Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูลสร้างงาน สร้างอาชีพวัยเกษียณ สร้างความสุข

สตูลสร้างงาน สร้างอาชีพวัยเกษียณ สร้างความสุข

          ในยุคที่หลายคนมองหาความมั่นคงหลังเกษียณ “สวนบ้านริมเขา ทุ่งนายร้อย” เป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและสร้างรายได้ไปพร้อมกัน บนพื้นที่เจ็ดไร่ของนายปรีชา อ่อนประชู อดีตข้าราชการ อบจ.สตูล  และภรรยา นางอำพร อ่อนประชู อดีตกุ๊กร้านอาหาร พวกเขาได้พลิกพื้นที่สวนให้กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการทำเกษตรผสมผสาน

         

         หนึ่งในไฮไลท์ของสวนนี้คือแปลงดาวเรือง  ที่ปลูกไว้เพื่อจำหน่ายดอกเป็นช่อ  โดยสามารถขายได้ทุกวันพระ สัปดาห์ละ 100-150 ช่อ ในราคาสามดอกสิบบาท  คิดเป็นรายได้ต่อเดือนหลักหมื่นบาท   นอกจากสร้างรายได้แล้ว  ยังสร้างความสุขให้กับทั้งผู้ปลูกและลูกค้าที่มารับซื้อถึงสวน

         นอกจากดาวเรือง พื้นที่สวนยังมีการปลูกพืชหลายชนิด เช่น พริก, ส้มโอ, ชมพู่ โดยการปลูกพืชแบบผสมผสาน  ช่วยให้แมลงศัตรูพืชลดลงตามธรรมชาติ   มีการใช้ขวดน้ำ  แขวนตามแปลงเพื่อไล่แมลงโดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี  พื้นที่สวนยังแบ่งออกเป็นแปลงไผ่ซางนวล   ซึ่งไม่ได้ขายลำต้นแต่ขายหน่อไผ่ปีละ 10,000-20,000 บาท

 

          ภายในสวนมีการขุดสระน้ำและทำระบบน้ำล้น เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปีในการรดพืชผัก  และดูแลสวน ระบบน้ำที่ดีช่วยลดต้นทุนการผลิต และทำให้พืชสามารถเติบโตได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำประปา

           

          นอกจากการปลูกพืชผักไว้บริโภคเองแล้ว   รายได้จากการขายผลผลิต เช่น พริก และเป็ดอี้เหรียง ที่ให้ไข่วันละแผง ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน   ทำให้ชีวิตหลังเกษียณของทั้งสองมีความสุข ไม่ต้องเร่งรีบกับการทำงานเหมือนแต่ก่อน รายได้เกิดจากความพอใจในการทำเกษตร มากกว่าการหวังกำไรสูงสุด

           อนาคตของสวนบ้านริมเขา นายปรีชาและอำพร วางแผนให้สวนแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  และที่พักแนวโฮมสเตย์  ด้วยบรรยากาศธรรมชาติที่ติดภูเขาและอากาศสดชื่น ทำให้ลูกชายคนเล็กมีแนวคิดต่อยอดธุรกิจครอบครัวให้เป็นสถานที่พักผ่อนที่มีการเกษตรเป็นจุดขาย

 

          นี่คือตัวอย่างของชีวิตหลังเกษียณที่เต็มไปด้วยความสุขและรายได้แบบพอเพียง

………………………………………..

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 คนสู้ชีวิต! หนุ่มช่างคอมพิวเตอร์ พลิกสวนยางโค่นเป็นไร่สับปะรด แปรรูปขาย สร้างรายได้ครึ่งล้านต่อปี 

คนสู้ชีวิต!! หนุ่มช่างคอมพิวเตอร์ พลิกสวนยางโค่นเป็นไร่สับปะรด แปรรูปขาย สร้างรายได้ครึ่งล้านต่อปี

          เสียงเก็บสับปะรดในสวนดังขึ้นเป็นจังหวะ   นายอิสมาแอน ไชยมล วัย 40 ปี ชาวบ้านหมู่ 6 ต.ควนโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล กำลังเร่งเก็บผลผลิตชุดสุดท้ายจากสวนสับปะรด 20 ไร่ ซึ่งเดิมเคยเป็นสวนยางพาราทั้งของตนเองและของญาติๆ ก่อนจะโค่นเพื่อปลูกใหม่ แต่เขากลับเลือกใช้พื้นที่ว่างนี้  ปลูกสับปะรดพันธุ์ภูเก็ตแทน   เพื่อฟื้นฟูดิน และสร้างรายได้ให้ครอบครัว

 

         นายอิสมาแอน กล่าวว่า  “ผมเคยเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ก่อนจะหันมาทำเกษตรเต็มตัวเมื่อ 8 ปีก่อน ได้แรงบันดาลใจจากการไปดูงานที่กระบี่ จึงลองปลูกบนที่ดินของตนเอง และต่อมาญาติ ๆ ก็ให้ใช้พื้นที่สวนยางที่โค่นใหม่”

 

         อิสมาแอนใช้เทคนิคการปลูกแบบเว้นช่วงเก็บเกี่ยว    ไม่ให้ผลผลิตออกพร้อมกันทั้งแปลง ช่วยให้ขายได้ต่อเนื่องไม่กระทบราคา ทั้งยังเปิดหน้าร้านขายเองที่สวน ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง ปัจจุบันขายได้ลูกละ 15-30 บาท มีรายได้เฉลี่ยปีละกว่า 400,000 บาท โดยเฉพาะช่วงรอมฎอนที่ผ่านมา ขายได้ถึง 30,000 ลูกในเดือนเดียว

          นางสาวกำไลทิพย์ เศรษฐ์วิชัย เกษตรจังหวัดสตูล  บอกว่า “เกษตรกรรายนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้พื้นที่ว่างหลังโค่นยางพารา มาปรับปรุงดินและสร้างรายได้ เขามีการจัดการที่ดีมาก ทั้งในแปลงและการตลาด”

          นอกจากขายสด ยังมีการแปรรูปหลากหลายเมนู เช่น น้ำสับปะรดขวดละ 12 บาท สับปะรดกวน และนมสดสับปะรดขวดละ 20 บาท โดยมีครอบครัวช่วยกัน ทั้งแม่ หลานสาว และน้องสะใภ้ ดูแลการแปรรูปและหน้าร้าน

           เกษตรจังหวัดสตูล. บอกอีกว่า.  “อิสมาแอนเป็นเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน GAP และ Q ซึ่งการันตีคุณภาพและความปลอดภัย อยากให้เกษตรกรคนอื่นที่ปลูกในพื้นที่ของญาติ   หรือพื้นที่เอกสารสิทธิ์ มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อรับสิทธิ์ช่วยเหลือหากเกิดภัยพิบัติ”

 

          แม้หน่อพันธุ์สับปะรดจะยังไม่พอแบ่งขาย   เพราะต้องใช้ขยายแปลงในอนาคต   แต่ของเหลือจากการแปรรูป   เช่น กากและเปลือก ก็ยังนำไปทำปุ๋ยหมักต่อได้   ถือเป็นการใช้ประโยชน์ครบทุกส่วน. สนใจสอบถาม. โทร. 082-376-2450

……………………………….

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

“ตาแปแยะ”  ขนมรับแขกบ้านแขกเมือง สูตรเข้มข้นฝีมือแม่บ้านชายแดนไทยมาเลเซีย

สตูล – “ตาแปแยะ”  ขนมรับแขกบ้านแขกเมือง สูตรเข้มข้นฝีมือแม่บ้านชายแดนไทยมาเลเซีย ขนาดประเทศต้นตำรับยังแห่ซื้อเป็นของฝาก หาทานยากมีที่ชุมชนรักษ์ท่องเที่ยวตำมะลัง จ.สตูล

           ที่จังหวัดสตูล  จะพาไปรู้จักขนมพื้นถิ่นที่หาทานยาก  ขนมที่มีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบทอด แต่มีถั่วลิสงตกแต่งบนหน้าและมีปลาจิ้งจั้ง  ชาวบ้านเรียกขนมนี้ว่า  “ตาแปแยะ” เป็นชื่อเรียกภาษามลายูแปลว่าเครื่องเทศเยอะ

 

          ที่หมู่บ้านริมชายฝั่งตำบลตำมะลัง หมู่ที่ 3 อำเภอเมืองสตูล (ชายแดนไทยมาเลเซีย)  ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านนางยาตี  นาวา อายุ 46 ปี  สมาชิกวิสาหกิจชุมชนรักษ์ท่องเที่ยวตำมะลัง  พร้อมด้วยทุกคนในครอบครัวกำลังเร่งมือทำขนมพื้นเมือง  ตาแปแยะ  เพื่อให้ทันตามออเดอร์ของลูกค้า 

 

         โดยส่วนผสมของขนมชนิดนี้ประกอบไปด้วย  แป้งข้าวเจ้าผสมกับไข่ไก่  น้ำปูนใสสะอาด  พริกแห้งบดละเอียด  เครื่องเทศ พริกไทย ข้าวเล็กๆ ข้าวใหญ่นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้ากันแล้วตักใส่พิมพ์แต่งหน้าด้วยถั่วลิสง และปลาจิ้งจั้ง นำมาทอดในน้ำมันที่ร้อนกำลังดี  โดยการทำขนมในแต่ละครั้งจะใช้ส่วนผสมครั้งละ  7 กรัมเมื่อหมดก็จะปรุงขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้ขนมที่มีคุณภาพดี

 

        การทำขนมครั้งละ 7 กรัมจะได้ขนมประมาณ 5-6 ถุง (ถุงละ 35 ชิ้น) ขายราคาถุงละ 50 บาท โดยวันนึงจะทำ 2 รอบเป็นธุรกิจในครัวเรือน  มีลูกสาวและสามีของนางยาตี มาช่วยทอดและสามารถทำงานแทน  ฝีมือไม่แพ้คุณแม่เลย

            นางยาตี  นาวา เจ้าของสูตรขนมตาแปแยะ  บอกว่า  ขนมนี้ทำขายเป็นอาชีพที่สองของครอบครัว รองจากขายโรตีอาหารเช้าและอาหารเย็น   ซึ่งจริงแล้วสูตรขนมได้มาจากเพื่อนอีกทอดหนึ่ง  ที่ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียเมื่อ 8 ปีที่แล้วมาปรับสูตรให้เข้มข้นทำขายตามออเดอร์   เป็นขนมพื้นเมืองที่ทำขายทานเจ้าของในตำมะลัง  ส่งขายให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวไทยมาเลเซีย

 

            และนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ต่างชาติที่มาเที่ยวชุมชนตำมะลังได้ชิมลิ้มรสชาติที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศได้รสชาติเฉพาะตัว ของถั่วลิสงและปลาจิ้งจั้งที่อร่อยกรอบ เป็นของฝากและของทานเล่น   จะขายดีในช่วงเดือนฮารีรายอ  มีออเดอร์เข้า 200 ถึง 400 ถุง  สนใจโทร.0949615776 ,0950251108

 

          นางสาวรุ่งญาดา  เจริญทรัพย์  เลขาวิสาหกิจชุมชนรักษ์ท่องเที่ยวตำมะลัง บอกว่า  ทุกครั้งที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวชุมชนจะนำกลุ่มแม่บ้านไปทำโชว์และชิมกันเลย ได้รับความสนใจกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก หลายคนติดใจซื้อเป็นของฝากกับไปจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นกำเนิดของขนมที่มาจากมาเลเซีย เมื่อมาชิมสูตรใหม่ของไทยหลายคนติดใจกันเป็นแถว 

………………..

อัพเดทล่าสุด

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

สตูลกลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  ต่อยอดสินค้าชุมชนสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกอาหารท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่ม หลังพบปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง

สตูล-กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  ต่อยอดสินค้าชุมชนสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกอาหารท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่ม หลังพบปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง

          ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  หมู่ที่ 1 ตำบลสาคร  อำเภอท่าแพ  จังหวัดสตูล  โดยชาวบ้านได้เข้าร่วมโครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้าสู่การจัดการทรัพยากรชายฝั่งตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ในการส่งเสริมอาชีพและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งที่ยังยืน

 

         นายดาด  ขุนรายา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 (ปธ.ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น)  บอกว่า  จุดเริ่มต้นมาจากชุมชนได้ทำธนาคารปูม้า  ที่มีชาวประมงพื้นบ้าน 20 คน  มาร่วมกันเป็นสมาชิก โดยทุกคนได้เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากร ของการ ดำเนินการโครงการฯ  และได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการนวัตกรรมธนาคารปูม้า สู่การพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินในจังหวัดสตูล   โดยมี ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์  เป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

         ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 (ปธ.ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น)  บอกด้วยว่า จากนั้นได้ทำต่อมาเรื่อย ๆ  และมีการต่อยอดให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มจนเป็นที่มาของโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก    โดยได้เล็งเห็นว่าตลาดน่าจะไปได้เพราะขายในพื้นที่ก็ไม่เพียงพอ  อีกทั้งในธรรมชาติเริ่มหาน้อยเต็มที  และยังหาทานยาก    โดยข้อดีของการเพาะเลี้ยงพบว่าสาหร่ายไม่มีทราย  หรือเศษดินปะปน  เพียงแค่นำมาล้างและรับประทานได้เลย  ถ้าเป็นสาหร่ายที่ขึ้นตามธรรมชาติจะมีเม็ดทรายปะปนและมีกลิ่นคาวของน้ำ   แต่การเพาะเลี้ยงลักษณะนี้รับประทานได้อย่างอร่อย  สามารถมีทานได้ตลอดทั้งปี อนาคตจะต่อยอดขยายให้กับสมาชิกเพิ่มอีก  ดูแล้วทิศทางเป็นไปได้ โดยวันนี้เป็นเพียงตัวอย่างก็ได้รับการตอบรับอย่างดี เชื่อว่าจะเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี 

 

         นอกจากที่นี่จะศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  และเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกแล้ว ทางกลุ่มฯยังเป็นแหล่งท่องบเที่ยวชุมชนมีแพกลางน้ำของชุมชนบริหาร นักท่องเที่ยวสายแคมปิ้งในคลองทุ่งริ้น ได้ดื่มด่ำธรรมชาติ และทานอาหารทะเลสด ๆตามฤดูกาลด้วย   หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที  โทร 063-7302873

 

         การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น  หมู่ที่ 1 ตำบลสาคร  อำเภอท่าแพ  ได้เพาะเลี้ยงจำนวน 10 ตะกร้า โดยใช้ออกซิเจนในการดูแลสาหร่ายอยู่ภายใต้โรงเรือน  สมาชิกได้กลุ่มจะได้รับการสร้างองค์ความรู้ก่อนเลี้ยง โดยการให้ปุ๋ย  วัดค่าน้ำเพียง  2 อาทิตย์ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว 

 

         ทางกลุ่มจะหมุนเวียนโดยเก็บขาย  อาทิตย์ละครั้ง /เก็บครั้งละ 2 ตะกร้าได้ 1 กิโลกรัม  ขายกิโลกรัมละ 200 บาท สาหร่ายขนนกนอกจากจะทานสดกับน้ำจิ้มซีฟู้ดแล้ว  ยังสามารถไปปรุงเมนูยำสาหร่ายขนนก   สลัดสาหร่ายขนนก   ข้าวเกรียบสาหร่ายขนนกได้อีกด้วย 

 

        ลักษณะเฉพาะของสาหร่ายขนนกคือ จะตายง่ายเมื่อถูกน้ำจืด จึงควรรับประทานสด ๆ ทันทีที่ขึ้นจากน้ำไม่นานเพราะจะเสียรสชาติความอร่อย

…………………………………

อัพเดทล่าสุด

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-อดีตผู้รับเหมาก่อสร้าง  ชีวิตพลิกผัน  ทำไม้กวาดขาย  สู้ชีวิตไม่ย่อท้อ

สตูล-อดีตผู้รับเหมาก่อสร้าง  ชีวิตพลิกผัน  ทำไม้กวาดขาย  สู้ชีวิตไม่ย่อท้อ

         นายไตรรงค์   คงปาน วัย 57 ปี อดีตผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่   ผู้ที่ชีวิตพลิกผันหลังประสบอุบัติเหตุขี่รถตกหลุมจนร่างกายไม่เหมือนเดิม  แต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง เขาเลือกที่จะลุกขึ้นสู้ทันทีที่ร่างกายดีขึ้น  ด้วยการผันตัวมาทำไม้กวาดขาย  โดยจำวิธีการจากคนอื่นแล้วมาทดลองทำเองจนสร้างรายได้

        “ผมไม่อยากเป็นภาระให้ใคร”   นายไตรรงค์กล่าวขณะสาธิตการทำไม้กวาดทางไม้ไผ่จากไม้ไผ่สีสุก   ที่กระท่อมหลังเล็กสร้างขึ้นอย่างง่ายเพื่ออยู่อาศัย   ในที่ดินของน้องสาวย่านซอยคลองขุด 19 ( หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าซอยน้องแป้น)  หมู่ที่ 7 เขตเทศบาลตำบลคลองขุด  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

          ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น  เขาเลือกเชื่อว่าจะช่วยสร้างรายได้แม้ไม่มาก แต่ไม่เป็นภาระน้องสาวหรือภาระใคร  โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกที่มีคุณสมบัติโค้งงอได้ดีมาทำเป็นซี่ไม้กวาด   ส่วนด้ามจะใช้ไม้ไผ่ที่มีเปลือกหนาเพื่อความแข็งแรง เพื่อจำหน่ายในราคาย่อมเยา   โดยไม้กวาดด้ามเล็กราคาขายเพียง  50 บาท ส่วนด้ามใหญ่ตามความสูงของลูกค้าราคาอยู่ที่  80 บาท

         จุดเริ่มต้นของธุรกิจเล็ก ๆ  นี้ เริ่มจากการทำตัวอย่างเพียง 2 อันไปเสนอตามร้านค้า  เมื่อได้รับการตอบรับที่ดี จึงรับออร์เดอร์ครั้งละ 10 อัน  ใช้เวลาประมาณ 10-15 วันในการผลิตและส่งมอบสินค้าแต่ละรอบ

          นอกจากการทำไม้กวาดแล้ว    นายไตรรงค์  เขายังใช้พื้นที่ว่างของน้องสาวเพื่อปลูกผักสวนครัว  โดยตั้งใจแบ่งปันให้น้องสาวและเพื่อนบ้านได้ทานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  สะท้อนให้เห็นถึงน้ำใจที่มีต่อชุมชน แม้สภาพร่างกายยังไม่สมบูรณ์นักจากอุบัติเหตุ

          นายชัยณรงค์  ไชยจิตต์  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสตูลในพื้นที่  เล่าว่า   “ผมติดตามชีวิตของเขามากว่า 2 ปี เห็นถึงความมุ่งมั่นและการเป็นคนที่มีน้ำใจ แม้สภาพร่างกายจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่เคยย่อท้อ” พร้อมเสริมว่าในอนาคตอยากผลักดันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่กำลังท้อแท้ได้เห็นว่า ชีวิตยังมีหนทางให้สู้เสมอ

          การไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาของชีวิตที่พลิกพัน ชั่วข้ามคืนจากที่เคยมีเงิน  มีงาน มีครอบครัว  มีลูกน้องจำนวนมาก  แม้วันนี้จะเหลือเพียงน้องสาวกับแม่บังเกิดเกล้า  แต่เขาก็ไม่คิดจะให้เป็นภาระกับใคร  พอใจกับรายได้ที่ทำด้วยน้ำพักน้ำแรง  มีข้าวกิน  มีเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  และได้แบ่งปันสังคมบ้างตามกำลัง     โดยเฉพาะเงินหมื่นบาทที่ได้รับจากรัฐบาลมาก็ตั้งใจจะเอาไปต่อยอดธุรกิจ ซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อขยายการผลิตไม้กวาดต่อไป

         ผู้สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อไม้กวาดได้ที่ โทร. 093-054-1664

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

            วันที่ (19 ก.ย. 67) ที่สตารินทร์ คาเฟ่ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นางไลลา รอเกตุ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ เป็นประธานการดำเนินโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส. พร้อมด้วยเครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วน และคณะทำงาน พมจ.สต. ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

 

            ด้วยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล ได้จัดโครงการเสริมสร้าง เครือข่ายสื่อมวลชนเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ ประสานความร่วมมือกับสื่อมวลชนท้องถิ่นและหน่วยงานด้านการประชาสัมพันธ์ ในการนำเสนอสถานการณ์ ทางสังคม เพื่อให้สังคมได้ตระหนักมีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สื่อมวลชน ได้เผยแพร่เรื่องสิทธิ สวัสดิการที่ประชาชนพึงได้รับ รวมทั้งผลการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายของศูนย์เร่งรัดจัดการ สวัสดิภาพประชาชนจังหวัดสตูล (ศรส.) ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.หนึ่งเดียว) กับสื่อมวลชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย สื่อมวลชนและหน่วยงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ หัวหน้าส่วนราชการสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน

           สำหรับโครงการนี้ได้มีการหารือถึงแนวทางในการนำเสนอ หรือประชาสัมพันธ์ในการประสานความร่วมมือของหน่วยงาน พม.หนึ่งเดียว และ ศรส. ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยง่ายในเรื่องของการติดตามการดำเนินให้ความช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน และการสื่อสารสังคมเชิงรุกในการสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วน เพื่อให้สื่อได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาทางสังคมร่วมกันได้ต่อไป

อัพเดทล่าสุด

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ท้องทะเลสตูลอุดมสมบูรณ์ กั้งขาว-กั้งเขียวเป็นที่ต้องการของตลาด  สร้างอาชีพทั้งชาวประมงและแม่บ้าน

ที่จังหวัดสตูลได้ขึ้นชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอีกหนึ่งแห่งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  และที่กำลังสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านอย่างงดงามคือที่นี่เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารซีฟู้ดที่ขึ้นชื่อ ที่ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านซีฟู้ด 

 

โดยเฉพาะกั้งทะเล  ที่นี่มีให้ทานเกือบทั้งปี (หากไม่มีคลื่นลมแรง)  และกั้งยังเป็นแลนด์มาร์คของตำบลตันหยงโป  อำเภอเมืองสตูลด้วย  โดยเฉพาะที่ บ้านบากันเคย หมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชาวประมงพื้นบ้านได้ออกหาอาหารทะเลทันที   หลังจากสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ พวกเขาสามารถออกทะเลเพื่อจับกั้งตัวใหญ่ได้อีกครั้ง

 

กั้งที่นี่จะมีสองสายพันธุ์ คือ กั้งขาว และกั้งเขียว     (กั้งขาว หรือกั้งแก้ว แกะต้มแล้ว) มีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 500 – 540  บาท   ส่วนกั้งเขียวเป็นกั้งตัวใหญ่ (หนึ่งตัวเกือบกิโลกรัม)  มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,600 บาท (จะขายกั้งเป็นแต่หากกั้งตายจะไม่มีราคา) สร้างรายได้อย่างงามให้กับชาวประมงพื้นบ้าน

 

           นายราเสบ กาซา เจ้าของแพอายุ 72 ปี  บอกว่า  ตนรับซื้อกั้งสดๆ จากชาวประมงพื้นบ้าน ราคากั้งขาวหรือกั้งแก้ว  อยู่ที่กิโลกรัมละ 200 – 300 บาท  ส่วนกั้งเขียว รับซื้อจากชาวประมงราคาสูงถึง 1,400 บาทต่อกิโลกรัม  ส่งขายในจังหวัดท่องเที่ยว ทั้งภูเก็ต หาดใหญ่ พังงา และกระบี่

 

         นอกจากการขายกั้งสด ทางแพยังแปรรูปโดยการต้มและแกะเนื้อขาย ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 500 ถึง 540 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายกั้งเขียวเป็นๆ  กิจการนี้ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชาวประมง แต่ยังสร้างงานให้กับแม่บ้านในพื้นที่อีกด้วย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ได้ 0915284092  0953696057

 

           นางสาวนูรชีรา  อามาตี   อายุ 24 ปี แรงงานแกะกั้ง  บอกว่า  พวกเรามีงานทำ ไม่ต้องออกไปหางานนอกหมู่บ้าน ได้ค่าแรงวันละ 400 บาท ทำงานตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 วันไหนเรือออกก็จะมีงานทำอาชีพนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีแกะกั้งขาวหรือกั้งแก้ว ใช้กรรไกรตัดหัวก่อนจากนั้นตัดหาง และครีมด้านข้างเพื่อให้แกะกระดองได้ง่าย  ก็จะได้เนื้อกั้งเป็นชิ้นทั้งตัวพร้อมขายและนำไปปรุงได้อย่างสะดวกสบาย  

 

         สำหรับกั้ง สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนูเช่นเดียวกับกุ้ง เช่น กั้งต้มน้ำจิ้มซีฟู้ด , กั้งทอดกระเทียมพริกไท ,ผัดเผ็ดหรือต้มย้ำ นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของดีจากชุมชน  น้ำพริกกั้ง ,มันกั้ง (คล้ายกับมันกุ้ง)

 

           ความสำเร็จของอุตสาหกรรมกั้งในสตูลนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย และโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับชุมชนชายฝั่ง 

…………………………………………….

อัพเดทล่าสุด

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลสร้างอาชีพ ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

สตูลสร้างอาชีพ…ผู้สูงอายุควนสตอเรียนรู้ศิลปะ  อีโคปริ๊นท์ สร้างสรรค์ผ้าลายดอกไม้สด

         ผู้สูงอายุตำบลควนสตอ จังหวัดสตูล ได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้สด  ด้วยวิธีอีโคปริ๊นท์ ในงาน “ชีวิตสดใส วัยสูงอายุ” ซึ่งจัดขึ้นที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

 

         โดยทางวิทยาลัยเทคนิคสตูล  ได้จัดบูธสาธิต   การทำผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก วิธีการทำเริ่มจากการนำผ้าที่ชุบน้ำยาแล้ว (ที่มีส่วนผสมของปูนขาว น้ำส้มสายชู ผงสนิม สารส้ม น้ำเปล่า)   วางดอกไม้หรือใบไม้ลงบนผ้า  จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใสคลุมทับ  แล้วใช้ค้อนขนาดเล็กทุบเบาๆ  เพื่อให้สีของดอกไม้ซึมลงบนผ้า  ทำให้เกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชิ้น

 

         ก็จะได้ผ้าเช็ดหน้า  ลายดอกไม้สีส้มสดจากดอกดาวกระจาย  เป็นชิ้นงานจากจินตนาการของผู้สูงอายุ  ที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก  นางฮาหยาด สกุลา ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า “ได้ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้ เพราะวัตถุดิบในชุมชนมีเยอะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะพัฒนาเป็นอาชีพเสริมหรือไม่”

            ด้านนางสาวปัทมา หมัดสาลี ครูประจำศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน วิทยาลัยเทคนิคสตูล อธิบายว่า “เราเลือกวิธีทุบแทนการนึ่ง  เพราะใช้เวลาน้อยกว่า  ทำให้ผู้เรียนได้ชิ้นงานกลับบ้านทันที  ผ้าที่ได้ให้เก็บไว้ 2 วัน ก่อนนำไปรีดและซักด้วยน้ำยาล้างจานหรือสบู่  นำไปผึ่งลม ก็จะได้ผืนผ้าที่คมชัดสีติดทนใช้งานอายุยืนยาว

 

           ทั้งนี้ ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน  มีแผนการสอนไปยังนักเรียนมัธยม และเปิดคอร์สระยะสั้น  สำหรับประชาชนทั่วไปในช่วงปิดเทอม   ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจเฟซบุ๊ก  “ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอควนโดน สาขาวิทยาลัยเทคนิคสตูล”   หรือโทร.  081-737-0287

 

         ส่วนดอกไม้หรือใบไม้ จะเลือกที่มีเนื้อนิ่ม  ใบดอกไม่หนา  สีสด   สามารถใช้ได้ทั่วไปที่มีในชุมชน หมู่บ้าน 

……………………………………..

 

อัพเดทล่าสุด

 สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่

สตูลเดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เน้นการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่           วันนี้ (9