Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

   สตูล-เตรียมใช้นวัตกรรมสุดล้ำรักษ์โลก  กับเรือนำเที่ยวพลังงานไฟฟ้าลดรายจ่าย  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สตูล-เตรียมใช้นวัตกรรมสุดล้ำรักษ์โลก  กับเรือนำเที่ยวพลังงานไฟฟ้าลดรายจ่าย  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          วันที่ 24 เม.ย.67  ที่อ่าวนุ่น ตะโล๊ะใส อ.ละงู จ.สตูล  ได้มีการทดสอบระบบขับเคลื่อนเรือพลังงานไฟฟ้าเพื่ออนาคต จากพลังงานสะอาดรักษ์สิ่งแวดล้อม   ซึ่งเครื่องยนต์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังสามารถติดตั้งแทนเครื่องเดิมได้ง่าย  ปราศจากน้ำมันปนเปื้อนและสามารถยืดอายุการใช้งานของตัวเรือ  ประหยัดค่าใช้จ่ายและยังลดมลพิษทางเสียง

          โดยวันนี้นายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  พร้อมนายธีระพงษ์   คุ่มเคี่ยม  นายอำเภอละงู  ได้ร่วมลงพื้นที่ทดสอบขับและสังเกตการณ์การทดลองระบบขับเคลื่อนเรือพลังงานไฟฟ้า  โดยมีชาวประมงในพื้นที่และกลุ่มท่องเที่ยวเพื่อชุมชนได้ร่วมการทดสอบด้วยตนเอง

          สำหรับกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยนายจักรพรรณ    วัลแอ  ประธานสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดสตูล  ร่วมกับ ผศ.สาวิตร์   ตัณฑนุช  ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   PSU EV  และสมาคมประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ  เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนอ่าวปากบารา จัดกิจกรรมทดสอบระบบขับเคลื่อนเรือพลังงานไฟฟ้าเพื่ออนาคต จากพลังงานสะอาดรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้เป็นทางเลือกให้กับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในการใช้พลังงานสะอาดและลดค่าใช้จ่าย 

        สำหรับประสิทธิภาพระบบขับเคลื่อนไฟฟ้ากำลังมอเตอร์ 6/10 ความเร็วรอบ3,800 บาทถึง 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 55 นิวตันเมตร   แบตเตอรี่แรงดันใช้งาน 72 โวลต์  ความจุของแบตเตอรี่ 4.2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

          นายชุมพล  โอมณี   อายุ 47 ปี ชาวประมงพื้นบ้านประเภทไดหมึก ยอมรับว่า  หลังการทดลองขับเห็นถึงความแตกต่างมาก ไม่ต้องใช้แรงเยอะ  นิ่ม  เสียงเงียบ  อยากให้เพิ่มความแรง เพราะบางครั้งต้องใช้กำลัง  ส่วนราคาก็รับได้  แต่อยากให้อายุการใช้งานยาวกว่านี้และเดินทางไปได้ไกลกว่านี

 

         ผศ.สาวิตร์  ตัณฑนุช  ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวว่า   วันนี้ได้รับโจทย์ในการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน  อนาคตจะพัฒนาต่อไปเพื่อให้ใช้ได้กับเรือประมงพื้นบ้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้น    และการพัฒนาแบตเตอรี่  ที่มีการใช้  เป็นแบตเตอร์รี่ตัวเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถชาร์จได้  ต่อไปจะพัฒนาให้มีราคาที่ถูกลง 

 

          นายจักรพรรณ    วัลแอ  ประธานสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  เรื่อง EV เป็นเรื่องใหม่นวัตกรรมใหม่ ทางเราต้องการการเปลี่ยนแปลงในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากทั้งกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน เพราะกลุ่มนี้ต้องมีต้นทุนพอสวมควรเชื่อว่าจะมาช่วยแบกรับภาระตุ้นทุนเหล่านี้ได้ ด้วยนวัตกรรม EV มาช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

คุณหมออนามัย  ปลูกสละอินโดแซมสวนยางพาราให้ผลผลิตทั้งปี   เสริมรายได้รับเหนาะๆสัปดาห์ละ 10,000 บาท 

คุณหมออนามัย  ปลูกสละอินโดแซมสวนยางพาราให้ผลผลิตทั้งปี   เสริมรายได้รับเหนาะๆสัปดาห์ละ 10,000 บาท

        “สละอินโด  พันธุ์สายน้ำผึ้ง”   ถูกเลือกมาปลูกแซมในพื้นที่สวนยางพาราและสวนผลไม้ผสม  บนพื้นที่ หมู่ 5 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล  จำนวน 25 ไร่  จากพื้นที่ทั้งหมด  36 ไร่  ของ   นายรอศักดิ์  หมาดสา  อายุ 38  ปี  เกษตรกรสวนสละอินโด  เพื่อเพิ่มรายได้เสริมจากอาชีพหลักที่เป็น นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ  รพ.สต.วังพะเนียด ต.เกตรี  หรือที่ชาวบ้านเรียก “หมอศักดิ์”   มาปลูกสละสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

 

           ทุกวันหยุดเสาร์  – อาทิตย์  หมอศักดิ์ จะใช้เวลาเข้าสวนสละ  เพื่อมาตกแต่งทางใบต้นสละให้ต้นสวยมีคุณภาพ  และตัดผลสละขายให้กับลูกค้า  อีกทั้งยังเพาะพันธุ์ต้นขายให้เกษตรกรรายอื่นๆ   และยังส่งมอบให้โรงเรียนในพื้นที่เพื่อปลูกด้วย

         

         โดยราคาสละอินโด พันธุ์สายน้ำผึ้งของทางสวนหมอศักดิ์ จะมีรสชาติ หวานกรอบ  ขายปลีกและส่งในราคากิโลกรัมละ 60 บาท  รอบสัปดาห์จะเก็บครั้งละ 100-200 กิโลกรัม  สร้างรายได้สัปดาห์  6,000-10,000 บาท   

           นายรอศักดิ์  หมาดสา  เกษตรกรปลูกสละ  บอกว่า   อาชีพรับราชการก็เป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว  ส่วนตัวเริ่มมีแนวคิดว่าจะต้องหารายได้เสริม  จึงคิดที่จะปลูกสละจากคำแนะนำของรุ่นพี่  เลยเริ่มปลูกเมื่อลองทำดูก็เข้ากับตัวเองได้   โดยใช้เวลาว่างเสาร์-อาทิตย์  มาดูแลกับเพื่อนหนึ่งคน   ช่วยกันทำตอนนี้สองปีกว่า  สวนทดลองก็ให้ผลผลิตแล้ว  โดยปลูกบนพื้นที่ร่วม 30 ไร่  มีการบริหารจัดการปลูกภายใต้สวนยาง  และสวนทุเรียน 

 

           สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้วบางส่วน   รายได้ประมาณสัปดาห์ละ 6000 ถึง 10,000 บาทรวมรวมเดือนละสองถึง 30,000 บาท  ในช่วงนี้ตัด 100  ถึง 200 กิโลกรัมต่อสัปดาห์  ลูกค้าจะอยู่ในเมืองสตูลและในจังหวัดก็จะขายระบบออนไลน์   ส่วนเกษตรกรที่มีแนวคิดคล้ายๆกันมีประมาณ 10 ถึง 20 ราย  ก็จะมาขอซื้อต้นพันธุ์ไปปลูก   ขายราคาต้นพันธุ์เริ่มต้นที่ 30 บาท  หากต้นที่มีมีอายุปีนึงก็จะขายต้นละ 150 บาท คละกันกันระหว่างตัวผู้ตัวเมีย

 

          นายรอศักดิ์  หมาดสา  แนะนำเพิ่มเติมว่า  สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะปลูกสละ   ถ้ามีพื้นที่พื้นที่ที่ปลูกยางพารา   หรือปลูกต้นปาล์มโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม   แนะนำว่าการปลูกสละอินโดเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรายใหม่ได้

 

           ด้านนายเฉลิมพร  ศรีสวัสดิ์  เกษตรอำเภอเมืองสตูล  พร้อมเจ้าหน้าที่เกษตร ลงพื้นที่แปลงสละ โดยกล่าว ในส่วนของสำนักงานเกษตรอำเภอก็ได้เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการสวน   การจัดการปุ๋ย   การเข้าสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน   ในเรื่องของด้านการตลาด  โดยเกษตรกรรายนี้ยังมีแนวคิดที่จะพัฒนาสวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลเกตรี   อำเภอเมือง   ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรที่จะพัฒนาพื้นที่  จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย

 

          ในส่วนของสละ  พูดถึงก็เป็นรายได้เสริมที่ดี  หรือบางรายทำเป็นรายได้หลักไปเลย   สละที่ปลูกในจังหวัดสตูล   จะมีตั้งแต่สายพันธุ์สุมาลี   เนินวง   ส่วนหนึ่งก็มาปลูกสละอินโด  ซึ่งเป็นรายได้เสริมของเกษตรกร    ในส่วนของแปลงสละแห่งนี้ก็เป็นแหล่งจำหน่ายพันธุ์   และเป็นแหล่งแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียงที่สนใจจะปลูกสละอินโด

 

          สำหรับสละสามารถออกผลผลิตได้ตลอดปี   ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอด   สละไม่ต้องปลูกตามฤดูกาลแต่สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี   หากท่านใดต้องการสั่งต้นพันธุ์ โทร  096-9705301

……………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล- หนึ่งชีวิตมีค่า  นาทีช่วยน้องหมาจรจัดพันธุ์ไทยเพศเมีย  หัวติดในกระป๋องพลาสติกใส มานานถึง 7 วัน  ก่อนปล่อยสู่อิสระ

สตูล- หนึ่งชีวิตมีค่า  นาทีช่วยน้องหมาจรจัดพันธุ์ไทยเพศเมีย  หัวติดในกระป๋องพลาสติกใส มานานถึง 7 วัน  ก่อนปล่อยสู่อิสระ

            ครบ 7 วันแล้ว  ในวันที่ 21 เมษายน 2567  ที่สุนัขจรจัดเพศเมียมีขนสีขาว  หัวติดอยู่ในกระป๋องพลาสติกใส  วิ่งไปมาเพื่อหาทางหลุดออกจากกระป๋อง  บริเวณลานกว้างของสนามบินชั่วคราว กองทัพอากาศจังหวัดสตูล  ต.คลองขุด  อ.เมือง   ด้วยสภาพที่หิวโซ  เพราะอดอาหารนานร่วมสัปดาห์  

 

           ล่าสุดในช่วงค่ำที่ผ่านมา  นายธนาคม  ฉายนิ่ม   อาสาฉุกเฉินการแพทย์ งานกู้ชีพกู้ภัยเทศบาลตำบลคลองขุด พร้อมด้วยนายสมบัติ  เจริญขวัญ  ชาวบ้านผู้ที่รักสุนัขและชอบเหลือสังคมในพื้นที่จังหวัดสตูล ได้ตามน้องหมาตัวนี้เข้าไปในสวนปาล์ม  ใกล้สนามบิน  วิ่งไล่ด้วยความไวจนสามารถจับน้องหมาตัวนี้ได้  โดยตะครุบตัวก่อนใช้กรรไกรตัดกระป๋องพลาสติกออกอย่างทุลักทุเล จนสำเร็จ และได้ปล่อยน้องหมาตัวนี้ไปสู่อิสรภาพ  

 

           สำหรับสุนัขจรจัดเพศเมียตัวดังกล่าวนี้   มีคนพบเห็นหัวติดอยู่ในกระป๋องพลาสติกใส  วิ่งวุ่นอยู่บริเวณสนามบิน ชั่วคราว กองทัพอากาศจังหวัดสตูล  โดยกลุ่มผู้รักสุนัข  และชาวบ้าน  ได้พยายามช่วย แต่ไม่สามารถจับตัวได้  เมื่อข่าวการพบน้องหมาจรจัดหัวติดกระป๋องพลาสติกใส ทราบไปถึงนายศักระ  กปิลกาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  จึงสั่งการช่วยเหลือจัดระดมกำลัง  ทีมผู้มีความชำนาญโดยตรง โดย ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  พร้อมด้วยนายชำนาญ พรหมดวง รองนายกเทศมนตรีตำบลคลองขุด และ ประชาชนกลุ่มรักษ์น้องหมา – แมวจรจัดจังหวัดสตูล และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ธรรมรังสีสตูล  รวมตัวช่วยกันออกไปช่วยเหลือทันที

 

         แต่ด้วยสัญชาตญาณของหมาจรจัด ที่หัวติดกระป๋องพลาสติกใส นานถึง 7 วัน บวกกับอดข้าวอดน้ำ รวมทั้งอากาศร้อนจัดก็ไม่ยอมให้จับ  วิ่งหนีหลบเจ้าหน้าที่  ทำให้ทุกคนต้องวิ่งตามหากันให้วุ่นก่อนช่วยเหลือได้ในที่สุด

 

          นางสาวจริงใจ สุวรรณจุณี อายุ 38 ปี ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวมาเที่ยวงานกาชาด และเป็นหนึ่งผู้ที่มีใจรักน้องหมา เจ้าของคลิปติกต๊อกที่เคยโด่งดัง จากคลิปที่ตนเองช่วยน้องหมาติดยางมะตอย กล่าวว่า   ได้พบน้องหมาจรจัดเพศเมียตัวลักษณะมีขนสีขาว  ซึ่งหัวเข้าไปติดกับกระป๋องพลาสติกใส น่าว่าน้องหมาตัวนี้คงหิวและดันหัวเข้าไปกินจนเอาหัวดันออกมาไม่ได้  ติดมาแบบนี้เป็นเวลา 7 วันแล้ว น้องหมาตัวนี้ อดกินข้าวกินน้ำนับว่ายังโชคดีที่ยังไม่ตาย

 

         สำหรับพื้นที่  บริเวณที่สนามบินกองทัพอากาศ(ชั่วคราว ) ในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  โดยลานแห่งนี้ถูกใช้  จัดงานกาดชาดประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 11 – 21 เมษายน โดยสภาพพื้นที่ เป็นป่าเสม็ดและสวนปาล์มของชาวบ้านรอบๆข้าง  พบมีหมาจรจัดจำนวนมากกว่า  50 ตัว ที่ถูกนำมาทิ้งไว้ ณ  ที่แห่งนี้  และมีผู้ใจดีมาให้คอยให้อาหารด้วยความเมตตา

………………………. 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

      บยสส.รุ่น 3 เปิดเวทีสัมมนาสาธารณะ

บยสส.รุ่น 3 เปิดเวทีสัมมนาสาธารณะ “สื่อสารอย่างไรให้เท่าเทียม: สิทธิของ LGBTQIAN+ กับการเปิดรับของสังคม” หวังร่วมสร้างความเข้าใจในสังคมไทย เพื่อเปิดรับความหลากหลายอย่างเท่าเทียม

บยสส. 3 เปิดเวทีสัมมนา “สื่อสารอย่างไรให้เท่าเทียม: สิทธิของ LGBTQIAN+ กับการเปิดรับของสังคม”     ชี้ทัศนคติสังคมไทยต้องเปลี่ยน เริ่มจากครอบครัวและสถาบันการศึกษา เพราะแม้พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมผ่านสภาฯแต่สังคมไทยยังย้อนแย้งบางส่วน พร้อมชวนสังคมและสื่อมองความหลากหลายทางเพศคือเรื่องปกติ

 

20 เมษายน 2567 – เพื่อร่วมสร้างสังคมที่เคารพและให้คุณค่ากับการเปิดรับความหลากหลายทางเพศ หลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง (บยสส.) รุ่นที่ 3 ร่วมกับสถาบันอิศรา ได้ร่วมจัดเวทีสัมมนาสาธารณะ  “สื่อสารอย่างไรให้เท่าเทียม: สิทธิของ LGBTQIAN+ กับการเปิดรับของสังคม” กล่าวเปิดงานโดย คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ผู้อำนวยการหลักสูตร บยสส. รุ่นที่ 3  ณ Hall 1 – 2 ชั้น 10 อาคารอเนกประสงค์ เอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อ

 

คุณพินิจ จารุสมบัติ ประธานผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง (บยสส.) รุ่นที่ 3 เปิดเผยว่า การจัดงานสัมมนาสาธารณะในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้สะท้อนความคิดและมุมมองสู่สาธารณะ เพื่อให้สังคมไทยรวมถึงสื่อมวลชนรวมมีความรู้ความเข้าใจต่อประเด็นความหลากหลายทางเพศ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับทุกคน “การเคารพในความหลากหลาย         เป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่จะต้องให้ความเคารพ ลดความขัดแย้ง ลดปัญหา ความเหลื่อมล้ำและการเลือกปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และหวังว่าการสัมมนาจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยต่อไป”

 

คุณณชเล บุญญาภิสมภาร รองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกระเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ได้มีโอกาสทำงานกับครอบครัวที่มีบุตรหลานหลากหลายเพศ พบว่าพ่อแม่มักมีความรู้สึกว่าตนเองทำอะไรผิด ถึงมีลูกเป็น LGBTQIAN+ จึงต้องทำอย่างไรให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองก้าวข้ามความรู้สึกเหล่านั้นไปได้ ในเวลาเดียวกันลูกก็จะรู้สึกว่าตนเองต้องทำเกินกว่าคนอื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ทั้ง ๆ ที่การได้รับความรักเป็นเรื่องพื้นฐานของครอบครัว จึงทำคู่มือชื่อ “บ้านนี้มีความหลากหลาย” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลานหลากหลายเพศ สำหรับเรื่องการสื่อสารอย่างไรให้เท่าเทียมนั้น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา คือต้องไม่ตั้งสมมุติฐานว่า “ทุกคนจะเหมือนเรา” ต้องมีทัศนคติว่าคนมีความแตกต่าง มีความเฉพาะและมีชีวิตของตัวเอง การสื่อสารก็จะเป็นการสื่อสารด้วยความเคารพ เช่น เราเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ก็ควรถามเราว่าอยากให้เรียกว่าอะไร บางคนยังไม่เปลี่ยนชื่อ ชื่อยังเป็นผู้ชายก็อาจไม่อยากให้เรียกชื่อนั้นก็ได้ เป็นต้น ในฐานะสื่อต้องเรียนรู้ความแตกต่างหลากหลาย อย่าใช้คำนี้ไปครอบทุกอย่าง และต้องเห็นความหลากหลายเรื่องคนข้ามเพศ ที่ไม่ได้มีแค่ผู้หญิง ผู้ชาย แต่มีnon-binary ด้วย เป็นเรื่องที่เราต้องรู้เท่าทัน เพราะโลกเดินมาไกลมาก

 

คุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง  เปิดเผยว่า การสื่อสารอย่างเท่าเทียมและความเปลี่ยนแปลงจะเกิดได้จริง จะต้องเปลี่ยนที่ทัศนคติของคนในสังคม โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในการสร้างความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมในสังคมไทย โดยเฉพาะผู้ใหญ่อย่างครูที่จะต้องเปิดกว้างกับนักเรียนด้วยความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ แม้ว่าปัจจุบันนี้ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่ผลักดันมาตั้งแต่ตอนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะผ่านความเห็นชอบและเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาภายในระยะเวลารวดเร็วกว่าที่คาดไว้ด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความเข้าใจแก่สังคมให้มองว่ามนุษย์เท่ากัน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราทุกคนควรได้แต่กำเนิด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมาจากการหล่อหลอมของสถาบันการศึกษา ในส่วนของมุมมองที่มีต่อสื่อนั้น มองว่าปัจจุบันคนทำสื่อมีความตระหนักกับประเด็นเหล่านี้มากขึ้น เมื่อสื่อมีการเรียกหรือคำพูดที่ไม่เหมาะสมจะมีการฟีดแบ็คจากสังคมทันที และหวังว่าเมื่อมีการสื่อสารถึงตัวละครที่มีความหลากหลายทางเพศ จะมีการใส่ความเป็นมนุษย์เข้าไปมากกว่าการสร้างภาพจำบางอย่างดังที่เคยมีมาในอดีต ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นมาก และในส่วนตัวแล้วนั้นจะต่อสู้จนถึงวันที่ไม่มีคำว่าซีรีส์วาย LGBTQIAN+ เพราะทุกคนเท่ากันหมด โดยไม่ต้องตัดสินว่าคนอื่นมีรสนิยมทางเพศแบบไหน เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล

คุณรัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น นักแสดงชื่อดัง ให้ความคิดเห็นถึงความแตกต่างของสังคมไทยกับในต่างประเทศโดยเฉพาะที่ประเทศสวีเดนว่า มีความแตกต่างกันมากโดยในเชิงปฏิบัติของประเทศไทยนั้นมีความย้อนแย้งกับกฎหมายที่กำลังรอการพิจารณาจากวุฒิสภา ขณะที่ในต่างประเทศให้การยอมรับและมีจุดยืนที่ชัดเจน เช่น ตำรวจ แพทย์ นักการเมือง ที่มีจากหลากหลายอาชีพก็สามารถแสดงออกได้ รวมถึงเรื่องการท่องเที่ยว การรับรองบุตร ที่สามารถเปิดรับสิทธิในเรื่องนี้  โดยมองว่าเรื่องของการเป็นบุคคลข้ามเพศเป็นเรื่องของรสนิยมทางเพศที่เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเรื่องแปลก ถือเป็นการให้เกียรติทางสังคม ต้องให้ความเคารพความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีหลายประเทศให้การยอมรับและสนับสนุนในเรื่องนี้ และถ้าเลือกปฏิบัติอาจจะเสียโอกาสที่จะได้บุคลากรที่ดี ส่วนเรื่องความคิดเห็นเรื่องการสื่อสารอย่างไรนั้น มองว่าให้เน้นในเรื่องของความมีมารยาท นำมาใช้ในการสื่อสารทางสังคม

 

คุณดารัณ ฐิตะกวิน นักแสดงชื่อดัง เผยมุมมองว่า การสื่อสารให้เท่าเทียมต้องเริ่มจากความเป็นพ่อแม่ที่ต้องเปิดรับเปิดกว้าง ทำให้ลูกเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมในภาพกว้าง เข้าใจในเรื่องการใช้ชีวิตที่มากกว่าเรื่องของรสนิยมทางเพศ เพราะเราเป็นมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ด้วยกัน เราทุกคนอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง อะไรที่ผ่านมาก็มีสิ่งที่ดีที่เราเรียนรู้ นอกจากนี้ทัศนคติของสังคมคือเรื่องสำคัญ โดยควรมองให้เป็นเรื่องปกติ และไม่ใช้เรื่องเพศในการนำทางชีวิตคู่ แต่ใช้ความเอื้ออาทร ความสบาย ความสุขที่อยู่ด้วยกัน ถ้าสนใจจะพัฒนาตัวเองมากกว่าการวิจารณ์คนอื่น สังคมจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้ทุกอย่างเป็นการใช้ชีวิต ทุกสิ่งคือธรรมชาติของมนุษย์ และนำพาไปสู่ความเป็นปกติ

 

#สื่อสารเท่าเทียม #บยสส3 #อิศรา

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

แล้งนี้ที่สตูล  เลี้ยงผึ้งเดือนห้าแซมสวนยางจากรายได้เสริมแซงรายได้หลัก  รสชาติหวานฉ่ำคลายร้อน  เตรียมโกอินเตอร์ต่างแดน   ท้องถิ่นฉลุงช่วยเกษตรกรขาย  หลังผลิตภัณฑ์มีหลากหลายพร้อมตอบโจทย์ลูกค้า 

แล้งนี้ที่สตูล  เลี้ยงผึ้งเดือนห้าแซมสวนยางจากรายได้เสริมแซงรายได้หลัก  รสชาติหวานฉ่ำคลายร้อน  เตรียมโกอินเตอร์ต่างแดน   ท้องถิ่นฉลุงช่วยเกษตรกรขาย  หลังผลิตภัณฑ์มีหลากหลายพร้อมตอบโจทย์ลูกค้า 

       นายสุจริต  ยามาสา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ลงพื้นที่ชมวิธีการจับผึ้งโพรง  ของกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงมุสลิมบ้านทุ่งพญา หมู่ที่ 14 ตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  ซึ่งมีการปลูกแซมในสวนยางพาราเป็นรายได้เสริม แต่กลับพบว่า  รายได้จะแซงรายได้หลักอย่างยางพาราไปแล้ว  โดยเกษตรกรกลุ่มนี้ได้จำหน่ายลังผึ้งเพียงผลิตภัณฑ์เดียว  ก็สามารถสร้างรายได้หลักล้านบาท  

        และขณะนี้เกษตรกรแต่ละราย  ก็จะนำลังผึ้งไปเลี้ยงภายในสวนยางพาราของตัวเอง  เป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกรและชาวบ้าน   โดยพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม  ต่อการอาศัยอยู่ของผึ้งเนื่องจากมีความชื้นที่พอเหมาะ   และยังติดพื้นที่ชุ่มน้ำ  เขตห้ามล่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา

         นายราเหม หยังหาด ประธานกลุ่มฯ ได้สาธิตวิธีการจับผึ้งที่ปลอดภัยในครั้งนี้ ด้วย   สำหรับหนึ่งลังจะได้น้ำผึ้งประมาณ 3-4  ขวด จำหน่ายขวดละ 600 บาท  แต่ปัจจุบันมีขนาดขวดที่แตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ขวดละ 50 บาท ไปจนถึง 600 บาท พร้อมแพคแก็ตที่สวยงามเหมาะแก่การเป็นของขวัญของฝากอีกด้วย  ซึ่งการเลี้ยงผึ้งสร้างรายได้ให้ชุมชนเข้มแข็ง

        โดยวิสาหกิจชุมชน  กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงมุสลิมทุ่งพญา ตำบลฉลุง จ.สตูล ทางกลุ่มได้ทำการเลี้ยงผึ้งมากว่า 8  ปี ปัจจุบันนอกจากมีการจำหน่ายน้ำผึ้ง  ยังมีผลิตภัณฑ์จากผึ้งแบบครบวงจร ตั้งแต่ ลังผึ้ง สารล่อผึ้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้ง และยังมีการเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงผึ้งอีกด้วย

        นายราเหม หยังหาด ประธานกลุ่มฯ  บอกว่า ผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้งของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงมุสลิมบ้านทุ่งพญา  มีมากมาย  โดยเฉพาะเครื่องดื่มพญาผึ้ง  ที่มีส่วนผสมจากน้ำส้มของอินทผาลัมและน้ำผึ้ง   ทางศาสนายอมรับว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีสรรพคุณทางยา  ทำให้มียอดจำหน่ายดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ   ก่อนหน้านี้เคยจำหน่ายได้ 3-400 โหล  โดยเฉพาะตอนนี้ทางกลุ่มเตรียมที่จะผลักดันสินค้าไปขายยังประเทศมาเลเซีย   แต่ติดอยู่ที่ค่าเงินของต่างประเทศยังอ่อนค่าอยู่ทำให้ต้องชะลอ  นอกจากนี้กลุ่มลูกค้า 3 จังหวัดชายแดนใต้  ก็ได้รับความนิยม   ทางกลุ่มยังมีเครือข่ายหลายจังหวัดในการทำงานเชื่อมโยงกัน

          การจับผึ้งเดือนนี้ถือว่าเป็นน้ำผึ้งที่ดีเลิศ  โดยเฉพาะน้ำผึ้งที่นี่มีลักษณะเด่น  จะเป็นสีทอง  หอมหวาน อร่อย และยังมีสรรพคุณทางยา สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามสั่งซื้อ  ได้ที่กลุ่มผึ้งโพรงมุสลิมบ้านทุ่งพญา ผ่านทางประธานชมรม ที่หมายเลขโทรศัพท์ 06-2   231  –  8316

……

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

 ใส่ผ้าไทยให้สนุก!  จัดกิจกรรมเดินแบบผ้าไทยการกุศล “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” จังหวัดสตูล นำรายได้ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยต่างๆในพื้นที่     

ใส่ผ้าไทยให้สนุก!  จัดกิจกรรมเดินแบบผ้าไทยการกุศล “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” จังหวัดสตูล นำรายได้ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยต่างๆในพื้นที่

            ค่ำวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่เวทีกลางในงานประจำปีและงานกาชาด เที่ยวสบาย สไตล์สตูล 2567 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ร่วมกับ ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสตูล จัดกิจกรรมเดินแบบผ้าไทยการกุศล “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” จังหวัดสตูล  เพื่อสมทบทุนบริจาคหารายได้ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยต่างๆ ของจังหวัดสตูล และเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล โดยมี นายศักระ  กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วย ทพญ.สุกีรติ  กปิลกาญจน์ แม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสตูล ร่วมรับเงินบริจาคเพื่อร่วมสมทบทุนกองทุนแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสตูล จำนวน 212,000 บาท จากตัวแทนผู้เดินแบบการกุศล ซึ่งมีเหล่านางแบบและนายแบบ จากสมาชิกชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสตูล สมาชิกชมรมเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคในจังหวัดสตูล ภาคเอกชน กลุ่มองค์กรภาคประชาชน เครือข่ายพัฒนาชุมชน ร่วมเดินแบบในครั้งนี้

           สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จังหวัดสตูล ได้นำแนวนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการน้อมนำ พระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาสู่การขับเคลื่อนและส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย ด้วยการจูงใจให้พี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่หันมาสวมใส่ผ้าไทยในทุกวันและทุกโอกาส รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างกระแสนิยมในการแต่งกายด้วยผ้าไทย ต่อยอดให้ผ้าไทยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมการใช้ผ้าไทยทั้งในมิติช่องทางการตลาด และในมิติการพัฒนาเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าไทย เพื่อที่จะทำให้พี่น้องประชาชนได้มีงาน มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง ที่สำคัญ คือ เป็นการทำบุญเพื่อการกุศล จัดหารายได้สนับสนุนชมรมแม่บ้านมหาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัดสตูลในการนำไปช่วยเหลือกิจกรรมอันเป็นสาธารณกุศล และช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก ผู้ด้อยโอกาส ในจังหวัดสตูลอีกด้วย

——————————————

ภาพ : ศุภาพิชญ์ ดวงไข /ภาสินี  จันทจักษุ

ข่าว : ภาสินี  จันทจักษุ

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

ท่าเรือชายแดนไทย – มาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวแรงงานทยอยเดินทางกลับ ตำรวจเข้มจับเป่าแอลกอฮอล์และตรวจยาเสพติด หลังประกาศเป็นท่าเรือสีขาวสร้างความเชื่อมั่นให้ทั่วโลกที่เดินทางเข้ามา

ท่าเรือชายแดนไทย – มาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวแรงงานทยอยเดินทางกลับ ตำรวจเข้มจับเป่าแอลกอฮอล์และตรวจยาเสพติด หลังประกาศเป็นท่าเรือสีขาวสร้างความเชื่อมั่นให้ทั่วโลกที่เดินทางเข้ามา

          วันที่ 11 เมษายน 2567   ที่ด่านชายแดนท่าเทียบเรือตำมะลัง  ตำบลตำมะลัง  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ซึ่งเป็นด่านชายแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย  โดยทันทีที่เรือระหว่างประเทศเข้าเทียบท่าแรงงานและนักท่องเที่ยวจำนวนมากกว่า 100 คน  ทยอยเดินทางขึ้นฝั่งเพื่อเข้ามาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลฮารีรายอในในประเทศ   สร้างบรรยากาศคึกคักให้กับท่าเทียบเรือแห่งนี้โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ,ตรวจคนเข้าเมือง,เจ้าท่าส่วนภูมิภาค,ศุลกากรและหลายหน่วยที่เกี่ยวข้องมาคอยอำนวยความสะดวก

               ขณะที่ทางด้านพันตำรวจเอกเสกสิทธิ์   ปรากฏชื่อ  ผู้กำกับสภ.เมืองสตูล ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมอำนวยความสะดวกในการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ  คนขับเรือและลูกเรือจะต้องปลอดจากแอลกอฮอล์   โดยจัดทีมเข้าสุ่มตรวจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารในท่าเรือระหว่างประเทศ  อีกทั้งได้มีการสุ่มตรวจปัสสาวะผู้ให้บริการเรือโดยสารเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด

 

          และเป็นท่าเรือระหว่างประเทศสีขาวอย่างแท้จริง  พร้อมที่จะให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาท่องเทีายงในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทย

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

  ตม.สตูล นุ่งโจงกระเบน  ห่มสไบ  แจกพวงกุญแจช้างสัญลักษณ์ชาติไทยต้อนรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติแห่เช็คอินชายแดนวังประจัน  เทศกาลสงกรานต์ขึ้นปีใหม่ไทยคึกคัก     

ตม.สตูล นุ่งโจงกระเบน  ห่มสไบ  แจกพวงกุญแจช้างสัญลักษณ์ชาติไทยต้อนรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติแห่เช็คอินชายแดนวังประจัน  เทศกาลสงกรานต์ขึ้นปีใหม่ไทยคึกคัก

         (12 เม.ย.67)  เทศกาลเย็นทั่วล้า มหาสงกรานต์วันปีใหม่ไทย  ที่ชายแดนสตูลผู้บริหารนุ่งโจงกระเบน  ห่มสไบ  แจกช้างต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่สวยงาม  ชาวต่างชาติแห่ขอถ่ายรูปกันคึกคักสร้างสีสันชายแดนสตูลติดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย

 

         โดยที่ด่านพรมแดนวังประจัน  อ.ควนโดน  จ.สตูล  พันตำรวจเอกเจริญพงษ์  ขันติโล  ผกก.ตม.สตูล , พ.ต.ท.ระลึก   อินทรัศมี  รองผกก.ตม.สตูล ,  พ.ต.ท.ฉลอง  บุญร่วม  รองผกก.ตม.สตูล  ร่วมกับ นายบุญชัย   ฤกษ์ตุลา   ผู้อำนวยการส่วนควบคุมด่านศุลกากรวังประจัน   จัดธีมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วยการนุ่งโจงกระเบน และห่มสไบ มารอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทางพรมแดนด่านวังประจัน  อ.ควนโดน จ.สตูล ที่ติดกับรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย สร้างสีสันความสวยงามอย่างไทย   ทำให้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาต่างมาขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และรับรู้ถึงบรรยากาศและประเพณีที่สวยงาม ของเทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย

 

        โดยวันนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะชาวมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในห้วงของการท่องเที่ยวเทศกาลฮารีรายา ซึ่งอยู่ติดพรมแดน จ.สตูล   ต่างทยอยเดินทางเข้ามากันไม่ขาดสาย   เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย  หลายคนรู้สึกตื่นเต้นและประทับใจกับบรรยากาศการต้อนรับที่สวยงามอย่างไทย   โดยครั้งนี้ทางด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูลได้จัดเตรียมเครื่องดื่มและขนม  พร้อมทั้งของที่ระลึกซึ่งเป็นพวงกุญแจช้างไทย  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชองชาติ  พร้อมกับด่านศุลกากรวังประจัน  ที่นำน้ำดื่มมาร่วมให้บริการกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในห้วงเทศกาลสงกรานต์นี้ด้วย 

           พันตำรวจเอกเจริญพงษ์   ขันติโล    ผู้กำกับด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล  บอกว่า  กิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทยที่สวยงาม  ในเทศกาลวันสงกรานต์และวันปีใหม่ไทย  โดยทุกหน่วยงามในจังหวัดสตูลมีความพร้อมแล้วในการให้บริการด้านความปลอดภัย  และต้อนรับนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดสตูล  ที่มีความสวยงามของธรรมชาติ   อาหารการกินที่หลากหลายและการละเล่นของประเพณีไทยในวันสงกรานต์   นอกจากนี้ด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาะหลีเป๊ะ   และ   ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเทียบเรือตำมะลัง   ซึ่งทั้ง 3 ด่านทั้ง  ทางบกและทางทะเล   ก็มีความพร้อมให้บริการเหมือนกัน   ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันหยุดยาว

…………………………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

แปลกแต่จริง! ขนมทอดน้ำมันเย็น  แลมแปง  ขนมหาทานยากที่กำลังจะสูญหายไปจากหมู่บ้าน

แปลกแต่จริง! ขนมทอดน้ำมันเย็น  แลมแปง  ขนมหาทานยากที่กำลังจะสูญหายไปจากหมู่บ้าน

 

           ที่จังหวัดสตูลเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีขนมพื้นเมืองมากมาย   ดินแดนแห่งนี้มีพรหมแดนติดไทยมาเลเซีย  ทำให้วัฒนธรรมการกินมีการสืบทอดไปมา    ที่นี่จึงมีขนมที่มีชื่อแปลก ๆ และกรรมวิธีแปลกๆ แบบโบราณให้เห็นมากมาย 

 

           วันนี้ทีมข่าวไปเสาะหาขนมพื้นเมือง   ที่กำลังจะสูญหายไปจากพื้นที่    เพราะด้วยกรรมวิธีการทำที่พิเศษกว่าขนมทั่วไป  คือ    ต้องทอดในน้ำมันที่เย็นเท่านั้น  ไม่อย่างงั้น   ตัวขนมจะหักง่าย  และ เหี่ยว  หน้าตาไม่น่ารับประทาน    ขนมที่ว่านี่ก็คือ  ขนมแลมแปง  เป็นชื่อภาษามลายูที่มีความหมายเป็นห่วงคู่คล้องใจ  

 

          โดยส่วนผสมของขนมแลมแปง   ประกอบด้วย  แป้งข้าวเหนียว  ไข่ไก่  และเกลือนิดหน่อยผสมให้เข้ากัน  นวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน   ปั้นเป็นห่วงคู่คล้องใจ    แล้วนำไปแช่ในน้ำมันทิ้งไว้   เพื่อไม่ให้ตัวขนมแห้ง   ก่อนที่จะนำมาทอดในน้ำมันที่เย็นในกระทะ  แล้วค่อยๆ เปิดไฟอ่อนๆ ให้ตัวขนมค่อยๆ ฟูตัวขึ้นแบบสม่ำเสมอกัน (ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญชำนาญการพอสมควร)   ไม่อย่างนั้น   จะทำให้ตัวขนมแตกหัก  ไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการได้

 

         นางสภิณา สูสัน อายุ 40 ปี หรือ เป็นที่รู้จักในนามว่าร้านก๊ะหนา เป็นอีกหนึ่งคนที่สืบทอดการทำขนมแลมแปง ไม่น้อยกว่า 5 ปี ยอมรับว่า ขนมชนิดนี้จะต้องใช้ความอดทน ความชำนาญและความวิถีพิถัน ในการทำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะขั้นตอนการขึ้นรูปขนม และการทอดขนม ที่จะต้องให้น้ำมันมีความเย็นก่อนถึงจะใส่ตัวขนมลงไป แล้วค่อยๆเปิดไฟอ่อนๆให้ขนมพองตัวขึ้น โดยได้สืบทอดขนมนี้มาจากบรรพบุรุษ จะทำขายในช่วงเดือนฮารีรายอก่อนออกบวช 13 วันเท่านั้น ตอนนี้ในหมู่บ้านมีคนทำขนมชนิดนี้น้อยมาก ไม่เกิน 5 คนที่ทำขนมนี้เป็น

        โดยทางครอบครัวร้านก๊ะหนา จะทำขนมต้อนรับเดือนฮารีรายอเป็นรายได้เสริม 10 กว่าวันก่อนถึงเทศกาลฮารีรายอ สร้างรายได้เสริมในห้วงนี้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำ และส่งตามร้านค้า สำหรับขนมแลมแปง เป็นขนมที่ได้รับความนิยมรับประทานเพราะมีคนทำน้อย เนื่องจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก

        นางสาวนูรอัยนี มายาสัน อายุ 23 ปี บุตรสาวร้านก๊ะหนา ยอมรับว่าตนไม่ค่อยถนัดในเรื่องของการทำขนมแต่จะมาช่วยคุณแม่โพสต์ขายทางออนไลน์ และ รับออเดอร์ให้ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากโลกโซเชียล และอนาคตหวังว่าจะทำให้ขนมแลมแปง ขนมพื้นถิ่นในจังหวัดสตูลของตำบลควนสตอเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยจะจำหน่ายเป็นถุง 12 ชิ้นราคา 35 บาทหรือ 3 ถุง 100 บาท นอกจากนี้คุณแม่ยังทำขนมโดนัท , ขนมเขี้ยวหมีหรือขนมเขาควาย, และขนมไข่เต่าไส้สับปะรดจำหน่ายด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ 089 975 4537 หรือ 080 029 8913 เฟสบุ๊ค Noorainee Mayasan

          นางสาวบีเซาะห์ เกปัน นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ สังกัดสำนักปลัด อบต.ควนสตอ จังหวัดสตูล บอกว่า ขนมพื้นถิ่นในตำบลควนสตอมีอยู่มากมายหลายชนิด อาทิ ขนมบุหงาบุดะ ขนมไข่กรอบ ขนมลา และที่สำคัญขนมแลมแปง ที่หาทานยากก็สามารถมาหาซื้อได้ที่ตำบลแห่งนี้สามารถติดต่อสอบถามที่ได้ อบต.ควนสตอ หรือ ติดต่อโดยตรงกับทางร้านค้าทำขนมที่ให้เบอร์ไว้ได้เลยค่ะ

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ชวนล่องเรือหา  สาหร่ายสาย  เรียบป่าโกงกางเมนูธรรมชาติพื้นถิ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  มีเยอะฤดูแล้ง เตรียมส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

สตูลชวนล่องเรือหา  สาหร่ายสาย  เรียบป่าโกงกางเมนูธรรมชาติพื้นถิ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  มีเยอะฤดูแล้ง เตรียมส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

            ในช่วงน้ำ 14 ถึง 15 ค่ำ  และ 1 ถึง 2 ค่ำฤดูแล้งชาวบ้านหมู่ที่ 8 บ้านนาพญา  ตำบลละงู อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  จะนำเรือออกล่องไปตามลำคลองเรียบป่าโกงกางเพื่อหา  สาหร่ายสาย (สาหร่ายขนนก)  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหา  ลาโต๊ส  , ลาสาย หรือ สาย

          โดยแหล่งหาสาหร่ายสาย   จะมีด้วยกัน 2 ลำคลองคือ 1 โซนท่านาพญา  และ 2 โซนท่าพะยอม   ทันทีระดับน้ำในลำคลองลดลง   จนเกือบถึงยอดอกชาวบ้านที่ว่างเว้นการออกเรือหาปูดำ  หรือออกเรือหาแมงกะพรุน  ก็จะพากันออกไปหาในช่วงฤดูแล้งเพื่อเป็นรายได้เสริม

         โดยทุกคนที่มาหาจะมีทั้งวัยรุ่นและผู้สูงอายุอย่างคุณลุงปิยะศักดิ์  เภอสม  วัย  68  ปี ที่ยอมรับว่าออกมาหาสาย  ตั้งแต่วัยหนุ่มนานถึง 30 ปีแล้ว   โดยเคยหามากสุดในชีวิตคือ 40 กิโลกรัม เมื่อหลายสิบปีก่อน  แต่ตอนนี้หาได้มากสุด 10 กว่ากิโลกรัม   โดยอุปกรณ์ก็จะมีแว่นตาดำน้ำ   และภาชนะสำหรับใส่   สาหร่ายสาย  โดยการหาในแต่ละครั้งจะต้องดำดิ่งลงไปในน้ำที่มีความลึกประมาณยอดอก  แต่หากลึกกว่านั้น   ก็จะหลีกเลี่ยงไปหาพื้นที่อื่นเพื่อเซฟร่างกายด้วยเช่นกัน   เพราะจะต้องกลั้นหายใจให้นานเพื่อที่จะไปดึง สาหร่ายสาย   ขึ้นมาจากน้ำให้ได้

        น้องวินกับน้องแม๊ค    บอกว่า  หากวันไหนไม่ออกเรือหาปูดำ  หรือหาแมงกะพรุน  พอเข้าสู่ฤดูแล้งก็จะออกมาหา   สาหร่ายสาย  หรือ  สาย  โดยช่วงแรก ๆ ก็จะออกมาหากับคุณพ่อ   พอรู้แหล่งพิกัดก็จะออกมาหาตามลำพัง     โดยพบว่า  สาหร่ายสาย  มักจะอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อนริมป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์   เมื่อกระโดดลงน้ำและเท้าถึงพื้น   สัมผัสว่ามีความนิ่มก็หมายความว่าบริเวณนั้นมี  สาหร่ายสาย  เป็นจำนวนมากนั่นเอง   ใน 1 ปีหาได้เพียงไม่กี่เดือน  โดยจะหาได้มากสุดก็ช่วงที่น้ำลดลงต่ำสุด  เพราะต้องใช้ความชำนาญในการกลั้นลมหายใจในการดำน้ำดึงสาหร่ายขึ้นมา  

          การออกมาหา  สาหร่ายสาย(สาหร่ายขนนก) หรือ  ลาโต๊ส  ในครั้งนี้ทีมเกษตรอำเภอละงูและทีมผู้ใหญ่บ้านรวมทั้งสมาชิกอบต.ละงู  ก็หวังจะผลักดันให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  กับอาหารพื้นถิ่นที่ขึ้นชื่อที่มีลักษณะเฉพาะ  เพราะจะมีทานในช่วงน้ำลงและฤดูแล้งเท่านั้น 

          นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู  บอกว่า  หลังจากลงพื้นที่ในครั้งนี้จะเข้ามาส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกันส่งเสริมอาชีพ  ร่วมกันทำกิจกรรม เช่น  การอนุรักษ์สาหร่ายสายให้อยู่คู่กับลูกหลาน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์   โดยจะทำร่วมกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่นเพื่อต่อยอด   โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงู

 

           นายตารอด   ใบหลำ   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8  บอกว่า   สาหร่ายสาย  นับเป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการเป็นอย่างมากและที่นี่ก็จัดเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่มีสาหร่ายสาย หรือ  ลาโต๊ส  เยอะที่สุดอีกหนึ่งแหล่งในจังหวัดสตูล   โดยอนาคตก็เตรียมผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์   โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาชมป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์มาดูวิถีชีวิตของชาวบ้านในการหาสาหร่าย   ชิมกันสดๆ  ถึงอรรถรสความกรอบ  ใหม่สดของสาหร่ายชนิดนี้  ที่ชาวบ้านนาพญา  ตำบลละงู  อำเภอละงูจังหวัดสตูลพร้อมดูแล  

         

         ด้าน   กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 สตูล  ได้ศึกษาวิจัยการใช้  สาหร่ายสาย  หรือ  สาหร่ายขนนก  พบสรรพคุณที่โดดเด่นคือมีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งมีวิตามินที่ร่างกายต้องการ     สาหร่ายชนิดนี้จะเจริญเติบโตในที่มีคุณภาพน้ำที่สะอาดเท่านั้น   ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รับประทานเป็นผักจิ้ม (โดยการล้างให้สะอาดก่อนนำมากิน เพราะสาหร่ายสายเมื่อถูกน้ำจืดเพียงไม่นานก็จะตายหากไม่รีบทาน )   พบในช่วงฤดูแล้งเดือนมีนาคม – พฤษภาคมและจะเริ่มลดลงเมื่อเข้าหน้าฝนในช่วงมิถุนายนถึงตุลาคม   สำหรับพื้นที่พบสาหร่ายสาย   ตามแนวชายฝั่งอำเภอท่าแพ,ละงู ,ทุ่งหว้า  เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมีลักษณะเป็นหินดินดานเป็นโคลนทราย

 

           พื้นที่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนนั้นพบว่า  มีคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อม   สรรพสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดที่เข้ามาพึ่งพิงจะใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน   ในแง่ของแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยแหล่งหลบภัยเช่นเดียวกับสาหร่ายสาย หรือ สาหร่ายขนนก   ที่ยึดเอาป่าชายเลนเป็นเสมือนบ้านของตนเองยังคุณประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น   ได้เก็บหามาบริโภคในครัวเรือน   และยังสามารถขายเพื่อเป็นรายได้จนเจอครอบครัวอีกด้วย    นับเป็นการเกื้อกูลเอื้อประโยชน์แก่กัน    ทั้งป่าชายเลน  สาหร่าย  และชาวบ้านในบริเวณนั้นประโยชน์จากสาหร่ายสาย   ชาวบ้านมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และนำไปสู่วิถีแห่งภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นได้ต่อไป

         ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 064-0456565

………………………………………….

อัพเดทล่าสุด