Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

  ชายแดนสตูลคึกคักวันตรุษจีน  นักท่องเที่ยวแห่เที่ยวแน่น  ตม.จับเวลาให้บริการยังเอาอยู่  พร้อมทำเก๋ แต่งชุดเจ้าสัว แจกขนมมงคล สร้างรอยยิ้มและความประทับใจ 

ชายแดนสตูลคึกคักวันตรุษจีน  นักท่องเที่ยวแห่แน่น  ตม.จับเวลาให้บริการยังเอาอยู่  พร้อมทำเก๋ แต่งชุดเจ้าสัว แจกขนมมงคล สร้างรอยยิ้มและความประทับใจ 

         วันที่ 10 ก.พ.2567  บรรยากาศเทศกาลเฉลิมฉลองวันตรุษจีน  ทำให้บริเวณด่านชายแดน  วังประจัน  อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล คึกคักเป็นวันที่ 2 ของการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ  โดยเฉพาะชาวมาเลเซีย  ซึ่งตรงกับวันหยุดปิดเทอมของบุตรหลาน   และวันหยุดยาวตรุษจีน  ส่งผลให้การเดินทางในครั้งนี้คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว  ทันทีที่มีการเปิดด่าน   

       ขณะที่ทางด้านด่านวังเกลียน   รัฐเปอร์ลิส  ประเทศมาเลเซีย  ซึ่งอยู่รอยต่อกับชายแดนจังหวัดสตูล  กลับพบปัญหาความล่าช้า  ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่  ที่ไม่เพียงพอกับปริมาณนักท่องเที่ยวขาออกนอกประเทศ  ทำให้การจราจรในฝั่งขาออก  ที่มีรถติดเป็นแถวยาวกว่า 1 กิโลเมตร  ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาทางด้านด่านชายแดนจังหวัดสตูล         

          ขณะที่ พ.ต.อ.เจริญพงษ์   ขันติโล   ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองสตูล   ได้ทำการทดสอบจับเวลาการให้บริการฝั่งขาเข้าด่านชายแดนวังประจัน อำเภอควนโดน  พบว่าภายใน 1 นาทีสามารถให้บริการได้ถึง 8 คน   โดยสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้ทันท่วงที  โดยยอมรับว่าในห้วงเวลาปกติจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางขาเข้าวันละ 2,000 คน   แต่เมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลจะมีมากขึ้นเป็น 3,000 คน  ก็ยังสามารถรองรับได้  เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่มากเพียงพอในการให้บริการ 

         พร้อมกันนี้ผู้บริหารตรวจคนเข้าเมืองสตูล   ได้แต่งชุดเจ้าสัวแจกขนมมงคลของดีพื้นเมืองสตูล  ให้บริการกับนักท่องเที่ยว   เพื่อเติมความสุขระหว่างรอรับบริการตรวจหนังสือเดินทาง  สร้างรอยยิ้ม และความอบอุ่น   และภาพลักษณ์ของการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

…………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

พ่อเมืองสตูลนำคณะ ต้อนรับ Datuk Armizan Bin Mohd Ali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย และคณะ ในโอกาสเยือนจังหวัดสตูล

พ่อเมืองสตูลนำคณะ ต้อนรับ Datuk Armizan Bin Mohd Ali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย และคณะ ในโอกาสเยือนจังหวัดสตูล

         วันที่ 20 ม.ค.2567  นายศักระ  กปิลกาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  ให้การต้อนรับ Datuk Armizan Bin Mohd Ali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย  และคณะ  ในโอกาสเยือนจังหวัดสตูล ณ ด่านวังประจัน ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล  เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดสตูลและรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย  โดยมีนางสาวธัญรัศม์  ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล พร้อมด้วยพาณิชย์จังหวัดสตูล แรงงานจังหวัดสตูล นายด่านศุลกากรวังประจัน ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล นายอำเภอควนโดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ

.

            ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และคณะ ได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้าบริเวณตลาดด่านชายแดนวังประจัน ซึ่งจำหน่ายสินค้าหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และขนมหลากหลายชนิด ซึ่งบรรยากาศในวันนี้พบนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออก เพื่อจับจ่ายซื้อของและท่องเที่ยวพักผ่อนอย่างคึกคัก นอกจากนี้ได้ร่วมพูดคุยหารือถึงความร่วมมือเรื่องการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดสตูลและรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย อีกด้วย

……………………..

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข / ส.ปชส.สตูล

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา

  สตูล-แข่งกินหอยหลอดตัวโต  ชวนนักท่องเที่ยวยอนหอยลุยโคลนหาดบ้านหัวหิน  ในเทศกาลยอนหอยหลอดและวัฒนธรรมพื้นบ้านละงู ระหว่างวันที่ 13-17 ม.ค.2567

สตูล..แข่งกินหอยหลอดตัวโต  ชวนนักท่องเที่ยวยอนหอยลุยโคลนหาดบ้านหัวหิน  ในเทศกาลยอนหอยหลอดและวัฒนธรรมพื้นบ้านละงู ระหว่างวันที่ 13-17 ม.ค.2567

       ที่จังหวัดสตูล…จะชวนมาดูสีสันการจัดการแข่งขัน   ที่สร้างความสนุกสนานให้นักท่องเที่ยว  และชุมชน ในกิจกรรมการแข่งขันกินเร็วหอยหลอด  ที่องค์การบริหารส่วนตำบลละงู  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  จัดขึ้นเป็นปีแรก   ให้นักท่องเที่ยวและชาวบ้านได้ร่วมแข่งขัน  รวมทั้งนายธีระพงษ์  คุ่มเคี่ยม  นายอำเภอละงู  นายจำรัส  ฮ่องสาย  นายกอบต.ละงู  มาร่วมเชียร์กันอย่างสนุกสนาน  โดยกติกาคือ  ผู้ร่วมการแข่งขันจะต้องกินคนละ 1 กิโลกรัม หรือมากกว่านั้น  ภายในเวลา 5 นาที  ใครกินหมดก่อนคือผู้ชนะ  ได้เงินรางวัล 2,000 บาท  งานนี้มีทั้งความสนุกสนาน  และรอยยิ้ม  ได้ทั้งอิ่ม อร่อย และหากชนะได้รางวัลเงินสดติดมือกลับบ้านไปด้วย 

 

       ผลการแข่งกินหอยหลอด  ผู้ชนะเลิศ  นายธีรภัทร์ อาดำ น้ำหนัก  1.2 กก. ,  รองอันดับ1 นายบาหวี หวันสู น้ำหนัก 1 กก.  , รองอันดับ 2  นายอนุชา สอเหลบ น้ำหนัก 0.7 กก.  

 

         สำหรับหอยหลอด  เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ขึ้นชื่อของหาดหัวหิน  หมู่ที่ 1 ตำบลละงู  จังหวัดสตูล   ปีละหนึ่งครั้ง  ที่ชาวบ้านจะออกย่ำโคลน   เดินเท้าหาได้  ในช่วงน้ำทะเลลดลงมากที่สุด  เกือบ 3 กิโลเมตร  เพื่อไปยอนหอยหลอดโดยใช้อุปกรณ์ก้านมะพร้าว กับปูนขาว  ยอน   (หรือแหย่)  ลงไปในรูที่เล็งแล้วว่า  มีขี้หอยอยู่ด้านบนพื้นผิว โดยยอนไปทีละตัว  เป็นการอนุรักษ์การหาหอยหลอดด้วยมือ  ทำให้หอยที่นี่ตัวใหญ่มาก และราคาดีที่กิโลกรัมละ 150 ถึง 180 บาท  สร้างรายได้ให้ชาวบ้านเป็นอย่างดี

 

         หลอดละงู  ขึ้นชื่อถึงความสด  อร่อย ตัวใหญ่  จนถูกจัดให้เป็น  “เทศกาลยอนหอยหลอดและวัฒนธรรมพื้นบ้านละงู”  ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 15 แล้ว  โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 –  17 ม.ค.2567 ที่สนามหน้า  องค์การบริหารส่วนตำบลละงู  อำเภอละงู จังหวัดสตูล  ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวภายในและต่างพื้นที่มาร่วมกันคึกคัก

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

  สตูล-ด่านชายแดนทางน้ำ ไทย-มาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวและแรงงานแห่เดินทางกลับฉลองปีใหม่ ท่ามกลางรักษาความปลอดภัยอำนวยความสะดวก

สตูล..ด่านชายแดนทางน้ำ ไทย-มาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวและแรงงานแห่เดินทางกลับฉลองปีใหม่ ท่ามกลางรักษาความปลอดภัยอำนวยความสะดวก

          วันที่ 30 ธ.ค.2566  ที่ท่าเทียบเรือตำมะลัง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นท่าเรือด่านชายแดนทางน้ำ  มีนักท่องเที่ยวต่างชาติและแรงงานไทยในต่างแดน   ใช้เส้นทางนี้ในการเดินทางเข้าประเทศเพื่อกลับมาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่กันอย่างคึกคัก 

          ซึ่งด่านชายแดนทางน้ำท่าเทียบเรือตำมะลัง  จังหวัดสตูล  มีเรือเฟอร์รี่ขนาดจุได้มากสุด 300 คน  เปิดให้บริการวันละ 1 เที่ยว  วิ่งจากเกาะลังกาวี  ประเทศมาเลเซีย  โดยส่วนใหญ่ที่เข้าช่องทางด่านชายแดนนี้พบว่าเป็นแรงงานไทยในมาเลเซีย และเพื่อนต้องการเดินทางกลับไปฉลองปีใหม่กับครอบครัว  และหลายคนที่ไปทำงานอยากนำเงินทองที่หามาได้กลับไปร่วมเฉลิมฉลองกัน

 

           ด้าน พ.ต.อ.เจริญพงษ์   ขันติโล ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  ได้เน้นย้ำให้ด่านชายแดนทั้ง 3 ด่านในจังหวัดสตูล ทั้งที่ ด่านวังประจัน อำเภอควนโดน ด่านเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล  และด่านท่าเทียบเรือตำมะลัง  อำเภอเมืองสตูล (ซึ่งเป็นด่านทางน้ำและทางบก) ให้ช่วยกันดูแลความเรียบร้อย  นักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ และตรวจสอบสกัดกั้นผู้มีหมายจับเข้าประเทศ  โดยวันนี้กำลังจิตอาสาออกหน่วยให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวก  และให้เกิดความประทับใจ  ในฐานะเจ้าบ้านที่ดีโดยวันนี้ได้นำน้ำดื่มและขนมพื้นเมืองมาร่วมมาต้อนรับสร้างความสุข และรอยยิ้ม ให้กับผู้เดินทาง ภายใต้หลัก  “สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ประทับใจ

…………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

  สตูล-ชายแดนสตูลรอยต่อประเทศมาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวและแรงงานเดินทางฉลองปีใหม่วันละไม่น้อยกว่า  3,000 คน  ขณะที่ตม.ทำเก๋แจกไอติม และขนมพื้นเมืองสร้างความประทับใจในฐานะเจ้าบ้านที่ดี 

สตูล-ชายแดนสตูลรอยต่อประเทศมาเลเซียคึกคัก  นักท่องเที่ยวและแรงงานเดินทางฉลองปีใหม่วันละไม่น้อยกว่า  3,000 คน  ขณะที่ตม.ทำเก๋แจกไอติม และขนมพื้นเมืองสร้างความประทับใจในฐานะเจ้าบ้านที่ดี

          วันนี้ (29 ธ.ค.2566)  ที่ด่านชายแดนวังประจัน อำเภอควนโดน  จังหวัดสตูล  นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและต่างชาติชาวยุโรปรวมทั้ง แรงงานไทยในต่างแดนเดินทางกลับผ่านช่องทางด่านชายแดนจังหวัดสตูล ติดกับบ้านวังเกลียน   รัฐเปอร์ลิส   ประเทศมาเลเซีย  กันอย่างคึกคักในห้วงนี้เฉลี่ยววันละไม่น้อยกว่า 3,000 คนที่เข้ามาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ไทย  พร้อมมอบนโยบายในการตรวจตราที่รวดเร็วภายใน 20 วินาทีต้องตรวจหนังสือเดินทางให้เสร็จต่อหนึ่งคน เพื่อลดความแออัด

         โดยนักท่องเที่ยวที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเดินทางมากับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์  และรถยนต์ส่วนตัวซึ่งลักษณะของการท่องเที่ยวมีทั้งมาเช้าเย็นกลับ ในแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดสตูล และลงตามเกาะหลีเป๊ะ และพื้นที่จังหวัดข้างเคียง 

         ซึ่งวันนี้ ผกก.ตม.จว.สตูล  พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล ร่วมอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้า- ออก ราชอาณาจักร ในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ 2567  ณ  ด่าน ตม.ควนโดน 

 

            ด้าน พ.ต.อ.เจริญพงษ์ ขันติโล ผกก.ตม.จว.สตูล ได้กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม. พร้อมผู้บังคับบัญชาได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล จึงสั่งการให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอำนวยความสะดวก ในการเดินทางเข้า – ออกราชอาณาจักรของท่องเที่ยว  ในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ 2567 ภายใต้หลัก  “สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ประทับใจ”

           โดยเตรียมความพร้อมทั้งด้านกำลังพล อุปกรณ์ เทคโนโลยี เพื่อรองรับการเดินทางเข้า -ออก ของคนไทยและคนต่างชาติในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 รวมทั้งวิเคราะห์สถิติการเดินทางเข้าออกของพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อเพิ่มความ สะดวกรวดเร็วในการให้บริการ พร้อมทั้งให้บริการน้ำดื่ม ไอศกรีมและขนมผูกรัก ซึ่งเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสตูล และมีความหมายสื่อถึงความสัมพันธ์ที่ดี  ทั้งนี้ขอฝากความห่วงใยไปยังพี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยว ให้เตรียมความพร้อมของยานพาหนะและพักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมทั้งวางแผนการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567

…………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

  สตูล-พบฝูงวาฬบรูด้า  8-10 ตัว โผล่กระโดดเล่นน้ำทะเล  อวดโฉม เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

สตูล-พบฝูงวาฬบรูด้า  8-10 ตัว โผล่กระโดดเล่นน้ำทะเล  อวดโฉม เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

         วันที่ 21 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เพจของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล  โพสต์คลิปพบฝูงวาฬบรูด้าโผล่เล่นน้ำ   อวดโฉมความน่ารัก กระโดดบนผิวน้ำทะเล  จำนวน 8-10  ตัว  สร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็น   โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่  ขณะที่ออกตรวจลาดตระเวนบริเวณหน้าเกาะอาดัง เขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา  จ.สตูล

 

          นายมงคล  แดงกัน  หน.อุทยานฯตะรุเตา จ.สตูล  เปิดเผยกับทีมข่าวว่า  ทางเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ แจ้งว่า  จนท.ชุดลาดตระเวนที่006 (ส่วนกลาง) ที่ออกลาดตระเวนในพื้นที่ ขณะลาดตระเวนอยู่บริเวณหน้าเกาะอาดัง หน่วยพิทักษ์ฯที่ตต.5 (แหลมสน เกาะอาดัง) ได้พบวาฬบรูด้าจำนวน  2  ฝูง นับได้ 8-10  ตัว  ดำผุดดำว่ายอวดโฉม สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่จนท.เป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่จึงบันทึกภาพความสวยงามของธรรมชาติไว้ได้หลายมุม

 

          สำหรับทะเลอันดามันในจังหวัดสตูล มีความสวยงาม สมบูรณ์  จึงมักพบสัตว์ทะเลตัวใหญ่มากมาย ทั้ง เต่าตนุ  พะยูน  โลมาหลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งวันนี้พบ  วาฬบรูด้า และถือว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลสตูลได้ชัดเจน  ซึ่งโดยปกติในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว  วาฬบรูด้าจะโผล่ขึ้นมาอวดโฉมให้  นทท.ได้ถ่ายรูป

 

          สำหรับวาฬบรูด้า   มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ปกติจะพบแค่ 2-3  ตัว แต่ครั้งนี้พบ 2 ฝูงประมาณ 8-10 ตัว ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ได้   ทั้งนี้  วาฬบรูด้า ยังเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด    ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 อีกด้วย

……………………………………………..

ขอบคุณภาพจากอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

  สตูล – อาหารฮาลาลสุดชิค  นักท่องเที่ยวและสายคอนเทนต์ไม่ควรพลาด! กับเมนูในตำนานข้าวต้มบ้านหยังเครื่องอัดแน่น ส่งต่อรุ่นที่ 3 ตกแต่งร้านสไตล์อบอุ่น

สตูล – อาหารฮาลาลสุดชิค  นักท่องเที่ยวและสายคอนเทนต์ไม่ควรพลาด! กับเมนูในตำนานข้าวต้มบ้านหยังเครื่องอัดแน่น ส่งต่อรุ่นที่ 3 ตกแต่งร้านสไตล์อบอุ่น

        เมนูสุดชิคทั้งเครื่องดื่มและอาหารทานเล่นที่   บ้านหยัง คาเฟ่  บรรยากาศอบอุ่นเสมือนมานั่งทานที่บ้านญาติ  กับเมนูคุ้นเคย  ข้าวต้มบ้านหยัง  เครื่องแน่นอิ่มจุกๆ  ปอเปี๊ยะกรอบอร่อยสไตล์บ้านหยังและอีกหลากหลายเมนูสากลฮาลาล  ตอบโจทย์สายคอนเทนต์ และนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่ไม่ควรพลาด

 

          บ้านหยังคาเฟ่   (เป็นภาษามลายู  ที่แปลว่า บ้านคุณอา  หรือญาติผู้ใหญ่)  ตั้งอยู่ตรงข้าม รพ.สต.ย่านซื่อ  ถนนยนตรการกำธร  หมู่ที่ 2 ตำบลย่านซื่อ  อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล  ที่ร้านนี้  อดีตเป็นร้านประจำของใครหลายคนในหมู่บ้าน  ที่ขึ้นชื่อเรื่องข้าวต้มทรงเครื่อง  และมักจะมีการเรียกติดปากว่า  ไปกินข้าวต้มบ้านหยัง  จากวันนั้นถึงวันนี้  เข้าสู่รุ่นที่ 3  กว่า 15 ปีแล้ว  มีการปรับปรุงร้านให้เข้ากับยุคสมัย  แต่ยังคงกลิ่นไอความอบอุ่นเสมือนไปนั่งเล่นทานอาหารที่บ้านญาติผู้ใหญ่  ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมาเลเซีย  และสายทำคอนเทนต์มาแวะถ่ายรูป และอิ่มอร่อยกันไม่ขายสาย

 

          ภายในร้านตกแต่งสไตล์โมเดิลกึ่งไทยมาเลเซีย   มีเมนูหลากหลายทั้งไทยและสากล โดยเมนูเด่นคือ  ข้าวต้มไก่ และปลาบ้านหยัง  เครื่องอัดแน่น เป็นที่ถูกใจทุกวัย  โดยเฉพาะกลุ่มคนสูงวัยมักชื่นชอบเมนูนี้   และเมนูปอเปี๊ยะบ้านหยัง  ที่ทำเอง  ใหม่สดทุกวัน  ตามแบบฉบับของร้าน  ที่อยากให้ทุกคนมาลิ้มลอง

 

           นางสาวฟิรดาวส์   หลีเส็น   อายุ 28  ปี  ผู้บริหารร้านรุ่นที่ 3 บ้านหยังคาเฟ่  บอกว่า  เมนูที่หลากหลายให้อารมณ์เหมือนมาทานอาหารที่บ้านญาติผู้ใหญ่  กับ  เมนูข้าวเนื้อตุ๋น  ข้าวไก่ย่างเทอริยากิ   สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า  ผัดไทยไข่ข้น  ยำไก่ยอข้าวโพดและอีกหลากหลายเมนู  รวมทั้งเมนูเครื่องดื่มที่ชื่นใจ อาทิ มัทฉะน้ำดอกมะพร้าว  ,  ชาเย็นที่ขึ้นชื่อของเมืองสตูลที่รสชาติไม่เหมือนใคร , แอสเปสโซ่น้ำดอกมะพร้าว ,อเมริกาโน่ส้ม   ทานกับขนมเค้กแสนอร่อย

 

          ร้านเปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 11 นาฬิกาถึง 21 นาฬิกา  โปรโมรชั่นพิเศษ   รับปีใหม่   1) ซื้อกาแฟ 2 แก้ว แถม!! โรตีธรรมดานมน้ำตาล 1 ชุด ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 15  ม.ค. 67    และอีก 1 โปรโมรชั่นปีใหม่  เริ่ม 29 ธ.ค. 66 – 1 ม.ค. 67   สั่ง ครบ 599 บาท แถมฟรี!! ปอเปี๊ยะ 1 ชุด   ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทางเพจร้าน  BAAN YANG อาหารฮาลาล กาแฟสด อาหารทานเล่น หรือโทร.086-320  3009,

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล – ดันประเพณีลอยเรือชาวเลอูรักลาโว้ย  สู่  ซอฟต์พาวเวอร์ หลังถูกขึ้นบัญชีให้เป็นมรดกภูมิปัญญา  ทางวัฒนธรรม ระดับชาติ ประจำปี 2566

สตูล-ดันประเพณีลอยเรือชาวเลอูรักลาโว้ย  สู่  ซอฟต์พาวเวอร์ หลังถูกขึ้นบัญชีให้เป็นมรดกภูมิปัญญา  ทางวัฒนธรรม ระดับชาติ ประจำปี 2566

          ประเพณีลอยเรือชาวเลอูรักลาโว้ย  เป็นหนึ่งใน 18  บัญชี  ประกาศให้เป็นมรดกภูมิปัญญา  ทางวัฒนธรรม ระดับชาติ ประจำปี 2566  ด้านแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 

          จากการเสนอของคณะกรรมการส่งเสริม  และรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และผ่านการพิจารณาคัดเลือก  จากคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง  ตามลักษณะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ที่”เสี่ยงต่อการสูญหาย” ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน

           นางแสงโสม  หาญทะเล  รักษาการแทน ผอ.โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ  กล่าวว่า   ในนามชาวเลอูรักลาโว้ย  รู้สึกภาคภูมิใจและ ดีใจที่มีภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงวัฒนธรรม  ได้เห็นความสำคัญของงานประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาร่วม  300 ปี  งานประเพณีนี้ยังมีคุณค่าทางจิตใจ อีกทั้งยังเป็นงานที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนร่วมสัมผัส   และศึกษาความงดงาม  ของงานประเพณีลอยเรือชาวเล  บนเกาะหลีเป๊ะ ที่มีขึ้นเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

 

          นางสาวอาซีซ๊ะ  สะมะแอ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล  กล่าวว่า การขับเคลื่อนประเพณีลอยเรือชาวเลอูรักลาโว้ยของจังหวัดสตูล  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดประเพณีลอยเรืออูรักลาโว้ยของจังหวัดสตูล  ร่วมกับชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ยสตูล ประชาสัมพันธ์การจัดประเพณีลอยเรือของจังหวัดสตูล  ส่งเสริมการท่องเที่ยว  สนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้  เกี่ยวกับประเพณีลอยเรืออูรักลาโว้ย  สำหรับต่อยอดงานวิชาการ การวิจัย และพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ สืบสานและต่อยอด  ให้คงอยู่ต่อไป  อีกทั้ง   เห็นว่างานประเพณีนี้เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดสตูล

 

          การจัดพิธีลอยเรือของชาวเลอูรักลาโว้ยมีความเชื่อว่า เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยการสะเดาะเคราะห์ร้าย  และโรคภัยไข้เจ็บให้หมดสิ้นไป เป็นการแสดงความเคารพบรรพบุรุษ  ส่งวิญญาณกลับสู่แดนฆูนุงฌีรัย และล้างบาปอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตที่แล้วมา  นอกจากนี้  ยังเป็นพิธีการเสี่ยงทาย  การทำมาหากินของชาวเลตลอดทั้งปี   ชาวเลอุรักลาโว้ยสตูล มีความเชื่อว่า  ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือ  จะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุข  และโชคดีในการทำมาหากิน

 

          ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีของชาวเล หรือว่า ชาวน้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณหมู่เกาะแถบทะเลอันดามัน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ  อันเกี่ยวเนื่องกับตำนาน ความเชื่อ ความเป็นมา วิถีชีวิต และทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโว้ย

 

          พิธีลอยเรือ   จัดขึ้น 2 ครั้งต่อปีในวันพระจันทร์เต็มดวง  ของเดือน 6 และเดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติ จัดครั้งละ 3 วัน  เรือที่ใช้ในพิธีเรียกว่า ปลาจั๊ก หรือ เปอลาจั๊ก ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ “ยาน” ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปอีกภพหนึ่ง   ไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัว  เดินทางไปกับเรือ  และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำไปยังถิ่นฐานเดิม  ที่เรียกว่า ฆูนุงฌีรัย  บุคคลสำคัญที่สุดในพิธีลอยเรือ คือ โต๊ะหมอ เป็นผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นบุคคลที่ชาวเลศรัทธา มีความแม่นยำในพิธีการ และสื่อสารกับวิญญาณบรรพบุรุษได้

 

          ทั้งนี้ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเผยแพร่คุณค่าสาระความสำคัญ รวมทั้งให้การส่งเสริมสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำรงรักษาต่อไป

………………………………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

สตูล – ชวนนักท่องเที่ยวทำกระดาษสาจากใบเมล่อน  ที่วิสาหกิจชุมชน ฉิมเมล่อน  แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สตูล-ชวนนักท่องเที่ยวทำกระดาษสาจากใบเมล่อน  ที่วิสาหกิจชุมชน ฉิมเมล่อน  แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

            นายไพรัช  สุขงาม  ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตูล  พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่  หมู่ที่ 4  ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล  ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชน ฉิมเมล่อน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร    ที่พร้อมรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และต่างชาติ เช่น กลุ่มชาวจีน เกาหลี และกลุ่มประเทศมาเลเซีย ที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล   ก่อนมุ่งหน้าลงทะเลอันดามัน  สามารถแวะเที่ยวชม  ชิม ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล่อน และกิจกรรมที่เสริมเข้ามาให้นักท่องเที่ยวได้ทำ  เพื่อสันทนาการที่สวนเกษตร ฉิมเมล่อน

 

              วิสาหกิจชุมชน ฉิมเมล่อน เริ่มกิจการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  2556 ด้วยความใส่ใจ ในการผลิตเป็นอย่างดีทุกขั้นตอน ตั้งแต่วันเพาะปลูก จนเก็บเกี่ยว ทำให้เมล่อนมีรสชาติหวาน ฉ่ำ จนปัจจุบันนี้เจ้าของสวน  หันมาทำประโยชน์จากส่วนต่างๆ โดยเฉพาะใบเมล่อน คือ นำไปทำแปรรูปเป็น กระดาษสาใบเมล่อน  โดยการทำ กระดาษสาจากใบเมล่อน  นำ-ใบเมล่อน 3 กิโลกรับ + โพแทสเซียมไฮด๊อกไซด์ 90 กรัม นำไปต้ม 6 ชั่วโมง จากนั้นนำไปปั่นละเอียด จนได้เนื้อยุ่ยๆ หลังจากนั้นนำไปกรองกับผ้าขาว – นำเนื้อยุ่ย 300 กรัม + น้ำ 23 ลิตร + สาร cmc 5 ช้อนโต๊ะ คนๆให้เข้ากันจะได้ เป็นน้ำ   ที่ผสมเสร็จพร้อมทำกระดาษสา

 

              นำแผ่นกรองสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับ กระดาษ A4  จุ่มลงไปในน้ำที่ผสมเสร็จแล้ว ค่อยๆยกให้สะเด็ดน้ำ ก่อนนำไปตากแดด เมื่อแห้งได้ที่ ก็จะได้กระดาษสาจากใบเมล่อน สามารถนำไปใช้ตกแต่งประดับเป็นของชำร่วย หรือการ์ดงานแต่ง  หรือนำไปตกแต่งอย่างอื่นได้

            นายชยพัทธ์ หล่อสุพรรณพร วิสาหกิจชุมชน ฉิมเมล่อน  ท่องเที่ยวเชิงเกษตร  กล่าวว่า ฉิมเมล่อน เป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์) การผสมเกษรของเมล่อน มีร้านกาแฟ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เมล่อนแปรรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล่อนจีโอปาร์ค (อัตลักษณ์หนึ่งเดียวในโลก) อันหมายถึงการสลักลายจีโอปาร์คลงบนผิวผลเมล่อน

 

               ด้าน นายไพรัช  สุขงาม   ผู้อำนวยการ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตูล   กล่าวว่า ที่นี่มีสินค้าการเกษตรที่ทำมาจาก เมล่อน มีโรงเรือนที่เพาะพันธุ์เมล่อน  และผลผลิตเมล่อน ที่น่ากิน มีทั้งเครื่องดื่มที่ทำจากเนื้อเมล่อน จนมาเป็นกิจกรรมการ  การสร้างการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยวได้ดี

           

          สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งใน และต่างจังหวัดที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในจังหวัดสตูล   ต้องการที่จะมาร่วมกิจกรรมทำกระดาษสาใบเมล่อน หรือมาถ่ายรูปชมเมล่อน ซื้อของฝากจากสวนเมล่อน โทรติดต่อ 081 -839  8022 หรือ เพจ ททท.สำนักงานสตูล : TAT Satun Office   โทร 074-740 724

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์

สัมภาษณ์พิเศษกลุ่มออกแบบ นักสร้างสรรค์ และหน่วยงานสำคัญ   ที่ช่วยผลักดัน “มาแต่ตรัง” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นได้

สัมภาษณ์พิเศษกลุ่มออกแบบ นักสร้างสรรค์ และหน่วยงานสำคัญ   ที่ช่วยผลักดัน “มาแต่ตรัง” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นได้

          คุณเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง  งาน “มาแต่ตรัง” ดำเนินการภายใต้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง คุณเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง เผยถึงแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ว่า “เราริเริ่มมาจากสำนวนโบราณของคนตรังที่มักพูดกันว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนราห์” ซึ่งเป็นสำนวนที่สื่อให้เห็นว่าเมืองตรังเป็นแหล่งศิลปะการแสดงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมโนราห์ หรือหนังตะลุง นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าเมืองตรังเป็นเมืองแห่งศิลปิน ตัวคนตรังเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ  มีความเป็นศิลปิน การจัดงานนี้ก็จะเหมือนเป็นการเปิดเวทีให้ศิลปิน นักสร้างสรรค์ รวมถึง  ผู้ประกอบการต่าง ๆ ได้มานำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความมคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในจังหวัดตรังด้วย”

         “นอกจากนี้เราคาดหวังในเรื่องของการสร้างเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในกลุ่มคนพื้นที่ และคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในห้วงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่า รวมถึงเกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้การจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังเป็นวงกว้าง”

         ดร. สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง    หนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทอย่างมากในเทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม “มาแต่ตรัง” คือเทศบาลนครตรัง โดยดร. สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง กล่าวว่า “เทศบาลนครตรังเป็นหน่วยงานท้องถิ่น มีนโยบายและภารกิจเรื่องการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และแก้จน พัฒนาคน พัฒนาเมือง เรามุ่งพัฒนาเมืองทุกส่วนให้เกิดความยั่งยืน พัฒนาสวนสาธารณะให้พี่น้องได้พักผ่อนได้ออกกำลังกาย”

           “ผมต้องการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะให้อนุชนรุ่นหลังมีความเข้าใจ อาทิ การคัดแยกขยะ การดูและแยกพลาสติกไม่ให้ลงแม่น้ำลำคลองที่จะไหลลงไปสู่ทะเล ซึ่งตอนนี้เราได้ดำเนินการทำ MOU กับมูลนิธิของเยอรมัน เราทำโครงการบำบัดน้ำเสีย ต้องการไม่ให้น้ำเสียลงคลองห้วยยาง ไม่ให้น้ำในครัวเรือนลงในคลองน้ำเย็น ทั้งสองคลองในเทศบาลนครตรัง เพื่อต้องการความยั่งยืนเช่นกัน ฉะนั้นเรามีของดีอยู่แล้ว เราก็พยายามให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตในทุกเรื่อง”

“ซึ่งบัดนี้ น้ำในคลองห้วยยางก็ดูสะอาดมากยิ่งขึ้น คลองสวยน้ำใส สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแหล่งหนึ่งในทางวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ของคลองห้วยยาง การที่เราจัดงานนี้เพื่อต้องการที่จะสืบสานพัฒนาเมืองเก่าของเรา พัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย”

 

         พยุงศักดิ์ ช่องลมกรด กลุ่ม Back Yard Cinematic พูดถึงการมีส่วนร่วมในงาน “มาแต่ตรัง” ในครั้งนี้ว่า “Back Yard Cinematic เป็นกลุ่มฉายหนังนอกกระแส เหมือนเป็นตัวเลือกหนึ่งในการดูหนัง เพิ่มความหลากหลายในการดูหนัง ปกติในตรังจะมีโรงหนังที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าซึ่งฉายหนังตลาดอยู่แล้ว เราเป็นกลุ่มที่เพิ่มมุมมอง เพิ่มกิจกรรมในการดูหนังขึ้นมา อาจจะแตกต่างออกไป เราจะฉายหนังที่หาดูยากหน่อย พอดูจบแล้วเราก็จะคุยกันถึงความรู้สึกของคนดูว่ารู้สึกอย่างไร หรือมีอะไรไปทัชใจเขา เป็นความรู้สึกร่วมกับหนัง ปกติทุกคนดูจบก็จะลุกไป ของเราดูจบก็จะได้มาคุยกัน เป็นคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ”

กลุ่มนักออกแบบสร้างสรรค์ หัว – Born 

      กลุ่มหัว – Born  (หัวบอน) คือ หัวที่เกิดความคิดสร้างสรรค์ให้วัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่เข้าถึงงานศิลปะและมีความคิดสร้างสรรค์ในจังหวัดตรังมากขึ้น คุณอัจจิมา รัตตมณี (ผึ้ง) ตัวแทนจากกลุ่มหัวบอนเล่าถึงกิจกรรมที่กลุ่มหัวบอนได้จัดขึ้นที่ ตึกตรังชาตะ (ตึกเก่า) โดยเริ่มตั้งแต่ 10.00 – 21.00 น. ตลอด 5วัน

       “งานนี้เราใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตั้งแต่เริ่มเดินเข้ามาในตึกชาตะ เราจะมี Blind Test มีอาหาร มีเวิร์คชอปต่าง ๆ ที่ใช้วัสดุธรรมชาติ มีดินปั้นแปะเป็นผลงานสร้างสรรค์ของทุกคน และจะมีนิทรรศการภาพถ่ายในห้องมืด เพื่อให้คนที่ไปร่วมชมงานได้มีส่วนร่วมกับคนที่ถ่ายทอดภาพด้วย ส่วนฝั่งตรงข้ามตึกตรังชาตะเป็นปศุสัตว์ เราจัดเป็นตลาดนัดครีเอทีฟ เรียกว่า เถเพลย์ครีเอทีฟมาร์เก็ต แนวคิดคือ ต้องการนำวัสดุของผู้ประกอบการในตรังมาใช้ อาจจะเป็นสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว เราก็เอามาทำให้เป็นงานศิลปะแนวใหม่ ๆ เช่น กระดาษของสำนักพิมพ์ แกนผ้า ตระกร้าผลไม้ ตระกร้าขนมจีนที่วางทิ้งไว้ พอมาอยู่ในมือนักสร้างสรรค์ก็จะเกิดเป็นงานศิลปะ”

        “ตลาดนัดครีเอทีฟ เป็นการรวมตัวของผู้ค้าในจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี ในงานมีส่วนการจัดแสดงของ Plan Toys (ผู้ผลิตของเล่นไม้เจ้าดังของไทย) มีเกมที่ทางหัวบอนจะจัดให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้ามาร่วมสนุกและมีการแสดงโชว์ทั้งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ มาเต้นลีลาศ รองเง็ง นอกจากนี้ยังมีหน่วยย่อยของนิทรรศการ เป็นเวิร์คชอป ลองเล่น. ลองทำ. ลองเถ เมืองประชา – ซน คนช่างเถ ที่เราอยากให้คนในจังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียง ได้มามีส่วนร่วม มาเล่น ให้เขารู้สึกสนุก เรามีเกมและของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ให้คนที่มาร่วมงานด้วย ทางกลุ่มทีมหัวบอนจึงอยากให้รู้ว่าจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่ของกิน แต่เรามีงานศิลปะ งานแสดงที่คนรุ่นใหม่ต้องการถ่ายทอดให้ทุกคนได้ชมกัน”

กลุ่มนักออกแบบสร้างสรรค์ Urban Seeker

         กลุ่ม Urban Seeker คือกลุ่มที่ตามหาคุณค่าของเมืองว่าเมืองนี้มีคุณค่าอย่างไร เราได้ใช้ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมมาจัดการ เรียบเรียง เผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ดู ทำให้คนที่สนใจ รักเมืองนี้ หรือมีงานอดิเรกได้ติดตามต่อได้

       

        คุณยิ่งยศ แก้วมี (กอล์ฟ) จากกลุ่ม Urban Seeker ให้ความเห็นถึงแนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวว่า “ถ้าเราเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีข้อมูลที่ดี ทุกคนสามารถเป็นไกด์ให้เมืองได้หมดทุกอย่าง ซึ่งจะมีเรื่องที่สงวนไว้ให้คนเมืองเท่านั้นที่จะรู้ ฉะนั้นเวลานักท่องเที่ยวมาก็ต้องตามหาคนเมือง เข้าถึงจะรู้เรื่องราวนั้น ๆ”

       งาน “มาแต่ตรัง” ในครั้งนี้ กลุ่ม Urban Seeker ได้นำเสนอผลงานสร้างสรรค์การท่องเที่ยวเมืองเก่า ในรูปแบบศิลปะการจัดวาง Installation Art อาทิ “ผักบุ้งริมคลอง ตัวแทนพืชผักริมคลองในอดีตประกอบกับชุมชนในอดีตเขาเลี้ยงหมู ชาวบ้านเขาก็จะนำ 2 อย่างนี้มาผสมกัน เกิดเป็นนวัตกรรมอย่างนึง เรียก “หัวหมูผักบุ้ง” ซึ่งน่าจะมีเฉพาะที่ตรังเท่านั้น” ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้สะท้อนถึงความมั่นคงทางอาหารที่เกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของคลองห้วยยาง ในเมื่อครั้งอดีตคนตรังทับเที่ยงได้นำหมูที่เลี้ยง และผักบุ้งที่ปลูกริมคลอง มารังสรรค์อาหารร่วมกับน้ำราดสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนถึงความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเมืองทับเที่ยงนี้อีกครั้ง

        “เรื่องที่สองคือ ไซดักทรัพย์ สามารถเห็นได้ตามร้านค้า เราจำลองมาเพื่อดักทรัพย์ให้กับเมือง ไซดักทรัพย์ ยังไปพ้องกับไซจับปลา ซึ่งในอดีตมีปลาชุกชมอยู่ในคลอง สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของคลองห้วยยางในอดีตได้อีกด้วย”

          อีกไฮไลท์ของกลุ่ม Urban Seeker คือ Pocket Park พื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์ที่เล่าผ่านภูมิปัญญาของทางเดินห้าฟุต (หง่อคาขี่) ใต้อาคารบ้านแถวตึกแถวในอดีต พื้นที่แห่งนี้บ่งบอกถึงความเข้าใจในสภาพบริบทของที่ตั้งอาคาร รวมทั้งเป็นหนึ่งในการแสดงออกถึงความใจกว้างของเจ้าของอาคารที่ให้ความสำคัญต่อประโยชน์แห่งสาธารณะในกรรมสิทธิ์ของตน เพราะแม้เป็นพื้นที่ใต้ที่ดินของคนอื่น แต่เราสามารถเดินผ่านได้ สามารถหลบแดดหลบฝนได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความใจกว้างของคนตรังนั่นเอง

ชมภาพบรรยากาศ “งานมาแต่ตรัง” ได้ที่เพจ https://facebook.com/TrangRenown

อัพเดทล่าสุด