Categories
ข่าวเด่น

สตูล ปปช.ลงตรวจสอบโรงแพะ หลังถูกทิ้งร้างนาน 14 ปี

         วันที่ 1 มิ.ย.2566  ภายหลังทราบข่าวจากสื่อโซเชียล  เพจ หมาเฝ้าบ้าน กรณี โรงฆ่าแพะที่จังหวัดสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างเหลือแต่โครงสร้าง นานนับ 10 ปี   ทางด้าน ปปช.จังหวัดสตูล นำโดยนายธนกฤต  เลิศวิริยวรางกูร  ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  พร้อมเจ้าหน้าที่  ร่วมกับนายประสงค์  เรืองสวัสดิ์  ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ลงตรวจสอบจุดก่อสร้างพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.ควนโพธิ์  อ.เมือง  จ.สตูล   หลังเข้าประชุมรับทราบปัญหาจากปศุสัตว์จังหวัด  ก่อนลงพื้นที่จริงพบสภาพโรงฆ่าแพะ   เป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถสุขภัณฑ์ไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น 

          ด้าน  นายธนกฤต  เลิศวิริยวรางกูร  ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  กล่าวว่า  โครงการนี้เกิดจากงบประมาณไทยเข้มแข็ง  ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง  ในพื้นที่ตำบลควนโพธิ์ ตรงนี้เป็นการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์  พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ  หลังจากได้ดำเนินการ  มีประเด็นเรื่องของไฟฟ้า และน้ำ ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในตัวโครงการทำให้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ  ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้   ที่มาในวันนี้พบมีการร้องเรียนในเพจ หมาเฝ้าบ้าน  การลงทุนภาครัฐไม่ก่อประโยชน์  ก่อสร้างแล้วทิ้งร้าง  ไม่สามารถดำเนินการได้   ทางสำนักงานปปช.ได้ประสานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง คือปศุสัตว์จังหวัด  และสำนักงานจังหวัดสตูล เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง ถึงที่มาของโครงการ หลังจากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จนี้  ได้มีการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ในเบื้องต้นเท่าที่ประเมิน สภาพพื้นที่ค่อนข้างได้รับความเสียหายมาก  วันนี้สำนักงานปปช.จะไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป  สิ่งที่จะฝากไว้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การที่จะบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้โครงการนี้สามารถ ดำเนินการได้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ดำเนินการต่อไป

        ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  กล่าวอีกว่า  สำหรับเบาะแสการทุจริต  เบื้องต้นตอนนี้ยังระบุไม่ได้ เท่าที่ทราบ มีในเรื่องของการเข้าใจของเจ้าหน้าที่ เรื่องการส่งมอบโครงการ และการบำรุงดูแลรักษา ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบถามข้อเท็จจริง ว่าเป็นอย่างไรบ้างซึ่งต้องใช้เวลา มูลค่าความเสียหายถ้าประเมินในเบื้องต้น ที่โครงการก่อสร้างในเบื้องต้นก่อน  แต่จริงๆความเสียหายอาจจะมากกว่านี้ อย่าลืมว่าประโยชน์ที่ได้จากโครงการนี้ในระยะเวลา 10 กว่าปี มันต้องมาประเมินว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน     

            นายประสงค์  เรืองสวัสดิ์  ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  กล่าวถึงโครงการดังกล่าวนี้ว่า  เป็นโครงการใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด  ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2553  มี 2 จุดคือ  จุดนี้เป็นโรงฆ่าแพะ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง  ส่วนอีกจุดเป็นโรงฆ่าวัว ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอละงู   โครงการดังกล่าวประโยชน์มีเยอะ  เพราะปัจจุบันก็มีเกษตรกร  ผู้ประกอบการที่จะขออนุญาติเปิด  แสดงว่าเป็นความต้องการของพื้นที่  เจ้าหน้าที่ซึ่งทำโครงการในรอบนั้น  ทางกรมปศุสัตว์ก็มีนโยบายที่จะยกระดับอาหารที่ปลอดภัยมาจากโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน  การชำแหละต้องฆ่าในโรงฆ่าซึ่งมีสัตวแพทย์ตรวจควบคุมโรค  ดูแลในเรื่องการปล่อยเนื้อออกสู่ผู้บริโภคต้องมาจากโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน  ปลอดภัย  ในตอนนี้รัฐก็อยากให้มีโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน 

         แต่ทีนี้เรื่องการก่อสร้าง ที่สร้างเสร็จก็ไม่สามารถดำเนินการส่งมอบ หรือขอให้ภาคท้องถิ่นมารับช่วยต่อได้เนื่องจากว่า  งบประมาณโดยตัดในเรื่องค่าสาธารณูปโภค  ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปา  ซึ่งโรงงานตรงนี้ถ้าไม่มีไฟฟ้า และประปา  ก็ทำไม่ได้  ในส่วนนี้ทางปศุสัตว์ได้ทำเรื่องของบประมาณไฟฟ้าและน้ำประปามาตลอด  กระทั่งค้นเอกสารพบ ในปี 2557  ก็ยังมีการร้องขอประเมินจัดทำไฟฟ้าอยู่ตลอด  ซึ่งทางปศุสัตว์ก็พยายามจะทำให้ดำเนินการได้ 

          ทั้งนี้   สำหรับ โครงการก่อสร้างโรงผลิตแพะเนื้อมาตรฐานพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 15,150,000 บาท ระยะเวลาโครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2553  ตั้งอยู่ในพื้นที่  ม.2 ต. ควนโพธิ์ อ.เมืองสตูล จ.สตูล  และ 2.โครงการก่อสร้างโรงฆ่าโคพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 17,150,000 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ.2552-2553  ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.12 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล  รวม 2 โครงการ 32 ล้าน 3 แสนบาท

        สำหรับโรงฆ่าโค ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอละงู นั้น สภาพค่อนข้างสมบูรณ์  ปิดกุญแจแน่นหนา  เสื่อมไปตามกาลเวลา  ที่พบสภาพชำรุดมีเพียงห้องน้ำเท่านั้น   

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี 

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี  ชาวบ้านขาดโอกาส  ผู้นำท้องถิ่นพร้อมรับการถ่ายโอนสานต่อเพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์

จากกรณีเพจ  “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน”  ตีแพร่โรงฆ่าแพะสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างนานนับปีอยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้น 

(วันที่ 30 พ.ค.2566)  ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์  อำเภอเมืองสตูล  จุดที่มีการชี้เป้าพบว่าเป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถส้วมไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

            นายเนาะ  หนูชูสุข  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล  ยอมรับว่า  อาคารดังกล่าวไว้ใช้สำหรับเป็นโรงเชือดแพะที่มีมาตรฐานของอำเภอเมืองสตูล ขณะที่มีการเปิดอาคารใหม่ๆ ตนได้มาดูขณะนั้นยังไม่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อาคารนี้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบเหมาะกับการใช้เป็นโรงเชือด แต่วันเวลาผ่านไปขณะที่ตนมารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ 2 ปีพบปัญหาขโมยโจรลักทรัพย์ในอาคารนี้บ่อยครั้ง  จนปัจจุบันก็เหลือแต่ซากโครงอาคาร  เพราะหัวขโมยแม้จะถูกจับได้  แต่เมื่อมีการทราบข่าวว่าปล่อยทิ้งร้างก็มีขโมยจากพื้นที่ต่างถิ่นมาขนออกไปชิ้น สองชิ้นเหลือตามสภาพที่เห็น    ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายที่ยังไม่ทันใช้ประโยชน์อะไรเลย  และไม่รู้ว่าใครคือหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจำนวนมาก  ที่มากองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  ก็อยากให้ส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรื้อฟื้นให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ

            จากนั้นสื่อได้ลงไปสอบถามความจริงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์   โดยมีนายบุญมา  โดยพิลา  นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวกับสื่อว่า  อาคารดังกล่าวที่เป็นโรงเชือดแพะไม่ได้อยู่ในความดูแลของทางอบต.แต่อย่างใด  พร้อมเปิดเผยว่า  ได้พยายามติดต่อไปยังธนารักษ์ และปศุสัตว์ พบว่าเป็นงบพัฒนาจังหวัดที่ลงมาที่ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ประมาณต้นปี 2551-2552 และมีการโอนอาคารทรัพย์สินไปที่ธนารักษ์  หลังจากได้รับตำแหน่งนายกฯประมาณปี 2565 ได้เดินเรื่องขออาคารทรัพย์สินดังกล่าวมาอยู่ในความดูแลของอบต.แต่ติดขัดที่ระเบียบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้

          นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  ยอมรับว่าพบว่ามีขโมยเข้ามาลักเล็กขโมยน้อย  ทางอบต.ยังไม่สามารถเป็นเจ้าทุกข์แจ้งความได้  เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว  ยอมรับว่าเสียดายที่ชาวตำบลควนโพธิ์  ไม่เฉพาะชาวจังหวัดสตูล  และชาวภาคใต้ทุกคนที่เสียโอกาสไม่สามารถใช้อาคารนี้ได้   เพราะเจตนารมณ์ของอาคารนี้ต้องการเป็นโรงเชือดแพะแห่งแรกของภาคใต้ที่ได้รับมาตรฐานส่งออก  จากมูลค่าอาคารและอุปกรณ์ทรัพย์สินประมาณ 2 ล้าน 7 แสนบาทที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  มาวันนี้ทางท้องถิ่นเองก็พร้อมจะรับการถ่ายโอนมาต่อยอดเพราะแพะคือสัตว์เศรษฐกิจของพื้นที่  หรือจะปรับเป็นอาคารสร้างสุขภาพให้ชาวบ้านตำบลควนโพธิ์ต่อไป  พร้อมรับเป็นเรื่องดีที่มีการตีแพร่ประเด็นนี้จะได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์

เปิดวิสัยทัศน์นายกฯดีกรีปริญญาโท  กับยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนควนโดนสู่เมืองอัจฉริยะ

เปิดวิสัยทัศน์นายกฯดีกรีปริญญาโท  กับยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนควนโดนสู่เมืองอัจฉริยะ

ทรัพยากรในพื้นที่ท้องถิ่นๆต่างมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่  ส่วนพื้นที่ไหนที่มีทั้งทรัพยากร  และมีผู้นำที่มีองค์ความรู้  มีความสามารถดึงจุดแข็งออกมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ ถือสุดยอด   ฉบับนี้ทางทีมงานมีโอกาสพูดคุยกับนายกฯริส  “วริศ  มาลินี”   แห่งอบต.ควนโดน  ที่เป็นลูกหลานชาวควนโดน  จ.สตูล โดยกำเนิด  ดีกรีทั้งด้านการศึกษาและการทำงานถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว  เพราะทุกก้าวเดินคือการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพ

          นายกฯริส จบปริญญาตรีถึง 2 ใบ จบคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์  และ จบปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์  สาขาการจัดการงานสาธารณะ (Public Management) ม.รามคำแหง  อีกด้วย  นอกจากนี้ยังได้รับใบอนุญาตว่าความ  สำนักสภาทนายความ  ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial Services Attorney) และเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของบริษัท 

          ส่วนการทำงานก่อนจะมาเป็นนายกฯ ดูแลพี่น้องประชาชนชาวควนโดน  นั้น ท่านเคยทำงานบริษัทในธุรกิจลอจิสต์ติก  เป็นเวลาหลายปีทั้งบริษัทของอเมริกัน เกาหลี ญี่ปุ่น  ในระดับปฏิบัติการ และระดับผู้บริหาร  มีความเชี่ยวชาญด้านลอจิสติก และที่ปรึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศ

@ มองพื้นที่ตำบลควนโดนเป็นอย่างไรบ้าง ควรเดินไปในทิศทางไหนถึงจะเหมาะกับบริบทของพื้นที่

            สำหรับพื้นที่อำเภอควนโดน   มีศักยภาพต้นทุนทางธรรมชาติหลายอย่าง  ซึ่งต้องการคนมาพัฒนาพื้นที่เป็นโจทย์อย่างหนึ่งในการเข้ามาทำงานการเมืองสำหรับผม   เช่น   การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ   การผลักดันวิสาหกิจชุมชนให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มเติม   การค้าขายออนไลน์   ซึ่ง  ณ ปัจจุบันผมได้เข้าร่วม โครงการสมาร์ท ซิตี้ ร่วมกับ depa (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัล)  เพื่อพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะในบริบทของอำเภอควนโดน   เช่น   เรื่องการค้าออนไลน์   โดยสินค้าชายแดนมีตัวเลข  จากบริษัทขนส่งออนไลน์  ว่ามีสินค้าออกจากอำเภอควนโดนไปเยอะแยะมากมาย    ซึ่งผมต้องพัฒนาตรงนี้  โดยผ่านแพลตฟอร์มของบริษัทที่ร่วมทำงานกัน ณ วันนี้ต่อไปข้างหน้าอีกสามเดือน   เพื่อให้จบโปรเจ็ค  เป็นการทำโปรเจค “ควนโดนโดนใจ”   เฟ้นหาสุดยอดไอเดียของเยาวชน   เพื่อมาพัฒนาเป็นเป็นแอพพลิเคชั่น ในแพลตฟอร์มต่างๆ  ในการพัฒนาพื้นที่เมืองตอบโจทย์แก้ปัญหาของเมือง  โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหานั้น

           ส่วน  ทิศทางการเดินของควนโดนต้องนำรายได้เข้ามา  โดยผ่านการท่องเที่ยว  และนำเงินจากข้างนอกเข้ามา   การซื้อสินค้าจากภายในออกไปด้านนอก   นี่คือโจทย์  สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนต้องขายออกไป  สินค้าจีไอ  เช่น  จำปาดะต้องพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์   เพื่อส่งขายออกไปต่างจังหวัดต่างประเทศต่อไป   สินค้ากระท้อนซึ่งเป็นพืชจีไอเช่นกัน   จะมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป  หรือผลขายสด   แต่ทุเรียน  เงาะ มังคุด   ลองกอง  ก็ต้องพัฒนาต่อยอดขายออกไปยังพื้นที่ข้างนอก  เพื่อนำรายได้เข้าสู่พี่น้องประชาชน   และสินค้าอื่นในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนก็เพิ่มพื้นที่ในการพัฒนาเพิ่มขึ้น  เพื่อต่อยอดสินค้าเหล่านี้ให้อยู่ในตลาดและรู้จักในวงกว้างต่อไป

@ มีเรื่องอะไรอีกที่ต้องผลักดันต่อไป?

           เรื่องที่ต้องผลกดันคือเรื่องเยาวชน   ให้เกิดการเรียนรู้เป็นสมาร์ทซิตี่เกี่ยวกับ learning ชุมชน  สังคม  แห่งการเรียนรู้  รวมถึงการพัฒนาอาชีพเพื่อหารายได้   การเรียนรู้เพื่อประกอบอาชีพ   การเรียนรู้ในด้านศาสนา   การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเมือง   พัฒนาสังคมต่อไป   ไม่ว่าเรื่องเทคโนโลยี   เรื่ององค์ความรู้ทางสังคมที่จะมาพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นไป

@ สุดท้ายมองว่านักการเมืองน้ำดีเป็นอย่างไร  และอยากฝากถึงคนรุ่นใหม่อย่างไรบ้าง

          นักการเมืองน้ำดี   คือทุกๆกระบวนการคิด   การกระทำ   ต้องคิดเพื่อสังคม   ทำเพื่อสาธารณะ   เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง   มีโจทก์มีเป้าหมายในการเดิน   เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะสูงสุด   ทุกๆกิจกรรมให้คิดถึงประชาชนเป็นที่ตั้ง   ทุกองค์ความรู้ที่สรรหามา  ทุกการอบรม  เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสังคม   ไม่ว่าด้านโครงสร้างพื้นฐาน   ด้านอาชีพ  ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม   ทุกๆเรื่องขอให้บูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง   และหน่วยงานระดับภูมิภาค   เพื่อให้งานตามฟังชั่น หน่วยงานภูมิภาคได้ขับเคลื่อนเต็มศักยภาพ   และหน่วยงานท้องถิ่นคอยซัพพอร์ต   เพื่อให้กระบวนการแก้ไขปัญหากับพี่น้องประชาชนเดินหน้าต่อไปเต็มศักยภาพ   และมีประสิทธิภาพสูงสุด  สุดท้ายแล้วผลประโยชน์ก็จะตกกับพี่น้องประชาชน   

 

         ผมเข้ามาทำงานเกือบจะสองปีแล้ว   ยังเหลือเวลาอีกสองปีกว่า   ก็มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่อไป   และบางปัญหาต้องใช้เวลา   ใช้งบประมาณ   ใช้ทรัพยากร   เพื่อพัฒนาพื้นที่   ก็ขอฝากให้กับทีมงานให้ทุกท่าน   ได้ร่วมกันทั้งเรื่องของกระบวนการคิด   จะลงมือทำ   เพื่อพัฒนาบ้านเมืองของเราต่อไปให้เกิดประโยชน์สูงสุด

……………………………..

 

 

 

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023 จัดโดยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

         สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  จัดการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นระดับภูมิภาค (Regional Seminar) ในหัวข้อ “ความอยู่รอดของสื่อออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” หรือ Survival of Online News Providers in the Changing World เป็นการรวมตัวกันของตัวแทนผู้ผลิตสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่มาร่วมแลกเปลี่ยน หารือเกี่ยวกับปัญหา สถานการณ์และแนวทางการทำธุรกิจสื่อออนไลน์ในภูมิภาคนี้ โดยได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส และถ่ายทอดสดออนไลน์ทางเฟซบุ๊กสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ www.fb.com/SONPThai และไทยพีบีเอส www.fb.com/ThaiPBS

 

        นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำว่า  ภูมิทัศน์สื่อในภูมิภาคอาเซียนปรับเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะพฤติกรรมผู้รับสารที่ปรับเปลี่ยนไปโดยเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Key Opinion Leader  หรืออินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับข่าวสารเป็นอย่างมาก ดังนั้นสื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมงานจะสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด พร้อมทั้งเสนอแนวทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตสื่อที่เน้นถึงคุณภาพของคอนเทนต์  ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางในการสร้างโมเดลธุรกิจ สำหรับหารายได้ให้องค์กรสื่อมีความยั่งยืนทางธุรกิจ  โดยในงานนี้ได้สรุปถึงที่มาและภาพรวมของพัฒนาการของอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียน โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งสมาคมฯ อีกด้วย

 

       การสัมมนาดังกล่าว ได้เชิญตัวแทนจากสื่อออนไลน์ชื่อดังในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว   ร่วมหารือใน 3 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อที่ 1 “กลยุทธ์ด้านเนื้อหา (Content Strategy)” นำเสนอการพัฒนาการนำเสนอเนื้อหาและกลยุทธ์ในมุมมองใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน โดย Min Thaw Htut, Executive Director of Eleven Media Group เมียนมาร์,  Thong Sovan Raingsey, General Director of Koh Santepheap Media จากกัมพูชา และ Somsack Pongkhao, News Editor of Vientiane Times จากลาว หัวข้อที่ 2 “โมเดลธุรกิจ (Business Model)” ศึกษาสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่อย่างไร เพื่อดึงดูดผู้อ่านและผู้ชมมากขึ้น ในขณะที่แพลตฟอร์มทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ร่วมเสวนาโดย Do Min Thu  Executive,  VietnamPlus Online News จากเวียดนาม , Rosette Santillan Adel, Online Writer/Editor of Philstar.com  จากฟิลิปปินส์ และ Adek Media Roza Ph.D .Director of Katadata Insight Center จากอินโดนีเซีย  โดยทั้งสองหัวข้อ ร่วมดำเนินรายการเสวนาโดย น.ส.ณัฎฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวนการ Thai PBS World จาก Thai PBS  และหัวข้อที่ 3  “โอกาสการสร้างรายได้ (Monetization Opportunity)” โอกาสใหม่ ๆ และการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ของการหารายได้ที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดย  Chia Ting Ting,  Chief Commercial Officer Malaysiakini จากมาเลเซีย และนายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  ดำเนินรายการโดย น.ส.ธันย์ชนก จงยศยิ่ง บรรณาธิการ TNN World

 

         ตัวแทนสื่อจากมาเลเซียกล่าวว่า สื่อ ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด การกำหนดจุดยืนของแบรนด์ในระดับโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสื่อจำนวนมากลงไปแข่งขันในระดับนานาชาติ นอกจากนั้น สื่ออาจต้องเน้นให้บริการลูกค้าในด้านการบริหารชื่อเสียง การให้คำแนะนำด้านการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า รวมทั้งการให้ความรู้กับสาธารณชนด้วย  การจำแนกฐานลูกค้า การเข้าใจลูกค้าแบบลึกซึ้ง การเข้ากันได้แบรนด์ลูกค้ากับสื่อของเราก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเช่นเดียวกัน

        ขณะที่ตัวแทนจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่า “สื่อต้องหากลุ่มเฉพาะของตัวเองให้เจอ ส่วนเนื้อหาที่ Google ต้องการในปัจจุบัน  คือเรื่องเกี่ยวกับการให้ความหวัง สุขภาพจิต สิ่งแวดล้อม และการข่มขู่คุกคามจะได้รับการผลักดันมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

         ตัวแทนสื่อจากลาว กล่าวว่า ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 สื่อมวลชนลาวต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อความอยู่รอด แต่เดิมหารายได้จากการขายพื้นที่โฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องปรับตัวหารายได้จากออนไลน์ โดยผู้บริโภคข่าวสารในลาวที่รับข่าวสารผ่านระบบออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

        ตัวแทนจากเมียนมาร์ กล่าวว่า ภายในประเทศยังคงมีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด จนทำให้สื่อหลาย ๆ รายต้องปิดตัวลง เป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวพม่าต้องใช้ VPN ในการเข้าถึงเนื้อหาที่ถูกปิดกั้น สื่อมวลชนพม่าจำนวนมากถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และกักขังจากการเสนอเนื้อหาหรือความจริงที่ไม่ถูกใจรัฐ แม้จะยากลำบากในการทำสื่อขนาดไหน ทางตัวแทนพม่าได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ถึงแม้คุณจะถูกห้ามไม่ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำเรื่องไม่ดีแทน”

        ด้านตัวแทนจากกัมพูชา ให้คำแนะนำว่า “การแบ่งกลุ่มชุดเนื้อหาให้เหมาะกับกลุ่มเฉพาะ (Niche) เป็นสิ่งที่ควรทำ การทำข่าวในปัจจุบันเป็นเรื่องที่เน้นความเร็ว และควรมีความครอบคลุมหลากหลายกลุ่มผู้ชม และเห็นว่า COVID-19 ได้กระตุ้นให้สื่อต้องปรับกลยุทธ์อย่างมากเพื่อความอยู่รอด

        ตัวแทนจากฟิลลิปปินส์ กล่าวว่า สื่อมวลชนนำเสนอคอนเทนต์ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าการเมือง สังคม กีฬา ในช่วงนี้สื่อจะผลิตเนื้อหาที่สั้นลงให้เข้ากับพฤติกรรมผู้รับสาร และเน้นไปที่การนำเสนอแบบไลฟ์สด หรือ Real Time โดยเนื้อหาที่ครองใจคนได้ คือเนื้อหาที่มีทั้งภาพและเสียง ( Visualization)  พร้อนแนะนำว่า การทำคอนเทนต์ให้ตรงใจกับผู้รับสารจะเป็นประโยชน์กับตัวสำนักข่าวเอง ส่วนการที่จะไปต่อสู้กับโซเชียลมีเดีย หรือเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ องค์กรสื่อเองต้องมีความน่าเชื่อถือและทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้ายามของสังคม รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน

         ตัวแทนจากอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจว่า “การหาทุนในการทำข่าวเชิงลึกเป็นเรื่องที่ยาก สื่อต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน อีกทั้งสื่อยังต้องมีการคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจก่อนการผลิตเนื้อหา ไม่เช่นนั้นการหารายได้จะลำบากอย่างยิ่ง”  

        นอกจากนี้ยังได้จัดการสนทนาแบบ Roundtable ในหัวข้อ “The Future of News Website in ASEAN” โดยเปิดโอกาสให้วิทยากรทั้งหมด ​ได้แสดงความคิดเห็นและถาม-ตอบร่วมกับผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คน

          ผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), มูลนิธิเอสซีจี,  สายการบินไทยแอร์เอเชีย, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ทั้งนี้สามารถติดตามชมบรรยากาศและเนื้อหาตลอดการประชุมย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/SONPThai และ YouTube Thai PBS : ช่วงที่ 1 http://youtu.be/9jpqD9eFJok , ช่วงที่ 2 https://youtu.be/ylM3Ql03LBY

 

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

สตูล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ชวนส่องนกอพยพ และ นกประจำถิ่น หลากชนิดกว่า 5,000 ตัวหนีหนาวอวดโฉมรับปีใหม่

สตูล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ชวนส่องนกอพยพ และ นกประจำถิ่น หลากชนิดกว่า 5,000 ตัวหนีหนาวอวดโฉมรับปีใหม่

ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  “หนองปลักพระยา เขาระยาบังสา”  ตำบลฉลุง   อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  เป็นห้วงที่มีการอพยพของนกต่างถิ่นหนีหนาวมาจากซีกโลกเหนือ   อพยพมาอยู่ที่นี่กันเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นเขตอบอุ่นและมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ  โดยเฉพาะนกเป็ดแดง   นกอ้ายงั่ว   นกอีโก้ง   นกกระสา   และกลุ่มนกยางชนิดต่างๆ

          โดยเฉพาะนกเป็ดแดงที่อพยพมาจำนวนมากและนกนานาชนิดรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ตัว   ที่มาอวดโฉมให้เห็นในห้วงเดือน ก.ย.- ส.ค.ของทุกปี   ทำให้บรรดานักส่องนกทั้งมือเก่าและมือใหม่   จะเดินทางมาชมนกที่นี่กันเป็นจำนวนมาก  ที่นี่มีความพิเศษที่ไม่ได้มีเฉพาะหนองน้ำเท่านั้น    ที่นี่ยังมีภูเขาและมีนกหายากให้ชม   อย่างนกประจำถิ่น “นกทึดทือพันธุ์เหนือ”   เป็นตระกูลนกเค้าแมวและเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่า  “หนองปลักพระยา เขาระยาบังสา” ที่หาดูได้ยากแต่สามารถหาดูได้ที่นี่ที่มีประชากร 10 ตัว

นายชุติพงค์   พลวัฒน์ 

          นายชุติพงค์   พลวัฒน์   นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ  หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา  กล่าวว่า  สำหรับนกประจำถิ่นที่หาชมได้ยากแต่มีที่นี่คือนกทึดทือพันธุ์เหนือ  เป็นตระกูลนกเค้าแมวและเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปักพญา หาดูได้ยากและเป็นนกประจำถิ่น    สำหรับนักดูนกที่สนใจจะมาทำกิจกรรมที่นี่สามารถดูได้ตลอดทั้งปี หากจะดูนกอพยพก็สามารถมาดูได้ในห้วงเดือนกันยายนถึงเมษายนของทุกปีสามารถเข้ามาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุปกรณ์ต่างๆก็มีบริการให้สำหรับนักท่องเที่ยว 

และในห้วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทางกรมอุทยานฯ มอบให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า“หนองปลักพระยา  เขาระยาบังสา” จะมีบริการน้ำดื่ม  กาแฟ  และความปลอดภัย  ให้กับนักท่องเที่ยวรวมถึงการงดจัดเก็บการเข้ามาใช้บริการ 31 -1 มกราคม  2566

และในห้วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทางกรมอุทยานฯ มอบให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า“หนองปลักพระยา  เขาระยาบังสา” จะมีบริการน้ำดื่ม  กาแฟ  และความปลอดภัย  ให้กับนักท่องเที่ยวรวมถึงการงดจัดเก็บการเข้ามาใช้บริการ 31 -1 มกราคม  2566

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

วันงดสูบบุหรี่โลก สตูลประกาศให้ 2 ท่าเทียบเรือสำคัญระหว่างประเทศและท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ยกระดับมาตราฐานท่าเรือสู่นานาชาติ

วันงดสูบบุหรี่โลก สตูลประกาศให้ 2 ท่าเทียบเรือสำคัญระหว่างประเทศและท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ยกระดับมาตราฐานท่าเรือสู่นานาชาติ

ที่ห้องประชุมตำรวจน้ำจังหวัดสตูล   นางสาวพัชรี  เกิดพรม  ผู้ทรงคุณวุฒิควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดสตูล , ศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดสตูล  , องค์กรงดเหล้าสูบบุหรี่ที่จังหวัดสตูล  ร่วมเป็นสักขีพยาน  การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)  ในการดำเนินการให้ท่าเรือตำมะลัง เป็นท่าเรือปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย

          โดยนายเสรี  พงศ์นฤเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล  ได้รับมอบหมายจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)  ในการดำเนินการให้ท่าเรือตำมะลัง เป็นท่าเรือปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ สถานที่ท่าเรือตำมะลัง เป็นสถานที่สาธารณะที่มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 

โดยหน่วยงานที่ร่วมลงนามประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูลด่านศุลกากรสตูล  ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล ตำรวจน้ำ 3 กองกำกับการ 9 กองบังคับการตำรวจน้ำ   ด่านตรวจสัตว์ป่า  ด่านตรวจคนหางาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5  ด่านกักกันสัตว์  ห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ คอนสตรัคชั่น 

          ส่งผลให้ท่าเทียบเรือในจังหวัดสตูล ถูกประกาศเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่แล้วจำนวน 2 แห่ง  โดยแห่งแรกได้ถูกประกาศขึ้นที่ท่าเทียบเรือปากบารา (ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือท่องเที่ยวสำคัญที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยือนจังหวัดสตูล)  และแห่งที่ 2 คือท่าเทียบเรือตำมะลัง (ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศไทยจังหวัดสตูล เกาะลังกาวีประเทศมาเลเซีย)

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 18.30 น. ที่ ห้องปลายสยาม โรงแรมเก็นติ้ง อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม และพบปะประชาชนคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังคมหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พร้อมร่วมรับประทานอาหารเนื่องในโอกาสต้อนรับวันตรุษจีน ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นนโยบายของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำหนดให้จัดขึ้นในโอกาสวันตรุษจีน และเป็นวันปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นโอกาสที่ดี เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน ได้มารวมตัวกัน พบปะแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ ศาลเจ้า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมจำนวนมาก โดยมี นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์) นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นางสุชาดา พันธุ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโกลก เจ้าหน้าที่สำนักกอง / ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหหงโกลก เข้าร่วมกว่า 600 คน

สำหรับ กิจกรรมภายในงาน มีการแสดงรำจีน ในชุดการแสดง 7 นางฟ้ารำอวยพร ชุดการแสดง คนไทยเชื้อสายจีน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแสดงเชิ่ดสิงโตจาก ศิษย์เจ้าแม่โต๊ะโมะ และคณะสิงโตลูกท้าวมหาพรหม สุไหงโกลก

ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นสิริมงคลต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในงานแห่งนี้ถึงแม้จะเป็นคนจีนโดยกำเนิดแต่ทุกคนก็ได้ร้องเพลงชาติด้วยความไพเราะ บ่งบอกถึงว่า เราทุกคนได้รัก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่ต่าง ๆ มาแล้ว และครั้งนี้ได้จัดขึ้นในพื้นที่อำ้ภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางพี่น้องประชาชนเข้าร่วมอย่างคึกคัก อยากให้ได้รับรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใด ท่านทุกคนอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าท่านมาจากมณฑลใด ยุคใด วันนี้ท่านคือพลเมืองไทย ที่รัฐบาล โดย ศอ.บต. จะต้องดูแลทุกคน เพราะอำเภอสุไหงโกลก คือพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้ เราเองจะพยายามด้วยความสามารถเพื่อให้ชาวไทนเชื้อสายจีน สามารถอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข

ด้าน หนึ่งในผู้ร่วมงานจากสมาคมแต้จิ๋ว ได้กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ขอขอบคุณศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้จัดกิจกรรมพบปะคนไทยเชื้อสายจีนในครั้งนี้ และได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นของการใช้ชีวิตประจำวัน สิทธิของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญ สายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 เป็นเลขหมายที่คนไทยทุกคนในพื้นที่ สามารถใช้จริง และช่วยเหลือคนไทยพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

สตูล พรรคก้าวไกลประกาศชัยชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย แห่ขอบคุณทุกคะแนนเสียงประชาชน

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 18.30 น. ที่ ห้องปลายสยาม โรงแรมเก็นติ้ง อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม และพบปะประชาชนคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังคมหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พร้อมร่วมรับประทานอาหารเนื่องในโอกาสต้อนรับวันตรุษจีน ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นนโยบายของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำหนดให้จัดขึ้นในโอกาสวันตรุษจีน และเป็นวันปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นโอกาสที่ดี เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน ได้มารวมตัวกัน พบปะแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ ศาลเจ้า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมจำนวนมาก โดยมี นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์) นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นางสุชาดา พันธุ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโกลก เจ้าหน้าที่สำนักกอง / ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหหงโกลก เข้าร่วมกว่า 600 คน

สำหรับ กิจกรรมภายในงาน มีการแสดงรำจีน ในชุดการแสดง 7 นางฟ้ารำอวยพร ชุดการแสดง คนไทยเชื้อสายจีน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแสดงเชิ่ดสิงโตจาก ศิษย์เจ้าแม่โต๊ะโมะ และคณะสิงโตลูกท้าวมหาพรหม สุไหงโกลก

ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นสิริมงคลต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในงานแห่งนี้ถึงแม้จะเป็นคนจีนโดยกำเนิดแต่ทุกคนก็ได้ร้องเพลงชาติด้วยความไพเราะ บ่งบอกถึงว่า เราทุกคนได้รัก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่ต่าง ๆ มาแล้ว และครั้งนี้ได้จัดขึ้นในพื้นที่อำ้ภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางพี่น้องประชาชนเข้าร่วมอย่างคึกคัก อยากให้ได้รับรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใด ท่านทุกคนอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าท่านมาจากมณฑลใด ยุคใด วันนี้ท่านคือพลเมืองไทย ที่รัฐบาล โดย ศอ.บต. จะต้องดูแลทุกคน เพราะอำเภอสุไหงโกลก คือพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้ เราเองจะพยายามด้วยความสามารถเพื่อให้ชาวไทนเชื้อสายจีน สามารถอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข

ด้าน หนึ่งในผู้ร่วมงานจากสมาคมแต้จิ๋ว ได้กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ขอขอบคุณศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้จัดกิจกรรมพบปะคนไทยเชื้อสายจีนในครั้งนี้ และได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นของการใช้ชีวิตประจำวัน สิทธิของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญ สายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 เป็นเลขหมายที่คนไทยทุกคนในพื้นที่ สามารถใช้จริง และช่วยเหลือคนไทยพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

สตูลเด็กน้อยโรบินฮูดวัย 5 ขวบโชว์ลีลายิงธนู ในกีฬายิงธนูอันดามันแชมป์เปี้ยนชิพ ไทยมาเลเซียเข้าร่วมแข่งขันคึกคึก

สตูลเด็กน้อยโรบินฮูดวัย 5 ขวบโชว์ลีลายิงธนู  ในกีฬายิงธนูอันดามันแชมป์เปี้ยนชิพ  ไทยมาเลเซียเข้าร่วมแข่งขันคึกคึก

วันที่ 27 พ.ค.2566  สตูลจัดการแข่งขัน  กีฬายิงธนู  อันดามันแชมป์เปี้ยนชิพ (ครั้งแรก)  ขึ้นที่สนามกีฬาเทศบาลตำบลฉลุงอำเภอเมือง  จังหวัดสตูลระหว่างวันที่ (27 – 28 พ.ค.2566) โดยมีนักกีฬาจากทั่วประเทศไทยเดินทางเข้าร่วมการแข่งขันพร้อมนักกีฬาจากประเทศมาเลเซียที่มาร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ 160 คนโดยแบ่งการแข่งขันกีฬาเป็น 4 ประเภท ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบุคลากรทางด้านการกีฬา และการกีฬาแห่งประเทศไทย  ร่วมกับสมาคมกีฬาขี่ม้ายิงธนูจังหวัดสตูลจัดให้มีการแข่งขันในครั้งนี้ขึ้น  รวมทั้งได้รับสนับสนุนจากภาคเอกชนในพื้นที่ อาทิ  โรงน้ำแข็งโพลี่  สิตาบีชรีสอรท   อเล็กฟิชชิ่ง

การแข่งขันในครั้งนี้มี 4 ประเภท โดยกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ประเภทประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย (RC/CP/BB/HB)  กลุ่มที่ 2 รุ่นทั่วไป (OPEN) การแข่งขันประเภทบุคคลรอบแพ้คัดออก ทุกประเภท (Individual Match Play) และการแข่งขันประเภทบุคคลรอบแพ้คัดออก ทุกประเภท (Team Match Play)

สำหรับการแข่งขันครั้งนี้เป็นที่น่าสนใจคือ  มีเด็กน้อยวัย 5 ขวบจากจังหวัดยะลา  ที่เดินทางมากับครอบครัวร่วมการแข่งขันสร้างสีสัน ความน่ารักให้ผู้เข้าร่วมกันแข่งขันในครั้งนี้ได้ไม่น้อย  โดยลีลาท่าทางมีแววที่จะมีอนาคตไกลในการแข่งขันประเภทยิงธนู  โดยน้องอับดุลเลาะมาน   จิสวัสดิ์   มีความชื่นชอบในการแข่งขันกีฬายิงธนู  ซึ่งได้เริ่มติดตามพี่ชายวัย 10 ขวบและคุณพ่อมาที่สนามการแข่งขันทุกครั้งที่มีการซ้อม   ทำให้สนใจและอยากจะร่วมการแข่งขันเหมือนอย่างพี่ชาย  โดยทางคุณพ่อก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

นายซามาน  จิสวัสดิ์  อายุ 30 (คุณพ่อของน้องอับดุลเลาะมาน)  กล่าวว่า  การมาแข่งขันในครั้งนี้ของน้องนับเป็นสนามที่ 2 โดยครั้งแรกไปร่วมแข่งขันในสนามเบตง  ซึ่งก็ไม่ได้คาดหวังเหรียญหรือชัยชนะแต่อย่างใดนับเป็นการเปิดประสบการณ์ให้กับน้องได้เก็บเกี่ยว อีกทั้งเป็นการฝึกสมาธิจดจ่อที่คันธนู และฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและอยู่ร่วมกันขณะมีการแข่งขัน 

ด้านนายธนะสิทธิ์   ศิริพัฒน์นราทร  กรรมการผู้ตัดสินกีฬายิงธนู  สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย   ผู้จัดการแข่งขันในครั้งนี้    กล่าวว่า การแข่งขันกีฬายิงธนูซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดสตูล   ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมกว้างขวางมากนัก  แต่กีฬาชนิดนี้จัดกีฬาระดับสากล    ในกีฬาในการแข่งขันกีฬานัดสำคัญไม่ว่าจะเป็น  โอลิมปิก   เอเชียนเกมส์  ซีเกมส์   โดยพ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสนใจนำบุตรหลานเข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อย  และหวังว่าในอนาคตจะจัดให้มีการแข่งขันทุกปีในพื้นที่ของจังหวัดสตูลในการเฟ้นหาช้างเผือก และเพื่อจะเป็นการคัดเลือกนักกีฬาเป็นตัวแทนของทีมชาติในอนาคตต่อไปได้

อีกทั้งสตูลเป็นเมืองชายแดนอยู่ใกล้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย   เข้ามาร่วมแข่งขันและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ไม่น้อยทั้งนักกีฬาและผู้ติดตามร่วมการแข่งขันถึง 400 คนสร้างรายได้เข้าพื้นที่จังหวัดสตูล

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด