Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 “ขนมตาหยาบ” ชายแดนใต้ที่สตูล  ไส้หวานฉ่ำสร้างรายได้งามช่วงรอมฎอน     

“ขนมตาหยาบ” ชายแดนใต้ที่สตูล  ไส้หวานฉ่ำสร้างรายได้งามช่วงรอมฎอน

           ที่บ้านเลขที่  83/1 ม.7 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน  จ.สตูล  นางฮาหยาด  เกปัน  วัย 66 ปี   กำลังกุลีกุจอทำขนมโบราณ  หรือที่ชาวบ้านในพื้นถิ่นแดนใต้สตูลเรียก  “ขนมตาหยาบ”  มีลักษณะคล้ายขนมสายไหม  และ  ขนมโตเกียว  เพราะด้านนอกห่อด้วยแป้งนุ่มๆ  ที่มีการผสมสีเขียวจากใบเตย   หวานฉ่ำด้วยไส้มะพร้าวทึนทึกไปค่อนข้างอ่อน   ซึ่งเป็นการผสมผสานที่เข้ากันได้อย่างดี

 

        โดยสูตรเริ่มจากน้ำมะพร้าวทึนทึกไปผัดกับน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายแดง   บางรายใส่น้ำมันพร้าวอ่อนลงไปด้วย ใส่เกลือนิดหน่อย   จากนั้นเตรียมแป้งสาลีอเนกประสงค์  เกลือ  ไข่ไก่ และน้ำใบเตยลงไป ผสมให้เข้ากัน   เสร็จแล้วก็ไปเตรียมกระทะตั้งไฟอ่อน  โดยเอาผ้าชุบน้ำมันทาบาง ๆ จากนั้นเทแป้งลงไปและทำให้เป็นแผ่นกลมๆ ก่อนจะนำออกมาใส่ไส้มะพร้าวอ่อนพร้อมกับห่อเป็นแท่ง   เท่านี้ก็เสร็จพร้อมทานกับน้ำชาหรือกาแฟได้เลย

 

          นางฮาหยาด  หรือ  ม๊ะฮาหยาด  บอกว่า  เริ่มทำขนมตาหยาบโบราณมาจากพ่อแม่ที่เปิดร้านขายมาก่อนกว่า 30 ปีที่เรียนรู้ทำขนมขนเป็นที่ติดอกติดใจลูกค้าประจำ และลูกค้าคนรุ่นใหม่ท่าชื่นชอบขนมโบราณทานง่าย แป้งนิ่มหนึบไส้หวานฉ่ำเข้ากันได้ดี  ขนมชนิดนี้ทำให้สามารถเลี้ยงลูกรับราชการ และโตมาได้ถึง 4 คน โดยขายตั้งแต่วันละ 200 บาท ปัจจุบันนี้ในช่วงรอมฏอนวันละ 2,000 บาท ลูก ๆ บอกให้หยุดทำได้แล้วแต่ม๊ะยังชื่นชอบและบอกว่าไหว เพราะลูกค้ายังเรียกร้องทำให้ม๊ะฮาหยาดต้องทำขนมต่อ

 

           สำหรับขนมตาหยาบโบราณ  จะทำขายเป็นกล่องละ 10 บาท (ข้างในมีจำนวน 4 ชิ้น) ในช่วงรอมฏอนนี้จะมีออเดอร์สั่งรัว ๆ เพราะใช้ทานแก้บวช จะหวานฉ่ำชุ่มคอ และทานเป็นอาหารเบรกระหว่างวันได้เป็นอย่างดี ส่วนใครจะนำไปประกอบอาชีพทุนไม่มากนักรายได้ดีหากมีฝีมือ  โดยอุปกรณ์ของม๊ะฮาหยาด  บอกว่า ของใหม่นำมาทำขนมแล้วไม่อร่อย ม๊ะ  ใช้กระทะเหล็กใบเก่าอายุ กว่า 30 ปี ตะหลิว และจวัก แม้จะมีบางส่วนชำรุดแต่ก็ยังปรุงเมนู ขนมตาหยาบได้อร่อยเหาะ จนมีออเดอร์ปังวันละ 200 กล่องเพียง 2 – 3 ชั่วโมงก็ทำเสร็จหมดเกลี้ยง โดยพ่อค้าแม่ค้า  10 เจ้า  มารับที่บ้านเพื่อไปจำหน่าย

         สนใจติดต่อสั่งขนมให้ที่โทร 065 610 4484

…………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล -แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด   ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น  และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้  ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี  แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ     

สตูล แล้งนี้ชาวทุเรียนโอดครวญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด   ส่งผลกระทบให้ช่อดอกทุเรียนล่วงหล่น  และเชื่อว่าจะแล้งยาวนานไปจนถึงพ.ค.นี้  ผลผลิตปีนี้พยากรณ์น้อยกว่าทุกปี  แม้เกษตรกรจะมีระบบน้ำ

          ที่สวนโกฮก  หมู่ 2 เขตเทศบาลตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองสตูล   ลงพื้นที่เยี่ยมสวนแห่งนี้    ซึ่งมีพื้นที่ 10 ไร่  ได้ปลูกทุเรียน 100 ต้น  หลังพบว่า   ที่สวนแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากช่อทุเรียนได้แห้งและล่วงหล่นจำนวนมาก  แม้สวนแห่งนี้   จะเป็นสวนที่มีระบบน้ำเพียงพอ   แต่สภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด  เชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะยาวนานไปจนถึงเดือน พ.ค.นี้   ทำให้เกษตรกรแม้จะมีระบบน้ำ   ต้องเพิ่มความถี่ในการรดน้ำที่โคนต้น  เป็นระยะ ๆ  เพื่อหล่อเลี้ยงรักษาระดับความชื้น    

 

          นายพิสุทธิ์  กั้วพานิช  อายุ 46 ปีเจ้าของสวนทุเรียน  กล่าวว่า  ปีนี้ต้องดูแลสวนทุเรียนเป็นพิเศษเพราะเป็นพืชหลักที่ทำรายได้ให้กับทางสวน รองลงมาเป็นมังคุด และเงาะ  สถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้ทางสวนกลัวมาที่สุดคือ  ฝน เพราะหากฝนตกหนักในช่วงนี้อาจจะทำให้ผลที่เริ่มติดดอก  ล่วงหล่นเพิ่มได้   แต่ก็ยังมีพืชบางชนิดที่ยังคงต้องการช่วงแล้ง  พร้อมเชื่อว่าปีนี้   ผลผลผลิตจะลดน้อยกว่าทุกปีเหลือร้อยละ   60-70

 

        ขณะที่ทางด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล  ได้แนะนำให้เกษตรกร  รดน้ำพืชผลเป็นช่วงๆ ก่อนออกดอก  โดยจะให้น้ำในระยะเวลานึง   เมื่อติดดอก…..ผสมเกสร ต้องลดปริมาณน้ำลง   เกษตรกรเองก็ต้องประเมินว่าพื้นที่ของตัวเองมีปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่  สำนักข่าวไทยอสมท.รายงานจากจ.สตูล 

 

          นางสาวศรัณยา สว่างภพ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า  สำหรับพืชที่มีความเสี่ยงจะให้ผลผลิตลดน้อยลง   ในช่วงแล้งนี้   ได้แก่   ทุเรียน มังคุด  เงาะ จำปาดะ ลองกอง  ซึ่งต้องมีการพยากรณ์อีกครั้ง   ในช่วงเมษายนว่า   จะมีฝนตกลงมาหรือไม่   สำหรับเกษตรกรรายไหนที่มีระบบน้ำ  สำรอง   ในช่วงนี้ไม่ต้องการให้ฝนตกเพราะในสวนกำลังออกดอกติดผลผลิต    ผิดกับ เกษตรกร   ที่ไม่มีระบบน้ำ   ในช่วงนี้ต้องการเพียง   รักษาต้น   ให้รอดตายจากฤดูแล้งนี้

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล-พลังภาคีเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง  ประกาศให้ท่าเรือตำบลขอนคลาน เป็นท่าเรือสีขาวแห่งแรกของจังหวัด  แก้ปัญหายาเสพติดด้วยการจัดการกันเอง

สตูล..พลังภาคีเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง  ประกาศให้ท่าเรือตำบลขอนคลาน เป็นท่าเรือสีขาวแห่งแรกของจังหวัด  แก้ปัญหายาเสพติดด้วยการจัดการกันเอง

         ปัญหายาเสพติดยังไม่มีท่าทีว่าจะลดน้อยลง  แม้รัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี   นำความปลอดภัยมาสู่พี่น้องประชาชน   ปัจจุบันภายใต้แนวคิด  เปลี่ยนผู้เสพมาเป็นผู้ป่วย   ดังนั้นหากชุมชนมีความเข้มแข็ง   ไม่มีผู้เสพหน้าใหม่   ผู้ค้าและขบวนการยาเสพติดก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด   แนวคิดนี้เป็นที่มาของการทำโครงการท่าเรือสีขาว  ของตำรวจภูธรจังหวัดสตูล  ที่กำหนดให้ทุกสถานีต้องประกาศท่าเรือสีขาวให้ได้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ  จากจำนวนท่าเรือที่มีมากถึง 100 แห่ง

          ที่ท่าเทียบเรือบ้านราไว   หมู่ที่ 4  ตำบลขอนคลาน  อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล  ที่ชุมชนแห่งนี้ชาวบ้านประกอบอาชีพประมงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์   รวมทั้งอาชีพต่อเนื่องจากประมง  การทำประมงที่นี่   ใช้เรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก  ทำประมงชายฝั่งเพื่อเลี้ยงชีพ   บวกกับความเข้มแข็งของคนในชุมชน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น และหลายภาคส่วนราชการ   ให้ความร่วมมือด้วยดีในการเข้ามาแก้ไขปัญหา  ป้องกันยาเสพติดจนเกิดความเข้มแข็ง 

         ทำให้สถานีตำรวจภูธรทุ่งหว้า สามารถประกาศให้ท่าเรือบ้านราไว  ตำบลขอนคลาน  เป็นท่าเรือสีขาวแห่งแรกของจังหวัดสตูลได้สำเร็จ   จากความร่วมมือของทุกฝ่าย  ที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันป้องกัน และแก้ไขปัญหา  โดยมีชุมชนเป็นหัวใจหลัก  ในการขับเคลื่อนร่วมกับ ตำรวจ และสาธารณสุข และหลายภาคส่วนที่ร่วมด้วยช่วยกัน

         นายประพันธ์  ขาวดี  กำนันตำบลขอนคลาน  กล่าวว่า  จากการพูดคุยกันหลายเวทีของภาคีเครือข่ายในชุมชน  ร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติด  โดยเริ่มต้นจากกองทุนแม่ด้วยเงินงบประมาณเบื้องต้น 8,000 บาท เพื่อใช้ในการดูแลช่วยเหลือคนวิกลจริต บำบัดคนในชุมชน  ป้องกันจากปัญหายาเสพติด จึงได้จัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อระดมทุน  แคมปิ้งหาดราไว  ซึ่งได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีไว้ทำกิจกรรมในชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด  รวมทั้งชุมชนช่วยกันตรวจสอบให้ข้อมูลเบาะแสในการเฝ้าระวังป้องกันร่วมกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาร่วมกันจนเป็นที่มาของการได้ชัยชนะ  โครงการท่าเรือสีขาวแห่งแรกของจังหวัดสตูล

 

            โครงการท่าเรือสีขาว มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปประธรรมแบบยั่งยืนเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยและสงบสุข   ในส่วนของสภ.ทุ่งหว้า   ประชาชนประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นการดำเนินโครงการนี้ถือว่ามีความมีประโยชน์อย่างยิ่งและสอดรับกับบริบทของพื้นที่ในการดำเนินการดังกล่าวซึ่งได้รับความร่วมมือจากกำนันตำบลขอนคลาน  พัฒนาชุมชนอำเภอทุ่งหว้า   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนคลาน  อาสาสมัครสาธารณสุข   ตลอดจนพี่น้องประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงและอาชีพที่เกี่ยวเนื่องเป็นอย่างดี  จนทำให้บรรลุผลตามโครงการเป็นอย่างดี

          พลตำรวจตรีจารุต  ศรุตยาพร  ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  โครงการท่าเรือสีขาว ทุกสถานที่ ที่มีท่าเรือในจังหวัดสตูลต้องจัดทำฐานข้อมูล ตั้งแต่คนขับเรือ คนเรือ ขยายผลไปว่าคนขับเรือบ้านอยู่ที่ไหนและวิถีชีวิตโดยให้ไปดูที่บ้านว่ากินอยู่อย่างไร   เป็นการทำข้อมูลท้องถิ่นเพื่อขยายผล  เช่นเดียวกับที่สถานีทุ่งหว้า ตำบลขอนคลาน  ต้องมีการทำข้อมูลขยายผลไปถึงเรือประมงส่งสัตว์น้ำทะเลไปที่ไหน  ให้กับใคร  ขยายไปถึงการตรวจสารเสพติด  ในร่างกายตลาดแห่งนั้นเพื่อให้เชื่อว่าไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด  นั่นก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้เสพในพื้นที่  จึงได้มอบธง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ที่นี่เป็นพื้นที่สีขาว ปลอดยาเสพติด

         นี่คือเป้าวัตถุประสงค์ของเราคือไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด  เพื่อเป็นการลดผู้เสพ  ซึ่งการทำงานจะทำเพียงหน่วยเดียวไม่ได้ต้องร่วมด้วยช่วยกัน 

         โดยทางตำรวจภูธรจังหวัดสตูล  ได้ตั้งเป้าหมายก่อนสิ้นปีงบประมาณนี้ทุกท่าเรือต้องประกาศเป็นท่าเรือสีขาวให้ได้   แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย  ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือกัน 

………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท้องถิ่น-การเมือง

ขยะแลกบุญ ลดรายจ่ายปีละ 2 แสนบาท

ขยะแลกบุญ ลดรายจ่ายปีละ 2 แสนบาท

         ชาวบ้านจิตอาสาทั้งชายหญิงในหมู่บ้านที่ 12  บ้านเขาน้อยใต้  ตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ต่างพร้อมใจกันมาช่วยคัดแยกขยะ  ออกเป็นแต่ละประเภท   เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการต่อ  ซึ่งขยะทั้งหมดนี้เป็นขยะที่มาจาก  จุดรับบริจาคขยะแลกบุญ  ทันทีที่จุดรับขยะเต็มจะมีการนำมาคัดแยกในทันที

 

          นายสาและ  ตำบัน  ประธานกลุ่มขยะแลกบุญ กล่าวว่า แนวคิดของคนในหมู่บ้านที่เห็นตรงกันคือ   อยากให้หมู่บ้านสะอาด มีการจัดเก็บขยะเป็นที่เป็นทาง ใช้ประโยชย์จากขยะให้สูงสุด   และจัดหารายได้จากขยะเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญ  ช่วยเด็กกำพร้าในหมู่บ้าน  โดยทำบุญผ่านมัสยิดในหมู่บ้านชุมชนของตนเอง 

 

          นายอดุลย์  โย๊ะหมาด  คอเต็บมัสยิดดารุสลาม กล่าวว่า  โครงการขยะแลกบุญมีการกำหนดไว้  ในการรับบริจาคขยะแลกบุญด้วยกัน  2 จุดคือ   ที่มัสยิด และ จุดที่สองที่ บาลาย  เงินที่ได้มาจะนำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้และมาทำกิจกรรมด้านศาสนาของมัสยิด  ช่วยเหลือเด็กกำพร้า   โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และยังช่วยแก้ปัญหาขยะได้ด้วย  ทางมัสยิดเองก็จะช่วยประชาสัมพันธ์บอกให้กับทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมทางศาสนา  ได้รับรู้ข้อดีของโครงการขยะแลกบุญ  แทนที่จะนำขยะไปทิ้งหรือเผาทำลาย  ก็นำมายังจุดรับบริจาคเพื่อแลกบุญ 

         นายทรงพล  สารบัญ  ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง  กล่าวว่า  สถานการณ์ขยะในชุมชนตำบลฉลุงในปี 2566 มีขยะทั้งปี 1410 ตัน เนื่องจากตำบลฉลุงมี 14 หมู่บ้าน 3,300 ครัวเรือน ทำให้ต้องใช้งบประมาณเยอะในการจัดการขยะนำขยะไปทิ้ง จำนวน 770,000 บาทต่อปี  หากรวมค่าจ้างบริหารจัดการเกือบ 2 ล้านบาทต่อปี

          นายก อบต.ฉลุง จึงเกิดแนวทางการลดปัญหาขยะ  เริ่มแรกจากการทำประชาคมเพื่อปลอดถังขยะ  จากนั้นก็เริ่มสร้างแกนนำชุมชนประชาชนเข้ามาช่วย  โดยใช้ชื่อว่า  “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” อถล. ในทุกหมู่บ้าน  เพื่อให้ความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะในครัวเรือน  การจัดการขยะเพื่อลดปัญหาขยะในตำบล  จากนั้นก็พาไปศึกษาดูงาน  เมื่อได้องค์ความรู้แล้ว  ได้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างกลุ่ม  จึงเป็นที่มาของกลุ่มขยะแลกบุญในปัจจุบัน

 

          จุดเริ่มต้นจากแกนนำ อถล.  10 คน โดยมีกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำศาสนา  หลังจากทำโครงการสามารถคัดแยกได้จำนวน 3 ครั้ง ผ่านโครงการขยะแลกบุญ   เน้นในเรื่องของการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก  จากครั้งที่ 1 มาสู่ครั้งที่ 2 จะเห็นได้ว่าการรับบริจาคขยะเยอะมากขึ้น  ชุมชนชาวบ้านมาร่วมมากขึ้น  ครั้งที่ 3 ขยะเยอะขึ้นกว่าเดิมเยอะ  ชาวบ้านเยาวชนผู้สูงอายุภาคประชาชน  มาร่วมกิจกรรมคัดแยกตั้งแต่เช้า  ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง  ในมิติการประชาสัมพันธ์และการลดขยะ  

 

          ที่สำคัญการทำเรื่องขยะมาบวกกับเรื่องบุญ  จะยิ่งทำให้ชุมชนให้ความสำคัญอย่างมาก  เพราะหวังจะได้บุญไม่ได้มีผลประโยชน์อย่างอื่น   ไม่ว่าจะนำเงินรายได้ไปช่วยผู้ยากไร้  แนะนำไปทำนุบำรุงศาสนา  ผู้พิการและให้ทุนเด็กต่างๆ    ทำให้ปี 2567  พบว่าขยะจาก 1,410 ตัน เหลือ1,369 ตัน  ลดไป  312 กิโล   หากคิดเป็นเงินงบประมาณเกือบ 2 แสนบาท  และเตรียมขยายจากหมู่บ้านนำร่องไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เข้ามาดู   และปีจะจัดการขยายไปทีละหมู่บ้านเพื่อให้ครบทุก 14 หมู่บ้านในตำบลฉลุง  

……………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เยาวชน-การศึกษา

ปลูกสำนึกต้นกล้าเยาวชน 50 คนร่วมปล่อยกุ้ง ปลูกป่า เรียนรู้ความอุดมสมบูรณ์ป่าชายเลน เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยั่งยืน

ปลูกสำนึกต้นกล้าเยาวชน 50 คนร่วมปล่อยกุ้ง ปลูกป่า เรียนรู้ความอุดมสมบูรณ์ป่าชายเลน เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยั่งยืน

         ที่เพ็ญทิพย์รีสอร์ท ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลโดย   นาวาเอกแสนย์ไท    บัวเนียม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  ประธานเปิดงาน   พร้อมด้วย  เรือตรีบำรุง  ไตรญาณ  เจ้าหน้าที่ส่งกำลังบำรุง ศรชล.จังหวัดสตูล ศรชล.ภาค 3  รายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ  สื่อมวลชน 

       ถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อ  “สร้างการรับรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” เพื่อขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน ในกลุ่มเยาวชนเป้าหมาย 50 คน  จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  ที่มีการจัดขึ้นทุกปีโดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล   หรือ ศรชล.สตูล

          ที่เล็งเห็นว่าเยาวชนคือกำลังสำคัญในการมาร่วมดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ยั่งยืน  ด้วยการสร้างองค์ความรู้ การปลูกจิตสำนึก  การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแล  ขับเคลื่อนรักษาทรัพยากรทางทะเลของชาติ 

           จากนั้นได้นำเยาวชนทั้ง 50 คน  ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำ  50,000 ตัว  ที่ริมชายฝั่งป่าชายเลน   ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24    ตำมะลัง-สตูล  ก่อนที่ปล่อยให้เยาวชนที่เดินชมป่าในเมือง  ที่มีป่าไม้โกงกางที่ขึ้นสวยงามและชื่นชม พันธุ์ไม้ป่าโกงกาง และปู ปลา  ที่อาศัยอยู่ร่วมกับไม้ป่าเป็นห่วงโซ่อาหารที่สำคัญของธรรมชาติ  ก่อนที่ทุกคนจะได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลน  200 ต้น  ในพื้นที่ป่าในเมือง  เพื่อสร้างความภาคภูมิใจว่าเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมดูแลปกป้องผืนป่าที่เป็นทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญของชาติ

 

          นางสาวนภัสสร   แกสมาน  มัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  ป่าชายเลนมีประโยชน์มาก เป็นแหล่งอนุบาลสสัตว์น้ำ  เป็นป่าไม้ที่ให้ความร่มเย็น การช่วยกันปลูกป่าเพิ่มจะทำให้มีออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น  อยากชวนมาร่วมปลูกป่าอนุรักษ์ทรัพยากรของเราให้ยั่งยืนค่ะ

          นางสาวเสาวลักษณ์  สุขพา    มัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  วันนี้ได้เรียนรู้ การปลูกป่า  การอนุรักษ์สัตว์น้ำ  การปลูกป่าที่ทดแทนในส่วนที่เสียไป เป็นกิจกรรมที่มีความสุขและสนุกมากค่ะ

          นายเอกชัย  เถรว่อง  ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24  ตำมะลัง-สตูล  กล่าวว่า  มีชุมชนร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน ต.คลองขุด ต.ปูยู  ทม.เมืองสตูล รวบรวมได้   13 ชุมชน แต่ละปีป่าชายเลนสตูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การบุกรุกน้อยมาก  เพราะการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย  เพราะเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ป่าชายเลน 

          ด้าน นาวาเอกแสนย์ไท    บัวเนียม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  กล่าวว่า   การสร้างผลประโยนชน์ของชาติเริ่มตั้งแต่  การปลูกป่าชายเลน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เป็นทรัพยากรของชาติ การให้เยาวชนได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ว่านี่คือแหล่งอาหาร  เป็นแหล่งรายได้  ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ ที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติต่อไป การทำกิจกรรมปล่อยปลา เรียนรู้วงจรของน้ำรักษาทะเล  ไม่ทำลายปะการัง ไม่ทำลายสัตว์น้ำ  สร้างความรู้ให้เยาวชน และขอฝากประชาชนทั่วไป  ขอให้ทุกคนหวงแหนรักษาไว้เพื่อลูกหลานคนในชาติของเรา  ได้เห็นความสำคัญเรื่องของผลประโยชน์ชาติที่มีความสำคัญมากเพื่อลูกหลานของเรา 

………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

นักเรียนปอเนาะ-ครูอาจารย์ร่วมพันคน  ผูกริบบิ้นสีม่วงแสดงพลังจงรักษ์ภักดี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นักเรียนปอเนาะ-ครูอาจารย์ร่วมพันคน  ผูกริบบิ้นสีม่วงแสดงพลังจงรักษ์ภักดี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่บริเวณหน้าลานอาคารเรียนโรงเรียนพัฒนาการศึกษามูลนิธิ (ปอเนาะคลองขุด ) เทศบาลตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นักเรียนมุสลิมชายหญิง ต่างนำริบบิ้นสีม่วงผูกข้อมือ  ก่อนที่จะเดินขบวนไปรวมตัวหน้าอาคารเพื่อแสดงพลังเจตนารมณ์ ความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  และร่วมอ่านแถลงการณ์ปกป้อง องค์หญิงของราชวงศ์จักรี ของชาวไทย มิให้ใครมาหยามดูหมิ่น และร่วมอ่านดูอาร์ขอพร ให้สมเด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงแข็งแรงยิ่งยืนนาน

          ด้านนางรัตติยา มนุดาหวี   ผู้รับใบอนุญาติ ร.ร.พัฒนาการศึกษามูลนิธิ  /นายกามคมสตรีมุสลิมภาคใต้ /นายกสมาคมสตรีเยาวชนจังหวัดสตูล  ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนของชาวนักเรียน และครูอาจารย์ มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน และราวงศ์จักรีทุกพระองค์ ก่อนที่อ่านดูอาร์ขอพร  พร้อมกับชูรูปพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เพื่อแสดงพลังปกป้อง

 

       พร้อมกันนี้จังหวัดสตูล ขอเชิญชวนชาวสตูลร่วมแสดงพลังความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 67 เวลา 08.00 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล พร้อมรวมพลังใส่เสื้อสีม่วง

……………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก”       

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก” 

        ทุก ๆ เช้าพี่ดำ หรือนายฐานพัฒน์  แสงเพชร  อายุ 46 ปี จะทำหน้าที่ดูแลผักให้เจริญเติบโตงอกงาม  ทั้งการตรวจวัดค่าปุ๋ยน้ำ  สภาพอากาศที่ไม่ร้อนจัดจนผักเฉา  หรือกระทั้งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะใส่ผัก  จากอนุบาล จนโต  ซึ่งงานประเภทแรงงานหนัก ๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของพี่ดำเป็นส่วนใหญ่ 

        ส่วนพี่แตน  หรือคุณณิชากร   แสงเพชร   แฟนพี่ดำ  จุดเริ่มต้นจากทั้งคู่รักสุขภาพ  ทดลองปลูกผักทานเอง  จนมาวันนี้ทำหน้าที่การตลาด บริหารจัดการสวนผัก  พร้อมคิดค้นหาสูตรทางสื่อโซเซียล  เพื่อให้ผักงอกงามและปลอดภัยพร้อมส่งต่อให้กับลูกค้า   ที่ชื่นชอบผักสลัดตามออเดอร์  10 ถุงหรือ 5 กิโลกรัม  วันละ 500 บาท โดยผักที่ส่งลูกค้าจะงดให้ปุ๋ย  โดยจะให้น้ำเปล่าแทน  จำนวน 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผักที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง 

         ซึ่งพี่ทั้งสองบอกกับเราว่า  สวนผักใจรัก  เกิดจากทั้งคู่รักสุขภาพและอยากจะหาอาชีพที่ทำงานอยู่ด้วยกันที่บ้าน  โดยมาลงตัวที่การปลูกผักสลัด   ทุก ๆ เช้าจะใช้เวลาในช่วงเช้าตรู่ไม่เกิน 10 โมงในการดูแลสวนผัก และช่วงค่ำ   เวลาที่เหลือก็ไปออกกำลังกายและทำในสิ่งที่รักและมีความสุข 

         ผักที่ปลูกส่วนใหญ่ตระกูลผักสลัด  เช่น  กรีนโอ๊ค  จะขายดี  ลูกค้าจะนำไปทำสลัดโรล  , มินิคอส ก็จะเหมาะกับสายปิ้งย่าง  ,  ฟิลเล่  จะมีความกรอบใบหยิกไม่มีรสชาติขม ทางสวนผักจะขายเป็นถุงละ 50 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท  โดยมีผักหลายชนิดรวมกัน  เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผักเหล่านี้ได้ง่าย 

          สนใจสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร. 082-308-2141 ,  098-013-1768  หรือเพจสวนผักใจรัก   สำหรับทางสวนผักใจรัก  จะส่งขายตามออเดอร์เท่านั้น 

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน       

  เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน
………………………….
ตั๊กแตน ปา ทัง ก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวนมากนี้ ใช้เวลาเพียงเดือนเศษ ซึ่งเป็นของ นายคุณากร อนุพันธ์ อายุ 43 ปี ชาวศรีสะเกษที่ได้มาตั้งรกราก อยู่ที่บ้านเจาะบากง ม.3 ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส โดยใช้ที่ดิน 5 ไร่ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามบ้านพัก สร้างโรงเรือน มุงไนลอนสีฟ้าและใช้ผ้าพลาสติกสีขาวคลุมด้านบนเป็นหลังคา เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวน 6 หลัง ซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้ว 4 รุ่น แต่ละรุ่นจะใช้ระยะเวลา 30 ถึง 35 วัน สามารถจับจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท

จากความนิยมกินตั๊กแตนในภาคอีสาน มาวันนี้ตลอดทั่วทุกภาคเริ่มยอมรับสัตว์เศรษฐกิจชนิดนี้ สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาเลี้ยงตั๊กแตนเจ้าแรกในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก โดยสั่งซื้อไข่จากภาคอีสานในราคาขีดละ 1,000 บาท หรือ กิโลกรัมละ 10,000 บาท เพื่อเพาะเลี้ยง การเลี้ยงตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงไม่มากนัก ลงทุนครั้งแรกและครั้งเดียวเพียง 2,000 ถึง 25,000 บาท

อาหารที่ใช้เลี้ยงตั๊กแตนก็หาได้ตามธรรมชาติ จำพวกใบหญ้าสด ใบตองสด ใบมะพร้าวสดและใบอ้อยสด เพาะเลี้ยงด้วยใยหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มชื่น โดยใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเห็นไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเล็กๆสีน้ำตาล ให้อาหารวันละ 3 เวลา เพราะตั๊กแตนจะกินอาหารตลอดทั้งวัน

ส่วนพื้นที่ ก็เลี้ยงกับดิน มีกองทรายไว้ให้ตั๊กแตนวางไข่ เมื่อตั๊กแตนมีอายุได้ประมาณ เกือบ 1 เดือน ตั๊กแตนก็จะเริ่มจับคู่ ลักษณะที่เห็นง่ายๆ คือ มันจะขี่หลังกันและตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ ก็จะสามารถจับจำหน่ายได้เลยในช่วงนี้

ปล่อยเสียง คุณากร อนุพันธ์ เกษตกรเลี้ยงตั๊กแตน

สนใจติดต่อสอบถามได้ทางเฟซบุ๊ก คุณากร อนุพันธ์ หรือโทร 084-7658773
…………………………
ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว ส่องใต้นิวส์รายงาน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน     

เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน   

          หลังจากตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางพาราเกือบทั้งหมดเพื่อทำสวนผสม  ภายใต้ชื่อ   “สวนผู้ใหญ่เกรียง สวนผสมเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล  โดยแบ่งพื้นที่ปลูกฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ที่เริ่มทยอยให้ผลผลิตออกจำหน่าย  

          นายเกรียงไกร   ศรีสงคราม  ผู้ใหญ่บ้าน  (ยอมรับว่าครอบครัวบาดเจ็บจากการธุรกิจอื่นจนล้มลุกคลุกคลานตั้งแต่โควิดที่ผ่านมา)   จึงคุยกับครอบครัวและบุตรสาว  นางสาวเจียรนัย  ศรีสงคราม  หรือ  น้องโม หลังเรียนจบปริญญาตรี  ตัดสินใจหันมาช่วยเหลือครอบครัวทำเกษตรสวนผสม  เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มตัว  นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านเกษตร    โดยพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 20 ไร่  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา   แล้วแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 3 ส่วน

        โดยในแต่ละส่วนจะมีกิจกรรมด้านการเกษตรทุกพื้นที่  ซึ่งพืชที่มีอยู่ภายในแปลงมีความหลากหลาย แต่ในส่วนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้แก่    ฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ในช่วงแรก   และเพิ่มมาเป็น 500 ต้น จำหน่ายในราคา 60 บาท   ซึ่งในช่วงการห่อผลจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง  ถึงจะเก็บผลผลิตได้    โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ 1-2 เดือน ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ต้น     อีกทั้งยังมีการชำกิ่งพันธุ์ขายด้วยในราคา กิ่งละ 50 บาท  และการผลิตกิ่งพันธุ์โดยส่วนใหญ่จะทำตามออร์เดอร์ลูกค้า จำหน่ายแล้ว 1,000 กิ่ง

         นอกจากนี้ได้ลง   ตะไคร้ (ไคร้หยวก) จำนวน 10,000 กอ และสามารถสร้างรายได้ให้ทุกวันๆละ 2,000 บาท โดยขายกิโลกรัมละ 10 บาท 1 วันจะส่งสินค้าจำนวน 200 กิโลกรัม โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดมาเลเซีย และโรงเครื่อง ที่จังหวัดตรัง ระยะเวลาการเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 เดือน  โดยมีวิธีการดูแลอย่างดี น้ำไม่ขาด และมีวิธีการใส่ปุ๋ย  คือ   ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ อีก 1 เดือนใส่อีก 1 กำมือ บวกกับขี้ค้างคาวอัดเม็ด

        และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตอีกประมาณ 50 ไร่ และจะมีการร่มกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกตะไคร้ประมาณ 6 รายเพิ่มเติม  เพื่อขยายพื้นที่และสินค้า   ส่วน กล้วย สะตอ ข้าวโพด ทุเรียน คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเริ่มให้ผลผลิต   สนใจติดต่อ  เบอร์โทร 083 – 1912198   (FB : Jiaranai Srisongkram) 

        ขณะที่นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู    บอกว่า  ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนผลผลิตด้วยการทำปุ๋ยน้ำหมักแห้ง  ลดการใช้สารเคมี  และการแนะนำให้เกษตรกรไปขอใบรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ผลผลิตออกจากแปลงนี้ปลอดภัยจริง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า อนาคตอาจจะส่งตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกรได้

……………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สุดปัง!  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณเตาถ่าน  ก่อนฟ้าสว่างขายหมดเกลี้ยงแผง   ขายมายาวนานกว่า 60 ปี  

สุดปัง!!  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณเตาถ่าน  ก่อนฟ้าสว่างขายหมดเกลี้ยงแผง   ขายมายาวนานกว่า 60 ปี

         ความเรียบง่ายตามแบบฉบับวิถีภูธรที่ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล  ทันทีที่ท้องฟ้าจวนสว่าง  ที่ร้านของม๊ะเซาะ  หรือ นางสาวเบญพร   มะแอเคียน   อายุ 66 ปี  กำลังเร่งมือทำข้าวเหนียวปิ้งโบราณ  เพื่อปิ้งเตาถ่านที่ใช้กะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง  โดยนำมาเผาเป็นถ่าน เพื่อใช้ในการปิ้งข้าวเหนียวให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  ที่มารอภายในร้านตั้งแต่เช้ามืด 

          โดยการทำข้าวเหนียวปิ้งสูตรโบราณ  ที่นี่มีความหอมมัน  นิ่มหวาน  อร่อยกำลังดี (โดยสูตรมีข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล  เกลือนิดหน่อยนำมามูล) แล้วห่อด้วยใบตอง ก่อนนำมาปิ้ง    การปิ้งจะใช้เหล็กหนีบครั้งละ 4 ห่อ แล้วปิ้งกลับไปมา (ซึ่งอดีตจะใช้ไม้ไผ่)  วันนึงทำครั้งละ 8-15 กิโลกรัม  ลูกค้าดั้งเดิมที่ชื่นชอบรสชาตินี้  ตั้งแต่รุ่นแม่ของ  ม๊ะเซาะ  และเด็กรุ่นใหม่ก็ยังชื่นชอบ  มารอซื้อกลับไปทานตั้งแต่ใกล้รุ่ง  นับเป็นเจ้าอร่อยเด็ดดัง มากว่า 60 ปี  ที่ชาวบ้านในระแวกนี้รู้จักคุ้นเคยกันดี  ร้านนี้ขายมาเป็นรุ่นที่ 2 ราคาเพียงชิ้นละ 5 บาท 

       ทางร้านยังขายคู่กับน้ำชากาแฟ แก้วละ 10 บาท ลูกค้าที่ตื่นเช้า   หลังเสร็จจากประกอบศาสนกิจทางศาสนา  ก็จะแวะมานั่งทานกันตั้งแต่เช้ามืด  เป็นอย่างนี้อยู่ทุกๆวัน  เพราะหากมาช้าอาจจะไม่ได้ลิ้มรสชาติของข้าวเหนียวปิ้งสูตรโบราณ  ที่ขายถึง 7 โมงเช้าเท่านั้น   ข้าวเหนียวปิ้งก็หมดแล้ว  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับม๊ะเซาะ   วันละ 1,500 ถึง 2,000 บาท  (ซึ่งเป็นรายได้รวมกับขายน้ำชา )

         ม๊ะเซาะ  หรือ นางสาวเบญพร   มะแอเคียน อายุ 66 ปี  แม่ค้าขายข้าวเหนียวปิ้งโบราณ   กล่าวเพิ่มเติมว่า  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณนี้ขายดีมาก   ต้องตื่นมาตั้งแต่ตี 4 หัวรุ่ง  เพื่อมาเตรียมก่อไฟเตาถ่าน และ ช่วงตี 5 เริ่มปิ้งขาย ขายดีทุกวัน เวลาประมาณ 07.00 น . ก็หมดเกลี้ยงทุกวัน  หากในช่วงฤดูผลไม้ ก็จะปรับแนวสอดไส้ ลงไป เช่น ข้าวเหนียวปิ้งโบราณไส้ทุเรียน   หรือจะมีข้าวเหนียวปิ้งไส้เผือก ไส้กุ้ง

           หากลูกค้าสนใจติดต่อสอบถาม   065 037 4358  พิกัดปากทางเข้าตลาดนัดวันพุธ   (ตลาดนัดเทศบาลตำบลควนโดน)  เปิดเวลา   05.00 น – 18.00น ทุกวัน  

……………………………….

อัพเดทล่าสุด