Categories
เยาวชน-การศึกษา

สตูลจัดกิจกรรม  สืบสานงานบุญเดือนสิบ   ดึงเด็กเยาวชนร่วมอนุรักษ์ประเพณีดีงาม  โดยให้ลงมือทำ และร่วมการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน

สตูลจัดกิจกรรม  สืบสานงานบุญเดือนสิบ   ดึงเด็กเยาวชนร่วมอนุรักษ์ประเพณีดีงาม  โดยให้ลงมือทำ และร่วมการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน

         ที่วัดชนาธิปเฉลิม (พระอารามหลวง)  ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ที่นี่  มีการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีบุญเดือนสิบ  ด้วยการจัดการแข่งขันขูดมะพร้าวของเด็ก ๆ นักเรียน  ที่นำเครื่องมือโบราณอย่างกระต่ายขูดมะพร้าว   มาทำการแข่งขัน  ซึ่งเป็นหนึ่งในการใช้มะพร้าว  เป็นส่วนผสมในการทำขนม  บุญเดือนสิบ  ที่จะใช้มะพร้าวเป็นส่วนผสมเป็นส่วนใหญ่

         นอกจากนี้ก็ยังมีการแข่งขันการกินขนมเดือนสิบ   โดยมี  เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน  นอกจากจะเป็นการสร้างความสนุกสนานของเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว   ยังเป็นการแฝงไปด้วยความรู้เรื่องของขนมเดือนสิบ   ที่มีการสืบทอดกันมาไม่ว่าจะเป็นขนมต้ม  ขนมเจาะหู  ขนมสะบ้า  หรือแม้กระทั่ง ขนมข้าวพอง  สร้างสีสันและบรรยากาศที่สนุกสนานให้กับกองเชียร์ได้ไม่น้อย

        ภายในงานยังมีการทำขนมโดยฝีมือเด็ก ๆ และคุณครู  มาโชว์ภายในงานพร้อมแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมงาน และเด็กๆได้ชิมกันฟรี   รวมทั้งการทำหมับ  ที่ตกแต่งอย่างสวยงามทั้งเล็กและใหญ่ให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณี  ของการจัดเตรียมเพื่อถวายพระ  ในบุญเดือนสิบแรก 

        นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นเมืองอย่างหมากขุม   การละเล่นดนตรีไทย  ของโรงเรียนเทศบาล 2 รวมทั้งเด็ก ๆ จากโรงเรียนเทศบาลในเขตอำเภอเมืองสตูล  เข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก   โดยทางผู้จัดหวังว่ากิจกรรมในครั้งนี้  จะเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม  แล้วยังเป็นการส่งต่อให้เยาวชน  เด็ก ๆ ได้ร่วมเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ความสวยงาม  และดีงามของประเพณีบุญเดือนสิบของชาวไทยพุทธสืบไป

…………………………..

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวเด่น

สตูล  ช่วยเหยื่อพายุฝนกระหน่ำ  ต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน  โชคดีไร้คนเจ็บ

สตูล  ช่วยเหยื่อพายุฝนกระหน่ำ  ต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน  โชคดีไร้คนเจ็บ

           พันตรี ยุทธนา เจ้าดูรี  นายอำเภอควนโดน  พร้อมนายซะรี่ย์อะซีร  นุ่งอาหลี   นายกอบต.ควนสตอ  กำนัน ผญบ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย  บ้านเรือนของชาวบ้าน รวมทั้งอาคารในบริเวณมัสยิด  พบลมได้พัดกรรโชกแรง   ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีอายุ 50 ปี  โค่นล้มทับ  หลังคาอาคารเก็บของ  แตกเสียหาย  โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ  ส่วนตัวอาคารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนายังสมารถใช้การได้ 

         นอกจากนี้ยังพบบ้านเรือนชาวบ้าน  ที่ได้รับผลกระทบอีกรวม  14 หลังคาเรือน  

          นายอีด   จางวาง  อายุ 62 ปี ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจาก วาตภัย ในครั้งนี้   เล่าว่า นาทีที่ลมมาน่ากลัวมาก ความแรงลม  ทั้งฝน  พัดนานรวม 1 ชม.ก่อนสร้างความเสียหาย  ให้หลังคาบ้านตน  

          ว่าที่พันตรี ยุทธนา เจ้าดูรี  นายอำเภอควนโดน   กล่าวว่า ทางจังหวัดสตูลเน้นให้ความช่วยเหลือทันที เมื่อชาวบ้านเกิด  ประสบปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ  การลงพื้นที่ในครั้งนี้  เพื่อสำรวจและให้ความช่วยเหลือ ส่วนพื้นที่ความเดือดร้อนจุดไหน   ที่เจ้าหน้าที่ยังไปไม่ถึง  สามารถประสานทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกฯในท้องที่รับผิดชอบได้เลย  ซึ่งพายุฝนที่พัดแรงกระหน่ำเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ยังส่งผลให้หม้อแปลงของอำเภอควนโดนระเบิด จนกระแสไฟฟ้าดับด้วย   สำหรับความเดือดร้อนในอำเภอควนโดน 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน 750 ครอบครัว 1,600 คน  

        สำหรับสถาการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนโดน  อำเภอท่าแพ และอำเภอเมืองสตูล  น้ำได้ลดระดับลงแล้ว  หลังฝนทิ้งช่วงนาน    มีเพียงบางจุดพื้นที่ต่ำเท่านั้น   ที่กำลังรอน้ำระบายออก

…………………….

     

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

 กลุ่มสตรี  สาวสอง กว่า 300 ชีวิต  เต้นสุดมันในเพลงยอดฮิต “นกกรงหัวจุก” หลังถูกแปลงเป็นท่าเต้นบาสโลบ แอโรบิค ในกิจกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ 

 

         เพลงนกกรงหัวจุก เพลงยอดฮิตที่มีท่าทางเต้นสนุกสนาน  ถูกหยิบมาเป็นท่าทางการออกกำลังกายของกลุ่มผู้รักสุขภาพในจังหวัดสตูล  โดยเฉพาะ กลุ่ม บาสโลบ แอโรบิก  นำมาประกอบท่าทางเต้นอย่างสนุกสนาน  โยกย้ายส่ายสะเอว  รวมทั้งทำท่านกสะบัดนิ้วมือ  สร้างความสนุกสนานครึกครื้นเป็นอย่างมาก

         ที่อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล   มีผู้เข้าร่วมเต้นจากชมรมคนรักสุขภาพต่างๆในพื้นที่จังหวัดสตูลกว่า  300 คน  มีหลายกลุ่มวัย แต่งกายในชุดสวยงาม ทั้งชุดไทย ชุดมโนราห์ ชุดสีสันสะดุดตา  แต่งหน้าทำผมแบบจัดเต็ม  มาร่วมเต้นในกิจกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ  ไลน์แดนซ์  บาสโลบ  แอโรบิค  จังหวัดสตูล    โดยสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  จัดโครงการส่งเสริม  การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อมวลชน ประจำปี 2566 ขึ้นมา  เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดี พัฒนาให้มีน้ำใจนักกีฬา  และสร้างเครือข่ายแกนนำ  ผู้ออกกำลังกายของจังหวัดสตูล   ให้มีศักยภาพในการส่งเสริมสร้างสุขภาวะ  ของกลุ่มผู้ออกกำลังกาย  และเล่นกีฬาให้กลายเป็นวิถีชีวิต                                                  

        โดยงานนี้ นางสาวธัญรัศม์  ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล  เป็นประธานเปิดงาน  กล่าวในโอกาสนี้ว่า   สำหรับกิจกรรมนี้  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล   ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา   โดยมุ่งส่งเสริมการใช้กีฬา   และนันทนาการเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสร้าง   สุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจร   ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป   ได้ตระหนักถึงความสำคัญการออกกำลังกาย  และการเล่นกีฬา  ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยมีสุขภาพที่ดี

        ด้านนางสาวปุณณานันท์  ทองหยู ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้จัดการแข่งขันเต้นเพื่อสุขภาพ แบบไลน์แดนซ์ บาสโลบ แอโรบิก ทุกอำเภอในจังหวัดสตูล ทั้ง 7 อำเภอ  กลุ่มชมรมรักสุขภาพสามารถหยิบเพลงมาเต้นกันได้   ในการประกวด  มีรางวัลมากมาย   และลดแคลอลี่ในตัวได้อีกด้วย

…………………………….

                           




อัพเดทล่าสุด

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

กลุ่มสตรี  สาวสอง กว่า 300 ชีวิต  เต้นสุดมันในเพลงยอดฮิต “นกกรงหัวจุก” หลังถูกแปลงเป็นท่าเต้นบาสโลบ แอโรบิค ในกิจกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ

“มาแต่ตรัง…” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์-เมืองเก่าอันดามัน 22-26 พ.ย.นี้ ย้อนรอย “คลองห้วยยาง” ต้นกำเนิดการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง เปิดพื้นที่ คนรุ่นใหม่ปล่อยของมหกรรม Exhibition & art installation แลหนังที่วิกเพชรรามา ชมงาน Creative spaceที่ รพ.เก่าตรังชาตะเปิดตลาด Creative market นำเที่ยวแบบใหม่ Old town Tour

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง จัดแถลงข่าวงาน “มาแต่ตรัง..” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว   ภายใต้โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) เพื่อสร้างโอกาสและเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นย่านเมืองเก่าตรัง   โดยการนำเสนอสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของดีของจังหวัด ดึงกลุ่มคน ท้องถิ่น ผู้ประกอบการและชุมชน มาร่วมกันสร้างสรรค์ ทำให้เมืองเก่าตรังซึ่งนอกจากเป็นเมืองค้าขายที่ตอบสนองวิถีของคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถรองรับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ให้มาเรียนรู้มิติวัฒนธรรมของเมืองเก่าได้

          โดยภายในงานแถลงข่าวมีการจัดเสวนาหัวข้อ “เมืองเก่าทับเที่ยง ย่านสร้างสรรค์” โดยน.ส.อรัญญา ทองโอตัวแทนกลุ่ม Backyard นายวรพงศ์ เชาว์ชูเวชช ตัวแทนตรังชาตะ นายจิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการ YEC และผศ.ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท ตัวแทนศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความคาดหวังในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีสื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานมากมาย อาทิ นายขจรศักดิ์เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และ นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง เป็นต้น

          กิจกรรมภายในงานมาแต่ตรัง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourismFestival จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00- 21.00 น. ณ คลองห้วยยาง ย่านเมืองเก่าทับเที่ยง  มีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วัน ตัวอย่าง  กิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ การจัดแสดงแสงสีและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่คริสตจักรตรัง  มูลนิธิกุศสถานและริมคลองห้วยยาง   นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนังและศิลปะจัดวาง (Exhibition & art installation) ที่เพชรรามาและคลองห้วยยาง เปิดพื้นที่เรียนรู้ทดลองสร้างสรรค์ (Creative space) ณ ตรังชาตะ เปิดพื้นที่พักผ่อน ณ สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง(Pocket park)ชมตลาดอาหารงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ (Creative market) ณ มูลนิธิกุศลสถานตรัง มีกิจกรรมสาธิตอาหารแนวใหม่ และกิจกรรมพาชมย่านเมืองเก่า (Old town Tour)

           ทั้งนี้เมืองเก่า “ทับเที่ยง”เป็นเมืองค้าขาย ศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง ขยายตัวจากการขนสั่งสินค้าจากท่าเรือกันตังกระจายสู่ภูมิภาค   ซึ่งมีร่องรอยเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมแบบ บ้านร้านค้า (Shophouse) และสถานที่สำคัญทางศาสนาที่สะท้อนความเป็นพหวัฒนธรรมของคนใน พื้นที่ตรังได้ชื่อว่าเป็นเมืองอาหาร 9 มื้อเพราะเมืองตอบสนองต่อวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่หลากหลายผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่   ทั้งพ่อค้า ชาวสวนยางและคนทั่วไป ที่ใช้เวลาในเมืองแตกต่างกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น ดังนั้น เมืองที่พร้อมรับวิถีชีวิตคนที่หลากหลายย่อมมีศักยภาพเป็นพื้นที่รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเล หรือนักท่องเที่ยวเทศกาล ที่เข้ามายังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำหรับงานในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกัน มีแผนที่ท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรัง เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรัง มีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยง ได้บันทึกเรื่องราว รากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรัง ธุรกิจในย่านเมืองเก่ามีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาล เกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้าง ผู้สนใจสามารถมาร่วมงาน”มาแต่ตรัง…” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival

นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง บอกว่า จังหวัดตรังได้แถลงข่าวเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่า ซึ่งมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเรารู้กันว่าเรามีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และจังหวัดตรังเราเองมีเมืองเก่ามีโบราณสถาน มีสถาปัตยกรรมมีวิถีของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี พื้นถิ่นที่มีสตอรี่ที่เป็นของเก่า ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดขายในเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่าได้ แล้วเราได้มีการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่อยู่ในชุมชนเมืองเก่าทับเที่ยงในอำเภอเมืองตรังซึ่งเราได้จับมือกับทางเทศบาลนครตรัง รายการที่พัฒนาคลองห้วยยางและสถานที่รอบข้างๆที่มีสตอรี่ของสถาปัตยกรรมในด้านเมืองเก่าเป็นจุดแรกที่เราจะพัฒนา ที่จะย้อนอดีตเข้าไปซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA มาช่วยเราในการพัฒนา นอกจากในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วนั้นดังกล่าวเราเป็นเทรนด์หนึ่ง ที่เราได้รับการพัฒนาและไปเอาของในเรื่องที่เรามีอยู่แล้ว ขึ้นมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว ก็คิดว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของแรงดึงดูดการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นแล้วจังหวัดตรังเรามีสนามบินและอาหารพื้นถิ่นที่อร่อยอยู่แล้วในสิ่งที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวมีพร้อมอยู่แล้วถ้ามาท่องเที่ยวเมืองเก่าที่ตรังแล้วจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่ตรังทั้งในเรื่องของสุขภาพธรรมชาติสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะมีการบูรณาการในเชิงการท่องเที่ยวของพหุวัฒนธรรม

แล้วเราโชคดีที่ตรังมีสนามบินตรังจะได้รับการพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีรันเวย์มาตรฐาน 2,900 กว่าเมตร จะเสร็จในปี 2568 ซึ่งเราได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งมีการประชุม ในการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชนเตรียมด่านการตรวจคนเข้าเมือง เตรียมเรื่องของปตท.จัดเรื่องในการเติมน้ำมัน การบิน charter Fight ที่เป็นไฟท์ต่างประเทศที่จะบินมาตรงจังหวัดตรังซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับเที่ยวบินชาร์เตอร์ไฟท์ เรื่องของการรับนักท่องเที่ยวเตรียมไว้พร้อมแล้ว

และเทรนด์การท่องเที่ยวที่จัดสรรในเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติเพราะฉะนั้นตนเองคิดว่า ที่เราตั้งโจทย์ไว้ ก็อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือยุโรป ให้เข้ามาเที่ยวทำให้รู้จักจังหวัดตรังมากขึ้นตนเองมั่นใจว่า 22-26 พฤศจิกายน 2566 นี้ จึงอยากจะเชิญชวนทางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้มาสัมผัสเมืองตรังและจะประทับใจแน่นอน ซึ่งจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่หมูย่างแน่นอน

สำหรับในเรื่องของเศรษฐกิจ ที่เรามีสถิติสูงสุดคือปี 2562 นักท่องเที่ยวที่เข้ามาประมาณ 1,500,000 คน เรื่องของรายได้เรามีประมาณ 9,000 กว่าล้านบาทเราคาดหวังว่าขอให้เท่ากับปี 2562 ที่ผ่านมา รายได้ในจังหวัดตรังต้องมากกว่า 9,000 ล้านบาท.เรามีการพูดคุยและสำรวจ ทาง CEA ก็สำรวจ ทางเทศบาลนครตรัง ชุมชนทับเที่ยงโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของอาคารเก่า ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เขาให้ความร่วมมือ ยินดีที่จะให้ใช้อาคาร เพื่อจัดโซนหรือ เป็นย่านเมืองเก่า ถือว่าเป็นเรื่องดี คนตรังรักที่อนุรักษ์ ที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าซึ่งเราได้จัดตั้งงบเป็นสารตั้งต้นงบประมาณ 8 ล้านบาท พัฒนาเรื่องของคลองห้วยยางและจุดที่เป็นแลนด์มาร์ค ตอนนี้การดีไซน์ออกแบบย่านเมืองเก่าทางเทศบาลนครตรังรับช่วงต่อไปและทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองที่เขามีงบประมาณในการสนับสนุนนั้น ก็จะเกิดเหตุผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในความสำเร็จที่เรามีทุกภาคส่วนจะต้องเคลื่อนกันหมด

            น.ส.พันธิตรา สินพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) บอกว่าสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA เรามีภารกิจ ซึ่งเรามีโครงการ เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย   ซึ่งมีเครือข่ายทั้งหมด 33 จังหวัดทั่วประเทศ    และตรังเป็นหนึ่งในจังหวัดนั้น ซึ่งตรังไปเร็วกว่าจังหวัดอื่น   ซึ่งโครงการเราเริ่มเมื่อปี 2563   เนื่องจากว่ามีนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ มีพื้นที่สร้างสรรค์มีสินทรัพย์ มีหน่วยงานภาครัฐซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้เป็นทุกจังหวัด ที่หน่วยงานเห็นความสำคัญของการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ CEA เราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเป็นตัว support เราเอาประสบการณ์ที่เราทำกับกรุงเทพฯย่านเจริญกรุง ตลาดน้อยและเชียงใหม่ สาขาที่ขอนแก่น และสิ่งที่เราได้บทเรียน เป็นการทดสอบของแต่ละพื้นที่ และเราต้องดูว่าศักยภาพของแต่ละพื้นที่มีอะไรโดยจังหวัดตรังเรามี 2 ย่านเป็นย่านต้นแบบ คือ ย่านเมืองเก่าทับเที่ยงและย่านกันตัง    เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการการทำงาน  และดีใจมากที่ตรังลงตัวมาก และตรังชาตะอยากจะทำให้พื้นที่อาคารเก่า เป็นที่คนตรังผูกพัน คนที่อายุ 40 อัพเกิดที่นี่อยากจะทำเป็นมิวเซี่ยมเกิดงาน “เถตรัง” ขึ้นมา เกิดจากคนรุ่นใหม่ร่วมตัวกันขึ้นมา เช่นนำไม้เทพธาโร ผ้านาหมื่นศรี   มาถ่ายทอดผ่านอาคารเก่าให้มีคุณค่าและเรามาเจอกับคลองห้วยยาง และมีแผนพร้อมกัน   มาแต่ตรังกินพื้นที่ ชุมชนเริ่มมา และหน่วยงานเข้ามาซับพอร์ต ก็จะเกิดการลงทุนและการท่องเที่ยวจะเข้ามา ทำเพื่อให้คนมาท่องเที่ยว ถ้าเราทำทุกอย่างให้น่าอยู่ จะทำให้เกิดเงินเข้ามา เพราะมีคนเข้ามาเที่ยว เมื่อคลองห้วยยางต่อไปเดินแล้ว เสร็จอาหารเช้ามากินตรงนี้ มีดนตรีเบาๆ มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์จะไม่รู้จบ

และนี่คือแนวทางของCEA

            ………………………………………………………………………….




อัพเดทล่าสุด

Categories
ข่าวเด่น

น้ำท่วมย่านเศรษฐกิจ ตลาดเทศบาลฉลุง น้ำทะลัก ขณะที่พายุฝนกรรโชกแรง

น้ำท่วมย่านเศรษฐกิจ ตลาดเทศบาลฉลุง น้ำทะลัก ขณะที่พายุฝนกรรโชกแรง

         น้ำที่สะสมจากฝน  ที่ตกต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน  ในพื้นที่จังหวัดสตูล  ล่าสุดวันนี้ 27 ก.ย. 2566 ปริมาณน้ำที่สะสมได้ไหลทะลักเข้าท่วมย่านเศรษฐกิจ  ตลาดในเขตเทศบาลตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  โดยน้ำจากคลองฉลุง  ที่ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน  ร้านค้า  และตลาด ซึ่งเป็นมวลน้ำที่สะสมมาจากคลองดุสน ไหลลงสู่ที่ต่ำเพื่อออกสู่ทะเล

       โดยพื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่พบว่าเป็นพื้นที่ใกล้ลำคลองและตลิ่ง  มวลน้ำที่สะสมหลายวัน  ทำให้เอ่อล้นท่วมบ้านเรือน พืชสวนไร่นา   และในบ่ายวันนี้ลมพายุฝนได้กรรโชกอย่างแรงตกซ้ำ  ยิ่งส่งผลให้มวลน้ำกระจายวงกว้างอีก 

        และเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา  ระดับน้ำได้เข้าทะลักพื้นที่ ต.ควนโดน ต.ย่านซื่อ ของอำเภอควนโดนแล้ว  โดยทางด้านกำลังพล ตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 436 ได้ออกช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการขนย้ายสิ่งของไว้บนที่สูง  ในพื้นที่เสี่ยงริมน้ำ  เพื่อลดความเสียหาย 

       สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่จังหวัดสตูล ขณะนี้ท่วมแล้ว 3 อำเภอ  อำเภอเมือง อำเภอควนโดน และอำเภอท่าแพ  ส่วนความเดือดร้อนขณะนี้สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสตูล  รายงานว่า  ได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน  123 คน อยู่ระหว่างสำรวจ เนื่องจากฝนยังตกหนักและต่อเนื่องในขณะนี้

……………………………………….

     

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
เยาวชน-การศึกษา

พระสตูลเปิดกองทุนช่วย เด็กมานิ ศรีมะนัง  พร้อมสนับสนุนความยั่งยืนทางด้านอาหาร

พระสตูลเปิดกองทุนช่วย เด็กมานิ ศรีมะนัง  พร้อมสนับสนุนความยั่งยืนทางด้านอาหาร  

        ที่โรงเรียนบ้านป่าพน  ตำบลปาล์มพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล   เด็ก ๆ ชาวมานิ   ศรีมะนัง   ใช้ช่วงเวลาว่างทบทวนบทเรียน  ในช่วงพักกลางวัน  หลังที่เด็กๆ ชาวมานิกลุ่มนี้ได้เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนเพียงไม่นาน   พบว่าพวกเขาสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ ได้เป็นอย่างดี

       เด็ก ๆ ชาวมานิ  8 คน  ที่เข้ามาเรียนที่โรงเรียนบ้านป่าพน  โดยมีชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้กับที่อยู่ของชาวมานิ   ช่วยเป็นธุระขับรถยนต์มาส่งและมารับทุกเช้า  ขณะนี้กลับพบว่า  ชาวบ้านดังกล่าวกำลังประสบปัญหาด้านปัจจัย   การในการจัดซื้อน้ำมัน ขับรับส่งเด็ก ๆ ชาวมานิ    ด้านพระครูโสภณปัญญาสาร   เจ้าคณะอำเภอมะนังและเป็นเจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7  ได้ลงมาติดตามปัญหาและเตรียมความช่วยเหลือ  เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มาเรียนอย่างมีความสุข  และจบหลักสูตรตามที่รัฐกำหนด  เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวมานิกลุ่มนี้

        พระครูโสภณปัญญาสาร   กล่าวว่า  ทางวัดได้นำเรียนเจ้าคณะจังหวัด  ถึงแนวทางการช่วยเหลือ  ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาร่วมกับทางอำเภอ และท้องถิ่นอย่างอบต.ปาล์มพัฒนา   ในการช่วยสร้างคลังอาหาร โดยนำความรู้จากวัด   ที่มีคลังอาหารมาช่วยเผยแพร่   ให้กลุ่มชาวมานิ ศรีมะนัง  ชุดนี้  ที่อาศัยกันจำนวน 35 คน ได้มีอาหารเลี้ยงชีพที่ยั่งยืน  พร้อมระบบสาธารณสุขต่างๆ  ทั้งระบบน้ำ และระบบไฟฟ้า ให้ทัดเทียมหรือใกล้เคียงความเป็นชุมชนที่ปกติสุขทั่วไป  จึงเปิดบัญชีช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือชาวมานิ  ผ่านบัญชี  ชื่อบัญชี  “กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์มันนิ  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล” ธนาคาร  ธ.ก.ส. เลขบัญชี 020-225-933-478  เพื่อจัดหาค่าเดินทางให้เด็กๆได้ไปโรงเรียน

          ด้าน นายไพโรจน์   ดำพลบ  หรือลุงกอบ   อายุ  65 ปี คนใกล้ชิดชาวมานิที่ไว้เนื้อเชื่อใจ  สะท้อนว่า  ชาวมานิชุดนี้  มีความแตกต่างกับมานิชุดอื่นคือมีความขี้อาย  ไม่กล้าเข้าสังคม ด้านสาธารณสุขพบว่า  มีการทำอาหารปรุงสุกใหม่กินด้วยการเผา  ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อน  อยากเห็นพวกเขามีอาชีพเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และงานฝีมือ  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้พวกเขา  รวมทั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ไปเรียน รวมทั้ง อาหารสัตว์ที่ให้มาเลี้ยง เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้นในช่วงเรียนรู้การสร้างคลังอาหาร ที่ยั่งยืน

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

โค้งสุดท้าย ! สั่งจองสินค้า “Limited Education”

โค้งสุดท้ายภายใน 30 กันยายน ศกนี้  ! สำหรับผู้สนใจร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่าน แคมเปญ Limited Education ด้วยการสั่งจองของที่ระลึกสร้างสรรค์โดยนักออกแบบไทยรุ่นใหม่สุดปังซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการร้อยพลังการศึกษา และ โครงการ Designers’ Room & Talent Thai Promotion 2023  รวมทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนโครงการร้อยพลังการศึกษา

          นางสาวกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวว่า หลังจากเปิดให้มีการสั่งจองของที่ระลึกของแคมเปญ Limited Education มาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน กระแสตอบรับอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ดังที่ทราบกันว่าปัญหาการศึกษานั้นมีขนาดใหญ่มาก โครงการจึงยังคงต้องการการสนับสนุนจากประชาชนเพิ่ม โดยเด็กนักเรียนในโครงการมีทั้งหมดกว่า 45,000 คน จาก 112 โรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้ ทางโครงการจะนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเพื่อสนับสนุนเยาวชนกลุ่มนี้ผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งทุนการศึกษา ห้องเรียนดิจิทัลวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การสนับสนุนบุคลากรครูผู้สอน การพัฒนาทักษะชีวิตและคุณธรรม รวมถึงการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้รับโภชนาการอาหารที่ครบถ้วนอีกด้วย

       เช่นเดียวกับทุกปี ผลิตภัณฑ์ภายใต้แคมเปญ Limited Education ยังคงมุ่งเน้นสื่อสารปัญหาการศึกษาไทยและปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ที่ร้อยพลังการศึกษาได้ร่วมมือกับสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้สนับสนุนเครือข่ายนักออกแบบของโครงการมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยโจทย์การออกแบบของปีนี้จะเป็นวิชาสามัญ 5 วิชาที่เยาวชนควรจะมีโอกาสได้เรียนหากยังศึกษาอยู่ในระบบการศึกษา ประกอบด้วย วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศาสตร์ ซึ่งกลุ่มนักออกแบบได้ระดมไอเดียเพื่อออกแบบผลงานเป็น 5 ผลิตภัณฑ์ ต่อไปนี้

 

  1. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ “ลูกเก๋า” เก๋ทุกชิ้น เพิ่มยิ้มให้น้อง มี 3 ชิ้น คือ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และต่างหู โดยบนเครื่องประดับแต่ละชิ้นมีตัวเลขจากลายมือของน้องๆ และเพชร 1 เม็ดที่บนลูกเต๋าเปรียบเสมือน “เด็ก” ที่เป็น “อัญมณีที่มีค่า” ได้แรงบันดาลใจจาก วิชาคณิตศาสตร์ โดยตัวเลขที่หายไปจากลูกเต๋าคือ เลข 2 และเลข 4 สื่อถึงเด็กไทยจำนวนกว่า 4% ที่หายไประหว่างทางจากระบบการศึกษา
  2. ผลิตภัณฑ์ “ผ้าห่ม ด.ดาว” มาร่วมกันหา ด.ดาว ที่หายไป ได้แรงบันดาลใจจากวิชาวิทยาศาสตร์ ในคอนเซ็ปต์ “ลอสสตาร์” พูดถึงดวงดาวที่หายไปเปรียบได้กับเด็กๆที่หายไปจากระบบการศึกษา กว่า 4% ของ ด.ดาว ดวงน้อยเหล่านั้น อาจยังไม่ได้หายไปไหน แต่แค่ไม่มีแสงสว่างส่องไปถึง จึงอยากเชิญชวนมาช่วยกันสะท้อนแสงแห่งโอกาส ตามหาดวงดาวที่มองไม่เห็นให้กลับมาส่องประกายอีกครั้ง
  3. ผลิตภัณฑ์ชุดเสื้อผ้า “ด.เด็กสมบูรณ์” คอลเลคชั่นเสื้อผ้า ‘วัตถุฮาไว’ ชุดเสื้อผ้าฮาวายร่วมสมัย ผสมผสานกับการเล่าเรื่องผ่านลวดลายบนผืนผ้าที่หยิบเอาคำไทยในชีวิตประจำวันซึ่งทุกคนคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาใช้ ได้แรงบันดาลใจจากวิชาภาษาไทย เมื่อ “ด.เด็ก” หายไป คำต่างๆ บนเสื่อผ้าจึงผิดเพี้ยนและไร้ความหมาย ประกอบกับภาพวาดลายเส้นขาวดำที่ชวนให้ทุกคนนึกย้อนกลับไปช่วงวัยเรียน
  4. ผลิตภัณฑ์กระเป๋า “Good for Good” กระเป๋า ฮาว อา ยู ทูเด๊? ได้แรงบันดาลใจจากวิชาภาษาอังกฤษ เป็นกระเป๋าที่มาพร้อมกับเข็มกลัด ชุดพู่กัน และสี สำหรับการต่อจุดและลากเส้นตามแบบฝึกหัดสมัยเรียน เป็นคำว่า “How Are You Today?” ทำให้ผู้ใช้และผู้พบเห็นได้หวนนึกถึงช่วงเวลาวัยเด็กในคาบวิชาภาษาอังกฤษ พร้อมการใช้สี Photochromic เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่า ทุกคนสามารถเป็นแสงสว่างที่เต็มไปด้วยความหวังให้กับเด็กๆ ทุกคนได้
  5. ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเพื่อสังคม “Tote Bag for Society” ได้แรงบันดาลใจจากวิชาสังคม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้คน และสะท้อนส่วนที่หายไปหรือไม่สมบูรณ์ผ่านลายกราฟิกคำว่า “Soci ty” ที่ไม่มีตัว e ที่แทนคำว่า education และลวดลายกราฟิกรูปคนหลากหลายสีสันสดใสแสดงความเป็นเด็กที่แตกต่างหลากหลายในสังคม เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้คนได้เห็นถึงปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยให้เด็กๆ ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
  6. การร่วมสนับสนุนสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้จะเป็นรูปแบบพรีออร์เดอร์ ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้เพียงร่วมบริจาคและเลือกรับของที่ระลึกจากนักออกแบบ โดยสั่งจองล่วงหน้าได้ที่ https://www.tcfe.or.th/ttdrxlimitededucation2023/  ผ่านช่องทางเวบไซต์ร้อยพลังการศึกษา(www.tcfe.or.th)  ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน ศกนี้

     

     

    #TTDRKeepAnEyeOn2023 #DITP

    #LimitedEducation #ร้อยพลังการศึกษา

    #ร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

    #พลังความร่วมมือนักออกแบบไทย #ร่วมให้โอกาสทางการศึกษา

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ข่าวทั่วไป

จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จากผลสำรวจของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจกว่า 97% เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงออกถึงจุดยืนด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบ (integrity) ขององค์กร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท และพนักงานในทุกระดับ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการจัดการความเสี่ยงอย่างทันท่วงทีและร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

ในโอกาสนี้ ขอเชิญไปรู้จักกับ ‘Integrity Hotline’ หรือ ‘สายด่วนธรรมาภิบาล’ เครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของทรู คอร์ปอเรชั่น

สร้างวัฒนธรรมการ Speak Up
การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล นอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรอีกด้วย ทั้งในด้านการรักษาชื่อเสียง การดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปจนถึงการทำให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และสังคมโดยรวม เกิดความไว้วางใจในองค์กรและแบรนด์

 

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลต้องอาศัยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มข้น โมเดลบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมความเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจ (check and balance) สูงสุด


ภายหลังการรวมธุรกิจ ทรูจึงเพิ่มระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และได้พัฒนา Integrity Hotline เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนความประพฤติหรือการกระทำของพนักงานที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งเปิดให้ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกสามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสได้

 

ช่องทาง Integrity Hotline นี้เอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติจริงในองค์กร (Governance in action) พร้อมทั้งขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมั่นใจและใช้ช่องทาง ‘speak up’ หรือรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

 

Whistleblower หยุดยั้งวิกฤต

ก้าวสำคัญสู่การสร้างวัฒนธรรมการ speak up และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น คือการให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือ ‘whistleblower’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยยับยั้งความเสี่ยง และจำกัดความรุนแรงที่อาจลุกลามเป็นวิกฤตได้อย่างทันท่วงที จากเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในตลาดทุนล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของ whistleblower และความสำคัญของการมีช่องทางรายงานการละเมิดธรรมาภิบาลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส

ปัจจุบัน ช่องทาง Integrity Hotline ของทรู มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง EQS Group ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชั้นนำของยุโรป เป็นผู้ให้บริการ ผ่านมาตรฐาน ISO 27001 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส หรือ whistleblower จะไม่ถูกเปิดเผยและได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยตัวตนหรือไม่ และระบบจะไม่เก็บข้อมูลผู้รายงาน ไม่ว่าจะเป็นรหัสพนักงาน รหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส หรืออีเมลก็ตาม


มั่นใจใน 4 ขั้นตอนค้นหาความจริง

ความเชื่อมั่น (trust) ยังถือเป็นแก่นสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมั่นใจได้ ตั้งแต่ระบบต้นทาง กระบวนการ การตีความ ความสมเหตุสมผล ไปจนถึงปัจจัยแวดล้อม ทรูจึงได้กำหนดกรอบการทำงานที่เข้มข้น ชัดเจน เป็นอิสระสูงสุด สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานระดับโลกอย่างดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลผ่าน Integrity Hotline ทรูจะมีการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

 

  • ขั้นตอนที่ 1 Risk assessment เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานนั้นๆ เพื่อป้องกันการใช้ช่องทาง Integrity Hotline เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง

 

  • ขั้นตอนที่ 2 Categorization เมื่อประเมินแล้วว่ารายงานที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ทางทีม Investigation จะมีการจัดชั้นความเสี่ยงของรายงานข้อกังวลนั้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อบริหารจัดการตามความเหมาะสม โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตามแต่ละประเภทของความเสี่ยง

 

  • ขั้นตอนที่ 3 Fact-finding การตรวจสอบข้อเท็จจริง จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการและพิจารณาโดยเฉพาะ และมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยดำเนินงานภายใต้ความอิสระ รวมถึงในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นอิสระมาดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

 

  • ขั้นตอนที่ 4 Filing report เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานจะส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ DAC (Disciplinary Action Committee) เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาบทลงโทษทางวินัย กรณีที่รายงานข้อกังวลนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายบริษัท  

 

มาร่วมกันเป็นหูเป็นตาเพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรและตลาดทุน หากผู้ใดพบเห็นสิ่งผิดปกติ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ https://truecorp.integrityline.com/  

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

“มาแต่ตรัง” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์-เมืองเก่าอันดามัน 22-26 พ.ย.นี้ ย้อนรอย “คลองห้วยยาง” ต้นกำเนิดการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง 

มาแต่ตรัง…” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์เมืองเก่าอันดามัน 22-26 ..นี้ ย้อนรอยคลองห้วยยางต้นกำเนิดการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง เปิดพื้นที่ คนรุ่นใหม่ปล่อยของมหกรรม Exhibition & art installation แลหนังที่วิกเพชรรามา ชมงาน Creative spaceที่ รพ.เก่าตรังชาตะเปิดตลาด Creative market นำเที่ยวแบบใหม่ Old town Tour

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง จัดแถลงข่าวงาน “มาแต่ตรัง..” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว   ภายใต้โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) เพื่อสร้างโอกาสและเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นย่านเมืองเก่าตรัง   โดยการนำเสนอสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของดีของจังหวัด ดึงกลุ่มคน ท้องถิ่น ผู้ประกอบการและชุมชน มาร่วมกันสร้างสรรค์ ทำให้เมืองเก่าตรังซึ่งนอกจากเป็นเมืองค้าขายที่ตอบสนองวิถีของคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถรองรับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ให้มาเรียนรู้มิติวัฒนธรรมของเมืองเก่าได้

       

          โดยภายในงานแถลงข่าวมีการจัดเสวนาหัวข้อ “เมืองเก่าทับเที่ยง ย่านสร้างสรรค์” โดยน..อรัญญา ทองโอตัวแทนกลุ่ม Backyard นายวรพงศ์ เชาว์ชูเวชช ตัวแทนตรังชาตะ นายจิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการ YEC และผศ.ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท ตัวแทนศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความคาดหวังในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีสื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานมากมาย อาทิ นายขจรศักดิ์เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และ นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง เป็นต้น

   

          กิจกรรมภายในงานมาแต่ตรัง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourismFestival จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00- 21.00  คลองห้วยยาง ย่านเมืองเก่าทับเที่ยง  มีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วัน ตัวอย่าง  กิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ การจัดแสดงแสงสีและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่คริสตจักรตรัง  มูลนิธิกุศสถานและริมคลองห้วยยาง   นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนังและศิลปะจัดวาง (Exhibition & art installation) ที่เพชรรามาและคลองห้วยยาง เปิดพื้นที่เรียนรู้ทดลองสร้างสรรค์ (Creative space)  ตรังชาตะ เปิดพื้นที่พักผ่อน  สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง(Pocket park)ชมตลาดอาหารงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ (Creative market)  มูลนิธิกุศลสถานตรัง มีกิจกรรมสาธิตอาหารแนวใหม่ และกิจกรรมพาชมย่านเมืองเก่า (Old town Tour)

 

           ทั้งนี้เมืองเก่า “ทับเที่ยงเป็นเมืองค้าขาย ศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง ขยายตัวจากการขนสั่งสินค้าจากท่าเรือกันตังกระจายสู่ภูมิภาค   ซึ่งมีร่องรอยเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมแบบ บ้านร้านค้า (Shophouse) และสถานที่สำคัญทางศาสนาที่สะท้อนความเป็นพหวัฒนธรรมของคนใน พื้นที่ตรังได้ชื่อว่าเป็นเมืองอาหาร 9 มื้อเพราะเมืองตอบสนองต่อวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่หลากหลายผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่   ทั้งพ่อค้า ชาวสวนยางและคนทั่วไป ที่ใช้เวลาในเมืองแตกต่างกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น ดังนั้น เมืองที่พร้อมรับวิถีชีวิตคนที่หลากหลายย่อมมีศักยภาพเป็นพื้นที่รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเล หรือนักท่องเที่ยวเทศกาล ที่เข้ามายังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำหรับงานในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกัน มีแผนที่ท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรัง เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรัง มีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยง ได้บันทึกเรื่องราว รากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรัง ธุรกิจในย่านเมืองเก่ามีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาล เกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้าง ผู้สนใจสามารถมาร่วมงานมาแต่ตรัง…” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival

นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง บอกว่า จังหวัดตรังได้แถลงข่าวเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่า ซึ่งมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเรารู้กันว่าเรามีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และจังหวัดตรังเราเองมีเมืองเก่ามีโบราณสถาน มีสถาปัตยกรรมมีวิถีของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี พื้นถิ่นที่มีสตอรี่ที่เป็นของเก่า ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดขายในเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่าได้ แล้วเราได้มีการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่อยู่ในชุมชนเมืองเก่าทับเที่ยงในอำเภอเมืองตรังซึ่งเราได้จับมือกับทางเทศบาลนครตรัง รายการที่พัฒนาคลองห้วยยางและสถานที่รอบข้างๆที่มีสตอรี่ของสถาปัตยกรรมในด้านเมืองเก่าเป็นจุดแรกที่เราจะพัฒนา ที่จะย้อนอดีตเข้าไปซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA มาช่วยเราในการพัฒนา นอกจากในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วนั้นดังกล่าวเราเป็นเทรนด์หนึ่ง ที่เราได้รับการพัฒนาและไปเอาของในเรื่องที่เรามีอยู่แล้ว ขึ้นมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว ก็คิดว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของแรงดึงดูดการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นแล้วจังหวัดตรังเรามีสนามบินและอาหารพื้นถิ่นที่อร่อยอยู่แล้วในสิ่งที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวมีพร้อมอยู่แล้วถ้ามาท่องเที่ยวเมืองเก่าที่ตรังแล้วจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่ตรังทั้งในเรื่องของสุขภาพธรรมชาติสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะมีการบูรณาการในเชิงการท่องเที่ยวของพหุวัฒนธรรม

แล้วเราโชคดีที่ตรังมีสนามบินตรังจะได้รับการพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีรันเวย์มาตรฐาน 2,900 กว่าเมตร จะเสร็จในปี 2568 ซึ่งเราได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งมีการประชุม ในการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชนเตรียมด่านการตรวจคนเข้าเมือง เตรียมเรื่องของปตท.จัดเรื่องในการเติมน้ำมัน การบิน charter Fight ที่เป็นไฟท์ต่างประเทศที่จะบินมาตรงจังหวัดตรังซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับเที่ยวบินชาร์เตอร์ไฟท์ เรื่องของการรับนักท่องเที่ยวเตรียมไว้พร้อมแล้ว

และเทรนด์การท่องเที่ยวที่จัดสรรในเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติเพราะฉะนั้นตนเองคิดว่า ที่เราตั้งโจทย์ไว้ ก็อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือยุโรป ให้เข้ามาเที่ยวทำให้รู้จักจังหวัดตรังมากขึ้นตนเองมั่นใจว่า 22-26 พฤศจิกายน 2566 นี้ จึงอยากจะเชิญชวนทางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้มาสัมผัสเมืองตรังและจะประทับใจแน่นอน ซึ่งจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่หมูย่างแน่นอน

สำหรับในเรื่องของเศรษฐกิจ ที่เรามีสถิติสูงสุดคือปี 2562 นักท่องเที่ยวที่เข้ามาประมาณ 1,500,000 คน เรื่องของรายได้เรามีประมาณ 9,000 กว่าล้านบาทเราคาดหวังว่าขอให้เท่ากับปี 2562 ที่ผ่านมา รายได้ในจังหวัดตรังต้องมากกว่า 9,000 ล้านบาท.เรามีการพูดคุยและสำรวจ ทาง CEA ก็สำรวจ ทางเทศบาลนครตรัง ชุมชนทับเที่ยงโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของอาคารเก่า ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เขาให้ความร่วมมือ ยินดีที่จะให้ใช้อาคาร เพื่อจัดโซนหรือ เป็นย่านเมืองเก่า ถือว่าเป็นเรื่องดี คนตรังรักที่อนุรักษ์ ที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าซึ่งเราได้จัดตั้งงบเป็นสารตั้งต้นงบประมาณ 8 ล้านบาท พัฒนาเรื่องของคลองห้วยยางและจุดที่เป็นแลนด์มาร์ค ตอนนี้การดีไซน์ออกแบบย่านเมืองเก่าทางเทศบาลนครตรังรับช่วงต่อไปและทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองที่เขามีงบประมาณในการสนับสนุนนั้น ก็จะเกิดเหตุผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในความสำเร็จที่เรามีทุกภาคส่วนจะต้องเคลื่อนกันหมด

            ..พันธิตรา สินพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) บอกว่าสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA เรามีภารกิจ ซึ่งเรามีโครงการ เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย   ซึ่งมีเครือข่ายทั้งหมด 33 จังหวัดทั่วประเทศ    และตรังเป็นหนึ่งในจังหวัดนั้น ซึ่งตรังไปเร็วกว่าจังหวัดอื่น   ซึ่งโครงการเราเริ่มเมื่อปี 2563   เนื่องจากว่ามีนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ มีพื้นที่สร้างสรรค์มีสินทรัพย์ มีหน่วยงานภาครัฐซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้เป็นทุกจังหวัด ที่หน่วยงานเห็นความสำคัญของการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ CEA เราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเป็นตัว support เราเอาประสบการณ์ที่เราทำกับกรุงเทพฯย่านเจริญกรุง ตลาดน้อยและเชียงใหม่ สาขาที่ขอนแก่น และสิ่งที่เราได้บทเรียน เป็นการทดสอบของแต่ละพื้นที่ และเราต้องดูว่าศักยภาพของแต่ละพื้นที่มีอะไรโดยจังหวัดตรังเรามี 2 ย่านเป็นย่านต้นแบบ คือ ย่านเมืองเก่าทับเที่ยงและย่านกันตัง    เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการการทำงาน  และดีใจมากที่ตรังลงตัวมาก และตรังชาตะอยากจะทำให้พื้นที่อาคารเก่า เป็นที่คนตรังผูกพัน คนที่อายุ 40 อัพเกิดที่นี่อยากจะทำเป็นมิวเซี่ยมเกิดงานเถตรังขึ้นมา เกิดจากคนรุ่นใหม่ร่วมตัวกันขึ้นมา เช่นนำไม้เทพธาโร ผ้านาหมื่นศรี   มาถ่ายทอดผ่านอาคารเก่าให้มีคุณค่าและเรามาเจอกับคลองห้วยยาง และมีแผนพร้อมกัน   มาแต่ตรังกินพื้นที่ ชุมชนเริ่มมา และหน่วยงานเข้ามาซับพอร์ต ก็จะเกิดการลงทุนและการท่องเที่ยวจะเข้ามา ทำเพื่อให้คนมาท่องเที่ยว ถ้าเราทำทุกอย่างให้น่าอยู่ จะทำให้เกิดเงินเข้ามา เพราะมีคนเข้ามาเที่ยว เมื่อคลองห้วยยางต่อไปเดินแล้ว เสร็จอาหารเช้ามากินตรงนี้ มีดนตรีเบาๆ มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์จะไม่รู้จบ

 

และนี่คือแนวทางของCEA

 

            ………………………………………………………………………….

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   พิษโควิด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้หนุ่มนิเทศฯสตูล  ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย  รายได้งาม   

พิษโควิด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้หนุ่มนิเทศฯสตูล  ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย  รายได้งาม 

        หากคุณมีความตั้งใจ และมุ่งมั่น   ไม่ว่าสิ่งนั้นที่ลงมือทำ  จะไม่ถนัด   แต่เชื่อว่า   การขวนขวายเรียนรู้   ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้เหมือนอย่างคุณอา   หรือนายภัทรนันต์   บุญรอด   อายุ 27 ปี  เกษตรกรหนุ่ม   อาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง  จ.สตูล  เจ้าของ “บุญรอดไฮโดรฟาร์ม”  ที่เริ่มต้นทำเกษตรด้วยการปลูกพืชในลังโฟม  ก่อนจะค่อย ๆเรียนรู้   จนมาถึงวันนี้  เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ของธุรกิจด้านการเกษตร   เติบโตมาจนถึง 5 โรงเรือนบนพื้นที่ 1 ไร่  ได้ทำเกษตรแบบระบบโรงเรือน  สามารถผลิตผักปลอดภัยส่งลูกค้าทุกวัน  วันละ 15 กก.

        ถือว่าไม่ธรรมดาสำหรับหนุ่มสตูลรายนี้  ที่ได้ก้าวเข้าสู่วงการเกษตรกรแบบสถานการณ์บังคับ   หลังเรียนจบคณะนิเทศศาสตร์  มาในช่วงพิษโควิด19 เข้ามาระบาดพอดี  งานหลายอย่างที่ตั้งใจไว้   ต้องหยุดชะงัก   แต่คุณอา  หนุ่มสตูลก็ไม่หยุดคิด   ก่อนจะมองว่า  อาชีพเกษตรกรมีความจำเป็นต่อชีวิต  ช่วงที่สถานการณ์โควิดทุกอย่างก็จะหยุดไป  แต่การเกษตรไม่หยุด   เพราะทุกคนต้องกิน  ทำให้สนใจว่า   หากทำสิ่งนี้ก็จะมีความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงสนใจผักสลัด เห็นว่าเป็นเทรนของการรักษ์สุขภาพ  กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น  

           จึงลงมือศึกษาเอาจริงเอาจังกับการปลูกผักสลัด หรือที่เรียกว่า  ผักไฮโดรโปนิกส์  ผักปลอดสารพิษ  เรียนรู้อย่างจริงจังและลงมือทำ   โดยยอมรับว่า   ขั้นตอนของการเรียนรู้  ทางการเกษตร   เป็นช่วงแรกถือว่ายากที่สุดแล้ว ต้องเรียนรู้ใหม่เองทั้งหมดทางออนไลน์   ตั้งแต่การเพาะ  เลือกเมล็ดและชนิดพันธุ์  เลือกระบบที่จะปลูกว่าเป็นระบบไหน  ทั้งระบบดิน  ระบบน้ำ ก็เลยศึกษามาเรื่อย ๆ ตรงนั้นถือเป็นจุดที่ยากที่สุด  

           มาวันนี้คุณอา  ทำการเกษตรแบบรับปลูก   ตามออเดอร์เท่านั้น  โดยมีกลุ่มลูกค้าประจำเพียง 9 ราย   แต่ ติดต่อขอรับผักทุกวัน   วันละ 15 กก.โดยมีการตกลงเสนอขายกิโลกรัมละ 100 บาท   ในผัก 8 ชนิด อาทิ  กรีนโอ๊ค  เรดโอ๊ค  ที่ขายดีที่สุด  ส่วน  บัตเตอร์เฮด  กรีนปัตตาเวีย  คอส  ผักเคล  ฟินเล่ ก็มีปลูก  ตามออเดอร์ลูกค้า  มีรายได้เฉลี่ย 30,000 ถึง 45,000 บาท

อัพเดทล่าสุด

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

         นางสาวปฏิมา   ลิมานัน    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  กล่าวว่า    ทางเกษตรอำเภอได้เข้ามาแนะนำในเรื่องของเชื้อรา   ป้องกันการเกิดโรครากเน่า  โคนเน่า พร้อมแนะนำให้น้องเข้าสมัครเข้าร่วมโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์   ในการเข้าโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เวทีระดับจังหวัด  เป็นเกษตรกรที่ปลูกผักปลอดสารพิษจุดเด่น 

         สำหรับแปลงผักของคุณอา  ใช้ระบบปิด   ปลูกในโรงเรือน  จำนวน 5 โรงเรือน  สภาพอากาศร้อนจัดและฝนเยอะทำให้ต้องเรียนรู้ และศึกษา   ทำความรู้จักพืชนิดนี้  และขณะนี้ก็กำลังทดลองปลูกนอกโรงเรือน  ว่าจะมีแมลง หรือปัจจัยอย่างอื่นที่มีผลต่อผักหรือไม่  หากไม่มี   ก็พร้อมจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม  เพราะต้นทุนจะได้ถูกลงด้วย  และอนาคตจะใช้ระบบสมาร์ทโฟนเข้าควบคุมน้ำ ปุ๋ย โดยผักสลัดใช้เวลา 40-45 วัน   ก็ให้ผลผลิตแล้ว

         เมื่ออาชีพนี้อยู่ตัวแล้ว  คุณอาก็อยากส่งต่อให้พ่อกับแม่ เป็นคนดูแลต่อ  และตัวเองก็อยากตามหาฝัน   กับอาชีพที่เรียนมา  วิชาเอกภาพยนตร์  คณะนิเทศศาสตร์  เพื่อตามความใฝ่ฝัน  แต่หากท่านใดสนใจอาชีพปลูกผักสลัดนี้   คุณอา ก็ยินดีจะแลกเปลี่ยนความรู้   ติดต่อสอบถามได้ที่   โทร  063-2042636 

………………………………………..