รับมาตรฐาน GAP ด้วย

          นอกจากนี้  ที่นี่ยังมีการปลูกแตงไท  และพริกสด อีกหนึ่งแหล่งรายใหญ่ของจังหวัดสตูลด้วย

…………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 ไส้ไก่ย่างกอและโบราณ  ขายมานาน 10 ปี  ไม้ละ 10 บาท อาหารละศีลอดขายดี  ยอดปัง  วันละ 200-250 ไม้     

ของถูกที่สตูล..เมนูไส้ไก่ย่างกอและโบราณ  ขายมานาน 10 ปี  ไม้ละ 10 บาท อาหารละศีลอดขายดี  ยอดปัง  วันละ 200-250 ไม้

         ตกเย็นในทุก ๆ วัน  ช่วงเดือนถือละศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิม  ในพื้นที่ตำบลพิมาน   อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล  หนึ่งในเมนูที่หลายคนนึกถึง  ทานง่าย จ่ายคล่อง เมนูประจำถิ่นกำลังฮิตในเวลานี้  คือ เมนูไก่ย่างกอและโบราณ  ที่ขายดี ชนิดแบบย่างแทบไม่ทัน  ไม้ละ 10 บาทเท่านั้น

        โดยร้านนี้เป็นของนางสาวศิริขวัญ    มาสชรัตน์    เจ้าของร้านไก่ย่างกอและสูตรโบราณ    อยู่ในซอยนกบินหลา   ถนนสฤษดิ์ภูมินารถ  ซอย 3    ตำบลพิมาน   อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล  ที่นี่มีไก่ย่าง  6 เมนู  ได้แก่  ไก่ย่างนมสด   ไก่ย่างเทอริยากิ   ไก่ย่างพริกไทยดำ  เนื้อโคขุนย่าง  และกำลังได้รับความชื่นชอบ  คือเมนูไส้ไก่กอและย่าง  เป็นการนำไส้ไก่ที่ทำความสะอาดอย่างดีมาคลุกกับผงขมิ้น  หอมอบอวล  ขายดีทุกเมนู  เพียงไม้ละ 10 บาท  และข้าวเหนียวห่อละ 5 บาท  โดยเฉพาะในเดือนรอมฏอน หรือ เดือนถือศีลอดพี่น้องมุสลิม จะขายดีเป็นเท่าตัวจากวันละ 100 ไม้  เพิ่มเป็น 200 ไม้ถึง 250 ไม้

           ที่นี่เป็นการทำธุรกิจในครอบครัว  คุณพ่อมีหน้าที่ย่าง  คุณแม่มีหน้าที่เสียบไม้ ส่วนคุณลูกมีหน้าที่ขาย และไปส่งตามออเดอร์  ซึ่งรับรองได้ว่าที่นี่สูตรน้ำราดอร่อยเป็นพิเศษ  เผ็ดนำเล็กน้อย เด็ก ๆก็ทานได้ โดยสูตรน้ำราด  ทำมาจากถั่วไม่ได้ใส่กะทิ  และผสมกับเครื่องแกงสูตรปัตตานีทำเอง  นอกจากนี้ทางร้านยังมี  หมี่คลุกโบราณ ผัดหมี่เบตง ในราคาชุดละ 40 บาท    เริ่มขาย ตั้งบ่าย 3 โมงเย็น  มีบริการจัดส่งตามบ้าน  โทรสอบถาม  086-966-9398 และ 088-9190-695   หรือทักเฟสส่วนตัว Sirikwan mascharat   หยุดทุกวันเสาร์และอาทิตย์

……………………………………………………………………………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 ขนมพื้นเมืองเตาฟืน  100 ปี สืบทอดสู่รุ่นที่ 4 ครองใจนักท่องเที่ยวและชาวสตูล แห่อุดหนุนกันคึกคักจนเพิ่มกำลังผลิต     

ขนมพื้นเมืองเตาฟืน  100 ปี สืบทอดสู่รุ่นที่ 4 ครองใจนักท่องเที่ยวและชาวสตูล แห่อุดหนุนกันคึกคักจนเพิ่มกำลังผลิต

         บรรยากาศการจับจ่ายในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้หลายพื้นที่คึกคัก   อย่างเช่นที่ร้านแห่งนี้  ซึ่งตั้งอยู่เส้นทางมุ่งหน้าไปท่าเทียบเรือปากบารา (สู่เกาะตะรุเตาและเกาะหลีเป๊ะ)  ต.ปากน้ำ  อ.ละงู  จ.สตูล   ตั้งแต่ 9 โมงเช้าของทุกวันเป็นต้นไป  จะมีลูกค้ามายืนรอจับจ่ายกันตั้งแต่เช้าเพื่อซื้อขนมคาวหวานไว้ละศีลอดในช่วงเวลาประมาณ  18.30 น. ซึ่งเป็นอยู่อย่างนี้ทุกวัน  

 

         ร้านก๊ะกร หรือร้านของ  นางทิพากร  บิหลาย อายุ  45 ปีเจ้าของร้านซึ่งเป็นทายาทสืบทอดการทำขนมรุ่นที่ 4 แล้ว ยอมรับว่า ลูกค้าที่มาซื้อเป็นลูกค้าประจำตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตายาย ที่ทำขนมขายมานานถึง 100 ปี  โดยทุก ๆ วันจะทำขนมหวานวันละ 15 ชนิด อาทิ ขนมแบงกัง ขนมหม้อแกงไข่  ขนมหม้อแกงถั่ว  ขนมชั้น  ขนมเมล็ดขนุน ขนมทองหยอด และขนมโกยยาโกยที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวน้ำตาลแดงและกะทิ   ขายตั้งแต่ราคา ชิ้นละ 2-3 บาท  ปัจจุบันขายที่ชิ้นละ 5 – 10 บาท (ในเมนูที่ใส่ไข่จะราคาชิ้นละ 10 บาท)

 

         โดยขนมที่ได้รับความนิยมคือ  ขนมแบงกัน  ลักษณะขนมคล้ายขนมหม้อแกง  แต่!ใส่ไข่น้อยกว่า   เพราะมีรสชาติอร่อยถูกปากคนพื้นที่   เพราะมีความมัน และกลมกล่อม เนื่องจากขนมทุกชนิดของที่นี่  ส่วนใหญ่จะใช้เตาไม้ฟืน(ยางพารา)  เพื่อเพิ่มความหอมของขนม  และลดต้นทุนการผลิตทำให้ขายได้ในราคาถูก   ซึ่งปกติทางร้านขาย  ในเวลา 15 นาฬิกาถึง 16 นาฬิกา  ของก็จะหมดเกลี้ยง  แต่ในช่วงนี้ลูกค้าจะมารอซื้อตั้งแต่เช้า  ทำให้ทางร้าน  ต้องทำไป  ขายไปกันแบบสด ๆ 

         นางสาวนาเดีย  ลูกค้า บอกว่า เป็นลูกค้าประจำซื้อมาตั้งแต่เด็ก ๆ ชอบในความสดอร่อย มีขนมหลากหลายให้เลือก รสชาติอร่อยถูกปาก โดยขนมที่ซื้อส่วนใหญ่คือขนมแบงกัง  ขนมลูเป๊ะ

 

          ทายาทรุ่นที่ 4 ขายมานานกว่า 100 ปีตั้งแต่บรรพบุรุษ   บอกว่า  ครอบครัวทำขนมหวานขาย   มายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น  ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านและนักท่องเที่ยว  มาซื้อหาก่อนลงเรือไปเที่ยวชมเกาะแก่งในจ.สตูล 

 

           ในแต่ละวันในช่วงนี้  ทางร้านจะทำขนมวันละ 40 ถาด (ซึ่งขนม 1 ชนิดจะทำอย่างละ 4-6 ถาด)  ภายใน 1 ถาดจะได้ 30 ชิ้น  ขายยกถาดละ 200 บาท ส่วนเมนูไส่ไข่อย่างสังขยา หรือหม้อแกง  ขายยกถาดละ 250 บาท  แรงงานที่มาช่วยกันทำขนม  ก็เป็นคนในครอบครัว ญาติและแรงงานในหมู่บ้าน  ท่านได้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่   062 074 9335

……………………….

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 “ขนมตาหยาบ” ชายแดนใต้ที่สตูล  ไส้หวานฉ่ำสร้างรายได้งามช่วงรอมฎอน     

“ขนมตาหยาบ” ชายแดนใต้ที่สตูล  ไส้หวานฉ่ำสร้างรายได้งามช่วงรอมฎอน

           ที่บ้านเลขที่  83/1 ม.7 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน  จ.สตูล  นางฮาหยาด  เกปัน  วัย 66 ปี   กำลังกุลีกุจอทำขนมโบราณ  หรือที่ชาวบ้านในพื้นถิ่นแดนใต้สตูลเรียก  “ขนมตาหยาบ”  มีลักษณะคล้ายขนมสายไหม  และ  ขนมโตเกียว  เพราะด้านนอกห่อด้วยแป้งนุ่มๆ  ที่มีการผสมสีเขียวจากใบเตย   หวานฉ่ำด้วยไส้มะพร้าวทึนทึกไปค่อนข้างอ่อน   ซึ่งเป็นการผสมผสานที่เข้ากันได้อย่างดี

 

        โดยสูตรเริ่มจากน้ำมะพร้าวทึนทึกไปผัดกับน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายแดง   บางรายใส่น้ำมันพร้าวอ่อนลงไปด้วย ใส่เกลือนิดหน่อย   จากนั้นเตรียมแป้งสาลีอเนกประสงค์  เกลือ  ไข่ไก่ และน้ำใบเตยลงไป ผสมให้เข้ากัน   เสร็จแล้วก็ไปเตรียมกระทะตั้งไฟอ่อน  โดยเอาผ้าชุบน้ำมันทาบาง ๆ จากนั้นเทแป้งลงไปและทำให้เป็นแผ่นกลมๆ ก่อนจะนำออกมาใส่ไส้มะพร้าวอ่อนพร้อมกับห่อเป็นแท่ง   เท่านี้ก็เสร็จพร้อมทานกับน้ำชาหรือกาแฟได้เลย

 

          นางฮาหยาด  หรือ  ม๊ะฮาหยาด  บอกว่า  เริ่มทำขนมตาหยาบโบราณมาจากพ่อแม่ที่เปิดร้านขายมาก่อนกว่า 30 ปีที่เรียนรู้ทำขนมขนเป็นที่ติดอกติดใจลูกค้าประจำ และลูกค้าคนรุ่นใหม่ท่าชื่นชอบขนมโบราณทานง่าย แป้งนิ่มหนึบไส้หวานฉ่ำเข้ากันได้ดี  ขนมชนิดนี้ทำให้สามารถเลี้ยงลูกรับราชการ และโตมาได้ถึง 4 คน โดยขายตั้งแต่วันละ 200 บาท ปัจจุบันนี้ในช่วงรอมฏอนวันละ 2,000 บาท ลูก ๆ บอกให้หยุดทำได้แล้วแต่ม๊ะยังชื่นชอบและบอกว่าไหว เพราะลูกค้ายังเรียกร้องทำให้ม๊ะฮาหยาดต้องทำขนมต่อ

 

           สำหรับขนมตาหยาบโบราณ  จะทำขายเป็นกล่องละ 10 บาท (ข้างในมีจำนวน 4 ชิ้น) ในช่วงรอมฏอนนี้จะมีออเดอร์สั่งรัว ๆ เพราะใช้ทานแก้บวช จะหวานฉ่ำชุ่มคอ และทานเป็นอาหารเบรกระหว่างวันได้เป็นอย่างดี ส่วนใครจะนำไปประกอบอาชีพทุนไม่มากนักรายได้ดีหากมีฝีมือ  โดยอุปกรณ์ของม๊ะฮาหยาด  บอกว่า ของใหม่นำมาทำขนมแล้วไม่อร่อย ม๊ะ  ใช้กระทะเหล็กใบเก่าอายุ กว่า 30 ปี ตะหลิว และจวัก แม้จะมีบางส่วนชำรุดแต่ก็ยังปรุงเมนู ขนมตาหยาบได้อร่อยเหาะ จนมีออเดอร์ปังวันละ 200 กล่องเพียง 2 – 3 ชั่วโมงก็ทำเสร็จหมดเกลี้ยง โดยพ่อค้าแม่ค้า  10 เจ้า  มารับที่บ้านเพื่อไปจำหน่าย

         สนใจติดต่อสั่งขนมให้ที่โทร 065 610 4484

…………………………

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล -แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด   ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น  และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้  ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี  แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ     

สตูล แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด   ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น  และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้  ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี  แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ

          ที่สวนโกฮก  หมู่ 2 เขตเทศบาลตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองสตูล   ลงพื้นที่เยี่ยมสวนแห่งนี้    ซึ่งมีพื้นที่ 10 ไร่  ได้ปลูกทุเรียน 100 ต้น  หลังพบว่า   ที่สวนแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากช่อทุเรียนได้แห้งและล่วงหล่นจำนวนมาก  แม้สวนแห่งนี้   จะเป็นสวนที่มีระบบน้ำเพียงพอ   แต่สภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด  เชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะยาวนานไปจนถึงเดือน พ.ค.นี้   ทำให้เกษตรกรแม้จะมีระบบน้ำ   ต้องเพิ่มความถี่ในการรดน้ำที่โคนต้น  เป็นระยะ ๆ  เพื่อหล่อเลี้ยงรักษาระดับความชื้น    

 

          นายพิสุทธิ์  กั้วพานิช  อายุ 46 ปีเจ้าของสวนทุเรียน  กล่าวว่า  ปีนี้ต้องดูแลสวนทุเรียนเป็นพิเศษเพราะเป็นพืชหลักที่ทำรายได้ให้กับทางสวน รองลงมาเป็นมังคุด และเงาะ  สถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้ทางสวนกลัวมาที่สุดคือ  ฝน เพราะหากฝนตกหนักในช่วงนี้อาจจะทำให้ผลที่เริ่มติดดอก  ล่วงหล่นเพิ่มได้   แต่ก็ยังมีพืชบางชนิดที่ยังคงต้องการช่วงแล้ง  พร้อมเชื่อว่าปีนี้   ผลผลผลิตจะลดน้อยกว่าทุกปีเหลือร้อยละ   60-70

 

        ขณะที่ทางด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล  ได้แนะนำให้เกษตรกร  รดน้ำพืชผลเป็นช่วงๆ ก่อนออกดอก  โดยจะให้น้ำในระยะเวลานึง   เมื่อติดดอก…..ผสมเกสร ต้องลดปริมาณน้ำลง   เกษตรกรเองก็ต้องประเมินว่าพื้นที่ของตัวเองมีปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่  สำนักข่าวไทยอสมท.รายงานจากจ.สตูล 

 

          นางสาวศรัณยา สว่างภพ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า  สำหรับพืชที่มีความเสี่ยงจะให้ผลผลิตลดน้อยลง   ในช่วงแล้งนี้   ได้แก่   ทุเรียน มังคุด  เงาะ จำปาดะ ลองกอง  ซึ่งต้องมีการพยากรณ์อีกครั้ง   ในช่วงเมษายนว่า   จะมีฝนตกลงมาหรือไม่   สำหรับเกษตรกรรายไหนที่มีระบบน้ำ  สำรอง   ในช่วงนี้ไม่ต้องการให้ฝนตกเพราะในสวนกำลังออกดอกติดผลผลิต    ผิดกับ เกษตรกร   ที่ไม่มีระบบน้ำ   ในช่วงนี้ต้องการเพียง   รักษาต้น   ให้รอดตายจากฤดูแล้งนี้

………………………………

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก”       

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก” 

        ทุก ๆ เช้าพี่ดำ หรือนายฐานพัฒน์  แสงเพชร  อายุ 46 ปี จะทำหน้าที่ดูแลผักให้เจริญเติบโตงอกงาม  ทั้งการตรวจวัดค่าปุ๋ยน้ำ  สภาพอากาศที่ไม่ร้อนจัดจนผักเฉา  หรือกระทั้งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะใส่ผัก  จากอนุบาล จนโต  ซึ่งงานประเภทแรงงานหนัก ๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของพี่ดำเป็นส่วนใหญ่ 

        ส่วนพี่แตน  หรือคุณณิชากร   แสงเพชร   แฟนพี่ดำ  จุดเริ่มต้นจากทั้งคู่รักสุขภาพ  ทดลองปลูกผักทานเอง  จนมาวันนี้ทำหน้าที่การตลาด บริหารจัดการสวนผัก  พร้อมคิดค้นหาสูตรทางสื่อโซเซียล  เพื่อให้ผักงอกงามและปลอดภัยพร้อมส่งต่อให้กับลูกค้า   ที่ชื่นชอบผักสลัดตามออเดอร์  10 ถุงหรือ 5 กิโลกรัม  วันละ 500 บาท โดยผักที่ส่งลูกค้าจะงดให้ปุ๋ย  โดยจะให้น้ำเปล่าแทน  จำนวน 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผักที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง 

         ซึ่งพี่ทั้งสองบอกกับเราว่า  สวนผักใจรัก  เกิดจากทั้งคู่รักสุขภาพและอยากจะหาอาชีพที่ทำงานอยู่ด้วยกันที่บ้าน  โดยมาลงตัวที่การปลูกผักสลัด   ทุก ๆ เช้าจะใช้เวลาในช่วงเช้าตรู่ไม่เกิน 10 โมงในการดูแลสวนผัก และช่วงค่ำ   เวลาที่เหลือก็ไปออกกำลังกายและทำในสิ่งที่รักและมีความสุข 

         ผักที่ปลูกส่วนใหญ่ตระกูลผักสลัด  เช่น  กรีนโอ๊ค  จะขายดี  ลูกค้าจะนำไปทำสลัดโรล  , มินิคอส ก็จะเหมาะกับสายปิ้งย่าง  ,  ฟิลเล่  จะมีความกรอบใบหยิกไม่มีรสชาติขม ทางสวนผักจะขายเป็นถุงละ 50 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท  โดยมีผักหลายชนิดรวมกัน  เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผักเหล่านี้ได้ง่าย 

          สนใจสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร. 082-308-2141 ,  098-013-1768  หรือเพจสวนผักใจรัก   สำหรับทางสวนผักใจรัก  จะส่งขายตามออเดอร์เท่านั้น 

………………………………

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน       

  เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน
………………………….
ตั๊กแตน ปา ทัง ก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวนมากนี้ ใช้เวลาเพียงเดือนเศษ ซึ่งเป็นของ นายคุณากร อนุพันธ์ อายุ 43 ปี ชาวศรีสะเกษที่ได้มาตั้งรกราก อยู่ที่บ้านเจาะบากง ม.3 ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส โดยใช้ที่ดิน 5 ไร่ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามบ้านพัก สร้างโรงเรือน มุงไนลอนสีฟ้าและใช้ผ้าพลาสติกสีขาวคลุมด้านบนเป็นหลังคา เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวน 6 หลัง ซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้ว 4 รุ่น แต่ละรุ่นจะใช้ระยะเวลา 30 ถึง 35 วัน สามารถจับจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท

จากความนิยมกินตั๊กแตนในภาคอีสาน มาวันนี้ตลอดทั่วทุกภาคเริ่มยอมรับสัตว์เศรษฐกิจชนิดนี้ สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาเลี้ยงตั๊กแตนเจ้าแรกในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก โดยสั่งซื้อไข่จากภาคอีสานในราคาขีดละ 1,000 บาท หรือ กิโลกรัมละ 10,000 บาท เพื่อเพาะเลี้ยง การเลี้ยงตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงไม่มากนัก ลงทุนครั้งแรกและครั้งเดียวเพียง 2,000 ถึง 25,000 บาท

อาหารที่ใช้เลี้ยงตั๊กแตนก็หาได้ตามธรรมชาติ จำพวกใบหญ้าสด ใบตองสด ใบมะพร้าวสดและใบอ้อยสด เพาะเลี้ยงด้วยใยหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มชื่น โดยใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเห็นไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเล็กๆสีน้ำตาล ให้อาหารวันละ 3 เวลา เพราะตั๊กแตนจะกินอาหารตลอดทั้งวัน

ส่วนพื้นที่ ก็เลี้ยงกับดิน มีกองทรายไว้ให้ตั๊กแตนวางไข่ เมื่อตั๊กแตนมีอายุได้ประมาณ เกือบ 1 เดือน ตั๊กแตนก็จะเริ่มจับคู่ ลักษณะที่เห็นง่ายๆ คือ มันจะขี่หลังกันและตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ ก็จะสามารถจับจำหน่ายได้เลยในช่วงนี้

ปล่อยเสียง คุณากร อนุพันธ์ เกษตกรเลี้ยงตั๊กแตน

สนใจติดต่อสอบถามได้ทางเฟซบุ๊ก คุณากร อนุพันธ์ หรือโทร 084-7658773
…………………………
ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว ส่องใต้นิวส์รายงาน

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน     

เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน   

          หลังจากตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางพาราเกือบทั้งหมดเพื่อทำสวนผสม  ภายใต้ชื่อ   “สวนผู้ใหญ่เกรียง สวนผสมเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล  โดยแบ่งพื้นที่ปลูกฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ที่เริ่มทยอยให้ผลผลิตออกจำหน่าย  

          นายเกรียงไกร   ศรีสงคราม  ผู้ใหญ่บ้าน  (ยอมรับว่าครอบครัวบาดเจ็บจากการธุรกิจอื่นจนล้มลุกคลุกคลานตั้งแต่โควิดที่ผ่านมา)   จึงคุยกับครอบครัวและบุตรสาว  นางสาวเจียรนัย  ศรีสงคราม  หรือ  น้องโม หลังเรียนจบปริญญาตรี  ตัดสินใจหันมาช่วยเหลือครอบครัวทำเกษตรสวนผสม  เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มตัว  นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านเกษตร    โดยพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 20 ไร่  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา   แล้วแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 3 ส่วน

        โดยในแต่ละส่วนจะมีกิจกรรมด้านการเกษตรทุกพื้นที่  ซึ่งพืชที่มีอยู่ภายในแปลงมีความหลากหลาย แต่ในส่วนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้แก่    ฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ในช่วงแรก   และเพิ่มมาเป็น 500 ต้น จำหน่ายในราคา 60 บาท   ซึ่งในช่วงการห่อผลจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง  ถึงจะเก็บผลผลิตได้    โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ 1-2 เดือน ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ต้น     อีกทั้งยังมีการชำกิ่งพันธุ์ขายด้วยในราคา กิ่งละ 50 บาท  และการผลิตกิ่งพันธุ์โดยส่วนใหญ่จะทำตามออร์เดอร์ลูกค้า จำหน่ายแล้ว 1,000 กิ่ง

         นอกจากนี้ได้ลง   ตะไคร้ (ไคร้หยวก) จำนวน 10,000 กอ และสามารถสร้างรายได้ให้ทุกวันๆละ 2,000 บาท โดยขายกิโลกรัมละ 10 บาท 1 วันจะส่งสินค้าจำนวน 200 กิโลกรัม โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดมาเลเซีย และโรงเครื่อง ที่จังหวัดตรัง ระยะเวลาการเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 เดือน  โดยมีวิธีการดูแลอย่างดี น้ำไม่ขาด และมีวิธีการใส่ปุ๋ย  คือ   ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ อีก 1 เดือนใส่อีก 1 กำมือ บวกกับขี้ค้างคาวอัดเม็ด

        และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตอีกประมาณ 50 ไร่ และจะมีการร่มกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกตะไคร้ประมาณ 6 รายเพิ่มเติม  เพื่อขยายพื้นที่และสินค้า   ส่วน กล้วย สะตอ ข้าวโพด ทุเรียน คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเริ่มให้ผลผลิต   สนใจติดต่อ  เบอร์โทร 083 – 1912198   (FB : Jiaranai Srisongkram) 

        ขณะที่นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู    บอกว่า  ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนผลผลิตด้วยการทำปุ๋ยน้ำหมักแห้ง  ลดการใช้สารเคมี  และการแนะนำให้เกษตรกรไปขอใบรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ผลผลิตออกจากแปลงนี้ปลอดภัยจริง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า อนาคตอาจจะส่งตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกรได้

……………………………………

อัพเดทล่าสุด

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4 วัน

สตูลคลื่นซัดกระหน่ำเรือเล็กหลบหนี  หลายพื้นที่น้ำลดหลายพื้นที่ทรงตัว เครือข่ายผู้ผลิตข่าวจ.สตูล เยียวยาเพื่อนนักข่าวที่ประสบภัยนาน 4