Categories
ข่าวเด่น

ทุกข์ชาวบ้านลิง 1,200 ตัวบุกเมืองหลวงชั้นใน รับเป็นวาระเร่งด่วน เสนอ 3 ทางออกก่อนปล่อยเกาะตะรุเตา

สตูล-ทุกข์ชาวบ้านลิง 1,200 ตัวบุกเมืองหลวงชั้นใน รับเป็นวาระเร่งด่วน เสนอ 3 ทางออกก่อนปล่อยเกาะตะรุเตา

         วันที่  16 มิ.ย.2566  ปัญหาลิงก่อกวน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในเขตเทศบาลเมืองสตูล  ขณะนี้กำลังเป็นวาระเร่งด่วน  ที่ทางเทศบาลเมืองสตูล ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และทางจังหวัดได้พยายามหาทางออก  เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน   

         โดยเฉพาะวันนี้   ได้รวบรวมผลไม้จากชาวบ้าน ชุมชน  โดยเฉพาะมะม่วงที่ตกเกรดจำนวน 2 เข่งใหญ่  มาวางไว้ยังจุดให้อาหารลิง   ภายในสวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองสตูล  ที่เตรียมพื้นที่ไว้จำนวน 3 จุด   เชื่อว่าเป็นการบรรเทาปัญหาลิงแสม  อดอาหาร และไม่ให้ออกจากเขาไปก่อกวนในตัวเมืองได้

        หลังประชากรลิง  มีตัวเลขที่เพิ่งสูงขึ้น 1,200  ตัว หลังเคยมีการทำหมันไปเมื่อปี 2556 -2557 จากนั้นก็ไม่ได้ทำหมันอีก  มาปัจจุบันลิงได้กลับมาสร้างปัญหาอีกครั้ง ในหลายชุมชน   ทั้ง   ชุมชนม้าขาว /ชุมชนโรงพระ/ ชุมชนหลังห้องสมุด/ ชุมชนศาลากันตง  โดยเฉพาะในย่านเศรษฐกิจ   นอกจากรื้อค้นทรัพย์สินชาวบ้าน แย่งของในมือเด็ก ทำลายข้าวของชาวบ้านชุมชนแล้ว  ลิงยังบุกโรงแรมใหญ่กลางเมือง ทำลายหม้อแปลงดับ   เสียหายมูลค่าทรัพย์สินนับแสนบาท  อีกทั้งอาคารหรูของเทศบาลเมืองสตูลหลายแห่ง   ก็มีการยึดเป็นที่อยู่ไปแล้ว

         จากปัญหาดังกล่าวได้มีการหารือกับนายเทอดไทย   ขวัญทอง  ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล  หรือทสจ.   เพื่อหาทางออก    โดยทางชาวบ้าน  ชุมชนได้สรุปปัญหาในการแก้ไข 3 ระยะคือ  การให้อาหารตามจุด    เพื่อบรรเทาการขาดแคลน  อาหารของลิง  , การทำหมัน (โดยมีเทศบาลเมืองสตูลสนับสนุนงบประมาณ  ,และการนำไปปล่อยเกาะที่อุดมสมบูรณ์ อย่างเช่นเกาะตะรุเตา  ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้  จะนำเข้าที่ประชุมแก้ปัญหาลิง  ระดับจังหวัดต่อไปในเร็ว ๆนี้

        ด้านนายประชิต  สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนห้องสมุด กล่าวว่า   ชาวบ้านที่เดือดร้อนปัญหาลิงแสมก่อกวน  ลงรายชื่อความเดือนร้อนจากลิง ประมาณ 200 กว่าครัวเรือน  ลิงก่อกวน ดึงสายไฟฟ้า หลังคาบ้าน บุกรื้อข้าวของ แม้กระทั้ง เรื่องอาหารการกิน  ลิงขโมย จนน่ารำคาญ นับว่าวิกฤติเลยทีเดียว  ลิงมีเยอะเกินจนชาวบ้านทนรับไม่ไหว ที่จะอยู่ร่วมกับลิง

       ทั้งนี้นายวิเชียร  ตันติอาภรณ์ นายกเทศมนตรีเมืองสตูล กล่าวว่า  ทางเทศบาลเมืองสตูล เราทราบปัญหาความเดือดร้อน   ในส่วนภาพรวมทางเทศบาลฯนั้น เราประชุมหาทางออก  จัดงบส่วนหนึ่งที่ทำหมันลิงแสม แต่ลิงเหล่านี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  ต้องหารือทางจังหวัดด้วย  และทางเทศบาลฯ เอง  รับทราบว่าทางชุมชน  ร่วมใจกันหาผลไม้สุก เป็นอาหารให้ลิงแสม ดังนั้น ทางเทศบาลฯขอเป็นธุระจัดรถ  ขนผลไม้สุก  นำอาหารมาให้ลิงเหล่านี้เอง เพื่อช่วยกันในเบื้องต้น

……………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล-ช่างเสริมสวยจิตอาสาใช้เวลาว่างลงตัดผมผู้ป่วยติดเตียงถึงบ้าน 

สตูล-ช่างเสริมสวยจิตอาสาใช้เวลาว่างลงตัดผมผู้ป่วยติดเตียงถึงบ้าน

           4 ปีแล้ว ที่ครอบครัว ประไพ อินทรสมบัติ  ใช้เวลาว่างจากการเปิดร้านเสริมสวย ทำผมให้ลูกค้า   ออกตระเวนตัดผมให้ผู้ป่วยติดเตียงฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

          นางประไพ  อินทรสมบัติ  เจ้าของร้านเสริมสวยในตัวเมืองสตูล  พร้อมบุตรสาว  นำบัตตาเลี่ยน  กรรไก เครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพ  ออกบริการตัดผมให้ลุงปรีชา วัย 68 ปี  ผู้ป่วยติดเตียง ในซอยเรืองฤทธิ์จรูญ ซอย 9  ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล  โดยใช้ทักษะการตัดผมอย่างชำนาญ  ค่อยๆตัดผมที่ยาวออกก่อนจะตัดแต่งทรง  พร้อมโกนหนวดเคราให้ลุงปรีชาตามตั้งตอนเสมือนตัดผมในร้านเสริมสวย  ซึ่งลุงบอกว่า ไม่ได้ตัดผมมาร่วมครึ่งปีแล้ว 

          โดยลุงปรีชาเป็นโรคกระดูกทับเส้นมานาน 16 ปี  อยู่บ้านเพียงลำพัง การจะออกไปตัดผมที่ร้านถือเป็นเรื่องยาก  ก่อนจะโชว์ความหล่อหลังตัดผมเสร็จเรียบร้อยด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม

          โอกาสนี้  ประไพ และบุตรสาว  ยังได้เดินทางต่อไปยังบ้านผู้ป่วยติดเตียงหลังที่ 2 เป็นหญิงสูงวัย อายุ 62 ปี  เพื่อตัดผมให้ ตามความต้องการของผู้ป่วย   โดยทรงผมที่ผู้ป่วยเลือก มีทั้ง  รองทรงสูงในผู้ชาย  ซอย ทรงผมบ๊อบ ทรงสวอกกี้  ในผู้หญิง     

 

             นางประไพ  อินทรสมบัติ  จิตอาสา กล่าวว่า  ให้บริการด้านนี้มานานเข้าปีที่ 4 แล้ว   รับผู้ป่วยติดเตียงเคสที่มีความลำบาก  มีความพิการ  ดูแล้วศักยภาพดูแลตัวเองไม่ได้   ผู้ป่วยเอดส์ก็มีในภาวะไม่แพร่กระจายของโรค  เมื่อมีคนติดต่อมา หากมีเวลาก็จะลงทำให้  โดยพยายามเลือกเคสที่ลำบากที่สุด 

         “เมื่อก่อนเปิดร้านทำผมมา 30 ปี  จะเจอลูกค้าที่หลากหลาย  จะมีลูกค้าที่เดินมาถามว่าโกนผม โกนหัวให้พ่อหนูมั้ยเพราะท่านเป็นผู้ป่วยติดเตียง  และมีผู้ป่วยพาร์กินสันส์ที่เดินได้อยู่ๆก็เดินไม่ได้   พอตัดผมไปนานๆเพราะถึงจุดอิ่มตัวก็เริ่มมองว่าจะทำบุญด้านไหนได้บ้าง    ส่วนตัวมีทักษะวิชาชีพ ในกลุ่มนี้จะมีช่างที่เข้าไปทำให้น้อยที่สุดซึ่งส่วนนี้ญาติผู้ป่วยจะมีปัญหามากที่สุด 

         เคยตัดมากสุดวันละ  3  คน  ด้วยเวลาที่ต้องเรียนด้วย  บางครั้งก็มีลูกค้ามาทำผมที่ร้าน   ส่วนเคสที่ตัดจะเป็นผู้ป่วยติดเตียงโดยจะแนะนำให้โกนศีรษะเพราะทำความสะอาดง่าย  และต้องเวียนมาตัดให้สามเดือนครั้ง 

         จริงๆแล้วอยากส่งเสริมให้ช่างในสตูลเข้ามาช่วยตรงนี้  เพราะผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านมีเยอะนะตอนนี้   แต่ทำคนเดียวก็อยากกระจายตรงนี้ ให้มาช่วยกันได้ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระและทำบุญร่วมกัน”

               ด้านนางอรัตนยา  โอสถาน   สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสตูลเขต 3  // อสม.กล่าวว่า   น้องหมวย   อยู่ในทีมเดียวกันคือ ซีจี ดูแลผู้ป่วยฟื้นฟูที่ติดบ้านติดเตียง  เป็นทีมเดียวกัน   แต่อยู่คนละชุมชน   เมื่อมีอะไรก็จะไปเยี่ยม  ถ้ามีคนผมยาวหรือจะต้องทำความสะอาดบ้านก็จะนัดกัน  โดยจะทำให้โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นคนแบบไหนลำบากคนฐานะดีๆ  ก็จะไปทำให้หากอยู่ติดบ้านติดเตียง   ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนที่ลำบากเสมอไป   ขอให้บอกจะมีทีมอย่างบ้านไหนที่คนแก่อยู่คนเดียว   ลูกหลานทิ้ง   ไม่เคยทำความสะอาดบ้านเลย   เราจะมีทีม   แจ้งมาเราจะไปช่วยทำความสะอาด
               

         การให้บริการตัดผมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ   นั้น  ครอบครัวนางประไพ ก็ไม่ได้เกี่ยงว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน   คนรวยที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้  ก็พร้อมไปตัดให้ฟรีเช่นกัน    

           

         นอกจากนี้ยังมีทีมจิตอาสา  อสม.  ซึ่งใกล้ชิดกับชาวบ้าน  กองงานสวัสดิการสังคมของเทศบาลเมืองสตูล   เมื่อพบผู้ป่วยติดเตียง ต้องการให้ช่วยตัดผม  ก็จะแจ้งมายังครอบครัวนางประไพ   และร่วมกันลงพื้นที่ให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องการความช่วยเหลือ 

…………………………………….

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลประมงปลากะตักประกาศดีเดย์ เสาร์ที่ 17  นี้ปิดร่องเต็มพื้นที่ หลังชุมนุมยืดเยื้อเป็นวันที่ 4 

สตูลประมงปลากะตักประกาศดีเดย์ เสาร์ที่ 17  นี้ปิดร่องเต็มพื้นที่ หลังชุมนุมยืดเยื้อเป็นวันที่ 4 

        (15 มิ.ย.2566)  การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มเรือประมงอวนครอบ อวนช้อนและ  อวนยกปลากะตัก  ที่ใช้เครื่องปั่นไฟ ดำเนินมาเป็นวันที่ 4 หลังนำเรือกว่า 20 ลำมาปิดร่องน้ำปากคลองปากบารา  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อเรียกร้องให้ทางการให้คำตอบที่ชัดเจนว่าจะสามารถให้พวกตน  ทำประมงไปก่อนจนกว่าจะมีการ  ทบทวนแก้ไขผู้ได้รับผลกระทบจากกฎกระทรวง ปี 2565  เรื่องการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง ในบริเวณจังหวัดสตูลได้หรือไม่   พร้อมทั้งการเรียกร้องในครั้งนี้ได้สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจว่าไม่ได้รับการเหลียวแลจากทางจังหวัดที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา 

        ขณะที่วันนี้ทางด้านนายนิพนธ์  เสนอินทร์   หัวหน้าประมงจังหวัดสตูล พร้อมหัวหน้าประมงอำเภอละงู   ตำรวจสอบสวนกลางตำรวจน้ำ  ตำรวจสภ.ละงู  ได้เดินทางเข้าเยียมเยียนกลุ่มประมงพร้อมรับฟังปัญหาพูดคุยถึงทางออกร่วมกัน  โดยมี  3 แนวทางแก้ปัญหาคือ  การเปิดเวทีทบทวนกฎกระทรวงในพื้นที่ 4 อำเภอ  ที่ได้รับผลกระทบ   2 .การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ถูกกฎหมาย ในผู้ที่เต็มใจที่จะเปลี่ยนเครื่องมือ  และ 3 การยังบังคับใช้กฎกระทรวงทะเลชายฝั่ง พ.ศ.2565   โดยไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มประมงผู้ประท้วง

           สำหรับประมงปลากะตักเป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูง แต่สามารถทำการประมงได้นอกเขตประมงชายฝั่งที่กำหนด 

        ขณะที่ด้านกลุ่มประมงผู้ประท้วงได้มีมติยกระดับปิดร่องน้ำปากคลองปากบาราทั้งหมด  วันเสาร์ที่ 17 มิ.ย.2566 ตั้งแต่เวลา 10 นาฬิกาเป็นต้นไป แบบไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการเจรจาเป็นที่พอใจ  โดยระหว่างนี้ได้ขออภัยผู้ใช้เส้นทางถึงความจำเป็นของพวกตน  และให้เวลาในการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้เส้นทางอื่น

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

นิพนธ์ ร่วมในพิธีสถาปนาคณะกรรมการบริหารสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ปีบริหาร 66-68 ย้ำจุดยืนในเรื่องความรักความสามัคคี

นิพนธ์ ร่วมในพิธีสถาปนาคณะกรรมการบริหารสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ปีบริหาร 66-68 ย้ำจุดยืนในเรื่องความรักความสามัคคี และมุ่งเน้นทำประโยชน์เพื่อชุมชน

         นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา  พร้อมด้วยนายสรรเพชญ  บุญญามณี ว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 1 สงขลา ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมฯ ร่วมในพิธีสถาปนากรรมการบริหารสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ปีบริหาร 2566-2568  มี นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา นายกสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา สมัยที่ 15  นายอนุสรณ์ โค่ยสัตยา รองนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯฮกเกี้ยนสงขลา ประจำปีบริหาร 2566-2568 ร่วมให้การต้อนรับ  ณ โรงแรมกรีนเวิล์ด พาเลช สงขลา

         ทั้งนี้สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่ ในการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกฯ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 โดยนายไพโรจน์ สุวรรณจินดา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมฯคนใหม่ เป็นสมัยที่ 15 พร้อมกับการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารของสมาคม ประจำปีบริหาร 2566-2568  ทางสมาคมฮกเกี้ยนสงขลาจึงได้จัดให้มีพิธีสถาปนาสมาคมฯขึ้น เพื่อเป็นเกียรติและแสดงความยินดีกับคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของสมาคมฯ พร้อมกับการมอบตราตั้งของสมาคมฯจากนาย คณธร รัตนปราการ นายกสมาคมฮกเกี้ยนสมัยที่ 14   โดยได้รับเกียรติจาก นางอู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา นายดนัยธร จารุพฤกษ์พันธุ์ ประธานห้าสมาคมจีนสงขลาพร้อมคณะกรรมการสมาคมฯ นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ ประธานเขตพื้นที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย   และแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธีสถาปนาสมาคมฯและแสดงความยินดีกับคณะกรรมการสมาคมฮกเกี้ยน ประจำปีบริหาร 2566-2568

           นายนิพนธ์  กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณ คุณคณธร รัตนปราการ  นายกสมาคมฮกเกี้ยนที่ได้ทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และส่งมอบภารกิจของสมาคมฮกเกี้ยนให้กับท่านนายกคนที่ 15 ในวันนี้ ผมจึงถือโอกาสนี้ขอแสดงความยินดีกับท่านไพโรจน์ สุวรรณจินดา และแสดงความยินดีกับคณะกรรมการสมาคมฮกเกี้ยนทุกท่านที่ได้เสียสละ เข้ามาแบ่งรับภารกิจของสมาคม สิ่งหนึ่งที่พวกเราควรรักษาเอาไว้นั่นคือความรักความสามัคคีในหมู่คนไทยเชื้อสายจีนทุกตระกูลแซ่ ที่เราถือว่าเมื่อเรามาอยู่ในประเทศไทยและได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของพวกเรา จากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงรุ่นของพวกเรา แต่สิ่งหนึ่งที่สอนเรา นั่นคือความรักความสามัคคีช่วยเหลือกัน ผมอยากเห็นบรรยากาศอย่างนี้อยู่คู่กับเมืองสงขลา  หรือแม้แต่อยู่คู่ชาวหาดใหญ่ ซึ่งผมไม่อยากแบ่งสงขลาหรือหาดใหญ่ แต่อยากบอกว่าพวกเราสงขลาทั้งหมดอยากให้มีความรักความสามัคีกัน และทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม อยากเห็นพวกเราร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนพัฒนาชุมชนที่พวกเราอยู่อาศัย

        วันนี้จึงดีใจที่เห็นสมาคมฮกเกี้ยนเป็นปึกแผ่น และร่วมมือร่วมในกันที่จะพัฒนาสมาคม นำสมาคมไปสู่การทำกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศลต่างๆในวันข้างหน้า ช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือสมาชิกด้วยกันด้วยความผูกพันในความรักความสามัคคี

        ซึ่งท่านกงสุลใหญ่ประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน  ท่านได้พูดถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ผมคิดว่าความสัมพันธ์อันนี้เรามีทุกระดับ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า สมเด็จพระเทพฯท่านได้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครบครั้งที่ 50 นั่นหมายความว่าความสัมพันธ์ตั้งแต่ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับราชวงศ์มาถึงระดัยฝ่ายบริหารต่างๆมีความใกล้ชิดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

  ผมจึงขอถือโอกาสนี้ให้กำลังใจทุกภาคส่วนในการที่จะช่วยกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน ดั่งที่พวกเราพูดกันว่าไทยจีนมิใช่อื่นไกล เราพี่น้องกัน จึงอยากให้พวกเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ แล้วรำลึกภึงบรรพบุรุษเรามาอยู่ที่นี่ด้วยความยากลำบาก และเราผ่านพ้นวิกฤตทุกวิกฤตที่เกิดขึ้นด้วยความผูกพันของพวกเรา ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงอยากเห็นสิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่และใช้ในการสร้างสานสัมพันธ์ทุกตระกูล แซ่เข้าด้วยกัน

………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ

ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ  ขณะที่สำนักงานประมงจังหวัดเตรียมแผนทบทวนกฎกระทรวง 2565 

         วันที่ 14 มิ.ย.2566  ที่ปากร่องน้ำในคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล   กลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ยังคงปักหลักในการชุมนุมประท้วงด้วยการนำเรือขณะนี้ 23 ลำปิดเส้นทางเข้า-ออก (แม้ขณะนี้เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเข้าออกได้)   เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความชัดเจนในข้อเสนอ

           หลังตลอดของการประท้วงเรียกร้องตลอด 3 วันที่ผ่านมากลับมองว่าไม่ได้รับการพูดคุยเจรจามีเพียงปลัดอาวุโสรักษาการแทนนายอำเภอละงู เข้ามารับหนังสือข้อเรียกร้องเท่านั้น  ทำให้ทางกลุ่มประมงผู้ชุมนุมประท้วงมีมติว่าในวันพรุ่งนี้จะยกระดับการชุมนุมด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งฝั่งหลังไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐมาพูดคุยเจรจา

 

          นายวรวิทย์ หมีนหวัง อายุ 38 ปี หนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนในครั้งนี้ของชาวประมง  เปิดเผยว่า  ตลอดการชุมนุมเรียกร้องไม่ได้รับการเหลียวแล หรือคำชี้แจงมีเพียงการมาเพื่อรับเรื่องร้องเรียกร้องเท่านั้น  ข้อเสนอต่างๆก็เงียบหายไป  ในเมื่อเป็นแบบนี้ทางผู้ชุมนุมมีมติว่าจำเป็นต้องยกระดับ  เพื่อให้รัฐเร่งออกมาพูดคุยหาทางออกให้กับพวกตน  ไม่ใช่เงียบแบบนี้ด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งช่องในวันพรุ่งนี้  ซึ่งพวกเราก็ไม่อยากทำแต่เห็นว่าภาครัฐได้บีบบังคับ 

 

         สำหรับข้อเรียกร้องยังคงยืนยันในข้อเดิม  2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่    และ  2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่

 

อัพเดทล่าสุด

          นายนิพนธ์    เสนอินทร์ ประมงจังหวัดสตูล   เปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉย  ได้เตรียมแผนเสนอทางจังหวัดด้วยการเปิดเวทีทบทวน 4 อำเภอ ในกฎกระทรวง กำหนดเขตทะเลชายฝั่ง  ปี 2565 ที่ออกมาบังคับใช้ว่ามีส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายทั้ง ประมงพื้นบ้าน  ประมงพื้นบ้านที่ใช้เครื่องมือพาณิชย์ และประมงพาณิชย์ รวมทั้ง NGO เชื่อว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อพูดคุยร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระยะสั้นต้องขอความร่วมมือผู้ชุมนุมให้เปิดเส้นทางเพราะมีคนอื่นได้รับความเดือดร้อน  ส่วน MOU ที่กล่าวอ้างไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากผิดต่อกฎหมายทั้งด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร 

           เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก  (วันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข)  โดยพบเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์     เรือโชคอามีหรน    และเรือโชคสมุทร   พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คนซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะนั้น  

…………………………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023 จัดโดยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

         สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  จัดการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นระดับภูมิภาค (Regional Seminar) ในหัวข้อ “ความอยู่รอดของสื่อออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” หรือ Survival of Online News Providers in the Changing World เป็นการรวมตัวกันของตัวแทนผู้ผลิตสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่มาร่วมแลกเปลี่ยน หารือเกี่ยวกับปัญหา สถานการณ์และแนวทางการทำธุรกิจสื่อออนไลน์ในภูมิภาคนี้ โดยได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส และถ่ายทอดสดออนไลน์ทางเฟซบุ๊กสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ www.fb.com/SONPThai และไทยพีบีเอส www.fb.com/ThaiPBS

         นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำว่า  ภูมิทัศน์สื่อในภูมิภาคอาเซียนปรับเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะพฤติกรรมผู้รับสารที่ปรับเปลี่ยนไปโดยเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Key Opinion Leader  หรืออินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับข่าวสารเป็นอย่างมาก ดังนั้นสื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมงานจะสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด พร้อมทั้งเสนอแนวทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตสื่อที่เน้นถึงคุณภาพของคอนเทนต์  ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางในการสร้างโมเดลธุรกิจ สำหรับหารายได้ให้องค์กรสื่อมีความยั่งยืนทางธุรกิจ  โดยในงานนี้ได้สรุปถึงที่มาและภาพรวมของพัฒนาการของอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียน โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งสมาคมฯ อีกด้วย

 

          การสัมมนาดังกล่าว ได้เชิญตัวแทนจากสื่อออนไลน์ชื่อดังในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว   ร่วมหารือใน 3 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อที่ 1 “กลยุทธ์ด้านเนื้อหา (Content Strategy)” นำเสนอการพัฒนาการนำเสนอเนื้อหาและกลยุทธ์ในมุมมองใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน โดย Min Thaw Htut, Executive Director of Eleven Media Group เมียนมาร์,  Thong Sovan Raingsey, General Director of Koh Santepheap Media จากกัมพูชา และ Somsack Pongkhao, News Editor of Vientiane Times จากลาว หัวข้อที่ 2 “โมเดลธุรกิจ (Business Model)” ศึกษาสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่อย่างไร เพื่อดึงดูดผู้อ่านและผู้ชมมากขึ้น ในขณะที่แพลตฟอร์มทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ร่วมเสวนาโดย Do Min Thu  Executive,  VietnamPlus Online News จากเวียดนาม , Rosette Santillan Adel, Online Writer/Editor of Philstar.com  จากฟิลิปปินส์ และ Adek Media Roza Ph.D .Director of Katadata Insight Center จากอินโดนีเซีย  โดยทั้งสองหัวข้อ ร่วมดำเนินรายการเสวนาโดย น.ส.ณัฎฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวนการ Thai PBS World จาก Thai PBS  และหัวข้อที่ 3  “โอกาสการสร้างรายได้ (Monetization Opportunity)” โอกาสใหม่ ๆ และการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ของการหารายได้ที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดย  Chia Ting Ting,  Chief Commercial Officer Malaysiakini จากมาเลเซีย และนายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  ดำเนินรายการโดย น.ส.ธันย์ชนก จงยศยิ่ง บรรณาธิการ TNN World

 

         ตัวแทนสื่อจากมาเลเซียกล่าวว่า สื่อ ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด การกำหนดจุดยืนของแบรนด์ในระดับโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสื่อจำนวนมากลงไปแข่งขันในระดับนานาชาติ นอกจากนั้น สื่ออาจต้องเน้นให้บริการลูกค้าในด้านการบริหารชื่อเสียง การให้คำแนะนำด้านการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า รวมทั้งการให้ความรู้กับสาธารณชนด้วย  การจำแนกฐานลูกค้า การเข้าใจลูกค้าแบบลึกซึ้ง การเข้ากันได้แบรนด์ลูกค้ากับสื่อของเราก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเช่นเดียวกัน

        ขณะที่ตัวแทนจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่า “สื่อต้องหากลุ่มเฉพาะของตัวเองให้เจอ ส่วนเนื้อหาที่ Google ต้องการในปัจจุบัน  คือเรื่องเกี่ยวกับการให้ความหวัง สุขภาพจิต สิ่งแวดล้อม และการข่มขู่คุกคามจะได้รับการผลักดันมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

 

        ตัวแทนสื่อจากลาว กล่าวว่า ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 สื่อมวลชนลาวต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อความอยู่รอด แต่เดิมหารายได้จากการขายพื้นที่โฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องปรับตัวหารายได้จากออนไลน์ โดยผู้บริโภคข่าวสารในลาวที่รับข่าวสารผ่านระบบออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

        ตัวแทนจากเมียนมาร์ กล่าวว่า ภายในประเทศยังคงมีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด จนทำให้สื่อหลาย ๆ รายต้องปิดตัวลง เป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวพม่าต้องใช้ VPN ในการเข้าถึงเนื้อหาที่ถูกปิดกั้น สื่อมวลชนพม่าจำนวนมากถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และกักขังจากการเสนอเนื้อหาหรือความจริงที่ไม่ถูกใจรัฐ แม้จะยากลำบากในการทำสื่อขนาดไหน ทางตัวแทนพม่าได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ถึงแม้คุณจะถูกห้ามไม่ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำเรื่องไม่ดีแทน”

 

       ด้านตัวแทนจากกัมพูชา ให้คำแนะนำว่า “การแบ่งกลุ่มชุดเนื้อหาให้เหมาะกับกลุ่มเฉพาะ (Niche) เป็นสิ่งที่ควรทำ การทำข่าวในปัจจุบันเป็นเรื่องที่เน้นความเร็ว และควรมีความครอบคลุมหลากหลายกลุ่มผู้ชม และเห็นว่า COVID-19 ได้กระตุ้นให้สื่อต้องปรับกลยุทธ์อย่างมากเพื่อความอยู่รอด

 

        ตัวแทนจากฟิลลิปปินส์ กล่าวว่า สื่อมวลชนนำเสนอคอนเทนต์ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าการเมือง สังคม กีฬา ในช่วงนี้สื่อจะผลิตเนื้อหาที่สั้นลงให้เข้ากับพฤติกรรมผู้รับสาร และเน้นไปที่การนำเสนอแบบไลฟ์สด หรือ Real Time โดยเนื้อหาที่ครองใจคนได้ คือเนื้อหาที่มีทั้งภาพและเสียง ( Visualization)  พร้อนแนะนำว่า การทำคอนเทนต์ให้ตรงใจกับผู้รับสารจะเป็นประโยชน์กับตัวสำนักข่าวเอง ส่วนการที่จะไปต่อสู้กับโซเชียลมีเดีย หรือเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ องค์กรสื่อเองต้องมีความน่าเชื่อถือและทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้ายามของสังคม รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน

 

        ตัวแทนจากอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจว่า “การหาทุนในการทำข่าวเชิงลึกเป็นเรื่องที่ยาก สื่อต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน อีกทั้งสื่อยังต้องมีการคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจก่อนการผลิตเนื้อหา ไม่เช่นนั้นการหารายได้จะลำบากอย่างยิ่ง”  

 

        นอกจากนี้ยังได้จัดการสนทนาแบบ Roundtable ในหัวข้อ “The Future of News Website in ASEAN” โดยเปิดโอกาสให้วิทยากรทั้งหมด ​ได้แสดงความคิดเห็นและถาม-ตอบร่วมกับผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คน

          ผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), มูลนิธิเอสซีจี,  สายการบินไทยแอร์เอเชีย, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ทั้งนี้สามารถติดตามชมบรรยากาศและเนื้อหาตลอดการประชุมย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/SONPThai และ YouTube Thai PBS : ช่วงที่ 1 http://youtu.be/9jpqD9eFJok , ช่วงที่ 2 https://youtu.be/ylM3Ql03LBY

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

กรีดยาง 30 ปี ชีวิตไม่ดีขึ้น เกษตรกรสตูลใจเด็ด! โค่นยางพาราปลูกพืชผสมผสาน รายได้หลักแสนต่อปี

กรีดยาง 30 ปี ชีวิตไม่ดีขึ้น เกษตรกรสตูลใจเด็ด! โค่นยางพาราปลูกพืชผสมผสาน รายได้หลักแสนต่อปี

         ต้นสละสายพันธุ์สุมาลี  200 ต้น  เป็นความหวังของครอบครัว  พัชรี  ทิ้งน้ำรอบ  เกษตรกรชาวท่าแพ จังหวัดสตูล  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา พลิกผืนดินปลูกผลไม้ พืชสวนผสม บนพื้นที่ 9 ไร่  แม้สละจะยังไม่ให้ผลผลิต  แต่พืชผักชนิดอื่นซึ่งปลูกไว้ควบคู่กันได้ให้ผลผลิตหลักแสนบาทต่อปีแล้ว

         โดย นางพัชรี ทิ้งน้ำรอบ ได้ทำการเกษตรบนพื้นที่ 9 ไร่ แบ่งเป็น 3 แปลง ได้แก่ แปลงที่ 1 เนื้อที่ 4 ไร่ ปลูกสละ ขนุน เงาะ กระท้อน ขณะนี้ยังไม่ให้ผลผลิต และได้ปลูกกล้วย โหระพา พริกพันธุ์เหลืองพัทลุง  ไปพร้อมๆกัน  โดยพริกพันธุ์เหลืองพัทลุงให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องสามารถเก็บพริกได้ 3 วันครั้ง รายได้ครั้งละ 300-400 บาท     

         ส่วนแปลงที่ 2 เนื้อที่ 3 ไร่ ปลูกละมุด 140 ต้น และแปลงที่ 3 ปลูกโหระพา มีรายได้จากการขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางประมาณ 291,000 บาท/ปี  โดยได้เข้าร่วมโครงการเกษตรวิถีใหม่ กับทางสหกรณ์การเกษตรท่าแพ จํากัด และได้รับงบประมาณสนับสนุน จำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรในการปลูกสละ เพื่อซื้อปัจจัยการผลิตพันธุ์สละ ปุ๋ย ระบบน้ำและรวมไปถึงการปลูกพืชแบบผสมผสานเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกด้วย

 

          ด้านนางพัชรี  ทิ้งน้ำรอบ  กล่าวว่า  ได้ปรึกษากับสมาชิกในครอบครัวและดูผ่าน YouTube ก่อนจะตัดสินใจโค่นยางพาราแล้วมาลุยปลูกพืชผสมผสาน  ผลตอบรับดี  รายได้มีทุกวัน  ตอบโจทย์ดีกว่าตัดยางพารามากๆ จากตัดยางมานาน 30 กว่าปีตั้งแต่วัยรุ่นจนปัจจุบันอายุ 50 กว่าปีแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น   พอหันมาทำตรงนี้รู้สึกมีความหวังอย่างสละนี้  คาดว่าจะได้ผลตอบรับอย่างดี  

          นางพัชรี  ทิ้งน้ำรอบ  กล่าวอีกว่า  ได้มาทำตรงนี้ถือว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  ทั้งพริก  พืชผักต่างๆที่ปลูกสามารถกินได้  ผักหวาน  ผักกวางตุ้ง  ในส่วนของราคายางขอพูดถึงช่วงแพง  มีรายได้วันละ 1,000 กว่าบาท เมื่อยางค่อยๆลงมาเหลือวันละ 200 กว่าบาท   ราคายางลดลง แต่สินค้าที่จำเป็นต้องซื้อยังแพงเหมือนเดิม  คิดว่าไปไม่รอดจึงหันมาทดลองปรับเปลี่ยนปลูกพืชผสมผสานแทน   ในส่วนของพืชผสมผสานนี้  คิดว่าเพียงพอเลี้ยงครอบครัว  แต่จะให้เหลือเยอะเยอะตอนนี้ยังทำไม่ได้  เมื่อมีรายได้จากการขายผักก็นำมาลงกับผลไม้ทั้งการซื้อปุ๋ยเพื่อดูแลผลไม้

 

         ด้านนายดลวากิ๊ฟ  ทิ้งน้ำรอบ  ลูกชาย  กล่าวว่า   ได้มาช่วยในเรื่องของการทำปุ๋ย  ฮอร์โมนพืช   การหาข้อมูลสมัยใหม่มาเพื่อปรับปรุง   ทั้งเรื่องระบบน้ำ  เมื่อก่อนปลูกยางอย่างเดียวมันเป็นอาชีพหน้าเดียวรายได้ไม่มั่นคง  เมื่อฤดูฝนก็ขาดรายได้  พอเปลี่ยนเป็นปลูกพืชผสมผสานเราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวัน อยู่ที่ความขยันของเราด้วย

          ในโอกาสนี้  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นางรอซนานี สันหมุด หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม นายถาวรศักดิ์ รัตนชูศรี สหกรณ์จังหวัดสตูล และสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงพืชสวนผสมของนางพัชรี ทิ้งน้ำรอบ สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการเกษตรวิถีใหม่ ณ บ้านเลขที่ 55/2 หมู่ 5 บ้านท่าแพใต้ ตำบลท่าแพ  อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยมี นายอิสดาเร๊ะ องสารา ประธานกรรมการสหกรณ์ นายประชา กาสาเอก ผู้จัดการสหกรณ์ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ

         โอกาสนี้ อธิบดีฯ ได้กล่าวถึง  การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ ที่ได้ส่งเสริมให้สมาชิกปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว  มาทำเกษตรที่มีความหลากหลาย  ซึ่งว่าเป็นตัวอย่างที่ดี รวมไปถึงมีการเชื่อมโยงการขายไปยังตลาดต่างประเทศ  และทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว  สำหรับการเข้ามาสนับสนุนสหกรณ์ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นการช่วยเหลือ พลิกฟื้นการประกอบอาชีพ และมีการผ่อนผัน ขยายเวลาการชำระหนี้ สนับสนุนทุนเสริมในการประกอบอาชีพ สร้างอาชีพใหม่  เพื่อให้เกิดรายได้ ซึ่งกรมฯ มีเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ พร้อมสนับสนุนให้สหกรณ์นำไปให้สมาชิกปรับเปลี่ยนวิถีการทำการเกษตรแบบใหม่ ปลูกพืช ไม้ผล ชนิดอื่นเพิ่มในแปลง ทำให้มีรายได้รายวัน รายเดือน รายปี

        พร้อมกันนี้   อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  ฝากสหกรณ์ว่า  นอกจากการส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกแล้ว ต้องส่งเสริมด้านการตลาด ให้มีการเชื่อมโยงผู้ประกอบการต่าง ๆ พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรรุ่นใหม่ใช้องค์ความรู้มาต่อยอดอาชีพการเกษตร  และในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง ขยายผลไปยังสมาชิกรายอื่น เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ ไม่มีหนี้สิน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากนั้น อธิบดีฯ ผู้ตรวจราชการกรม สหกรณ์จังหวัด ได้ร่วมกันปลูกต้นส้มโอทับทิมสยาม ในแปลงเก็บของสมาชิกสหกรณ์ด้วย

……………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

คืบหน้า..สตูลเรือปลากะตักทวงสัญญากดดันต่อ   หลังถูกจับ 3 ลำ 12 คน

คืบหน้า…สตูลเรือปลากะตักทวงสัญญากดดันต่อ   หลังถูกจับ 3 ลำ 12 คน

        (11 มิถุนายน 2566)  จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกปฏิบัติงานตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข) ปรากฏพบมีเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตัก  ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ  เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร)

            จึงเข้าทำการตรวจสอบและจับกุม ทราบต่อมาว่าเรือประมงอวนครอบปลากะตัก  ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์     เรือโชคอามีหรน    และเรือโชคสมุทร   พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คน  ซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดี  ที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะ   อำเภอเมือง    จังหวัดสตูล  ส่งผลให้ชาวประมงเรือ  อวนปลากะตักทุกลำ  ที่ทำการประมงในพื้นที่   ไม่กล้าออกทำการประมงต่อไปอีกได้

           ส่งผลให้วันนี้  มีการนำเรือมาจอด  บริเวณปากเส้นทางเข้าออก  ร่องน้ำปากบารา  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  หาแนวทางแก้ไขในเรื่อง  พื้นที่ทำการประมง    ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่  และพื้นที่ทับซ้อนของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา    พร้อมอ้างถึง   วันที่ได้มาทำข้อตกลงร่วมกัน  ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น   นายอำเภอ   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล    หัวหน้าอุทยานเกาะตะรุเตา   สมาชิกสภาจังหวัด   สมาคมประมงจังหวัดและผู้นำชุมชนในพื้นที่   เพื่อให้มีการลดหย่อนพื้นที่  ออกทำการประมงพื้นบ้าน  ที่มีขนาดไม่เกิน 10 ตันกอส  จนกว่าจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน  

 

          อีกทั้งได้อ้างถึงเอกสาร  ประกอบกับวันที่ 17 มีนาคม 2566  พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์    หักพาล   รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  และเชิญตัวแทนประมงพื้นบ้านเข้าร่วมประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหา  พื้นที่ทำประมงในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา    และได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  รับเรื่องความเดือดร้อน  จากการประกาศเขตไมล์ทะเลไว้พิจารณา   และเร่งรัดการประชุมกับคณะกรรมการประมงจังหวัด  ซึ่งประกอบด้วยประมงจังหวัด  และอุทยาน   ว่าจะกำหนดเขตใหม่  มีร่องน้ำใดที่ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพต่อไปได้    ซึ่งทางอำเภอละงูได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล   เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ  จึงขอให้ท่านช่วยติดตามความคืบหน้าดังกล่าว  และแจ้งให้กรมประมงทราบอีกทางหนึ่งด้วย

         ด้าน นายวรวิทย์   หมีนหวัง  อายุ 38 ปี   ตัวแทนประมงปลากะตัก  ผู้ยื่นข้อเรียกร้องเปิดเผยว่า  การนำเรือมาครั้งนี้เพื่อทวงสิทธิ์ในครั้งนั้นที่มีการพูดคุย   มาวันนี้ยังมีการจับกุมอีก  และหากมีการเสียค่าปรับไปแล้วตามที่เจ้าหน้าที่จับกุมกล่าวอ้าง  ว่าไม่รู้การทำข้อตกลงกัน  แล้วจะจับกุมอีกหรือไม่     การจอดเรือในครั้งนี้  ไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อนหรือเสียหาย แต่จะจอดอยู่แบบนี้ไปจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรไม่เอาแล้วด้วยวาจา 

 

อัพเดทล่าสุด

         จากนั้นได้มีการพูดคุยเจรจากับนายธวัช   ช่วยเกตุ  ปลัดอาวุโสอำเภอละงู (รักษาการแทนนายอำเภอละงู) พร้อมรับหนังสือข้อเสนอต่อผู้บังคับบัญชา และเชื่อว่าจะสามารถพูดคุยกันได้  สถานการณ์น่าจะคลี่คลายในเร็ววัน  เพราะที่ผ่านมากลุ่มประมงดังกล่าวก็พร้อมจะปฏิบัติตาม  หากมีการชี้แจงพูดคุย  เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่ทำกิน

         ขณะที่เรือสปีดโบทโดยสารจำนวน   20 ลำ  วิ่งจากท่าเทียบเรือปากบารา ตำบลปากน้ำ  ไปยังเกาะตะรุเตาและหลีเป๊ะ  (ซึ่งต้องวิ่งผ่านร่องน้ำคลองปากบารา)  ยังไม่เชื่อมั่นถึงสถานการณ์ว่า  จะยืดเยื้อหรือไม่   ได้นำเรือไปจอดลอยลำบริเวณชายหาดปากบารา  และที่บริเวณแหลมเต๊ะปันไว้ชั่วคราวทั้ง 2 จุด   เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์    ชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์  (ปลากะตัก) เกิดนำเรือปิดอ่าว  บริเวณร่องน้ำปากคลองปากบารา  จะได้ไม่เกิดผลกระทบกับนักท่องเที่ยว  ที่จะเดินทางจากท่าเทียบเรือปากบารา  ไปยังเกาะหลีเป๊ะได้

………………………………………………

Categories
ข่าวเด่น

ประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ทวงสัญญา  บิ๊กโจ๊ก  นำเรือจอดเชิงสัญลักษณ์หลังเรือถูกจับ 

ประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ทวงสัญญา  บิ๊กโจ๊ก  นำเรือจอดเชิงสัญลักษณ์หลังเรือถูกจับ  ขณะที่เรือโดยสารท่องเที่ยวหวั่นกระทบหาที่จอดชั่วคราว

         (วันที่ 12 มิ.ย. 2566)  ที่ชายหาดปากบาราและที่บริเวณแหลมเต๊ะปัน   ร่องน้ำคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูล  ผู้ประกอบการนำเที่ยวเรือสปีดโบทโดยสารจำนวน  20  ลำ  ออกมาหาที่จอดรับส่งนักท่องเที่ยวชั่วคราวไว้ทั้งสองจุด   เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์    ชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์นำเรือปิดอ่าวบริเวณร่องน้ำปากคลองปากบารา  เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางจากท่าเทียบเรือปากบารา  ไปยังเกาะหลีเป๊ะ

          นายมะหาด   นาดมา อายุ 52 ปี  กัปตันเรือพลอยสยาม  ยืนยันว่าได้นำเรือออกมาจากท่าเทียบเรือปากบารา  เพราะหวั่นว่า  หากมีการชุมชนประท้วงปิดปากคลองร่องน้ำจะไม่สามารถนำเรือออกมาได้  ซึ่งเรือที่เชื่อว่าต้องเอาออกมาจอดตามชายหาดปากบาราไม่น้อยกว่า 20 ลำ  เพื่อป้องกันความยืดเยื้อของการชุมนุมที่อาจจะส่งผลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวได้

          โดยขณะนี้กลุ่มชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ได้นำเรือจำนวน 15   ลำ  ต่างทยอยนำเรือมาจอดเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์แล้วที่ร่องน้ำคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูลแล้ว   

         โดย  พ.ต.ท.ประเดิม   แก้วทอง   รอง ผกก.สส.สภ.ละงู ,พ.ต.ท.อำนวย จันทร์สุข รอง ผกก.ป.สภ.ละงู พร้อม จนท.ตร.สภ.ละงู   ได้รับแจ้งว่า  มีตัวแทนชาวประมงจังหวัดสตูล นำโดย นายวรวิทย์   หมีนหวัง  ชาวบ้าน  ม.6 ต.ปากน้ำ อ.ละงู พร้อมชาวประมง จำนวนประมาณ 10 คน นำเรือประมงมาร่วมแสดงเชิงสัญลักษณ์    โดยยืนยันว่าไม่ได้ปิดเส้นทางเดินเรือแต่อย่างใด   โดยได้รวมตัวกันที่บริเวณแหลมเต๊ะปัน ม.2 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล โดยตัวแทนชาวประมงจังหวัดสตูล ได้เรียกร้องจำนวน 2 ข้อ ดังนี้

        1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่

        2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่

อัพเดทล่าสุด

          เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้น   หลังมีการจับกุมเรือ   ชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกปฏิบัติงานตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข) ปรากฏพบมีเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) จำนวน 3 ลำ  กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จึงเข้าทำการตรวจสอบและจับกุม ทราบต่อมาว่าเรือประมงอวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ลำดังกล่าว ชื่อเรือ ชิฟาอ์  ขนาด 9.93 ตันกรอส มี นายวิรัตน์ หนูวงศ์ อายุ 43 ปี ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นผู้ควบคุมเรือ  ส่วนอีก 2 ลำ คือ  เรือชื่อ โชคสมุทรนำโชค  และ เรือโชคอามีรน

Categories
ข่าวทั่วไป

เริ่มแล้ว! สตูลฤดูกาลกินผลไม้พื้นเมือง  จำปาดะ พืชGI  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แนะส่งขายจีนเพิ่มมูลค่า

เริ่มแล้ว! สตูลฤดูกาลกินผลไม้พื้นเมือง  จำปาดะ พืชGI  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แนะส่งขายจีนเพิ่มมูลค่า

        เริ่มแล้วฤดูกาลผลไม้พื้นเมืองจังหวัดสตูล   โดยเฉพาะผลไม้ที่ได้รับการยกระดับเป็นพืช  GI  อย่างจำปาดะ  ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีลักษณะเด่น   คล้ายผลขนุน  มีรสชาติกลมกล่อม  เนื้อละมุน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เริ่มให้ผลผลิตผู้ที่ชื่นชอบได้รับประทานในช่วงเดือนมิ.ย.ไปจนถึงเดือน ส.ค.กันแล้ว

 

         โดยในช่วงแรกนี้หลายสวนผลไม้   ให้ผลผลิตในล็อตแรกกันไม่น้อยกว่า 1,000  กิโลกรัม และล็อตที่สองและสามประมาณ 3,000 กิโลกรัม  โดยเฉพาะในสวนของเกษตรกรแปลงใหญ่ จำปาดะอำเภอควนโดนของนายรอเสด  ตาเดอิน  ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น  จากกรมวิชาการเกษตร ที่มีการปลูกจำปาดะพันธุ์ขวัญสตูล , น้ำดอกไม้ และอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อ 

         โดยมีนางอัจฉรา  หลงสะเตีย อายุ 61 ภรรยาเป็นคนแปรรูปจำหน่าย และแปรรูปโชว์ตามงานสำคัญที่มีการประสานให้มีการออกบูธมาโชว์โดยเฉพาะใน งาน   “เปิดอาคารตลาดสินค้าเกษตร  สหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัด”  ซึ่งมีนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาร่วมภายในงาน  ได้ร่วมรับประทานและชื่นชมในรสชาติ พร้อมแนะให้เกษตรกรรักษาคุณภาพเพื่อเปิดตลาดให้ประเทศจีนได้รู้จัก ความอร่อยของผลไม้พื้นเมือง อย่างจำปาดะของจังหวัดสตูลให้เป็นวงกว้างขวางมากยิ่งขึ้น  

        สำหรับสายพันธุ์จำปาดะที่นำมาแปรรูปด้วยการทอด นอกเหนือจากการทานแบบสด ๆ โดยเลือกผลผลิตที่ไม่สุกฉ่ำเกินไปมาทอดเพราะอาจจะอมน้ำมันได้   แต่มีรสชาติหวาน    ส่วนผลจำปาดะที่ไม่สุกมากเกิน   อย่างพันธุ์ขวัญสตูลก็จะมีรสชาติที่แตกต่างกัน

       สำหรับราคาจำปาดะจะมีการจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 – 200 บาทแล้วแต่สายพันธุ์ ส่วนการแปรรูปขาย 5 เม็ด 20 บาท  

อัพเดทล่าสุด