Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 11 ปีแห่งตำนานไก่ย่างกอและโบราณไม้ละ 5 บาท  อร่อยเท่าเดิม ราคาคงเดิม ท่ามกลางค่าครองชีพพุ่ง

11 ปีแห่งตำนานไก่ย่างกอและโบราณไม้ละ 5 บาท  อร่อยเท่าเดิม ราคาคงเดิม ท่ามกลางค่าครองชีพพุ่ง

          ในยุคที่ราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้น มีร้านเล็กๆ ริมคลอง(เอวหัก)  ม.7 ซอยทรายทอง  ทต.คลองขุด อ.เมืองสตูล แห่งหนึ่งที่ยังคงยืนหยัดขายไก่ย่างไม้ละ 5 บาทมาเนิ่นนานถึง 11 ปี “ร้านสามพี่น้องริมคลองเอวหัก” ของคุณอัญชลี บิลเต๊ะ หรือที่ลูกค้ารู้จักกันในนาม “น้องกิ๊ก” วัย 38 ปี คือตัวอย่างของความมุ่งมั่นที่หาได้ยากในปัจจุบัน

 

         “ขายราคานี้ลูกค้าอยู่ได้ เราก็อยู่ได้” คือคำพูดติดปากของคุณอัญชลี ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาซื้อส่วนใหญ่ก็จะเป็นลูกค้าประจำ และนักเรียน อีกทั้งเป็นผู้ซึ่งใช้อาชีพขายไก่ย่างเลี้ยงดูครอบครัว 6 ชีวิต รวมลูกอีก 4 คน โดยทางร้านเปิดให้บริการวันละสองรอบ ช่วงเช้าตั้งแต่ 06.00-09.00 น. และช่วงบ่ายตั้งแต่ 15.00-18.00 น. (และหยุดทุกวันเสาร์)  ยกเว้นช่วงเดือนรอมฎอนที่จะเปิดขายตอน 14.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด

 

          เมนูยอดนิยมของทางร้านคือ “ไก่ย่างสามรส” ในราคาเพียงไม้ละ 5 บาท และ “ไก่กอและ” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ไก่แดงโบราณ” ในราคาไม้ละ 10 บาท พร้อมข้าวเหนียวห่อละ 5 บาท โดยทั้งหมดมีหอมกระเทียมเจียวโรยหน้าให้เพิ่มความหอม

             คุณอัญชลี  เล่าว่า น้ำราดไก่กอและสุดพิเศษใช้สูตรจากพี่เขยที่จังหวัดตรัง มีส่วนผสมของเครื่องแกง ถั่วลิสง พริกแห้ง ผสมแป้งข้าวโพดเล็กน้อย น้ำตาลทราย และเกลือ ทำให้ได้รสชาติที่หวาน มัน เค็ม และเผ็ดเล็กน้อย ที่สำคัญคือทำสดใหม่ทุกวัน

 

          ทางร้านปรับตัวเข้ากับเทศกาลรอมฎอนด้วยการเพิ่มเครื่องดื่มหลากหลายชนิด ทั้งน้ำพุทรา น้ำกระเจี๊ยบ โอเลี้ยง ชาดำเย็น และน้ำลิ้นจี่ ในราคาเพียงถุงละ 10 บาท

 

          ทุกวันคุณอัญชลีจะเตรียมไก่ย่างวันละประมาณ 10 กิโลกรัม แบ่งเป็นช่วงเช้า 5 กิโลกรัม (ซึ่ง 1 กิโลกรัมสามารถแบ่งได้ประมาณ 60 ไม้ ) โดยชิ้นส่วนที่ขายดีที่สุดคือหนังไก่และเนื้อสะโพก

 

           ป้ายิ้ม ลูกค้าประจำของร้าน กล่าวว่า “ซื้อที่ร้านนี้เป็นประจำเพราะรสชาติอร่อย ราคาถูก ซื้อประจำทั้งเช้าและเย็น”

 

           หากใครสนใจอยากลิ้มลองไก่ย่างราคาประหยัดที่คงราคาเดิมมานานถึง 11 ปี สามารถไปอุดหนุนได้ที่ “ร้านสามพี่น้องริมคลอง” ตั้งอยู่ที่ซอยเอวหัก ริมคลอง. หรือทรายทอง หมู่ 7 เขตเทศบาลตำบลคลองขุดอำเภอเมืองสตูล หรือติดต่อคุณอัญชลีได้ที่ 065-015-0955

…………

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 เกษตรกรสตูลปลูก “ขมิ้นแดงสยาม-ขมิ้นตรัง” แปรรูปด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรไทย

เกษตรกรสตูลปลูก “ขมิ้นแดงสยาม-ขมิ้นตรัง” แปรรูปด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรไทย

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดสตูลยกระดับการเกษตรสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่อำเภอควนโดนปลูกขมิ้นแดงสยามและขมิ้นตรัง พร้อมพัฒนาการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรท้องถิ่น ตอบสนองความต้องการตลาดที่เพิ่มขึ้น

             นางวรรณนภา คงเคว็จ เกษตรอำเภอควนโดน พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอควนโดน และนายสมยศ จิตเที่ยง นายอำเภอควนโดน ร่วมกับ ผศ.กิติศักดิ์ ชุมทอง ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมการปลูกขมิ้นแดงสยามของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอควนโดน ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลากหลายชนิด

           นายเจ๊ะมูสอด สามารถ อายุ 73 ปี เจ้าของพื้นที่ปลูกขมิ้นแดงสยามในพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลควนโดน เปิดเผยว่า ตนได้เริ่มปลูกขมิ้นในพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน ซึ่งสามารถจำหน่ายขมิ้นแดงสยามในราคา 21 บาทต่อกิโลกรัม โดยเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 2-3 เดือน ขมิ้นจะถูกขุดขึ้นมาและทำความสะอาดเพื่อเตรียมแปรรูป ทั้งนี้ การปลูกในกระสอบปุ๋ยและวงล้อรถยนต์ช่วยให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้สะดวกมากขึ้น

          ด้านนางสายฝน นุ่งอาหลี อีกหนึ่งเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นในวงล้อ และลงดิน ที่ปลูกพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลควนสะตอ ได้ขยายพื้นที่ปลูกขมิ้นถึง 5 ไร่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น

         โดยนางสายฝน นุ่งอาหลี  กล่าวว่า  ปลูกขมิ้นทำรายได้เลี้ยงกลุ่มและครอบครัวได้ดี เป็นที่ต้องการที่จะนำไปเป็นสมุนไพรทางการแพทย์ จึงไม่เพียงพอต่อการผลิตแปรรูป รวมทั้งการปลูกขมิ้นใช้พื้นที่น้อยข้างบ้านก็ปลูกได้ ในกระสอบ วงล้อก็ทำได้

           ทางด้านนายฮูสรี  หีมมะหมัด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอควนโดน กล่าวว่า  ได้ให้การสนับสนุนโดยส่งเสริมการแปรรูปขมิ้นด้วยเทคโนโลยีการตากแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลายชนิด เช่น ลูกประคบสมุนไพรราคา 60 บาท น้ำมันเหลืองราคา 80 บาท และยาดมราคา 35 บาท

           นายสมยศ จิตเที่ยง นายอำเภอควนโดน กล่าวว่า “การแปรรูปขมิ้นเป็นสมุนไพรถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงแค่สร้างรายได้ แต่ยังเป็นการสนับสนุนการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ขมิ้นที่ผลิตในพื้นที่มีคุณภาพสูงและส่งไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อการรักษาผู้ป่วย แต่ขณะนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงอยากให้เกษตรกรหันมาปลูกขมิ้นเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดที่กำลังเติบโต”

          ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการปลูกขมิ้นแดงสยามและขมิ้นตรังในพื้นที่อำเภอควนโดน ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นและพลังงานสะอาด สร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และตอบสนองต่อความต้องการผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน

………………………………………………………

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

“กะน๊ะปลาส้ม” ความอร่อยที่มาพร้อมกลิ่นหอมชวนลิ้มลอง

สตูล- “กะน๊ะปลาส้ม” ความอร่อยที่มาพร้อมกลิ่นหอมชวนลิ้มลอง

          ร้าน “กะน๊ะปลาส้ม” โดดเด่นด้วยเมนูยำปลาส้มพร้อมทานที่มาพร้อมมะนาว หัวหอมแดง พริกทอด และใบมะกรูดทอด ในราคาเพียงชุดละ 50 บาท ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าในท้องถิ่น

         นางกนิษฐา รับไทรทอง เจ้าของร้าน เผยเคล็ดลับความอร่อยว่า “การทอดปลาส้มต้องใช้ไฟอ่อน เพื่อให้ได้สีเหลืองทองและความกรอบที่กำลังดี” เธอเลือกใช้ปลาจีนในการทำปลาส้มเพราะให้เนื้อที่หอมนุ่มและเนื้อเยอะ โดยทำการผลิตครั้งละ 50 กิโลกรัม ซึ่งสามารถขายหมดภายในเวลาเพียง 2 วัน  สร้างรายได้  2000 -3000  ต่อครั้ง

         วิธีทำปลาส้มของกะน๊ะ  จะเลือกใช้ปลาจีน โดยจะสั่งซื้อจากจังหวัดข้างเคียง  ส่วนปลานิลจะรับซื้อจากบ่อของชาวบ้านในพื้นที่บ้านหัวทาง  ชุมชนท่านายเนาว์  และพื้นที่อำเภอละงู  ซึ่งเป็นการอุดหนุนชาวบ้านด้วย  เมื่อได้ปลามาแล้ว  จากนั้นนำล้างให้สะอาด  หมักเกลือ 1 คืน  ใส่ข้าวเหนียวกับกระเทียม 3 คืน  รสชาติกำลังพอดีพร้อมขาย  เจ้าของร้าน กล่าว

         นอกจากปลาส้มที่เป็นเมนูขึ้นชื่อแล้ว ทางร้านยังได้เพิ่มเมนูใหม่อย่าง “แหนมปีกไก่ทอด” เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า

 

         ด้านน้องแจม หรือ นางสาวจันทิมา ดาหมาน หนึ่งในลูกค้าประจำ กล่าวว่า “ปลาส้มที่นี่อร่อยมาก รสชาติไม่ส้มจนเกินไป พอได้ลองครั้งแรกก็ติดใจ จนต้องกลับมาซื้อซ้ำ โดยเฉพาะราคาที่จับต้องได้”

         ท่านที่สนใจสามารถพบกับร้าน “กะน๊ะปลาส้ม” ได้ที่ :  – ตลาด ธกส. ทุกวันศุกร์   – ตลาดเกษตร ทุกวันพุธ  – ตลาดประชารัฐที่บิ๊กซี ทุกวันพฤหัสบดีและวันเสาร์   และในช่วงวันที่ 19-25 มกราคม 2568 ร้านจะไปร่วมงานมหกรรมอาหารจานเด็ด ที่ถนนเลี่ยงเมืองบายพาส ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

 

         สนใจสั่งซื้อสามารถติดต่อได้ที่ โทร. 098-3452799  ด้วยสโลแกนที่ว่า “ทอดหอม ทานอร่อย กลิ่นจะมาก่อน ลูกค้าจะมาตามกลิ่น” ร้านกะน๊ะปลาส้มได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นร้านอาหารพื้นบ้านที่คุ้มค่าแก่การลิ้มลอง

…………………………………

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

สตูล-ลูกค้าแห่ซื้อซุปพุงวัวรสเด็ดชั่งกิโลขาย   เส้นทางความสำเร็จของ ‘บังเอ็ม’ ผู้สร้างรายได้หลักหมื่นต่อวัน

สตูล-ลูกค้าแห่ซื้อซุปพุงวัวรสเด็ดชั่งกิโลขาย   เส้นทางความสำเร็จของ ‘บังเอ็ม’ ผู้สร้างรายได้หลักหมื่นต่อวัน

              ความสำเร็จไม่เคยหอมหวานเท่ากลิ่นซุปพุงวัวที่ต้มด้วยฟืน  เกือบทุกตลาดนัด  ที่จะมีลูกค้ามายืนห้อมล้อมกระทะ 2 ใบใหญ่  เพื่อตักชิ้นส่วนของซุปพุงวัวที่ตนชื่นชอบได้ตามสบาย   ร้านของ  นายอิบรอเฮ็ม อารีหมาน หรือที่รู้จักกันในนาม “บังเอ็ม” เจ้าของตำรับซุปพุงวัวรสเลิศ  ที่ครองใจลูกค้ามานานกว่า 5 ปี เผยเคล็ดลับความสำเร็จที่ทำให้ธุรกิจเติบโตจนสร้างรายได้วันละหลักหมื่นบาท

 

            ด้วยสูตรพิเศษที่ผสมผสานสมุนไพรไทยอย่างลงตัว ทั้งหอม กระเทียมเจียว ส้มขามแขก และใบชะมวง พร้อมเทคนิคการต้มด้วยไม้ฟืน  ที่ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง  ทำให้เนื้อนุ่มเปื่อย หอมกรุ่น ปราศจากกลิ่นคาว จากนั้นใช้แก๊สมาอุ่นให้ร้อนอีกครั้ง  ในช่วงตระเวนขายในตลาดนัด   จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ลูกค้าติดใจ  ตักเลือกชิ้นส่วนของพุงวัว  ที่ชื่นชอบได้ตามสบาย โดยจะมีกิโลเป็นเครื่องวัดราคาในการขาย

            “เคล็ดลับอยู่ที่การแยกน้ำต้ม” บังเอ็มเล่าถึงวิธีการทำที่พิถีพิถัน “น้ำต้มครั้งแรกเราทิ้งหมด แล้วใช้น้ำใหม่มาปรุงรส ทำให้ซุปใส สะอาด  ไม่คาว และอร่อย” ทุกครั้งที่ลูกค้าเลือกชิ้นส่วนของพุงวัวได้ตามใจชอบแล้ว จะนำมาปรุงเพิ่มด้วยถั่วงอก กระเทียมเจียว มะนาว พริกสดตามความชื่นชอบให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมลงตัว นิ่มละมุนลิ้น ในราคาที่คุณเลือกได้

 

           ปัจจุบัน ร้านซุปพุงวัวบังเอ็มเปิดขายทั้งในตลาดนัดและงานต่างๆ ทั่วจังหวัด ด้วยราคาเริ่มต้นที่กรัมละ 35 บาท หรือกิโลกรัมละ 350 บาท โดยในช่วงเดือนรอมฎอนยอดขายพุ่งสูงถึงวันละ 100 กิโลกรัม

           “ความสำเร็จไม่ได้มาง่ายๆ ต้องทุ่มเทและใส่ใจในทุกขั้นตอน” บังเอ็มทิ้งท้าย พร้อมเชิญชวนผู้สนใจลิ้มลองซุปพุงวัวรสเด็ดได้ :

– วันอังคาร: ที่ตลาดนัดบ้านควน – วันพุธ: ที่หลาดนัดเปิดท้ายกัมปงฆัวร์ (15:00-20:00 น.)

– วันพฤหัสบดี: ที่ตลาดปากแรดท่าแพ

– วันศุกร์: ที่ตลาดท่าแพ 

– วันเสาร์: ที่ตลาดหาดราไวย์

– วันอาทิตย์: ที่ตลาดควนเก  หรือ 

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 088-385 5580

…………………………………………

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

สตูลเปิดแล้ว! ตลาดนัดกัมปงฆัวร์  แลนด์มาร์คใหม่ริมคลอง    ตลาดนัดริมน้ำสไตล์มุสลิม กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

สตูลเปิดแล้ว! ตลาดนัดกัมปงฆัวร์  แลนด์มาร์คใหม่ริมคลอง    ตลาดนัดริมน้ำสไตล์มุสลิม กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

            ชุมชนตำบลบ้านควนสร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการรวมตัวของพ่อค้าแม่ค้ากว่า 100 ร้านค้า เปิดตลาดชุมชนภายใต้ชื่อ “ตลาดนัดเปิดท้ายกัมปงฆัวร์” บริเวณริมคลองชลประทาน หมู่ 5 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น

 

          ตลาดแห่งนี้โดดเด่นด้วยสินค้าพื้นเมืองหลากหลายชนิด อาทิ   ขนมอาปมบาเละ ซึ่งมีลักษณะคล้ายขนมถังแตก แต่มีขนาดเล็กกว่าและเนื้อแป้งนุ่มกว่า   เครื่องในวัวพร้อมทานที่จำหน่ายเป็นกิโล   หอยกะพงต้ม  และสินค้าอีกมากมายให้เลือกอิ่มอร่อย

 

        นอกจากการจับจ่ายใช้สอย ยังได้สัมผัสวิถีพื้นบ้านมุสลิมที่อาศัย ริมคลองชลประทาน  และให้ครอบครัวได้ใช้เวลาด้วยกันด้วย  เพราะที่ตลาดนี้ยังมีรถรางให้น้องๆหนูๆได้นั่งเพลินๆ  มีสะพานลิงข้ามคลองชลประทาน  และมีมุมระบายสีปูนปั้นเสริมสร้างจินตนาการให้เด็กๆระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่ไปช็อปสินค้าด้วย

 

            ด้าน นายกูดานัน หลังจิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน กล่าวว่า “ตลาดนัดเปิดท้ายกัมปงฆัวร์เกิดจากการรวมตัวของพี่น้องประชาชน พ่อค้าแม่ค้าแผงลอย และรถพ่วง เมื่อเห็นความสุขของชาวบ้านในการค้าขายและจับจ่ายซื้อของ ทาง อบต.บ้านควนจึงพร้อมสนับสนุนการพัฒนาตลาดแห่งนี้ให้เป็นแหล่งจับจ่ายที่สำคัญในอนาคต โดยเฉพาะการส่งเสริมอาหารพื้นบ้านของตำบลบ้านควนจากหลายหมู่บ้าน ซึ่งเป็นอาหารที่คนในชุมชนบริโภคเป็นประจำ”

 

         ตลาดเปิดทุกวันพุธ เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป  มีผู้ค้า 80-100 ราย  ตั้งอยู่ริมคลองชลประทาน ระยะทาง 500 เมตร

……………………………………..

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

สตูลเปิดประสบการณ์ใหม่ใช้หลอดดูด กินเตี๋ยวบ้านโต๊ะ สูตรสืบทอดจากคุณยาย

สตูลเปิดประสบการณ์ใหม่ใช้หลอดดูด กินเตี๋ยวบ้านโต๊ะ สูตรสืบทอดจากคุณยาย

          สำหรับท่านที่ชื่นชอบทานเนื้อ  ต้องไม่พลาดร้าน เตี๋ยวบ้านโต๊ะ  ร้านที่คัดสรรเนื้อคุณภาพมาเสิร์ฟให้ลูกค้า  โดยปรุงหลากหลายเมนู  โดยเฉพาะเมนูก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น    และที่เป็นไฮไลท์ของทางร้าน  ก็คือ  เมนูเกียร์บ็อกซ์  เป็นเมนูปรุงพิเศษสำหรับลูกค้า   นอกจากนั้นยังมีเมนู  ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น ตับทอดกระเทียม   ไส้อ่อนทอดกระเทียม  และอีกหลากหลายให้เลือกอิ่มอร่อย  รวมถึงเมนูของหวานอย่าง ทับทิมกรอบ  ข้าวเหนียวดำ

 

         นางสาวรัศมี  หมาดสุเรน  เจ้าของร้านเตี๋ยวบ้านโต๊ะ  กล่าวว่า  ตัวเองเรียนบริหารธุรกิจ  ส่วนคุณน้ามีฝีมือในการทำอาหาร  จึงจุดประกายที่จะทำร้านอาหาร  เพราะว่าชอบทำอาหารให้ญาติพี่น้องกิน  และมีคนชมว่าอร่อยก็อยากสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวญาติพี่น้อง  จึงเป็นที่มาของการทำก๋วยเตี๋ยวบ้านโต๊ะ   และได้ตั้งชื่อว่าเตี๋ยวบ้านโต๊ะ  เพราะเป็นบ้านของคุณยาย พวกเราระลึกถึงคุณยายเพราะคุณยายทำอาหารเก่ง  รสมือคุณยายใครๆ ก็ชม    เรา 2 คนจึงมีไอเดียที่จะร่วมมือกันทำภายใต้ concept ทำก๋วยเตี๋ยวให้ได้รสชาติของเนื้อแท้ๆ โดยคัดสรรเนื้อคุณภาพ  ใช้เนื้อสดโดยรับซื้อจากโรงเชือดโดยตรง   น้ำซุปก็ใช้กระดูกแทนผลผงชูรสเป็นที่มาของเกียร์ บ็อก  เราใช้กระดูกเยอะ  เรามีกระดูกหากไม่ได้เสิร์ฟกระดูกให้ลูกค้าก็จะเสียดาย  และกระดูกส่วนนั้นก็มีความอร่อย  หากินยากจึงนำเสนอเกียร์ Box ผลตอบรับโอเค

          ความอร่อยของเป็นส่วนเนื้อผสมกับเอ็น  มีไขมันแต่ไม่เชิงว่ามีไขมันมาก  ความอร่อยอีกอันนึงคือด้านไหนของกระดูกจะมีข้อไขมันเหมือนคอลลาเจน  ลูกค้าจะกินโดยการใช้หลอดดูด  ตอนนี้ทางร้านมีเมนูเพิ่มขึ้นมาก็คือ  ข้าวซอย ข้าวซอยของทางร้านจะปรับให้เข้ากับคนใต้  จะใส่เครื่องเทศที่เป็นของคนใต้  ที่มีรสชาติจัดจ้านมีความเข้มข้นขึ้น  เจ้าของร้านกล่าว.

           ร้านเตี๋ยวบ้านโต๊ะ  เปิดทุกวัน  ปิดวันอังคาร   เริ่มขายตั้งแต่เวลา 10.30  น.  ถึง 18.00 น.   พิกัดร้าน  ตั้งอยู่ตรงข้าม ร.ร.ดารุลญันนะฮ. ฉลุงใต้ ต.ฉลุง  อ.เมือง  จ.สตูล 

         “เตี๋ยวบ้านโต๊ะ” จากร้านอาหารเล็กๆ สู่ความสำเร็จด้วยสูตรอาหารที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เตี๋ยวบ้านโต๊ะ ไม่เพียงเสิร์ฟอาหารรสเลิศ แต่ยังเสิร์ฟความอบอุ่นแบบครอบครัวให้กับทุกคนที่แวะเวียนมาเยือน

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

“โตเกียว แอนด์ บาและ” สูตรดั้งเดิมจากแม่สู่ลูก

“โตเกียว แอนด์ บาและ” สูตรดั้งเดิมจากแม่สู่ลูก​​​​​​​​​

          ขนมไทยพื้นบ้านยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “ขนมบาและ” ขนมหวานที่คล้ายขนมถังแตกแต่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งร้าน “โตเกียว แอนด์ บาและ” ของ นางสาวดารีน ดำท่าคลอง วัย 34 ปี ได้สืบทอดสูตรจากคุณแม่ที่ทำขายมานานกว่า 10 ปี

 

         นางสาวดารีน เล่าว่า ได้แยกสาขามาเปิดร้านของตัวเองเป็นเวลา 2 ปีแล้ว โดยใช้แป้งวันละ 3-4 กิโลกรัม ขนมบาและมีให้เลือกหลากหลายไส้ ทั้งสังขยา ถั่ว มะพร้าวอ่อนน้ำหอม และข้าวโพด จำหน่ายในราคา 3 ชิ้น 20 บาท นอกจากนี้ยังมีขนมโตเกียวไส้คาวราคาชิ้นละ 5 บาท มีทั้งไส้กรอก ปูอัด ไก่หยอง และไข่นก ส่วนไส้หวานราคา 2 บาท มีให้เลือกทั้งคัสตาร์ดและสตรอเบอร์รี่

 

         ด้านนายอับดุลรอศักดิ์  ปันดีกา หนึ่งในลูกค้าประจำ กล่าวว่า ขนมบาและของร้านนี้อร่อย เนื้อแป้งนุ่ม และมีไส้ให้เลือกหลากหลาย

 

        สำหรับผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อได้ที่ตลาดนัดเกตรีทุกวันจันทร์เช้า โรงเรียนมุสลิมศึกษาทุกวันอังคารและวันศุกร์ ตลาดนัดเช้าเจ๊ะบิลัง ทุกวันพฤหัสบดี และตลาดนัดหน้าแขวงทุกวันเสาร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 080-873-2779

……….

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

มรดกกาแฟโรบัสต้าสตูล เปิดศักยภาพธุรกิจกาแฟท้องถิ่นระดับพรีเมียม สู่ บาริสต้ามืออาชีพ

มรดกกาแฟโรบัสต้าสตูล เปิดศักยภาพธุรกิจกาแฟท้องถิ่นระดับพรีเมียม สู่ บาริสต้ามืออาชีพ

          วิทยาลัยชุมชนสตูล  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  ได้เปิดหลักสูตร “บาริสต้ามืออาชีพ” ตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้กาแฟสตูล โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมอบรมยกระดับพัฒนาอาชีพการชงกาแฟให้ได้มาตรฐานโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ  

 

          โดยการอบรมในครั้งนี้ได้ฝึกการทำเมนู  อาทิ   แบล็คบานาน่า  ที่ใช้กาแฟพันธุ์โรบัสต้า พรีเมี่ยมสตูล ซึ่งเป็นกาแฟที่โดดเด่นในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า  ด้วยการดริป ชงและเช็ค ผสมกับน้ำหวานจากกล้วยน้ำหว้า   ตกแต่งด้วยภาชนะให้สวยงาม เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กาแฟสตูลโดดเด่น น่าลิ้มลองเหมาะกับเมืองท่องเที่ยว

 

          นอกจากนี้ได้ฝึกเมนู  แบล็คโคโค่  และเมนูยอดนิยมที่อีกหลากหลายที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ   ฝึกให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ และดริปกาแฟให้ถูกใจคอกาแฟ  พร้อมเผยเคล็ดไม่ลับโดยใช้วัตถุดิบกาแฟโรบัสต้าพันธุ์สตูลมาปรุงแต่งมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

 

        นางสาวพัณณ์ชิตา รุ่งหิรัญเจริญวุฒิ  เป็นไกด์ กล่าวว่า  ตนเป็นไกด์การเข้าอบรมในครั้งนี้หวังว่าจะนำความรู้ไปบอกกล่าว และชงให้กับนักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองและรู้คุณค่าของกาแฟโรบัสต้า สายพันธุ์สตูลว่ามีรสชาติ กลมกล่อมขนาดไหน เพื่อจะให้เกิดความประทับใจมาดื่มอีกและซื้อเป็นของฝากของขวัญสินค้าดีเด่นของสตูล

        นายลาภวัต   เอี่ยมสอาด  ปธ.กลุ่มส่งเสริมอาชีพปลูกกาแฟโรบัสต้าควนโดน กล่าวว่า  สถานการณ์กาแฟโรบัสต้าสตูลขณะนี้ถือว่าเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก และราคาดีมาก ขณะนี้สารกาแฟกิโลกรัมละ 400 บาทในเกรดพรีเมี่ยม ตลาดมีความต้องการมาก ซึ่งอยากให้ภาครัฐมีการส่งเสริมการปลูกกาแฟคุณภาพ 

            นางนิสรีน  ล่านุ้ย  เจ้าของโครงการฯ จากวิทยาลัยชุมชนสตูล  กล่าวว่า   วิทยาลัยชุมชนสตูลประกาศความสำเร็จในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ “กาแฟสตูล” 6 แห่ง กระจายตัวในพื้นที่สำคัญของจังหวัด เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและแปรรูปกาแฟโรบัสต้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ความพิเศษของกาแฟโรบัสต้าสตูลอยู่ที่ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 50-80 ปี สืบทอดมาจากต้นพันธุ์ดั้งเดิมที่นำเข้าจากมาเลเซีย ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดสตูล 276 ครัวเรือน รวมพื้นที่ 243 ไร่ ให้ผลผลิตปีละกว่า 120,262 กิโลกรัม

          แหล่งเรียนรู้ทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย YOT Coffee (อำเภอท่าแพ) สวนเลบันเด้ (อำเภอควนโดน) สวนกาแฟเขาค้อม (อำเภอควนกาหลง) ไร่กาแฟนายเอก และโกปี๊นาข่า (อำเภอละงู) และ Coffee Engineering (อำเภอเมืองสตูล) โดยทุกแห่งพร้อมถ่ายทอดความรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย

          “โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดกาแฟไทยที่เติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี และแนวโน้มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับกาแฟคุณภาพมากขึ้น” ทั้งนี้ แหล่งเรียนรู้เปิดให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ และเพิ่มมูลค่าให้กับกาแฟโรบัสต้าสตูลอย่างยั่งยืน

 

…………………………………………..

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

จากป่าสู่ครัว : ชาวมานิรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้ทำโรตี-ปัสมอส วิทยาลัยชุมชนสตูลหนุนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากป่าสู่ครัว : ชาวมานิรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้ทำโรตี-ปัสมอส วิทยาลัยชุมชนสตูลหนุนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

        (19 ธ.ค.2567) ที่หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธ์ชาวมานิ  “ทับแม่ฉิม ห้วยโด”   หมู่ 10 บ้านวังนาใน   ต.น้ำผุด  อ.ละงู จ.สตูล วันนี้เด็ก ๆ และแม่บ้านภายในทับทุกคน  ไม่น้อยกว่า 30 ชีวิต กำลังตั้งใจเรียนรู้การทำเมนูโรตี  อาหารพื้นที่ถิ่นกันตื่นตาตื่นใจ  ทุกคนได้มีโอกาสลงมือทำไม่ว่าจะเป็นการนวดแป้ง การฟัดโรตี การทอด  เรียนรู้และลงมือทำตั้งแต่กระบวนการทำขั้นตอนแรก

 

         นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำ เมนูปัสมอสเพื่อสุขภาพ  หรือที่เรียกกันว่า สลัดแขก เมนูที่ดูเหมือนจะง่ายแต่ก็ไม่มากนัก เพราะเครื่องปรุงค่อนข้างจะเยอะ แต่ทุกคนก็ได้เห็นหน้าตาของเครื่องปรุงและลงมือทำ  การหั่น การทอด การเคี่ยวน้ำปรุงราด ตลอดจนได้ลิ้มลองฝีมือของตัวเองกันอย่างสนุกสนานและอิ่มเอมกับความรู้ที่ได้รับ

 

         ซึ่งการอบรมการทำเมนูอาหารพื้นถิ่นในครั้งนี้  เป็นของโครงการของสถาบันวิทยาลัยชุมชนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ มอบให้แก่ประชาชน โดยวิทยาลัยชุมชนสตูล ภายใต้โครงการบริการวิชาการตามความต้องการของชุมชน  ประจำปีงบประมาณ 2568  บริการวิชาการ ส่งเสริมทักษะอาชีพพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน “ หลักสูตรอาหารพื้นถิ่นสร้างอาชีพ “

 

          นางสาวฉ๊ะ  รักษ์ละงู   ชาวมานิ  บอกว่า  ทำไม่ยาก สำหรับโรตีเพิ่งทำครั้งแรก ชอบตอนฟัดโรตี  อยากทำไว้กินเอง  อร่อยมากกับเมนูที่พวกตนได้ทำและได้กินกัน

         ครูณัฐนันท์   โอมเพียร  (ครูณัฐ)   ผู้ดูแลชาวมานิ  บอกว่า  อยากเห็นเขาสร้างอาชีพ  ทำอาหารแบบง่าย ๆ ได้ทำกินเองและเมนูที่ทำเป็นเมนูที่ชาวมานิชอบมาก  การอบรมในครั้งนี้อยากให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆจากภายนอกเพื่อให้เรียนรู้สังคมเมือง ด้วยการเรียนรู้ปรับตัวเอง เป็นครั้งแรกของพวกเขาที่ได้เรียนรู้การทำอาหาร  วัตถุดิบหาง่าย ลำดับต่อไปอยากให้สอนการทำจักรสาน หลากหลายรูปแบบ ให้สวยและขายได้ เพราะทุกวันนี้เขาทำจักรสานอยู่แต่ไม่สวย

         ดร.วรรณดี สุธาพาณิชย์  (ผอ.วชช.สตูล)  ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสตูล กล่าวว่า  การอบรมในครั้งนี้ได้ดูแลเป็นพิเศษ  ครั้งนี้ส่งเสริมอาหารพื้นถิ่น ปัสมอสและโรตีที่พวกเขาชอบกิน  เขาจะได้ทำไว้กินเอง หรือพัฒนาต่อยอดไปขายได้  และจะพัฒนาต่อเนื่องหากต้องการ เช่นการทำจักสาน ภาชนะ ความละเอียดที่พวกเขามีเป็นพื้นฐาน  เราจะเข้ามาพัฒนาการทำตะกล้าจากใบเตย ทำภาชนะใช้เองเข้าป่า หาอาหาร  การอบรมในครั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของปัจเจกบุคคลและชุมชนในลักษณะของการตอบสนองที่รวดเร็ว และสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล

 

          แนวคิดรัฐบาล ที่มีนโยบายให้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG Model  เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาลัยชุมชนสตูลจึงเห็นความสำคัญของการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมด้านวิชาการ การเผยแพร่ความรู้  เป็นที่ปรึกษา และบริการวิชาการแก่สังคม  โดยบูรณาการความรู้ใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการเชื่อมโยงการให้บริการวิชาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม อันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายชุมชน และสังคมใกล้เคียงได้รับความรู้  เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการ และทำให้วิทยาลัยฯมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย

…………………………..

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ใหญ่กว่านี้มีอีกไหม! กล้วยงาช้างสตูล-ลูกใหญ่ เนื้อแน่เยอะ หวานกรอบ จากสวนยางสู่กล้วยกรอบแก้วระดับพรีเมียม

ใหญ่กว่านี้มีอีกไหม! กล้วยงาช้างสตูล-ลูกใหญ่ เนื้อแน่เยอะ หวานกรอบ จากสวนยางสู่กล้วยกรอบแก้วระดับพรีเมียม

          ที่สวนของสมาชิกในกลุ่ม  “วิสาหกิจชุมชนกล้วยสวนกรอบแก้ว”   529/1 หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำผุด  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล ได้มีการปลูกกล้วยเพื่อแซมสวนยางพารา  ร่วมกับต้นกาแฟ ต้นกระท่อม เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม  โดยเฉพาะการปลูกกล้วยงาช้าง ที่เป็นวัตถุดิบชั้นเยี่ยมของทางกลุ่มในการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ  ภายใต้แบรนด์  กล้วยงาช้างกรอบแก้ว “สวนตาอุ้ย” กรอบอร่อย ทุกที่ทุกเวลา  ที่ได้รับเลขทะเบียน อย.การันตีความอร่อยสะอาดถูกหลักอนามัยด้วย

 

          จากการลองผิด ลองถูก เพื่อให้เกิดความแตกต่างมาลงตัวที่  กล้วยงาช้าง  ด้วยคุณสมบัติผลใหญ่ (ใหญ่สุดลูกเดียว 1.8 ขีด)  ปลูกเพียง 8 เดือนก็สามารถให้ผลผลิต  เนื้อเนียน  เนื้อเยอะ  ไม่มีเมล็ด  รสชาติดีทำให้ทางกลุ่มของคุณป้าเย็น และคุณจิต และเพื่อนๆ สมาชิกได้ตกลงใช้กล้วยสายพันธุ์นี้ทำ  กล้วยกรอบแก้ว  ที่มีรสชาติลงตัวที่สุดกับ รสหวาน รสเค็มและรสปาปิกา  จำหน่ายเพียงถุงละ 35 บาท (3 ถุงร้อย) ถุงละ 50 บาทหรือจะซื้อเป็นกิโลกรัมละ 180 บาท (2-3 กิโลกรัมขึ้นไป) 

 

          ขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก  เน้นความสะอาด  กล้วยที่ได้มาเป็นกล้วยแก่ 70 เปอร์เซ็นต์  ล้างน้ำทำความสะอาดจากนั้นแช่ในน้ำเปล่า ตัดหัวตัดท้ายออกปลอกเปลือกและแช่ในน้ำส้มสายชู  เพื่อล้างยางในตัวกล้วย และนำมาสไลด์เป็นแผ่นบาง ๆ  ตั้งไฟใส่น้ำมันร้อนลงไปทอดไม่ทันเหลืองให้ยกขึ้นจากกระทะ  ให้สะเด็ดน้ำมันแล้วนำไปใส่ในหม้อน้ำตาลที่ผ่านการเคี้ยวจนหอมน้ำใบเตย  ไม่ถึงนาทียกขึ้นให้สะเด็ดน้ำตาลจากนั้นนำไปทอดในกระทะอีกครั้ง เพิ่มความเหลืองกรอบในระดับหนึ่งก่อนยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน  วางบนกระดาษซับน้ำมัน เป็นอันเสร็จ ชิมความอร่อยของกล้วยกรอบแก้ว รสหวานได้เลย

          นางเกสร  เตชะศิริประภา (ป้าเย็น) ประธานกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนกล้วยสวนกรอบแก้ว”  นางเขมนิจ   เมืองแก้ว (ป้าจิต) รองประธานฯ พร้อมสมาชิก 20 คน   บอกว่า   ทางกลุ่มผลิตกล้วยกรอบแก้วจาก “กล้วยงาช้าง” ที่มีคุณภาพ  เพราะลูกใหญ่ รสชาติหวาน กรอบ และเก็บได้นาน  ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดตอบรับเป็นอย่างดี 

 

           สำหรับสมาชิกของทางกลุ่มฯ ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ ชาวสวน ที่มารวมกลุ่มกันสร้างรายได้เสริม  ปัจจุบันแม้ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเนื่องจากปีที่ผ่านมาประสบภัยแล้ง   แต่ทุกคนยังคงมุ่งมั่นในการที่จะผลิตสินค้าคุณภาพ เพราะมีใจรักในการทำ และใส่ใจคุณภาพ สมาชิกทุกคน 20 คนได้รับการปันผลรายได้ทันทีตามผลประกอบการแต่ก็ไม่ใช่สาระหลัก  เพราะทุกคนอยากมารวมตัวกันเจอกันรายได้เสริมเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำกลุ่มมากกว่า

 

          นางสาวมนัสนันท์  นุ่นแก้ว เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า  สำหรับพื้นที่อำเภอละงูมีการปลูกกล้วยงาช้าง 40 ไร่ พบว่าผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากมีกระแสตอบรับดีมาก ทำให้ทางสำนักงานมีแนวความคิด ขยายพื้นที่การปลูกกล้วย กล้วยงาช้างให้เพิ่มขึ้น โดยจะส่งเสริมไปในส่วนของสมาชิกกลุ่มก่อน และจะขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นในบริเวณใกล้เคียง   สำหรับ  กล้วยงาช้าง  มีความพิเศษคือมีผลขนาดใหญ่เปลือกบาง เนื้อเนียนแน่นไม่มีเมล็ด ทำให้เหมาะกับการมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ เมื่อแปรรูปเสร็จเนื้อจะกรอบเนียนอร่อย

 

         สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ นี้มาตั้งแต่ปี 2562 ทางเกษตรอำเภอได้เข้ามาช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น นอกจากนี้ก็จะเป็นในส่วนของการตลาดและมาตรฐาน นอกจากนี้ทางกลุ่มก็ได้รับมาตรฐานอย.แล้วด้วย   อยากจะฝากกล้วยกับแก้วของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยสวนกรอบแก้วเพราะมีรสชาติอร่อย

 

        สามารถติดตามได้ทางช่องทาง Facebook ของกลุ่ม หรือของทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงูได้ โทร. 0896571242  , 0918147759

……………………………….

อัพเดทล่าสุด

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน