Categories
ข่าวทั่วไป

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023 จัดโดยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

         สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  จัดการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นระดับภูมิภาค (Regional Seminar) ในหัวข้อ “ความอยู่รอดของสื่อออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” หรือ Survival of Online News Providers in the Changing World เป็นการรวมตัวกันของตัวแทนผู้ผลิตสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่มาร่วมแลกเปลี่ยน หารือเกี่ยวกับปัญหา สถานการณ์และแนวทางการทำธุรกิจสื่อออนไลน์ในภูมิภาคนี้ โดยได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส และถ่ายทอดสดออนไลน์ทางเฟซบุ๊กสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ www.fb.com/SONPThai และไทยพีบีเอส www.fb.com/ThaiPBS

         นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำว่า  ภูมิทัศน์สื่อในภูมิภาคอาเซียนปรับเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะพฤติกรรมผู้รับสารที่ปรับเปลี่ยนไปโดยเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Key Opinion Leader  หรืออินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับข่าวสารเป็นอย่างมาก ดังนั้นสื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมงานจะสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด พร้อมทั้งเสนอแนวทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตสื่อที่เน้นถึงคุณภาพของคอนเทนต์  ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางในการสร้างโมเดลธุรกิจ สำหรับหารายได้ให้องค์กรสื่อมีความยั่งยืนทางธุรกิจ  โดยในงานนี้ได้สรุปถึงที่มาและภาพรวมของพัฒนาการของอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียน โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งสมาคมฯ อีกด้วย

 

          การสัมมนาดังกล่าว ได้เชิญตัวแทนจากสื่อออนไลน์ชื่อดังในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว   ร่วมหารือใน 3 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อที่ 1 “กลยุทธ์ด้านเนื้อหา (Content Strategy)” นำเสนอการพัฒนาการนำเสนอเนื้อหาและกลยุทธ์ในมุมมองใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน โดย Min Thaw Htut, Executive Director of Eleven Media Group เมียนมาร์,  Thong Sovan Raingsey, General Director of Koh Santepheap Media จากกัมพูชา และ Somsack Pongkhao, News Editor of Vientiane Times จากลาว หัวข้อที่ 2 “โมเดลธุรกิจ (Business Model)” ศึกษาสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่อย่างไร เพื่อดึงดูดผู้อ่านและผู้ชมมากขึ้น ในขณะที่แพลตฟอร์มทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ร่วมเสวนาโดย Do Min Thu  Executive,  VietnamPlus Online News จากเวียดนาม , Rosette Santillan Adel, Online Writer/Editor of Philstar.com  จากฟิลิปปินส์ และ Adek Media Roza Ph.D .Director of Katadata Insight Center จากอินโดนีเซีย  โดยทั้งสองหัวข้อ ร่วมดำเนินรายการเสวนาโดย น.ส.ณัฎฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวนการ Thai PBS World จาก Thai PBS  และหัวข้อที่ 3  “โอกาสการสร้างรายได้ (Monetization Opportunity)” โอกาสใหม่ ๆ และการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ของการหารายได้ที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดย  Chia Ting Ting,  Chief Commercial Officer Malaysiakini จากมาเลเซีย และนายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  ดำเนินรายการโดย น.ส.ธันย์ชนก จงยศยิ่ง บรรณาธิการ TNN World

 

         ตัวแทนสื่อจากมาเลเซียกล่าวว่า สื่อ ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด การกำหนดจุดยืนของแบรนด์ในระดับโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสื่อจำนวนมากลงไปแข่งขันในระดับนานาชาติ นอกจากนั้น สื่ออาจต้องเน้นให้บริการลูกค้าในด้านการบริหารชื่อเสียง การให้คำแนะนำด้านการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า รวมทั้งการให้ความรู้กับสาธารณชนด้วย  การจำแนกฐานลูกค้า การเข้าใจลูกค้าแบบลึกซึ้ง การเข้ากันได้แบรนด์ลูกค้ากับสื่อของเราก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเช่นเดียวกัน

        ขณะที่ตัวแทนจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่า “สื่อต้องหากลุ่มเฉพาะของตัวเองให้เจอ ส่วนเนื้อหาที่ Google ต้องการในปัจจุบัน  คือเรื่องเกี่ยวกับการให้ความหวัง สุขภาพจิต สิ่งแวดล้อม และการข่มขู่คุกคามจะได้รับการผลักดันมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

 

        ตัวแทนสื่อจากลาว กล่าวว่า ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 สื่อมวลชนลาวต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อความอยู่รอด แต่เดิมหารายได้จากการขายพื้นที่โฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องปรับตัวหารายได้จากออนไลน์ โดยผู้บริโภคข่าวสารในลาวที่รับข่าวสารผ่านระบบออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

        ตัวแทนจากเมียนมาร์ กล่าวว่า ภายในประเทศยังคงมีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด จนทำให้สื่อหลาย ๆ รายต้องปิดตัวลง เป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวพม่าต้องใช้ VPN ในการเข้าถึงเนื้อหาที่ถูกปิดกั้น สื่อมวลชนพม่าจำนวนมากถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และกักขังจากการเสนอเนื้อหาหรือความจริงที่ไม่ถูกใจรัฐ แม้จะยากลำบากในการทำสื่อขนาดไหน ทางตัวแทนพม่าได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ถึงแม้คุณจะถูกห้ามไม่ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำเรื่องไม่ดีแทน”

 

       ด้านตัวแทนจากกัมพูชา ให้คำแนะนำว่า “การแบ่งกลุ่มชุดเนื้อหาให้เหมาะกับกลุ่มเฉพาะ (Niche) เป็นสิ่งที่ควรทำ การทำข่าวในปัจจุบันเป็นเรื่องที่เน้นความเร็ว และควรมีความครอบคลุมหลากหลายกลุ่มผู้ชม และเห็นว่า COVID-19 ได้กระตุ้นให้สื่อต้องปรับกลยุทธ์อย่างมากเพื่อความอยู่รอด

 

        ตัวแทนจากฟิลลิปปินส์ กล่าวว่า สื่อมวลชนนำเสนอคอนเทนต์ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าการเมือง สังคม กีฬา ในช่วงนี้สื่อจะผลิตเนื้อหาที่สั้นลงให้เข้ากับพฤติกรรมผู้รับสาร และเน้นไปที่การนำเสนอแบบไลฟ์สด หรือ Real Time โดยเนื้อหาที่ครองใจคนได้ คือเนื้อหาที่มีทั้งภาพและเสียง ( Visualization)  พร้อนแนะนำว่า การทำคอนเทนต์ให้ตรงใจกับผู้รับสารจะเป็นประโยชน์กับตัวสำนักข่าวเอง ส่วนการที่จะไปต่อสู้กับโซเชียลมีเดีย หรือเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ องค์กรสื่อเองต้องมีความน่าเชื่อถือและทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้ายามของสังคม รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน

 

        ตัวแทนจากอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจว่า “การหาทุนในการทำข่าวเชิงลึกเป็นเรื่องที่ยาก สื่อต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน อีกทั้งสื่อยังต้องมีการคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจก่อนการผลิตเนื้อหา ไม่เช่นนั้นการหารายได้จะลำบากอย่างยิ่ง”  

 

        นอกจากนี้ยังได้จัดการสนทนาแบบ Roundtable ในหัวข้อ “The Future of News Website in ASEAN” โดยเปิดโอกาสให้วิทยากรทั้งหมด ​ได้แสดงความคิดเห็นและถาม-ตอบร่วมกับผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คน

          ผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), มูลนิธิเอสซีจี,  สายการบินไทยแอร์เอเชีย, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ทั้งนี้สามารถติดตามชมบรรยากาศและเนื้อหาตลอดการประชุมย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/SONPThai และ YouTube Thai PBS : ช่วงที่ 1 http://youtu.be/9jpqD9eFJok , ช่วงที่ 2 https://youtu.be/ylM3Ql03LBY

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

กรีดยาง 30 ปี ชีวิตไม่ดีขึ้น เกษตรกรสตูลใจเด็ด! โค่นยางพาราปลูกพืชผสมผสาน รายได้หลักแสนต่อปี

กรีดยาง 30 ปี ชีวิตไม่ดีขึ้น เกษตรกรสตูลใจเด็ด! โค่นยางพาราปลูกพืชผสมผสาน รายได้หลักแสนต่อปี

         ต้นสละสายพันธุ์สุมาลี  200 ต้น  เป็นความหวังของครอบครัว  พัชรี  ทิ้งน้ำรอบ  เกษตรกรชาวท่าแพ จังหวัดสตูล  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา พลิกผืนดินปลูกผลไม้ พืชสวนผสม บนพื้นที่ 9 ไร่  แม้สละจะยังไม่ให้ผลผลิต  แต่พืชผักชนิดอื่นซึ่งปลูกไว้ควบคู่กันได้ให้ผลผลิตหลักแสนบาทต่อปีแล้ว

         โดย นางพัชรี ทิ้งน้ำรอบ ได้ทำการเกษตรบนพื้นที่ 9 ไร่ แบ่งเป็น 3 แปลง ได้แก่ แปลงที่ 1 เนื้อที่ 4 ไร่ ปลูกสละ ขนุน เงาะ กระท้อน ขณะนี้ยังไม่ให้ผลผลิต และได้ปลูกกล้วย โหระพา พริกพันธุ์เหลืองพัทลุง  ไปพร้อมๆกัน  โดยพริกพันธุ์เหลืองพัทลุงให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องสามารถเก็บพริกได้ 3 วันครั้ง รายได้ครั้งละ 300-400 บาท     

         ส่วนแปลงที่ 2 เนื้อที่ 3 ไร่ ปลูกละมุด 140 ต้น และแปลงที่ 3 ปลูกโหระพา มีรายได้จากการขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางประมาณ 291,000 บาท/ปี  โดยได้เข้าร่วมโครงการเกษตรวิถีใหม่ กับทางสหกรณ์การเกษตรท่าแพ จํากัด และได้รับงบประมาณสนับสนุน จำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรในการปลูกสละ เพื่อซื้อปัจจัยการผลิตพันธุ์สละ ปุ๋ย ระบบน้ำและรวมไปถึงการปลูกพืชแบบผสมผสานเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกด้วย

 

          ด้านนางพัชรี  ทิ้งน้ำรอบ  กล่าวว่า  ได้ปรึกษากับสมาชิกในครอบครัวและดูผ่าน YouTube ก่อนจะตัดสินใจโค่นยางพาราแล้วมาลุยปลูกพืชผสมผสาน  ผลตอบรับดี  รายได้มีทุกวัน  ตอบโจทย์ดีกว่าตัดยางพารามากๆ จากตัดยางมานาน 30 กว่าปีตั้งแต่วัยรุ่นจนปัจจุบันอายุ 50 กว่าปีแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น   พอหันมาทำตรงนี้รู้สึกมีความหวังอย่างสละนี้  คาดว่าจะได้ผลตอบรับอย่างดี  

          นางพัชรี  ทิ้งน้ำรอบ  กล่าวอีกว่า  ได้มาทำตรงนี้ถือว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  ทั้งพริก  พืชผักต่างๆที่ปลูกสามารถกินได้  ผักหวาน  ผักกวางตุ้ง  ในส่วนของราคายางขอพูดถึงช่วงแพง  มีรายได้วันละ 1,000 กว่าบาท เมื่อยางค่อยๆลงมาเหลือวันละ 200 กว่าบาท   ราคายางลดลง แต่สินค้าที่จำเป็นต้องซื้อยังแพงเหมือนเดิม  คิดว่าไปไม่รอดจึงหันมาทดลองปรับเปลี่ยนปลูกพืชผสมผสานแทน   ในส่วนของพืชผสมผสานนี้  คิดว่าเพียงพอเลี้ยงครอบครัว  แต่จะให้เหลือเยอะเยอะตอนนี้ยังทำไม่ได้  เมื่อมีรายได้จากการขายผักก็นำมาลงกับผลไม้ทั้งการซื้อปุ๋ยเพื่อดูแลผลไม้

 

         ด้านนายดลวากิ๊ฟ  ทิ้งน้ำรอบ  ลูกชาย  กล่าวว่า   ได้มาช่วยในเรื่องของการทำปุ๋ย  ฮอร์โมนพืช   การหาข้อมูลสมัยใหม่มาเพื่อปรับปรุง   ทั้งเรื่องระบบน้ำ  เมื่อก่อนปลูกยางอย่างเดียวมันเป็นอาชีพหน้าเดียวรายได้ไม่มั่นคง  เมื่อฤดูฝนก็ขาดรายได้  พอเปลี่ยนเป็นปลูกพืชผสมผสานเราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวัน อยู่ที่ความขยันของเราด้วย

          ในโอกาสนี้  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นางรอซนานี สันหมุด หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม นายถาวรศักดิ์ รัตนชูศรี สหกรณ์จังหวัดสตูล และสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงพืชสวนผสมของนางพัชรี ทิ้งน้ำรอบ สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการเกษตรวิถีใหม่ ณ บ้านเลขที่ 55/2 หมู่ 5 บ้านท่าแพใต้ ตำบลท่าแพ  อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยมี นายอิสดาเร๊ะ องสารา ประธานกรรมการสหกรณ์ นายประชา กาสาเอก ผู้จัดการสหกรณ์ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ

         โอกาสนี้ อธิบดีฯ ได้กล่าวถึง  การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ ที่ได้ส่งเสริมให้สมาชิกปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว  มาทำเกษตรที่มีความหลากหลาย  ซึ่งว่าเป็นตัวอย่างที่ดี รวมไปถึงมีการเชื่อมโยงการขายไปยังตลาดต่างประเทศ  และทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว  สำหรับการเข้ามาสนับสนุนสหกรณ์ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นการช่วยเหลือ พลิกฟื้นการประกอบอาชีพ และมีการผ่อนผัน ขยายเวลาการชำระหนี้ สนับสนุนทุนเสริมในการประกอบอาชีพ สร้างอาชีพใหม่  เพื่อให้เกิดรายได้ ซึ่งกรมฯ มีเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ พร้อมสนับสนุนให้สหกรณ์นำไปให้สมาชิกปรับเปลี่ยนวิถีการทำการเกษตรแบบใหม่ ปลูกพืช ไม้ผล ชนิดอื่นเพิ่มในแปลง ทำให้มีรายได้รายวัน รายเดือน รายปี

        พร้อมกันนี้   อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  ฝากสหกรณ์ว่า  นอกจากการส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกแล้ว ต้องส่งเสริมด้านการตลาด ให้มีการเชื่อมโยงผู้ประกอบการต่าง ๆ พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรรุ่นใหม่ใช้องค์ความรู้มาต่อยอดอาชีพการเกษตร  และในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง ขยายผลไปยังสมาชิกรายอื่น เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ ไม่มีหนี้สิน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากนั้น อธิบดีฯ ผู้ตรวจราชการกรม สหกรณ์จังหวัด ได้ร่วมกันปลูกต้นส้มโอทับทิมสยาม ในแปลงเก็บของสมาชิกสหกรณ์ด้วย

……………………………

Categories
ข่าวทั่วไป

เริ่มแล้ว! สตูลฤดูกาลกินผลไม้พื้นเมือง  จำปาดะ พืชGI  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แนะส่งขายจีนเพิ่มมูลค่า

เริ่มแล้ว! สตูลฤดูกาลกินผลไม้พื้นเมือง  จำปาดะ พืชGI  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แนะส่งขายจีนเพิ่มมูลค่า

        เริ่มแล้วฤดูกาลผลไม้พื้นเมืองจังหวัดสตูล   โดยเฉพาะผลไม้ที่ได้รับการยกระดับเป็นพืช  GI  อย่างจำปาดะ  ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีลักษณะเด่น   คล้ายผลขนุน  มีรสชาติกลมกล่อม  เนื้อละมุน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เริ่มให้ผลผลิตผู้ที่ชื่นชอบได้รับประทานในช่วงเดือนมิ.ย.ไปจนถึงเดือน ส.ค.กันแล้ว

 

         โดยในช่วงแรกนี้หลายสวนผลไม้   ให้ผลผลิตในล็อตแรกกันไม่น้อยกว่า 1,000  กิโลกรัม และล็อตที่สองและสามประมาณ 3,000 กิโลกรัม  โดยเฉพาะในสวนของเกษตรกรแปลงใหญ่ จำปาดะอำเภอควนโดนของนายรอเสด  ตาเดอิน  ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น  จากกรมวิชาการเกษตร ที่มีการปลูกจำปาดะพันธุ์ขวัญสตูล , น้ำดอกไม้ และอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อ 

         โดยมีนางอัจฉรา  หลงสะเตีย อายุ 61 ภรรยาเป็นคนแปรรูปจำหน่าย และแปรรูปโชว์ตามงานสำคัญที่มีการประสานให้มีการออกบูธมาโชว์โดยเฉพาะใน งาน   “เปิดอาคารตลาดสินค้าเกษตร  สหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัด”  ซึ่งมีนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาร่วมภายในงาน  ได้ร่วมรับประทานและชื่นชมในรสชาติ พร้อมแนะให้เกษตรกรรักษาคุณภาพเพื่อเปิดตลาดให้ประเทศจีนได้รู้จัก ความอร่อยของผลไม้พื้นเมือง อย่างจำปาดะของจังหวัดสตูลให้เป็นวงกว้างขวางมากยิ่งขึ้น  

        สำหรับสายพันธุ์จำปาดะที่นำมาแปรรูปด้วยการทอด นอกเหนือจากการทานแบบสด ๆ โดยเลือกผลผลิตที่ไม่สุกฉ่ำเกินไปมาทอดเพราะอาจจะอมน้ำมันได้   แต่มีรสชาติหวาน    ส่วนผลจำปาดะที่ไม่สุกมากเกิน   อย่างพันธุ์ขวัญสตูลก็จะมีรสชาติที่แตกต่างกัน

       สำหรับราคาจำปาดะจะมีการจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 – 200 บาทแล้วแต่สายพันธุ์ ส่วนการแปรรูปขาย 5 เม็ด 20 บาท  

Categories
ข่าวทั่วไป

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  เปิดอาคารตลาดสินค้าเกษตร พร้อมเยี่ยมเยียนสหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัดและ สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  เปิดอาคารตลาดสินค้าเกษตร พร้อมเยี่ยมเยียนสหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัดและ สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด

        การแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ  กรมส่งเสริมสหกรณ์  ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและให้ความสำคัญมาโดยตลอด     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์  และกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้ซื้อ ผู้ขายสินค้าเกษตรรายใหญ่ในชุมชน  สามารถรวบรวมผลิตผลจากเกษตรกรรายย่อยไปรวบรวมและแปรรูป

        และเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตร  รวมทั้ง  ช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่น  ให้สามารถขายสินค้าทางการเกษตร  ได้ในราคายุติธรรม  บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนแก่เกษตรกร  เรื่องราคาผลผลิตตกต่ำได้  กรมส่งเสริมสหกรณ์  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม  การพัฒนาระบบตลาดภายใน  สำหรับสินค้าเกษตร   สนับสนุนอาคารตลาดสินค้าเกษตร  เพื่อให้สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร  ที่มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ  รวบรวมผลิตผลทางการเกษตร ส่งผลให้เกิดการเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่อย่างครบวงจร ทั้งการผลิต   การรวบรวม การแปรรูป และการตลาด เป็นเงินงบประมาณอุดหนุนอาคาร  ตลาดสินค้าเกษตร   รวมทั้งสิ้น 12,300,000 บาท (สิบสองล้านสามแสนบาทถ้วน) จำนวน 1 หลัง ขนาดไม่น้อยกว่า 1,020 ตารางเมตร จัดสรรให้แก่สหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัด

           ซึ่งวันนี้นายวิศิษฐ์  ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  ได้มาเป็นประธานในการเปิด อาคารตลาดสินค้าเกษตร” ณ อาคารตลาดสินค้าเกษตร สหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัด    โดยมีนายถาวรศักดิ์  รัตนชูศรี   สหกรณ์จังหวัดสตูล  ให้การต้อนรับพร้อม  นายกอเร็น  ล่านุ้ย  ประธานกรรมการและสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนโดน จำกัด  รายงานความคืบหน้าสหกรณ์ฯ เพิ่มช่องทางการตลาด ยกระดับราคา  และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค  อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

         หลังจากนั้น  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  ได้เดินทางไปที่  สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด ที่ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล  เพื่อเยี่ยมเยียนพบปะพูดคุย  กับคณะกรรมการดำเนินการ  และเจ้าหน้าที่สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและมอบนโยบาย  โดยมี อ.อับดุลลอฮ์ อาเก็ม ประธานก่อตั้งสหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ

Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

อพท ร่วม ทกจ.กระบี่ พบปะผู้ประกอบการ ผลักดันเป็นพื้นที่พิเศษคลองท่อมเมืองสปา

อพท ร่วม ทกจ.กระบี่ พบปะผู้ประกอบการ ผลักดันเป็นพื้นที่พิเศษคลองท่อมเมืองสปา

 

          วันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566  เวลา 13.00 น. นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. และคณะผู้บริหาร อพท. ร่วมกับ นายสุรัตน์ จรณโยธิน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ ลงพื้นที่อำเภอคลองท่อมที่เกี่ยวข้องกับน้ำพุร้อนเค็มคลองท่อม 3 แห่ง ได้แก่ วารีรัก ฮ็อต สปริง แอนด์เวลเนส อมตยา เวลเนส และ ณัฐฐาวารีน้ำพุร้อน รีสอร์ท แอนด์ สปา พบปะผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อแนะนำบทบาทภารกิจขององค์กรรวมถึงหารือเรื่องการประกาศพื้นที่พิเศษ คลองท่อมเมืองสปา เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

          ทั้งนี้จะเป็นกรอบและแนวทางสำหรับบูรณาการความร่วมมือ และดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์จากฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าของน้ำพุร้อนเค็มอย่างยั่งยืนต่อไป

Categories
ข่าวทั่วไป

ชาวสตูล ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

ชาวสตูล ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

          วันที่ 3 มิ.ย. 2566 ที่บริเวณน้ำตกโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและประชาชน เกิดจิตสำนึกในการทำความดี สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาภูมิทัศน์ให้มีความสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

           สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราช ร่วมปลูกต้นกาหลง บริเวณน้ำตกโตนปาหนัน เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นร่มไม้ให้แก่ประชาชนที่เข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งน้ำตกแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั้งในและต่างพื้นที่ อีกทั้งประชาชนจิตอาสาได้ร่วมกันทำความสะอาด เก็บขยะ กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่งไม้และปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้มีความสะอาดและสวยงาม

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข / ส.ปชส.สตูล

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล-สธ.ทดสอบระบบ “โดรนทางการแพทย์” บินข้ามทะเล  ขนส่งวัคซีน และเวชภัณฑ์ น้ำหนัก 3 กก.

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทดสอบระบบการบินอากาศยานไร้คนขับ ครั้งแรกของไทย ขนส่งยาและเวชภัณฑ์บินข้ามทะเล จากรพ.สตูล-รพ.สต.ปูยู ระยะทาง 12 กม. โดยทีม Skyports จากสิงคโปร์ และคณะกรรมการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ร่วมปฏิบัติการ ยกระดับระบบบริการสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ได้รวดเร็ว นำไปใช้เป็นโมเดลกลางสำหรับพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

          วันนี้ (2 มิถุนายน 2566) ที่สนามกีฬารัชกิจประการ  ต.พิมาน  อ.เมือง จ.สตูล นายชาตรี  ณ  ถลาง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  กล่าวต้อนรับ  คณะ นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  ร่วมแถลงข่าว การทดสอบการบินอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล โดยสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับระบบบริการสุขภาพให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างสะดวก ทั่วถึงและเท่าเทียม

           นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ ทั้งด้านการรักษาความปลอดภัย การขนส่งทางอากาศ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และเสนอแนะต่อคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล ซึ่งได้กำหนดให้จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ Sandbox ในการทดสอบรูปแบบและวิธีการใช้อากาศยานไร้คนขับ

           สำหรับการทดสอบระบบการบินอากาศยานไร้คนขับในวันนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ใช้โดรนในการบินข้ามทะเล ขนส่งยาและเวชภัณฑ์ โดยขาไปนำวัคซีนบาดทะยัก จากโรงพยาบาลสตูล ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูยู และขากลับนำเลือดมาส่งที่โรงพยาบาลสตูล รวมระยะทาง 12 กิโลเมตร โดยทีม Skyports จากประเทศสิงคโปร์ และคณะทำงานพัฒนาต้นแบบการใช้อากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ นำโดย นาวาอากาศเอก อนุกูล อ่อนจันทร์อม นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 65 (วปอ.65) ร่วมปฏิบัติการทดสอบ สำหรับโดรนที่ใช้ปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นสุดยอดนวัตกรรมอากาศยานจาก Skyports Swoop Aero รุ่น Swoop Kookaburra Mark 3 ตัวเครื่องมีน้ำหนัก 17 กิโลกรัม สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม ความเร็วสูงสุดที่ 68 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะเวลาการบินต่อเนื่อง 68 นาที และฝ่าฝนไม่เกิน 10 มิลลิเมตร/ชั่วโมง

ในส่วนการขนส่งทางการแพทย์ด้วยอากาศยานไร้คนขับเป็นไปตามมาตรฐานสากล ผ่านการอนุญาตของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) และสำนักงานกสทช. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บินทดสอบและสาธิตอย่างเต็มระบบ โดยเฉพาะระบบการควบคุมการบินด้วยการสื่อสารผ่านดาวเทียม ซึ่งจะสามารถปฏิบัติการบินได้ทุกพื้นที่ในประทศ อีกทั้งที่ผ่านมาคณะทำงานพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ได้มีการทดสอบการบิน Qulity Test ขนส่งเลือดร่วมกับ Vertical Team นำโดยคุณทรรศิกา สีสุ่น หัวหน้าทีมพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบ VTOL ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้สร้างความมั่นใจให้กับคณะเจ้าหน้าที่ทำงาน ที่จะทำการบินทดสอบในพื้นที่จริงในครั้งนี้

       “หากการทดสอบในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และเข้าถึงยากลำบาก เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ก็สามารถใช้โดรนสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ขนส่งยา วัคซีน เลือด เซรุ่ม ที่จำเป็นได้ รวมถึงนำไปใช้เป็นโมเดลกลางปฏิบัติภารกิจในพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป” นายแพทย์โสภณกล่าว

          ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  จังหวัดสตูล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล โรงพยาบาลสตูล เทศบาลเมืองสตูล องค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง องค์การบริหารส่วนตำบลปูยู ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล องค์การเภสัชกรรม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมศุลกากร และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

…………………………

 

Categories
ข่าวทั่วไป

ชมรมคนรักในหลวงสตูล ออกปกป้อง ค้านแก้กฏหมาย ม.112

วันที่ 2 มิ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ชมรมรักในหลวงจังหวัดสตูล โดยนางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล   จัดกิจกรรมเดินขบวนรณรงค์สร้างจิตสำนึกและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีประชาชนชาวสตูล   พร้อมใจกันรวมตัว สวมใส่เสื้อสีเหลือง ผูกผ้าพันคอพระราชทาน พร้อมกับชูป้ายไวนิล เขียนคำว่า  ขอเทิดทูน  สถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และ แสดงจุดยืนคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112  โดยมีประชาชน เยาวชนนักเรียน ร่วมกิจกรรมแสดงพลังจำนวนมาก

 

โดยเริ่มรวมตัวทำกิจกรรมที่จุดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา  (หน้าโรงเรียนพ.ส. สตูล ) ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  และยังได้มีกิจกรรมอ่านดูอาร์ขอพร ให้ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ และพระราชินีแข็งแรง ปลอดภัยจากสิ่งอันตรายทั้งปวง

          นางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล  กล่าวว่า เราแสดงพลังทำกิจกรรมทุกๆปี และไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น เพราะจุดยืนเราชัดเจน รักในหลวง รักราชวงศ์จักรี และที่สำคัญ การเดินรวมพลังในครั้งนี้ เดินรอบตัวเมืองสตูล ผ่านมัสยิดมำบัง วนกลับมาจุดเดิม 

          ส่วนการที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง ตนเองไม่ขอพูดอะไรมาก เพียงบอกว่า ใครก็ได้เป็นรัฐบาล ขออย่างเดียวอย่าแตะต้องกฎหมาย มาตรา 112  อย่างอื่นถือว่าเป็นกฎหมายของประชาธิปไตยต่อไป

        สำหรับการปล่อยขบวนเดินรณรงค์จะเคลื่อนขบวนตามเส้นทางถนนสตูลธานี ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ผ่านหน้ามัสยิดมำบัง จนถึงศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เลี้ยวขวาไปยังถนนสมันตประดิษฐ์และเลี้ยวขวาไปถนนบุรีวานิช ผ่านหอนาฬิกา ตรงไปตามเส้นทางถนนเรืองฤทธิ์จรูญและผ่านหลังศาลากลางกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกด้วย

………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป

พสกนิกรสตูล  เดินแสดงพลังปกป้องสถาบัน และรณรงค์คัดค้านแก้ไขมาตรา 112  ฝากรัฐบาลใหม่ ยันไม่เอี่ยวการเมือง

วันที่ 2 มิ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ชมรมรักในหลวงจังหวัดสตูล โดยนางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล   จัดกิจกรรมเดินขบวนรณรงค์สร้างจิตสำนึกและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีประชาชนชาวสตูล   พร้อมใจกันรวมตัว สวมใส่เสื้อสีเหลือง ผูกผ้าพันคอพระราชทาน พร้อมกับชูป้ายไวนิล เขียนคำว่า  ขอเทิดทูน  สถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และ แสดงจุดยืนคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112  โดยมีประชาชน เยาวชนนักเรียน ร่วมกิจกรรมแสดงพลังจำนวนมาก

 

โดยเริ่มรวมตัวทำกิจกรรมที่จุดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา  (หน้าโรงเรียนพ.ส. สตูล ) ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  และยังได้มีกิจกรรมอ่านดูอาร์ขอพร ให้ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ และพระราชินีแข็งแรง ปลอดภัยจากสิ่งอันตรายทั้งปวง

          นางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล  กล่าวว่า เราแสดงพลังทำกิจกรรมทุกๆปี และไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น เพราะจุดยืนเราชัดเจน รักในหลวง รักราชวงศ์จักรี และที่สำคัญ การเดินรวมพลังในครั้งนี้ เดินรอบตัวเมืองสตูล ผ่านมัสยิดมำบัง วนกลับมาจุดเดิม 

          ส่วนการที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง ตนเองไม่ขอพูดอะไรมาก เพียงบอกว่า ใครก็ได้เป็นรัฐบาล ขออย่างเดียวอย่าแตะต้องกฎหมาย มาตรา 112  อย่างอื่นถือว่าเป็นกฎหมายของประชาธิปไตยต่อไป

        สำหรับการปล่อยขบวนเดินรณรงค์จะเคลื่อนขบวนตามเส้นทางถนนสตูลธานี ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ผ่านหน้ามัสยิดมำบัง จนถึงศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เลี้ยวขวาไปยังถนนสมันตประดิษฐ์และเลี้ยวขวาไปถนนบุรีวานิช ผ่านหอนาฬิกา ตรงไปตามเส้นทางถนนเรืองฤทธิ์จรูญและผ่านหลังศาลากลางกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกด้วย

………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023

สื่อออนไลน์ภูมิภาคอาเซียน ผนึกกำลังร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการอยู่รอด ในงาน Regional Seminar 2023 จัดโดยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

         สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  จัดการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นระดับภูมิภาค (Regional Seminar) ในหัวข้อ “ความอยู่รอดของสื่อออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” หรือ Survival of Online News Providers in the Changing World เป็นการรวมตัวกันของตัวแทนผู้ผลิตสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่มาร่วมแลกเปลี่ยน หารือเกี่ยวกับปัญหา สถานการณ์และแนวทางการทำธุรกิจสื่อออนไลน์ในภูมิภาคนี้ โดยได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส และถ่ายทอดสดออนไลน์ทางเฟซบุ๊กสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ www.fb.com/SONPThai และไทยพีบีเอส www.fb.com/ThaiPBS

 

        นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำว่า  ภูมิทัศน์สื่อในภูมิภาคอาเซียนปรับเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะพฤติกรรมผู้รับสารที่ปรับเปลี่ยนไปโดยเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Key Opinion Leader  หรืออินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับข่าวสารเป็นอย่างมาก ดังนั้นสื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมงานจะสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด พร้อมทั้งเสนอแนวทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตสื่อที่เน้นถึงคุณภาพของคอนเทนต์  ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางในการสร้างโมเดลธุรกิจ สำหรับหารายได้ให้องค์กรสื่อมีความยั่งยืนทางธุรกิจ  โดยในงานนี้ได้สรุปถึงที่มาและภาพรวมของพัฒนาการของอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียน โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งสมาคมฯ อีกด้วย

 

       การสัมมนาดังกล่าว ได้เชิญตัวแทนจากสื่อออนไลน์ชื่อดังในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว   ร่วมหารือใน 3 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อที่ 1 “กลยุทธ์ด้านเนื้อหา (Content Strategy)” นำเสนอการพัฒนาการนำเสนอเนื้อหาและกลยุทธ์ในมุมมองใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน โดย Min Thaw Htut, Executive Director of Eleven Media Group เมียนมาร์,  Thong Sovan Raingsey, General Director of Koh Santepheap Media จากกัมพูชา และ Somsack Pongkhao, News Editor of Vientiane Times จากลาว หัวข้อที่ 2 “โมเดลธุรกิจ (Business Model)” ศึกษาสื่อออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่อย่างไร เพื่อดึงดูดผู้อ่านและผู้ชมมากขึ้น ในขณะที่แพลตฟอร์มทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ร่วมเสวนาโดย Do Min Thu  Executive,  VietnamPlus Online News จากเวียดนาม , Rosette Santillan Adel, Online Writer/Editor of Philstar.com  จากฟิลิปปินส์ และ Adek Media Roza Ph.D .Director of Katadata Insight Center จากอินโดนีเซีย  โดยทั้งสองหัวข้อ ร่วมดำเนินรายการเสวนาโดย น.ส.ณัฎฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวนการ Thai PBS World จาก Thai PBS  และหัวข้อที่ 3  “โอกาสการสร้างรายได้ (Monetization Opportunity)” โอกาสใหม่ ๆ และการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ของการหารายได้ที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดย  Chia Ting Ting,  Chief Commercial Officer Malaysiakini จากมาเลเซีย และนายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  ดำเนินรายการโดย น.ส.ธันย์ชนก จงยศยิ่ง บรรณาธิการ TNN World

 

         ตัวแทนสื่อจากมาเลเซียกล่าวว่า สื่อ ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด การกำหนดจุดยืนของแบรนด์ในระดับโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสื่อจำนวนมากลงไปแข่งขันในระดับนานาชาติ นอกจากนั้น สื่ออาจต้องเน้นให้บริการลูกค้าในด้านการบริหารชื่อเสียง การให้คำแนะนำด้านการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า รวมทั้งการให้ความรู้กับสาธารณชนด้วย  การจำแนกฐานลูกค้า การเข้าใจลูกค้าแบบลึกซึ้ง การเข้ากันได้แบรนด์ลูกค้ากับสื่อของเราก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเช่นเดียวกัน

        ขณะที่ตัวแทนจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่า “สื่อต้องหากลุ่มเฉพาะของตัวเองให้เจอ ส่วนเนื้อหาที่ Google ต้องการในปัจจุบัน  คือเรื่องเกี่ยวกับการให้ความหวัง สุขภาพจิต สิ่งแวดล้อม และการข่มขู่คุกคามจะได้รับการผลักดันมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

         ตัวแทนสื่อจากลาว กล่าวว่า ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 สื่อมวลชนลาวต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อความอยู่รอด แต่เดิมหารายได้จากการขายพื้นที่โฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องปรับตัวหารายได้จากออนไลน์ โดยผู้บริโภคข่าวสารในลาวที่รับข่าวสารผ่านระบบออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

        ตัวแทนจากเมียนมาร์ กล่าวว่า ภายในประเทศยังคงมีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด จนทำให้สื่อหลาย ๆ รายต้องปิดตัวลง เป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวพม่าต้องใช้ VPN ในการเข้าถึงเนื้อหาที่ถูกปิดกั้น สื่อมวลชนพม่าจำนวนมากถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และกักขังจากการเสนอเนื้อหาหรือความจริงที่ไม่ถูกใจรัฐ แม้จะยากลำบากในการทำสื่อขนาดไหน ทางตัวแทนพม่าได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ถึงแม้คุณจะถูกห้ามไม่ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำเรื่องไม่ดีแทน”

        ด้านตัวแทนจากกัมพูชา ให้คำแนะนำว่า “การแบ่งกลุ่มชุดเนื้อหาให้เหมาะกับกลุ่มเฉพาะ (Niche) เป็นสิ่งที่ควรทำ การทำข่าวในปัจจุบันเป็นเรื่องที่เน้นความเร็ว และควรมีความครอบคลุมหลากหลายกลุ่มผู้ชม และเห็นว่า COVID-19 ได้กระตุ้นให้สื่อต้องปรับกลยุทธ์อย่างมากเพื่อความอยู่รอด

        ตัวแทนจากฟิลลิปปินส์ กล่าวว่า สื่อมวลชนนำเสนอคอนเทนต์ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าการเมือง สังคม กีฬา ในช่วงนี้สื่อจะผลิตเนื้อหาที่สั้นลงให้เข้ากับพฤติกรรมผู้รับสาร และเน้นไปที่การนำเสนอแบบไลฟ์สด หรือ Real Time โดยเนื้อหาที่ครองใจคนได้ คือเนื้อหาที่มีทั้งภาพและเสียง ( Visualization)  พร้อนแนะนำว่า การทำคอนเทนต์ให้ตรงใจกับผู้รับสารจะเป็นประโยชน์กับตัวสำนักข่าวเอง ส่วนการที่จะไปต่อสู้กับโซเชียลมีเดีย หรือเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ องค์กรสื่อเองต้องมีความน่าเชื่อถือและทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้ายามของสังคม รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน

         ตัวแทนจากอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจว่า “การหาทุนในการทำข่าวเชิงลึกเป็นเรื่องที่ยาก สื่อต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน อีกทั้งสื่อยังต้องมีการคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจก่อนการผลิตเนื้อหา ไม่เช่นนั้นการหารายได้จะลำบากอย่างยิ่ง”  

        นอกจากนี้ยังได้จัดการสนทนาแบบ Roundtable ในหัวข้อ “The Future of News Website in ASEAN” โดยเปิดโอกาสให้วิทยากรทั้งหมด ​ได้แสดงความคิดเห็นและถาม-ตอบร่วมกับผู้เข้าร่วมงานกว่า 40 คน

          ผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), มูลนิธิเอสซีจี,  สายการบินไทยแอร์เอเชีย, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ทั้งนี้สามารถติดตามชมบรรยากาศและเนื้อหาตลอดการประชุมย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/SONPThai และ YouTube Thai PBS : ช่วงที่ 1 http://youtu.be/9jpqD9eFJok , ช่วงที่ 2 https://youtu.be/ylM3Ql03LBY