
สตูลปล่อยพันธุ์หอยชักตีนกว่าแสนตัว หลังพบปริมาณลดลง หวังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสตูล พร้อมชาวบ้านในพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย ได้ดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ประกอบด้วยพันธุ์หอยชักตีนมากกว่า 100,000 ตัว พร้อมพันธุ์กุ้งแชบ๊วย และแม่พันธุ์หอยชักตีนกว่า 10 กิโลกรัม ภายใต้โครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้าสู่การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล โดยมี ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล หลังพบว่าพันธุ์หอยชักตีนได้มีปริมาณลดลงจากท้องทะเล
สัตว์น้ำทั้งหมดถูกลำเลียงจากท่าเทียบเรือทุ่งริ้น อ.ท่าแพ ไปยังอ่าวบากันใหญ่ เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประมงพื้นบ้าน หมู่ที่ 2 พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ อันเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลหายาก อาทิ พะยูน เต่า และโลมา

อย่างไรก็ตาม นายดลฮอนี สุวาหลำ กำนันตำบลเกาะสาหร่าย เปิดเผยว่า พื้นที่อนุรักษ์ยังประสบปัญหาสำคัญ เนื่องจากขาดสัญลักษณ์แสดงแนวเขตที่ชัดเจนและคงทน ทำให้มีชาวประมงจากพื้นที่อื่นเข้ามาทำประมงและทำลายแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการคลาดปลิงทะเล
“เราต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดทำแนวเขตที่คงทนถาวร เพราะที่ผ่านมาทุ่นแสดงแนวเขตมักชำรุดภายใน 2-3 ปี พื้นที่อนุรักษ์นี้เปรียบเสมือนหม้อข้าวของชาวบ้าน เพราะประชากรกว่า 90% ประกอบอาชีพประมง และที่นี่ถือเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดสตูล” นายดลฮอนีกล่าว
……………………………..

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่
สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่ วันนี้ (9
-
สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่
-
จังหวัดสตูลเปิดศึกตกปลานานาชาติ "ตันหยงโปฟิชชิ่ง 2025" กระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว
-
พลังเสื้อขาวสตูลยืนหยัด "ไม่เอาบ่อนกาสิโน" พร้อมยกระดับประท้วงหากรัฐบาลดันกฎหมายผ่าน
-
สตูลสร้างงาน สร้างอาชีพวัยเกษียณ สร้างความสุข
-
คนสู้ชีวิต! หนุ่มช่างคอมพิวเตอร์ พลิกสวนยางโค่นเป็นไร่สับปะรด แปรรูปขาย สร้างรายได้ครึ่งล้านต่อปี
