Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สตูลสร้างคลังอาหารให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาว  มานิศรีมะนัง  หลังพบว่าเริ่มขาดแหล่งอาหาร 

สตูลสร้างคลังอาหารให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาว  มานิศรีมะนัง  หลังพบว่าเริ่มขาดแหล่งอาหาร 

         วันที่ 19 ก.ย.2566  ที่ทับภูผาเพชร  บ้านเหล็กไหล   ตำบลปาล์มพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล  ภายในหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร   พระครูโสภณปัญญาสาร   เจ้าคณะอำเภอมะนัง/เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7  นายอำเภอมะนัง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา   และกำลังเจ้าหน้าที่  ช่วยกันนำอาหาร และ อุปกรณ์เครื่องมือ  จอบ เสียม เครื่องตัดหญ้า  รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้ยืนต้น  อย่างต้นทุเรียนบ้าน   ต้นมะพร้าว  ต้นสะตอ   มาช่วยกันสร้างคลังอาหารให้กับกลุ่มชาติพันธุ์  ชาวมานิศรีมะนัง  ที่ทับภูผาเพชร  ที่มีประมาณ  30 คนที่อาศัยที่ทับแห่งนี้นานถึง 10 ปีแล้ว

       จากสภาพปัญหาความแร้นแค้น  อาหารป่าเริ่มขาดแคลน   ทำให้ชาวมานิกลุ่มนี้ยอมรับว่า  หาอาหารในป่าได้น้อยลง  น้ำผึ้ง  หรือแม้กระทั่งหัวสมุนไพร  ไปแลกกับข้าวก็ได้ราคาไม่ดี   และแม้จะออกไปรับจ้างชาวบ้านขึ้นต้นสะตอ ต้นเงาะ แต่ด้วยฝีมือแรงงานที่ไม่หลากหลายเหมือนชาวบ้านทั่วไป  ทำให้การจ้างงานก็น้อย  มาวันนี้ทางภาครัฐเห็นว่า   หากไม่เข้ามาช่วยเหลือ  ในการสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน  ด้วยการ เลี้ยงไก่  เลี้ยงปลา ปลูกพืชให้ผล  ก็อาจจะสร้างความยากลำบากให้พวกเขาได้ในภายภาคหน้า 

       นายแป้น  ศรีมะนัง  ชาวมานิทับภูผาเพชร   บอกว่า  ตนคิดว่าไม่ยาก  การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เมื่อเจ้าหน้าที่เอามาให้เลี้ยง หรือมาปลูกต้นไม้ให้  ก็น่าจะดี  จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาชาวบ้านในชุมชนมากนัก

      นอกจากนี้  การส่งเสริมอาชีพประเภทงานฝีมือ  การจักสารกระเป๋า  ในรูปแบบต่าง ๆ พบว่าชาวมานิหลายคนมีฝีมือ หากได้รับการต่อยอดด้านฝีมือ และช่วยกระจายสินค้ายามที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา  น่าจะเป็นรายได้ให้พวกเขาไม่มากก็น้อย 

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

           ด้าน  นายเชษฐ  บุตรรักษ์  นายอำเภอมะนัง  กล่าวว่า   ที่ทับมานิแห่งนี้มี 4 ครอบครัวใหญ่ 30 คน  ทุกคนมีชื่อในทะเบียนราษฎร  มีบัตรประจำตัวประชาชน  และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล  มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ   ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ทางผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดและส่วนกลาง โดยเฉพาะท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญมากโดยได้ส่งผู้ตรวจราชการ  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเยี่ยม  และมีแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านอาหาร  คุณภาพชีวิตและการศึกษา  รวมทั้งเรื่องสาธารณสุข 

          โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน  คือความมั่นคงทางด้านอาหาร  โดยมีแผนพัฒนาแหล่งน้ำโดยจัดหาน้ำจากน้ำตก  ที่อยู่ห่างจากทับแห่งนี้ประมาณ 1 กิโลเมตร  โดยใช้ระบบประปาภูเขา  จากน้ำตกใช้ในการอุปโภคบริโภค  เลี้ยงปลาในบ่อ  และเลี้ยงไก่ไข่  ไก่พื้นเมืองและแปลงเกษตร เพื่อพัฒนาแหล่งอาหารให้   โดยพบว่ามานิหลายคนให้ความสนใจมาก จากที่พาไปดูงานที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์42 จ.สตูล  ที่มีบ่อปลาเขาตื่นเต้นมาก  ชอบทานปลาน้ำจืด  น่าจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญให้ได้   และยังพบว่ากลุ่มชาติพันธ์มานิชุดนี้    สามารถสื่อสารพูดคุยกับเขาได้โดยตรง  ว่ามีความต้องการสิ่งใด

………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโท  เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  ไร้ประโยชน์  เป็นสวนเสารส พันธุ์บรูไน   ลูกโต ให้ผลผลิตทั้งปี

หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโท  เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  ไร้ประโยชน์  เป็นสวนเสารส พันธุ์บรูไน   ลูกโต ให้ผลผลิตทั้งปี

       จากพื้นที่ 1 งาน  ที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์เพราะน้ำท่วมขังตลอดเกือบทั้งปีที่ฝนตกหนัก  ที่บ้านทุ่งพัฒนา ม.13   ต.ละงู  อ.ละงู   จ.สตูล   มาวันนี้นายอานนท์  แอหลัง อายุ 33 ปี  ดีกรีปริญญาโท คณะสัตวศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย  ได้เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  เป็นสวนเสาวรสสายพันธุ์บรูไน   ลูกใหญ่   ผลโต   น้ำหนักดี   และยังให้ผลผลิตทั้งปี  สร้างรายได้อย่างงามให้กับครอบครัวได้ไม่น้อย

      จากคุณสมบัติพิเศษของเสาวรส สายพันธุ์บรูไน  ที่คุณอานนท์  นำมาปลูกด้วยความชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้เป็นพิเศษ  อีกทั้งพบว่า   มีคุณสมบัติในการทนทานต่อน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี  และแมลงที่ไม่สามารถจะเจาะเปลือกผลเสาวรสที่หนาได้  มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน  และผลใหญ่ 8-9 ลูกต่อกิโลกรัม  ทำให้เป็นพืชที่เหมาะกับการปลูกเป็นอย่างมาก 

        นายอานนท์  แอหลัง  เจ้าของสวนเสาวรสสตูล  บอกว่า  เรียนจบมาเป็นครูได้เพียง  7 ปี  ตัดสินใจลาออก   กลับมาอยู่บ้านที่ จ.สตูล  มาทำงานเป็น  หน.นักวิชาการเกษตร ทต.กำแพง  และก็หารายได้เสริมจากการปลูกเสาวรส   ปัจจุบันจะแซงรายได้หลักแล้ว   โดยจุดเริ่มต้นของการปลูกเสาวรสพันธุ์บรูไน  เป็นความชอบส่วนตัว  เมื่อก่อนเคยอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  ชื่นชอบในการปลูกพืช  จึงได้ลาออกจากงาน มาปลูกพืช   พืชชนิดแรกที่นำมาปลูกก็คือเสาวรส  เนื่องจากที่ดินใกล้บ้านเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง  และพบว่าเสาวรสเป็นพืชที่ทนน้ำ  จึงเป็นที่มาของการปลูกเสาวรส

       สำหรับเสาวรสที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์บรูไน   มีความพิเศษคือ  ลูกใหญ่ลูกดก  มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานนิดๆ  อร่อยกว่าพันธุ์อื่นเยอะ  จึงเอาลักษณะเด่นนี้มาปลูกในพื้นที่ของตน  การให้ผลผลิตอยู่ที่ 50 กิโลต่อ 1 ต้น ในพื้นที่มีทั้งหมด 35 ต้น  โดย 1 กิโลตกอยู่ที่ 8-9 ลูก  ให้ผลผลิตทั้งปี  ช่องทางการตลาดขายผ่านตลาดออนไลน์  มีบริการส่งทั่วประเทศ  ราคากิโลกรัมละ 80 บาท  ดูแลง่ายมากไม่ต้องห่วงเรื่องโรคหรือแมลง  เพราะเสาวรสเป็นพืชที่แมลงไม่สามารถทำลายเปลือกของมันได้  เพราะมีเปลือกแข็งทำลายได้ยาก  

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

          ด้าน นายปิยทัศน์   ทองปาน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   เสาวรสที่สวนให้ผลผลิตทั้งปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้บริโภค  ทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงู  จะมีการส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่  โดยมีการจำหน่ายต้นพันธุ์  แล้วส่งเสริมให้ตัวเกษตรกรได้ใบรับรองสินค้าการเกษตร  หรือว่า  GAP  จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้   นอกจากนี้ก็จะแนะนำให้มีการแปรรูป เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วย

       นายอานนท์  แอหลัง  เจ้าของสวนเสาวรสสตูล  บอกด้วยว่า  อนาคตจะเพาะพันธุ์ต้นขาย   โดยขณะนี้มีน้องสาวและครอบครัว  มาช่วยดูแลในการทำร้านน้ำ   จากเสาวรส  กาแฟเสาวรส   ติดต่อสอบถามโทร  094 – 876  3659

……..

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

  อส.สตูล ยึดหลักเกษตรพอเพียง โค่นสวนยางพารา ปรับทำสวนส้ม สวนผสม  7 ไร่ สร้างรายได้หลักแสนบาท รองรับชีวิตหลังเกษียณ

อส.สตูล ยึดหลักเกษตรพอเพียง โคนสวนยางพารา ปรับทำสวนส้ม สวนผสม  7 ไร่ สร้างรายได้หลักแสนบาท รองรับชีวิตหลังเกษียณ

        สวนส้มโชกุล  และส้มเขียวหวาน  รวมถึงพืชสวนอื่นๆที่กำลังให้ผลผลิต  บนพื้นที่ 7 ไร่  ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล  บรรยากาศหลังฝนตก มีสายหมอกปกคลุมสดชื้นสวยงาม  พิกัดนี้เจ้าของสวนพร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยว  และผู้สนใจเข้ามาดูงาน  เพลิดเพลินกับธรรมชาติ  และเพื่อเป็นแนวทางก้าวสู่วิถีเกษตรกร

        ส้ม เป็นพืชชนิดหนึ่งที่  นายอับดลเลาะห์ จังแดหวา อายุ 56 ปี  อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส. ) ประจำพื้นที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล  ปลูกไว้พร้อมๆกับ สละสายพันธุ์อินโด และสายพันธุ์สุมาลี  รวมถึงกาแฟสายพันธ์โรบัสต้า  และแบ่งพื้นที่เป็นบ่อเลี้ยงปลา  ตามหลักเกษตรพอเพียง เดินตามรอยพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9  กล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ

        นายอับดลเลาะห์  จังแดหวา  บอกว่า  ส่วนตัวและครอบครัวชอบทำสวนเกษตรอยู่แล้ว  เดิมนั้นปลูกยางพารา แต่ช่วงที่ราคายางตกต่ำ จึงมีแนวคิดที่จะแบ่งปลูกสวนผลไม้  ซึ่งจะเลือกปลูกสิ่งที่ชอบกิน  อย่างส้ม  ซึ่งยอมรับว่าปลูกยาก  แต่ก็ทำได้   ตอนนี้ส้มสร้างรายได้ให้กับครอบครัวแล้ว  ในปีแรกมีรายได้จากส้มทั้ง 2 ชนิดที่ปลูกไว้หลักแสนบาท  และยังมีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีก ที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวหลังเกษียณอย่างสบาย  โดยจะใช้เวลาว่างเว้นจากงานประจำเข้าสวน  มีภรรยาและลูกชาย คอยช่วยดูแลอีกแรงหนึ่ง

        นายอับดลเลาะห์ จังแดหวา  ในวัย 56 ปี  เปิดเผยอีกว่า  ได้ทดลองทำเกษตรแบบผสมผสาน แบ่งพื้นที่สวนยางพารามาทำเป็นสวนผลไม้ และขุดบ่อเลี้ยงปลา  โดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 ปีเศษ ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตขายสร้างรายได้เป็นอย่างดี  บนพื้นที่ 7 ไร่ ได้แบ่งปลูกสละสายพันธุ์ อินโด จำนวน 80 ต้น  ปลูกสละพันธ์สุมาลี 100 ต้น  ทั้งนี้ที่ให้ผลผลิตทำรายได้แล้วนั้นคือ  ส้มโชกุน และ  ส้มเขียวหวาน  รวม 160 ต้น  ปลูกต้นกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า อีก 100 ต้น   และขุดสระทำบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก, ปลาตะเพียน, ปลาสวาย และปลาพันธุ์อื่น ๆ เกือบ 10 ชนิด 

          ด้านนางฮาบีบ๊ะ จายุพันธ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า ต้องขอชื่นชมว่า เกษตรกรรายนี้ มีแนวคิดดี ทำงานแบบครอบครัว และที่สำคัญ  นอกจากทำงานประจำแล้วยังใช้พื้นที่เพียง 7 ไร่ ทำสวนเกษตรผลไม้ผสมผสาน สร้างรายได้ดี ต่อปี ถึง 1แสน 4 หมื่นบาทเลยทีเดียว และยังเก็บเกี่ยวผลไม้อื่นๆ เช่น กล้วย มะพร้าว  ขายมีรายได้ในทุกๆวัน  

          สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่   080-544-5982

  ………………………………………………………………………….

 

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

7 อปท.สตูล  ผนึกกำลัง  ร่วมชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นน่าอยู่

7 อปท.สตูล  ผนึกกำลัง  ร่วมชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นน่าอยู่

         ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน   หากเกิดขึ้น  ย่อมจะสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากทั้งที่สามารถที่จะป้องกันได้  โดยอบต.นาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล   ได้สมมุติเหตุการณ์อุบัติเหตุหมู่ระหว่างรถยนต์กระบะ และรถยนต์เก๋งประสานงากัน  จนเกิดผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากเต็มท้องถนน   ที่บริเวณ สนามกีฬากลางตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า 

       โดยการจำลองเหตุการณ์ในการครั้งนี้  เพื่อซักซ้อมเสริมสร้างประสิทธิ์ภาพการทำงาน   ของทุกภาคีเครือข่าย  โดยเฉพาะชุดอาสาสมัครขับขี่ปลอดภัย และอาสาจากผู้นำท้องถิ่นที่เป็นภาคีเครือข่าย 6 แห่ง (ได้แก่ ทต.ทุ่งหว้า อบต.ทุ่งหว้า,อบต.ทุ่งบุหลัง,อบต.ขอนคลาน,อบต.บ้านควนและอบต.ควนโพธิ์)  ที่มาร่วมภารกิจฝึกซ้อมแผนในครั้งนี้ด้วย  ภายใต้โครงการ  ชันชีขับขี่ปลอดภัยสร้างความเข้มแข็งท้องถิ่นน่าอยู่   พร้อมประเมินผลเพื่อให้การช่วยเหลือลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน

         นายเอกชัย  หลงขาว  นายกฯ อบต. นาทอน  ระบุว่า  โครงการชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น  เป็นการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน 3 ระยะได้แก่  การจัดการในระยะป้องกันและเฝ้าระวัง การจัดการระยะเกิดเหตุ และการจัดการระยะหลังเกิดเหตุ และฟื้นฟู  ควบคู่กับ 5 ชุดกิจกรรมคือ การบริหารและช่วยเหลือ, การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย,การพัฒนาศักยภาพคน รถ ถนน,การจัดสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนานโยบายและแผน

         นายเอกชัย  หลงขาว  นายกฯ อบต. นาทอน  ระบุว่า  โครงการชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น  เป็นการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน 3 ระยะได้แก่  การจัดการในระยะป้องกันและเฝ้าระวัง การจัดการระยะเกิดเหตุ และการจัดการระยะหลังเกิดเหตุ และฟื้นฟู  ควบคู่กับ 5 ชุดกิจกรรมคือ การบริหารและช่วยเหลือ, การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย,การพัฒนาศักยภาพคน รถ ถนน,การจัดสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนานโยบายและแผน

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

 กินแพะเชิญแวะสตูล  หลังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมคัดเลือก   เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ เป็นเมนู  1 จังหวัด 1 เมนู  ที่โดดเด่นเชื่อมโยงวิถีคนท้องถิ่น  ตามหารสชาติที่หายไป

กินแพะเชิญแวะสตูล  หลังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมคัดเลือก   เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ เป็นเมนู  1 จังหวัด 1 เมนู  ที่โดดเด่นเชื่อมโยงวิถีคนท้องถิ่น  ตามหารสชาติที่หายไป

        ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  ได้ถูกยกระดับจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  คัดเลือกเป็น  1 จังหวัด 1 เมนู    เชิดชูอาหารถิ่น ปี 2566 เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์อาหาร ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย

        โดยที่  ร้านบังดุลย์แกงแพะ    ซึ่งตั้งอยู่(หลังปั้มเชลล์โต้รุ่ง)  บนถนนเรืองฤทธิ์จรูญ  ซอย 1 ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ร้านแห่งนี้ขายเมนูแกงแพะ   และข้าวแกงกับเมนูพื้นเมืองที่หลากหลายมานานกว่า 30 ปี โดยเมนูชูโรงคือ  ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ   และข้าวหมกแพะ  นอกจากนี้ยังมีข้าวหมกไก่  ต้มซุปซี่โครงวัว  และอีกหลากหลายเมนูบริการลูกค้า

        โดยนายอดุลย์  ไชยกุล  อายุ 59 ปี เจ้าของร้านรุ่นแรก  (อดีตประธานชมรมแพะแกะจังหวัดสตูล)  บอกว่า  เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะนับเป็นเมนูที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนมุสลิมตั้งแต่แรกเกิด คือหากบ้านไหนเกิดได้บุตรสาวจะใช้ แพะ 1 ตัวในการทำบุญ หรือทำนูหรี  หากเป็นบุตรชายใช้แพะ 2 ตัว เป็นวิถีที่มีการทำบุญด้วยข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  มาอย่างช้านาน  นอกจากนี้งานบุญงานต่างๆ (ทำบุญขึ้นบ้าน,งานขอให้คนไข้หายเจ็บป่วย,ได้งานทำ หรือโอกาสสำคัญก็จะใช้เมนู  ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะในการทำบุญเกือบทั้งสิ้น

        มาวันนี้  ที่ได้รับยกระดับเป็น  1 จังหวัด 1 เมนูที่กำลังจะสูญหายไป แต่สามารถมาหาทานได้ที่ร้านบังดุลย์แกงแพะ    ทางร้านก็พร้อมจะสืบทอดเมนูวัฒนธรรมท้องถิ่น  ให้ทุกคนได้ทานกันทุกวัน  ยกเว้นวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุด  ส่วนตัวอยากให้มีการส่งเสริม  และผลักดันให้สตูลเป็นเมืองแพะ เหมือนในอดีตที่เคยมีสโลแกนที่ว่า  กินแพะเชิญแวะที่สตูล  อีกทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกร   ได้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง และคิดเมนูแพะให้กลับมาโด่งดังอีกครั้ง  จากในอดีตที่เคยมีการทำลูกชิ้นแพะ  เนื้อสวรรค์แพะ

      เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  นับเป็นเมนูที่นักท่องเที่ยว ข้าราชการ และชาวต่างชาติอย่างจีนชื่นชอบทานมาก เพราะเชื่อว่าเป็นเมนูเพื่อสุขภาพ ทานได้ทั้งกับโรตี หรือทานกับข้าวสวยร้อน ๆ รวมทั้งข้าวเหนียวเหลืองก็สามารถทานคู่กับแกงแพะได้ 

         ด้าน นางสาวเจนจิรา  ไชยกุล  อายุ 38 ปี  บุตรสาวทายาทรุ่นที่ 2 บอกว่า   ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  จะใช้ข้าวเหนียวเก่าแช่น้ำ 1 ชั่วโมง  นำมาผักกับผงขมิ้นและกะทิ  ส่วนแกงแพะ จะใช้แพะเพศเมียซึ่งจะไม่สาบ  แกงกับเครื่องเทศ กะทิ นมสด เครื่องแกง นาน 3 ชม. เคี่ยวจนเนื้อนิ่มละมุนลิ้น โดยทางร้านมีฟาร์มแพะของตัวเอง  ปรุงเอง  ขายเป็นกล่อง  กล่องละ 60 บาทสำหรับทาน 1 คน หรือจะสั่งออเดอร์ทำงานบุญ  แก้บน  งานแต่ง  หรืองานไหน ๆ สั่งเป็นตัว และข้าวเหนียวเป็นกิโลได้   มีงานทุกวัน   ส่วนข้าวหมกแพะมีเฉพาะวันศุกร์  ติดต่อทางเพจ  บังดุลแกงแพะ  หรือโทร. 091-848  5259

        กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ออกประกาศ เรื่องผลการคัดเลือกกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 29 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการ  ส่งเสริม และพัฒนา   ยกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปี 2566

        โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของอาหารไทย อาหารท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ต่อยอดสมุนไพรไทย สรรพคุณทางเลือกและส่งต่อเป็นภูมิปัญญา  ที่มีการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น  อีกทั้งเป็นการ ส่งเสริมให้คนไทยได้ตระหนัก  เกิดความภาคภูมิใจ  กระตุ้นให้เกิดการยกระดับอาหารไทยพื้นถิ่น  สู่อาหารจานเด็ดที่ต้องชิม  ผลักดันให้เป็นเมนูซอฟพาวเวอร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้หนุนเศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศให้ยั่งยืน

……………………………

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

 จิ้มจุ่มแลเล 2 แผ่นดิน ที่สตูล

จิ้มจุ่มแลเล 2 แผ่นดิน ที่สตูล

         หลายๆร้านอาหารพยายามรังสรรค์เมนูตอบโจทย์ลูกค้า  บางร้านบรรยากาศดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง  อย่างร้าน เดออ่าวใหม่  ซึ่งเป็นร้านอาหารทะเลขึ้นชื่อ  ตั้งอยู่บนพื้นที่ หมู่ 1 ต.ตันหยงโป  อ.เมือง จ.สตูล  ห่างจากตัวเมืองราวๆ 20-30 กม. ขับรถเข้าสู่ตำบลนี้แล้ว   ขับเลียบเส้นถนนรอบเกาะ  ก็จะเจอพิกัดร้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล   ที่ร้านนี้นอกจากจะมีอาหารทะเลสดๆอย่าง ปูม้าต้ม   กั้งทอดกระเทียมแล้ว  ที่ร้านยังจัดเมนู จิ้มจุ่ม   และกาแฟสดเอาใจลูกค้าด้วย 

        สำหรับเมนู จิ้มจุ่ม ทางร้านขายเป็นชุด ชุดละ 179 บาท  มีทั้งอาหารทะเลสดๆ ผักสดๆ บวกกับน้ำจิ้มรสแซ่บ  จิ้มจุ่มกันฟินๆ ท่ามกลางบรรยากาศริมทะเล  หากโอกาสดีลูกค้าอาจจะได้เห็นวิวพระอาทิตย์ตก 2 แผ่นดินด้วย  บรรยากาศแบบอยากจะแยกร่างกันเลยทีเดียว ร่างนึงก็ลุกไปถ่ายพระอาทิตย์ตก  อีกร่างก็นั่งจิ้มจุ่มกันต่อเพราะน้ำซุปในหม้อดินกำลังเดือด  เนื้อกำลังสุกได้ที่เลย

         ร้านเดออ่าวใหม่ บริหารโดย  นางสาวพรรณทิวา  วิริยะพัชรานนท์  อายุ 26 ปี โดยเจ้าของร้านบอกว่า  เดิมร้านอ่าวใหม่เป็นร้านขายอาหารทะเลสดๆ มีหลากหลายเมนูให้เลือก  แต่เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบจิ้มจุ่ม  จึงเพิ่มเมนูนี้เข้ามาในร้าน  ลูกค้าจะได้สนุกกับอาหารท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์ตก 2 แผ่นดิน  คือ แผ่นดินไทย ด้านจังหวัดสตูล และด้านเกาะลังกาวี  ประเทศมาเลเซีย  โดยลูกค้ามีทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 

        นอกจากเมนูหลักของร้านเดออ่าวใหม่ จะขายอาหารทะเลแล้ว  ยังเปิดมุมชิคๆสำหรับคอกาแฟด้วย  มีเมนูกาแฟสด ให้ได้ดื่มด่ำ จิบกาแฟชมวิวหลักล้านได้เลย  ไม่ว่าจะมาเดี่ยวหรือมาคู่  หรือจะยกแก๊งค์ ก็ตอบโจทย์ได้หมดทุกกลุ่ม  ร้าน เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา  9:30-19:00 น.  สำรองจองโต๊ะ  086-6087206  หรือจะติดต่อทางเพจ อ่าวใหม่ซีฟู้ด ฮาลาลทะเลสตูล

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

ชาวสตูลฝากความหวัง รัฐบาลเศรษฐา  แก้ปากท้องเร่งด่วน

ชาวสตูลฝากความหวัง รัฐบาลเศรษฐา  แก้ปากท้องเร่งด่วน

     วันที่ 13 กันยายน 2566   ที่อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล พ่อค้าประชาชนขอให้นายกฯ และรัฐบาลของเศรษฐา 1  เดินหน้าทำตามสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง  ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องให้โดยเร็วตามที่เคยหาเสียงและรับปากกับประชาชนไว้ 

         นายสมบัติ   เจริญขวัญ  เจ้าของร้านชาป่าเมือง ร้านอาหารยามเช้าในจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  ไม่ขออะไรมากกับรัฐบาลชุดนี้ขอเพียงแค่ให้ทางนายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่เคยรับปากกับพี่น้องประชาชนว่าจะแก้ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจ  เดินหน้าทำความหวังของประชาชนให้เป็นจริงโดยทุกคนพร้อมจะให้โอกาสในการแสดงฝีมือ  ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน   ราคาค่าไฟหรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยวเพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศและช่วยเหลือชาวบ้านที่กำลังประสบปัญหาสินค้าราคาแพง

         ขณะที่นายกฤตฐพัฒน์   ทองป้อง  เจ้าของกิจการ  บอกว่า ไม่ค่อยมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำได้แต่ก็ต้องให้โอกาสในการทดลองทำดู  และเป็นกำลังใจให้เพราะที่ผ่านมาหลายรัฐบาลก็มักจะมาให้ความหวังกับประชาชนไว้   ในการแก้ปัญหาค่าไฟและค่าน้ำมัน  พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย  ทำไมถึงแก้ปัญหาเรื่องน้ำมันได้  ซึ่งมีราคาแตกต่างจากบ้านเราถึงเข้าตัวขอให้รัฐบาลแก้ปัญหา

         ส่วนฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวเห็นด้วยว่าจะช่วยในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว  ให้มีเม็ดเงินกลับมา  ขอฝากให้กระตุ้นเศรษฐกิจในเมืองท่องเที่ยวที่เป็นเมืองปิดอย่างจังหวัดสตูล  ด้วยการเปิดเส้นทาง  ในการสร้างสะพานอย่างที่ชาวจังหวัดสตูล  เชื่อว่าจะทำให้การท่องเที่ยวและเม็ดเงินสะพัดมากยิ่งขึ้น

…….

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

แม่ค้าทุเรียนใจดี    แจกฟรีหมอนทอง ชะนี 3000 กิโล แก่ชาวบ้าน หลังบนบานตาหลวงไข่ วัดเจดีย์   ยอดขายส่งออกทุเรียนได้กำไรทะลุเป้า

แม่ค้าทุเรียนใจดี    แจกฟรีหมอนทอง ชะนี 3000 กิโล แก่ชาวบ้าน หลังบนบานตาหลวงไข่ วัดเจดีย์   ยอดขายส่งออกทุเรียนได้กำไรทะลุเป้า

        เมื่อวันที่ 12  กันยายน 2566  ชาวจังหวัดสตูล ทั้งเด็กเล็ก  จนไปถึงผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ กว่า 500 คน มายืนรอ รับทุเรียนสายพันธุชะนี หมอนทอง  ของนางสาวจุฑาพร   สุดสวย  อายุ 26 ปี  หรือ เจ๊เมย์  ที่ขายทุเรียนผ่านเพจร้านของตนเอง  ชื่อว่า พรรณารา  เด็กใต้ทุเรียนซิ่ง  โดยโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า ( พรุ่งนี้เจอกันที่สตูล  แจกทุเรียนฟรี ช่วยแชร์กันเยอะๆ  จะนำไปแจกกินฟรี ยกให้ทั้งลูก ให้ชาวบ้าน โดยทำการแจกจ่ายบริเวณตรงข้าม ศาลากลางจังหวัดสตูล ใกล้ร้านข้าวมันไก่บังโกบ ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล )

      ทางทีมข่าวได้พูดคุยสอบถาม  นางสาวจุฑาพร   สุดสวย  อายุ 26 ปี (เจ๊เมย์) เจ้าของทุเรียน ซึ่งได้เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ที่ได้นำทุเรียนมาแจกให้กับชาวบ้านในครั้งนี้ คือได้บนบานสานกล่าวไว้กับตาหลวงไข่ วัดเจดีย์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยบนไว้ว่า  ให้แผงทุเรียนของตนที่่ทำการขายส่งออก ถึงเป้าหมายรายได้ที่กำหนดไว้ ให้มีกำไรสุดปัง  ยอดขายเป็นหมื่นเป็นแสน    และถ้าสำเร็จดังที่ขอ  จะรีบไปแก้บนโดยนำทุเรียน สายพันธุ์หมอนทอง สายพันธุ์ชะนี  ลูกใหญ่ๆ ไปแจกให้กับชาวบ้านที่ยากจน ผู้มีรายได้น้อยและเด็กๆ ได้กิน 

     นางสาวจุฑาพร   เจ้าของทุเรียน ยังกล่าวอีกว่า  ในวันนี้สิ่งที่บนบานสานกล่าวไว้   เป็นผลสำเร็จบรรลุยอดถึงเป้าหมาย  จึงรีบมาแก้บนทันที  โดยได้นำทุเรียนหมอนทอง และชะนี จำนวน 3000 กิโลกรัม ประมาณ 1,000 ลูก และเมื่อแก้บนตามที่ขอไว้แล้ว ก็จะเดินทางไปกราบตาหลวงไข่   วัดเจดีย์   ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอีกครั้ง  เพราะเชื่อว่า หากบนบานสานกล่าวอะไรไว้ เมื่อท่านรับสิ่งที่เราบนบาน เราต้องรีบมาแก้ หากช้ากลัวท่านจะไม่ให้พรอีก

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  ปลาเค็มกางมุ้งพลิกชีวิต  ด้วยความยากจนวัยเด็กเติบโตมากับปลาเค็ม  ก้าวสู่อาณาจักรครบวงจร  

ปลาเค็มกางมุ้งพลิกชีวิต  ด้วยความยากจนวัยเด็กเติบโตมากับปลาเค็ม  ก้าวสู่อาณาจักรครบวงจร

             ที่บ้านควนไสน  หมู่ที่ 9 ตำบลควนสตอ  อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล   ที่นี่มีปลาเค็มแดดเดียวจำนวนมากมายหลากหลายชนิดนับ 1000 กก.  ตากเพื่อรอเวลาในการเก็บไปขายยังตลาดนัดในหมู่บ้าน   เหมือนกับปลาเค็มทั่วไป  โดยก๊ะบ๊ะ  หรือนางสุไวบ๊ะ  ดาแลหมัน อายุ 44 ปี เป็นเจ้าของปลาเค็มกางมุ้งก๊ะบ๊ะแห่งนี้  

             แต่! ปลาเค็มที่นี่มีความพิเศษคือ  เป็นปลาเค็มในมุ้ง  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  ปลาเค็มกางมุ้งก๊ะบ๊ะ  แม่ค้าปลาเค็มที่นี่จะทำปลาเค็มเอง ขายเองมานานกว่า 16 ปีแล้ว งานนี้การันตีเต็มร้อยว่าปลาเค็มที่นี่ปลอดจากสารพิษ และเป็นปลาที่ไม่เค็มเกินไป

             ที่นี่มีปลาหลากหลายชนิดที่นำมาทำปลาเค็ม  ไม่ว่าจะเป็นปลาจวด  ปลาหลังเขียว  ปลาหลังแข็ง  นอกจากนี้ยังมีปลาสละ  หรือ  ปลาสีเสียดขาว  ตัวโตแบบผ่าหลังจำหน่ายด้วย  ปลาเนื้อแดดเดียว  ปลาเนื้อนิ่ม   โดยเฉพาะปลาเนื้อส้ม  กล้าพูดเต็มปากเลยว่ามีที่ตนทำเพียงรายเดียวในจังหวัดสตูล   ราคาก็จะแตกต่างกันไป

            โดยปลาหลังเขียวขายดีสุด กิโลกรัมละ 70 บาท ปลาหลังแข็งกิโลกรัมละ 80 บาทอันนี้ก็ขายดี  ปลาจวดกิโลกรัมละ 100-120 บาท  ส่วนปลาสีเสียดกิโลกรัมละ 100 บาท และปลาสละ  หรือปลาสีเสียดขาว ตัวโตกิโลกรัมละ 200 บาท

           ทางร้านจะทำปลาสองอาทิตย์ประมาณ 2,000 กิโลกรัม  โดยเป็นปลาของชาวประมงในพื้นที่จังหวัดสตูลที่นำมาส่งให้ถึงที่  ปลาก็จะทำกันเองสองคนสามีเพราะเป็นธุรกิจในครัวเรือน  และออกไปขายกันเองที่ตลาดนัดดุสน  ตลาดนัดควนโดน และตลาดนัดฉลุง ซึ่งเป็นตลาดในชุมชนหมู่บ้าน  นอกจากนี้ยังมีลูกค้าสั่งมาจากต่างจังหวัด รวมทั้งประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านก็จะหิ้วกลับไปคนละ 50 – 100 กิโลกรัมก็มี

           อนาคตวางแผนว่า   จะให้บุตรสาวที่กำลังเรียนใกล้จะจบการศึกษามาต่อยอด  ทำการค้าผ่านธุรกิจออนไลน์  เพราะรุ่นตนยอมรับว่าไม่ค่อยถนัด

            

         ก๊ะบ๊ะ  หรือนางสุไวบ๊ะ  ดาแลหมัน อายุ 44 ปี เจ้าของปลาเค็มกางมุ้งก๊ะบ๊ะ  บอกว่า  จุดเริ่มต้นของอาชีพนี้ด้วยพ่อแม่ยากจนมาก เลี้ยงลูก  6 คน ด้วยปลาเค็ม ทานไปทานมาแพ้ปลาเค็มจนปากเจ่อ  จึงเกิดแนวคิดที่จะทำปลาเค็มเอง จึงทดลองทำจาก 20-30 กิโลกรัม   แรกๆ ให้เพื่อนบ้านทดลองทานบ้าง หลายคนว่าอร่อยจนมั่นใจจึงยึดเป็นอาชีพ ทำสองคนสามี มาวันนี้สามารถเลี้ยงบุตร 3 คนได้อย่างสบาย และมีที่ดิน 2 ไร่ที่ขยายกิจการ  ทำกางมุ้ง  เพื่อหวังให้คนบริโภคได้ทานอย่างมั่นใจ   รายได้ต่อเดือนไม่หักค่าใช้จ่าย 200,000 บาท

         มาวันนี้บวกกับได้คู่ชีวิตที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง  ช่วยกันทำปลาเค็มกางเค็มกางมุ้งบนพื้นที่ 2 ไร่  เพื่อป้องกันแมลงวัน และแมลงหลากหลายชนิดโดยไม่ต้องพึ่งยา   บนพื้นที่นี้ยังมีน้องสามีมาทำช่วยอีกแรง  นอกจากนี้ยังทำแบบครบวงจร คือมีบ่อบำบัดน้ำเสีย   ไหลสู่แปลงผักบุ้งเป็นปุ๋ย  ที่โตเก็บไปให้อาหารปลาดุก และแพะ เป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย

           สำหรับท่านใดที่สนใจปลาเค็มกางมุ้งสูตรต่าง ๆ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 065-057-4781 หรือที่เบอร์ 062-359-9674 หรือที่เฟส สุไวบ๊ะ  ดาแลหมัน

 …………………….

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ชาวเลเกาะหลีเป๊ะยังคงเดือดร้อน แม้บางจุดน้ำจะลดเกือบแห้งแล้ว แต่ยังคงมีบางจุดที่น้ำยังท่วมขัง หลังน้ำยังคงระบายลงทะเลไม่หมด

ชาวเลเกาะหลีเป๊ะยังคงเดือดร้อน แม้บางจุดน้ำจะลดเกือบแห้งแล้ว แต่ยังคงมีบางจุดที่น้ำยังท่วมขัง หลังน้ำยังคงระบายลงทะเลไม่หมด

      วันที่ 12 กันยายน 2566 ระดับน้ำในหลายจุดที่ท่วมขังติดต่อมากันหลายวันบนเกาะหลีเป๊ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ขณะนี้ลดระดับลงเรื่อย ๆ หลายจุดเริ่มแห้งแล้ว หลังทางด้านนายพีรพัฒน์ เงินเจริญ นายอำเภอเมืองสตูลสั่งการให้มีการเร่งระดมเครื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่ชั้นในที่ท่วมชังบ้านเรือนชาวเลออก อย่างเร่งด่วน ใน 5 ชุมชน

         แต่ยังคงมีบางชุมชนอย่าง ชุมชนกรือโป๊ะ ของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นทางผ่าน ไปมาของนักท่องเที่ยวอยู่ด้านในกลางเกาะ และเป็นหมู่บ้านชาวเล ก็ยังพบมีน้ำที่ยังท่วมขัง รอการช่วยเหลือด้วยเช่นกัน โดยชาวบ้านบอกว่า ลักษณ์ปัญหาของเกาะหลีเป๊ะ เมื่อฝนตกหนักติดต่อกันอย่างวัน ปริมาณน้ำที่ท่วมขังไม่สามารถจะออกจากเกาะได้เพราะไม่มีช่องทางระบายน้ำออก เนื่องจากลำรางถูกปิดทับก่อสร้าง โดยมีการอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายเร่งดำเนินคดีในชั้นศาลถึงการได้มาและการครอบครองสิทธิ์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากต่อเนื่องยาวนาน จากน้ำฝนเป็นน้ำเน่าในที่สุดหากไม่ช่วยกันสูบน้ำที่อยู่กลางเกาะออก

………………………………………………………..

     

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด