Categories
ข่าวทั่วไป

จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จากผลสำรวจของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจกว่า 97% เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงออกถึงจุดยืนด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบ (integrity) ขององค์กร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท และพนักงานในทุกระดับ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการจัดการความเสี่ยงอย่างทันท่วงทีและร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

ในโอกาสนี้ ขอเชิญไปรู้จักกับ ‘Integrity Hotline’ หรือ ‘สายด่วนธรรมาภิบาล’ เครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของทรู คอร์ปอเรชั่น

สร้างวัฒนธรรมการ Speak Up
การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล นอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรอีกด้วย ทั้งในด้านการรักษาชื่อเสียง การดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปจนถึงการทำให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และสังคมโดยรวม เกิดความไว้วางใจในองค์กรและแบรนด์

 

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลต้องอาศัยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มข้น โมเดลบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมความเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจ (check and balance) สูงสุด


ภายหลังการรวมธุรกิจ ทรูจึงเพิ่มระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และได้พัฒนา Integrity Hotline เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนความประพฤติหรือการกระทำของพนักงานที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งเปิดให้ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกสามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสได้

 

ช่องทาง Integrity Hotline นี้เอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติจริงในองค์กร (Governance in action) พร้อมทั้งขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมั่นใจและใช้ช่องทาง ‘speak up’ หรือรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

 

Whistleblower หยุดยั้งวิกฤต

ก้าวสำคัญสู่การสร้างวัฒนธรรมการ speak up และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น คือการให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือ ‘whistleblower’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยยับยั้งความเสี่ยง และจำกัดความรุนแรงที่อาจลุกลามเป็นวิกฤตได้อย่างทันท่วงที จากเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในตลาดทุนล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของ whistleblower และความสำคัญของการมีช่องทางรายงานการละเมิดธรรมาภิบาลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส

ปัจจุบัน ช่องทาง Integrity Hotline ของทรู มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง EQS Group ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชั้นนำของยุโรป เป็นผู้ให้บริการ ผ่านมาตรฐาน ISO 27001 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส หรือ whistleblower จะไม่ถูกเปิดเผยและได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยตัวตนหรือไม่ และระบบจะไม่เก็บข้อมูลผู้รายงาน ไม่ว่าจะเป็นรหัสพนักงาน รหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส หรืออีเมลก็ตาม


มั่นใจใน 4 ขั้นตอนค้นหาความจริง

ความเชื่อมั่น (trust) ยังถือเป็นแก่นสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมั่นใจได้ ตั้งแต่ระบบต้นทาง กระบวนการ การตีความ ความสมเหตุสมผล ไปจนถึงปัจจัยแวดล้อม ทรูจึงได้กำหนดกรอบการทำงานที่เข้มข้น ชัดเจน เป็นอิสระสูงสุด สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานระดับโลกอย่างดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลผ่าน Integrity Hotline ทรูจะมีการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

 

  • ขั้นตอนที่ 1 Risk assessment เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานนั้นๆ เพื่อป้องกันการใช้ช่องทาง Integrity Hotline เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง

 

  • ขั้นตอนที่ 2 Categorization เมื่อประเมินแล้วว่ารายงานที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ทางทีม Investigation จะมีการจัดชั้นความเสี่ยงของรายงานข้อกังวลนั้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อบริหารจัดการตามความเหมาะสม โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตามแต่ละประเภทของความเสี่ยง

 

  • ขั้นตอนที่ 3 Fact-finding การตรวจสอบข้อเท็จจริง จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการและพิจารณาโดยเฉพาะ และมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยดำเนินงานภายใต้ความอิสระ รวมถึงในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นอิสระมาดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

 

  • ขั้นตอนที่ 4 Filing report เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานจะส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ DAC (Disciplinary Action Committee) เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาบทลงโทษทางวินัย กรณีที่รายงานข้อกังวลนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายบริษัท  

 

มาร่วมกันเป็นหูเป็นตาเพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรและตลาดทุน หากผู้ใดพบเห็นสิ่งผิดปกติ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ https://truecorp.integrityline.com/  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

“มาแต่ตรัง” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์-เมืองเก่าอันดามัน 22-26 พ.ย.นี้ ย้อนรอย “คลองห้วยยาง” ต้นกำเนิดการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง 

มาแต่ตรัง…” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์เมืองเก่าอันดามัน 22-26 ..นี้ ย้อนรอยคลองห้วยยางต้นกำเนิดการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง เปิดพื้นที่ คนรุ่นใหม่ปล่อยของมหกรรม Exhibition & art installation แลหนังที่วิกเพชรรามา ชมงาน Creative spaceที่ รพ.เก่าตรังชาตะเปิดตลาด Creative market นำเที่ยวแบบใหม่ Old town Tour

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง จัดแถลงข่าวงาน “มาแต่ตรัง..” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว   ภายใต้โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) เพื่อสร้างโอกาสและเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นย่านเมืองเก่าตรัง   โดยการนำเสนอสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของดีของจังหวัด ดึงกลุ่มคน ท้องถิ่น ผู้ประกอบการและชุมชน มาร่วมกันสร้างสรรค์ ทำให้เมืองเก่าตรังซึ่งนอกจากเป็นเมืองค้าขายที่ตอบสนองวิถีของคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถรองรับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ให้มาเรียนรู้มิติวัฒนธรรมของเมืองเก่าได้

       

          โดยภายในงานแถลงข่าวมีการจัดเสวนาหัวข้อ “เมืองเก่าทับเที่ยง ย่านสร้างสรรค์” โดยน..อรัญญา ทองโอตัวแทนกลุ่ม Backyard นายวรพงศ์ เชาว์ชูเวชช ตัวแทนตรังชาตะ นายจิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการ YEC และผศ.ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท ตัวแทนศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความคาดหวังในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีสื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานมากมาย อาทิ นายขจรศักดิ์เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และ นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง เป็นต้น

   

          กิจกรรมภายในงานมาแต่ตรัง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourismFestival จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00- 21.00  คลองห้วยยาง ย่านเมืองเก่าทับเที่ยง  มีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วัน ตัวอย่าง  กิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ การจัดแสดงแสงสีและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่คริสตจักรตรัง  มูลนิธิกุศสถานและริมคลองห้วยยาง   นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนังและศิลปะจัดวาง (Exhibition & art installation) ที่เพชรรามาและคลองห้วยยาง เปิดพื้นที่เรียนรู้ทดลองสร้างสรรค์ (Creative space)  ตรังชาตะ เปิดพื้นที่พักผ่อน  สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง(Pocket park)ชมตลาดอาหารงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ (Creative market)  มูลนิธิกุศลสถานตรัง มีกิจกรรมสาธิตอาหารแนวใหม่ และกิจกรรมพาชมย่านเมืองเก่า (Old town Tour)

 

           ทั้งนี้เมืองเก่า “ทับเที่ยงเป็นเมืองค้าขาย ศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง ขยายตัวจากการขนสั่งสินค้าจากท่าเรือกันตังกระจายสู่ภูมิภาค   ซึ่งมีร่องรอยเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมแบบ บ้านร้านค้า (Shophouse) และสถานที่สำคัญทางศาสนาที่สะท้อนความเป็นพหวัฒนธรรมของคนใน พื้นที่ตรังได้ชื่อว่าเป็นเมืองอาหาร 9 มื้อเพราะเมืองตอบสนองต่อวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่หลากหลายผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่   ทั้งพ่อค้า ชาวสวนยางและคนทั่วไป ที่ใช้เวลาในเมืองแตกต่างกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น ดังนั้น เมืองที่พร้อมรับวิถีชีวิตคนที่หลากหลายย่อมมีศักยภาพเป็นพื้นที่รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเล หรือนักท่องเที่ยวเทศกาล ที่เข้ามายังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำหรับงานในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกัน มีแผนที่ท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรัง เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรัง มีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยง ได้บันทึกเรื่องราว รากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรัง ธุรกิจในย่านเมืองเก่ามีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาล เกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้าง ผู้สนใจสามารถมาร่วมงานมาแต่ตรัง…” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival

นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง บอกว่า จังหวัดตรังได้แถลงข่าวเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่า ซึ่งมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเรารู้กันว่าเรามีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และจังหวัดตรังเราเองมีเมืองเก่ามีโบราณสถาน มีสถาปัตยกรรมมีวิถีของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี พื้นถิ่นที่มีสตอรี่ที่เป็นของเก่า ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดขายในเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่าได้ แล้วเราได้มีการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่อยู่ในชุมชนเมืองเก่าทับเที่ยงในอำเภอเมืองตรังซึ่งเราได้จับมือกับทางเทศบาลนครตรัง รายการที่พัฒนาคลองห้วยยางและสถานที่รอบข้างๆที่มีสตอรี่ของสถาปัตยกรรมในด้านเมืองเก่าเป็นจุดแรกที่เราจะพัฒนา ที่จะย้อนอดีตเข้าไปซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA มาช่วยเราในการพัฒนา นอกจากในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วนั้นดังกล่าวเราเป็นเทรนด์หนึ่ง ที่เราได้รับการพัฒนาและไปเอาของในเรื่องที่เรามีอยู่แล้ว ขึ้นมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว ก็คิดว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของแรงดึงดูดการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นแล้วจังหวัดตรังเรามีสนามบินและอาหารพื้นถิ่นที่อร่อยอยู่แล้วในสิ่งที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวมีพร้อมอยู่แล้วถ้ามาท่องเที่ยวเมืองเก่าที่ตรังแล้วจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่ตรังทั้งในเรื่องของสุขภาพธรรมชาติสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะมีการบูรณาการในเชิงการท่องเที่ยวของพหุวัฒนธรรม

แล้วเราโชคดีที่ตรังมีสนามบินตรังจะได้รับการพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีรันเวย์มาตรฐาน 2,900 กว่าเมตร จะเสร็จในปี 2568 ซึ่งเราได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งมีการประชุม ในการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชนเตรียมด่านการตรวจคนเข้าเมือง เตรียมเรื่องของปตท.จัดเรื่องในการเติมน้ำมัน การบิน charter Fight ที่เป็นไฟท์ต่างประเทศที่จะบินมาตรงจังหวัดตรังซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับเที่ยวบินชาร์เตอร์ไฟท์ เรื่องของการรับนักท่องเที่ยวเตรียมไว้พร้อมแล้ว

และเทรนด์การท่องเที่ยวที่จัดสรรในเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติเพราะฉะนั้นตนเองคิดว่า ที่เราตั้งโจทย์ไว้ ก็อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือยุโรป ให้เข้ามาเที่ยวทำให้รู้จักจังหวัดตรังมากขึ้นตนเองมั่นใจว่า 22-26 พฤศจิกายน 2566 นี้ จึงอยากจะเชิญชวนทางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้มาสัมผัสเมืองตรังและจะประทับใจแน่นอน ซึ่งจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่หมูย่างแน่นอน

สำหรับในเรื่องของเศรษฐกิจ ที่เรามีสถิติสูงสุดคือปี 2562 นักท่องเที่ยวที่เข้ามาประมาณ 1,500,000 คน เรื่องของรายได้เรามีประมาณ 9,000 กว่าล้านบาทเราคาดหวังว่าขอให้เท่ากับปี 2562 ที่ผ่านมา รายได้ในจังหวัดตรังต้องมากกว่า 9,000 ล้านบาท.เรามีการพูดคุยและสำรวจ ทาง CEA ก็สำรวจ ทางเทศบาลนครตรัง ชุมชนทับเที่ยงโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของอาคารเก่า ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เขาให้ความร่วมมือ ยินดีที่จะให้ใช้อาคาร เพื่อจัดโซนหรือ เป็นย่านเมืองเก่า ถือว่าเป็นเรื่องดี คนตรังรักที่อนุรักษ์ ที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าซึ่งเราได้จัดตั้งงบเป็นสารตั้งต้นงบประมาณ 8 ล้านบาท พัฒนาเรื่องของคลองห้วยยางและจุดที่เป็นแลนด์มาร์ค ตอนนี้การดีไซน์ออกแบบย่านเมืองเก่าทางเทศบาลนครตรังรับช่วงต่อไปและทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองที่เขามีงบประมาณในการสนับสนุนนั้น ก็จะเกิดเหตุผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในความสำเร็จที่เรามีทุกภาคส่วนจะต้องเคลื่อนกันหมด

            ..พันธิตรา สินพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) บอกว่าสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA เรามีภารกิจ ซึ่งเรามีโครงการ เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย   ซึ่งมีเครือข่ายทั้งหมด 33 จังหวัดทั่วประเทศ    และตรังเป็นหนึ่งในจังหวัดนั้น ซึ่งตรังไปเร็วกว่าจังหวัดอื่น   ซึ่งโครงการเราเริ่มเมื่อปี 2563   เนื่องจากว่ามีนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ มีพื้นที่สร้างสรรค์มีสินทรัพย์ มีหน่วยงานภาครัฐซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้เป็นทุกจังหวัด ที่หน่วยงานเห็นความสำคัญของการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ CEA เราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเป็นตัว support เราเอาประสบการณ์ที่เราทำกับกรุงเทพฯย่านเจริญกรุง ตลาดน้อยและเชียงใหม่ สาขาที่ขอนแก่น และสิ่งที่เราได้บทเรียน เป็นการทดสอบของแต่ละพื้นที่ และเราต้องดูว่าศักยภาพของแต่ละพื้นที่มีอะไรโดยจังหวัดตรังเรามี 2 ย่านเป็นย่านต้นแบบ คือ ย่านเมืองเก่าทับเที่ยงและย่านกันตัง    เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการการทำงาน  และดีใจมากที่ตรังลงตัวมาก และตรังชาตะอยากจะทำให้พื้นที่อาคารเก่า เป็นที่คนตรังผูกพัน คนที่อายุ 40 อัพเกิดที่นี่อยากจะทำเป็นมิวเซี่ยมเกิดงานเถตรังขึ้นมา เกิดจากคนรุ่นใหม่ร่วมตัวกันขึ้นมา เช่นนำไม้เทพธาโร ผ้านาหมื่นศรี   มาถ่ายทอดผ่านอาคารเก่าให้มีคุณค่าและเรามาเจอกับคลองห้วยยาง และมีแผนพร้อมกัน   มาแต่ตรังกินพื้นที่ ชุมชนเริ่มมา และหน่วยงานเข้ามาซับพอร์ต ก็จะเกิดการลงทุนและการท่องเที่ยวจะเข้ามา ทำเพื่อให้คนมาท่องเที่ยว ถ้าเราทำทุกอย่างให้น่าอยู่ จะทำให้เกิดเงินเข้ามา เพราะมีคนเข้ามาเที่ยว เมื่อคลองห้วยยางต่อไปเดินแล้ว เสร็จอาหารเช้ามากินตรงนี้ มีดนตรีเบาๆ มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์จะไม่รู้จบ

 

และนี่คือแนวทางของCEA

 

            ………………………………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   พิษโควิด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้หนุ่มนิเทศฯสตูล  ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย  รายได้งาม   

พิษโควิด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้หนุ่มนิเทศฯสตูล  ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย  รายได้งาม 

        หากคุณมีความตั้งใจ และมุ่งมั่น   ไม่ว่าสิ่งนั้นที่ลงมือทำ  จะไม่ถนัด   แต่เชื่อว่า   การขวนขวายเรียนรู้   ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้เหมือนอย่างคุณอา   หรือนายภัทรนันต์   บุญรอด   อายุ 27 ปี  เกษตรกรหนุ่ม   อาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง  จ.สตูล  เจ้าของ “บุญรอดไฮโดรฟาร์ม”  ที่เริ่มต้นทำเกษตรด้วยการปลูกพืชในลังโฟม  ก่อนจะค่อย ๆเรียนรู้   จนมาถึงวันนี้  เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ของธุรกิจด้านการเกษตร   เติบโตมาจนถึง 5 โรงเรือนบนพื้นที่ 1 ไร่  ได้ทำเกษตรแบบระบบโรงเรือน  สามารถผลิตผักปลอดภัยส่งลูกค้าทุกวัน  วันละ 15 กก.

        ถือว่าไม่ธรรมดาสำหรับหนุ่มสตูลรายนี้  ที่ได้ก้าวเข้าสู่วงการเกษตรกรแบบสถานการณ์บังคับ   หลังเรียนจบคณะนิเทศศาสตร์  มาในช่วงพิษโควิด19 เข้ามาระบาดพอดี  งานหลายอย่างที่ตั้งใจไว้   ต้องหยุดชะงัก   แต่คุณอา  หนุ่มสตูลก็ไม่หยุดคิด   ก่อนจะมองว่า  อาชีพเกษตรกรมีความจำเป็นต่อชีวิต  ช่วงที่สถานการณ์โควิดทุกอย่างก็จะหยุดไป  แต่การเกษตรไม่หยุด   เพราะทุกคนต้องกิน  ทำให้สนใจว่า   หากทำสิ่งนี้ก็จะมีความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงสนใจผักสลัด เห็นว่าเป็นเทรนของการรักษ์สุขภาพ  กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น  

           จึงลงมือศึกษาเอาจริงเอาจังกับการปลูกผักสลัด หรือที่เรียกว่า  ผักไฮโดรโปนิกส์  ผักปลอดสารพิษ  เรียนรู้อย่างจริงจังและลงมือทำ   โดยยอมรับว่า   ขั้นตอนของการเรียนรู้  ทางการเกษตร   เป็นช่วงแรกถือว่ายากที่สุดแล้ว ต้องเรียนรู้ใหม่เองทั้งหมดทางออนไลน์   ตั้งแต่การเพาะ  เลือกเมล็ดและชนิดพันธุ์  เลือกระบบที่จะปลูกว่าเป็นระบบไหน  ทั้งระบบดิน  ระบบน้ำ ก็เลยศึกษามาเรื่อย ๆ ตรงนั้นถือเป็นจุดที่ยากที่สุด  

           มาวันนี้คุณอา  ทำการเกษตรแบบรับปลูก   ตามออเดอร์เท่านั้น  โดยมีกลุ่มลูกค้าประจำเพียง 9 ราย   แต่ ติดต่อขอรับผักทุกวัน   วันละ 15 กก.โดยมีการตกลงเสนอขายกิโลกรัมละ 100 บาท   ในผัก 8 ชนิด อาทิ  กรีนโอ๊ค  เรดโอ๊ค  ที่ขายดีที่สุด  ส่วน  บัตเตอร์เฮด  กรีนปัตตาเวีย  คอส  ผักเคล  ฟินเล่ ก็มีปลูก  ตามออเดอร์ลูกค้า  มีรายได้เฉลี่ย 30,000 ถึง 45,000 บาท

อัพเดทล่าสุด

         นางสาวปฏิมา   ลิมานัน    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  กล่าวว่า    ทางเกษตรอำเภอได้เข้ามาแนะนำในเรื่องของเชื้อรา   ป้องกันการเกิดโรครากเน่า  โคนเน่า พร้อมแนะนำให้น้องเข้าสมัครเข้าร่วมโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์   ในการเข้าโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เวทีระดับจังหวัด  เป็นเกษตรกรที่ปลูกผักปลอดสารพิษจุดเด่น 

         สำหรับแปลงผักของคุณอา  ใช้ระบบปิด   ปลูกในโรงเรือน  จำนวน 5 โรงเรือน  สภาพอากาศร้อนจัดและฝนเยอะทำให้ต้องเรียนรู้ และศึกษา   ทำความรู้จักพืชนิดนี้  และขณะนี้ก็กำลังทดลองปลูกนอกโรงเรือน  ว่าจะมีแมลง หรือปัจจัยอย่างอื่นที่มีผลต่อผักหรือไม่  หากไม่มี   ก็พร้อมจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม  เพราะต้นทุนจะได้ถูกลงด้วย  และอนาคตจะใช้ระบบสมาร์ทโฟนเข้าควบคุมน้ำ ปุ๋ย โดยผักสลัดใช้เวลา 40-45 วัน   ก็ให้ผลผลิตแล้ว

         เมื่ออาชีพนี้อยู่ตัวแล้ว  คุณอาก็อยากส่งต่อให้พ่อกับแม่ เป็นคนดูแลต่อ  และตัวเองก็อยากตามหาฝัน   กับอาชีพที่เรียนมา  วิชาเอกภาพยนตร์  คณะนิเทศศาสตร์  เพื่อตามความใฝ่ฝัน  แต่หากท่านใดสนใจอาชีพปลูกผักสลัดนี้   คุณอา ก็ยินดีจะแลกเปลี่ยนความรู้   ติดต่อสอบถามได้ที่   โทร  063-2042636 

………………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สตูลสร้างคลังอาหารให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาว  มานิศรีมะนัง  หลังพบว่าเริ่มขาดแหล่งอาหาร 

สตูลสร้างคลังอาหารให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาว  มานิศรีมะนัง  หลังพบว่าเริ่มขาดแหล่งอาหาร 

         วันที่ 19 ก.ย.2566  ที่ทับภูผาเพชร  บ้านเหล็กไหล   ตำบลปาล์มพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล  ภายในหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร   พระครูโสภณปัญญาสาร   เจ้าคณะอำเภอมะนัง/เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7  นายอำเภอมะนัง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา   และกำลังเจ้าหน้าที่  ช่วยกันนำอาหาร และ อุปกรณ์เครื่องมือ  จอบ เสียม เครื่องตัดหญ้า  รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้ยืนต้น  อย่างต้นทุเรียนบ้าน   ต้นมะพร้าว  ต้นสะตอ   มาช่วยกันสร้างคลังอาหารให้กับกลุ่มชาติพันธุ์  ชาวมานิศรีมะนัง  ที่ทับภูผาเพชร  ที่มีประมาณ  30 คนที่อาศัยที่ทับแห่งนี้นานถึง 10 ปีแล้ว

       จากสภาพปัญหาความแร้นแค้น  อาหารป่าเริ่มขาดแคลน   ทำให้ชาวมานิกลุ่มนี้ยอมรับว่า  หาอาหารในป่าได้น้อยลง  น้ำผึ้ง  หรือแม้กระทั่งหัวสมุนไพร  ไปแลกกับข้าวก็ได้ราคาไม่ดี   และแม้จะออกไปรับจ้างชาวบ้านขึ้นต้นสะตอ ต้นเงาะ แต่ด้วยฝีมือแรงงานที่ไม่หลากหลายเหมือนชาวบ้านทั่วไป  ทำให้การจ้างงานก็น้อย  มาวันนี้ทางภาครัฐเห็นว่า   หากไม่เข้ามาช่วยเหลือ  ในการสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน  ด้วยการ เลี้ยงไก่  เลี้ยงปลา ปลูกพืชให้ผล  ก็อาจจะสร้างความยากลำบากให้พวกเขาได้ในภายภาคหน้า 

       นายแป้น  ศรีมะนัง  ชาวมานิทับภูผาเพชร   บอกว่า  ตนคิดว่าไม่ยาก  การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เมื่อเจ้าหน้าที่เอามาให้เลี้ยง หรือมาปลูกต้นไม้ให้  ก็น่าจะดี  จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาชาวบ้านในชุมชนมากนัก

      นอกจากนี้  การส่งเสริมอาชีพประเภทงานฝีมือ  การจักสารกระเป๋า  ในรูปแบบต่าง ๆ พบว่าชาวมานิหลายคนมีฝีมือ หากได้รับการต่อยอดด้านฝีมือ และช่วยกระจายสินค้ายามที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา  น่าจะเป็นรายได้ให้พวกเขาไม่มากก็น้อย 

อัพเดทล่าสุด

           ด้าน  นายเชษฐ  บุตรรักษ์  นายอำเภอมะนัง  กล่าวว่า   ที่ทับมานิแห่งนี้มี 4 ครอบครัวใหญ่ 30 คน  ทุกคนมีชื่อในทะเบียนราษฎร  มีบัตรประจำตัวประชาชน  และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล  มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ   ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ทางผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดและส่วนกลาง โดยเฉพาะท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญมากโดยได้ส่งผู้ตรวจราชการ  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเยี่ยม  และมีแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านอาหาร  คุณภาพชีวิตและการศึกษา  รวมทั้งเรื่องสาธารณสุข 

          โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน  คือความมั่นคงทางด้านอาหาร  โดยมีแผนพัฒนาแหล่งน้ำโดยจัดหาน้ำจากน้ำตก  ที่อยู่ห่างจากทับแห่งนี้ประมาณ 1 กิโลเมตร  โดยใช้ระบบประปาภูเขา  จากน้ำตกใช้ในการอุปโภคบริโภค  เลี้ยงปลาในบ่อ  และเลี้ยงไก่ไข่  ไก่พื้นเมืองและแปลงเกษตร เพื่อพัฒนาแหล่งอาหารให้   โดยพบว่ามานิหลายคนให้ความสนใจมาก จากที่พาไปดูงานที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์42 จ.สตูล  ที่มีบ่อปลาเขาตื่นเต้นมาก  ชอบทานปลาน้ำจืด  น่าจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญให้ได้   และยังพบว่ากลุ่มชาติพันธ์มานิชุดนี้    สามารถสื่อสารพูดคุยกับเขาได้โดยตรง  ว่ามีความต้องการสิ่งใด

………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโท  เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  ไร้ประโยชน์  เป็นสวนเสารส พันธุ์บรูไน   ลูกโต ให้ผลผลิตทั้งปี

หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโท  เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  ไร้ประโยชน์  เป็นสวนเสารส พันธุ์บรูไน   ลูกโต ให้ผลผลิตทั้งปี

       จากพื้นที่ 1 งาน  ที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์เพราะน้ำท่วมขังตลอดเกือบทั้งปีที่ฝนตกหนัก  ที่บ้านทุ่งพัฒนา ม.13   ต.ละงู  อ.ละงู   จ.สตูล   มาวันนี้นายอานนท์  แอหลัง อายุ 33 ปี  ดีกรีปริญญาโท คณะสัตวศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย  ได้เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  เป็นสวนเสาวรสสายพันธุ์บรูไน   ลูกใหญ่   ผลโต   น้ำหนักดี   และยังให้ผลผลิตทั้งปี  สร้างรายได้อย่างงามให้กับครอบครัวได้ไม่น้อย

      จากคุณสมบัติพิเศษของเสาวรส สายพันธุ์บรูไน  ที่คุณอานนท์  นำมาปลูกด้วยความชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้เป็นพิเศษ  อีกทั้งพบว่า   มีคุณสมบัติในการทนทานต่อน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี  และแมลงที่ไม่สามารถจะเจาะเปลือกผลเสาวรสที่หนาได้  มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน  และผลใหญ่ 8-9 ลูกต่อกิโลกรัม  ทำให้เป็นพืชที่เหมาะกับการปลูกเป็นอย่างมาก 

        นายอานนท์  แอหลัง  เจ้าของสวนเสาวรสสตูล  บอกว่า  เรียนจบมาเป็นครูได้เพียง  7 ปี  ตัดสินใจลาออก   กลับมาอยู่บ้านที่ จ.สตูล  มาทำงานเป็น  หน.นักวิชาการเกษตร ทต.กำแพง  และก็หารายได้เสริมจากการปลูกเสาวรส   ปัจจุบันจะแซงรายได้หลักแล้ว   โดยจุดเริ่มต้นของการปลูกเสาวรสพันธุ์บรูไน  เป็นความชอบส่วนตัว  เมื่อก่อนเคยอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  ชื่นชอบในการปลูกพืช  จึงได้ลาออกจากงาน มาปลูกพืช   พืชชนิดแรกที่นำมาปลูกก็คือเสาวรส  เนื่องจากที่ดินใกล้บ้านเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง  และพบว่าเสาวรสเป็นพืชที่ทนน้ำ  จึงเป็นที่มาของการปลูกเสาวรส

       สำหรับเสาวรสที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์บรูไน   มีความพิเศษคือ  ลูกใหญ่ลูกดก  มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานนิดๆ  อร่อยกว่าพันธุ์อื่นเยอะ  จึงเอาลักษณะเด่นนี้มาปลูกในพื้นที่ของตน  การให้ผลผลิตอยู่ที่ 50 กิโลต่อ 1 ต้น ในพื้นที่มีทั้งหมด 35 ต้น  โดย 1 กิโลตกอยู่ที่ 8-9 ลูก  ให้ผลผลิตทั้งปี  ช่องทางการตลาดขายผ่านตลาดออนไลน์  มีบริการส่งทั่วประเทศ  ราคากิโลกรัมละ 80 บาท  ดูแลง่ายมากไม่ต้องห่วงเรื่องโรคหรือแมลง  เพราะเสาวรสเป็นพืชที่แมลงไม่สามารถทำลายเปลือกของมันได้  เพราะมีเปลือกแข็งทำลายได้ยาก  

อัพเดทล่าสุด

          ด้าน นายปิยทัศน์   ทองปาน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   เสาวรสที่สวนให้ผลผลิตทั้งปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้บริโภค  ทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงู  จะมีการส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่  โดยมีการจำหน่ายต้นพันธุ์  แล้วส่งเสริมให้ตัวเกษตรกรได้ใบรับรองสินค้าการเกษตร  หรือว่า  GAP  จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้   นอกจากนี้ก็จะแนะนำให้มีการแปรรูป เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วย

       นายอานนท์  แอหลัง  เจ้าของสวนเสาวรสสตูล  บอกด้วยว่า  อนาคตจะเพาะพันธุ์ต้นขาย   โดยขณะนี้มีน้องสาวและครอบครัว  มาช่วยดูแลในการทำร้านน้ำ   จากเสาวรส  กาแฟเสาวรส   ติดต่อสอบถามโทร  094 – 876  3659

……..

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เกษตร - อาชีพ

  อส.สตูล ยึดหลักเกษตรพอเพียง โค่นสวนยางพารา ปรับทำสวนส้ม สวนผสม  7 ไร่ สร้างรายได้หลักแสนบาท รองรับชีวิตหลังเกษียณ

อส.สตูล ยึดหลักเกษตรพอเพียง โคนสวนยางพารา ปรับทำสวนส้ม สวนผสม  7 ไร่ สร้างรายได้หลักแสนบาท รองรับชีวิตหลังเกษียณ

        สวนส้มโชกุล  และส้มเขียวหวาน  รวมถึงพืชสวนอื่นๆที่กำลังให้ผลผลิต  บนพื้นที่ 7 ไร่  ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล  บรรยากาศหลังฝนตก มีสายหมอกปกคลุมสดชื้นสวยงาม  พิกัดนี้เจ้าของสวนพร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยว  และผู้สนใจเข้ามาดูงาน  เพลิดเพลินกับธรรมชาติ  และเพื่อเป็นแนวทางก้าวสู่วิถีเกษตรกร

        ส้ม เป็นพืชชนิดหนึ่งที่  นายอับดลเลาะห์ จังแดหวา อายุ 56 ปี  อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส. ) ประจำพื้นที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล  ปลูกไว้พร้อมๆกับ สละสายพันธุ์อินโด และสายพันธุ์สุมาลี  รวมถึงกาแฟสายพันธ์โรบัสต้า  และแบ่งพื้นที่เป็นบ่อเลี้ยงปลา  ตามหลักเกษตรพอเพียง เดินตามรอยพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9  กล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ

        นายอับดลเลาะห์  จังแดหวา  บอกว่า  ส่วนตัวและครอบครัวชอบทำสวนเกษตรอยู่แล้ว  เดิมนั้นปลูกยางพารา แต่ช่วงที่ราคายางตกต่ำ จึงมีแนวคิดที่จะแบ่งปลูกสวนผลไม้  ซึ่งจะเลือกปลูกสิ่งที่ชอบกิน  อย่างส้ม  ซึ่งยอมรับว่าปลูกยาก  แต่ก็ทำได้   ตอนนี้ส้มสร้างรายได้ให้กับครอบครัวแล้ว  ในปีแรกมีรายได้จากส้มทั้ง 2 ชนิดที่ปลูกไว้หลักแสนบาท  และยังมีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีก ที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวหลังเกษียณอย่างสบาย  โดยจะใช้เวลาว่างเว้นจากงานประจำเข้าสวน  มีภรรยาและลูกชาย คอยช่วยดูแลอีกแรงหนึ่ง

        นายอับดลเลาะห์ จังแดหวา  ในวัย 56 ปี  เปิดเผยอีกว่า  ได้ทดลองทำเกษตรแบบผสมผสาน แบ่งพื้นที่สวนยางพารามาทำเป็นสวนผลไม้ และขุดบ่อเลี้ยงปลา  โดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 ปีเศษ ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตขายสร้างรายได้เป็นอย่างดี  บนพื้นที่ 7 ไร่ ได้แบ่งปลูกสละสายพันธุ์ อินโด จำนวน 80 ต้น  ปลูกสละพันธ์สุมาลี 100 ต้น  ทั้งนี้ที่ให้ผลผลิตทำรายได้แล้วนั้นคือ  ส้มโชกุน และ  ส้มเขียวหวาน  รวม 160 ต้น  ปลูกต้นกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า อีก 100 ต้น   และขุดสระทำบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก, ปลาตะเพียน, ปลาสวาย และปลาพันธุ์อื่น ๆ เกือบ 10 ชนิด 

          ด้านนางฮาบีบ๊ะ จายุพันธ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เกษตรอำเภอเมืองสตูล กล่าวว่า ต้องขอชื่นชมว่า เกษตรกรรายนี้ มีแนวคิดดี ทำงานแบบครอบครัว และที่สำคัญ  นอกจากทำงานประจำแล้วยังใช้พื้นที่เพียง 7 ไร่ ทำสวนเกษตรผลไม้ผสมผสาน สร้างรายได้ดี ต่อปี ถึง 1แสน 4 หมื่นบาทเลยทีเดียว และยังเก็บเกี่ยวผลไม้อื่นๆ เช่น กล้วย มะพร้าว  ขายมีรายได้ในทุกๆวัน  

          สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่   080-544-5982

  ………………………………………………………………………….

 

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

7 อปท.สตูล  ผนึกกำลัง  ร่วมชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นน่าอยู่

7 อปท.สตูล  ผนึกกำลัง  ร่วมชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นน่าอยู่

         ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน   หากเกิดขึ้น  ย่อมจะสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากทั้งที่สามารถที่จะป้องกันได้  โดยอบต.นาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล   ได้สมมุติเหตุการณ์อุบัติเหตุหมู่ระหว่างรถยนต์กระบะ และรถยนต์เก๋งประสานงากัน  จนเกิดผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากเต็มท้องถนน   ที่บริเวณ สนามกีฬากลางตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า 

       โดยการจำลองเหตุการณ์ในการครั้งนี้  เพื่อซักซ้อมเสริมสร้างประสิทธิ์ภาพการทำงาน   ของทุกภาคีเครือข่าย  โดยเฉพาะชุดอาสาสมัครขับขี่ปลอดภัย และอาสาจากผู้นำท้องถิ่นที่เป็นภาคีเครือข่าย 6 แห่ง (ได้แก่ ทต.ทุ่งหว้า อบต.ทุ่งหว้า,อบต.ทุ่งบุหลัง,อบต.ขอนคลาน,อบต.บ้านควนและอบต.ควนโพธิ์)  ที่มาร่วมภารกิจฝึกซ้อมแผนในครั้งนี้ด้วย  ภายใต้โครงการ  ชันชีขับขี่ปลอดภัยสร้างความเข้มแข็งท้องถิ่นน่าอยู่   พร้อมประเมินผลเพื่อให้การช่วยเหลือลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน

         นายเอกชัย  หลงขาว  นายกฯ อบต. นาทอน  ระบุว่า  โครงการชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น  เป็นการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน 3 ระยะได้แก่  การจัดการในระยะป้องกันและเฝ้าระวัง การจัดการระยะเกิดเหตุ และการจัดการระยะหลังเกิดเหตุ และฟื้นฟู  ควบคู่กับ 5 ชุดกิจกรรมคือ การบริหารและช่วยเหลือ, การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย,การพัฒนาศักยภาพคน รถ ถนน,การจัดสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนานโยบายและแผน

         นายเอกชัย  หลงขาว  นายกฯ อบต. นาทอน  ระบุว่า  โครงการชันชีขับขี่ปลอดภัย  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น  เป็นการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน 3 ระยะได้แก่  การจัดการในระยะป้องกันและเฝ้าระวัง การจัดการระยะเกิดเหตุ และการจัดการระยะหลังเกิดเหตุ และฟื้นฟู  ควบคู่กับ 5 ชุดกิจกรรมคือ การบริหารและช่วยเหลือ, การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย,การพัฒนาศักยภาพคน รถ ถนน,การจัดสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนานโยบายและแผน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

 กินแพะเชิญแวะสตูล  หลังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมคัดเลือก   เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ เป็นเมนู  1 จังหวัด 1 เมนู  ที่โดดเด่นเชื่อมโยงวิถีคนท้องถิ่น  ตามหารสชาติที่หายไป

กินแพะเชิญแวะสตูล  หลังกรมส่งเสริมวัฒนธรรมคัดเลือก   เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ เป็นเมนู  1 จังหวัด 1 เมนู  ที่โดดเด่นเชื่อมโยงวิถีคนท้องถิ่น  ตามหารสชาติที่หายไป

        ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  ได้ถูกยกระดับจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  คัดเลือกเป็น  1 จังหวัด 1 เมนู    เชิดชูอาหารถิ่น ปี 2566 เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์อาหาร ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย

        โดยที่  ร้านบังดุลย์แกงแพะ    ซึ่งตั้งอยู่(หลังปั้มเชลล์โต้รุ่ง)  บนถนนเรืองฤทธิ์จรูญ  ซอย 1 ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ร้านแห่งนี้ขายเมนูแกงแพะ   และข้าวแกงกับเมนูพื้นเมืองที่หลากหลายมานานกว่า 30 ปี โดยเมนูชูโรงคือ  ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ   และข้าวหมกแพะ  นอกจากนี้ยังมีข้าวหมกไก่  ต้มซุปซี่โครงวัว  และอีกหลากหลายเมนูบริการลูกค้า

        โดยนายอดุลย์  ไชยกุล  อายุ 59 ปี เจ้าของร้านรุ่นแรก  (อดีตประธานชมรมแพะแกะจังหวัดสตูล)  บอกว่า  เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะนับเป็นเมนูที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนมุสลิมตั้งแต่แรกเกิด คือหากบ้านไหนเกิดได้บุตรสาวจะใช้ แพะ 1 ตัวในการทำบุญ หรือทำนูหรี  หากเป็นบุตรชายใช้แพะ 2 ตัว เป็นวิถีที่มีการทำบุญด้วยข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  มาอย่างช้านาน  นอกจากนี้งานบุญงานต่างๆ (ทำบุญขึ้นบ้าน,งานขอให้คนไข้หายเจ็บป่วย,ได้งานทำ หรือโอกาสสำคัญก็จะใช้เมนู  ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะในการทำบุญเกือบทั้งสิ้น

        มาวันนี้  ที่ได้รับยกระดับเป็น  1 จังหวัด 1 เมนูที่กำลังจะสูญหายไป แต่สามารถมาหาทานได้ที่ร้านบังดุลย์แกงแพะ    ทางร้านก็พร้อมจะสืบทอดเมนูวัฒนธรรมท้องถิ่น  ให้ทุกคนได้ทานกันทุกวัน  ยกเว้นวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุด  ส่วนตัวอยากให้มีการส่งเสริม  และผลักดันให้สตูลเป็นเมืองแพะ เหมือนในอดีตที่เคยมีสโลแกนที่ว่า  กินแพะเชิญแวะที่สตูล  อีกทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกร   ได้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง และคิดเมนูแพะให้กลับมาโด่งดังอีกครั้ง  จากในอดีตที่เคยมีการทำลูกชิ้นแพะ  เนื้อสวรรค์แพะ

      เมนูข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  นับเป็นเมนูที่นักท่องเที่ยว ข้าราชการ และชาวต่างชาติอย่างจีนชื่นชอบทานมาก เพราะเชื่อว่าเป็นเมนูเพื่อสุขภาพ ทานได้ทั้งกับโรตี หรือทานกับข้าวสวยร้อน ๆ รวมทั้งข้าวเหนียวเหลืองก็สามารถทานคู่กับแกงแพะได้ 

         ด้าน นางสาวเจนจิรา  ไชยกุล  อายุ 38 ปี  บุตรสาวทายาทรุ่นที่ 2 บอกว่า   ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ  จะใช้ข้าวเหนียวเก่าแช่น้ำ 1 ชั่วโมง  นำมาผักกับผงขมิ้นและกะทิ  ส่วนแกงแพะ จะใช้แพะเพศเมียซึ่งจะไม่สาบ  แกงกับเครื่องเทศ กะทิ นมสด เครื่องแกง นาน 3 ชม. เคี่ยวจนเนื้อนิ่มละมุนลิ้น โดยทางร้านมีฟาร์มแพะของตัวเอง  ปรุงเอง  ขายเป็นกล่อง  กล่องละ 60 บาทสำหรับทาน 1 คน หรือจะสั่งออเดอร์ทำงานบุญ  แก้บน  งานแต่ง  หรืองานไหน ๆ สั่งเป็นตัว และข้าวเหนียวเป็นกิโลได้   มีงานทุกวัน   ส่วนข้าวหมกแพะมีเฉพาะวันศุกร์  ติดต่อทางเพจ  บังดุลแกงแพะ  หรือโทร. 091-848  5259

        กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ออกประกาศ เรื่องผลการคัดเลือกกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 29 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการ  ส่งเสริม และพัฒนา   ยกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปี 2566

        โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของอาหารไทย อาหารท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ต่อยอดสมุนไพรไทย สรรพคุณทางเลือกและส่งต่อเป็นภูมิปัญญา  ที่มีการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น  อีกทั้งเป็นการ ส่งเสริมให้คนไทยได้ตระหนัก  เกิดความภาคภูมิใจ  กระตุ้นให้เกิดการยกระดับอาหารไทยพื้นถิ่น  สู่อาหารจานเด็ดที่ต้องชิม  ผลักดันให้เป็นเมนูซอฟพาวเวอร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้หนุนเศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศให้ยั่งยืน

……………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

 จิ้มจุ่มแลเล 2 แผ่นดิน ที่สตูล

จิ้มจุ่มแลเล 2 แผ่นดิน ที่สตูล

         หลายๆร้านอาหารพยายามรังสรรค์เมนูตอบโจทย์ลูกค้า  บางร้านบรรยากาศดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง  อย่างร้าน เดออ่าวใหม่  ซึ่งเป็นร้านอาหารทะเลขึ้นชื่อ  ตั้งอยู่บนพื้นที่ หมู่ 1 ต.ตันหยงโป  อ.เมือง จ.สตูล  ห่างจากตัวเมืองราวๆ 20-30 กม. ขับรถเข้าสู่ตำบลนี้แล้ว   ขับเลียบเส้นถนนรอบเกาะ  ก็จะเจอพิกัดร้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล   ที่ร้านนี้นอกจากจะมีอาหารทะเลสดๆอย่าง ปูม้าต้ม   กั้งทอดกระเทียมแล้ว  ที่ร้านยังจัดเมนู จิ้มจุ่ม   และกาแฟสดเอาใจลูกค้าด้วย 

        สำหรับเมนู จิ้มจุ่ม ทางร้านขายเป็นชุด ชุดละ 179 บาท  มีทั้งอาหารทะเลสดๆ ผักสดๆ บวกกับน้ำจิ้มรสแซ่บ  จิ้มจุ่มกันฟินๆ ท่ามกลางบรรยากาศริมทะเล  หากโอกาสดีลูกค้าอาจจะได้เห็นวิวพระอาทิตย์ตก 2 แผ่นดินด้วย  บรรยากาศแบบอยากจะแยกร่างกันเลยทีเดียว ร่างนึงก็ลุกไปถ่ายพระอาทิตย์ตก  อีกร่างก็นั่งจิ้มจุ่มกันต่อเพราะน้ำซุปในหม้อดินกำลังเดือด  เนื้อกำลังสุกได้ที่เลย

         ร้านเดออ่าวใหม่ บริหารโดย  นางสาวพรรณทิวา  วิริยะพัชรานนท์  อายุ 26 ปี โดยเจ้าของร้านบอกว่า  เดิมร้านอ่าวใหม่เป็นร้านขายอาหารทะเลสดๆ มีหลากหลายเมนูให้เลือก  แต่เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบจิ้มจุ่ม  จึงเพิ่มเมนูนี้เข้ามาในร้าน  ลูกค้าจะได้สนุกกับอาหารท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์ตก 2 แผ่นดิน  คือ แผ่นดินไทย ด้านจังหวัดสตูล และด้านเกาะลังกาวี  ประเทศมาเลเซีย  โดยลูกค้ามีทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 

        นอกจากเมนูหลักของร้านเดออ่าวใหม่ จะขายอาหารทะเลแล้ว  ยังเปิดมุมชิคๆสำหรับคอกาแฟด้วย  มีเมนูกาแฟสด ให้ได้ดื่มด่ำ จิบกาแฟชมวิวหลักล้านได้เลย  ไม่ว่าจะมาเดี่ยวหรือมาคู่  หรือจะยกแก๊งค์ ก็ตอบโจทย์ได้หมดทุกกลุ่ม  ร้าน เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา  9:30-19:00 น.  สำรองจองโต๊ะ  086-6087206  หรือจะติดต่อทางเพจ อ่าวใหม่ซีฟู้ด ฮาลาลทะเลสตูล

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง

ชาวสตูลฝากความหวัง รัฐบาลเศรษฐา  แก้ปากท้องเร่งด่วน

ชาวสตูลฝากความหวัง รัฐบาลเศรษฐา  แก้ปากท้องเร่งด่วน

     วันที่ 13 กันยายน 2566   ที่อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล พ่อค้าประชาชนขอให้นายกฯ และรัฐบาลของเศรษฐา 1  เดินหน้าทำตามสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง  ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องให้โดยเร็วตามที่เคยหาเสียงและรับปากกับประชาชนไว้ 

         นายสมบัติ   เจริญขวัญ  เจ้าของร้านชาป่าเมือง ร้านอาหารยามเช้าในจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  ไม่ขออะไรมากกับรัฐบาลชุดนี้ขอเพียงแค่ให้ทางนายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่เคยรับปากกับพี่น้องประชาชนว่าจะแก้ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจ  เดินหน้าทำความหวังของประชาชนให้เป็นจริงโดยทุกคนพร้อมจะให้โอกาสในการแสดงฝีมือ  ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน   ราคาค่าไฟหรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยวเพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศและช่วยเหลือชาวบ้านที่กำลังประสบปัญหาสินค้าราคาแพง

         ขณะที่นายกฤตฐพัฒน์   ทองป้อง  เจ้าของกิจการ  บอกว่า ไม่ค่อยมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำได้แต่ก็ต้องให้โอกาสในการทดลองทำดู  และเป็นกำลังใจให้เพราะที่ผ่านมาหลายรัฐบาลก็มักจะมาให้ความหวังกับประชาชนไว้   ในการแก้ปัญหาค่าไฟและค่าน้ำมัน  พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย  ทำไมถึงแก้ปัญหาเรื่องน้ำมันได้  ซึ่งมีราคาแตกต่างจากบ้านเราถึงเข้าตัวขอให้รัฐบาลแก้ปัญหา

         ส่วนฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวเห็นด้วยว่าจะช่วยในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว  ให้มีเม็ดเงินกลับมา  ขอฝากให้กระตุ้นเศรษฐกิจในเมืองท่องเที่ยวที่เป็นเมืองปิดอย่างจังหวัดสตูล  ด้วยการเปิดเส้นทาง  ในการสร้างสะพานอย่างที่ชาวจังหวัดสตูล  เชื่อว่าจะทำให้การท่องเที่ยวและเม็ดเงินสะพัดมากยิ่งขึ้น

…….

อัพเดทล่าสุด