Categories
ข่าวเด่น

สตูล- ฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟศาลากลางจังหวัด เสริมสร้างความปลอดภัยรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สตูล- ฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟศาลากลางจังหวัด เสริมสร้างความปลอดภัยรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         วันนี้ (27 มี.ค. 68) ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสตูล นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล มอบหมายให้ นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ในพื้นที่ศาลากลางจังหวัด  เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและรับมือกับเหตุเพลิงไหม้ให้กับบุคลากรภายในศาลากลาง   โดยการฝึกอบรมในช่วงเช้า เริ่มต้นด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการดับเพลิงเบื้องต้น การใช้อุปกรณ์ดับเพลิงอย่างถูกต้อง และแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น วิธีการแจ้งเหตุ การประเมินสถานการณ์ และการอพยพอย่างปลอดภัย โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ความรู้  มีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้

 

         ช่วงเวลาประมาณ 10.30 น. เป็นการฝึกซ้อมเสมือนจริง โดยจำลองสถานการณ์ไฟไหม้ภายในอาคารศาลากลางจังหวัดสตูล  ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้จำลองเหตุการณ์เพลิงไหม้ ที่ห้องสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชั้น 2 อาคารหลังเก่า โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการดับไฟเบื้องต้น แต่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และเพลิงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว  จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อพยพ พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สถานีดับเพลิงเทศบาลเมืองสตูล   โรงพยาบาลสตูล   มูลนิธิธรรมรังสี   สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล   การประปาส่วนภูมิภาคสาขาสตูล   และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสตูล   ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าควบคุมสถานการณ์ ได้ในเวลาประมาณ 11.30 น. โดยมีการสั่งอพยพบุคลากรออกจากอาคารอย่างเป็นระบบ รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยดับเพลิง หน่วยกู้ภัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกคนเกิดความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามแผนได้อย่างถูกต้อง

           ภายหลังการฝึกซ้อม นายคณิต  คงช่วย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้กล่าวให้โอวาท พร้อมสรุปผลการฝึกซ้อม เพื่อประเมินความพร้อมและพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต ตลอดจนเสริมสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับทุกคนที่เข้ามาใช้บริการภายในศาลากลางจังหวัดสตูลต่อไป

………………….

ภาพ-ข่าว  ประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 ขนม”จูจอ” สานสัมพันธ์ชุมชน ฟื้นชีวิตขนมโบราณควนสตอ

ขนม“จูจอ” สานสัมพันธ์ชุมชน ฟื้นชีวิตขนมโบราณควนสตอ

          ที่อบต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล  ความร่วมแรงร่วมใจของแม่บ้าน 30 คน  จากหลากหมู่บ้านใน ตำบลควนสตอ วันนี้ได้รวมตัวกันสืบสานวัฒนธรรมการทำขนมโบราณ  เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานบุญที่กำลังจะถึง โดยมี “นางฮาหยาด  เกปัน” วัย 67 ปี ปราชญ์ชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของสูตรขนม “จูจอ” หรือ “ดอกบัว” นำทีมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

         การรวมตัวครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการทำขนมเพื่องานบุญ 300 โต๊ะ หากยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์และสานต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน พวกเขาได้ร่วมกันผลิตขนมหลากชนิด อาทิ ขนมโค กล้วยหยำ และจูจอ รวมทั้งสิ้น 12 กิโลกรัม หรือประมาณ 1,200 ชิ้น

          สูตรลับของขนม “จูจอ” ประกอบด้วยแป้งสาลี 1 กิโลกรัม  แป้งข้าวเจ้าครึ่งกิโลกรัม  น้ำตาลทรายขาว 8 กรัม น้ำตาลอ้อย 2 กรัม และเกลือเล็กน้อย ขั้นตอนการทำต้องอาศัยความชำนาญ โดยเฉพาะการหยอดแป้งทอดให้เป็นรูปดอกไม้ และค่อยๆ ปรุงไฟให้สุกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

          ขนมจูจอกลายเป็นของขึ้นชื่อประจำตลาดเช้า นิยมทานคู่กับโกปี้อ้อและชาเย็น ราคาเริ่มต้นเพียง 3-5 บาท สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวใต้มุสลิมที่เรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า

         การอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมผ่านขนมโบราณเช่นนี้  นับเป็นพลังสำคัญในการเชื่อมโยงคนในชุมชน สร้างความภาคภูมิใจ และถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนรุ่นต่อไป

……..

Categories
ข่าวเด่น

จับกุมชายวัย 44 ปี ครอบครองอาวุธปืนเถื่อนในบ้านพัก จ.สตูล

จับกุมชายวัย 44 ปี ครอบครองอาวุธปืนเถื่อนในบ้านพัก จ.สตูล

         21 มีนาคม 2568  เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสตูล ร่วมกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองและฝ่ายปกครอง บุกจับกุมชายวัย 44 ปี หลังพบอาวุธปืนไทยประดิษฐ์หลายกระบอกซุกซ่อนภายในบ้านพัก ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล จ.สตูล

          เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 มี.ค. 68) พ.ต.อ.เสกสิทธิ์ ปรากฎชื่อ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล สั่งการให้ชุดปฏิบัติการพิเศษร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล นำโดย พ.ต.ท.ยงยุทธ เลิศปรีชาพงศ์ และฝ่ายปกครองอำเภอเมืองสตูล นำโดย นายสิทธิวุฒิ ทรงสวัสดิ์ ปลัดอำเภอเมืองสตูล พร้อมด้วยกำนันตำบลคลองขุด เข้าตรวจค้นในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล

          จากการสืบทราบจากสายลับว่ามีการซุกซ่อนอาวุธปืนผิดกฎหมายไว้ในบ้านหลังดังกล่าว  เจ้าหน้าที่จึงขอหมายค้นจากศาลจังหวัดสตูล หมายเลข ค.21/2568 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2568 เพื่อเข้าตรวจค้น

        เมื่อเดินทางถึงเวลาประมาณ 08.30 น. พบ นายประสิทธิชัย (สงวนนามสกุล)  อายุ 44 ปี เจ้าของบ้าน ซึ่งยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นหลังจากเจ้าหน้าที่ได้แสดงความบริสุทธิ์ใจ ผลการตรวจค้นพบของกลางประกอบด้วย:

  1. อาวุธปืนยาวไทยประดิษฐ์ ขนาด .22 จำนวน 1 กระบอก พร้อมชุดลูกเลื่อนลำกล้อง 2 ชุด ซึ่งวางอยู่บริเวณหลังบ้าน
  2. อาวุธปืนพกสั้นไทยประดิษฐ์ ขนาด 9 มม. จำนวน 1 กระบอก
  3. อาวุธปืนปากกา จำนวน 2 กระบอก
  4. กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 3 นัด บรรจุในแม็กกาซีน 2 แม็ก ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสะพายแบบสานสีน้ำตาลภายในห้องครัว

          เมื่อสอบถาม นายประสิทธิชัย  ยอมรับว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนทั้งหมดเป็นของตนเอง เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อกล่าวหา “มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต” พร้อมนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสตูล เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

          ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจเผยว่า การจับกุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกวาดล้างอาวุธปืนผิดกฎหมายในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้อาวุธปืนตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดีและนำไปก่อเหตุอาชญากรรม ซึ่งจะยังคงเข้มงวดตรวจค้นในพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

……………………………………………

Categories
ข่าวเด่น

สตูลทลายเครือข่ายค้ายาเสพติดรายใหญ่ ยึดยาบ้ากว่า 3 หมื่นเม็ด พร้อมอาวุธปืน-ทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้าน

สตูลทลายเครือข่ายค้ายาเสพติดรายใหญ่ ยึดยาบ้ากว่า 3 หมื่นเม็ด พร้อมอาวุธปืน-ทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้าน

           (19 มี.ค.2568) นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อม กอ.รมน.จว.สตูล และ พล.ต.ต.มารุต เรืองจินตนา ผบก.ภ.จว.สตูล, พ.ต.อ.ประสิทธิ์ ดำกระบี่ รอง ผบก.ภ.จว.สตูล พ.ต.อ.ปรีชา เพ็ชรรัตน์ ผกก.สภ.ท่าแพ จ.สตูล พร้อมด้วยฝ่ายปกครองอำเภอท่าแพ และคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูง ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญในคดียาเสพติด

          โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติด ภ.จว.สตูล ภายใต้การสั่งการของ พ.ต.ท.อภิสิทธิ์ ปะดุกา รอง ผกก.สืบสวนฯ ได้จับกุมตัว นายอนุสรณ์ หรือซีด (สงวนนามสกุล) อายุ 31 ปี ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จว.สตูล พร้อมของกลางยาบ้าจำนวนมหาศาลถึง 34,506 เม็ด อาวุธปืนพกสั้นขนาด 9 มม. จำนวน 1 กระบอก มูลค่าประมาณ 60,000 บาท กระสุนปืน 45 นัด และโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง

          นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้ตรวจยึดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ประกอบด้วย รถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ รุ่นดีแมค สีขาว จำนวน 1 คัน มูลค่าประมาณ 700,000 บาท, รถยนต์เก๋งยี่ห้อฮอนด้า รุ่นซิตี้ สีเทา จำนวน 1 คัน มูลค่าประมาณ 500,000 บาท, รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นฟอร์ซา สีน้ำเงิน-ดำ จำนวน 1 คัน มูลค่าประมาณ 20,000 บาท, เครื่องประดับทองคำมูลค่ากว่า 120,000 บาท, สมุดบัญชีธนาคาร 3 เล่ม และเงินสด 4,190 บาท รวมมูลค่าทรัพย์สินที่ตรวจยึดทั้งสิ้นประมาณ 1,595,790 บาท

         จากการสอบสวนเบื้องต้น พบว่าผู้ต้องหารายนี้เป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ของจังหวัดสตูล มีการทำธุรกรรมทางการเงินสูงถึง 12 ล้านบาทในวันเดียว และจากคำให้การของผู้ต้องหาอ้างว่าได้ทำการค้ายาเสพติดมาแล้ว 5 ครั้ง โดยที่ผ่านมามีพี่ชายของผู้ต้องหาเคยถูกจับกุมพร้อมยาบ้ามากถึง 6 ล้านเม็ด แสดงให้เห็นถึงเครือข่ายการค้ายาเสพติดขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ ผู้ต้องหาถูกตั้งข้อหา “จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) โดยมีไว้เพื่อจำหน่าย โดยกระทำเพื่อการค้า ก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน โดยมีอาวุธปืนหรือใช้อาวุธปืน”, “เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย” และ “มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต”

          โดยเหตุเกิดที่บ้านเลขที่ 57 ต่อเนื่องบ้านเลขที่ 127 หมู่ที่ 6 ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล  โดยทางเจ้าหน้าที่จะขยายผลการจับกุมเพื่อติดตามเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญที่เกี่ยวข้องต่อไป

…………….

 

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 จากพนักงานบริษัทสู่เจ้าของกิจการ  “ขนมครกไส้โคตรทะลัก” สร้างรายได้วันละ 2,000 บาท

จากพนักงานบริษัทสู่เจ้าของกิจการ  “ขนมครกไส้โคตรทะลัก” สร้างรายได้วันละ 2,000 บาท

          ที่ตลาดรอมฎอน  ต.ฉลุง  อ.เมือง  จ.สตูล  นางสาวฐิติภัทร โลณะปาลวงษ์ อายุ 36 ปี เจ้าของร้าน “ขนมครกไส้โคตรทะลัก” เล่าให้ฟังถึงเส้นทางการเปลี่ยนชีวิตจากพนักงานบริษัทในแผนกซีพี สู่การเป็นผู้ประกอบการขนมไทยที่มีรายได้วันละ 2,000 บาท จากขนมครกเพียง 3 กิโลกรัมต่อวัน

 

          นางสาวฐิติภัทรเล่าว่า “เริ่มต้นจากการตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง และความชอบส่วนตัวในการขายของ” “ดิฉันได้ศึกษาการทำขนมครกจากช่องทางออนไลน์ แล้วทดลองทำด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูกจนได้สูตรที่ลงตัวอย่างทุกวันนี้”

 

          โดยความพิเศษของขนมครกร้านนี้อยู่ที่การใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผสมกับน้ำกะทิคุณภาพดี ทำให้ได้เนื้อขนมที่นุ่ม หอม ไม่แข็งกระด้าง โดยเมื่อทำแป้งเสร็จแล้วจะเติมหัวกะทิอีกครั้ง และตามด้วยไส้ที่หลากหลายถึง 4 ชนิด ได้แก่:  – ไส้ฟักทอง  – ไส้มันม่วง  – ไส้ข้าวโพด  – ไส้เผือก

 

         “ความลับอยู่ที่เราใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ การผสมแป้ง และการทำไส้ที่สด ใหม่ทุกวัน หวานพอดี มันจากหัวกะทิ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” คุณฐิติภัทรกล่าว

 

         ด้วยประสบการณ์จากการทำงานในบริษัท คุณฐิติภัทรได้นำความรู้ด้านการตลาดมาปรับใช้กับธุรกิจขนมครก จัดแคมเปญ “ซื้อขนมครก 20 บาท แถมคูปอง 1 ใบ” เมื่อสะสมครบ 10 ใบ สามารถแลกขนมครกฟรี 1 กล่อง  

          “การทำแคมเปญนี้ช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เพราะลูกค้าอยากได้คูปองมากๆ จึงซื้อในปริมาณมากขึ้น และในเดือนนี้มีลูกค้าไม่น้อยกว่า 3 รายแล้วที่มาแลกขนมฟรีจากการสะสมแต้ม” คุณฐิติภัทรกล่าวด้วยรอยยิ้ม

              ความอร่อยของขนมครกไส้โคตรทะลักไม่เพียงเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าทั่วไป แต่ยังได้รับการยอมรับจากนายกเทศมนตรีตำบลฉลุง  และผู้รับสัมปทานตลาดที่ยอมรับว่า “ขนมครกเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยม เป็นอาหารว่าง อาหารแก้บวชของพี่น้องชาวไทยมุสลิม”

 

           สำหรับเวลาเปิดให้บริการ  ในเดือนรอมฎอน  ตั้งแต่เวลา  13.00-18.00 น.  เดือนปกติ เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ที่สามแยกฉลุง  สนใจสั่งขนมครกไส้โคตรทะลัก สามารถติดต่อได้ที่ 099-304-2659

 

     “จากความฝันเล็กๆ สู่ความสำเร็จวันนี้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงไหนของชีวิต ก็สามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้ ขอเพียงมีใจรัก ตั้งใจ และลงมือทำอย่างจริงจัง” คุณฐิติภัทรทิ้งท้าย

…………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 แม่บ้านสตูลสร้างรายได้จากขนมโบราณ ‘โกยเปต’ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกว่า 20 ปี

แม่บ้านสตูลสร้างรายได้จากขนมโบราณ ‘โกยเปต’ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกว่า 20 ปี

          ที่หมู่บ้านเขาน้อยใต้ หมู่ 12 ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นางฝาตีม๊ะ ดาหมาด อายุ 58 ปี พร้อมด้วยญาติพี่น้องในครอบครัวกำลังเร่งมือทำขนมโบราณที่เรียกว่า “โกยเปต” หรือ “ขนมทองพับ” เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงใกล้เทศกาลฮารีรายาของพี่น้องชาวไทยมุสลิม

         

         ขนมโกยเปตที่นี่มีเอกลักษณ์พิเศษด้วยการใช้สูตรโบราณและวิธีการทำแบบดั้งเดิม โดยใช้เตาถ่านในการย่าง ซึ่งช่วยเพิ่มความหอมให้กับขนม ทำให้มีรสชาติที่แตกต่างและน่ารับประทานยิ่งขึ้น

 

          “เริ่มจากทำกินในครอบครัว แล้วค่อยพัฒนามาเป็นอาชีพ” นางฝาตีม๊ะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนมโกยเปตที่ดำเนินมากว่า 20 ปี จนเป็นที่รู้จักในนาม “โกยเปตมะหลง” 

 

          ส่วนผสมหลักของขนมโกยเปตประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาล และไข่ไก่ โดยหนึ่งกระปุกจะบรรจุประมาณ 70 แผ่น กำลังการผลิตอยู่ที่วันละ 3-4 กิโลกรัม หรือประมาณ 7 กระปุก โดย 1 กิโลกรัมจะใช้มะพร้าวถึง 4 ลูกและไข่ไก่.  ซึ่งทางร้านเน้นทั้งคุณภาพและปริมาณ

 

          วิธีการทำขนมโกยเปตมีเคล็ดลับอยู่ที่การสังเกตสีของแป้ง หลังจากวางแท่นพิมพ์ลงบนเตาถ่าน ให้รอจนแป้งที่อยู่รอบขอบแท่นพิมพ์เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วจึงรีบยกขึ้นมาพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมทันที จะได้ขนมที่มีสีเหลืองสวย แบน และง่ายต่อการบรรจุลงกล่อง

 

          ขนมโกยเปตของนางฝาตีม๊ะ  เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงเทศกาลฮารีรายา  เนื่องจากทุกบ้านจะต้องซื้อไว้รับรองแขกที่มาเยี่ยมเยียน  แต่ทางร้านยังคงเปิดขายตลอดทั้งปี ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับของฝากหรือของขวัญในโอกาสพิเศษต่างๆ

          ด้านนายสุจริต  ยามาสา  นายก อบต.ฉลุง ยอมรับว่าขนมร้านของนางฝาตีม๊ะ  มีความอร่อยและรักษาคุณภาพของอาหารได้อย่างยอดเยี่ยมจนเป็นที่ขึ้นชื่อ แต่สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อไปคือเรื่องของตราสินค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งทาง อบต. จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมในส่วนนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า นอกจากนี้ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลยังจะช่วยส่งเสริมการขายผ่านช่องทางต่างๆ และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพื่อให้ภาครัฐสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้มากขึ้น

 

          สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อขนมโกยเปตได้ในราคากระปุกใหญ่ และกระปุกเล็ก

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 11 ปีแห่งตำนานไก่ย่างกอและโบราณไม้ละ 5 บาท  อร่อยเท่าเดิม ราคาคงเดิม ท่ามกลางค่าครองชีพพุ่ง

11 ปีแห่งตำนานไก่ย่างกอและโบราณไม้ละ 5 บาท  อร่อยเท่าเดิม ราคาคงเดิม ท่ามกลางค่าครองชีพพุ่ง

          ในยุคที่ราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้น มีร้านเล็กๆ ริมคลอง(เอวหัก)  ม.7 ซอยทรายทอง  ทต.คลองขุด อ.เมืองสตูล แห่งหนึ่งที่ยังคงยืนหยัดขายไก่ย่างไม้ละ 5 บาทมาเนิ่นนานถึง 11 ปี “ร้านสามพี่น้องริมคลองเอวหัก” ของคุณอัญชลี บิลเต๊ะ หรือที่ลูกค้ารู้จักกันในนาม “น้องกิ๊ก” วัย 38 ปี คือตัวอย่างของความมุ่งมั่นที่หาได้ยากในปัจจุบัน

 

         “ขายราคานี้ลูกค้าอยู่ได้ เราก็อยู่ได้” คือคำพูดติดปากของคุณอัญชลี ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาซื้อส่วนใหญ่ก็จะเป็นลูกค้าประจำ และนักเรียน อีกทั้งเป็นผู้ซึ่งใช้อาชีพขายไก่ย่างเลี้ยงดูครอบครัว 6 ชีวิต รวมลูกอีก 4 คน โดยทางร้านเปิดให้บริการวันละสองรอบ ช่วงเช้าตั้งแต่ 06.00-09.00 น. และช่วงบ่ายตั้งแต่ 15.00-18.00 น. (และหยุดทุกวันเสาร์)  ยกเว้นช่วงเดือนรอมฎอนที่จะเปิดขายตอน 14.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด

 

          เมนูยอดนิยมของทางร้านคือ “ไก่ย่างสามรส” ในราคาเพียงไม้ละ 5 บาท และ “ไก่กอและ” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ไก่แดงโบราณ” ในราคาไม้ละ 10 บาท พร้อมข้าวเหนียวห่อละ 5 บาท โดยทั้งหมดมีหอมกระเทียมเจียวโรยหน้าให้เพิ่มความหอม

             คุณอัญชลี  เล่าว่า น้ำราดไก่กอและสุดพิเศษใช้สูตรจากพี่เขยที่จังหวัดตรัง มีส่วนผสมของเครื่องแกง ถั่วลิสง พริกแห้ง ผสมแป้งข้าวโพดเล็กน้อย น้ำตาลทราย และเกลือ ทำให้ได้รสชาติที่หวาน มัน เค็ม และเผ็ดเล็กน้อย ที่สำคัญคือทำสดใหม่ทุกวัน

 

          ทางร้านปรับตัวเข้ากับเทศกาลรอมฎอนด้วยการเพิ่มเครื่องดื่มหลากหลายชนิด ทั้งน้ำพุทรา น้ำกระเจี๊ยบ โอเลี้ยง ชาดำเย็น และน้ำลิ้นจี่ ในราคาเพียงถุงละ 10 บาท

 

          ทุกวันคุณอัญชลีจะเตรียมไก่ย่างวันละประมาณ 10 กิโลกรัม แบ่งเป็นช่วงเช้า 5 กิโลกรัม (ซึ่ง 1 กิโลกรัมสามารถแบ่งได้ประมาณ 60 ไม้ ) โดยชิ้นส่วนที่ขายดีที่สุดคือหนังไก่และเนื้อสะโพก

 

           ป้ายิ้ม ลูกค้าประจำของร้าน กล่าวว่า “ซื้อที่ร้านนี้เป็นประจำเพราะรสชาติอร่อย ราคาถูก ซื้อประจำทั้งเช้าและเย็น”

 

           หากใครสนใจอยากลิ้มลองไก่ย่างราคาประหยัดที่คงราคาเดิมมานานถึง 11 ปี สามารถไปอุดหนุนได้ที่ “ร้านสามพี่น้องริมคลอง” ตั้งอยู่ที่ซอยเอวหัก ริมคลอง. หรือทรายทอง หมู่ 7 เขตเทศบาลตำบลคลองขุดอำเภอเมืองสตูล หรือติดต่อคุณอัญชลีได้ที่ 065-015-0955

…………

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 เกษตรกรสตูลปลูก “ขมิ้นแดงสยาม-ขมิ้นตรัง” แปรรูปด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรไทย

เกษตรกรสตูลปลูก “ขมิ้นแดงสยาม-ขมิ้นตรัง” แปรรูปด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรไทย

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดสตูลยกระดับการเกษตรสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่อำเภอควนโดนปลูกขมิ้นแดงสยามและขมิ้นตรัง พร้อมพัฒนาการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรท้องถิ่น ตอบสนองความต้องการตลาดที่เพิ่มขึ้น

             นางวรรณนภา คงเคว็จ เกษตรอำเภอควนโดน พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอควนโดน และนายสมยศ จิตเที่ยง นายอำเภอควนโดน ร่วมกับ ผศ.กิติศักดิ์ ชุมทอง ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมการปลูกขมิ้นแดงสยามของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอควนโดน ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลากหลายชนิด

           นายเจ๊ะมูสอด สามารถ อายุ 73 ปี เจ้าของพื้นที่ปลูกขมิ้นแดงสยามในพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลควนโดน เปิดเผยว่า ตนได้เริ่มปลูกขมิ้นในพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน ซึ่งสามารถจำหน่ายขมิ้นแดงสยามในราคา 21 บาทต่อกิโลกรัม โดยเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 2-3 เดือน ขมิ้นจะถูกขุดขึ้นมาและทำความสะอาดเพื่อเตรียมแปรรูป ทั้งนี้ การปลูกในกระสอบปุ๋ยและวงล้อรถยนต์ช่วยให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้สะดวกมากขึ้น

          ด้านนางสายฝน นุ่งอาหลี อีกหนึ่งเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นในวงล้อ และลงดิน ที่ปลูกพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลควนสะตอ ได้ขยายพื้นที่ปลูกขมิ้นถึง 5 ไร่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น

         โดยนางสายฝน นุ่งอาหลี  กล่าวว่า  ปลูกขมิ้นทำรายได้เลี้ยงกลุ่มและครอบครัวได้ดี เป็นที่ต้องการที่จะนำไปเป็นสมุนไพรทางการแพทย์ จึงไม่เพียงพอต่อการผลิตแปรรูป รวมทั้งการปลูกขมิ้นใช้พื้นที่น้อยข้างบ้านก็ปลูกได้ ในกระสอบ วงล้อก็ทำได้

           ทางด้านนายฮูสรี  หีมมะหมัด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอควนโดน กล่าวว่า  ได้ให้การสนับสนุนโดยส่งเสริมการแปรรูปขมิ้นด้วยเทคโนโลยีการตากแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลายชนิด เช่น ลูกประคบสมุนไพรราคา 60 บาท น้ำมันเหลืองราคา 80 บาท และยาดมราคา 35 บาท

           นายสมยศ จิตเที่ยง นายอำเภอควนโดน กล่าวว่า “การแปรรูปขมิ้นเป็นสมุนไพรถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงแค่สร้างรายได้ แต่ยังเป็นการสนับสนุนการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ขมิ้นที่ผลิตในพื้นที่มีคุณภาพสูงและส่งไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อการรักษาผู้ป่วย แต่ขณะนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงอยากให้เกษตรกรหันมาปลูกขมิ้นเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดที่กำลังเติบโต”

          ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการปลูกขมิ้นแดงสยามและขมิ้นตรังในพื้นที่อำเภอควนโดน ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นและพลังงานสะอาด สร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และตอบสนองต่อความต้องการผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน

………………………………………………………

Categories
ข่าวทั่วไป

จังหวัดสตูลคัดเฟ้นสุดยอด OTOP เด่น 2568 ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ตลาดระดับประเทศ

สืบสานนวัฒนธรรมอาหารมุสลิมโบราณ  โรตีออลาย!! สามวัยพี่น้องฟื้นชีวิตขนมโบราณรอมฎอน บนเส้นทางสืบสานมรดกปู่ย่าตายาย

ในยุคที่อาหารฟาสต์ฟู้ดและขนมสมัยใหม่กำลังเป็นที่นิยม ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมด้านอาหารของบรรพบุรุษ หนึ่งในนั้นคือ “ขนมโรตีออลาย” หรือ “โรตียาลอ” หรือ “โรตีเส้น” ขนมโบราณที่หาทานได้ง่ายในช่วงเดือนรอมฎอนของพี่น้องชาวไทยมุสลิม

รสชาติแห่งประวัติศาสตร์ที่ส่งต่อ   โรตีออลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยส่วนผสมที่เรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า ประกอบด้วยแป้งหมี่ 1 กิโลกรัม ไข่ไก่ 2 ฟอง เกลือ 1 ช้อนชา และน้ำสะอาด 1 ลิตร ขนมนี้มีให้เลือกสองสี คือสีธรรมชาติของแป้งและสีเขียวจากใบเตย

กรรมวิธีการทำที่พิถีพิถันเริ่มจากการละเลงแป้งบนกระทะร้อนที่เคลือบน้ำมันเล็กน้อย หมุนวนเป็นลวดลายคล้ายดอกไม้อย่างสวยงาม จนแป้งเกาะตัวกันเป็นแผ่นบาง ก่อนนำขึ้นจากเตาและพับใส่กล่อง บรรจุ 8 ชิ้นต่อกล่อง

ด้วยรสชาติที่ลงตัวทำให้   โรตีออลายนิยมรับประทานคู่กับน้ำจิ้มสองแบบตามความชอบ คือ แกงถั่วผสมแกงตอแมะไก่ หรือกะทิหวาน ในขณะที่ลูกค้าวัยรุ่นมักนิยมรับประทานคู่กับนมข้นหวานมากกว่า แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของขนมโบราณให้เข้ากับรสนิยมของคนรุ่นใหม่

นางสาวสุจิตรา  ชูแก้ว  อายุ 38 ปี พร้อมน้อง ๆ  นางสาวสุทารินทร์  ชูแก้ว อายุ 18 ปี ทายาทผู้สืบทอดขนมโบราณ บอกว่า  ชวนพี่น้องสามวัย  มาร่วมกันสืบสานสูตรขนมโบราณที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย พวกเขาไม่เพียงแค่รักษามรดกทางวัฒนธรรม แต่ยังชวนครอบครัวและญาติพี่น้องมาร่วมกันทำขนมเพื่อจำหน่าย สร้างงานและรายได้ในช่วงเดือนรอมฎอน

ทางร้านผลิตขนมโรตีออลายวันละประมาณ 2 กิโลกรัม และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเดือนรอมฎอน โดยยึดมั่นในการปรุงอาหารสดใหม่และเปิดโอกาสให้ลูกค้าโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้เห็นกรรมวิธีการทำขนมโบราณ เพื่อสืบสานต่อไป

แหล่งจำหน่าย  ผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อขนมโรตีออลายได้ที่ตลาดรอมฎอน เทศบาลเมืองสตูล บริเวณรอบมัสยิดมำบัง ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล ในราคากล่องละ 20 บาท พร้อมน้ำจิ้มให้เลือกสองแบบ

นางสาวนุตเราะห์   ชัยยะวิริยะ  ลูกค้าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ (ผอ.กองศึกษาอบจ.สตูล) ยอมรับว่า  ดูวิธีการทำแล้วน่าซื้อหาไปรับประทานในช่วงละศีลอดนี้  ทั้งแม่ค้าคนรุ่นใหม่มาช่วยกันสืบสานขนมโบราณยิ่งทำให้อยากช่วยกันอุดหนุน และที่ตลาดรอมฏอนแห่งนี้ก็ยังมีอาหารที่น่าสนใจซื้อหารับประทานได้อย่างหลากหลายด้วย

เรื่องราวของขนมโรตีออลายและเจ้าของร้านสามวัยพี่น้องนี้ เป็นตัวอย่างอันดีของการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารโบราณ ควบคู่ไปกับการสร้างอาชีพและรายได้ พิสูจน์ให้เห็นว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและมรดกทางวัฒนธรรมยังคงมีคุณค่าและสามารถอยู่ร่วมกับยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน

……………………………………

Categories
ข่าวทั่วไป

สืบสานนวัฒนธรรมอาหารมุสลิมโบราณ  โรตีออลาย! สามวัยพี่น้องฟื้นชีวิตขนมโบราณรอมฎอน บนเส้นทางสืบสานมรดกปู่ย่าตายาย

สืบสานนวัฒนธรรมอาหารมุสลิมโบราณ  โรตีออลาย!! สามวัยพี่น้องฟื้นชีวิตขนมโบราณรอมฎอน บนเส้นทางสืบสานมรดกปู่ย่าตายาย

ในยุคที่อาหารฟาสต์ฟู้ดและขนมสมัยใหม่กำลังเป็นที่นิยม ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมด้านอาหารของบรรพบุรุษ หนึ่งในนั้นคือ “ขนมโรตีออลาย” หรือ “โรตียาลอ” หรือ “โรตีเส้น” ขนมโบราณที่หาทานได้ง่ายในช่วงเดือนรอมฎอนของพี่น้องชาวไทยมุสลิม

รสชาติแห่งประวัติศาสตร์ที่ส่งต่อ   โรตีออลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยส่วนผสมที่เรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า ประกอบด้วยแป้งหมี่ 1 กิโลกรัม ไข่ไก่ 2 ฟอง เกลือ 1 ช้อนชา และน้ำสะอาด 1 ลิตร ขนมนี้มีให้เลือกสองสี คือสีธรรมชาติของแป้งและสีเขียวจากใบเตย

กรรมวิธีการทำที่พิถีพิถันเริ่มจากการละเลงแป้งบนกระทะร้อนที่เคลือบน้ำมันเล็กน้อย หมุนวนเป็นลวดลายคล้ายดอกไม้อย่างสวยงาม จนแป้งเกาะตัวกันเป็นแผ่นบาง ก่อนนำขึ้นจากเตาและพับใส่กล่อง บรรจุ 8 ชิ้นต่อกล่อง

ด้วยรสชาติที่ลงตัวทำให้   โรตีออลายนิยมรับประทานคู่กับน้ำจิ้มสองแบบตามความชอบ คือ แกงถั่วผสมแกงตอแมะไก่ หรือกะทิหวาน ในขณะที่ลูกค้าวัยรุ่นมักนิยมรับประทานคู่กับนมข้นหวานมากกว่า แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของขนมโบราณให้เข้ากับรสนิยมของคนรุ่นใหม่

นางสาวสุจิตรา  ชูแก้ว  อายุ 38 ปี พร้อมน้อง ๆ  นางสาวสุทารินทร์  ชูแก้ว อายุ 18 ปี ทายาทผู้สืบทอดขนมโบราณ บอกว่า  ชวนพี่น้องสามวัย  มาร่วมกันสืบสานสูตรขนมโบราณที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย พวกเขาไม่เพียงแค่รักษามรดกทางวัฒนธรรม แต่ยังชวนครอบครัวและญาติพี่น้องมาร่วมกันทำขนมเพื่อจำหน่าย สร้างงานและรายได้ในช่วงเดือนรอมฎอน

ทางร้านผลิตขนมโรตีออลายวันละประมาณ 2 กิโลกรัม และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเดือนรอมฎอน โดยยึดมั่นในการปรุงอาหารสดใหม่และเปิดโอกาสให้ลูกค้าโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้เห็นกรรมวิธีการทำขนมโบราณ เพื่อสืบสานต่อไป

แหล่งจำหน่าย  ผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อขนมโรตีออลายได้ที่ตลาดรอมฎอน เทศบาลเมืองสตูล บริเวณรอบมัสยิดมำบัง ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล ในราคากล่องละ 20 บาท พร้อมน้ำจิ้มให้เลือกสองแบบ

นางสาวนุตเราะห์   ชัยยะวิริยะ  ลูกค้าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ (ผอ.กองศึกษาอบจ.สตูล) ยอมรับว่า  ดูวิธีการทำแล้วน่าซื้อหาไปรับประทานในช่วงละศีลอดนี้  ทั้งแม่ค้าคนรุ่นใหม่มาช่วยกันสืบสานขนมโบราณยิ่งทำให้อยากช่วยกันอุดหนุน และที่ตลาดรอมฏอนแห่งนี้ก็ยังมีอาหารที่น่าสนใจซื้อหารับประทานได้อย่างหลากหลายด้วย

เรื่องราวของขนมโรตีออลายและเจ้าของร้านสามวัยพี่น้องนี้ เป็นตัวอย่างอันดีของการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารโบราณ ควบคู่ไปกับการสร้างอาชีพและรายได้ พิสูจน์ให้เห็นว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและมรดกทางวัฒนธรรมยังคงมีคุณค่าและสามารถอยู่ร่วมกับยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน

……………………………………